fbpx
วิกิพีเดีย

ความจำอาศัยเหตุการณ์

ความจำอาศัยเหตุการณ์ (อังกฤษ: episodic memory) เป็นความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ในชีวประวัติของตนเอง (รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับวันเวลา สถานที่ อารมณ์ความรู้สึกที่มี และเรื่องที่เกี่ยวข้องกันอื่น ๆ) ที่สามารถระลึกได้ภายใต้อำนาจจิตใจและนำมากล่าวได้อย่างชัดแจ้ง เป็นความจำรวมประสบการณ์ต่าง ๆ ของตนในอดีต แต่ละเหตุการณ์เกิดขึ้นที่วันเวลาหนึ่ง ๆ และในสถานที่หนึ่ง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราระลึกถึงงานเลี้ยง (หรือการทำบุญ) วันเกิดเมื่ออายุ 6 ขวบได้ นี่เป็นความจำอาศัยเหตุการณ์ เป็นความจำที่ยังให้เราสามารถเดินทางกลับไปในกาลเวลา (ในใจ) เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่วันเวลานั้น ๆ และสถานที่นั้น ๆ

ความจำอาศัยความหมาย (semantic memory) และความจำอาศัยเหตุการณ์รวมกันจัดอยู่ในประเภทความจำชัดแจ้ง (explicit memory) หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความจำเชิงประกาศ (declarative memory) ซึ่งเป็นหนึ่งในสองประเภทหลัก ๆ ของความจำ (โดยอีกประเภทหนึ่งเป็นความจำโดยปริยาย) นักจิตวิทยาชาวแคนาดาชื่อว่าเอ็นเด็ล ทัลวิง ได้บัญญัติคำว่า "Episodic Memory" ไว้ในปี ค.ศ. 1972 เพื่อที่จะแสดงถึงความต่างกันระหว่าง "การรู้" และ "การจำได้" คือ การรู้เป็นการรู้ความจริง (factual) หรือความหมาย (semantic) เปรียบเทียบกับการจำได้ซึ่งเป็นความรู้สึกเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอดีต (episodic)

ศ. ทัลวิงได้กำหนดลักษณะสำคัญสามอย่างของการระลึกถึงความจำอาศัยเหตุการณ์ที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่องานวิจัยต่อ ๆ มา คือ

  • เป็นความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัยเกี่ยวกับกาลเวลา (หรือบางครั้งพรรณนาว่า เป็นการเที่ยวย้อนกลับไปในเวลาทางใจ)
  • เป็นความรู้สึกที่เกี่ยวกับตน
  • เป็น autonoetic consciousness ซึ่งหมายถึงการระลึกถึงการกระทำที่ตัวเองจำได้ ซึ่งช่วยให้ตัวเองตระหนักถึงตัวเอง ณ เวลาในตอนนั้นๆ

นอกจากทัลวิงแล้ว ยังมีนักวิจัยอื่น ๆ ที่กำหนดลักษณะสำคัญต่าง ๆ ของการระลึกถึงความจำรวมทั้งการเห็นภาพทางตา โครงสร้างแบบเป็นเรื่องเล่า การค้นคืนข้อมูลเชิงความหมาย (semantic information) และความรู้สึกคุ้นเคย

เหตุการณ์ที่บันทึกไว้ในความจำอาศัยเหตุการณ์ (episodic memory) อาจจะทำให้เกิดการเรียนรู้อาศัยเหตุการณ์ (episodic learning) ซึ่งก็คือ ความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมเพราะเหตุการณ์ที่ได้ประสบ ยกตัวอย่างเช่น ความกลัวสุนัขเพราะว่าถูกกัด เป็นผลของการเรียนรู้อาศัยเหตุการณ์

องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของความจำอาศัยเหตุการณ์ก็คือกระบวนการระลึกถึงความจำ (recollection) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เริ่มการค้นคืนของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือประสบการณ์หนึ่ง ๆ ในอดีต

ลักษณะ 9 อย่างของความจำอาศัยเหตุการณ์

มีคุณลักษณะ 9 อย่างของความจำอาศัยเหตุการณ์ที่ทำให้แตกต่างจากความจำประเภทอื่น ๆ แม้ว่า ความจำประเภทอื่น ๆ อาจจะมีคุณลักษณะบางอย่างเหล่านี้ได้บ้าง แต่ความจำอาศัยเหตุการณ์มีลักษณะพิเศษเฉพาะเพราะเป็นประเภทเดียวที่มีทั้ง 9 ลักษณะ

  1. มีการบันทึกโดยสรุปของการประมวลผลผ่านวิถี sensory-perceptual-conceptual-affective (ประสาทสัมผัส-การรับรู้-ความนึกคิด-อารมณ์)
  2. คงรูปแบบของการเร้า (activation) หรือการยับยั้ง (inhibition) ไว้ได้นาน
  3. มักจะบันทึกไว้ในรูปแบบของภาพทางตา (visual image)
  4. มีมุมมอง ("field" เป็นมุมมองเหมือนกับที่ประสบกับเหตุการณ์ หรือ "observer" คือ มุมมองของผู้สังเกตการณ์คนอื่น)
  5. เป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ของประสบการณ์
  6. เป็นไปตามลำดับเหตุการณ์
  7. ลืมได้ง่าย
  8. ทำให้การระลึกถึงอัตชีวประวัติเป็นไปโดยเฉพาะเจาะจง
  9. เมื่อระลึกถึง เหมือนกับอยู่ในเหตุการณ์นั้นอีกครั้งหนึ่ง (mental time travel)

ประสาทวิทยาศาสตร์เชิงประชาน

การสร้างความจำอาศัยเหตุการณ์ขึ้นใหม่ต้องอาศัยสมองกลีบขมับด้านใน (medial temporal lobe ตัวย่อ MTL) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่รวมฮิปโปแคมปัสอยู่ด้วย ถ้าไม่มี MTL ก็จะยังสามารถสร้างความจำเชิงกระบวนวิธี (procedural memory) เช่นทักษะเกี่ยวกับการเล่นเครื่องดนตรีได้ แต่จะไม่สามารถระลึกถึงเหตุการณ์ที่มีการเล่นดนตรีหรือการฝึกหัดเล่นเครื่องดนตรีนั้นได้

สมองส่วน prefrontal cortex (ตัวย่อ PFC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในซีกขวา ก็มีส่วนร่วมในการสร้างความจำอาศัยเหตการณ์ใหม่ ๆ (เป็นกระบวนการที่เรียกว่า episodic encoding [การเข้ารหัสเหตุการณ์]) คนไข้ที่มี PFC เสียหายสามารถเรียนรู้ข้อมูลใหม่ ๆ แต่มักจะเรียนได้อย่างไม่เป็นลำดับ ยกตัวอย่างเช่น อาจจะมีการรู้จำวัตถุที่เคยเห็นมาก่อนในอดีตที่เป็นปกติ แต่ไม่สามารถระลึกได้ว่าได้เห็นที่ไหนหรือเมื่อไร นักวิจัยบางพวกเชื่อว่า PFC ช่วยจัดระเบียบข้อมูลเพื่อการบันทึกที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผ่านกระบวนการ executive functions ที่ PFC มีบทบาท ส่วนพวกอื่นเชื่อว่า prefrontal cortex เป็นโครงสร้างที่เป็นฐานของกลยุทธ์เชิงความหมายที่ช่วยการเข้ารหัสให้ดีขึ้น เช่นการคิดถึงความหมายของสิ่งที่เรียนหรือการฝึกซ้อมข้อมูลนั้น (rehearsal) ภายในความจำใช้งาน(ซึ่งเป็นกลยุทธ์เชิงความหมายที่ช่วยการเข้ารหัสช่วยให้จำได้ดีขึ้น)

บทบาทของฮิปโปแคมปัสในการเก็บความจำ

นักวิจัยไม่มีมติร่วมกันเกี่ยวกับระยะเวลาที่ความจำอาศัยเหตุการณ์เก็บอยู่ในฮิปโปแคมปัส บางพวกเชื่อว่า ความจำอาศัยเหตุการณ์ต้องอาศัยฮิปโปแคมปัสตลอดไป ส่วนพวกอื่นเชื่อว่า ฮิปโปแคมปัสเป็นที่เก็บความจำอาศัยเหตุการณ์ในช่วงเวลาสั้น ๆ และหลังจากนั้นความจำก็จะเกิดการทำให้มั่นคง (memory consolidation) ให้อยู่ในคอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) ความเห็นหลังนี้ได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานในปี ค.ศ. 2004 ว่า เนื้อเยื่อที่เกิดขึ้นใหม่ (neurogenesis) ในฮิปโปแคมปัสของผู้ใหญ่ อาจช่วยให้ลืมความจำเก่าได้ง่ายขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างความจำใหม่

ความสัมพันธ์กับความจำอาศัยความหมาย

เอ็นเด็ล ทัลวิงได้พรรณนาความจำอาศัยเหตุการณ์ว่าเป็นบันทึกประสบการณ์ของตนที่มีข้อมูลประกอบด้วยวันเวลาและมีความสัมพันธ์กันระหว่างพื้นที่ (สถานที่) กับกาลเวลา (spatio-temporal relation) ลักษณะหนึ่งของความจำอาศัยเหตุการณ์ที่ทัลวิงต่อมาขยายความก็คือ ทำให้เราสามารถเที่ยวย้อนไปในกาลเวลาได้ คือ สถานการณ์อย่างหนึ่งในปัจจุบันอาจจะช่วยให้ระลึกถึงเหตุการณ์ในอดีตหนึ่ง ๆ มีผลเป็นการประสบกับเหตุการณ์ในอดีตอีกครั้งหนึ่ง (ในใจ) เป็นวิธีที่เราสามารถสัมพันธ์ความรู้สึกในอดีตกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

โดยเปรียบเทียบกันแล้ว ความจำอาศัยความหมาย (semantic memory) เป็นการเก็บข้อมูลอย่างมีระเบียบเกี่ยวกับความจริง ความคิด และทักษะที่เราได้เรียนรู้ ข้อมูลเชิงความหมายนั้นมาจากการสั่งสมความจำอาศัยเหตุการณ์ และความจำอาศัยเหตุการณ์สามารถพิจารณาได้ว่าเป็นแผนที่ที่เชื่อมสิ่งต่าง ๆ จากความจำอาศัยความหมาย ยกตัวอย่างเช่น ประสบการณ์เกี่ยวกับสุนัขของเราว่ามีรูปร่างหน้าตาและเสียงเป็นอย่างไรจะมีตัวแทนเชิงความหมายหนึ่ง (ในระบบประสาท) ความจำอาศัยเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกี่ยวกับสุนัขตัวนี้จะอ้างอิงตัวแทนเชิงความหมายนี้ และประสบการณ์ใหม่ ๆ ที่เรามีเกี่ยวกับสุนัขของเราจะเปลี่ยนเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับสุนัขที่ตัวแทนเชิงความหมายเดียวกันนี้

โดยรวมกันแล้ว ความจำอาศัยความหมายและความจำอาศัยเหตุการณ์ประกอบกันเป็นความจำเชิงประกาศ (declarative memory) หรือความจำชัดแจ้ง (explicit memory) ซึ่งแต่ละระบบมีหน้าที่เป็นตัวแทนส่วนต่าง ๆ กันของสถานการณ์นั้น ๆ รวมกันเป็นภาพที่บริบูรณ์ และดังนั้น ถ้ามีเหตุที่รบกวนความจำอาศัยเหตุการณ์ก็จะสามารถมีผลกระทบต่อความจำเชิงความหมายด้วย ยกตัวอย่างเช่นภาวะเสียความจำส่วนอนาคต (anterograde amnesia) ซึ่งเกิดจากความเสียหายที่สมองกลีบขมับด้านใน เป็นความเสียหายต่อความจำเชิงประกาศที่มีผลต่อทั้งความจำอาศัยเหตุการณ์และความจำอาศัยความหมาย

ในตอนต้น ๆ ทัลวิงเสนอว่า ความจำอาศัยเหตุการณ์และความจำเชิงประกาศเป็นระบบที่แตกต่างกันและมีการแข่งขันกันเมื่อมีการค้นคืนความจำ แต่ต่อมา ทฤษฎีนี้ถูกปฏิเสธเมื่อเฮาวาร์ดและกาฮานาทำการทดลองที่วิเคราะห์ความคล้ายกันของคำโดยความหมายโดยใช้เทคนิค latent semantic analysis แล้วพบว่า ระบบความจำทั้งสองมีความสัมพันธ์กัน ไม่ใช่แยกออกจากกัน คือพบว่า แทนที่ความคล้ายคลึงกันโดยความหมาย (ที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำอาศัยความหมาย) จะมีกำลังมากขึ้นเมื่อกำลังแห่งการเชื่อมต่อกันโดยกาลเวลา (ที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำอาศัยเหตุการณ์) อ่อนลง ระบบทั้งสองกลับปรากฏว่าทำงานเคียงคู่กันโดยที่การระลึกถึงสิ่งเร้าโดยความหมายมีกำลังที่สุดเมื่อการระลึกถึงสิ่งเร้าอาศัยเหตุการณ์มีกำลังมากที่สุดด้วย

ความแตกต่างกันระหว่างวัย

การทำงานของเขตเฉพาะต่าง ๆ ในสมอง (โดยมากในฮิปโปแคมปัส) ดูเหมือนจะมีความแตกต่างกันระหว่างคนที่อายุน้อยกับคนที่อายุมากกว่าในขณะที่ค้นคืนความจำอาศัยเหตุการณ์ คือ ผู้มีอายุมากกว่ามักจะเกิดการทำงานในฮิปโปแคมปัสในสมองทั้งสองซีก ในขณะผู้ที่อายุน้อยกว่ามักจะมีการทำงานในสมองซีกซ้าย

ความสัมพันธ์กันกับอารมณ์

ความสัมพันธ์กันระหว่างอารมณ์และความจำนั้นซับซ้อน แต่โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว การมีอารมณ์ในเหตุการณ์หนึ่ง ๆ มักจะเพิ่มความเป็นไปได้ว่าจะจำเหตุการณ์นั้นได้ในภายหลัง และจะจำได้อย่างชัดเจน ตัวอย่างหนึ่งก็คือ Flashbulb memory ซึ่งเป็นความจำที่มีรายละเอียดสูง ชัดเจนกว่าปกติ ของขณะ ๆ หนึ่ง หรือของเหตุการณ์สิ่งแวดล้อม เป็นเหตุการณ์ที่เราได้ยินข่าวที่น่าแปลกใจและก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก

การเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้ยา

ในผู้ใหญ่ปกติ ความจำอาศัยเหตุการณ์ทางตาในระยะยาวสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้อย่างเฉพาะเจาะจง โดยให้ยาประเภท Acetylcholine esterase inhibitor เช่น Donepezil ในขณะที่ความจำทางคำพูดสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในบุคคลที่มี single nucleotide polymorphism ประเภท Val158Met (rs4680) ในยีน COMT โดยให้สารยั้บยั้งเอนไซม์ Catechol-O-methyl transferase เช่น Tolcapone นอกจากนั้นแล้ว ความจำอาศัยเหตุการณ์สามารถเพิ่มประสิทธิภาพโดยใช้ยา AZD3480 ซึ่งเป็นตัวทำการ (agonist) ของหน่วยรับความรู้สึก alpha4beta2 nicotinic receptor เป็นยาที่พัฒนาโดยบริษัท Targacept และยังมียาอื่น ๆ ที่กำลังพัฒนาโดยบริษัทหลายบริษัทรวมทั้งสารยับยั้งเอนไซม์ catecholamine-O-methyltransferase ชนิดใหม่ ๆ ที่มีผลข้างเคียงน้อย ซึ่งมีจุดมุ่งหมายในการทำความจำอาศัยเหตุการณ์ให้ดีขึ้น ในปี ค.ศ. 2006 มีงานวิจัยที่ใช้ยาหลอกในกลุ่มควบคุมที่พบว่า DHEA ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ (antagonist) กับสาร cortisol มีผลในการทำความจำในชายหนุ่มมีสุขภาพปกติให้ดีขึ้น

ความเสียหาย

  • งานปริทัศน์ของงานวิจัยทางพฤติกรรมบอกเป็นนัยว่า คนไข้โรคออทิซึมบางพวกอาจมีความเสียหายโดยเฉพาะต่อระบบความจำอาศัยเหตุการณ์ที่เขตลิมบิกและ prefrontal cortex ส่วนอีกงานวิจัยหนึ่งบ่งหลักฐานว่ามีความบกพร่องของคนไข้ออทิซึม ในความจำอาศัยเหตุการณ์หรือความจำที่มีความสำนึกว่าเป็นตนในเหตุการณ์ที่ตนได้ประสบ
  • คนไข้ที่มีความบกพร่องของความจำอาศัยเหตุการณ์มักจะเรียกว่ามี ภาวะเสียความจำ (amnesia)
  • โรคอัลไซเมอร์มักจะทำความเสียหายให้กับฮิปโปแคมปัสก่อนเขตอื่น ๆ ในสมอง
  • มีภาวะอาหารเป็นพิษที่เกิดจากสัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือกเช่นหอย ปู และกุ้งเป็นต้น ที่เรียกว่า amnesic shellfish poisoning (แปลว่า ภาวะพิษทำให้ความจำเสื่อมจากสัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือก) ซึ่งก่อความเสียหายให้แก่ฮิปโปแคมปัสอย่างแก้ไขไม่ได้ ทำให้เกิดภาวะเสียความจำ
  • Korsakoff's syndrome (กลุ่มอาการหลงลืมที่เกิดจากการเสพสุรา) มีเหตุจากการขาดวิตามินบี1 (ไทอามีน) ซึ่งเป็นรูปแบบของทุพโภชนาการที่อาจเร่งให้เกิดโดยการเสพสุรามากเกินไปเปรียบเทียบกับอาหารอื่น ๆ
  • การมี cortisol สูงขึ้นโดยฉับพลันที่เกิดจากการฉีดยา มีฤทธิ์ยับยั้งการระลึกถึงความจำอัตชีวประวัติ (autobiographical memory) อย่างสำคัญ ซึ่งอาจเป็นตัวการของความบกพร่องทางความจำของผู้มีภาวะซึมเศร้ารุนแรง (major depressive disorder)
  • การใช้ยาเสพติดเช่นยาอี (MDMA) มีความสัมพันธ์กับความบกพร่องทางความจำอาศัยเหตุการณ์ที่ติดทน

ในสัตว์

ในปี ค.ศ. 1983 ทัลวิงเสนอว่า เพื่อที่จะจัดว่าเป็นความจำอาศัยเหตุการณ์ ต้องมีหลักฐานว่ามีการระลึกถึงที่ประกอบด้วยความสำนึก ดังนั้น การแสดงว่ามีความจำอาศัยเหตุการณ์โดยที่ไม่ใช้ภาษาเช่นในสัตว์เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะว่าไม่มีตัวบ่งชี้ทางพฤติกรรมที่ยอมรับกันทั่วไปที่บอกว่ามีประสบการณ์ประกอบด้วยความสำนึกโดยที่ไม่ได้อาศัยภาษา

แนวคิดนี้ถูกค้านเป็นครั้งแรกโดยเคลย์ตันและดิกกินสันในงานวิจัยเกี่ยวกับสัตว์วงศ์นกกาสปีชีส์ Aphelocoma californica ในปี ค.ศ. 1998 คือได้พบว่า นกเหล่านี้อาจมีระบบความจำที่เกี่ยวกับสิ่งที่คล้ายเหตุการณ์ เพราะว่าพบว่า นกจำได้ว่าเก็บอาหารประเภทต่าง ๆ ไว้ที่ไหน แล้วไปเอาอาหารมาอย่างมีการแยกแยะขึ้นอยู่กับว่าอาหารจะเสียง่ายแค่ไหนและเก็บไว้นานเท่าไรแล้ว ดังนั้น นกจึงปรากฏว่าจำข้อมูลว่า "อะไร-ที่ไหน-เมื่อไร" ของเหตุการณ์การเก็บอาหารในอดีตได้อย่างเฉพาะเจาะจง นักวิจัยอ้างว่า การทำได้อย่างนี้สมกับบรรทัดฐานทางพฤติกรรมเกี่ยวกับความจำอาศัยเหตุการณ์ แต่ก็ยังเรียกความสามารถนี้เพียงแค่ว่า ความจำคล้ายความจำอาศัยเหตุการณ์ (episodic-like memory) เพราะว่างานวิจัยไม่ได้มีหลักฐานด้านปรากฏการณ์วิทยา (phenomenological) ของความจำในนก (คือไม่สามารถรู้ได้ว่านกระลึกถึงความจำนี้ได้อย่างมีสำนึกหรือไม่)

งานวิจัยที่ทำที่มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์กในปี ค.ศ. 2006 แสดงลักษณะ 2 อย่างของความจำอาศัยเหตุการณ์ที่พบครั้งแรกในสัตว์คือนกฮัมมิงเบิร์ด คือ นกสามารถระลึกถึงสถานที่ที่มีดอกไม้และถึงเวลาครั้งสุดท้ายที่ได้ไปที่ดอกไม้ ส่วนงานวิจัยอื่น ๆ พบความจำที่มีลักษณะเช่นกันในสัตว์สปีชีส์ต่าง ๆ เช่นหนู ผึ้ง และไพรเมต

งานวิจัยแสดงว่า การเข้ารหัสและการค้นคืนความจำเกี่ยวกับประสบการณ์ในอดีตของสัตว์ต่าง ๆ ก็ต้องอาศัยวงจรประสาทในสมองกลีบขมับด้านใน (medial temporal lobe) ซึ่งรวมฮิปโปแคมปัสอยู่ด้วยเช่นกัน งานวิจัยโดยรอยโรคในสัตว์ได้แสดงความสำคัญของโครงสร้างต่าง ๆ ในสมองเหล่านี้ต่อความจำคล้ายความจำอาศัยเหตุการณ์ ยกตัวอย่างเช่น รอยโรคในฮิปโปแคมปัสมีผลอย่างรุนแรงต่อองค์ประกอบของความจำ 3 อย่างในสัตว์ (คืออะไร ที่ไหน และเมื่อไร) ซึ่งบอกเป็นนัยว่า ฮิปโปแคมปัสมีหน้าที่ตรวจจับเหตุการณ์ สิ่งเร้า และสถานที่ใหม่ ๆ เมื่อสร้างความจำ และมีหน้าที่ในการค้นคืนข้อมูลนั้น ๆ ในภายหลัง

แม้ว่าจะมีเขตประสาทที่เหมือนกันดังที่แสดงในหลักฐานของงานทดลอง นักวิชาการบางท่านเช่นซัดเด็นดอร์ฟและบัสบี้ ก็ยังระวังในการที่จะเปรียบเทียบความจำของสัตว์กับความจำอาศัยเหตุการณ์ในมนุษย์ เพราะว่า ความจำคล้ายความจำอาศัยเหตุการณ์ที่อ้างอิงมักจะใช้ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ หรือสามารถที่จะอธิบายได้ว่าเกี่ยวข้องกับความจำเชิงกระบวนวิธี (procedural memory) หรือ ความจำอาศัยความหมาย (semantic memory) บางทีปัญหานี้อาจจะง่ายกว่า ถ้าศึกษาลักษณะอีกอย่างหนึ่งของความจำอาศัยเหตุการณ์ที่เป็นการปรับตัวในลำดับวิวัฒนาการ ซึ่งก็คือความสามารถในการจินตนาการถึงเหตุการณ์ในอนาคตอย่างยืดหยุ่นได้ แต่ว่างานวิจัยงานหนึ่งเร็ว ๆ นี้ได้แก้ข้อวิจารณ์ของซัดเด็นดอร์ฟและบัสบี้ข้อหนึ่ง (คือประเด็นของสมมติฐาน Bischof-Köhler ซึ่งกล่าวว่า สัตว์ที่ไม่ใช่มนุษย์สามารถเพียงแต่จะทำกิจเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการในปัจจุบัน ไม่ใช่ที่จะต้องการในอนาคต) คอร์เรอาและคณะได้แสดงว่า[citation needed] นก Aphelocoma californica สามารถเลือกที่จะเก็บอาหารต่าง ๆ ประเภทกันขึ้นอยู่ว่าจะต้องการอะไรในอนาคต เป็นการให้หลักฐานที่มีกำลังค้านสมมติฐาน Bischof-Köhler hypothesis โดยแสดงว่า นกสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมอาศัยประสบการณ์ในอดีตว่าต้องการอาหารประเภทใด

ความจำเชิงอัตชีวประวัติ

ความจำเชิงอัตชีวประวัติ (autobiographical memory) เป็นตัวแทนทางประสาทของความจำที่เกี่ยวกับเหตุการณ์โดยทั่ว ๆ ไป เหตุการณ์โดยเฉพาะ และข้อมูลเกี่ยวกับตน ความจำเชิงอัตชีวประวัตินั้นหมายถึงความจำเกี่ยวกับประวัติของตนเองด้วย แต่ว่า เราไม่ได้จำทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในอดีตได้ และความจำนั้นเป็นกระบวนการที่มีการสร้างเสริม (constructive) คือประสบการณ์ในปัจจุบันและก่อน ๆ จะมีอิทธิพลต่อความจำของเราเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ และจะมีอิทธิพลว่าเราจะระลึกอะไรได้จากความจำ แม้ความจำเชิงอัตชีวประวัติก็เป็นสิ่งที่มีการสร้างเสริม เป็นประวัติที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น แม้ว่าเราจะรู้สึกว่า ความจำเกี่ยวกับชีวประวัติของตนจะค่อนข้างมั่นคงและชัดเจน แต่ความจริงแล้ว ความแม่นยำของความจำเชิงอัตชีวประวัติไม่อาจมั่นใจได้เต็มที่เพราะอาจมีความบิดเบือน

การทำงานของความจำอัตชีวประวัติอาจจะแตกต่างกันในช่วงเวลาพิเศษในชีวิต เราจะระลึกถึงเหตุการณ์ในปีแรก ๆ ของชีวิตเราได้น้อย การจำเหตุการณ์แรก ๆ เหล่านี้ไม่ได้เรียกว่า ภาวะเสียความจำในวัยเด็ก (childhood amnesia) หรือ ภาวะเสียความจำในวัยทารก (infantile amnesia) เรามักจะสามารถระลึกถึงเหตุการณ์ของตนได้มากมายในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ต้น ๆ ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า reminiscence bump (การประทุของความจำเหตุการณ์ในอดีต) และเราสามารถระลึกถึงเหตุการณ์ส่วนตัวได้มากมายในระยะ 2-3 ปีที่เพิ่งผ่านมา ซึ่งเรียกว่า recency effect (ปรากฏการณ์จำเหตุการณ์ในอดีตได้เหตุเพิ่งเกิดขึ้น) ส่วนในวัยรุ่นและในวัยหนุ่มสาว ทั้ง reminiscence bump และ recency effect เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน

แม้จะรู้กันแล้วว่า ความจำเชิงอัตชีวประวัติมีการบันทึกไว้เป็นความจำอาศัยเหตุการณ์ในตอนต้น ๆ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่า ความจำเชิงอัตชีวประวัติเป็นสิ่งเดียวกันกับความจำอาศัยเหตุการณ์หรือไม่ หรือว่า ความจำเชิงอัตชีวประวัติในที่สุดจะมีการเปลี่ยนเป็นความจำอาศัยความหมายตามกาลเวลา

ประเภท

  • เหตุการณ์เฉพาะเจาะจง (Specific Events)
    • เช่น เมื่อก้าวลงในทะเลเป็นครั้งแรก
  • เหตุการณ์ทั่ว ๆ ไป (General Events)
    • เช่นรู้สึกอย่างไรเมื่อก้าวลงไปในทะเลโดยทั่ว ๆ ไป นี้เป็นความจำว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนมีความรู้สึกเป็นอย่างไรโดยทั่วไป อาจจะเป็นความจำเกี่ยวกับการก้าวลงไปในทะเล ซึ่งเกิดขึ้นหลายครั้งหลายหนในชีวิต
  • ความจริงหรือความรู้เกี่ยวกับตน
    • เช่น ใครเป็นนายกรัฐมนตรีในปีที่เกิด
  • Flashbulb Memories
    • Flashbulb Memory (ความจำเหมือนแสงแฟลช) เป็นความจำอัตชีวประวัติแบบวิกฤติเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญ ความจำแบบนี้บางครั้งจะเป็นไปร่วมกับคนอื่น ๆ ในชุมชน เช่น (เป็นตัวอย่างสำหรับคนอเมริกัน)

Neural network models

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"
  2. Schacter, Daniel L., Gilbert, Daniel T., และ Wegner, Daniel M. (2011). Semantic and episodic memory (Second Edition ed.). New York: Worth, Incorporated. pp. 240–241.CS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: extra text (link)
  3. Tulving E (1984). "Precis of Elements of Episodic Memory". Behavioural and Brain Sciences. 7 (2): 223–68. doi:10.1017/S0140525X0004440X.
  4. Nicola S. Clayton; Lucie H. Salwiczek; Anthony Dickinson (20 March 2007). (07) 00812-3.pdf "Episodic memory" Check |url= value (help) (PDF). Current Biology. 17 (6): 189–191. doi:10.1016/j.cub.2007.01.011. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม 2557. Check date values in: |accessdate= (help)CS1 maint: date and year (link)
  5. Hassabis, D; Maguire, EA (2007). "Deconstructing episodic memory with construction". Trends in Cognitive Sciences (Regul Ed ). 11 (7): 299–306.
  6. Terry, W. S. (2006) . Learning and Memory: Basic principles, processes, and procedures. Boston: Pearson Education, Inc.
  7. Baars, B. J. & Gage, N. M. (2007) . Cognition, Brain, and Consciousness: Introduction to cognitive neuroscience. London: Elsevier Ltd.
  8. Conway, M. A. (2009). "Episodic Memory". Neuropsychologia. 47: 2305–2306.
  9. Janowsky JS, Shimamura AP, Squire LR (1989). "Source memory impairment in patients with frontal lobe lesions". Neuropsychologia. 27 (8): 1043–56. doi:10.1016/0028-3932(89)90184-X. PMID 2797412.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  10. Gabrieli JD, Poldrack RA, Desmond JE (1998). "The role of left prefrontal cortex in language and memory". Proc. Natl. Acad. Sci. U.S.A. 95 (3): 906–13. doi:10.1073/pnas.95.3.906. PMC 33815. PMID 9448258. Unknown parameter |month= ignored (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  11. Deisseroth K, Singla S, Toda H, Monje M, Palmer TD, Malenka RC (2004). "Excitation-neurogenesis coupling in adult neural stem/progenitor cells". Neuron. 42 (4): 535–52. doi:10.1016/S0896-6273(04)00266-1. PMID 15157417. Unknown parameter |month= ignored (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  12. Tulving, Endel (1983). Elements of Episodic Memory. New York: Oxford University Press.
  13. Tulving, Endel (2002). "Episodic Memory: From Mind to Brain". Annual Review of Psychology. 53: 1–25. doi:10.1146/annurev.psych.53.100901.135114. PMID 11752477.
  14. Tulving, Endel (19 January 1990). "Priming and Human Memory Systems". Science. 4940. 247 (4940): 301–6. doi:10.1126/science.2296719. PMID 2296719. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  15. Tulving, Endel (7 December 1998). "Episodic and Declarative Memory: role of the hippocampus". Hippocampus. 8 (3): 198–204. doi:10.1002/(SICI)1098-1063(1998)8:3<198::AID-HIPO2>3.0.CO;2-G. PMID 9662134. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  16. Howard, M.W. (2002). "When does semantic similarity help episodic retrieval". Journal of Memory and Language. 46: 85–96. doi:10.1006/jmla.2001.2798. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  17. Maguire EA, Frith CD (2003). "Aging affects the engagement of the hippocampus during autobiographical memory retrieval". Brain. 126 (Pt 7): 1511–23. doi:10.1093/brain/awg157. PMID 12805116. Unknown parameter |month= ignored (help)
  18. Brown, Roger; Kulik, James (1977). "Flashbulb memories". Cognition. 5 (1): 73–99. doi:10.1016/0010-0277(77)90018-X.
  19. Grön G, Kirstein M, Thielscher A, Riepe MW, Spitzer M (2005). "Cholinergic enhancement of episodic memory in healthy young adults". Psychopharmacology (Berl.). 182 (1): 170–9. doi:10.1007/s00213-005-0043-2. PMID 16021483. Unknown parameter |month= ignored (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  20. Apud JA; Mattay V; Chen J; และคณะ (2007). "Tolcapone improves cognition and cortical information processing in normal human subjects". Neuropsychopharmacology. 32 (5): 1011–20. doi:10.1038/sj.npp.1301227. PMID 17063156. Unknown parameter |month= ignored (help); Unknown parameter |author-separator= ignored (help)
  21. Dunbar G; Boeijinga PH; Demazières A; และคณะ (2007). "Effects of TC-1734 (AZD3480), a selective neuronal nicotinic receptor agonist, on cognitive performance and the EEG of young healthy male volunteers". Psychopharmacology (Berl.). 191 (4): 919–29. doi:10.1007/s00213-006-0675-x. PMID 17225162. Unknown parameter |month= ignored (help); Unknown parameter |author-separator= ignored (help)
  22. Alhaj HA, Massey AE, McAllister-Williams RH (2006). "Effects of DHEA administration on episodic memory, cortisol and mood in healthy young men: a double-blind, placebo-controlled study". Psychopharmacology (Berl.). 188 (4): 541–51. doi:10.1007/s00213-005-0136-y. PMID 16231168. Unknown parameter |month= ignored (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  23. Ben Shalom D (2003). "Memory in autism: review and synthesis". Cortex. 39 (4–5): 1129–38. doi:10.1016/S0010-9452(08)70881-5. PMID 14584570.
  24. Joseph, Robert M.; Steele, Shelley D.; Meyer, Echo; Tager-Flusberg, Helen (2005). "Self-ordered pointing in children with autism: failure to use verbal mediation in the service of working memory?" (PDF). Neuropsychologia. 43: 1400–1411. (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-07. สืบค้นเมื่อ 2557-08-07. Check date values in: |accessdate= (help)
  25. Buss C, Wolf OT, Witt J, Hellhammer DH (2004). "Autobiographic memory impairment following acute cortisol administration". Psychoneuroendocrinology. 29 (8): 1093–6. doi:10.1016/j.psyneuen.2003.09.006. PMID 15219661. Unknown parameter |month= ignored (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  26. Parrott AC, Lees A, Garnham NJ, Jones M, Wesnes K (1998). "Cognitive performance in recreational users of MDMA of 'ecstasy': evidence for memory deficits". Journal of Psychopharmacology (Oxford, England). 12 (1): 79–83. doi:10.1177/026988119801200110. PMID 9584971.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  27. Morgan MJ (1999). "Memory deficits associated with recreational use of "ecstasy" (MDMA)". Psychopharmacology. 141 (1): 30–6. doi:10.1007/s002130050803. PMID 9952062. Unknown parameter |month= ignored (help)
  28. Griffiths D, Dickinson A, Clayton N (1999). "Episodic memory: what can animals remember about their past?". Trends in cognitive sciences. 3 (2): 74–80. doi:10.1016/S1364-6613(98)01272-8. PMID 10234230.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  29. Clayton NS, Dickinson A (1998). "Episodic-like memory during cache recovery by scrub jays". Nature. 395 (6699): 272–4. doi:10.1038/26216. PMID 9751053.
  30. Henderson, J.; Hurly, T. A.; Bateson, M.; Healy, S. D. (2006). "Timing in free-living rufous hummingbirds, Selasphorus rufus". Current Biology. 16 (5): 512–515.
  31. Dere, E.; Huston, J. P.; Silva, M. A. S. (2005). "Episodic-like memory in mice: Simultaneous assessment of object, place and temporal order memory". Brain Research Protocols. 16 (1–3): 10–19.
  32. Menzel, E. (2005) Progress in the study of chimpanzee recall and episodic memory. In: The missing link in cognition, ed. H. S. Terrace & J. Metcalfe. Oxford University Press.
  33. Scheumann, M. & Call, J. (2006) Sumatran orangutans and a yellow-cheeked crested gibbon know what is where. International Journal of Primatology 27 (2) :575–602.
  34. Schwartz, B. L., Colon, M. R., Sanchez, I. C., Rodriguez, I. A. & Evans, S. (2002) Single-trial learning of “what” and “who” information in a gorilla (Gorilla gorilla gorilla) : Implications for episodic memory. Animal Cognition 5 (2) :85–90.
  35. Schwartz, B. L., Hoffman, M. L. & Evans, S. (2005) Episodic-like memory in a gorilla: A review and new findings. Learning and Motivation 36 (2) :226–244.
  36. Hampton, R. R. (2001) Rhesus monkeys know when they remember. Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America 98 (9) :5359–5362.
  37. Suddendorf T, Busby J (2003). "Mental time travel in animals?". Trends in Cognitive Sciences. 7 (9): 391–396. doi:10.1016/S1364-6613(03)00187-6. PMID 12963469.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Deisseroth K, Singla S, Toda H, Monje M, Palmer TD, Malenka RC (2004). "Excitation-neurogenesis coupling in adult neural stem/progenitor cells". Neuron. 42 (4): 535–52. doi:10.1016/S0896-6273(04)00266-1. PMID 15157417.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  • Tulving, E. (1972) . Episodic and semantic memory. In E. Tulving & W. Donaldson (Eds.), Organization of memory, (pp. 381–403) . New York: Academic Press.
  • Tulving, E. (1983) . Elements of Episodic Memory. Oxford: Clarendon Press.
  • Tulving E (2002). "Episodic memory: from mind to brain". Annual review of psychology. 53: 1–25. doi:10.1146/annurev.psych.53.100901.135114. PMID 11752477.
  • Kart-Teke E, De Souza Silva MA, Huston JP, Dere E (2006). "Wistar rats show episodic-like memory for unique experiences". Neurobiology of Learning and Memory. 85 (2): 173–82. doi:10.1016/j.nlm.2005.10.002. PMID 16290193.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  • Eacott MJ, Easton A, Zinkivskay A (2005). "Recollection in an episodic-like memory task in the rat". Learn. Mem. 12 (3): 221–3. doi:10.1101/lm.92505. PMID 15897259.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  • Suddendorf T (2006). "Foresight and evolution of the human mind". Science. 312 (5776): 1006–7. doi:10.1126/science.1129217. PMID 16709773.
  • Ghetti, S. Lee, J. (2010) . Children's Episodic Memory. John Wiley & Sons, Ltd. pp. 365–373.
  • The Works of Endel Tulving - free access to papers and book chapters
  • Images in Neuroscience: Episodic Memory Retrieval. American Journal of Psychiatry.
  • Episodic Memory and Referential Activity 2011-07-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ความจำอาศ, ยเหต, การณ, งกฤษ, episodic, memory, เป, นความจำเก, ยวก, บเหต, การณ, าง, ในช, วประว, ของตนเอง, รวมท, งข, อม, ลเก, ยวก, บว, นเวลา, สถานท, อารมณ, ความร, กท, และเร, องท, เก, ยวข, องก, นอ, สามารถระล, กได, ภายใต, อำนาจจ, ตใจและนำมากล, าวได, อย, างช, ดแจ, . khwamcaxasyehtukarn 1 xngkvs episodic memory epnkhwamcaekiywkbehtukarntang inchiwprawtikhxngtnexng rwmthngkhxmulekiywkbwnewla sthanthi xarmnkhwamrusukthimi aelaeruxngthiekiywkhxngknxun thisamarthralukidphayitxanacciticaelanamaklawidxyangchdaecng epnkhwamcarwmprasbkarntang khxngtninxdit aetlaehtukarnekidkhunthiwnewlahnung aelainsthanthihnung yktwxyangechn thaeraralukthungnganeliyng hruxkarthabuy wnekidemuxxayu 6 khwbid niepnkhwamcaxasyehtukarn epnkhwamcathiyngiherasamarthedinthangklbipinkalewla inic ephuxralukthungehtukarnthiekidkhunthiwnewlann aelasthanthinn 2 khwamcaxasykhwamhmay semantic memory aelakhwamcaxasyehtukarnrwmkncdxyuinpraephthkhwamcachdaecng explicit memory hruxthieriykxikxyanghnungwa khwamcaechingprakas declarative memory sungepnhnunginsxngpraephthhlk khxngkhwamca odyxikpraephthhnungepnkhwamcaodypriyay 3 nkcitwithyachawaekhnadachuxwaexnedl thlwing idbyytikhawa Episodic Memory iwinpi kh s 1972 ephuxthicaaesdngthungkhwamtangknrahwang karru aela karcaid khux karruepnkarrukhwamcring factual hruxkhwamhmay semantic epriybethiybkbkarcaidsungepnkhwamrusukekiywkbehtukarninxdit episodic 4 s thlwingidkahndlksnasakhysamxyangkhxngkarralukthungkhwamcaxasyehtukarnthimixiththiphlxyangsungtxnganwicytx ma khux epnkhwamrusukthiepnxtwisyekiywkbkalewla hruxbangkhrngphrrnnawa epnkarethiywyxnklbipinewlathangic epnkhwamrusukthiekiywkbtn epn autonoetic consciousness sunghmaythungkarralukthungkarkrathathitwexngcaid sungchwyihtwexngtrahnkthungtwexng n ewlaintxnnnnxkcakthlwingaelw yngminkwicyxun thikahndlksnasakhytang khxngkarralukthungkhwamcarwmthngkarehnphaphthangta okhrngsrangaebbepneruxngela karkhnkhunkhxmulechingkhwamhmay semantic information aelakhwamrusukkhunekhy 5 ehtukarnthibnthukiwinkhwamcaxasyehtukarn episodic memory xaccathaihekidkareriynruxasyehtukarn episodic learning sungkkhux khwamepliynaeplngthangphvtikrrmephraaehtukarnthiidprasb 6 7 yktwxyangechn khwamklwsunkhephraawathukkd epnphlkhxngkareriynruxasyehtukarnxngkhprakxbsakhyxyanghnungkhxngkhwamcaxasyehtukarnkkhuxkrabwnkarralukthungkhwamca recollection sungepnkrabwnkarthierimkarkhnkhunkhxngkhxmulthiekiywkhxngkbehtukarnhruxprasbkarnhnung inxdit enuxha 1 lksna 9 xyangkhxngkhwamcaxasyehtukarn 2 prasathwithyasastrechingprachan 2 1 bthbathkhxnghipopaekhmpsinkarekbkhwamca 3 khwamsmphnthkbkhwamcaxasykhwamhmay 4 khwamaetktangknrahwangwy 5 khwamsmphnthknkbxarmn 6 karephimprasiththiphaphodyichya 7 khwamesiyhay 8 instw 9 khwamcaechingxtchiwprawti 10 praephth 11 Neural network models 12 echingxrrthaelaxangxing 13 aehlngkhxmulxunlksna 9 xyangkhxngkhwamcaxasyehtukarn aekikhmikhunlksna 9 xyangkhxngkhwamcaxasyehtukarnthithaihaetktangcakkhwamcapraephthxun aemwa khwamcapraephthxun xaccamikhunlksnabangxyangehlaniidbang aetkhwamcaxasyehtukarnmilksnaphiessechphaaephraaepnpraephthediywthimithng 9 lksna 8 mikarbnthukodysrupkhxngkarpramwlphlphanwithi sensory perceptual conceptual affective prasathsmphs karrbru khwamnukkhid xarmn khngrupaebbkhxngkarera activation hruxkarybyng inhibition iwidnan mkcabnthukiwinrupaebbkhxngphaphthangta visual image mimummxng field epnmummxngehmuxnkbthiprasbkbehtukarn hrux observer khux mummxngkhxngphusngektkarnkhnxun epnchwngewlasn khxngprasbkarn epniptamladbehtukarn lumidngay thaihkarralukthungxtchiwprawtiepnipodyechphaaecaacng emuxralukthung ehmuxnkbxyuinehtukarnnnxikkhrnghnung mental time travel prasathwithyasastrechingprachan aekikhkarsrangkhwamcaxasyehtukarnkhunihmtxngxasysmxngklibkhmbdanin medial temporal lobe twyx MTL sungepnokhrngsrangthirwmhipopaekhmpsxyudwy thaimmi MTL kcayngsamarthsrangkhwamcaechingkrabwnwithi procedural memory echnthksaekiywkbkarelnekhruxngdntriid aetcaimsamarthralukthungehtukarnthimikarelndntrihruxkarfukhdelnekhruxngdntrinnidsmxngswn prefrontal cortex twyx PFC odyechphaaxyangyinginsikkhwa kmiswnrwminkarsrangkhwamcaxasyehtkarnihm epnkrabwnkarthieriykwa episodic encoding karekharhsehtukarn khnikhthimi PFC esiyhaysamartheriynrukhxmulihm aetmkcaeriynidxyangimepnladb yktwxyangechn xaccamikarrucawtthuthiekhyehnmakxninxditthiepnpkti aetimsamarthralukidwaidehnthiihnhruxemuxir 9 nkwicybangphwkechuxwa PFC chwycdraebiybkhxmulephuxkarbnthukthimiprasiththiphaphyingkhun phankrabwnkar executive functions thi PFC mibthbath swnphwkxunechuxwa prefrontal cortex epnokhrngsrangthiepnthankhxngklyuththechingkhwamhmaythichwykarekharhsihdikhun echnkarkhidthungkhwamhmaykhxngsingthieriynhruxkarfuksxmkhxmulnn rehearsal phayinkhwamcaichngan 10 sungepnklyuththechingkhwamhmaythichwykarekharhschwyihcaiddikhun bthbathkhxnghipopaekhmpsinkarekbkhwamca aekikh nkwicyimmimtirwmknekiywkbrayaewlathikhwamcaxasyehtukarnekbxyuinhipopaekhmps bangphwkechuxwa khwamcaxasyehtukarntxngxasyhipopaekhmpstlxdip swnphwkxunechuxwa hipopaekhmpsepnthiekbkhwamcaxasyehtukarninchwngewlasn aelahlngcaknnkhwamcakcaekidkarthaihmnkhng memory consolidation ihxyuinkhxrethksihm neocortex khwamehnhlngniidrbkarsnbsnuncakhlkthaninpi kh s 2004 wa enuxeyuxthiekidkhunihm neurogenesis inhipopaekhmpskhxngphuihy xacchwyihlumkhwamcaekaidngaykhun aelaephimprasiththiphaphinkarsrangkhwamcaihm 11 khwamsmphnthkbkhwamcaxasykhwamhmay aekikhexnedl thlwingidphrrnnakhwamcaxasyehtukarnwaepnbnthukprasbkarnkhxngtnthimikhxmulprakxbdwywnewlaaelamikhwamsmphnthknrahwangphunthi sthanthi kbkalewla spatio temporal relation 12 lksnahnungkhxngkhwamcaxasyehtukarnthithlwingtxmakhyaykhwamkkhux thaiherasamarthethiywyxnipinkalewlaid 13 khux sthankarnxyanghnunginpccubnxaccachwyihralukthungehtukarninxdithnung miphlepnkarprasbkbehtukarninxditxikkhrnghnung inic epnwithithierasamarthsmphnthkhwamrusukinxditkbsthankarninpccubnodyepriybethiybknaelw khwamcaxasykhwamhmay semantic memory epnkarekbkhxmulxyangmiraebiybekiywkbkhwamcring khwamkhid aelathksathieraideriynru khxmulechingkhwamhmaynnmacakkarsngsmkhwamcaxasyehtukarn aelakhwamcaxasyehtukarnsamarthphicarnaidwaepnaephnthithiechuxmsingtang cakkhwamcaxasykhwamhmay yktwxyangechn prasbkarnekiywkbsunkhkhxngerawamirupranghnataaelaesiyngepnxyangircamitwaethnechingkhwamhmayhnung inrabbprasath khwamcaxasyehtukarnthnghmdthiekiywkbsunkhtwnicaxangxingtwaethnechingkhwamhmayni aelaprasbkarnihm thieramiekiywkbsunkhkhxngeracaepliynephimkhxmulekiywkbsunkhthitwaethnechingkhwamhmayediywknniodyrwmknaelw khwamcaxasykhwamhmayaelakhwamcaxasyehtukarnprakxbknepnkhwamcaechingprakas 14 declarative memory hruxkhwamcachdaecng explicit memory sungaetlarabbmihnathiepntwaethnswntang knkhxngsthankarnnn rwmknepnphaphthibriburn aeladngnn thamiehtuthirbkwnkhwamcaxasyehtukarnkcasamarthmiphlkrathbtxkhwamcaechingkhwamhmaydwy yktwxyangechnphawaesiykhwamcaswnxnakht anterograde amnesia sungekidcakkhwamesiyhaythismxngklibkhmbdanin epnkhwamesiyhaytxkhwamcaechingprakasthimiphltxthngkhwamcaxasyehtukarnaelakhwamcaxasykhwamhmay 15 intxntn thlwingesnxwa khwamcaxasyehtukarnaelakhwamcaechingprakasepnrabbthiaetktangknaelamikaraekhngkhnknemuxmikarkhnkhunkhwamca aettxma thvsdinithukptiesthemuxehawardaelakahanathakarthdlxngthiwiekhraahkhwamkhlayknkhxngkhaodykhwamhmayodyichethkhnikh latent semantic analysis aelwphbwa rabbkhwamcathngsxngmikhwamsmphnthkn imichaeykxxkcakkn khuxphbwa aethnthikhwamkhlaykhlungknodykhwamhmay thiekiywkhxngkbrabbkhwamcaxasykhwamhmay camikalngmakkhunemuxkalngaehngkarechuxmtxknodykalewla thiekiywkhxngkbrabbkhwamcaxasyehtukarn xxnlng rabbthngsxngklbpraktwathanganekhiyngkhuknodythikarralukthungsingeraodykhwamhmaymikalngthisudemuxkarralukthungsingeraxasyehtukarnmikalngmakthisuddwy 16 khwamaetktangknrahwangwy aekikhkarthangankhxngekhtechphaatang insmxng odymakinhipopaekhmps duehmuxncamikhwamaetktangknrahwangkhnthixayunxykbkhnthixayumakkwainkhnathikhnkhunkhwamcaxasyehtukarn 17 khux phumixayumakkwamkcaekidkarthanganinhipopaekhmpsinsmxngthngsxngsik inkhnaphuthixayunxykwamkcamikarthanganinsmxngsiksaykhwamsmphnthknkbxarmn aekikhkhwamsmphnthknrahwangxarmnaelakhwamcannsbsxn aetodythw ipaelw karmixarmninehtukarnhnung mkcaephimkhwamepnipidwacacaehtukarnnnidinphayhlng aelacacaidxyangchdecn twxyanghnungkkhux Flashbulb memory sungepnkhwamcathimiraylaexiydsung chdecnkwapkti khxngkhna hnung hruxkhxngehtukarnsingaewdlxm epnehtukarnthieraidyinkhawthinaaeplkicaelakxihekidxarmnkhwamrusuk 18 karephimprasiththiphaphodyichya aekikhinphuihypkti khwamcaxasyehtukarnthangtainrayayawsamarthephimprasiththiphaphidxyangechphaaecaacng 19 odyihyapraephth Acetylcholine esterase inhibitor echn Donepezil inkhnathikhwamcathangkhaphudsamarthephimprasiththiphaphinbukhkhlthimi single nucleotide polymorphism praephth Val158Met rs4680 inyin COMT odyihsarybyngexnism Catechol O methyl transferase echn Tolcapone 20 nxkcaknnaelw khwamcaxasyehtukarnsamarthephimprasiththiphaphodyichya AZD3480 sungepntwthakar agonist khxnghnwyrbkhwamrusuk alpha4beta2 nicotinic receptor epnyathiphthnaodybristh Targacept 21 aelayngmiyaxun thikalngphthnaodybristhhlaybristhrwmthngsarybyngexnism catecholamine O methyltransferase chnidihm thimiphlkhangekhiyngnxy sungmicudmunghmayinkarthakhwamcaxasyehtukarnihdikhun inpi kh s 2006 minganwicythiichyahlxkinklumkhwbkhumthiphbwa DHEA sungepnptipks antagonist kbsar cortisol miphlinkarthakhwamcainchayhnummisukhphaphpktiihdikhun 22 khwamesiyhay aekikhnganprithsnkhxngnganwicythangphvtikrrmbxkepnnywa khnikhorkhxxthisumbangphwkxacmikhwamesiyhayodyechphaatxrabbkhwamcaxasyehtukarnthiekhtlimbikaela prefrontal cortex 23 swnxiknganwicyhnungbnghlkthanwamikhwambkphrxngkhxngkhnikhxxthisum inkhwamcaxasyehtukarnhruxkhwamcathimikhwamsanukwaepntninehtukarnthitnidprasb 24 khnikhthimikhwambkphrxngkhxngkhwamcaxasyehtukarnmkcaeriykwami phawaesiykhwamca amnesia orkhxlisemxrmkcathakhwamesiyhayihkbhipopaekhmpskxnekhtxun insmxng miphawaxaharepnphisthiekidcakstwnapraephththimiepluxkechnhxy pu aelakungepntn thieriykwa amnesic shellfish poisoning aeplwa phawaphisthaihkhwamcaesuxmcakstwnapraephththimiepluxk sungkxkhwamesiyhayihaekhipopaekhmpsxyangaekikhimid thaihekidphawaesiykhwamca Korsakoff s syndrome klumxakarhlnglumthiekidcakkaresphsura miehtucakkarkhadwitaminbi1 ithxamin sungepnrupaebbkhxngthuphophchnakarthixacerngihekidodykaresphsuramakekinipepriybethiybkbxaharxun karmi cortisol sungkhunodychbphlnthiekidcakkarchidya mivththiybyngkarralukthungkhwamcaxtchiwprawti autobiographical memory xyangsakhy 25 sungxacepntwkarkhxngkhwambkphrxngthangkhwamcakhxngphumiphawasumesrarunaerng major depressive disorder karichyaesphtidechnyaxi MDMA mikhwamsmphnthkbkhwambkphrxngthangkhwamcaxasyehtukarnthitidthn 26 27 instw aekikhinpi kh s 1983 thlwing 12 esnxwa ephuxthicacdwaepnkhwamcaxasyehtukarn txngmihlkthanwamikarralukthungthiprakxbdwykhwamsanuk dngnn karaesdngwamikhwamcaxasyehtukarnodythiimichphasaechninstwepnsingthiepnipimid ephraawaimmitwbngchithangphvtikrrmthiyxmrbknthwipthibxkwamiprasbkarnprakxbdwykhwamsanukodythiimidxasyphasa 28 aenwkhidnithukkhanepnkhrngaerkodyekhlytnaeladikkinsninnganwicyekiywkbstwwngsnkkaspichis Aphelocoma californica inpi kh s 1998 29 khuxidphbwa nkehlanixacmirabbkhwamcathiekiywkbsingthikhlayehtukarn ephraawaphbwa nkcaidwaekbxaharpraephthtang iwthiihn aelwipexaxaharmaxyangmikaraeykaeyakhunxyukbwaxaharcaesiyngayaekhihnaelaekbiwnanethairaelw dngnn nkcungpraktwacakhxmulwa xair thiihn emuxir khxngehtukarnkarekbxaharinxditidxyangechphaaecaacng nkwicyxangwa karthaidxyangnismkbbrrthdthanthangphvtikrrmekiywkbkhwamcaxasyehtukarn aetkyngeriykkhwamsamarthniephiyngaekhwa khwamcakhlaykhwamcaxasyehtukarn episodic like memory ephraawanganwicyimidmihlkthandanpraktkarnwithya phenomenological khxngkhwamcainnk khuximsamarthruidwankralukthungkhwamcaniidxyangmisanukhruxim nganwicythithathimhawithyalyexdinebirkinpi kh s 2006 aesdnglksna 2 xyangkhxngkhwamcaxasyehtukarnthiphbkhrngaerkinstwkhuxnkhmmingebird khux nksamarthralukthungsthanthithimidxkimaelathungewlakhrngsudthaythiidipthidxkim 30 swnnganwicyxun phbkhwamcathimilksnaechnkninstwspichistang echnhnu 31 phung aelaiphremt 32 33 34 35 36 nganwicyaesdngwa karekharhsaelakarkhnkhunkhwamcaekiywkbprasbkarninxditkhxngstwtang ktxngxasywngcrprasathinsmxngklibkhmbdanin medial temporal lobe sungrwmhipopaekhmpsxyudwyechnkn nganwicyodyrxyorkhinstwidaesdngkhwamsakhykhxngokhrngsrangtang insmxngehlanitxkhwamcakhlaykhwamcaxasyehtukarn yktwxyangechn rxyorkhinhipopaekhmpsmiphlxyangrunaerngtxxngkhprakxbkhxngkhwamca 3 xyanginstw khuxxair thiihn aelaemuxir sungbxkepnnywa hipopaekhmpsmihnathitrwccbehtukarn singera aelasthanthiihm emuxsrangkhwamca aelamihnathiinkarkhnkhunkhxmulnn inphayhlngaemwacamiekhtprasaththiehmuxnkndngthiaesdnginhlkthankhxngnganthdlxng nkwichakarbangthanechnsdedndxrfaelabsbi kyngrawnginkarthicaepriybethiybkhwamcakhxngstwkbkhwamcaxasyehtukarninmnusy 37 ephraawa khwamcakhlaykhwamcaxasyehtukarnthixangxingmkcaichineruxngideruxnghnungodyechphaa hruxsamarththicaxthibayidwaekiywkhxngkbkhwamcaechingkrabwnwithi procedural memory hrux khwamcaxasykhwamhmay semantic memory bangthipyhanixaccangaykwa thasuksalksnaxikxyanghnungkhxngkhwamcaxasyehtukarnthiepnkarprbtwinladbwiwthnakar sungkkhuxkhwamsamarthinkarcintnakarthungehtukarninxnakhtxyangyudhyunid aetwanganwicynganhnungerw niidaekkhxwicarnkhxngsdedndxrfaelabsbikhxhnung khuxpraednkhxngsmmtithan Bischof Kohler sungklawwa stwthiimichmnusysamarthephiyngaetcathakicekiywkbsingthitxngkarinpccubn imichthicatxngkarinxnakht khxrerxaaelakhnaidaesdngwa citation needed nk Aphelocoma californica samartheluxkthicaekbxahartang praephthknkhunxyuwacatxngkarxairinxnakht epnkarihhlkthanthimikalngkhansmmtithan Bischof Kohler hypothesis odyaesdngwa nksamarthepliynphvtikrrmxasyprasbkarninxditwatxngkarxaharpraephthidkhwamcaechingxtchiwprawti aekikhkhwamcaechingxtchiwprawti autobiographical memory epntwaethnthangprasathkhxngkhwamcathiekiywkbehtukarnodythw ip ehtukarnodyechphaa aelakhxmulekiywkbtn khwamcaechingxtchiwprawtinnhmaythungkhwamcaekiywkbprawtikhxngtnexngdwy aetwa eraimidcathuksingthukxyangthiekidkhuninxditid aelakhwamcannepnkrabwnkarthimikarsrangesrim constructive khuxprasbkarninpccubnaelakxn camixiththiphltxkhwamcakhxngeraekiywkbehtukarntang aelacamixiththiphlwaeracaralukxairidcakkhwamca aemkhwamcaechingxtchiwprawtikepnsingthimikarsrangesrim epnprawtithimikarepliynaeplngxyangtxenuxng dngnn aemwaeracarusukwa khwamcaekiywkbchiwprawtikhxngtncakhxnkhangmnkhngaelachdecn aetkhwamcringaelw khwamaemnyakhxngkhwamcaechingxtchiwprawtiimxacmnicidetmthiephraaxacmikhwambidebuxnkarthangankhxngkhwamcaxtchiwprawtixaccaaetktangkninchwngewlaphiessinchiwit eracaralukthungehtukarninpiaerk khxngchiwiteraidnxy karcaehtukarnaerk ehlaniimideriykwa phawaesiykhwamcainwyedk childhood amnesia hrux phawaesiykhwamcainwythark infantile amnesia eramkcasamarthralukthungehtukarnkhxngtnidmakmayinchwngwyrunaelawyphuihytn praktkarnnieriykwa reminiscence bump karprathukhxngkhwamcaehtukarninxdit aelaerasamarthralukthungehtukarnswntwidmakmayinraya 2 3 pithiephingphanma sungeriykwa recency effect praktkarncaehtukarninxditidehtuephingekidkhun swninwyrunaelainwyhnumsaw thng reminiscence bump aela recency effect ekidkhunphrxm knaemcaruknaelwwa khwamcaechingxtchiwprawtimikarbnthukiwepnkhwamcaxasyehtukarnintxntn aetkyngimchdecnwa khwamcaechingxtchiwprawtiepnsingediywknkbkhwamcaxasyehtukarnhruxim hruxwa khwamcaechingxtchiwprawtiinthisudcamikarepliynepnkhwamcaxasykhwamhmaytamkalewlapraephth aekikhehtukarnechphaaecaacng Specific Events echn emuxkawlnginthaelepnkhrngaerk ehtukarnthw ip General Events echnrusukxyangiremuxkawlngipinthaelodythw ip niepnkhwamcawa ehtukarnthiekidkhunkbtnmikhwamrusukepnxyangirodythwip xaccaepnkhwamcaekiywkbkarkawlngipinthael sungekidkhunhlaykhrnghlayhninchiwit khwamcringhruxkhwamruekiywkbtn echn ikhrepnnaykrthmntriinpithiekid Flashbulb Memories Flashbulb Memory khwamcaehmuxnaesngaeflch epnkhwamcaxtchiwprawtiaebbwikvtiekiywkbehtukarnsakhy khwamcaaebbnibangkhrngcaepniprwmkbkhnxun inchumchn echn epntwxyangsahrbkhnxemrikn karlxbsngharcxhn exf ekhendi karlxbsngharmartin luethxr khing cueniyr karraebidkhxngkraswyxwkas STS 51 L Challenger kartdsinkhwaminkhdikhatkrrmphrryakhxngtnkhxngoxec simpsn xditnkxemriknfutbxlchuxdng inkhnathiidkhawwaecahyingidxanaidsinphrachnmaelw emuxidyineruxngehtuwinaskrrm 11 knyayn ph s 2544Neural network models aekikhswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidechingxrrthaelaxangxing aekikh sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 Schacter Daniel L Gilbert Daniel T aela Wegner Daniel M 2011 Semantic and episodic memory Second Edition ed New York Worth Incorporated pp 240 241 CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint extra text link Tulving E 1984 Precis of Elements of Episodic Memory Behavioural and Brain Sciences 7 2 223 68 doi 10 1017 S0140525X0004440X Nicola S Clayton Lucie H Salwiczek Anthony Dickinson 20 March 2007 07 00812 3 pdf Episodic memory Check url value help PDF Current Biology 17 6 189 191 doi 10 1016 j cub 2007 01 011 subkhnemux 29 krkdakhm 2557 Check date values in accessdate help CS1 maint date and year link Hassabis D Maguire EA 2007 Deconstructing episodic memory with construction Trends in Cognitive Sciences Regul Ed 11 7 299 306 Terry W S 2006 Learning and Memory Basic principles processes and procedures Boston Pearson Education Inc Baars B J amp Gage N M 2007 Cognition Brain and Consciousness Introduction to cognitive neuroscience London Elsevier Ltd Conway M A 2009 Episodic Memory Neuropsychologia 47 2305 2306 Janowsky JS Shimamura AP Squire LR 1989 Source memory impairment in patients with frontal lobe lesions Neuropsychologia 27 8 1043 56 doi 10 1016 0028 3932 89 90184 X PMID 2797412 CS1 maint multiple names authors list link Gabrieli JD Poldrack RA Desmond JE 1998 The role of left prefrontal cortex in language and memory Proc Natl Acad Sci U S A 95 3 906 13 doi 10 1073 pnas 95 3 906 PMC 33815 PMID 9448258 Unknown parameter month ignored help CS1 maint multiple names authors list link Deisseroth K Singla S Toda H Monje M Palmer TD Malenka RC 2004 Excitation neurogenesis coupling in adult neural stem progenitor cells Neuron 42 4 535 52 doi 10 1016 S0896 6273 04 00266 1 PMID 15157417 Unknown parameter month ignored help CS1 maint multiple names authors list link 12 0 12 1 Tulving Endel 1983 Elements of Episodic Memory New York Oxford University Press Tulving Endel 2002 Episodic Memory From Mind to Brain Annual Review of Psychology 53 1 25 doi 10 1146 annurev psych 53 100901 135114 PMID 11752477 Tulving Endel 19 January 1990 Priming and Human Memory Systems Science 4940 247 4940 301 6 doi 10 1126 science 2296719 PMID 2296719 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Tulving Endel 7 December 1998 Episodic and Declarative Memory role of the hippocampus Hippocampus 8 3 198 204 doi 10 1002 SICI 1098 1063 1998 8 3 lt 198 AID HIPO2 gt 3 0 CO 2 G PMID 9662134 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Howard M W 2002 When does semantic similarity help episodic retrieval Journal of Memory and Language 46 85 96 doi 10 1006 jmla 2001 2798 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Maguire EA Frith CD 2003 Aging affects the engagement of the hippocampus during autobiographical memory retrieval Brain 126 Pt 7 1511 23 doi 10 1093 brain awg157 PMID 12805116 Unknown parameter month ignored help Brown Roger Kulik James 1977 Flashbulb memories Cognition 5 1 73 99 doi 10 1016 0010 0277 77 90018 X Gron G Kirstein M Thielscher A Riepe MW Spitzer M 2005 Cholinergic enhancement of episodic memory in healthy young adults Psychopharmacology Berl 182 1 170 9 doi 10 1007 s00213 005 0043 2 PMID 16021483 Unknown parameter month ignored help CS1 maint multiple names authors list link Apud JA Mattay V Chen J aelakhna 2007 Tolcapone improves cognition and cortical information processing in normal human subjects Neuropsychopharmacology 32 5 1011 20 doi 10 1038 sj npp 1301227 PMID 17063156 Unknown parameter month ignored help Unknown parameter author separator ignored help Dunbar G Boeijinga PH Demazieres A aelakhna 2007 Effects of TC 1734 AZD3480 a selective neuronal nicotinic receptor agonist on cognitive performance and the EEG of young healthy male volunteers Psychopharmacology Berl 191 4 919 29 doi 10 1007 s00213 006 0675 x PMID 17225162 Unknown parameter month ignored help Unknown parameter author separator ignored help Alhaj HA Massey AE McAllister Williams RH 2006 Effects of DHEA administration on episodic memory cortisol and mood in healthy young men a double blind placebo controlled study Psychopharmacology Berl 188 4 541 51 doi 10 1007 s00213 005 0136 y PMID 16231168 Unknown parameter month ignored help CS1 maint multiple names authors list link Ben Shalom D 2003 Memory in autism review and synthesis Cortex 39 4 5 1129 38 doi 10 1016 S0010 9452 08 70881 5 PMID 14584570 Joseph Robert M Steele Shelley D Meyer Echo Tager Flusberg Helen 2005 Self ordered pointing in children with autism failure to use verbal mediation in the service of working memory PDF Neuropsychologia 43 1400 1411 ekb PDF cakaehlngedimemux 2008 03 07 subkhnemux 2557 08 07 Check date values in accessdate help Buss C Wolf OT Witt J Hellhammer DH 2004 Autobiographic memory impairment following acute cortisol administration Psychoneuroendocrinology 29 8 1093 6 doi 10 1016 j psyneuen 2003 09 006 PMID 15219661 Unknown parameter month ignored help CS1 maint multiple names authors list link Parrott AC Lees A Garnham NJ Jones M Wesnes K 1998 Cognitive performance in recreational users of MDMA of ecstasy evidence for memory deficits Journal of Psychopharmacology Oxford England 12 1 79 83 doi 10 1177 026988119801200110 PMID 9584971 CS1 maint multiple names authors list link Morgan MJ 1999 Memory deficits associated with recreational use of ecstasy MDMA Psychopharmacology 141 1 30 6 doi 10 1007 s002130050803 PMID 9952062 Unknown parameter month ignored help Griffiths D Dickinson A Clayton N 1999 Episodic memory what can animals remember about their past Trends in cognitive sciences 3 2 74 80 doi 10 1016 S1364 6613 98 01272 8 PMID 10234230 CS1 maint multiple names authors list link Clayton NS Dickinson A 1998 Episodic like memory during cache recovery by scrub jays Nature 395 6699 272 4 doi 10 1038 26216 PMID 9751053 Henderson J Hurly T A Bateson M Healy S D 2006 Timing in free living rufous hummingbirds Selasphorus rufus Current Biology 16 5 512 515 Dere E Huston J P Silva M A S 2005 Episodic like memory in mice Simultaneous assessment of object place and temporal order memory Brain Research Protocols 16 1 3 10 19 Menzel E 2005 Progress in the study of chimpanzee recall and episodic memory In The missing link in cognition ed H S Terrace amp J Metcalfe Oxford University Press Scheumann M amp Call J 2006 Sumatran orangutans and a yellow cheeked crested gibbon know what is where International Journal of Primatology 27 2 575 602 Schwartz B L Colon M R Sanchez I C Rodriguez I A amp Evans S 2002 Single trial learning of what and who information in a gorilla Gorilla gorilla gorilla Implications for episodic memory Animal Cognition 5 2 85 90 Schwartz B L Hoffman M L amp Evans S 2005 Episodic like memory in a gorilla A review and new findings Learning and Motivation 36 2 226 244 Hampton R R 2001 Rhesus monkeys know when they remember Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America 98 9 5359 5362 Suddendorf T Busby J 2003 Mental time travel in animals Trends in Cognitive Sciences 7 9 391 396 doi 10 1016 S1364 6613 03 00187 6 PMID 12963469 aehlngkhxmulxun aekikhDeisseroth K Singla S Toda H Monje M Palmer TD Malenka RC 2004 Excitation neurogenesis coupling in adult neural stem progenitor cells Neuron 42 4 535 52 doi 10 1016 S0896 6273 04 00266 1 PMID 15157417 CS1 maint multiple names authors list link Tulving E 1972 Episodic and semantic memory In E Tulving amp W Donaldson Eds Organization of memory pp 381 403 New York Academic Press Tulving E 1983 Elements of Episodic Memory Oxford Clarendon Press Tulving E 2002 Episodic memory from mind to brain Annual review of psychology 53 1 25 doi 10 1146 annurev psych 53 100901 135114 PMID 11752477 Kart Teke E De Souza Silva MA Huston JP Dere E 2006 Wistar rats show episodic like memory for unique experiences Neurobiology of Learning and Memory 85 2 173 82 doi 10 1016 j nlm 2005 10 002 PMID 16290193 CS1 maint multiple names authors list link Eacott MJ Easton A Zinkivskay A 2005 Recollection in an episodic like memory task in the rat Learn Mem 12 3 221 3 doi 10 1101 lm 92505 PMID 15897259 CS1 maint multiple names authors list link Suddendorf T 2006 Foresight and evolution of the human mind Science 312 5776 1006 7 doi 10 1126 science 1129217 PMID 16709773 Ghetti S Lee J 2010 Children s Episodic Memory John Wiley amp Sons Ltd pp 365 373 The Works of Endel Tulving free access to papers and book chapters Images in Neuroscience Episodic Memory Retrieval American Journal of Psychiatry Episodic Memory and Referential Activity Archived 2011 07 28 thi ewyaebkaemchchinekhathungcak https th wikipedia org w index php title khwamcaxasyehtukarn amp oldid 9561614, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม