fbpx
วิกิพีเดีย

ความต่างที่สองตา

ความต่างที่สองตา (อังกฤษ: Binocular disparity) หมายถึงความแตกต่างของตำแหน่งวัตถุหนึ่ง ๆ ที่เห็นโดยตาซ้ายและตาขวาของมนุษย์ เพราะตาแยกห่างกันตามแนวนอน (ที่เรียกว่าพารัลแลกซ์) ในกระบวนการเห็นเป็น 3 มิติ สมองจะใช้ความต่างที่เห็นจากรูป 2 มิติซึ่งตกลงที่จอตาทั้งสองเพื่อดึงข้อมูลความใกล้ไกลของวัตถุ ในคอมพิวเตอร์วิทัศน์ Binocular disparity จะหมายถึงความต่างพิกัดของสิ่งที่เหมือนกันในภาพ 2 ภาพที่ถ่ายคู่กัน อุปกรณ์หาพิสัยโดยบรรจวบ (coincidence rangefinder) ก็ใช้เทคนิคคล้าย ๆ กันเพื่อกำหนดระยะทางและ/หรือความสูงของวัตถุเป้าหมาย ในดาราศาสตร์ ความต่างระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ บนผิวโลกสามารถใช้กำหนดพารัลแลกซ์ของวัตถุท้องฟ้า และโคจรของโลกเองก็สามารถใช้กำหนดพารัลแลกซ์ดาว (stellar parallax)

รูป 1 - นิยามของความต่างที่สองตา (ทั้งไกลและใกล้)

นิยาม

ตาของมนุษย์ห่างกันตามแนวนอนประมาณ 50-75 มม (เป็นระยะระหว่างรูม่านตา) โดยต่างกันในแต่ละคน ๆ ดังนั้น ตาแต่ละข้างจึงมองเห็นโลกต่างกัน ปรากฏการณ์นี้สามารถเห็นได้ถ้าสลับปิดตาเมื่อจ้องดูวัตถุยาว ๆ ในแนวตั้ง (เช่น ปากกาดินสอ) วัตถุที่ว่าจะดูเหมือนย้ายที่เมื่อสลับตาดู

เมื่อกำลังมอง แนวมองของตาทั้งสองจะบรรจบกันที่จุด ๆ หนึ่งในปริภูมิข้างหน้า จุดในปริภูมินี้จะส่งภาพไปทอดตกลงที่ตำแหน่งเดียวกันของตาทั้งสองคือตรงกลางจอตา เนื่องจากมีส่วนในภาพซึ่งเห็นด้วยตาซ้ายขวาที่ไม่เหมือนกัน จึงมีจุดอื่น ๆ ในปริภูมิที่จะไม่ทอดตกลงที่จุดซึ่งคล้องจองกันบนจอตาทั้งสอง คำว่า visual binocular disparity จะนิยามว่าเป็นความต่างในระหว่างสองจอตาที่จุดจากภาพตกลง และปกติจะแสดงเป็นองศาที่เรียกว่า มุมสายตา (visual angle)

ส่วนคำว่า binocular disparity หมายถึงค่าทางเรขาคณิตที่วัดนอกตา เพราะความต่างของภาพซึ่งตกลงที่จอตาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ซึ่งเฉพาะต่อแต่ละตา ๆ โดยเฉพาะตำแหน่งของจุดบัพ (nodal point) ถ้าแม้ส่วนตัดขวางของจอตาจะเป็นวงกลมสมบูรณ์ ความต่างบนจอตาจะสอดล้องกับ binocular disparity ก็ต่อเมื่อวัดเป็นองศา แต่จะต่างกันมากถ้าวัดเป็นระยะทางเนื่องจากโครงสร้างที่ซับซ้อนภายในตา

ในรูปที่ 1 จุดดำตันเป็นจุดที่จ้องดู/ตรึงตา จุดสีน้ำเงินอยู่ใกล้คนดูกว่า ดังนั้น จึงมีความต่างแบบใกล้ คือ dn ส่วนวัตถุที่อยู่ไกลกว่าสีเขียวก็มีความต่างแบบไกลคือ df ส่วนความต่างที่สองตาก็คือมุมระหว่างแนวฉายภาพที่ตกลงที่ตา คือ dn-df โดยมีค่าบวกลบและวัดทวนเข็มนาฬิกา แนวหนึ่งเป็นแนวฉายภาพจริง ๆ จากวัตถุซึ่งตกลงที่จอตา ส่วนอีกแนวหนึ่งเป็นแนวฉายภาพจินตภาพที่วิ่งผ่านจุดบัพของจุดตรึงตา

ในคอมพิวเตอร์วิทัศน์ binocular disparity จะคำนวณจากภาพต่าง ๆ ที่ถ่ายด้วยกล้องเป็นคู่ ๆ ระยะห่างระหว่างกล้องเรียกว่า เส้นฐาน (baseline) ซึ่งจะมีผลต่อความต่างของจุดหนึ่ง ๆ ของภาพตามระนาบการถ่ายภาพของกล้อง เมื่อเส้นฐานเพิ่ม ความต่างก็จะเพิ่มขึ้นเนื่องจากมุมจะใหญ่ขึ้น แต่ในคอมพิวเตอร์วิทัศน์ binocular disparity จะอ้างอิงโดยความแตกต่างของจุดพิกัดระหว่างภาพซ้ายขวาแทนมุมสายตา ซึ่งปกติจะมีหน่วยเป็นพิกเซล

การลวงเซลล์ประสาทด้วยภาพ 2 มิติ

 
รูป 2 ความต่างที่ตาเนื่องจากจุดที่ใกล้ไกลต่าง ๆ กัน จุดตรึงตาอยู่ที่กลางระนาบ 0 (สัมพันธ์กับรูป 1)

กลุ่มเซลล์ประสาท (นิวรอน) ในคอร์เทกซ์การเห็นปฐมภูมิซึ่งมีหน้าที่ประมวลข้อมูลจากจอตา จะสามารถตรวจจับความต่างของข้อมูลที่มาจากตาทั้งสอง คือ นิวรอนเช่นนี้จะทำงานถ้าวัตถุที่มีขนาดความต่างโดยเฉพาะ มาตกอยู่ภายในลานสายตาซึ่งนิวรอนมีลานรับสิ่งเร้า

นักวิจัยที่ตรวจสอบคุณสมบัติของนิวรอนเหล่านี้ได้แสดงสิ่งเร้าทางตาที่มีความต่าง (disparities) ต่าง ๆ กันต่อเซลล์เพื่อดูว่าเซลล์จะทำงานหรือไม่ วิธีหนึ่งในการแสดงสิ่งเร้าก็คือแสดงวัตถุที่ใกล้ไกลไม่เท่ากันต่อตา แต่ข้อเสียของวิธีนี้ก็คืออาจไม่แม่นยำพอสำหรับวัตถุที่อยู่ไกลออกไปเพราะมีความต่างเล็กมาก เทียบกับวัตถุที่อยู่ใกล้ ๆ ดังนั้น นักประสาทวิทยาศาสตร์จึงใช้วิธีอีกอย่างหนึ่งตามที่แสดงในรูป 2

ความต่างของวัตถุที่ใกล้ไกลต่าง ๆ กันนอกจุดตรึงตาสามารถทำให้เกิดโดยแสดงภาพหนึ่งแก่ตาข้างหนึ่ง แล้วแสดงภาพเดียวกันแต่เคลื่อนไปทางข้าง ๆ แก่ตาอีกข้างหนึ่ง ในรูป 2 วงกลมตันสีดำเป็นจุดตรึงตา วัตถุที่ "ใกล้ไกล" ต่าง ๆ กันก็จะวางที่จุดต่าง ๆ ตามเส้นตรึงตาของตาซ้าย ความต่างขนาดเดียวกันจากการวางวัตถุใกล้ไกลไม่เท่ากัน (วงกลมตันเป็นสี ๆ) ก็จะเกิดขึ้นโดยย้ายวัตถุไปทางด้านข้าง ๆ แต่ใกล้ไกลเท่ากัน (วงกลมดำมีขอบเป็นสี) ให้สังเกตว่า สำหรับความต่างแบบใกล้ การเคลื่อนไปทางด้านข้างจะต้องใหญ่กว่าเพื่อให้มีแนวตรงกัน ไม่เหมือนกับความต่างแบบไกล

การย้ายวัตถุทางด้านข้างโดยใช้สิ่งเร้าเป็นจุดสุ่ม (random dot stimuli) เช่นนี้มักใช้เพื่อศึกษาการตอบสนองต่อความต่างของนิวรอน เนื่องจากระยะที่ต้องเลื่อนสิ่งเร้าทางด้านข้าง จะน้อยกว่าที่ต้องเลื่อนตามความใกล้ไกลจริง ๆ หลักการนี้ก็ใช้ในภาพออโตสเตอริโอแกรมด้วย

การคำนวณความต่างโดยใช้ภาพดิจิตัลแบบคู่

ความต่างของลักษณะ/จุดต่าง ๆ ระหว่างภาพที่ถ่ายคู่ มักจะคำนวณโดยเลื่อนลักษณะต่าง ๆ ที่เห็นในภาพขวาไปทางซ้าย ยกตัวอย่างเช่น จุด ๆ หนึ่งที่ปรากฏที่พิกัดเอกซ์ t (วัดเป็นพิกเซล) ในรูปซ้าย อาจแสดงเป็นพิกัดเอกซ์ t - 3 สำหรับรูปขวา ในกรณีนี้ ความต่างสำหรับจุดนั้นในรูปขวาก็คือ 3 พิกเซล

แต่ภาพคู่เช่นนี้อาจไม่ตรงแนวเพื่อให้คำนวณความต่างได้ง่าย ๆ เสมอ ยกตัวอย่างเช่น กล้องอาจจะเงยหน้าก้มหน้าไม่ได้อยู่ในระนาบที่ถูกต้อง แต่ผ่านกระบวนการแปลงเชิงเส้นที่เรียกว่า การปรับภาพให้ตรง (image rectification) ภาพทั้งสองสามารถปรับหมุนเพื่อให้ต่างเพียงในแนวนอน (ตามแกนเอกซ์) โดยไม่ต่างกันในแนวตั้ง (คือแกนวาย) แต่นี่ก็เป็นคุณสมบัติที่สามารถทำโดยปรับกล้องคู่ให้ตรงแนวอย่างแม่นยำตั้งแต่ต้น

ขั้นตอนวิธีคอมพิวเตอร์

หลังจากปรับภาพให้ตรง การเปรียบส่วนที่เหมือนกันในรูปซ้ายขวา สามารถทำโดยใช้ขั้นตอนวิธีกราดตรวจภาพทั้งสองจากซ้ายไปขวาเพื่อหาส่วนที่เหมือนกัน วิธีสามัญที่ใช้แก้ปัญหานี้อย่างนึ่งก็คือการสร้าง "แผ่นปะ" (image patch) รอบ ๆ ทุก ๆ พิกเซลในภาพซ้าย แผ่นปะนี้จะใช้เทียบกับแผ่นปะที่คล้องจองกันกับภาพขวาเพื่อหาส่วนเหมือน

ยกตัวย่างเช่น สำหรับค่าความต่างที่ 1 แผ่นปะภาพซ้ายจะคล้ายกับแผ่นปะภาพขวาโดยเลื่อนไปทางซ้าย 1 พิกเซล การเปรียบเทียบแผ่นปะคู่เช่นนี้ สามารถทำได้โดยใช้สูตรคำนวณที่เปรียบพิกเซลแต่ละพิกเซลในแผ่นปะ เป็นสูตร 3 อย่างดังจะกล่าวต่อไป ในสูตรเหล่านี้ L และ R หมายถึงสดมภ์ (คอลัมน์) ซ้ายและขวา ในขณะที่ r (row) และ c (column) หมายถึงเลขแถวและสดมภ์ที่กำลังคำนวณในภาพหนึ่ง ๆ และ d หมายถึงความต่างของภาพขวา

  • Normalized correlation (สหสัมพันธ์แจกจงปกติ) :  
  • Sum of squared differences (ผลบวกของค่าต่างยกกำลังสอง) :  
  • Sum of absolute differences (ผลบวกของค่าต่างสัมบูรณ์) :  

ค่าความต่างต่ำสุดที่คำนวณโดยใช้วิธีใดวิธีหนึ่งจากสูตรเหล่านี้ ถือว่าเป็นความต่างของสิ่ง/ลักษณะที่กำลังคำนวณในภาพ เพราะค่าต่ำสุดบ่งชี้ว่า ขั้นตอนวิธีได้พบการจับคู่ลักษณะในภาพทั้งสองซึ่งดีที่สุด

วิธีที่กล่าวด้านบนเป็นขั้นตอนวิธีแบบการหาเทียบทุกตัว ดังนั้น ถ้าแผ่นปะหรือภาพใหญ่ เทคนิคนี้จะใช้เวลามาก เพราะพิกเซลแต่ละพิกเซล์จะต้องคำนวณแล้วคำนวณอีกเพื่อหาค่าสหสัมพันธ์ที่ต่ำสุด นอกจากนั้น พิกเซลยังซ้อนเหลื่อมกันทำให้ต้องคำนวณซ้ำ ๆ อย่างไม่จำเป็น ขั้นตอนวิธีที่มีประสิทธิภาพกว่า จะจำค่าต่าง ๆ จากพิกเซลที่คำนวณแล้ว และขั้นตอนวิธีที่มีประสิทธิภาพยิ่งกว่านั้น จะจำค่ารวมสดมภ์สำหรับแถวที่ผ่านมาแล้วนอกเหนือจากจำค่าต่าง ๆ ของพิกเซลที่คำนวณแล้ว ดังนั้น เทคนิคที่จำข้อมูลก่อน ๆ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของขั้นตอนวิธีเพื่อวิเคราะห์ภาพเช่นนี้

การใช้ความต่างจากรูป

ข้อมูลความต่างสามารถใช้ดึงข้อมูลอื่น ๆ จากรูปถ่ายคู่ กรณีหนึ่งที่มีประโยชน์ที่สุดก็คือการคำนวณความใกล้ไกล ความต่างและความใกล้ไกลจากกล้องจะสัมพันธ์กันอย่างผกผัน คือเมื่อระยะจากกล้องไกลขึ้น ความต่างของสองภาพก็จะลดลง ซึ่งทำให้สามารถคำนวณความใกล้ไกลโดยใช้ภาพถ่ายคู่ ดังนั้น จุดต่าง ๆ ที่อยู่บนภาพคู่ที่เป็น 2 มิติ จะสามารถคำนวณเป็นพิกัดต่าง ๆ ใน 3 มิติโดยใช้หลักเรขาคณิตและพีชคณิต

แนวคิดนี้มีประโยชน์เป็นพิเศษในการเดินหน ยกตัวอย่างเช่น ยานสำรวจดาวอังคาร Mars Exploration Rover ใช้วิธีคล้าย ๆ กันเพื่อกราดตรวจอุปสรรคในภูมิประเทศ คือ ยานจะจับภาพคู่ด้วยกล้องเดินหน แล้วคำนวณความต่างเพื่อตรวจจับวัตถุที่ยื่นสูงขึ้นมา เช่น ก้อนหิน นอกจากนั้นแล้ว ตำแหน่งและความเร็วของยาน สามารถดึงจากภาพคู่ที่ถ่ายต่อ ๆ กันโดยวัดระยะห่างของวัตถุเทียบกับยานสำรวจ ในบางกรณี นี่อาจจะเป็นข้อมูลที่แม่นยำที่สุด เพราะตัววัดความเร็วที่ล้ออาจจะไม่แม่นเนื่องจากการลื่นไถลของล้อ

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. Qian, N (1997). "Binocular Disparity and the Perception of Depth". Neuron. 18: 359–368.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. Gonzalez, F; Perez, R (1998). "Neural mechanisms underlying stereoscopic vision". Prog Neurobiol. 55 (3): 191–224.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. Shapiro, Linda G; Stockman, George C (2001). Computer Vision. Prentice Hall. pp. 371–409.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  4. . JPL.NASA.GOV. JPL/NASA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-10. สืบค้นเมื่อ 2011-06-05.
  5. "Spacecraft: Surface Operations: Rover". JPL.NASA.GOV. JPL/NASA. สืบค้นเมื่อ 2011-06-05.

ความต, างท, สองตา, งกฤษ, binocular, disparity, หมายถ, งความแตกต, างของตำแหน, งว, ตถ, หน, เห, นโดยตาซ, ายและตาขวาของมน, ษย, เพราะตาแยกห, างก, นตามแนวนอน, เร, ยกว, าพาร, ลแลกซ, ในกระบวนการเห, นเป, สมองจะใช, ความต, างท, เห, นจากร, งตกลงท, จอตาท, งสองเพ, อด, งข, อ. khwamtangthisxngta xngkvs Binocular disparity hmaythungkhwamaetktangkhxngtaaehnngwtthuhnung thiehnodytasayaelatakhwakhxngmnusy ephraataaeykhangkntamaenwnxn thieriykwapharlaelks inkrabwnkarehnepn 3 miti smxngcaichkhwamtangthiehncakrup 2 mitisungtklngthicxtathngsxngephuxdungkhxmulkhwamikliklkhxngwtthu inkhxmphiwetxrwithsn Binocular disparity cahmaythungkhwamtangphikdkhxngsingthiehmuxnkninphaph 2 phaphthithaykhukn xupkrnhaphisyodybrrcwb coincidence rangefinder kichethkhnikhkhlay knephuxkahndrayathangaela hruxkhwamsungkhxngwtthuepahmay indarasastr khwamtangrahwangtaaehnngtang bnphiwolksamarthichkahndpharlaelkskhxngwtthuthxngfa aelaokhcrkhxngolkexngksamarthichkahndpharlaelksdaw stellar parallax rup 1 niyamkhxngkhwamtangthisxngta thngiklaelaikl enuxha 1 niyam 2 karlwngesllprasathdwyphaph 2 miti 3 karkhanwnkhwamtangodyichphaphdicitlaebbkhu 3 1 khntxnwithikhxmphiwetxr 4 karichkhwamtangcakrup 5 duephim 6 echingxrrthaelaxangxingniyam aekikhtakhxngmnusyhangkntamaenwnxnpraman 50 75 mm epnrayarahwangrumanta odytangkninaetlakhn dngnn taaetlakhangcungmxngehnolktangkn praktkarnnisamarthehnidthaslbpidtaemuxcxngduwtthuyaw inaenwtng echn pakkadinsx wtthuthiwacaduehmuxnyaythiemuxslbtaduemuxkalngmxng aenwmxngkhxngtathngsxngcabrrcbknthicud hnunginpriphumikhanghna cudinpriphuminicasngphaphipthxdtklngthitaaehnngediywknkhxngtathngsxngkhuxtrngklangcxta enuxngcakmiswninphaphsungehndwytasaykhwathiimehmuxnkn cungmicudxun inpriphumithicaimthxdtklngthicudsungkhlxngcxngknbncxtathngsxng khawa visual binocular disparity caniyamwaepnkhwamtanginrahwangsxngcxtathicudcakphaphtklng aelapkticaaesdngepnxngsathieriykwa mumsayta visual angle 1 swnkhawa binocular disparity hmaythungkhathangerkhakhnitthiwdnxkta ephraakhwamtangkhxngphaphsungtklngthicxtacakhunxyukbpccytang sungechphaatxaetlata odyechphaataaehnngkhxngcudbph nodal point thaaemswntdkhwangkhxngcxtacaepnwngklmsmburn khwamtangbncxtacasxdlxngkb binocular disparity ktxemuxwdepnxngsa aetcatangknmakthawdepnrayathangenuxngcakokhrngsrangthisbsxnphayintainrupthi 1 cuddatnepncudthicxngdu trungta cudsinaenginxyuiklkhndukwa dngnn cungmikhwamtangaebbikl khux dn swnwtthuthixyuiklkwasiekhiywkmikhwamtangaebbiklkhux df swnkhwamtangthisxngtakkhuxmumrahwangaenwchayphaphthitklngthita khux dn df odymikhabwklbaelawdthwnekhmnalika aenwhnungepnaenwchayphaphcring cakwtthusungtklngthicxta swnxikaenwhnungepnaenwchayphaphcintphaphthiwingphancudbphkhxngcudtrungtainkhxmphiwetxrwithsn binocular disparity cakhanwncakphaphtang thithaydwyklxngepnkhu rayahangrahwangklxngeriykwa esnthan baseline sungcamiphltxkhwamtangkhxngcudhnung khxngphaphtamranabkarthayphaphkhxngklxng emuxesnthanephim khwamtangkcaephimkhunenuxngcakmumcaihykhun aetinkhxmphiwetxrwithsn binocular disparity caxangxingodykhwamaetktangkhxngcudphikdrahwangphaphsaykhwaaethnmumsayta sungpkticamihnwyepnphikeslkarlwngesllprasathdwyphaph 2 miti aekikh rup 2 khwamtangthitaenuxngcakcudthiiklikltang kn cudtrungtaxyuthiklangranab 0 smphnthkbrup 1 klumesllprasath niwrxn inkhxrethkskarehnpthmphumisungmihnathipramwlkhxmulcakcxta casamarthtrwccbkhwamtangkhxngkhxmulthimacaktathngsxng khux niwrxnechnnicathanganthawtthuthimikhnadkhwamtangodyechphaa matkxyuphayinlansaytasungniwrxnmilanrbsingera 2 nkwicythitrwcsxbkhunsmbtikhxngniwrxnehlaniidaesdngsingerathangtathimikhwamtang disparities tang kntxesllephuxduwaesllcathanganhruxim withihnunginkaraesdngsingerakkhuxaesdngwtthuthiikliklimethakntxta aetkhxesiykhxngwithinikkhuxxacimaemnyaphxsahrbwtthuthixyuiklxxkipephraamikhwamtangelkmak ethiybkbwtthuthixyuikl dngnn nkprasathwithyasastrcungichwithixikxyanghnungtamthiaesdnginrup 2khwamtangkhxngwtthuthiiklikltang knnxkcudtrungtasamarththaihekidodyaesdngphaphhnungaektakhanghnung aelwaesdngphaphediywknaetekhluxnipthangkhang aektaxikkhanghnung inrup 2 wngklmtnsidaepncudtrungta wtthuthi iklikl tang knkcawangthicudtang tamesntrungtakhxngtasay khwamtangkhnadediywkncakkarwangwtthuikliklimethakn wngklmtnepnsi kcaekidkhunodyyaywtthuipthangdankhang aetikliklethakn wngklmdamikhxbepnsi ihsngektwa sahrbkhwamtangaebbikl karekhluxnipthangdankhangcatxngihykwaephuxihmiaenwtrngkn imehmuxnkbkhwamtangaebbiklkaryaywtthuthangdankhangodyichsingeraepncudsum random dot stimuli echnnimkichephuxsuksakartxbsnxngtxkhwamtangkhxngniwrxn enuxngcakrayathitxngeluxnsingerathangdankhang canxykwathitxngeluxntamkhwamikliklcring hlkkarnikichinphaphxxotsetxrioxaekrmdwykarkhanwnkhwamtangodyichphaphdicitlaebbkhu aekikhkhxmulephimetim karehnepn 3 mitikhxngkhxmphiwetxr khwamtangkhxnglksna cudtang rahwangphaphthithaykhu mkcakhanwnodyeluxnlksnatang thiehninphaphkhwaipthangsay 3 yktwxyangechn cud hnungthipraktthiphikdexks t wdepnphikesl inrupsay xacaesdngepnphikdexks t 3 sahrbrupkhwa inkrnini khwamtangsahrbcudnninrupkhwakkhux 3 phikeslaetphaphkhuechnnixacimtrngaenwephuxihkhanwnkhwamtangidngay esmx yktwxyangechn klxngxaccaengyhnakmhnaimidxyuinranabthithuktxng aetphankrabwnkaraeplngechingesnthieriykwa karprbphaphihtrng image rectification phaphthngsxngsamarthprbhmunephuxihtangephiynginaenwnxn tamaeknexks odyimtangkninaenwtng khuxaeknway 3 aetnikepnkhunsmbtithisamarththaodyprbklxngkhuihtrngaenwxyangaemnyatngaettn khntxnwithikhxmphiwetxr aekikh hlngcakprbphaphihtrng karepriybswnthiehmuxnkninrupsaykhwa samarththaodyichkhntxnwithikradtrwcphaphthngsxngcaksayipkhwaephuxhaswnthiehmuxnkn withisamythiichaekpyhanixyangnungkkhuxkarsrang aephnpa image patch rxb thuk phikeslinphaphsay aephnpanicaichethiybkbaephnpathikhlxngcxngknkbphaphkhwaephuxhaswnehmuxnyktwyangechn sahrbkhakhwamtangthi 1 aephnpaphaphsaycakhlaykbaephnpaphaphkhwaodyeluxnipthangsay 1 phikesl karepriybethiybaephnpakhuechnni samarththaidodyichsutrkhanwnthiepriybphikeslaetlaphikeslinaephnpa epnsutr 3 xyangdngcaklawtxip insutrehlani L aela R hmaythungsdmph khxlmn sayaelakhwa inkhnathi r row aela c column hmaythungelkhaethwaelasdmphthikalngkhanwninphaphhnung aela d hmaythungkhwamtangkhxngphaphkhwa Normalized correlation shsmphnthaeckcngpkti L r c R r c d L r c 2 R r c d 2 displaystyle frac sum sum L r c cdot R r c d sqrt sum sum L r c 2 cdot sum sum R r c d 2 Sum of squared differences phlbwkkhxngkhatangykkalngsxng L r c R r c d 2 displaystyle sum sum L r c R r c d 2 Sum of absolute differences phlbwkkhxngkhatangsmburn L r c R r c d displaystyle sum sum left L r c R r c d right vert khakhwamtangtasudthikhanwnodyichwithiidwithihnungcaksutrehlani thuxwaepnkhwamtangkhxngsing lksnathikalngkhanwninphaph ephraakhatasudbngchiwa khntxnwithiidphbkarcbkhulksnainphaphthngsxngsungdithisudwithithiklawdanbnepnkhntxnwithiaebbkarhaethiybthuktw dngnn thaaephnpahruxphaphihy ethkhnikhnicaichewlamak ephraaphikeslaetlaphikeslcatxngkhanwnaelwkhanwnxikephuxhakhashsmphnththitasud nxkcaknn phikeslyngsxnehluxmknthaihtxngkhanwnsa xyangimcaepn khntxnwithithimiprasiththiphaphkwa cacakhatang cakphikeslthikhanwnaelw aelakhntxnwithithimiprasiththiphaphyingkwann cacakharwmsdmphsahrbaethwthiphanmaaelwnxkehnuxcakcakhatang khxngphikeslthikhanwnaelw dngnn ethkhnikhthicakhxmulkxn samarthephimprasiththiphaphkhxngkhntxnwithiephuxwiekhraahphaphechnnikarichkhwamtangcakrup aekikhkhxmulkhwamtangsamarthichdungkhxmulxun cakrupthaykhu krnihnungthimipraoychnthisudkkhuxkarkhanwnkhwamiklikl khwamtangaelakhwamikliklcakklxngcasmphnthknxyangphkphn khuxemuxrayacakklxngiklkhun khwamtangkhxngsxngphaphkcaldlng sungthaihsamarthkhanwnkhwamikliklodyichphaphthaykhu dngnn cudtang thixyubnphaphkhuthiepn 2 miti casamarthkhanwnepnphikdtang in 3 mitiodyichhlkerkhakhnitaelaphichkhnitaenwkhidnimipraoychnepnphiessinkaredinhn yktwxyangechn yansarwcdawxngkhar Mars Exploration Rover ichwithikhlay knephuxkradtrwcxupsrrkhinphumipraeths 4 khux yancacbphaphkhudwyklxngedinhn aelwkhanwnkhwamtangephuxtrwccbwtthuthiyunsungkhunma echn kxnhin 5 nxkcaknnaelw taaehnngaelakhwamerwkhxngyan samarthdungcakphaphkhuthithaytx knodywdrayahangkhxngwtthuethiybkbyansarwc inbangkrni nixaccaepnkhxmulthiaemnyathisud ephraatwwdkhwamerwthilxxaccaimaemnenuxngcakkarlunithlkhxnglxduephim aekikhBinocular summation karehnepnphaphediywdwysxngtaechingxrrthaelaxangxing aekikh Qian N 1997 Binocular Disparity and the Perception of Depth Neuron 18 359 368 a href E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal html title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter lingk Gonzalez F Perez R 1998 Neural mechanisms underlying stereoscopic vision Prog Neurobiol 55 3 191 224 a href E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite journal html title aemaebb Cite journal cite journal a CS1 maint uses authors parameter lingk 3 0 3 1 Shapiro Linda G Stockman George C 2001 Computer Vision Prentice Hall pp 371 409 a href E0 B9 81 E0 B8 A1 E0 B9 88 E0 B9 81 E0 B8 9A E0 B8 9A Cite book html title aemaebb Cite book cite book a CS1 maint uses authors parameter lingk The Computer Vision Laboratory JPL NASA GOV JPL NASA khlngkhxmulekaekbcakaehlngedimemux 2014 09 10 subkhnemux 2011 06 05 Spacecraft Surface Operations Rover JPL NASA GOV JPL NASA subkhnemux 2011 06 05 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title khwamtangthisxngta amp oldid 9561636, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม