fbpx
วิกิพีเดีย

กฐิน

กฐิน (บาลี: กน) เป็นศัพท์ในพระวินัยปิฎกเถรวาท เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได้ โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่งตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เท่านั้น โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด1 ดังนั้นกฐินจึงจัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังฆกรรมของพระสงฆ์โดยจำเพาะ ซึ่งนอกจากในพระวินัยฝ่ายเถรวาทแล้ว กฐินยังมีในฝ่ายมหายานบางนิกายอีกด้วย แต่จะมีข้อกำหนดแตกต่างจากพระวินัยเถรวาท

กฐินเป็นประเพณีที่อยู่คู่กับพุทธศาสนิกชนไทยมาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์ไทยนั้นจัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญมาตั้งแต่โบราณ

การได้มาของผ้าไตรจีวรอันจะนำมากรานกฐินตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้ พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามการรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐิน ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานพิธีการถวายผ้ากฐิน หรือการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้น และด้วยการที่การถวายผ้ากฐินนั้น จัดเป็นสังฆทาน คือถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอปโลกน์ ยกให้ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ลงมติ (ญัตติทุติยกรรมวาจา) และกาลทาน ที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอน คณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ สามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นบุญประเพณีนิยมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย

ประเพณีการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี ในปัจจุบันถวายผ้ากฐินในแง่การสนับสนุนผ้าไตรจีวรเพื่อใช้ในสังฆกรรมสำคัญของคณะสงฆ์ได้ถูกลดความสำคัญลงไป แต่กลับให้ความสำคัญกับบริวารของกฐินทานแทน เช่น เงิน หรือวัตถุสิ่งของ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้มาพัฒนาถาวรวัตถุและทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งจัดเป็นสังฆทานอย่างหนึ่งเช่นเดียวกัน

กฐินมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง 1 เดือน คือตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ไปจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (วันเพ็ญเดือน 12) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน

ความหมายและความสำคัญของการถวายกฐิน

ความหมายของกฐิน

กฐิน เป็นศัพท์บาลี แปลตามศัพท์ว่าไม้สะดึง คือ "กรอบไม้" หรือ "ไม้แบบ" สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวรในสมัยโบราณ ซึ่งผ้าที่เย็บสำเร็จจากกฐินหรือไม้สะดึงแบบนี้เรียกว่า ผ้ากฐิน (ผ้าเย็บจากไม้แบบ)

กฐิน อาจจำแนกตามความหมายเพื่อความเข้าใจง่ายได้ดังนี้

  1. กฐิน เป็นชื่อของกรอบไม้แม่แบบ (สะดึง) สำหรับทำจีวร ดังกล่าวข้างต้น
  2. กฐิน เป็นชื่อของผ้าที่ถวายแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน (โดยได้มาจากการใช้ไม้แม่แบบขึงเย็บ)
  3. กฐิน เป็นชื่อของงานบุญประเพณีถวายผ้าไตรจีวรแก่พระสงฆ์เพื่อกรานกฐิน
  4. กฐิน เป็นชื่อของสังฆกรรมการกรานกฐินของพระสงฆ์

ความสำคัญพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่น

การถวายกฐินนั้นมีข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งทำให้การถวายกฐินมีความความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่นดังนี้ มีไกว

  1. จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือนทานอย่างอื่นไม่ได้
  2. จำกัดเวลา คือกฐินเป็นกาลทานอย่างหนึ่ง (ตามพระบรมพุทธานุญาต) ดังนั้นจึงจำกัดเวลาว่าต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษา เป็นต้นไป
  3. จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน
  4. จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่พระวินัยกำหนดไว้
  5. จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษาตั้งแต่1รูปขึ้นไป และจะใช้5รูปขึ้นไปในการกรานกฐินในโบสถ์เท่านั้น
  6. จำกัดคราว คือ วัด ๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
  7. เป็นพระบรมพุทธานุญาต ทานอย่างอื่นทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขาทูลขออนุญาตผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้พระองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระประสงค์โดยตรง

ความเป็นมาของกฐิน

ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ 30 รูป ได้เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี แต่ยังไม่ทันถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง 30 รูป จึงต้องจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความยากลำบากเพราะฝนยังตกชุกอยู่ เมื่อเดินทางถึงวัดพระเชตวัน พระพทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง เมื่อทราบความลำบากนั้นจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถรับผ้ากฐินได้ และภิกษุผู้ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ 5 ประการ ภายในเวลาอานิสงส์กฐิน (นับจากวันที่รับกฐินจนถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 4) คือ

  1. ไปไหนไม่ต้องบอกลา
  2. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับสามผืน2
  3. ฉันคณโภชนะได้ (รับนิมนต์ที่เขานิมนต์โดยออกชื่อโภชนะฉันได้) 3
  4. เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้โดยที่ยังมิได้วิกัปป์ และอธิษฐาน โดยไม่ต้องอาบัติ
  5. จีวรลาภอันเกิดขึ้น จักได้แก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว

การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลกฐินในประเทศไทย

การถือปฏิบัติประเพณีการบำเพ็ญกุศลเนื่องในเทศกาลกฐินในประเทศไทย สันนิษฐานว่าเริ่มมีมาแต่แรกที่รับพระพุทธศาสนาเถรวาทเข้ามาในดินแดนประเทศไทย ซึ่งอาจมีปฏิบัติประเพณีนี้มาตั้งแต่สมัยทวาราวดี แต่มาปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าชาวไทยได้ถือปฏิบัติในการบำเพ็ญกุศลในเทศกาลกฐินในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ดังปรากฏความในศิลาจารึกหลักที่ 1 (ด้านที่ 2) ดังนี้

... คนในเมืองสุโขทัยนี้ มักทาน มักทรงศีล มันโอยทาน พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองสุโขทัยนี้ ทังชาวแม่ชาวเจ้า ท่วยปั่วท่วยนาง ลูกเจ้าลูกขุน ทั้งสิ้นทังหลายทังผู้ชายผู้ญีง ฝูงท่วยมีศรัทธาในพระพุทธศาสน ทรงศีลเมื่อพรรษาทุกคน เมื่อโอกพรรษากรานกฐินเดือนณื่งจี่งแล้ว เมื่อกรานกฐิน มีพนมเบี้ย มีพนมหมาก มีพนมดอกไม้ มีหมอนนั่งหมอนโนน บริพารกฐิน โอยทานแล่ปีแล้ญิบล้าน ไปสูดญัตกฐินเถิงอไรญิกพู้น เมื่อจักเข้ามาเวียง เรียงกันแต่อไรญิกพู้นเท้าหัวลาน ดมบังคมกลองด้วยเสียงพาทย์เสียงพีณ เสียงเลื้อนเสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากปตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียนท่านเล่นไฟ เมืองสุโขทัยนี้มีดั่งจักแตก ...— คำอ่านศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ด้านที่ ๒

ในศิลาจารึกดังกล่าว ปรากฏทั้งคำว่า กรานกฐิน, บริวารกฐิน (บริพานกฐิน), สวดญัตติกฐิน (สูดญัตกฐิน) ซึ่งคำดังกล่าวก็ยังคงใช้สืบมาจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่า เทศกาลทอดกฐินมีคู่กับสังคมไทยทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์และประชาชนมาช้านาน ดังปรากฏว่าชาวพุทธในประเทศไทยให้ความสำคัญกับงานทอดกฐินที่จัดในวัดต่าง ๆ มาก โดยถือว่าเป็นงานบุญสำคัญที่สุดงานหนึ่งในรอบปี บางวัดที่มีผู้ศรัทธามาก อาจมีผู้จองเป็นเจ้าภาพทอดกฐินล่วงหน้ายาวเป็นสิบ ๆ ปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความศรัทธาของชาวพุทธในประเทศไทยที่ได้ร่วมใจกันสืบทอดประเพณีนี้มาจนปัจจุบัน

ชนิดของกฐินในประเทศไทย

ตามพระวินัยแล้ว ไม่ได้จำแนกการทอดกฐิน (การถวายผ้ากฐินแก่พระสงฆ์) ออกเป็นชนิด ๆ ไว้แต่อย่างใด คงกล่าวแต่เพียงในส่วนการทำหรือรับผ้ามากรานกฐินของพระสงฆ์เท่านั้น แต่หากพิจารณาจากประเพณีที่นิยมปฏิบัติในปัจจุบัน คงพอจำแนกชนิดของการทอดกฐินได้เป็นสองคือ

จุลกฐิน

 
งานบุญกฐินของชาวเขมรในสหรัฐอเมริกา

จุลกฐิน คือ คำเรียกการทอดกฐินที่ต้องทำด้วยความรีบด่วน โดยต้องอาศัยความสามัคคีของผู้ศรัทธาจำนวนมาก เพื่อผลิตผ้าไตรจีวรให้สำเร็จด้วยมือภายในวันเดียว กล่าวคือ ต้องเริ่มตั้งแต่เก็บฝ้าย ตัดเย็บ ย้อม และถวายให้พระสงฆ์กรานกฐินให้เสร็จภายในเวลาเช้าวันหนึ่งจนถึงย่ำรุ่งของอีกวันหนึ่ง ดังนั้นโบราณจึงนับถือกันว่าการทำจุลกฐินมีอานิสงส์มาก เพราะต้องใช้ความอุตสาหะพยายามมากกว่ากฐินแบบธรรมดา (มหากฐิน) ภายในระยะเวลาอันจำกัด โดยจุลกฐินนี้ปัจจุบันมักจัดเป็นงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

ประเพณีการทอดจุลกฐินนี้เป็นประเพณีที่พบเฉพาะในประเทศไทยและลาว ไม่ปรากฏประเพณีการทอดกฐินชนิดนี้ในประเทศพุทธเถรวาทประเทศอื่น สำหรับประเทศไทย มีหลักฐานว่ามีการทอดจุลกฐินมาแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา ดังปรากฏในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่า หน้า 268 ว่า "ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒) โปรดให้ทำจุลกฐิน" ปัจจุบันประเพณีการทำจุลกฐินนิยมทำกันเฉพาะชุมชนทางภาคเหนือและอีสานเท่านั้น โดยอีสานจะเรียกกฐินชนิดนี้ว่า "กฐินแล่น" (จุลกฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก)

 
กฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานให้บุคคลและหน่วยงานรับพระราชทานไปถวายยังพระอารามต่าง ๆ

เค้ามูลของการทำจีวรให้เสร็จในวันเดียว ปรากฏหลักฐานในคัมภีร์อรรถกถา กล่าวถึงเรื่องที่พระพุทธเจ้ารับสั่งในคณะสงฆ์ในวัดพระเชตวันร่วมมือกันทำผ้าไตรจีวรเพื่อถวายแก่พระอนุรุทธะผู้มีจีวรเก่าใช้การเกือบไม่ได้แล้ว โดยในครั้งนั้นเป็นงานใหญ่ ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาทรงช่วยการทำไตรจีวรด้วย โดยทรงรับหน้าที่สนเข็มในการทำจีวรครั้งนี้ด้วย

สาเหตุประการหนึ่งที่มีการทำจุลกฐิน เนื่องมาจากกำหนดการกรานกฐินนั้นมีระยะเวลาจำกัด และพระสงฆ์ไม่สามารถขวนขวายดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งผ้ากฐินเองได้ (เพราะจะทำให้กฐินเดาะ (สังฆกรรมเสีย) จึงอาจมีบางวัดที่ใกล้กำหนดหมดฤดูกฐินแต่ยังไม่มีผู้นำผ้ากฐินมาถวาย) ทำให้ในสมัยก่อนเมื่อใกล้เดือน ๑๒ (หมดฤดูกฐิน) มักจะมีผู้ศรัทธาตระเวนไปตามวัดต่าง ๆ เมื่อเจอวัดที่ยังไม่ได้รับถวายผ้ากฐิน จึงต้องเร่งรีบขวนขวายจัดการทำผ้ากฐินให้เสร็จทันฤดูกฐินหมด ซึ่งบางครั้งอาจเหลือเวลาแค่วันเดียว จึงต้องอาศัยความร่วมมือของคนทั้งชุมชน ในการร่วมกันจัดทำผ้าไตรจีวรให้สำเร็จก่อนหมดฤดูกฐิน (เพราะสมัยก่อนไม่มีผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปสำหรับขาย) การร่วมมือกันจัดทำจุลกฐินดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีของคนในชุมชนได้เป็นอย่างดี

มหากฐิน

มหากฐิน เป็นศัพท์ที่เรียกเพื่อหมายความถึงการทอดกฐินที่มีบริวารกฐินมาก ไม่ต้องทำโดยเร่งรีบเหมือนจุลกฐิน มหากฐินคือกฐินที่ทอดถวายตามวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยในปัจจุบัน ที่จะมีการรวบรวมจตุปัจจัยไทยธรรมและสิ่งของต่าง ๆ เพื่อนำไปเป็นเครื่องประกอบในงานกฐินถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อนำไปทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาต่อไป (มหากฐินไม่ใช่ศัพท์ที่ปรากฏในพระวินัยปิฎก) โดยมหากฐินนั้นอาจเป็นกฐินที่มีเจ้าภาพเพียงคนเดียวหรือกฐินสามัคคีก็ได้

การทอดกฐินในประเทศไทย

 
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค ณ วัดอรุณราชวราราม

กฐินหลวง

กฐินหลวง เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานด้วยพระองค์เอง หรือโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เสด็จไปพระราชทานแทน กฐินหลวงนี้จัดเครื่องพระราชทานด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และบางครั้งมีการจัดพิธีแห่เครื่องกฐินพระราชทานอย่างใหญ่ โดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือกระบวนพยุหยาตราสถลมารถ แล้วแต่พระราชประสงค์ (ในปัจจุบันคงการเสด็จพระราชดำเนินทรงถวายผ้าพระกฐินอย่างพิธีใหญ่นั้น คงเหลือเพียงโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคเท่านั้น)

กฐินหลวงในปัจจุบันมีเพียง 16 วัดเท่านั้น ได้แก่ ในกรุงเทพมหานคร

ต่างจังหวัด

กฐินต้น

กฐินต้น เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานยังวัดราษฎร์เป็นการส่วนพระองค์

กฐินพระราชทาน

กฐินพระราชทาน เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน และเครื่องกฐินแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หน่วยงาน สมาคม หรือเอกชน ให้ไปทอดยังพระอารามหลวงต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร (ในปัจจุบันกรมการศาสนารับผิดชอบจัดผ้าพระกฐินและเครื่องกฐินถวาย)

กฐินพระราชทานกองทัพเรือ กองทัพเรือถือเป็นนโยบายที่จะขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินไปถวาย ณ พระอารามหลวงที่ตั้งอยู่ใกล้กองทัพเรือทุกปี และได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๕๐๐ เป็นต้นมา

กฐินราษฎร์

 
ในปัจจุบัน การถวายผ้ากฐินโดยทั่วไปในประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับ "บริวารกฐิน" มากกว่าผ้ากฐินซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการกรานกฐิน

กฐินราษฎร์ คือกฐินที่ราษฏรหรือประชาชนทั่วไปที่มีจิตศรัทธาจัดถวายผ้ากฐิน และเครื่องกฐินไปถวายยังวัดราษฎร์ต่าง ๆ โดยอาจแบ่งออกเป็นจุลกฐิน และมหากฐิน (กฐินสามัคคี) ในปัจจุบันกฐินราษฎร์ หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า กฐินสามัคคี ผู้เป็นประธานหรือเจ้าภาพในการทอดกฐินจะให้ความสำคัญกับการรวบรวม (เรี่ยไร) เงินและสิ่งของเพื่อเข้าประกอบเป็นบริวารกฐินมากกว่า เพราะวัดสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาได้ และเนื่องจากการถวายผ้ากฐินเป็นกาลทาน จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นงานสำคัญประจำปีของวัดต่าง ๆ โดยทั่วไปในประเทศไทย

คำถวายผ้ากฐิน

คำถวายผ้ากฐินภาษาบาลี แบบเก่า

บทปุพพภาคนมการ
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” (๓ จบ)
กล่าวคำถวายผ้ากฐิน
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ ก นจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
ทุติยมฺปิ อิมํ ภนฺเต สปริวารํ ก นจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
ตติยมฺปิ อิมํ ภนฺเต สปริวารํ ก นจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม
สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ ก นทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ อมฺหากํ หิตาย สุขาย
กล่าวคำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ แม้ในวาระที่สอง
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้าจีวรกฐิน กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ แม้ในวาระที่สาม
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ขอพระสงฆ์จงรับ ซึ่งผ้ากฐิน กับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญฯ

คำถวายผ้ากฐินภาษาบาลี แบบใหม่

บทปุพพภาคนมการ
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” (๓ จบ)
กล่าวคำถวายผ้ากฐิน
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ ก{ฐิ|i}}นทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม,
สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ, อิมํ สปริวารํ ก นทุสฺสํ, ปฏิคฺคณฺหาตุ,
ปฏิคฺคเหตฺวา จ, อิมินา ทุสฺเสน ก นํ อตฺถรตุ, อมฺหากํ
ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย
กล่าวคำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินกับทั้งผ้าบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐิน กับทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย ครั้นรับแล้ว จงกรานกฐิน ด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ตลอดกาลนาน เทอญ.

เกร็ดในงานถวายผ้ากฐินในประเทศไทย

ธงจระเข้-นางมัจฉา

(ซ้าย) ธงมัจฉาที่นิยมประดับในงานกฐินในประเทศไทย (ขวา) ธงจระเข้ที่นิยมประดับในงานกฐินในประเทศไทย

สมัยโบราณนิยมแห่ผ้ากฐินไปทอดตามวัดต่าง ๆ โดยอาศัยเรือเป็นสำคัญ การเดินทางไปตามลำน้ำมักมีอันตรายจากสัตว์น้ำต่าง ๆ เนือง ๆ เช่น จระเข้ขึ้นมาหนุนเรือให้ล่ม ขบกัดผู้คนบ้าง คนแต่ก่อนหวั่นเกรงภัยเช่นนี้ จึงคิดอุบายทำธงจระเข้ปักหน้าเรือไปเป็นทำนองประกาศให้สัตว์ร้ายในน้ำ เช่น จระเข้ ซึ่งเป็นสัตว์ใหญ่และดุร้ายกว่าสัตว์อื่น ๆ ในน้ำ ให้รับทราบการบุญการกุศล จะได้พลอยอนุโมทนาและมีจิตใจอ่อนลง ไม่คิดที่จะทำอันตรายแก่ผู้คนในขบวนซึ่งเดินทางไปประกอบพิธีการทางศาสนา

เนื่องจากถือกันว่าดาวจระเข้เป็นดาวสำคัญ การเคลื่อนขบวนทัพในสมัยโบราณต้องคอยดูดาวจระเข้ขึ้น ซึ่งเป็นเวลาจวนสว่างแล้ว การทอดกฐินเป็นพิธีทำบุญที่มีอานิสงส์ไพศาลเพราะทำในเวลาจำกัด มีความสำคัญเท่ากับการเคลื่อนขบวนทัพในชั้นเดิมผู้จะไปทอดกฐินต้องเตรียมเครื่องบริขารและผ้าองค์กฐินไว้อย่างพร้อมเพรียง แล้วแห่ไปวัดในเวลาดาวจระเข้ขึ้น ไปแจ้งเอาที่วัด ต่อมาจึงมีผู้คิดทำธงจระเข้โดยถือว่า ดาวจระเข้เป็นดาวบอกเวลาเคลื่อนองค์กฐิน

มีเรื่องเล่าว่า มีอุบาสกคนหนึ่งนำองค์กฐินแห่ไปทางเรือมีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญในการทอดกฐิน จึงว่ายน้ำตามเรืออุบาสกนั้นไปด้วย แต่ไปได้พักหนึ่งจึงบอกแก่อุบาสกนั้นว่า ตนตามไปด้วยไม่ได้แล้วเพราะเหนื่อยอ่อนเต็มที ขอให้อุบาสกจ้างช่างเขียนภาพของตนที่ธง แล้วยกขึ้นไว้ในวัดที่ไปทอดด้วยอุบาสกรับคำจระเข้แล้วก็ทำตามที่จระเข้สั่ง ตั้งแต่นั้นมาธงรูปจระเข้จึงปรากฏตามวัดต่าง ๆ ในเวลามีการทอดกฐิน

อนึ่ง มีข้อความในจาตุมสูตรตอนหนึ่ง แสดงภัยที่จะเกิดกับพระไว้ 4 อย่างด้วยกัน ซึ่งเปรียบด้วยภัยที่เกิดแก่บุคคลที่ลงในแม่น้ำหรือทะเล คือ

  1. ภัยเกิดแต่ความอดทนต่อโอวาทคำสอนมิได้ ท่านเปรียบเสมือนคลื่น เรียกว่า อุมฺมิภยํ
  2. ภัยเกิดแต่การเห็นแก่ปากแก่ท้อง ทนความอดอยากมิได้ท่านเปรียบเสมือนจระเข้ เรียกว่า กุมฺภีลภยํ
  3. ภัยเกิดแต่ความยินดีในกามคุณ 5 ท่านเปรียบเสมือนวังน้ำวน เรียกว่า อาวฏฺฏภยํ
  4. ภัยเกิดแต่การรักผู้หญิง ท่านเปรียบเสมือนปลาร้ายเรียกว่า สุสุกาภยํ

พิจารณารูปธงที่ช่างประดิษฐ์ขึ้น จะเห็นว่ามีภัย 4 อย่างอยู่ครบ ต่างแต่ว่าเด่นมาก เด่นน้อย หรือเป็นเพียงแทรกอยู่ในความหมายที่เด่นมาก คือ รูปจระเข้ รองลงไปคือ รูปคลื่น ส่วนอีก 2 อย่างคือ รูปวังน้ำวนและปลาร้าย ปรากฏด้วยรูปน้ำเป็นสำคัญ บางรายเขาเพิ่มธงปลาร้ายขึ้นอีกธงหนึ่ง เรียกว่า “ธงมัจฉา”

ธงรูปจระเข้หรือธงรูปนางมัจฉานี้ ปักไว้ที่หน้าวัด เพื่อแสดงให้ทราบว่าที่วัดนี้ได้จองกฐินหรือทอดกฐินแล้ว ด้วยถือกันมาว่าวัดหนึ่ง ๆ จะรับกฐินได้ปีละครั้งเดียวเท่านั้น ผู้ที่ผ่านไปมาจะได้พลอยอนุโมทนาด้วย

ธงกฐินนั้นจะมีอยู่ 4 อย่างคือ 1.รูปจระเข้ 2.รูปนางมัจฉา 3. รูปตะขาบ 4. รูปเต่า ซึ่งเป็นปริศนาธรรม มีความหมายว่า 1.จระเข้หมายถึงความโลภ สื่อที่ปากจระเข้มีขนาดใหญ่ 2.ตะขาบ หมายถึงความโกรธ สื่อถึงพิษของตะขาบ 3. นางมัจฉา หมายถึงความหลง ใช้รูปนางเงือกที่เป็นหญิงสาวรักสวยรักงาม 4.เต่า หมายถึงสติ การระวังป้องอายตนะทั้ง6 เหมือนเต่าที่หด หัว ขา หาง ป้องกันอันตราย เพื่อสอนว่า ความโลภ โกรธ หลง ต้องรู้จักควบคุมจิตใจด้วยการมีสติ นั่นเอง

อื่น ๆ

กฐินเดาะ

คำว่าเดาะในภาษาไทยแปลว่าร้าวจนหัก แต่ในความหมายของพระวินัยคือพระสงฆ์ที่ได้รับกฐินแล้วได้สิทธิ์ในการขยายเวลาในการทำจีวรออกไปได้อีก 4 เดือน แต่ในระหว่างนั้นภิกษุออกจากวัดโดยที่ไม่คิดกลับมา และหมดความกังวลจีวรคือทำจีวรเสร็จแล้วหรือยังไม่เสร็จ แต่เกิดเสียหายหรือสูญหายไปจึงหมดหวังที่จะได้ผ้ามาทำจีวรอีก

กฐินตกค้าง กฐินตก กฐินจร หรือกฐินโจร

กฐินตกค้าง กฐินตก กฐินจร หรือกฐินโจร เป็นการทอดกฐินแก่วัดตกค้างที่ไม่มีใครจองกฐิน ในวันใกล้ ๆ ที่จะหมดเขตกำหนดทอดกฐิน ถือกันว่าได้บุญได้อานิสงส์แรงกว่าการทอดกฐินธรรมดา และที่เรียกว่ากฐินจรหรือกฐินโจรนั้น เพราะกิริยาอาการที่ไปทอดนั้นเป็นการไปอย่างไม่ให้รู้เนื้อรู้ตัว จู่ ๆ ก็ไปทอดไม่บอกให้วัดรู้ล่วงหน้า

อานิสงส์ของการทอดกฐิน

1. เป็นการสงเคราะห์พระภิกษุที่จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสให้ได้รับอานิสงส์ตามพุทธบัญญัติ

2.เป็นการเทิดทูนพระพุทธบัญญัติเรื่องกฐินให้คงอยู่สืบไป นับได้ว่าบูชาพระพุทธศาสนาด้วยการปฏิบัติบูชาส่วนหนึ่ง

3.สืบต่อประเพณีกฐินทาน มิให้เสื่อมสลายไปจากวัฒนธรรมประเพณีของคนไทย ซึ่งบรรพบุรุษนำสืบต่อกันมามิขาดสาย

4.การทอดกฐินเป็นการถวายทานโดยมิเจาะจงบุคคลโดยเฉพาะ แต่ถวายแก่หมู่สงฆ์เป็นส่วนรวมจึงเข้าลักษณะเป็นสังฆทาน ที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ ว่ามีผลานิสงส์มาก

5.การร่วมบำเพ็ญกฐินทาน เป็น กาลทาน คือเป็นทานที่ถวายได้ภายในเวลาที่มีพระพุทธานุญาตกำหนด จึงมีอานิสงส์เป็นพิเศษ

6.ในการทอดกฐิน ส่วนใหญ่เป็นการร่วมมือร่วมใจกันของคนจำนวนมากเพื่อสร้างความดีงาม จึงเป็นการเสริมสร้างพลังสามัคคีขึ้นในสังคมอีกทางหนึ่งด้วย

เชิงอรรถ

หมายเหตุ 1: การทำผ้าจีวรในสมัยโบราณต้องใช้เวลาและความร่วมมือในการทำมาก การที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตกฐินเพื่อให้คณะสงฆ์ทั้งหมดที่จำพรรษามาด้วยกันในอาวาสเดียวกันมาร่วมทำกิจกรรมเพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ (องค์ (วัตถุ) กฐินตามพระวินัยนั้นมีผ้าในไตรจีวรเพียงผืนเดียว เช่น มีจีวรเพียงผืนเดียว หรือมีสบงเพียงผืนเดียว ก็สามารถประกอบสังฆกรรมนี้ได้)

หมายเหตุ 2: โดยพระวินัยนั้นพระภิกษุมีหน้าที่ต้องรักษาผ้าครองไตรจีวรของตน หากไม่สามารถรักษาไว้ได้ตลอดคืนหนึ่งย่อมต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์ ดังนั้นการที่พระพุทธองค์ทรงผ่อนปรนพระวินัยให้ภิกษุผู้กรานกฐิน ไม่จำต้องรักษาไตรจีวรของตนครบสำรับดังกล่าว จึงเป็นการผ่อนปรนเพื่อเป็นอานิสงส์ให้พระสงฆ์ผู้กรานกฐิน

หมายเหตุ 3: คำว่า คณโภชน์ มีความเข้าใจผิดกันมากว่าหมายถึง ล้อมวงฉัน แต่ความจริงคณโภชน์ในคณโภชนสิกขาบท หมายถึงภิกษุ ๔ รูปขึ้นไป รับนิมนต์ฉันที่เขานิมนโดยออกชื่อโภชนะ ๕ คือ ข้าว ปลา เนื้อ ขนมสด ขนมแห้ง ถ้าหากได้อานิสงส์กฐินแล้ว พระภิกษุสามารถรับนิมนต์ที่เขานิมนต์ฉันโดยออกชื่อโภชนะ ๕ ได้ ตลอดระยะเวลาอานิสงส์กฐิน

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. วิ.ม.๕/๙๗/๑๐๙ (พระไตรปิฎก เล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๕ มหาวรรค ภาค ๒ กฐินขันธกะ)
  2. องสุตบทบวร ปลัดซ้าย (อดุลย์ อนันตริยกุล). ศาสนพิธีแบบมหายาน อนัมนิกาย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1] 2012-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. เข้าถึงเมื่อ 12-9-52
  3. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. กฐินและแนวทางปฏิบัติ. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. ๒๕๓๖
  4. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำเนื่องในโอกาส ๗๐๐ ปี ลายสือไทย กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.๒๕๒๗
  5. คุณค่าและภาษาในศิลาจารึกหลักที่ ๑ - อลิสา เลี้ยงรื่นรมย์ [ลิงก์เสีย]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช. เรียกข้อมูลเมื่อ 17-6-52
  6. อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อรหันตวรรคที่ ๗ เรื่องพระอนุรุทธเถระ
  7. กระบวนพยุหยาตราชลมารค
  8. อางอิงโดย คุณ ดอน
  9. การทอดกฐิน. เว็บไซต์กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ[ลิงก์เสีย]
  10. เพิ่มศักดิ์ วรรลยางกูล. "ประเพณีทอดกฐิน". เมืองไทยในอดีต. พระนคร : วัฒนาพานิช, 2503. หน้า 40–42.
  11. บทความคำวัด : เดาะกฐิน กฐินเดาะ
  12. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ จีวรวรรค สิกขาบทที่ ๒

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์. (2473). กฐิน คืออะไร?. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พุทธมามกะ.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • ข้อคิดในเทศกาลออกพรรษา. วัดไทยลาสเวกัส
  • วีดิทัศน์ขั้นตอนถวายกฐินพระราชทาน (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ถวายกฐินพระราชทาน ณ วัดราชาธิวาสวิหาร). เว็บไซต์ยูทูป
  • วีดิทัศน์ขั้นตอนสวดกรรมวาจาสังฆกรรมกฐินพระราชทาน (พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารคทอดผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวราราม ในโอกาสปีกาญจนาภิเษก ๒๕๓๙). เว็บไซต์ยูทูป
  • ประวัติการรับผ้ากฐิน. เว็บไซต์ยูทูป


References

กฐ, บาล, เป, นศ, พท, ในพระว, ยป, ฎกเถรวาท, เป, นช, อเร, ยกผ, าไตรจ, วรท, พระพ, ทธเจ, าทรงอน, ญาตให, กษ, อย, จำพรรษาครบ, เด, อนแล, สามารถร, บมาน, งห, มได, โดยคำว, าการทอด, หร, อการกราน, ดเป, นส, งฆกรรมประเภทหน, งตามพระว, ยบ, ญญ, เถรวาทท, กำหนดเวลา, อพระสงฆ, สาม. kthin bali k n epnsphthinphrawinypidkethrwath epnchuxeriykphaitrciwrthiphraphuththecathrngxnuyatihphiksuphuxyucaphrrsakhrb 3 eduxnaelw samarthrbmanunghmid 1 odykhawakarthxdkthin hruxkarkrankthin cdepnsngkhkrrmpraephthhnungtamphrawinybyytiethrwaththimikahndewla khuxphrasngkhsamarthkrathasngkhkrrmniidnbaetwnaerm 1 kha eduxn 11 ipcnthungwnkhun 15 kha eduxn 12 ethann odymiwtthuprasngkhsakhykhuxsrangkhwamsamkhkhiinhmukhnasngkh aelaxnuekhraahphiksuphuthrngkhunthimiciwrcharud1 dngnnkthincungcdepneruxngekiywkbsngkhkrrmkhxngphrasngkhodycaephaa sungnxkcakinphrawinyfayethrwathaelw kthinyngmiinfaymhayanbangnikayxikdwy aetcamikhxkahndaetktangcakphrawinyethrwath 2 kthinepnpraephnithixyukhukbphuththsasnikchnithymachanantngaetsmysuokhthy odykarthwayphaphrakthinkhxngphramhakstriyithynncdepnphrarachphithithisakhymatngaetobran karidmakhxngphaitrciwrxncanamakrankthintamphrawinybyytikhxngethrwathni phraphuththxngkhimthrnghamkarrbphacakphusrththaephuxnamakrankthin 1 dwyehtuphldngklawcungthaihekidthanphithikarthwayphakthin hruxkarthxdkthinkhxngphuththsasnikchnkhun aeladwykarthikarthwayphakthinnn cdepnsngkhthan khuxthwayaekkhnasngkhodyimecaacngphiksurupidruphnung ephuxihkhnasngkhnaphaipxpolkn ykih aekphiksurupidruphnungtamthikhnasngkhlngmti yttithutiykrrmwaca aelakalthan thimikahndekhtewlathwayaennxn khnasngkhwdhnung samarthrbidkhrngediywinrxbpi cungthaihpraephnikarthxdkthinepnbuypraephniniymthisakhykhxngphuththsasnikchnodythwip odyechphaaxyangyinginpraethsithypraephnikarthxdkthinkhxngphuththsasnikchnithymimachanan odymithngphithihlwngaelaphithirasdr odykarthwayphaphrakthinkhxngphramhakstriycdepnphrarachphithithisakhypracapi inpccubnthwayphakthininaengkarsnbsnunphaitrciwrephuxichinsngkhkrrmsakhykhxngkhnasngkhidthukldkhwamsakhylngip aetklbihkhwamsakhykbbriwarkhxngkthinthanaethn echn engin hruxwtthusingkhxng ephuxnasingehlanimaphthnathawrwtthuaelathanubarungphraphuththsasna sungcdepnsngkhthanxyanghnungechnediywknkthinmikahndrayaewlathway cathwaytlxdipehmuxnphachnidxunmiid rayaewlannmiephiyng 1 eduxn khuxtngaetwnaerm 1 kha eduxn 11 ipcnthungwnkhun 15 kha eduxn 12 wnephyeduxn 12 rayaewlanieriykwa kthinkal khuxrayaewla thxdkthin hrux ethskalthxdkthin enuxha 1 khwamhmayaelakhwamsakhykhxngkarthwaykthin 1 1 khwamhmaykhxngkthin 1 2 khwamsakhyphiessaetktangcakthanxyangxun 2 khwamepnmakhxngkthin 3 karthuxptibtipraephnikarbaephykuslenuxnginethskalkthininpraethsithy 4 chnidkhxngkthininpraethsithy 4 1 culkthin 4 2 mhakthin 5 karthxdkthininpraethsithy 5 1 kthinhlwng 5 2 kthintn 5 3 kthinphrarachthan 5 4 kthinrasdr 6 khathwayphakthin 6 1 khathwayphakthinphasabali aebbeka 6 2 khathwayphakthinphasabali aebbihm 7 ekrdinnganthwayphakthininpraethsithy 7 1 thngcraekh nangmccha 8 xun 8 1 kthinedaa 8 2 kthintkkhang kthintk kthincr hruxkthinocr 8 3 xanisngskhxngkarthxdkthin 9 echingxrrth 10 duephim 11 xangxing 12 hnngsuxxanephimetim 13 aehlngkhxmulxun 14 Referenceskhwamhmayaelakhwamsakhykhxngkarthwaykthin aekikhkhwamhmaykhxngkthin aekikh kthin epnsphthbali aepltamsphthwaimsadung khux krxbim hrux imaebb sahrbkhungphathicaeybepnciwrinsmyobran sungphathieybsaerccakkthinhruximsadungaebbnieriykwa phakthin phaeybcakimaebb kthin xaccaaenktamkhwamhmayephuxkhwamekhaicngayiddngni kthin epnchuxkhxngkrxbimaemaebb sadung sahrbthaciwr dngklawkhangtn kthin epnchuxkhxngphathithwayaekphrasngkhephuxkrankthin odyidmacakkarichimaemaebbkhungeyb kthin epnchuxkhxngnganbuypraephnithwayphaitrciwraekphrasngkhephuxkrankthin kthin epnchuxkhxngsngkhkrrmkarkrankthinkhxngphrasngkh 3 khwamsakhyphiessaetktangcakthanxyangxun aekikh karthwaykthinnnmikhxcakdhlayxyang sungthaihkarthwaykthinmikhwamkhwamphiessaetktangcakthanxyangxundngni miikw cakdpraephththan khux txngthwayepnsngkhthanethann cathwayechphaaecaacngphiksurupidruphnungehmuxnthanxyangxunimid cakdewla khuxkthinepnkalthanxyanghnung tamphrabrmphuththanuyat dngnncungcakdewlawatxngthwayphayinrayaewla 1 eduxn nbaetwnxxkphrrsa epntnip 1 cakdngan khux phraphiksuthikrankthintxngtd eyb yxm aelakhrxngihesrcphayinwnthikrankthin 1 cakdithythrrm khux phathithwaytxngthuktxngtamlksnathiphrawinykahndiw 1 cakdphurb khux phraphiksuphurbkthin txngepnphuthicaphrrsainwdnnodyimkhadphrrsatngaet1rupkhunip aelacaich5rupkhunipinkarkrankthininobsthethann cakdkhraw khux wd hnungrbkthinidephiyngpila 1 khrngethann epnphrabrmphuththanuyat thanxyangxunthaykthulkhxihphrasmmasmphuththecathrngxnuyat echn mhaxubasikawisakhathulkhxxnuyatphaxabnafn aetphakthinniphraxngkhthrngxnuyatexng 1 nbepnphraprasngkhodytrngkhwamepnmakhxngkthin aekikhphiksuchawemuxngpaithyrth 30 rup idedinthangephuxmaekhaefaphraphuththeca n wdechtwnmhawihar emuxngsawtthi aetyngimthnthungemuxngsawtthi kthungwnekhaphrrsaesiykxn phrasngkhthng 30 rup cungtxngcaphrrsa n emuxngsaektuinrahwangthang phxxxkphrrsaaelw phiksuehlanncungidxxkedinthangmaekhaefaphrasasdadwykhwamyaklabakephraafnyngtkchukxyu emuxedinthangthungwdphraechtwn phraphththecaidtrsthamthungkhwamepnxyuaelakaredinthang emuxthrabkhwamlabaknncungthrngxnuyatihphiksuphucaphrrsakhrbthwnitrmassamarthrbphakthinid aelaphiksuphuidkrankthinidxanisngs 5 prakar phayinewlaxanisngskthin nbcakwnthirbkthincnthungwnkhun 15 khaeduxn 4 khux ipihnimtxngbxkla imtxngthuxitrciwripkhrbsarbsamphun2 chnkhnophchnaid rbnimntthiekhanimntodyxxkchuxophchnachnid 3 ekbxdierkciwriwidodythiyngmiidwikpp aelaxthisthan odyimtxngxabti ciwrlaphxnekidkhun ckidaekphiksuphuidkrankthinaelwkarthuxptibtipraephnikarbaephykuslenuxnginethskalkthininpraethsithy aekikhkarthuxptibtipraephnikarbaephykuslenuxnginethskalkthininpraethsithy snnisthanwaerimmimaaetaerkthirbphraphuththsasnaethrwathekhamaindinaednpraethsithy sungxacmiptibtipraephninimatngaetsmythwarawdi aetmaprakthlkthanchdecnwachawithyidthuxptibtiinkarbaephykuslinethskalkthininsmykrungsuokhthyepnrachthani dngpraktkhwaminsilacarukhlkthi 1 danthi 2 dngni khninemuxngsuokhthyni mkthan mkthrngsil mnoxythan phxkhunramkhaaehngecaemuxngsuokhthyni thngchawaemchaweca thwypwthwynang lukecalukkhun thngsinthnghlaythngphuchayphuying fungthwymisrththainphraphuththsasn thrngsilemuxphrrsathukkhn emuxoxkphrrsakrankthineduxnnungcingaelw emuxkrankthin miphnmebiy miphnmhmak miphnmdxkim mihmxnnnghmxnonn bripharkthin oxythanaelpiaelyiblan ipsudytkthinethingxiryikphun emuxckekhamaewiyng eriyngknaetxiryikphunethahwlan dmbngkhmklxngdwyesiyngphathyesiyngphin esiyngeluxnesiyngkhb ikhrckmkeln eln ikhrckmkhw hw ikhrckmkeluxn eluxn emuxngsuokhthynimisipakptuhlwng ethiyryxmkhnesiydkn ekhamaduthanephaethiynthanelnif emuxngsuokhthynimidngckaetk khaxansilacarukphxkhunramkhaaehngmharach danthi 2 4 5 insilacarukdngklaw praktthngkhawa krankthin briwarkthin briphankthin swdyttikthin sudytkthin sungkhadngklawkyngkhngichsubmacnthungpccubn aesdngihehnwa ethskalthxdkthinmikhukbsngkhmithythngsthabnphramhakstriyaelaprachachnmachanan dngpraktwachawphuththinpraethsithyihkhwamsakhykbnganthxdkthinthicdinwdtang mak odythuxwaepnnganbuysakhythisudnganhnunginrxbpi bangwdthimiphusrththamak xacmiphucxngepnecaphaphthxdkthinlwnghnayawepnsib pi sungaesdngihehnthungkhwamsrththakhxngchawphuththinpraethsithythiidrwmicknsubthxdpraephninimacnpccubnchnidkhxngkthininpraethsithy aekikhtamphrawinyaelw imidcaaenkkarthxdkthin karthwayphakthinaekphrasngkh xxkepnchnid iwaetxyangid khngklawaetephiynginswnkarthahruxrbphamakrankthinkhxngphrasngkhethann aethakphicarnacakpraephnithiniymptibtiinpccubn khngphxcaaenkchnidkhxngkarthxdkthinidepnsxngkhux culkthin aekikh nganbuykthinkhxngchawekhmrinshrthxemrika culkthin khux khaeriykkarthxdkthinthitxngthadwykhwamribdwn odytxngxasykhwamsamkhkhikhxngphusrththacanwnmak ephuxphlitphaitrciwrihsaercdwymuxphayinwnediyw klawkhux txngerimtngaetekbfay tdeyb yxm aelathwayihphrasngkhkrankthinihesrcphayinewlaechawnhnungcnthungyarungkhxngxikwnhnung dngnnobrancungnbthuxknwakarthaculkthinmixanisngsmak ephraatxngichkhwamxutsahaphyayammakkwakthinaebbthrrmda mhakthin phayinrayaewlaxncakd odyculkthinnipccubnmkcdepnnganihy miphuekharwmepncanwnmakpraephnikarthxdculkthinniepnpraephnithiphbechphaainpraethsithyaelalaw impraktpraephnikarthxdkthinchnidniinpraethsphuththethrwathpraethsxun sahrbpraethsithy mihlkthanwamikarthxdculkthinmaaelwtngaetsmyxyuthya dngpraktinhnngsuxkhaihkarchawkrungeka hna 268 wa thungwnkhun 15 kha eduxn 12 oprdihthaculkthin pccubnpraephnikarthaculkthinniymthaknechphaachumchnthangphakhehnuxaelaxisanethann odyxisancaeriykkthinchnidniwa kthinaeln culkthinimichsphththipraktinphrawinypidk kthinphrarachthanthiphrabathsmedcphraecaxyuhwphrarachthanihbukhkhlaelahnwynganrbphrarachthanipthwayyngphraxaramtang ekhamulkhxngkarthaciwrihesrcinwnediyw prakthlkthaninkhmphirxrrthktha klawthungeruxngthiphraphuththecarbsnginkhnasngkhinwdphraechtwnrwmmuxknthaphaitrciwrephuxthwayaekphraxnuruththaphumiciwrekaichkarekuxbimidaelw odyinkhrngnnepnnganihy sungphraphuththecaesdcmathrngchwykarthaitrciwrdwy odythrngrbhnathisnekhminkarthaciwrkhrngnidwy 6 saehtuprakarhnungthimikarthaculkthin enuxngmacakkahndkarkrankthinnnmirayaewlacakd aelaphrasngkhimsamarthkhwnkhwaydaeninkarephuxihidmasungphakthinexngid ephraacathaihkthinedaa sngkhkrrmesiy cungxacmibangwdthiiklkahndhmdvdukthinaetyngimmiphunaphakthinmathway thaihinsmykxnemuxikleduxn 12 hmdvdukthin mkcamiphusrththatraewniptamwdtang emuxecxwdthiyngimidrbthwayphakthin cungtxngerngribkhwnkhwaycdkarthaphakthinihesrcthnvdukthinhmd sungbangkhrngxacehluxewlaaekhwnediyw cungtxngxasykhwamrwmmuxkhxngkhnthngchumchn inkarrwmkncdthaphaitrciwrihsaerckxnhmdvdukthin ephraasmykxnimmiphaitrciwrsaercrupsahrbkhay karrwmmuxkncdthaculkthindngklawcungthuxidwaepnekhruxngmuxsrangkhwamsamkhkhikhxngkhninchumchnidepnxyangdi mhakthin aekikh mhakthin epnsphththieriykephuxhmaykhwamthungkarthxdkthinthimibriwarkthinmak imtxngthaodyerngribehmuxnculkthin mhakthinkhuxkthinthithxdthwaytamwdtang inpraethsithyinpccubn thicamikarrwbrwmctupccyithythrrmaelasingkhxngtang ephuxnaipepnekhruxngprakxbinngankthinthwayaekphrasngkh ephuxnaipthanubarungphraphuththsasnatxip mhakthinimichsphththipraktinphrawinypidk odymhakthinnnxacepnkthinthimiecaphaphephiyngkhnediywhruxkthinsamkhkhikidkarthxdkthininpraethsithy aekikh phrabathsmedcphraecaxyuhwesdcphrarachdaeninthwayphaphrakthin odykrabwnphyuhyatrachlmarkh n wdxrunrachwraram kthinhlwng aekikh kthinhlwng epnphaphrakthinphrarachthanthiphrabathsmedcphraecaxyuhw esdcphrarachdaeninipphrarachthandwyphraxngkhexng hruxoprdeklaihphrabrmwngsanuwngschnphuihyesdcipphrarachthanaethn kthinhlwngnicdekhruxngphrarachthandwyphrarachthrphyswnphraxngkh aelabangkhrngmikarcdphithiaehekhruxngkthinphrarachthanxyangihy odykrabwnphyuhyatrachlmarkh hruxkrabwnphyuhyatrasthlmarth aelwaetphrarachprasngkh inpccubnkhngkaresdcphrarachdaeninthrngthwayphaphrakthinxyangphithiihynn khngehluxephiyngodykrabwnphyuhyatrachlmarkhethann 7 kthinhlwnginpccubnmiephiyng 16 wdethann idaek inkrungethphmhankhr wdmhathatuyuwrachrngsvsdirachwrmhawihar wdphraechtuphnwimlmngkhlaramrachwrmhawihar wdxrunrachwraramrachwrmhawihar wdsuthsnethphwraramrachwrmhawihar wdrachoxrsaramrachwrwihar wdrachpradisthsthitmhasimaramrachwrwihar wdrachbphithsthitmhasimaramrachwrwihar wdbwrniewsrachwrwihar wdrachathiwasrachwrwihar wdebycmbphitrdusitwnaramrachwrwihar wdmkutkstriyaramrachwrwihar wdethphsirinthrawas rachwrwihartangcnghwd wdphrapthmecdiy wdsuwrrndararam wdniewsthrrmprawti wdphrasrirtnmhathatuwrmhawihar phisnuolk kthintn aekikh kthintn epnphaphrakthinphrarachthanthiphrabathsmedcphraecaxyuhw esdcphrarachdaeninipphrarachthanyngwdrasdrepnkarswnphraxngkh kthinphrarachthan aekikh kthinphrarachthan epnphaphrakthinphrarachthanthiphrabathsmedcphraecaxyuhw thrngphrakrunaoprdekla phrarachthanphaphrakthin aelaekhruxngkthinaekphrabrmwngsanuwngs kharachbriphar swnrachkar hnwyngan smakhm hruxexkchn ihipthxdyngphraxaramhlwngtang thwrachxanackr inpccubnkrmkarsasnarbphidchxbcdphaphrakthinaelaekhruxngkthinthway kthinphrarachthankxngthpherux kxngthpheruxthuxepnnoybaythicakhxrbphrarachthanphaphrakthinipthway n phraxaramhlwngthitngxyuiklkxngthpheruxthukpi aelaiddaeninkarmatngaetpiphuththskrach 2500 epntnma kthinrasdr aekikh inpccubn karthwayphakthinodythwipinpraethsithyidihkhwamsakhykb briwarkthin makkwaphakthinsungepnswnsakhythisudinkarkrankthin kthinrasdr khuxkthinthirastrhruxprachachnthwipthimicitsrththacdthwayphakthin aelaekhruxngkthinipthwayyngwdrasdrtang odyxacaebngxxkepnculkthin aelamhakthin kthinsamkhkhi inpccubnkthinrasdr hruxeriykknodythwipwa kthinsamkhkhi phuepnprathanhruxecaphaphinkarthxdkthincaihkhwamsakhykbkarrwbrwm eriyir enginaelasingkhxngephuxekhaprakxbepnbriwarkthinmakkwa ephraawdsamarthnasingehlaniipichpraoychnthanubarungphraphuththsasnaid aelaenuxngcakkarthwayphakthinepnkalthan cungthaihpraephnikarthxdkthinepnngansakhypracapikhxngwdtang odythwipinpraethsithykhathwayphakthin aekikhkhathwayphakthinphasabali aebbeka aekikh bthpuphphphakhnmkar nom ts s phkhwot xrhot sm masm phuth ths s 3 cb klawkhathwayphakthin xim phn et spriwar k nciwrthus s sng khs s oxonchyam thutiym pi xim phn et spriwar k nciwrthus s sng khs s oxonchyam ttiym pi xim phn et spriwar k nciwrthus s sng khs s oxonchyam sathu on phn et sng okh xim spriwar k nthus s ptikh khn hatu xm hak hitay sukhayklawkhaaepl khaaetphrasngkhphuecriy khaphecathnghlay khxnxmthwayphaciwrkthin kbthngbriwarni aedphrasngkh khaaetphrasngkhphuecriy khaphecathnghlay khxnxmthwayphaciwrkthin kbthngbriwarni aedphrasngkh aeminwarathisxng khaaetphrasngkhphuecriy khaphecathnghlay khxnxmthwayphaciwrkthin kbthngbriwarni aedphrasngkh aeminwarathisam khaaetphrasngkhphuecriy khxphrasngkhcngrb sungphakthin kbthngbriwarthnghlayehlani ephuxpraoychn ephuxkhwamsukhaekkhaphecathnghlay sinkalnanethxy 8 khathwayphakthinphasabali aebbihm aekikh bthpuphphphakhnmkar nom ts s phkhwot xrhot sm masm phuth ths s 3 cb klawkhathwayphakthin xim phn et spriwar k thi i nthus s sng khs s oxonchyam sathu on phn et sng okh xim spriwar k nthus s ptikh khn hatu ptikh kheht wa c ximina thus esn k n xt thrtu xm hak thikhrt t hitay sukhayklawkhaaepl khaaetphrasngkhphuecriy khaphecathnghlay khxnxmthwayphakthinkbthngphabriwarni aedphrasngkh khxphrasngkhcngrbphakthin kbthngbriwarni khxngkhaphecathnghlay khrnrbaelw cngkrankthin dwyphani ephuxpraoychnekuxkul ephuxkhwamsukhaekkhaphecathnghlay tlxdkalnan ethxy 9 ekrdinnganthwayphakthininpraethsithy aekikhthngcraekh nangmccha aekikh say thngmcchathiniympradbinngankthininpraethsithy khwa thngcraekhthiniympradbinngankthininpraethsithy smyobranniymaehphakthinipthxdtamwdtang odyxasyeruxepnsakhy karedinthangiptamlanamkmixntraycakstwnatang enuxng echn craekhkhunmahnuneruxihlm khbkdphukhnbang khnaetkxnhwnekrngphyechnni cungkhidxubaythathngcraekhpkhnaeruxipepnthanxngprakasihstwrayinna echn craekh sungepnstwihyaeladuraykwastwxun inna ihrbthrabkarbuykarkusl caidphlxyxnuomthnaaelamiciticxxnlng imkhidthicathaxntrayaekphukhninkhbwnsungedinthangipprakxbphithikarthangsasnaenuxngcakthuxknwadawcraekhepndawsakhy karekhluxnkhbwnthphinsmyobrantxngkhxydudawcraekhkhun sungepnewlacwnswangaelw karthxdkthinepnphithithabuythimixanisngsiphsalephraathainewlacakd mikhwamsakhyethakbkarekhluxnkhbwnthphinchnedimphucaipthxdkthintxngetriymekhruxngbrikharaelaphaxngkhkthiniwxyangphrxmephriyng aelwaehipwdinewladawcraekhkhun ipaecngexathiwd txmacungmiphukhidthathngcraekhodythuxwa dawcraekhepndawbxkewlaekhluxnxngkhkthin 10 mieruxngelawa mixubaskkhnhnungnaxngkhkthinaehipthangeruxmicraekhtwhnungxyakidbuyinkarthxdkthin cungwaynatameruxxubasknnipdwy aetipidphkhnungcungbxkaekxubasknnwa tntamipdwyimidaelwephraaehnuxyxxnetmthi khxihxubaskcangchangekhiynphaphkhxngtnthithng aelwykkhuniwinwdthiipthxddwyxubaskrbkhacraekhaelwkthatamthicraekhsng tngaetnnmathngrupcraekhcungprakttamwdtang inewlamikarthxdkthin 10 xnung mikhxkhwamincatumsutrtxnhnung aesdngphythicaekidkbphraiw 4 xyangdwykn sungepriybdwyphythiekidaekbukhkhlthilnginaemnahruxthael khux phyekidaetkhwamxdthntxoxwathkhasxnmiid thanepriybesmuxnkhlun eriykwa xum miphy phyekidaetkarehnaekpakaekthxng thnkhwamxdxyakmiidthanepriybesmuxncraekh eriykwa kum philphy phyekidaetkhwamyindiinkamkhun 5 thanepriybesmuxnwngnawn eriykwa xawt tphy phyekidaetkarrkphuhying thanepriybesmuxnplarayeriykwa susukaphyphicarnarupthngthichangpradisthkhun caehnwamiphy 4 xyangxyukhrb tangaetwaednmak ednnxy hruxepnephiyngaethrkxyuinkhwamhmaythiednmak khux rupcraekh rxnglngipkhux rupkhlun swnxik 2 xyangkhux rupwngnawnaelaplaray praktdwyrupnaepnsakhy bangrayekhaephimthngplaraykhunxikthnghnung eriykwa thngmccha thngrupcraekhhruxthngrupnangmcchani pkiwthihnawd ephuxaesdngihthrabwathiwdniidcxngkthinhruxthxdkthinaelw dwythuxknmawawdhnung carbkthinidpilakhrngediywethann phuthiphanipmacaidphlxyxnuomthnadwythngkthinnncamixyu 4 xyangkhux 1 rupcraekh 2 rupnangmccha 3 ruptakhab 4 rupeta sungepnprisnathrrm mikhwamhmaywa 1 craekhhmaythungkhwamolph suxthipakcraekhmikhnadihy 2 takhab hmaythungkhwamokrth suxthungphiskhxngtakhab 3 nangmccha hmaythungkhwamhlng ichrupnangenguxkthiepnhyingsawrkswyrkngam 4 eta hmaythungsti karrawngpxngxaytnathng6 ehmuxnetathihd hw kha hang pxngknxntray ephuxsxnwa khwamolph okrth hlng txngruckkhwbkhumciticdwykarmisti nnexng 10 xun aekikhkthinedaa aekikh khawaedaainphasaithyaeplwarawcnhk aetinkhwamhmaykhxngphrawinykhuxphrasngkhthiidrbkthinaelwidsiththiinkarkhyayewlainkarthaciwrxxkipidxik 4 eduxn aetinrahwangnnphiksuxxkcakwdodythiimkhidklbma aelahmdkhwamkngwlciwrkhuxthaciwresrcaelwhruxyngimesrc aetekidesiyhayhruxsuyhayipcunghmdhwngthicaidphamathaciwrxik 11 kthintkkhang kthintk kthincr hruxkthinocr aekikh kthintkkhang kthintk kthincr hruxkthinocr epnkarthxdkthinaekwdtkkhangthiimmiikhrcxngkthin inwnikl thicahmdekhtkahndthxdkthin thuxknwaidbuyidxanisngsaerngkwakarthxdkthinthrrmda aelathieriykwakthincrhruxkthinocrnn ephraakiriyaxakarthiipthxdnnepnkaripxyangimihruenuxrutw cu kipthxdimbxkihwdrulwnghna 10 xanisngskhxngkarthxdkthin aekikh 1 epnkarsngekhraahphraphiksuthicaphrrsakhrbthwnitrmasihidrbxanisngstamphuththbyyti2 epnkarethidthunphraphuththbyytieruxngkthinihkhngxyusubip nbidwabuchaphraphuththsasnadwykarptibtibuchaswnhnung3 subtxpraephnikthinthan miihesuxmslayipcakwthnthrrmpraephnikhxngkhnithy sungbrrphburusnasubtxknmamikhadsay4 karthxdkthinepnkarthwaythanodymiecaacngbukhkhlodyechphaa aetthwayaekhmusngkhepnswnrwmcungekhalksnaepnsngkhthan thiphraphuththxngkhthrngsrresriy wamiphlanisngsmak5 karrwmbaephykthinthan epn kalthan khuxepnthanthithwayidphayinewlathimiphraphuththanuyatkahnd cungmixanisngsepnphiess6 inkarthxdkthin swnihyepnkarrwmmuxrwmicknkhxngkhncanwnmakephuxsrangkhwamdingam cungepnkaresrimsrangphlngsamkhkhikhuninsngkhmxikthanghnungdwyechingxrrth aekikhhmayehtu 1 karthaphaciwrinsmyobrantxngichewlaaelakhwamrwmmuxinkarthamak karthiphraphuththecathrngxnuyatkthinephuxihkhnasngkhthnghmdthicaphrrsamadwykninxawasediywknmarwmthakickrrmephuxsrangkhwamsamkhkhiinhmukhna xngkh wtthu kthintamphrawinynnmiphainitrciwrephiyngphunediyw echn miciwrephiyngphunediyw hruxmisbngephiyngphunediyw ksamarthprakxbsngkhkrrmniid hmayehtu 2 odyphrawinynnphraphiksumihnathitxngrksaphakhrxngitrciwrkhxngtn hakimsamarthrksaiwidtlxdkhunhnungyxmtxngxabtinisskhkhiypacittiy 12 dngnnkarthiphraphuththxngkhthrngphxnprnphrawinyihphiksuphukrankthin imcatxngrksaitrciwrkhxngtnkhrbsarbdngklaw cungepnkarphxnprnephuxepnxanisngsihphrasngkhphukrankthinhmayehtu 3 khawa khnophchn mikhwamekhaicphidknmakwahmaythung lxmwngchn aetkhwamcringkhnophchninkhnophchnsikkhabth hmaythungphiksu 4 rupkhunip rbnimntchnthiekhanimnodyxxkchuxophchna 5 khux khaw pla enux khnmsd khnmaehng thahakidxanisngskthinaelw phraphiksusamarthrbnimntthiekhanimntchnodyxxkchuxophchna 5 id tlxdrayaewlaxanisngskthinduephim aekikhkrathin phuchchnidhnung khathiichsbsnkb kthin wnxxkphrrsaxangxing aekikh 1 0 1 1 1 2 1 3 1 4 1 5 wi m 5 97 109 phraitrpidk elmthi 5 phrawinypidk elmthi 5 mhawrrkh phakh 2 kthinkhnthka xngsutbthbwr pldsay xduly xnntriykul sasnphithiaebbmhayan xnmnikay xxniln ekhathungidcak 1 Archived 2012 11 07 thi ewyaebkaemchchin ekhathungemux 12 9 52 sankngankhnakrrmkarwthnthrrmaehngchati kthinaelaaenwthangptibti orngphimphkhurusphaladphraw 2536 culalngkrnmhawithyaly silacarukphxkhunramkhaaehngmharach culalngkrnmhawithyalycdthaenuxnginoxkas 700 pi laysuxithy krungethph orngphimphculalngkrnmhawithyaly 2527 khunkhaaelaphasainsilacarukhlkthi 1 xlisa eliyngrunrmy lingkesiy mhawithyalyethkhonolyirachmngkhlsriwichy withyaekhtnkhrsrithrrmrach eriykkhxmulemux 17 6 52 xrrthktha khuththknikay khathathrrmbth xrhntwrrkhthi 7 eruxngphraxnuruththethra krabwnphyuhyatrachlmarkh xangxingody khun dxn karthxdkthin ewbistkrmkarsasna krathrwngsuksathikar lingkesiy 10 0 10 1 10 2 10 3 ephimskdi wrrlyangkul praephnithxdkthin emuxngithyinxdit phrankhr wthnaphanich 2503 hna 40 42 bthkhwamkhawd edaakthin kthinedaa phraitrpidk elmthi 2 phrawinypidk elmthi 2 mhawiphngkh phakh 2 ciwrwrrkh sikkhabththi 2 phrathrrmkittiwngs thxngdi suretoch p th 9 rachbnthit phcnanukrmephuxkarsuksaphuththsasn chud khawd wdrachoxrsaram krungethph ph s 2548hnngsuxxanephimetim aekikhsmedcphraphuththokhsacary 2473 kthin khuxxair krungethph orngphimphphuththmamka aehlngkhxmulxun aekikhwikisxrs mingantnchbbekiywkb emuxngithyinxdit praephnithxdkthinkhxkhidinethskalxxkphrrsa wdithylasewks widithsnkhntxnthwaykthinphrarachthan smedcphraethphrtnrachsuda syambrmrachkumari thwaykthinphrarachthan n wdrachathiwaswihar ewbistyuthup widithsnkhntxnswdkrrmwacasngkhkrrmkthinphrarachthan phrabathsmedcphraecaxyuhw smedcphrabrmoxrsathirach aelasmedcphraethphrtnrachsuda esdcphrarachdaeninthangchlmarkhthxdphaphrakthin n wdxrunrachwraram inoxkaspikaycnaphiesk 2539 ewbistyuthup prawtikarrbphakthin ewbistyuthupReferences aekikhekhathungcak https th wikipedia org w index php title kthin amp oldid 9561654, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม