fbpx
วิกิพีเดีย

ชาวไท

ชาวไท เป็นชื่อเรียกโดยรวมของกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดกลุ่มภาษาไท กระจายตัวอยู่ในภูมิภาคอุษาคเนย์ รับประทานข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก นิยมปลูกเรือนเสาสูง มีใต้ถุน อาศัยทั้งในที่ราบลุ่ม และบนภูเขา ประเพณีศพเป็นวิธีเผาจนเป็นเถ้าแล้วเก็บอัฐิไว้ให้ลูกหลานบูชา ศาสนาดั้งเดิมเป็นศาสนาผี นับถือบรรพบุรุษและบูชาพญาแถน (ผีฟ้าหรือเสื้อเมือง) มีประเพณีสำคัญคือ ประเพณีสงกรานต์ ซึ่งเป็นประเพณีเฉลิมฉลองวสันตวิษุวัต และการขึ้นปีใหม่ ทั้งนี้ คำเรียก ไต เป็นคำที่กลุ่มชนตระกูลไต เช่น ไตแดง ไตดำ ไตขาว ไตเม้ย เป็นต้น และไทใหญ่ใช้เรียกตนเอง ส่วน ไท เป็นคำเดียวกัน แต่เป็นสำเนียงของชาวไทน้อยและไทยสยาม บางครั้ง การใช้คำ ไต-ไท ในวงแคบจะหมายถึงเฉพาะผู้ที่ใช้ภาษาในกลุ่มภาษาไท (ไม่รวมกลุ่มภาษากะได เช่น ลักเกีย คำ ต้ง หลี เจียมาว ฯลฯ)

ชาวไท
การกระจายตัวของชาวไท
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ประเทศพม่า (ไทใหญ่)
ประเทศลาว
ประเทศไทย
ประเทศเวียดนาม
เอเชียใต้
ประเทศอินเดีย (ไทคำตี้, ไทอาหม, ไทพ่าเก, ไทอ่ายตน, ไทคำยัง และไทตุรุง)
เอเชียตะวันออก
ประเทศจีน (ไท, จ้วง, ปู้อี)
ภาษา
กลุ่มภาษาไท
ศาสนา
พุทธนิกายเถรวาท, ศาสนาอาหม, ศาสนาผี, ฮินดู, อิสลาม, วิญญาณนิยม, เชมัน

ประวัติ

ในอดีตเชื่อกันว่าชาวไทอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต ต่อมาก็เชื่อว่าอพยพมาจากตอนกลางของประเทศจีน และก็เชื่อกันว่ากำเนิดในบริเวณจีนตอนใต้ เป็นอาณาจักรน่านเจ้า และอพยพลงมาทางตอนใต้สร้างเป็นอาณาจักรโยนกนคร (เชียงแสน) ต่อมาเป็นอาณาจักรล้านนาและอาณาจักรสุโขทัย ตามลำดับ ส่วนอีกทฤษฎีเชื่อว่าอพยพมาจากทางใต้ จากชวา สุมาตรา และคาบสมุทรมลายู แต่นักมานุษยวิทยาในปัจจุบันเชื่อกันว่า กลุ่มชาติพันธุ์ไท-กะได อยู่ที่บริเวณจีนตอนใต้ เรื่อยมาจนถึงแอ่งที่ราบลุ่มภาคอีสาน เรื่อยไปยังประเทศลาว รัฐชาน (ประเทศพม่า) และประเทศไทยตอนบน หลังจากนั้นจึงมีการอพยพเพิ่ม เช่นกลุ่มชาวอาหม ที่อพยพข้ามช่องปาดไก่ ไปยังรัฐอัสสัม และ ชาวไตแดงที่อพยพไปตั้งถิ่นฐานบริเวณอาณาจักรสิบสองจุไท โดยทั้งหมด มีทฤษฎีอยู่ดังนี้

ทฤษฏีที่ 1 ชาวไทมาจากเทือกเขาอัลไต

ทฤษฎีนี้ หลวงวิจิตรวาทการ (วิจิตร วิจิตรวาทการ) (ขณะดำรงบรรดาศักดิ์ ขุน) ให้การสนับสนุน ว่าชาวไทมาจากเทือกเขาอัลไต แล้วมาสร้างอาณาจักรน่านเจ้า แล้วจึงอพยพมาสร้างล้านนาและสุโขทัย โดยเชื่อว่าคำว่าไต ท้ายคำว่า อัลไต (Altai) หมายถึงชาวไท แต่ทฤษฎีนี้ต่อมาได้พิสูจน์แล้วว่าไม่จริง อีกทั้ง อัลไต เป็นภาษาอัลไตอิก ไม่ใช่ภาษาไท และน่านเจ้า ปัจจุบันได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นอาณาจักรของชาวไป๋

ทฤษฏีที่ 2 ชาวไทมาจากจากหมู่เกาะทะเลใต้

เบเนดิกส์ เสนอว่า ไทยพร้อมกับพวกฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซียอพยพจากหมู่เกาะทะเลใต้ แถบเส้นศูนย์สูตร ขึ้นมาตั้งถิ่นฐานในดินแดนอุษาคเนย์ และหมู่เกาะฟิลิปปินส์ เบเนดิกส์ ยกเรื่องความเหมือนของภาษามาสนับสนุน เช่น คำว่าปะตาย ในภาษาตากาล็อก แปลว่า ตาย อากู แปลว่า กู คาราบาว แปลว่า กระบือ เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง] ประเด็นนี้นักภาษาศาสตร์ และนักนิรุกติศาสตร์ส่วนใหญ่ ไม่ยอมรับวิธีการของเบเนดิกส์ เพราะเป็นการนำภาษาปัจจุบันของฟิลิปปินส์มาเทียบกับไทย แทนที่จะย้อนกลับไปเมื่อ 1200 ปีที่แล้ว ว่า คำไทยควรจะเป็นอย่างไร และคำฟิลิปปินส์ควรจะเป็นอย่างไร แล้วจึงนำมาเทียบกันได้ นอกจากนี้ ผู้ที่เชื่อทฤษฎีนี้ ยังใช้เหตุผลทางกายวิภาค เนื่องจากคนไทยและฟิลิปปินส์ มีลักษณะทางกายวิภาค คล้ายคลึงกัน

ทฤษฏีที่ 3 ชาวไทอาศัยอยู่ในบริเวณสุวรรณภูมิอยู่แล้ว

นักวิชาการท่านหนึ่งเสนอว่าชนชาติไท-กะได อาจจะอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยอ้างตามหลักฐานโครงกระดูก ที่บ้านเชียง และ บ้านเก่า แต่หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงอ้างความเห็นของกอร์แมนว่า โครงกระดูกคนบ้านเชียง มีลักษณะคล้ายกับกระดูกมนุษย์ที่อยู่ตามหมู่เกาะมหาสมุทรแปซิฟิก อีกประการหนึ่ง ทรงอ้างถึงจารึกในดินแดนสุวรรณภูมิ ว่าเป็นจารึกที่ทำในภาษามอญมาจนถึงประมาณ พ.ศ. 1730 ไม่เคยมีจารึกภาษาไทยในช่วงเวลาดังกล่าวเลย

ทฤษฏีที่ 4 ชาวไทอาศัยอยู่บริเวณจีนตอนใต้ และเขตวัฒนธรรมไท-กะได

ทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับของนักภาษาศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ในปัจจุบันมากที่สุด โดยศาสตราจารย์ เก็ดนีย์ เจ้าของทฤษฎี ให้เหตุผลประกอบด้วยทฤษฏีทางภาษาว่า ภาษาเกิดที่ใด จะมีภาษาท้องถิ่นมากหลายชนิดเกิดขึ้นแถบบริเวณนั้น เพราะอยู่มานานจนแตกต่างกันออกไป แต่ในดินแดนที่ใหม่กว่าภาษาจะไม่ต่างกันมาก โดยยกตัวอย่างภาษาอังกฤษบนเกาะอังกฤษ มีสำเนียงถิ่นมากและบางถิ่นอาจฟังไม่เข้าใจกัน แต่ขณะที่ภาษาอังกฤษในสหรัฐอเมริกา มีสำเนียงถิ่นน้อยมากและพูดฟังเข้าใจกันได้โดยตลอด เปรียบเทียบกับชาวจ้วงในมณฑลกวางสี แม้มีระยะห่างกันเพียง 20 กิโลเมตร แต่ก็แยกสำเนียงถิ่นออกเป็นจ้วงเหนือ และจ้วงใต้ ซึ่งสำเนียงบางคำต่างกันมากและฟังกันไม่รู้เรื่องทั้งหมด ขณะที่ภาษาถิ่นในไทย (ภาษาไทยกลาง) และภาษาถิ่นในลาว (ภาษาลาว) กลับฟังเข้าใจกันได้มากกว่า

ต้นกำเนิดของชาวไท

ในรายงานตีพิมพ์เมื่อปี 2004 นักภาษาศาสตร์ Laurent Sagart ตั้งสมมติฐานว่าภาษาไท-กะไดเริ่มแรกกำเนิดจากภาษาออสโตนีเซียน ซึ่งผู้อพยพนำติดตัวจากไต้หวันไปถึงจีนแผ่นดินใหญ่ หลังจากนั้นภาษานี้ก็ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากภาษาพื้นเมืองต่าง ๆ ตั้งแต่ จีน-ทิเบต, ม้ง-เมี่ยน จนถึงตระกูลภาษาอื่นๆ โดยรับคำศัพท์เข้ามาจำนวนมากและค่อย ๆ กลายโครงสร้างภาษามาคล้ายกัน ปัจจุบันเมื่อไม่นานมานี้กลุ่มคนบางกลุ่มที่พูดภาษาไทได้อพยพไปทางทิศใต้ผ่านเทือกเขาต่าง ๆ เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจจะทันทีโดยการมาถึงของชาวจีนฮั่นไปจีนตอนใต้

มรดกทางภาษาไม่ได้เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับมรดกทางพันธุกรรมเนื่องจากการเปลี่ยนภาษาเมื่อประชากรต่าง ๆ เรียนรู้ภาษาใหม่ ๆ ชาวไทมีแนวโน้มที่จะมีอัตราการปรากฏของ Y-DNA Haplogroup O2a สูงมากและอัตราการปรากฏของ O2a1 และ O1 ปานกลาง[ต้องการอ้างอิง], อย่างไรก็ตามเชื่อกันว่า Y-DNA haplogroup O1 มีความสัมพันธ์กับทั้งผู้ที่พูดภาษาออสโตนีเซียนและผู้ที่พูดภาษาไท, ความแพร่หลายของ Y-DNA haplogroup O1 ในหมู่ผู้ที่พูดภาษาออสโตนีเซียนและผู้ที่พูดภาษาไทยังบ่งบอกถึงบรรพบุรุษร่วมกันกับผู้ที่พูดภาษาซิโน-ทิเบตัน, ออสโต-เอชียติก และม้ง-เมี่ยนเมื่อประมาณ 35,000 ปีก่อนในจีน, Y-DNA haplogroup O2a ถูกพบด้วยอัตราการปรากฏสูงในหมู่คนไทส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่คนไทมีร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยใกล้เคียงนั่นคือผู้ที่พูดภาษาออสโต-เอเชียติกในมณฑลยูนนานของจีนตอนใต้ Y-DNA haplogroups O1 และ O2a เป็นกลุ่มย่อยของ O ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของ K อีกทีซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ซึ่งเชื่อกันว่าได้เกิดขึ้นเมื่อ 40,000 ปีก่อน ณ ที่ใดที่หนึ่งระหว่างอิหร่านกับจีนตอนกลาง[ต้องการอ้างอิง]

อย่างไรก็ตามจากการตรวจสอบโครโมโซมแล้วลักษณะร่วมของกลุ่มผู้พูดภาษาตระกูลไท-ไตคือ Y-DNA haplogroup O1a ซึ่งพบมากในแถบจีนตะวันออกเฉียงใต้ทำให้เป็นหนึ่งในเหตุผลที่โอกาสในทฤษฎีที่กล่าวว่าคนไทมาจากประเทศจีนตอนใต้นั้นมีความเป็นไปได้มากที่สุดในขณะนี้

 
Projected spatial frequency distribution for haplogroup O2-M95 . แผนภาพแสดงอัตราส่วนความถี่ทางภูมิศาสตร์ของ Y-DNA Haplogroup O2a ซึ่งพบมากในผู้พูดภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก

การแบ่งประเภท

การแบ่งกลุ่มชาวไท ทำได้หลายวิธี เช่น แบ่งตามวัฒนธรรม แบ่งตามภาษาที่ใช้ และแบ่งตามประเทศในปัจจุบัน

แบ่งตามวัฒนธรรม

การแบ่งตามวัฒนธรรม เป็นการแบ่งตามหลักมานุษยวิทยา โดยใช้เกณฑ์ด้านวัฒนธรรมและประเพณี ซึ่งสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ไทน้อย ไทใหญ่ และไทยสยาม

ไทน้อย

ตระกูลชาติพันธุ์ไทน้อย หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นฐานเดิม อยู่บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำโขง ประกอบด้วยในลาว จนถึงลุ่มแม่น้ำดำ-แดง ในเวียดนาม แล้วเลยไปจนถึงตอนใต้ของจีน เอกลักษณ์ตระกูลชาติพันธุ์ไทน้อย คือ มีการปลูกเรือนแบบยาวลึกเข้าไป และไม่มีการเล่นระดับที่ซับซ้อนมาก ในสถาปัตยกรรมขั้นสูงมีการประดับตกแต่งที่ค่อนข้างน้อย เน้นความอ่อนช้อยของศิลปะ แต่เสื้อผ้าอาจจะมีเครื่องประดับมากกว่า โดยกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลนี้ ได้แก่พวก ไทลาว ไทดำ (ภาษาไทยเรียกว่าลาวโซ่ง) ไทขาว ไทแดง ไทพวน (ภาษาไทยมักจะเรียกว่าลาวพวน) ไทฮ่างตง ตูลาว หลี เจียมาว เกลาว ลาติ ลาคัว ลาฮา จาเบียว เบ ไทแสก (ลาวใช้ไทแซก) ลักเกีย คำ สุย มู่หล่าว เมาหนาน ไทญ้อ ภูไท ต้ง จ้วง คัง นุง โท้ เป็นต้น กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีความหลากหลายกว่าไทใหญ่ โดยเฉพาะด้านภาษา ซึ่งมีกลุ่มภาษาทั้ง 3 กลุ่ม รวมถึงภาษากะได ด้วย

ไทใหญ่

ตระกูลชาติพันธุ์ไทใหญ่ หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีถิ่นฐานดั้งเดิม อยู่บริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำโขง เลยไปถึงลุ่มน้ำสาละวิน อิระวดี และพรหมบุตร เอกลักษณ์ของตระกูลชาติพันธุ์ไทใหญ่ คือ มีระบบการปลูกบ้านสร้างเรือนที่ซับซ้อนกว่าไทน้อย โดยบ้านมักจะมีการกั้นห้องแบ่งระดับยกหลังคา ที่สลับซับซ้อนกว่า นอกจากนี้ในสถาปัตยกรรมขั้นสูง มักจะมีการประดับตกแต่งมากกว่า โดยกลุ่มชาติพันธุ์ในตระกูลนี้ ได้แก่พวกไทใหญ่ (ไทใหญ่เรียกตัวเองว่าไตหรือไตโหลง (ไทหลวง) ส่วนคำว่าไทใหญ่นั้นเป็นชื่อในภาษาไทยเท่านั้น ไม่ใช่ชื่อที่เขาเรียกตัวเอง) ไทเหนือ ไทขึน ไทลื้อ ไทยวน(ชาวไทยภาคเหนือ) อาหม อ่ายตน คำยัง คำตี่ พ่าเก นะรา จันหารี และ ตุรุง เป็นต้น

ไทยสยาม

ตระกูลชาติพันธุ์ไทยสยาม หมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำเพชรบุรี เรื่อยไปจนถึงที่ราบลุ่มแม่น้ำพุมดวง-ตาปี ที่ราบลุ่มทะเลสาบสงขลา บริเวณจังหวัดเกาะกง (ประเทศกัมพูชา) และบริเวณจังหวัดเกาะสอง (เขตตะนาวศรี ประเทศพม่า) ไทยสยาม เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีการพูดถึงและถกเถียงเรื่องที่มามากที่สุด โดยมีการเสนอทฤษฎีขึ้นมามากมาย ทั้งมาจากเทือกเขาอัลไต หรือมาจากหมู่เกาะทะเลใต้ ด้วยเชื่อว่า ไทยสยาม เป็นชาติพันธุ์บริสุทธิ์ และเป็นต้นตระกูลของทุกชาติพันธุ์ในตระกูลภาษาไท-กะได แต่ในปัจจุบัน นักวิชาการส่วนมากยอมรับแล้วว่า ไทยสยามไม่ใช่ชาติพันธุ์บริสุทธิ์ แต่เป็นชาติพันธุ์ที่มีการผสมผสานกัน ทั้งภายในและภายนอก โดยวัฒนธรรมส่วนมากเป็นส่วนผสมระหว่างไทน้อยและไทใหญ่ นอกจากนี้ยังมีวัฒนธรรมจากภายนอกเข้ามาผสมทั้งจาก มอญ ขอม(เขมรโบราณ) อินเดีย และมลายู อีกด้วย

แบ่งตามกลุ่มภาษา

กลุ่มภาษาไหล-เกยัน

หมายถึงผู้ที่ใช้ภาษาในกลุ่มภาษาไหล และกลุ่มภาษาเกยัน ซึ่งประกอบด้วย หลี เจียมาว เกลาว ลาติ ลาติขาว จาเบียว ลาคัว และ ลาฮา เป็นต้น

กลุ่มภาษาลักเกีย-กัม-สุย

หมายถึงผู้ที่ใช้ภาษาอื่น ๆ ในกลุ่มภาษากัม-ไท ยกเว้นภาษาไท ซึ่งประกอบด้วย เบ แสก ลักเกีย อ้ายจาม ต้ง คัง มู่หลาม เหมาหนาน และสุย เป็นต้น

กลุ่มภาษาไท

หมายถึงกลุ่มชนที่ใช้ภาษาไท เช่น ไทดำ (ลาวโซ่ง) ไทยวน ไทขาว ไทยสยาม ไทฮ่างตง ไทแดง ไทพวน (ลาวพวน) ตูลาว ไทลาว (ลาว) ไทญ้อ ผู้ไท ไทยอีสาน (ลาว) อาหม อ่ายตน คำตี่ คำยัง พ่าเก ไทขึน ไทใหญ่ (ฉาน) ไทลื้อ ไทเหนือ ปายี ไทถาน ไทยอง ไทหย่า จ้วง นุง ต่าย (โท้) ตุรุง นาง และ ปูยี เป็นต้น

แบ่งตามประเทศในปัจจุบัน

ประเทศไทย

ในประเทศไทย ชาวไทโดยเฉพาะไทยสยาม เป็นประชากรกลุ่มหลักของประเทศ ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์ทั้งหมดประกอบด้วย ไทใหญ่ (ฉาน เงี้ยว) ไทลื้อ ไทขึน ไทยอง ไทยวน ไทดำ (ลาวโซ่ง) ไทยสยาม ภูไท (ญ้อ, โย้ย) ไทพวน (ลาวพวน) ไทอีสาน (ไทลาว) ลาวแง้ว ไทแสก ลาวครั่ง ไทกลา ไทหย่า ลาวตี้ ลาวเวียง ลาวหล่ม และ คำตี่

ประเทศลาว

ในประเทศลาวก็เช่นเดียวกันกับไทย ที่มีชาวไทเป็นประชากรกลุ่มหลักของประเทศ ประกอบด้วย ไทลาว ลาวตี้ ลาวเวียง (ภาษาลาวเรียกว่าไทเวียงและแค่เป็นคำสำหรับเรียกคนไทลาวที่มาจากเวียงจันทน์ ไม่ใช่ไทอีกกลุ่มหนึ่งอย่างแท้จริง) ลาวหล่ม ผู้ไท ชาวไทขาว ชาวไทดำ (ลาวโซ่ง) ชาวไทแดง ชาวไทเหนือ ชาวผู้เอิน ชาวไทยวน ชาวไทลื้อ ชาวไทพวน (ลาวพวน) ชาวไทกะเลิง ชาวไทญ้อ และ ชาวไทแสก (ลาวใช้ไทแซก)

ประเทศจีน

ชาวไทในประเทศจีน ถือเป็นชาวไทนอกประเทศไทย-ลาว ที่มีจำนวนมากที่สุด โดยมากอาศัยในมณฑลยูนนาน กวางสี กวางตุ้ง กุ้ยโจว และไหหลำ ประกอบด้วย ชาวจ้วง ไทใหญ่ ชาวหลี ชาวไทลื้อ ชาวไทปายี่ ชาวไทย้อย (จุงเจีย ตุเยน ตุเรน หรือไดออย) ชาวตุลา (ตุเรน) ชาวปูลาจี ชาวปูลุงจี ชาวไทเหนือ (ไทนู้) ชาวไทลาย (ไทน้ำ) ชาวไทหย่า ชาวไทนุง ชาวไทไขหัว ชาวไทชอง ชาวไทเขิน ชาวไทลื้อ ชาวต้ง (อ้ายก๊ำ ปู้ก๊ำ ผู้คำ) ชาวสุย ชาวมู่หล่าว ชาวเมาหนาน ชาวเก๋าหล่าว ชาวไทเอวลาย ชาวปู้ใย่ ชาวโท้ ชาวไทหย่า ชาวอูเอ ชาวไซ ชาวเดาลาว ชาวอี๋ ชาวเอน ชาวฟูมะ ชาวตูเชน ชาวเปเมียว ชาวปาเชน (กลุ่มเลือดผสมจีน) และ ชาวมิงเกีย (กลุ่มเลือดผสมจีน)

ประเทศพม่า

ชาวไทแบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนเหนือ และส่วนใต้ โดยส่วนใต้เป็นชาวไทยสยาม ที่อาศัยอยู่ในเขตตะนาวศรี โดยเฉพาะบริเวณชายแดน และจังหวัดเกาะสอง ซึ่งยังเป็นปัญหาชาวไทยพลัดถิ่นอยู่ สำหรับส่วนเหนือ เป็นชาวไทกลุ่มอื่น ๆ และไม่ได้มีปัญหาเรื่องชีวิตบนเส้นแบ่งเขตแดน โดยกลุ่มนี้ประกอบด้วย ชาวไทใหญ่ ชาวไทลื้อ ชาวไทเขิน ชาวไทยอง ชาวไทเมา ชาวไทแลง ชาวไทคำตี่ ชาวไทพ่าเก ชาวไทยโยเดีย ชาวไทผิ่ว ชาวนะรา ไทยพลัดถิ่นในเขตตะนาวศรี

ประเทศเวียดนาม

ส่วนมากอาศัยบริเวณลุ่มแม่น้ำดำ-แดง ประกอบด้วย ชาวปูยี่ ชาวเกี๋ยน ชาวลาว ชาวไทลื้อ ชาวไทดำ ชาวไทขาว ชาวไทแดง ชาวไทนุง (ผู้นุง) ชาวไทใหญ่ (สานเชย์) ชาวถาย ชาวไทย ชาวม่าน ชาวโท้ ชาวเกลาว ชาวลาชิ ชาวละหา ชาวนาง ชาวไทญัง (ไส) ชาวไทไต่ ชาวไทชอง ชาวไทท้าวลาว ชาวไทลักกะ (ละเกีย) ชาวข่าลาว ชาวตูลาว ชาวควาเบียว (จาเบียว) ชาวโต๋ ชาวไทหล้า ชาวไทโส ชาวไทลา ชาวไทเชียง ชาวไทลาย ชาวไทฮ่างตง

ประเทศอินเดีย

ชาวไทในอินเดีย ส่วนมากอาศัยในรัฐอัสสัม และอรุณาจัลประเทศ ได้แก่ ชาวไทอาหม ชาวไทพาเก่ ชาวไทคำตี่ ชาวไทอ่ายตน (ไทอ้ายตน อ้ายตอน) ชาวไทคำยัง ชาวไทตุรง ชาวนะรา และ ชาวไทจันหารี

ชาวไทในส่วนอื่น ๆ

นอกจากนี้ ในกัมพูชา และ มาเลเซีย ยังมีชาวไทอาศัยอยู่ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ก่อนตั้งแต่ก่อนการเสียดินแดน เช่น ในพระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ เกาะกง ไทรบุรี ปะลิส กลันตัน และตรังกานู โดยกลุ่มนี้ประกอบด้วย ชาวลาว ไทยสยาม ไทยเกาะกง ไทยกลันตัน ไทยปะลิศ ไทยไทรบุรี ไทยเปรัก ไทยลังกาวี และยังมีชาว SamSam ซึ่งเป็นคนไทยผสมมลายู และนับถือศาสนาอิสลาม อยู่ทางตอนเหนือของมาเลเซีย และทางใต้ของไทย

ในภูมิภาคเอเชียนอกจากเอเชียอาคเนย์

ในภูมิภาคเอเชียใต้ นอกจากในประเทศอินเดียที่มีชาวอาหม ชาวคำตี่ ฯลฯ อาศัยอยู่ ในประเทศปากีสถานก็มีคนปากีสถานเชื้อสายไทย อาศัยอยู่ในเมืองบาตกราม (Batakram) ในประเทศศรีลังกาก็มีชุมชนชาวไทใหญ่ ซึ่งอพยพมาจากอินเดีย ในกลุ่มประเทศภูมิเอเชียตะวันออก อย่างญี่ปุ่น ไต้หวัน ก็มีคนไทยเข้าไปทำอาชีพ และอาศัยอยู่ที่นั่นเป็นจำนวนมาก แม้แต่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ก็มีชาวไทยอาศัยอยู่อย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ บาห์เรน

ในภูมิภาคอเมริกาเหนือ

ในสหรัฐ มีกลุ่มชนชาวไทหลายกลุ่มอพยพเข้าไปอาศัยจำนวนมาก อย่างชาวลาว ชาวไทย ชาวไทขาว ชาวไทยอีสาน ชาวไทยใต้ ชาวไทยถิ่นเหนือ ชาวไทลื้อ ไทดำ ชาวต่าย หรือแม้แต่ชาวไทใหญ่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ในประเทศแคนาดาก็มีชาวไทยอยู่ไม่น้อย

ในทวีปยุโรป

มีชาวไทจำนวนมากอาศัยอยู่ในทวีปยุโรป ได้แก่ ชาวลาวในสหราชอาณาจักร ประเทศฝรั่งเศส เยอรมัน และสวิตเซอร์แลนด์ ชาวไทยอีสานส่วนมากอาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร และประเทศไอซ์แลนด์ ชาวไทยส่วนมากอาศัยอยู่ในประเทศฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ และนอร์เวย์ ชาวไทดำ และชาวต่ายอาศัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ส่วนชาวไทยถิ่นใต้ส่วนมากอาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร

ในทวีปออสเตรเลียและโอเชียเนีย

มีชุมชนชาวไทยจำนวนมากตามเมืองใหญ่ในประเทศออสเตรเลีย และมีชาวไทยถิ่นเหนืออาศัยอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์

ในทวีปอเมริกาใต้

มีชุมชนชาวลาวอาศัยอยู่ในประเทศอาร์เจนตินาเป็นจำนวนมาก

ในทวีปแอฟริกา

มีชุมชนชาวไทยในประเทศต่างๆในแอฟริกาอย่างประเทศมาดากัสการ์ แอฟริกาใต้ อียิปต์ และซูดาน

เชิงอรรถ

  1. ชนพื้นเมืองหมู่เกาะนิโคบาร์พบในอัตราส่วน 100% ชาวบาหลีพบในอัตราส่วน 58.6% ชาวมุนดาในอินเดียตะวันออกพบบในอัตราส่วน 53.1%(บางแห่งว่า57.2%) ชาวกาสีในรัฐเมฆาลัย ประเทศอินเดีย พบในอัตราส่วน 41.3% ชาวฮั่นตอนใต้ในจีนพบในอัตตราส่วน 30% ในขณะที่การพบในหมู่ คนจ้วงมีอัตราส่วนประมาณ 23.5% (Chen 2006) เป็นต้น

อ้างอิง

  1. "ไท (๓๐ มกราคม ๒๕๕๐)". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 30 มกราคม 2550. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2561. Check date values in: |accessdate=, |date= (help)
  2. Autosomal STRs provide genetic evidence for the hypothesis that Tai people originate from southern China.
  3. O'Rourke, Dennis; Cai, Xiaoyun; Qin, Zhendong; Wen, Bo; Xu, Shuhua; Wang, Yi; Lu, Yan; Wei, Lanhai; Wang, Chuanchao; Li, Shilin; Huang, Xingqiu; Jin, Li; Li, Hui (2011). "Human Migration through Bottlenecks from Southeast Asia into East Asia during Last Glacial Maximum Revealed by Y Chromosomes". PLoS ONE. 6 (8): e24282. doi:10.1371/journal.pone.0024282. ISSN 1932-6203.
  4. Kumar et al(2007)Y-chromosome evidence suggests a common paternal heritage of Austro-Asiatic populations;BMC Evolutionary Biology 2007, 7:47 doi:10.1186/1471-2148-7-47
  5. Karafet, Tatiana M.; Lansing, J. S.; Redd, Alan J.; Watkins, Joseph C.; Surata, S. P. K.; Arthawiguna, W. A.; Mayer, Laura; Bamshad, Michael et al. (2005). "Balinese Y-Chromosome Perspective on the Peopling of Indonesia: Genetic Contributions from Pre-Neolithic Hunter-Gatherers, Austronesian Farmers, and Indian Traders". Human Biology 77 (1): 93–114. doi:10.1353/hub.2005.0030. PMID 16114819.
  6. Sengupta et al(2006);Polarity and temporality of high-resotution Y-chromosome distributions in India indentify both indegenous and exgenous expansions and reveal minor genetic influence of Central Asian pastoralists.Am.J.Hum.Genet.78:202-221
  7. Kumar, Vikrant; Reddy, Arimanda NS; Babu, Jagedeesh P; Rao, Tipirisetti N; Langstieh, Banrida T; Thangaraj, Kumarasamy; Reddy, Alla G; Singh, Lalji; Reddy, Battini M (2007). "Y-chromosome evidence suggests a common paternal heritage of Austro-Asiatic populations". BMC Evolutionary Biology 7: 47. doi:10.1186/1471-2148-7-47. PMC 1851701. PMID 17389048.
  8. Kumar et al(2007)Y-chromosome evidence suggests a common paternal heritage of Austro-Asiatic populations;BMC Evolutionary Biology 2007, 7:47 doi:10.1186/1471-2148-7-47
  9. Hammer MF, Karafet TM, Park H et al. (2006). "Dual origins of the Japanese: common ground for hunter-gatherer and farmer Y chromosomes". J. Hum. Genet. 51 (1): 47–58. doi:10.1007/s10038-005-0322-0. PMID 16328082.

ผลงานที่อ้างอิง

  • Baker, Chris; Phongpaichit, Pasuk (2017). A History of Ayutthaya (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 978-1-107-19076-4.
  • Baker, Chris (2002), "From Yue To Tai" (PDF), Journal of the Siam Society, 90 (1–2): 1–26.
  • Behr, Wolfgang (2017). "The language of the bronze inscriptions". ใน Shaughnessy, Edward L. (บ.ก.). Kinship: Studies of Recently Discovered Bronze Inscritpions from Ancient China. The Chinese University Press of Hong Kong. pp. 9–32. ISBN 978-9-629-96639-3.
  • ——— (2009). "Dialects, diachrony, diglossia or all three? Tomb text glimpses into the language(s) of Chǔ". TTW-3, Zürich, 26.-29.VI.2009, "Genius Loci": 1–48.
  • ——— (2006). "Some Chŭ 楚 words in early Chinese literature". EACL-4, Budapest: 1–21.
  • Blench, Roger (2014), Suppose we are wrong about the Austronesian settlement of Taiwan? (PDF).
  • ——— (July 12, 2009), The Prehistory of the Daic (Taikadai) Speaking Peoples and the Hypothesis of an Austronesian Connection (PDF). Presented at the 12th EURASEAA meeting Leiden, 1–5th September, 2008 .
  • ——— (2008). The Prehistory of the Daic (Taikadai) Speaking Peoples and the Hypothesis of an Austronesian Connection (PDF). EURASEAA, Leiden, 1st–5th September, 2008.
  • ——— (2004). Stratification in the peopling of China: how far does the linguistic evidence match genetics and archaeology? (PDF). Human Migrations in Continental East Asia and Taiwan: Genetic, Linguistic and Archaeological Evidence in Geneva, Geneva June 10–13, 2004. Cambridge. pp. 1–25. สืบค้นเมื่อ 30 October 2018.
  • Chamberlain, James R. (2000). "The Origin of the Sek: Implications for Tai and Vietnamese History" (PDF). ใน Burusphat, Somsonge (บ.ก.). Proceedings of the International Conference on Tai Studies, July 29–31, 1998. Bangkok, Thailand: Institute of Language and Culture for Rural Development, Mahidol University. ISBN 974-85916-9-7.
  • Chamberlain, James R. (2016). "Kra-Dai and the Proto-History of South China and Vietnam". Journal of the Siam Society (ภาษาอังกฤษ). 104: 27–77.
  • Daniels, Christian (2001). "The Formation of Tai Polities Between the 13th and 16th Centuries; The Role of Technological Transfer". Memoirs of the Research Department of the Toyo Bunko. 58: 51–98.
  • Ferlus, Michel (2009), "Formation of Ethnonyms in Southeast Asia", 42nd International Conference on Sino-Tibetan Languages and Linguistics, Chiang Mai: 1–6.
  • Holm, David (2014), "A Layer of Old Chinese Readings in the Traditional Zhuang Script", Bulletin of the Museum of Far Eastern Antiquities: 1–45.
  • Evans, Grant (2002), A Short History of Laos: The Land in Between (PDF), Allen & Unwin, ISBN 978-1-86448-997-2.
  • Ko, Albert Min-Shan; และคณะ (2014). "Early Austronesians: Into and Out Of Taiwan". The American Journal of Human Genetics. 94 (3): 426–36. doi:10.1016/j.ajhg.2014.02.003. PMC 3951936. PMID 24607387.
  • Ostapirat, Weera (2013). "Austro-Tai revisited" (PDF). Plenary Session 2: Going Beyond History: Reassessing Genetic Grouping in SEA the 23rd Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society, May 29–31, 2013, Chulalongkorn University: 1–10.
  • ——— (2005), "Kra-dai and Austronesian: notes on phonological correspondences and vocabulary distribution" (PDF), ใน Sagart, Laurent; Sanchez-Mazas, Alicia; Blench, Roger (บ.ก.), The Peopling of East Asia: Putting Together Archaeology, Linguistics and Genetics, RoutledgeCurzon, pp. 107–131, ISBN 978-0-415-32242-3.
  • Pain, Frédéric (2008), "An Introduction to Thai Ethnonymy: Examples from Shan and Northern Thai", Journal of the American Oriental Society, 128 (4): 641–662, JSTOR 25608449.
  • Pittayaporn, Pittayawat (2014). "Layers of Chinese Loanwords in Protosouthwestern Tai as Evidence for the Dating of the Spread of Southwestern Tai" (PDF). MANUSYA: Journal of Humanities. Special Issue No. 20 (3): 47–68. doi:10.1163/26659077-01703004.
  • Sagart, Laurent; Hsu, Tze-Fu; Tsai, Yuan-Ching; Hsing, Yue-Ie C. (2017). "Austronesian and Chinese words for the millets". Language Dynamics and Change. 7 (2): 187–209. doi:10.1163/22105832-00702002.
  • Sagart, Laurent (2008). "The Expansion of Setaria Farmers in East Asia". ใน Sanchez-Mazas, Alicia; Blench, Roger; Ross, Malcolm D.; Peiros, Ilia; Lin, Marie (บ.ก.). Past Human Migrations in East Asia: Matching Archaeology, Linguistics and Genetics. Routledge. pp. 133–157. ISBN 978-0-415-39923-4.
  • ——— (2004), "The higher phylogeny of Austronesian and the position of Tai–Kadai" (PDF), Oceanic Linguistics, 43 (2): 411–444, doi:10.1353/ol.2005.0012, S2CID 49547647.
  • Schafer, Edward Hetzel (1967), The Vermilion Bird, Los Angeles: University of California Press, ISBN 978-0-520-01145-8
  • Taylor, Keith W. (1991), The Birth of Vietnam, University of California Press, ISBN 978-0-520-07417-0.
  • Wade, Geoff (July 2004). Ming China and Southeast Asia in the 15th Century: A Reappraisal (รายงาน). Working Paper Series No. 28. Asia Research Institute. http://www.ari.nus.edu.sg/docs/wps/wps04_028.pdf. 
  • Wei, Lan-Hai; Yan, Shi; Teo, Yik-Ying; Huang, Yun-Zhi; และคณะ (2017). "Phylogeography of Y-chromosome haplogroup O3a2b2-N6 reveals patrilineal traces of Austronesian populations on the eastern coastal regions of Asia". PLOS ONE. 12 (4): 1–12. Bibcode:2017PLoSO..1275080W. doi:10.1371/journal.pone.0175080. PMC 5381892. PMID 28380021.
  • ยรรยง จิระนคร (เจีย แยนจอง). คนไทไม่ใช่คนไทย แต่เป็นเครือญาติชาติภาษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติน, 2548. ISBN 974-323-484-5
  • วิจิตรวาทการ, พลตรี หลวง. งานค้นคว้าเรื่องชนชาติไทย

แหล่งข้อมูลอื่น

  • , Geoff Wade
  • Map of Mainland Polities Mentioned in the Ming Shi-lu
  • เรื่องชนชาติไทย 2008-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หอมรกดไทย กองทัพบก

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Tai peoples

ชาวไท, บทความน, งต, องการเพ, มแหล, งอ, างอ, งเพ, อพ, จน, ความถ, กต, อง, ณสามารถพ, ฒนาบทความน, ได, โดยเพ, มแหล, งอ, างอ, งตามสมควร, เน, อหาท, ขาดแหล, งอ, างอ, งอาจถ, กลบออก, เป, นช, อเร, ยกโดยรวมของกล, มชาต, นธ, ดกล, มภาษาไท, กระจายต, วอย, ในภ, ภาคอ, ษาคเนย, บป. bthkhwamniyngtxngkarephimaehlngxangxingephuxphisucnkhwamthuktxng khunsamarthphthnabthkhwamniidodyephimaehlngxangxingtamsmkhwr enuxhathikhadaehlngxangxingxacthuklbxxkchawith epnchuxeriykodyrwmkhxngklumchatiphnthuthiphudklumphasaith 1 kracaytwxyuinphumiphakhxusakheny rbprathankhawecahruxkhawehniywepnxaharhlk niymplukeruxnesasung miitthun xasythnginthirablum aelabnphuekha praephnisphepnwithiephacnepnethaaelwekbxthiiwihlukhlanbucha sasnadngedimepnsasnaphi nbthuxbrrphburusaelabuchaphyaaethn phifahruxesuxemuxng mipraephnisakhykhux praephnisngkrant sungepnpraephniechlimchlxngwsntwisuwt aelakarkhunpiihm thngni khaeriyk it epnkhathiklumchntrakulit echn itaedng itda itkhaw itemy epntn aelaithihyicheriyktnexng swn ith epnkhaediywkn aetepnsaeniyngkhxngchawithnxyaelaithysyam bangkhrng karichkha it ith inwngaekhbcahmaythungechphaaphuthiichphasainklumphasaith imrwmklumphasakaid echn lkekiy kha tng hli eciymaw l chawithkarkracaytwkhxngchawithphumiphakhthimiprachakrxyangminysakhyexechiytawnxxkechiyngit praethsphma ithihy praethslawpraethsithypraethsewiydnam exechiyit praethsxinediy ithkhati ithxahm ithphaek ithxaytn ithkhayng aelaithturung exechiytawnxxk praethscin ith cwng puxi phasaklumphasaithsasnaphuththnikayethrwath sasnaxahm sasnaphi hindu xislam wiyyanniym echmn enuxha 1 prawti 2 tnkaenidkhxngchawith 3 karaebngpraephth 3 1 aebngtamwthnthrrm 3 1 1 ithnxy 3 1 2 ithihy 3 1 3 ithysyam 3 2 aebngtamklumphasa 3 2 1 klumphasaihl ekyn 3 2 2 klumphasalkekiy km suy 3 2 3 klumphasaith 3 3 aebngtampraethsinpccubn 3 3 1 praethsithy 3 3 2 praethslaw 3 3 3 praethscin 3 3 4 praethsphma 3 3 5 praethsewiydnam 3 3 6 praethsxinediy 3 3 7 chawithinswnxun 3 3 7 1 inphumiphakhexechiynxkcakexechiyxakheny 3 3 7 2 inphumiphakhxemrikaehnux 3 3 7 3 inthwipyuorp 3 3 7 4 inthwipxxsetreliyaelaoxechiyeniy 3 3 7 5 inthwipxemrikait 3 3 7 6 inthwipaexfrika 4 echingxrrth 5 xangxing 5 1 phlnganthixangxing 6 aehlngkhxmulxunprawti aekikhdubthkhwamhlkthi aenwkhidekiywkbthinkaenidkhxngchnchatiith inxditechuxknwachawithxphyphmacakethuxkekhaxlit txmakechuxwaxphyphmacaktxnklangkhxngpraethscin aelakechuxknwakaenidinbriewncintxnit epnxanackrnaneca aelaxphyphlngmathangtxnitsrangepnxanackroynknkhr echiyngaesn txmaepnxanackrlannaaelaxanackrsuokhthy tamladb swnxikthvsdiechuxwaxphyphmacakthangit cakchwa sumatra aelakhabsmuthrmlayu aetnkmanusywithyainpccubnechuxknwa klumchatiphnthuith kaid xyuthibriewncintxnit eruxymacnthungaexngthirablumphakhxisan eruxyipyngpraethslaw rthchan praethsphma aelapraethsithytxnbn hlngcaknncungmikarxphyphephim echnklumchawxahm thixphyphkhamchxngpadik ipyngrthxssm aela chawitaedngthixphyphiptngthinthanbriewnxanackrsibsxngcuith odythnghmd mithvsdixyudngni thvstithi 1 chawithmacakethuxkekhaxlitthvsdini hlwngwicitrwathkar wicitr wicitrwathkar khnadarngbrrdaskdi khun ihkarsnbsnun wachawithmacakethuxkekhaxlit aelwmasrangxanackrnaneca aelwcungxphyphmasranglannaaelasuokhthy odyechuxwakhawait thaykhawa xlit Altai hmaythungchawith aetthvsdinitxmaidphisucnaelwwaimcring xikthng xlit epnphasaxlitxik imichphasaith aelananeca pccubnidrbkarphisucnwaepnxanackrkhxngchawip thvstithi 2 chawithmacakcakhmuekaathaelitebendiks esnxwa ithyphrxmkbphwkfilippins maelesiy aelaxinodniesiyxphyphcakhmuekaathaelit aethbesnsunysutr khunmatngthinthanindinaednxusakheny aelahmuekaafilippins ebendiks ykeruxngkhwamehmuxnkhxngphasamasnbsnun echn khawapatay inphasatakalxk aeplwa tay xaku aeplwa ku kharabaw aeplwa krabux epntn txngkarxangxing praednninkphasasastr aelankniruktisastrswnihy imyxmrbwithikarkhxngebendiks ephraaepnkarnaphasapccubnkhxngfilippinsmaethiybkbithy aethnthicayxnklbipemux 1200 pithiaelw wa khaithykhwrcaepnxyangir aelakhafilippinskhwrcaepnxyangir aelwcungnamaethiybknid nxkcakni phuthiechuxthvsdini yngichehtuphlthangkaywiphakh enuxngcakkhnithyaelafilippins milksnathangkaywiphakh khlaykhlungkn thvstithi 3 chawithxasyxyuinbriewnsuwrrnphumixyuaelwnkwichakarthanhnungesnxwachnchatiith kaid xaccaxyuinbriewnnimatngaetsmykxnprawtisastr odyxangtamhlkthanokhrngkraduk thibanechiyng aela baneka aethmxmecasuphthrdis diskul thrngxangkhwamehnkhxngkxraemnwa okhrngkradukkhnbanechiyng milksnakhlaykbkradukmnusythixyutamhmuekaamhasmuthraepsifik xikprakarhnung thrngxangthungcarukindinaednsuwrrnphumi waepncarukthithainphasamxymacnthungpraman ph s 1730 imekhymicarukphasaithyinchwngewladngklawely thvstithi 4 chawithxasyxyubriewncintxnit aelaekhtwthnthrrmith kaidthvsdiniepnthiyxmrbkhxngnkphasasastr niruktisastr aelaprawtisastrinpccubnmakthisud odysastracary ekdniy ecakhxngthvsdi ihehtuphlprakxbdwythvstithangphasawa phasaekidthiid camiphasathxngthinmakhlaychnidekidkhunaethbbriewnnn ephraaxyumanancnaetktangknxxkip aetindinaednthiihmkwaphasacaimtangknmak odyyktwxyangphasaxngkvsbnekaaxngkvs misaeniyngthinmakaelabangthinxacfngimekhaickn aetkhnathiphasaxngkvsinshrthxemrika misaeniyngthinnxymakaelaphudfngekhaicknidodytlxd epriybethiybkbchawcwnginmnthlkwangsi aemmirayahangknephiyng 20 kiolemtr aetkaeyksaeniyngthinxxkepncwngehnux aelacwngit sungsaeniyngbangkhatangknmakaelafngknimrueruxngthnghmd khnathiphasathininithy phasaithyklang aelaphasathininlaw phasalaw klbfngekhaicknidmakkwatnkaenidkhxngchawith aekikhinrayngantiphimphemuxpi 2004 nkphasasastr Laurent Sagart tngsmmtithanwaphasaith kaiderimaerkkaenidcakphasaxxsotniesiyn sungphuxphyphnatidtwcakithwnipthungcinaephndinihy hlngcaknnphasanikidrbxiththiphlxyangmakcakphasaphunemuxngtang tngaet cin thiebt mng emiyn cnthungtrakulphasaxun odyrbkhasphthekhamacanwnmakaelakhxy klayokhrngsrangphasamakhlaykn pccubnemuximnanmaniklumkhnbangklumthiphudphasaithidxphyphipthangthisitphanethuxkekhatang ekhasuexechiytawnxxkechiyngit xaccathnthiodykarmathungkhxngchawcinhnipcintxnitmrdkthangphasaimidechuxmoyngxyangiklchidkbmrdkthangphnthukrrmenuxngcakkarepliynphasaemuxprachakrtang eriynruphasaihm chawithmiaenwonmthicamixtrakarpraktkhxng Y DNA Haplogroup O2a sungmakaelaxtrakarpraktkhxng O2a1 aela O1 panklang txngkarxangxing xyangirktamechuxknwa Y DNA haplogroup O1 mikhwamsmphnthkbthngphuthiphudphasaxxsotniesiynaelaphuthiphudphasaith khwamaephrhlaykhxng Y DNA haplogroup O1 inhmuphuthiphudphasaxxsotniesiynaelaphuthiphudphasaithyngbngbxkthungbrrphburusrwmknkbphuthiphudphasasion thiebtn xxsot exchiytik aelamng emiynemuxpraman 35 000 pikxnincin Y DNA haplogroup O2a thukphbdwyxtrakarpraktsunginhmukhnithswnihy sungepnkhunlksnathikhnithmirwmkbklumchatiphnthuthixasyiklekhiyngnnkhuxphuthiphudphasaxxsot exechiytikinmnthlyunnankhxngcintxnit Y DNA haplogroups O1 aela O2a epnklumyxykhxng O sungepnklumyxykhxng K xikthisungepnkarklayphnthusungechuxknwaidekidkhunemux 40 000 pikxn n thiidthihnungrahwangxihrankbcintxnklang txngkarxangxing xyangirktamcakkartrwcsxbokhromosmaelwlksnarwmkhxngklumphuphudphasatrakulith itkhux Y DNA haplogroup O1a sungphbmakinaethbcintawnxxkechiyngitthaihepnhnunginehtuphlthioxkasinthvsdithiklawwakhnithmacakpraethscintxnitnnmikhwamepnipidmakthisudinkhnani 2 Projected spatial frequency distribution for haplogroup O2 M95 3 aephnphaphaesdngxtraswnkhwamthithangphumisastrkhxng Y DNA Haplogroup O2a sungphbmakinphuphudphasatrakulxxsotrexechiytik a karaebngpraephth aekikhkaraebngklumchawith thaidhlaywithi echn aebngtamwthnthrrm aebngtamphasathiich aelaaebngtampraethsinpccubn aebngtamwthnthrrm aekikh karaebngtamwthnthrrm epnkaraebngtamhlkmanusywithya odyicheknthdanwthnthrrmaelapraephni sungsamarthaebngidxxkepn 3 klum khux ithnxy ithihy aelaithysyam ithnxy aekikh trakulchatiphnthuithnxy hmaythungklumchatiphnthuthimithinthanedim xyubriewnfngtawnxxkkhxngaemnaokhng prakxbdwyinlaw cnthunglumaemnada aedng inewiydnam aelwelyipcnthungtxnitkhxngcin exklksntrakulchatiphnthuithnxy khux mikarplukeruxnaebbyawlukekhaip aelaimmikarelnradbthisbsxnmak insthaptykrrmkhnsungmikarpradbtkaetngthikhxnkhangnxy ennkhwamxxnchxykhxngsilpa aetesuxphaxaccamiekhruxngpradbmakkwa odyklumchatiphnthuintrakulni idaekphwk ithlaw ithda phasaithyeriykwalawosng ithkhaw ithaedng ithphwn phasaithymkcaeriykwalawphwn ithhangtng tulaw hli eciymaw eklaw lati lakhw laha caebiyw eb ithaesk lawichithaesk lkekiy kha suy muhlaw emahnan ithyx phuith tng cwng khng nung oth epntn klumniepnklumthimikhwamhlakhlaykwaithihy odyechphaadanphasa sungmiklumphasathng 3 klum rwmthungphasakaid dwy ithihy aekikh trakulchatiphnthuithihy hmaythungklumchatiphnthuthimithinthandngedim xyubriewnfngtawntkkhxngaemnaokhng elyipthunglumnasalawin xirawdi aelaphrhmbutr exklksnkhxngtrakulchatiphnthuithihy khux mirabbkarplukbansrangeruxnthisbsxnkwaithnxy odybanmkcamikarknhxngaebngradbykhlngkha thislbsbsxnkwa nxkcakniinsthaptykrrmkhnsung mkcamikarpradbtkaetngmakkwa odyklumchatiphnthuintrakulni idaekphwkithihy ithihyeriyktwexngwaithruxitohlng ithhlwng swnkhawaithihynnepnchuxinphasaithyethann imichchuxthiekhaeriyktwexng ithehnux ithkhun ithlux ithywn chawithyphakhehnux xahm xaytn khayng khati phaek nara cnhari aela turung epntn ithysyam aekikh trakulchatiphnthuithysyam hmaythungklumchatiphnthuthixasyxyubriewnlumaemnaym aemnanan aemnaecaphraya aemnaaemklxng aemnaephchrburi eruxyipcnthungthirablumaemnaphumdwng tapi thirablumthaelsabsngkhla briewncnghwdekaakng praethskmphucha aelabriewncnghwdekaasxng ekhttanawsri praethsphma ithysyam epnklumchatiphnthuthimikarphudthungaelathkethiyngeruxngthimamakthisud odymikaresnxthvsdikhunmamakmay thngmacakethuxkekhaxlit hruxmacakhmuekaathaelit dwyechuxwa ithysyam epnchatiphnthubrisuththi aelaepntntrakulkhxngthukchatiphnthuintrakulphasaith kaid aetinpccubn nkwichakarswnmakyxmrbaelwwa ithysyamimichchatiphnthubrisuththi aetepnchatiphnthuthimikarphsmphsankn thngphayinaelaphaynxk odywthnthrrmswnmakepnswnphsmrahwangithnxyaelaithihy nxkcakniyngmiwthnthrrmcakphaynxkekhamaphsmthngcak mxy khxm ekhmrobran xinediy aelamlayu xikdwy aebngtamklumphasa aekikh klumphasaihl ekyn aekikh hmaythungphuthiichphasainklumphasaihl aelaklumphasaekyn sungprakxbdwy hli eciymaw eklaw lati latikhaw caebiyw lakhw aela laha epntn klumphasalkekiy km suy aekikh hmaythungphuthiichphasaxun inklumphasakm ith ykewnphasaith sungprakxbdwy eb aesk lkekiy xaycam tng khng muhlam ehmahnan aelasuy epntn klumphasaith aekikh hmaythungklumchnthiichphasaith echn ithda lawosng ithywn ithkhaw ithysyam ithhangtng ithaedng ithphwn lawphwn tulaw ithlaw law ithyx phuith ithyxisan law xahm xaytn khati khayng phaek ithkhun ithihy chan ithlux ithehnux payi iththan ithyxng ithhya cwng nung tay oth turung nang aela puyi epntn aebngtampraethsinpccubn aekikh praethsithy aekikh inpraethsithy chawithodyechphaaithysyam epnprachakrklumhlkkhxngpraeths sungklumchatiphnthuthnghmdprakxbdwy ithihy chan engiyw ithlux ithkhun ithyxng ithywn ithda lawosng ithysyam phuith yx oyy ithphwn lawphwn ithxisan ithlaw lawaengw ithaesk lawkhrng ithkla ithhya lawti lawewiyng lawhlm aela khati praethslaw aekikh inpraethslawkechnediywknkbithy thimichawithepnprachakrklumhlkkhxngpraeths prakxbdwy ithlaw lawti lawewiyng phasalaweriykwaithewiyngaelaaekhepnkhasahrberiykkhnithlawthimacakewiyngcnthn imichithxikklumhnungxyangaethcring lawhlm phuith chawithkhaw chawithda lawosng chawithaedng chawithehnux chawphuexin chawithywn chawithlux chawithphwn lawphwn chawithkaeling chawithyx aela chawithaesk lawichithaesk praethscin aekikh chawithinpraethscin thuxepnchawithnxkpraethsithy law thimicanwnmakthisud odymakxasyinmnthlyunnan kwangsi kwangtung kuyocw aelaihhla prakxbdwy chawcwng ithihy chawhli chawithlux chawithpayi chawithyxy cungeciy tueyn tuern hruxidxxy chawtula tuern chawpulaci chawpulungci chawithehnux ithnu chawithlay ithna chawithhya chawithnung chawithikhhw chawithchxng chawithekhin chawithlux chawtng xayka puka phukha chawsuy chawmuhlaw chawemahnan chawekahlaw chawithexwlay chawpuiy chawoth chawithhya chawxuex chawis chawedalaw chawxi chawexn chawfuma chawtuechn chawepemiyw chawpaechn klumeluxdphsmcin aela chawmingekiy klumeluxdphsmcin praethsphma aekikh chawithaebngxxkepnsxngswn khuxswnehnux aelaswnit odyswnitepnchawithysyam thixasyxyuinekhttanawsri odyechphaabriewnchayaedn aelacnghwdekaasxng sungyngepnpyhachawithyphldthinxyu sahrbswnehnux epnchawithklumxun aelaimidmipyhaeruxngchiwitbnesnaebngekhtaedn odyklumniprakxbdwy chawithihy chawithlux chawithekhin chawithyxng chawithema chawithaelng chawithkhati chawithphaek chawithyoyediy chawithphiw chawnara ithyphldthininekhttanawsri praethsewiydnam aekikh swnmakxasybriewnlumaemnada aedng prakxbdwy chawpuyi chawekiyn chawlaw chawithlux chawithda chawithkhaw chawithaedng chawithnung phunung chawithihy sanechy chawthay chawithy chawman chawoth chaweklaw chawlachi chawlaha chawnang chawithyng is chawithit chawithchxng chawiththawlaw chawithlkka laekiy chawkhalaw chawtulaw chawkhwaebiyw caebiyw chawot chawithhla chawithos chawithla chawithechiyng chawithlay chawithhangtng praethsxinediy aekikh chawithinxinediy swnmakxasyinrthxssm aelaxrunaclpraeths idaek chawithxahm chawithphaek chawithkhati chawithxaytn ithxaytn xaytxn chawithkhayng chawithturng chawnara aela chawithcnhari chawithinswnxun aekikh nxkcakni inkmphucha aela maelesiy yngmichawithxasyxyu swnihyxasyxyukxntngaetkxnkaresiydinaedn echn inphratabxng esiymrath sriosphn ekaakng ithrburi palis klntn aelatrngkanu odyklumniprakxbdwy chawlaw ithysyam ithyekaakng ithyklntn ithypalis ithyithrburi ithyeprk ithylngkawi aelayngmichaw SamSam sungepnkhnithyphsmmlayu aelanbthuxsasnaxislam xyuthangtxnehnuxkhxngmaelesiy aelathangitkhxngithy inphumiphakhexechiynxkcakexechiyxakheny aekikh inphumiphakhexechiyit nxkcakinpraethsxinediythimichawxahm chawkhati l xasyxyu inpraethspakisthankmikhnpakisthanechuxsayithy xasyxyuinemuxngbatkram Batakram inpraethssrilngkakmichumchnchawithihy sungxphyphmacakxinediy inklumpraethsphumiexechiytawnxxk xyangyipun ithwn kmikhnithyekhaipthaxachiph aelaxasyxyuthinnepncanwnmak aemaetinphumiphakhexechiytawntkechiyngit kmichawithyxasyxyuxyangshrthxahrbexmierts katar bahern inphumiphakhxemrikaehnux aekikh inshrth miklumchnchawithhlayklumxphyphekhaipxasycanwnmak xyangchawlaw chawithy chawithkhaw chawithyxisan chawithyit chawithythinehnux chawithlux ithda chawtay hruxaemaetchawithihyxasyxyuepncanwnmak inpraethsaekhnadakmichawithyxyuimnxy inthwipyuorp aekikh michawithcanwnmakxasyxyuinthwipyuorp idaek chawlawinshrachxanackr praethsfrngess eyxrmn aelaswitesxraelnd chawithyxisanswnmakxasyxyuinshrachxanackr aelapraethsixsaelnd chawithyswnmakxasyxyuinpraethsfinaelnd ixsaelnd aelanxrewy chawithda aelachawtayxasyxyuinpraethsfrngess swnchawithythinitswnmakxasyxyuinshrachxanackr inthwipxxsetreliyaelaoxechiyeniy aekikh michumchnchawithycanwnmaktamemuxngihyinpraethsxxsetreliy aelamichawithythinehnuxxasyxyuinpraethsniwsiaelnd inthwipxemrikait aekikh michumchnchawlawxasyxyuinpraethsxarecntinaepncanwnmak inthwipaexfrika aekikh michumchnchawithyinpraethstanginaexfrikaxyangpraethsmadakskar aexfrikait xiyipt aelasudanechingxrrth aekikh chnphunemuxnghmuekaaniokhbarphbinxtraswn 100 4 chawbahliphbinxtraswn 58 6 5 chawmundainxinediytawnxxkphbbinxtraswn 53 1 6 bangaehngwa57 2 7 chawkasiinrthemkhaly praethsxinediy phbinxtraswn 41 3 8 chawhntxnitincinphbinxttraswn 30 9 inkhnathikarphbinhmu khncwngmixtraswnpraman 23 5 Chen 2006 epntnxangxing aekikh ith 30 mkrakhm 2550 sanknganrachbnthityspha 30 mkrakhm 2550 subkhnemux 27 knyayn 2561 Check date values in accessdate date help Autosomal STRs provide genetic evidence for the hypothesis that Tai people originate from southern China O Rourke Dennis Cai Xiaoyun Qin Zhendong Wen Bo Xu Shuhua Wang Yi Lu Yan Wei Lanhai Wang Chuanchao Li Shilin Huang Xingqiu Jin Li Li Hui 2011 Human Migration through Bottlenecks from Southeast Asia into East Asia during Last Glacial Maximum Revealed by Y Chromosomes PLoS ONE 6 8 e24282 doi 10 1371 journal pone 0024282 ISSN 1932 6203 Kumar et al 2007 Y chromosome evidence suggests a common paternal heritage of Austro Asiatic populations BMC Evolutionary Biology 2007 7 47 doi 10 1186 1471 2148 7 47 Karafet Tatiana M Lansing J S Redd Alan J Watkins Joseph C Surata S P K Arthawiguna W A Mayer Laura Bamshad Michael et al 2005 Balinese Y Chromosome Perspective on the Peopling of Indonesia Genetic Contributions from Pre Neolithic Hunter Gatherers Austronesian Farmers and Indian Traders Human Biology 77 1 93 114 doi 10 1353 hub 2005 0030 PMID 16114819 Sengupta et al 2006 Polarity and temporality of high resotution Y chromosome distributions in India indentify both indegenous and exgenous expansions and reveal minor genetic influence of Central Asian pastoralists Am J Hum Genet 78 202 221 Kumar Vikrant Reddy Arimanda NS Babu Jagedeesh P Rao Tipirisetti N Langstieh Banrida T Thangaraj Kumarasamy Reddy Alla G Singh Lalji Reddy Battini M 2007 Y chromosome evidence suggests a common paternal heritage of Austro Asiatic populations BMC Evolutionary Biology 7 47 doi 10 1186 1471 2148 7 47 PMC 1851701 PMID 17389048 Kumar et al 2007 Y chromosome evidence suggests a common paternal heritage of Austro Asiatic populations BMC Evolutionary Biology 2007 7 47 doi 10 1186 1471 2148 7 47 Hammer MF Karafet TM Park H et al 2006 Dual origins of the Japanese common ground for hunter gatherer and farmer Y chromosomes J Hum Genet 51 1 47 58 doi 10 1007 s10038 005 0322 0 PMID 16328082 phlnganthixangxing aekikh Baker Chris Phongpaichit Pasuk 2017 A History of Ayutthaya phasaxngkvs Cambridge University Press ISBN 978 1 107 19076 4 Baker Chris 2002 From Yue To Tai PDF Journal of the Siam Society 90 1 2 1 26 Behr Wolfgang 2017 The language of the bronze inscriptions in Shaughnessy Edward L b k Kinship Studies of Recently Discovered Bronze Inscritpions from Ancient China The Chinese University Press of Hong Kong pp 9 32 ISBN 978 9 629 96639 3 2009 Dialects diachrony diglossia or all three Tomb text glimpses into the language s of Chǔ TTW 3 Zurich 26 29 VI 2009 Genius Loci 1 48 2006 Some Chŭ 楚 words in early Chinese literature EACL 4 Budapest 1 21 Blench Roger 2014 Suppose we are wrong about the Austronesian settlement of Taiwan PDF July 12 2009 The Prehistory of the Daic Taikadai Speaking Peoples and the Hypothesis of an Austronesian Connection PDF Presented at the 12th EURASEAA meeting Leiden 1 5th September 2008 2008 The Prehistory of the Daic Taikadai Speaking Peoples and the Hypothesis of an Austronesian Connection PDF EURASEAA Leiden 1st 5th September 2008 2004 Stratification in the peopling of China how far does the linguistic evidence match genetics and archaeology PDF Human Migrations in Continental East Asia and Taiwan Genetic Linguistic and Archaeological Evidence in Geneva Geneva June 10 13 2004 Cambridge pp 1 25 subkhnemux 30 October 2018 Chamberlain James R 2000 The Origin of the Sek Implications for Tai and Vietnamese History PDF in Burusphat Somsonge b k Proceedings of the International Conference on Tai Studies July 29 31 1998 Bangkok Thailand Institute of Language and Culture for Rural Development Mahidol University ISBN 974 85916 9 7 Chamberlain James R 2016 Kra Dai and the Proto History of South China and Vietnam Journal of the Siam Society phasaxngkvs 104 27 77 Daniels Christian 2001 The Formation of Tai Polities Between the 13th and 16th Centuries The Role of Technological Transfer Memoirs of the Research Department of the Toyo Bunko 58 51 98 Ferlus Michel 2009 Formation of Ethnonyms in Southeast Asia 42nd International Conference on Sino Tibetan Languages and Linguistics Chiang Mai 1 6 Holm David 2014 A Layer of Old Chinese Readings in the Traditional Zhuang Script Bulletin of the Museum of Far Eastern Antiquities 1 45 Evans Grant 2002 A Short History of Laos The Land in Between PDF Allen amp Unwin ISBN 978 1 86448 997 2 Ko Albert Min Shan aelakhna 2014 Early Austronesians Into and Out Of Taiwan The American Journal of Human Genetics 94 3 426 36 doi 10 1016 j ajhg 2014 02 003 PMC 3951936 PMID 24607387 Ostapirat Weera 2013 Austro Tai revisited PDF Plenary Session 2 Going Beyond History Reassessing Genetic Grouping in SEA the 23rd Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society May 29 31 2013 Chulalongkorn University 1 10 2005 Kra dai and Austronesian notes on phonological correspondences and vocabulary distribution PDF in Sagart Laurent Sanchez Mazas Alicia Blench Roger b k The Peopling of East Asia Putting Together Archaeology Linguistics and Genetics RoutledgeCurzon pp 107 131 ISBN 978 0 415 32242 3 Pain Frederic 2008 An Introduction to Thai Ethnonymy Examples from Shan and Northern Thai Journal of the American Oriental Society 128 4 641 662 JSTOR 25608449 Pittayaporn Pittayawat 2014 Layers of Chinese Loanwords in Protosouthwestern Tai as Evidence for the Dating of the Spread of Southwestern Tai PDF MANUSYA Journal of Humanities Special Issue No 20 3 47 68 doi 10 1163 26659077 01703004 Sagart Laurent Hsu Tze Fu Tsai Yuan Ching Hsing Yue Ie C 2017 Austronesian and Chinese words for the millets Language Dynamics and Change 7 2 187 209 doi 10 1163 22105832 00702002 Sagart Laurent 2008 The Expansion of Setaria Farmers in East Asia in Sanchez Mazas Alicia Blench Roger Ross Malcolm D Peiros Ilia Lin Marie b k Past Human Migrations in East Asia Matching Archaeology Linguistics and Genetics Routledge pp 133 157 ISBN 978 0 415 39923 4 2004 The higher phylogeny of Austronesian and the position of Tai Kadai PDF Oceanic Linguistics 43 2 411 444 doi 10 1353 ol 2005 0012 S2CID 49547647 Schafer Edward Hetzel 1967 The Vermilion Bird Los Angeles University of California Press ISBN 978 0 520 01145 8 Taylor Keith W 1991 The Birth of Vietnam University of California Press ISBN 978 0 520 07417 0 Wade Geoff July 2004 Ming China and Southeast Asia in the 15th Century A Reappraisal rayngan Working Paper Series No 28 Asia Research Institute http www ari nus edu sg docs wps wps04 028 pdf Wei Lan Hai Yan Shi Teo Yik Ying Huang Yun Zhi aelakhna 2017 Phylogeography of Y chromosome haplogroup O3a2b2 N6 reveals patrilineal traces of Austronesian populations on the eastern coastal regions of Asia PLOS ONE 12 4 1 12 Bibcode 2017PLoSO 1275080W doi 10 1371 journal pone 0175080 PMC 5381892 PMID 28380021 yrryng cirankhr eciy aeyncxng khnithimichkhnithy aetepnekhruxyatichatiphasa krungethphmhankhr sankphimphmtin 2548 ISBN 974 323 484 5 wicitrwathkar phltri hlwng ngankhnkhwaeruxngchnchatiithyaehlngkhxmulxun aekikhSoutheast Asia in the Ming Shi lu An Open Access Resource Geoff Wade Map of Mainland Polities Mentioned in the Ming Shi lu Southeast Asian Polities Mentioned in the Ming Shi lu eruxngchnchatiithy Archived 2008 04 15 thi ewyaebkaemchchin hxmrkdithy kxngthphbk wikimiediykhxmmxnsmisuxekiywkb Tai peoples bthkhwamekiywkbmnusy manusywithya aelaeruxngthiekiywkhxngniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmul ekhathungcak https th wikipedia org w index php title chawith amp oldid 9842143, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม