fbpx
วิกิพีเดีย

ระบบพิกัดเชิงขั้ว

ในทางคณิตศาสตร์ ระบบพิกัดเชิงขั้ว (อังกฤษ: polar coordinate system) คือระบบค่าพิกัดสองมิติในแต่ละจุดบนระนาบถูกกำหนดโดยระยะทางจากจุดตรึงและมุมจากทิศทางตรึง

จุดในระบบพิกัดเชิงขั้วกับขั้ว O และแกนเชิงขั้ว L ในเส้นสีเขียว จุดกับพิกัดรัศมี 3 และพิกัดมุม 60 องศาหรือ (3,60°) ในเส้นสีฟ้า จุด (4,210°)

จุดตรึง (เหมือนจุดกำเนิดของระบบพิกัดคาร์ทีเซียน) เรียกว่าขั้ว, และลากรังสีจากขั้วเข้ากับทิศทางตรึงคือแกนเชิงขั้ว ระยะทางจากขั้วเรียกว่าพิกัดรัศมีหรือรัศมี และมุมคือพิกัดมุม, มุมเชิงขั้ว, หรือมุมทิศ

ประวัติ

ดูเพิ่มเติมที่: ประวัติของฟังก์ชันตรีโกณมิติ

มีการนำแนวคิดเรื่องมุมและรัศมีมาใช้ตั้งแต่สมัยโบราณในหนึ่งสหัสวรรษก่อนคริสต์ศักราช นักดาราศาสตร์ชาวกรีกที่ชื่อฮิปปาร์คัส (190-120 BCE) สร้างตารางฟังก์ชันคอร์ดที่ให้ความยาวของคอร์ดสำหรับแต่ละมุม และมีการอ้างอิงว่าเขาใช้ระบบพิกัดเชิงขั้วในการพิสูจน์ตำแหน่งของดวงดาว ใน On Spirals (ว่าด้วยเส้นเกลียว) อาร์คิมิดีสบรรยายถึงวงก้นหอยอาร์คิมิดีสว่ารัศมีของฟังก์ชันขึ้นกับมุม อย่างไรก็ตามสิ่งที่ชาวกรีกเหล่านี้ทำก็ยังไม่ขยายออกไปถึงระบบพิกัดเชิงขั้วที่สมบูรณ์

ในคริสต์ศตวรรษที่ 9 นักคณิตศาสตร์ชาวเปอร์เซียที่ชื่อ ฮะบัซ อัล-ฮะซับ อัล-มาร์วะซิ (Habash al-Hasib al-Marwazi) ใช้วิธีตรีโกณมิติเชิงทรงกลมและการฉายแผนที่เพื่อที่จะแปลงผันพิกัดเชิงขั้วไปเป็นระบบพิกัดที่แตกต่างโดยมุ่งความสนใจไปยังจุดจำเพาะบนรูปทรงกลม ในที่นี้คือกิบลัตมีทิศทางสู่มักกะหฺ นักภูมิศาสตร์ชาวเปอร์เซียที่ชื่อ อะบู รอย์ฮาน บิรูนี (Abū Rayhān Bīrūnī) (973-1048) พัฒนาแนวคิดซึ่งดูเหมือนจะใกล้เคียงกับระบบพิกัดเชิงขั้ว ราวๆคริสต์ศตวรรษ 1025 เขาเป็นคนแรกที่บรรยายถึงการฉายที่ระยะห่างเท่ากันของแอซมัทเท่ากับขั้วของทรงกลมฟ้า

มีรายงานที่ต่างกันของการเริ่มต้นของพิกัดเชิงขั้วตามส่วนหนึ่งของรูปนัยระบบพิกัด Origin of Polar Coordinates (กำเนิดพิกัดเชิงขั้ว) ประวัติของพิกัดนี้ถูกบรรยายโดยจูเลียน โลเวล โคล์ลิดจ์ (Julian Lowell Coolidge) ศาสตราจารย์ฮาร์วาร์ด เกรกัวร์ เดอ แชง-แวงซอง (Grégoire de Saint-Vincent) และ โบนาเวนตูรา คาวาลิเอริ (Bonaventura Cavalieri) ต่างเริ่มนำแนวคิดมาใช้ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 แชง-แวงซองเขียนถึงพิกัดเชิงขั้วโดยการส่วนตัวในปี ค.ศ. 1625 และตีพิมพ์งานของเขาในปี ค.ศ. 1647 ขณะที่คาวาลิเอริตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1635 และฉบับที่ถูกต้องในปี ค.ศ. 1653 คาวาลิเอริเป็นบุคคลแรกที่ใช้พิกัดเชิงขั้วแก้ปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ในวงก้นหอยอาร์คิมิดีส ต่อมาแบลส ปาสกาลได้ใช้พิกัดเชิงขั้วคำนวณหาความยาวของส่วนโค้งของรูปพาราโบลา

ใน Method of Fluxions (วิธีการไหล) (เขียนขึ้นในปี ค.ศ. 1671, ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1736) เซอร์ไอแซก นิวตันพิเคราะห์การแปลงระหว่างพิกัดเชิงขั้วซึ่งเขาได้อิงตาม "รูปแบบที่ 7 สำหรับวงก้นหอย" และพิกัดอื่นๆอีกเก้าพิกัด ในวารสาร Acta Eruditorum (1691), เจคอบ เบอร์โนลลี (Jacob Bernoulli) ใช้ระบบร่วมกับจุดบนเส้นที่เรียกว่า ขั้ว และ แกนเชิงขั้ว ตามลำดับ พิกัดเป็นระยะทางจากขั้วและมุมจากแกนเชิงขั้ว งานของเบอร์โนลลีครอบคลุมไปถึงการพบรัศมีความโค้งของเส้นโค้งที่อยู่ในพิกัดนี้

คำว่า พิกัดเชิงขั้ว โดยแท้จริงแล้วน่าจะมาจากเกโกรีโอ ฟอนตานา (Gregorio Fontana) นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลีในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 และคำนี้ปรากฏเป็นภาษาอังกฤษในงานแปลของ จอร์จ พีคอก (George Peacock) ที่ชื่อ แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์และปริพันธ์ ของลากรัซ (Lacroix) ในปี ค.ศ. 1816 อเล็กซิส คลาเราต์เป็นคนแรกที่คิดพิกัดเชิงขั้วในรูปแบบสามมิติ และเลออนฮาร์ด ออยเลอร์เป็นคนแรกที่นำมาใช้งานจริง

สัญนิยม

 
เส้นกริดขั้วและแถบบอกมุมในแต่ละองศา

พิกัดรัศมีมักใช้ r แสดงแทนและพิกัดมุมใช้ θ หรือ t แสดงแทน

มุมในเครื่องหมายขั้ว ทั่วไปถูกแสดงอยู่ในรูปแบบองศาหรือเรเดียน (2π rad เท่ากับ 360°) องศาถูกใช้ในการเดินเรือ, การสำรวจ, และมีการนำไปประยุกต์ใช้ในหลายสาขา ขณะที่เรเดียนโดยทั่วไปอยู่ในคณิตศาสตร์และคณิตศาสตร์ฟิสิกส์

ในหลายๆบริบท พิกัดมุมบวกหมายความว่ามุม θ ถูกวัดในทิศทวนเข็มนาฬิกาจากแกนและมีค่าพิกัดมุมลบเมื่อวัดในทิศตามเข็มนาฬิกา ในเอกสารทางคณิตศาสตร์ บ่อยครั้งแกนเชิงขั้วถูกลากในแนวนอนและไปทางทางขวา

ความพิเศษของพิกัดเชิงขั้ว

ทุกตัวเลขของการหมุนครบรอบ (360°) พิกัดมุมจะไม่เปลี่ยนทิศทาง และพิกัดรัศมีลบแสดงถึงระยะทางซึ่งได้จากการวัดเหมือนพิกัดรัศมีบวกแต่มีทิศทางตรงข้าม ดังนั้นในจุดเดียวกันสามารถแสดงด้วยตัวเลขไม่สิ้นสุดที่มีพิกัดเชิงขั้วต่างกัน (r, θ ± n×360°) หรือ (−r, θ ± (2n + 1) 180°) เมื่อ n คือจำนวนเต็มใดๆ ยิ่งไปกว่านั้น ขั้วเองสามารถแสดงแทนด้วย (0, θ) สำหรับมุม θ ใดๆ

เมื่อต้องการแสดงแทนจุดใดๆ ปกติใช้ r เป็นจำนวนไม่เป็นลบ (r ≥ 0) และ θ ในช่วง [0, 360°) หรือ (−180°, 180°] (ในเรเดียน, [0, 2π) หรือ (−π, π]) และต้องเลือกแอซิมัทสำหรับขั้ว เช่น θ = 0

ความสัมพันธ์ระหว่างพิกัดคาร์ทีเซียนกับพิกัดเชิงขั้ว

 
แผนภาพความสัมพันธ์ระหว่างพิกัดเชิงขั้วและพิกัดคาร์ทีเซียน

ค่าของพิกัดเชิงขั้ว r และ θ สามารถแปลงเป็นพิกัดคาร์ทีเซียน x and y โดยใช้ฟังก์ชันตรีโกณมิติไซน์และโคไซน์:

 
 

ขณะที่ค่าของพิกัดคาร์ทีเซียน x และ y ก็สามารถแปลงเป็นพิกัดเชิงขั้ว r โดย

  (ตามทฤษฎีบทพีทาโกรัส) และ
 

ทุกสูตรเหล่านี้สมมุติว่าขั้วคือจุดกำเนิดคาร์ทีเซียน (0,0) แกนเชิงขั้วคือแกนคาร์ทีเซียน x และทิศทางของแกนคาร์ทีเซียน y มีแอซิมัท +π/2 rad = +90° (แทนที่ −π/2) ฟังก์ชันอาร์กไซน์คือส่วนกลับของฟังก์ชันไซน์ซึ่งสมมุติแทนที่ด้วยมุมในพิสัย [−π/2,+π/2] = [−90°,+90°]

สูตรสำหรับ θ นอกเหนือจากการแทนที่ด้วยมุมในพิสัย [-π/2,+3π/2) = [−90°,+270°)

θ ในช่วง [0, 2π) อาจใช้

 

ฟังก์ชันอาร์กแทนเป็นส่วนกลับของฟังก์ชันแทนเจนต์ซึ่งสมมุติแทนที่ด้วยมุมในพิสัย (−π/2,+π/2) = (−90°,+90°)

θ ในช่วง (−π, π] อาจใช้

 

ในภาษาโปรแกรมสมัยใหม่มีฟังก์ชันที่จะคำนวณหาพิกัดมุม θ เพียงให้ค่า x และ y โดยไม่ต้องให้อะไรเพิ่มเติม เช่น ฟังก์ชัน atan2 (y,x) ในภาษาซี และ atan (y,x) ในคอมมอน ลิซ์ป (Common Lisp) ในทั้งสองกรณีนั้น ผลที่ได้เป็นมุมในเรเดียนในพิสัย (−π, π]

สมการเชิงขั้วของเส้นโค้ง

สมการที่นิยามเส้นโค้งพืชคณิตแสดงในพิกัดเชิงขั้วหรือที่เรียกว่าสมการเชิงขั้ว ในหลายกรณี สมการสามารถถูกกำหนดง่ายๆโดยนิยาม r ตามฟังก์ชันของ θ (r = f(θ) หรือ F(r, θ) = 0) เส้นโค้งที่ได้ประกอบด้วยจุดในรูปแบบ (r(θ), θ) และสามารถถือว่าเป็นเส้นกราฟของฟังกชันขั้ว r

รูปแบบสมมาตรที่ต่างกันสามารถอนุมานจากสมการของฟังกชันขั้ว r ถ้า r(−θ) = r(θ) เส้นโค้งจะสมมาตรกับรังสีแนวนอน (0°/180°) ถ้า r(π − θ) = r(θ) จะสมมาตรกับรังสีแนวตั้ง (90°/270°) และถ้า r(θ − α°) = r(θ) จะสมมาตรแบบหมุน α° ทวนเข็มนาฬิกา รอบขั้ว

เพราะธรรมชาติของวงกลมที่มีอยู่ในระบบพิกัดเชิงขั้ว เส้นโค้งหลายๆเส้นสามารถอธิบายโดยสมการเชิงขั้วง่ายๆ เพราะว่ารูปแบบในพิกัดคาร์ทีเซียนของเส้นเหล่านั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก เส้นโค้งที่เรารู้จักกันดีได้แก่กลีบกุหลาบ, วงก้นหอย, ริบบิ้น, ลีมาซอง และ หัวใจ

วงกลม

 
วงกลมตามสมการ r (θ) = 1

โดยทั่วไปสมการวงกลมที่มีจุดศูนย์กลางที่ (r0, φ) และรัศมี a คือ

 

สมการนี้สามารถทำให้อยู่ในรูปแบบที่ง่ายขึ้นได้หลายทางโดยปรับเปลี่ยนให้เข้าสู่กรณีเฉพาะ เช่นสมการ

 

สำหรับวงกลมที่จุดศูนย์กลางอยู่ที่ขั้วและรัศมี a

เส้นตรง

เส้นรัศมี (ที่วิ่งผ่านขั้ว) แทนด้วยสมการ

 ,

เมื่อ φ คือมุมของการยกตัวของเส้น; φ = arctan m เมื่อ m คือความชันของเส้นในระบบพิกัดคาร์ทีเซียน เส้นตรงที่ไม่ใช่รัศมีที่ตัดกับรัศมี θ = φ ตั้งฉากที่จุด (r0, φ) มีสมการดังนี้

 

กลีบกุหลาบ

 
กลีบกุหลาบตามสมการ r(θ) = 2 sin 4θ

กลีบกุหลาบเป็นเส้นโค้งทางคณิตศาสตร์ที่รู้จักกันดี ที่มองดูเหมือนกลีบดอกไม้ สามารถแสดงแทนในรูปสมการเชิงขั้วทั่วไปดังนี้

 

สำหรับทุกๆค่าคงที่ φ0 (รวมถึงค่า 0) ถ้า k คือจำนวนเต็ม สมการจะสร้างกลีบดอกไม้ k กลีบถ้า k คือ จำนวนคี่ หรือ 2k กลีบถ้า k คือจำนวนคู่ ถ้า k คือเลขเศษส่วนแต่ไม่ใช่จำนวนเต้ม เส้นโค้งจากสมการอาจเป็นรูปกลีบดอกไม้แต่กลีบอาจจะซ้อนทับกัน จากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้สมการนี้ไม่สามารถกำหนดกลีบดอกไม้เป็นเป็น 2, 6, 10, 14, และอื่นๆ กลีบได้ ตัวแปร a จะแทนความยาวของกลีบดอกไม้

วงก้นหอยแบบอาร์คีมีดีส

 
แขนมุมของวงก้นหอยแบบอาร์คีมีดีสตามสมการ r(θ) = θ เมื่อ 0 < θ < 6π

เส้นโค้งก้นหอยแบบอาร์คีมีดีสเป็นวงก้นหอยที่ถูกค้นพบโดยอาร์คิมิดีส ซึ่งสามารถแทนได้ด้วยสมการเชิงขั้ว

 

จำนวนเชิงซ้อน

 
ภาพแสดงเลขเชิงซ้อน z ลงจุดบนระนาบเชิงซ้อน
 
ภาพแสดงเลขเชิงซ้อนลงจุดบนระนาบเชิงซ้อนเมื่อใช้สูตรของออยเลอร์

ทุกๆจำนวนเชิงซ้อนสามารถแทนได้ด้วยจุดในระนาบเชิงซ้อน ดังนั้นจึงสามารถแสดงด้วยจุดในพิกัดคาร์ทีเซียน (เรียกว่าแบบมุมฉากหรือแบบคาร์ทีเซียน) หรือจุดในพิกัดเชิงขั้ว (เรียกว่าแบบเชิงขั้ว)

เลขเชิงซ้อน z สามารถแทนในรูปแบบมุมฉากดังนี้

 

เมื่อ i คือหน่วยจินตภาพ หรือสามารถเลือกเขียนในแบบเชิงขั้ว (ตามสูตรการแปรผันข้างบน) ดังนี้

 

และลดรูปเป็น

 

เมื่อ e คือตัวเลขของออยเลอร์ซึ่งสมมูลตามที่แสดงโดยสูตรของออยเลอร์ (มุม θ ถูกแสดงในหน่วยเรเดียน)

สำหรับการคูณ, การหาร, และการยกกำลังของเลขเชิงซ้อน ทั่วไปแล้วจะกระทำในแบบเชิงขั้วมากกว่าแบบมุมฉาก จากกฎของการยกกำลัง:

  • การคูณ:
 
  • การหาร:
 
  • การยกกำลัง (สูตรของเดอ มัวฟ์):
 

แคลคูลัส

แคลคูลัสสามารถประยุกต์สมการไปใช้พิกัดเชิงขั้วได้

พิกัดมุม θ ถูกแสดงในเรเดียนตลอดจนภาคตัดนี้ ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการทำแคลคูลัส

แคลคูลัสเชิงอนุพันธ์

ให้ x = r cos(θ) และ y = r sin(θ) ซึ่งได้จากความสัมพันธ์ของพิกัดคาร์ทีเซียนและพิกัดเชิงขั้ว ให้ฟังก์ชัน u(x,y) ตามสมการ

 
 

หรือ

 
 

เพราะฉะนั้น จะได้สมการ:

 
 

หาความชันคาร์ทีเซียนของเส้นสัมผัสเส้นโค้งเชิงขั้ว r(θ) ในทุกๆจุดที่ให้ เส้นโค้งนั้นอยู่ในรูประบบสมการอิงตัวแปรเสริม

 
 

ทำอนุพันธ์ในเทอมของ θ ทั้งสองสมการ

 
 

หารสมการที่สองด้วยสมการแรกให้ความชันคาร์ทีเซียนของเส้นสัมผัสเส้นโค้งที่จุด (r, r(θ)):

 

แคลคูลัสเวกเตอร์

แคลคูลัสเวกเตอร์สามารถใช้กับพิกัดเชิงขั้วได้ด้วยเช่นกัน ให้   เป็นเวกเตอร์ตำแหน่ง (rcos(θ) rsin(θ)), r และ θ ขึ้นกับเวลา t

ใช้เวกเตอร์หนึ่งหน่วย

 

ในทิศทางของ r และ

 

ที่มุมฉากถึง r อนุพันธ์อันดับหนึ่งและสองของตำแหน่งเป็น

 
 

การเชื่อมโยงกับพิกัดทรงกลมและกระบอก

ระบบพิกัดเชิงขั้วสามารถขยายออกไปถึงสามมิติกับระบบพิกัดที่แตกต่งกันอีกสองระบบได้คือระบบพิกัดทรงกลมและระบบพิกัดกระบอก

การประยุกต์

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Brown, Richard G. (1997). Andrew M. Gleason (บ.ก.). Advanced Mathematics: Precalculus with Discrete Mathematics and Data Analysis. Evanston, Illinois: McDougal Littell. ISBN 0-395-77114-5.
  2. Friendly, Michael. "Milestones in the History of Thematic Cartography, Statistical Graphics, and Data Visualization". สืบค้นเมื่อ 2006-09-10.
  3. T. Koetsier, L. Bergmans (2005), Mathematics and the Divine, Elsevier, p. 169, ISBN 0444503285
  4. O'Connor, John J.; Robertson, Edmund F., "Abu Arrayhan Muhammad ibn Ahmad al-Biruni", MacTutor History of Mathematics archive, University of St Andrews.
  5. David A. King (1996), "Astronomy and Islamic society: Qibla, gnomics and timekeeping", in Roshdi Rashed (ed.), Encyclopedia of the History of Arabic Science, Vol. 1, pp. 128–184 [153], Routledge, London and New York
  6. Coolidge, Julian (1952). "The Origin of Polar Coordinates". American Mathematical Monthly. 59: 78–85. doi:10.2307/2307104.
  7. Boyer, C. B. (1949). "Newton as an Originator of Polar Coordinates". American Mathematical Monthly. 56: 73–78. doi:10.2307/2306162.
  8. Miller, Jeff. "Earliest Known Uses of Some of the Words of Mathematics". คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 1999-10-03. สืบค้นเมื่อ 2006-09-10.
  9. Smith, David Eugene (1925). History of Mathematics, Vol II. Boston: Ginn and Co. p. 324.
  10. Serway, Raymond A. (2005). Principles of Physics. Brooks/Cole—Thomson Learning. ISBN 0-534-49143-X. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  11. "Polar Coordinates and Graphing" (PDF). 2006-04-13. สืบค้นเมื่อ 2006-09-22. Check date values in: |date= (help)
  12. Lee, Theodore (2005). Precalculus: With Unit-Circle Trigonometry (Fourth Edition ed.). Thomson Brooks/Cole. ISBN 0534402305. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)CS1 maint: extra text (link)
  13. Stewart, Ian (1983). Complex Analysis (the Hitchhiker's Guide to the Plane). Cambridge University Press. ISBN 0521287634. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  14. Torrence, Bruce Follett (1999). The Student's Introduction to Mathematica. Cambridge University Press. ISBN 0521594618. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  15. Claeys, Johan. "Polar coordinates". สืบค้นเมื่อ 2006-05-25.
  16. Smith, Julius O. (2003). "Euler's Identity". Mathematics of the Discrete Fourier Transform (DFT). W3K Publishing. ISBN 0-9745607-0-7. สืบค้นเมื่อ 2006-09-22.
  17. Husch, Lawrence S. "Areas Bounded by Polar Curves". สืบค้นเมื่อ 2006-11-25.
  18. Lawrence S. Husch. "Tangent Lines to Polar Graphs". สืบค้นเมื่อ 2006-11-25.

ระบบพ, ดเช, งข, ในทางคณ, ตศาสตร, งกฤษ, polar, coordinate, system, อระบบค, าพ, ดสองม, ในแต, ละจ, ดบนระนาบถ, กกำหนดโดยระยะทางจากจ, ดตร, งและม, มจากท, ศทางตร, งจ, ดในก, บข, และแกนเช, งข, ในเส, นส, เข, ยว, ดก, บพ, ดร, ศม, และพ, ดม, องศาหร, ในเส, นส, ดตร, เหม, อนจ,. inthangkhnitsastr rabbphikdechingkhw xngkvs polar coordinate system khuxrabbkhaphikdsxngmitiinaetlacudbnranabthukkahndodyrayathangcakcudtrungaelamumcakthisthangtrungcudinrabbphikdechingkhwkbkhw O aelaaeknechingkhw L inesnsiekhiyw cudkbphikdrsmi 3 aelaphikdmum 60 xngsahrux 3 60 inesnsifa cud 4 210 cudtrung ehmuxncudkaenidkhxngrabbphikdkharthiesiyn eriykwakhw aelalakrngsicakkhwekhakbthisthangtrungkhuxaeknechingkhw rayathangcakkhweriykwaphikdrsmihruxrsmi aelamumkhuxphikdmum mumechingkhw hruxmumthis 1 enuxha 1 prawti 2 syniym 2 1 khwamphiesskhxngphikdechingkhw 3 khwamsmphnthrahwangphikdkharthiesiynkbphikdechingkhw 4 smkarechingkhwkhxngesnokhng 4 1 wngklm 4 2 esntrng 4 3 klibkuhlab 4 4 wngknhxyaebbxarkhimidis 5 canwnechingsxn 6 aekhlkhuls 6 1 aekhlkhulsechingxnuphnth 6 2 aekhlkhulsewketxr 7 karechuxmoyngkbphikdthrngklmaelakrabxk 8 karprayukt 9 duephim 10 xangxingprawti aekikhduephimetimthi prawtikhxngfngkchntrioknmiti mikarnaaenwkhideruxngmumaelarsmimaichtngaetsmyobraninhnungshswrrskxnkhristskrach nkdarasastrchawkrikthichuxhipparkhs 190 120 BCE srangtarangfngkchnkhxrdthiihkhwamyawkhxngkhxrdsahrbaetlamum aelamikarxangxingwaekhaichrabbphikdechingkhwinkarphisucntaaehnngkhxngdwngdaw 2 in On Spirals wadwyesnekliyw xarkhimidisbrryaythungwngknhxyxarkhimidiswarsmikhxngfngkchnkhunkbmum xyangirktamsingthichawkrikehlanithakyngimkhyayxxkipthungrabbphikdechingkhwthismburninkhriststwrrsthi 9 nkkhnitsastrchawepxresiythichux habs xl hasb xl marwasi Habash al Hasib al Marwazi ichwithitrioknmitiechingthrngklmaelakarchayaephnthiephuxthicaaeplngphnphikdechingkhwipepnrabbphikdthiaetktangodymungkhwamsnicipyngcudcaephaabnrupthrngklm inthinikhuxkibltmithisthangsumkkah 3 nkphumisastrchawepxresiythichux xabu rxyhan biruni Abu Rayhan Biruni 973 1048 phthnaaenwkhidsungduehmuxncaiklekhiyngkbrabbphikdechingkhw 4 rawkhriststwrrs 1025 ekhaepnkhnaerkthibrryaythungkarchaythirayahangethaknkhxngaexsmthethakbkhwkhxngthrngklmfa 5 miraynganthitangknkhxngkarerimtnkhxngphikdechingkhwtamswnhnungkhxngrupnyrabbphikd Origin of Polar Coordinates kaenidphikdechingkhw prawtikhxngphikdnithukbrryayodycueliyn olewl okhllidc Julian Lowell Coolidge sastracaryharward 6 ekrkwr edx aechng aewngsxng Gregoire de Saint Vincent aela obnaewntura khawaliexri Bonaventura Cavalieri tangerimnaaenwkhidmaichinklangkhriststwrrsthi 7 aechng aewngsxngekhiynthungphikdechingkhwodykarswntwinpi kh s 1625 aelatiphimphngankhxngekhainpi kh s 1647 khnathikhawaliexritiphimphinpi kh s 1635 aelachbbthithuktxnginpi kh s 1653 khawaliexriepnbukhkhlaerkthiichphikdechingkhwaekpyhaekiywkbphunthiinwngknhxyxarkhimidis txmaaebls paskalidichphikdechingkhwkhanwnhakhwamyawkhxngswnokhngkhxngruppharaoblain Method of Fluxions withikarihl ekhiynkhuninpi kh s 1671 tiphimphinpi kh s 1736 esxrixaesk niwtnphiekhraahkaraeplngrahwangphikdechingkhwsungekhaidxingtam rupaebbthi 7 sahrbwngknhxy aelaphikdxunxikekaphikd 7 inwarsar Acta Eruditorum 1691 eckhxb ebxronlli Jacob Bernoulli ichrabbrwmkbcudbnesnthieriykwa khw aela aeknechingkhw tamladb phikdepnrayathangcakkhwaelamumcakaeknechingkhw ngankhxngebxronllikhrxbkhlumipthungkarphbrsmikhwamokhngkhxngesnokhngthixyuinphikdnikhawa phikdechingkhw odyaethcringaelwnacamacakekokriox fxntana Gregorio Fontana nkkhnitsastrchawxitaliinsmykhriststwrrsthi 18 aelakhanipraktepnphasaxngkvsinnganaeplkhxng cxrc phikhxk George Peacock thichux aekhlkhulsechingxnuphnthaelapriphnth khxnglakrs Lacroix inpi kh s 1816 8 9 xelksis khlaeratepnkhnaerkthikhidphikdechingkhwinrupaebbsammiti aelaelxxnhard xxyelxrepnkhnaerkthinamaichngancring 6 syniym aekikh esnkridkhwaelaaethbbxkmuminaetlaxngsa phikdrsmimkich r aesdngaethnaelaphikdmumich 8 hrux t aesdngaethnmuminekhruxnghmaykhw thwipthukaesdngxyuinrupaebbxngsahruxerediyn 2p rad ethakb 360 xngsathukichinkaredinerux karsarwc aelamikarnaipprayuktichinhlaysakha khnathierediynodythwipxyuinkhnitsastraelakhnitsastrfisiks 10 inhlaybribth phikdmumbwkhmaykhwamwamum 8 thukwdinthisthwnekhmnalikacakaeknaelamikhaphikdmumlbemuxwdinthistamekhmnalika inexksarthangkhnitsastr bxykhrngaeknechingkhwthuklakinaenwnxnaelaipthangthangkhwa khwamphiesskhxngphikdechingkhw aekikh thuktwelkhkhxngkarhmunkhrbrxb 360 phikdmumcaimepliynthisthang aelaphikdrsmilbaesdngthungrayathangsungidcakkarwdehmuxnphikdrsmibwkaetmithisthangtrngkham dngnnincudediywknsamarthaesdngdwytwelkhimsinsudthimiphikdechingkhwtangkn r 8 n 360 hrux r 8 2n 1 180 emux n khuxcanwnetmid 11 yingipkwann khwexngsamarthaesdngaethndwy 0 8 sahrbmum 8 id 12 emuxtxngkaraesdngaethncudid pktiich r epncanwnimepnlb r 0 aela 8 inchwng 0 360 hrux 180 180 inerediyn 0 2p hrux p p 13 aelatxngeluxkaexsimthsahrbkhw echn 8 0khwamsmphnthrahwangphikdkharthiesiynkbphikdechingkhw aekikh aephnphaphkhwamsmphnthrahwangphikdechingkhwaelaphikdkharthiesiyn khakhxngphikdechingkhw r aela 8 samarthaeplngepnphikdkharthiesiyn x and y odyichfngkchntrioknmitiisnaelaokhisn x r cos 8 displaystyle x r cos theta y r sin 8 displaystyle y r sin theta khnathikhakhxngphikdkharthiesiyn x aela y ksamarthaeplngepnphikdechingkhw r ody r y 2 x 2 displaystyle r sqrt y 2 x 2 quad tamthvsdibthphithaokrs aela 8 0 if x 0 and y 0 arcsin y r if x 0 arcsin y r p if x lt 0 displaystyle theta begin cases 0 amp mbox if x 0 mbox and y 0 arcsin frac y r amp mbox if x geq 0 arcsin frac y r pi amp mbox if x lt 0 end cases thuksutrehlanismmutiwakhwkhuxcudkaenidkharthiesiyn 0 0 aeknechingkhwkhuxaeknkharthiesiyn x aelathisthangkhxngaeknkharthiesiyn y miaexsimth p 2 rad 90 aethnthi p 2 fngkchnxarkisnkhuxswnklbkhxngfngkchnisnsungsmmutiaethnthidwymuminphisy p 2 p 2 90 90 sutrsahrb 8 nxkehnuxcakkaraethnthidwymuminphisy p 2 3p 2 90 270 8 inchwng 0 2p xacich 8 arctan y x if x gt 0 and y 0 arctan y x 2 p if x gt 0 and y lt 0 arctan y x p if x lt 0 p 2 if x 0 and y gt 0 3 p 2 if x 0 and y lt 0 0 if x 0 and y 0 displaystyle theta begin cases arctan frac y x amp mbox if x gt 0 mbox and y geq 0 arctan frac y x 2 pi amp mbox if x gt 0 mbox and y lt 0 arctan frac y x pi amp mbox if x lt 0 frac pi 2 amp mbox if x 0 mbox and y gt 0 frac 3 pi 2 amp mbox if x 0 mbox and y lt 0 0 amp mbox if x 0 mbox and y 0 end cases fngkchnxarkaethnepnswnklbkhxngfngkchnaethnecntsungsmmutiaethnthidwymuminphisy p 2 p 2 90 90 8 inchwng p p xacich 14 8 arctan y x if x gt 0 arctan y x p if x lt 0 and y 0 arctan y x p if x lt 0 and y lt 0 p 2 if x 0 and y gt 0 p 2 if x 0 and y lt 0 0 if x 0 and y 0 displaystyle theta begin cases arctan frac y x amp mbox if x gt 0 arctan frac y x pi amp mbox if x lt 0 mbox and y geq 0 arctan frac y x pi amp mbox if x lt 0 mbox and y lt 0 frac pi 2 amp mbox if x 0 mbox and y gt 0 frac pi 2 amp mbox if x 0 mbox and y lt 0 0 amp mbox if x 0 mbox and y 0 end cases inphasaopraekrmsmyihmmifngkchnthicakhanwnhaphikdmum 8 ephiyngihkha x aela y odyimtxngihxairephimetim echn fngkchn atan2 y x inphasasi aela atan y x inkhxmmxn lisp Common Lisp inthngsxngkrninn phlthiidepnmuminerediyninphisy p p smkarechingkhwkhxngesnokhng aekikhsmkarthiniyamesnokhngphuchkhnitaesdnginphikdechingkhwhruxthieriykwasmkarechingkhw inhlaykrni smkarsamarththukkahndngayodyniyam r tamfngkchnkhxng 8 r f 8 hrux F r 8 0 esnokhngthiidprakxbdwycudinrupaebb r 8 8 aelasamarththuxwaepnesnkrafkhxngfngkchnkhw rrupaebbsmmatrthitangknsamarthxnumancaksmkarkhxngfngkchnkhw r tha r 8 r 8 esnokhngcasmmatrkbrngsiaenwnxn 0 180 tha r p 8 r 8 casmmatrkbrngsiaenwtng 90 270 aelatha r 8 a r 8 casmmatraebbhmun a thwnekhmnalika rxbkhwephraathrrmchatikhxngwngklmthimixyuinrabbphikdechingkhw esnokhnghlayesnsamarthxthibayodysmkarechingkhwngay ephraawarupaebbinphikdkharthiesiynkhxngesnehlannepneruxngthisbsxnmak esnokhngthieraruckkndiidaekklibkuhlab wngknhxy ribbin limasxng aela hwic wngklm aekikh wngklmtamsmkar r 8 1 odythwipsmkarwngklmthimicudsunyklangthi r0 f aelarsmi a khux r 2 2 r r 0 cos 8 f r 0 2 a 2 displaystyle r 2 2rr 0 cos theta varphi r 0 2 a 2 smkarnisamarththaihxyuinrupaebbthingaykhunidhlaythangodyprbepliynihekhasukrniechphaa echnsmkar r 8 a displaystyle r theta a sahrbwngklmthicudsunyklangxyuthikhwaelarsmi a 15 esntrng aekikh esnrsmi thiwingphankhw aethndwysmkar 8 f displaystyle theta varphi emux f khuxmumkhxngkaryktwkhxngesn f arctan m emux m khuxkhwamchnkhxngesninrabbphikdkharthiesiyn esntrngthiimichrsmithitdkbrsmi 8 f tngchakthicud r0 f mismkardngni r 8 r 0 sec 8 f displaystyle r theta r 0 sec theta varphi klibkuhlab aekikh klibkuhlabtamsmkar r 8 2 sin 48 klibkuhlabepnesnokhngthangkhnitsastrthiruckkndi thimxngduehmuxnklibdxkim samarthaesdngaethninrupsmkarechingkhwthwipdngni r 8 a cos k 8 ϕ 0 displaystyle r theta a cos k theta phi 0 sahrbthukkhakhngthi f0 rwmthungkha 0 tha k khuxcanwnetm smkarcasrangklibdxkim k klibtha k khux canwnkhi hrux 2k klibtha k khuxcanwnkhu tha k khuxelkhessswnaetimichcanwnetm esnokhngcaksmkarxacepnrupklibdxkimaetklibxaccasxnthbkn cakthiklawmakhangtnthaihsmkarniimsamarthkahndklibdxkimepnepn 2 6 10 14 aelaxun klibid twaepr a caaethnkhwamyawkhxngklibdxkim wngknhxyaebbxarkhimidis aekikh aekhnmumkhxngwngknhxyaebbxarkhimidistamsmkar r 8 8 emux 0 lt 8 lt 6p esnokhngknhxyaebbxarkhimidisepnwngknhxythithukkhnphbodyxarkhimidis sungsamarthaethniddwysmkarechingkhw r 8 a b 8 displaystyle r theta a b theta canwnechingsxn aekikh phaphaesdngelkhechingsxn z lngcudbnranabechingsxn phaphaesdngelkhechingsxnlngcudbnranabechingsxnemuxichsutrkhxngxxyelxr thukcanwnechingsxnsamarthaethniddwycudinranabechingsxn dngnncungsamarthaesdngdwycudinphikdkharthiesiyn eriykwaaebbmumchakhruxaebbkharthiesiyn hruxcudinphikdechingkhw eriykwaaebbechingkhw elkhechingsxn z samarthaethninrupaebbmumchakdngni z x i y displaystyle z x iy emux i khuxhnwycintphaph hruxsamartheluxkekhiyninaebbechingkhw tamsutrkaraeprphnkhangbn dngni z r cos 8 i sin 8 displaystyle z r cdot cos theta i sin theta aelaldrupepn z r e i 8 displaystyle z re i theta emux e khuxtwelkhkhxngxxyelxrsungsmmultamthiaesdngodysutrkhxngxxyelxr 16 mum 8 thukaesdnginhnwyerediyn sahrbkarkhun karhar aelakarykkalngkhxngelkhechingsxn thwipaelwcakrathainaebbechingkhwmakkwaaebbmumchak cakkdkhxngkarykkalng karkhun r 0 e i 8 0 r 1 e i 8 1 r 0 r 1 e i 8 0 8 1 displaystyle r 0 e i theta 0 cdot r 1 e i theta 1 r 0 r 1 e i theta 0 theta 1 dd karhar r 0 e i 8 0 r 1 e i 8 1 r 0 r 1 e i 8 0 8 1 displaystyle frac r 0 e i theta 0 r 1 e i theta 1 frac r 0 r 1 e i theta 0 theta 1 dd karykkalng sutrkhxngedx mwf r e i 8 n r n e i n 8 displaystyle re i theta n r n e in theta dd aekhlkhuls aekikhaekhlkhulssamarthprayuktsmkaripichphikdechingkhwid 17 18 phikdmum 8 thukaesdnginerediyntlxdcnphakhtdni sungepnthangeluxkhnunginkarthaaekhlkhuls aekhlkhulsechingxnuphnth aekikh ih x r cos 8 aela y r sin 8 sungidcakkhwamsmphnthkhxngphikdkharthiesiynaelaphikdechingkhw ihfngkchn u x y tamsmkar r u r r u x x r r u y y r displaystyle r tfrac partial u partial r r tfrac partial u partial x tfrac partial x partial r r tfrac partial u partial y tfrac partial y partial r u 8 u x x 8 u y y 8 displaystyle tfrac partial u partial theta tfrac partial u partial x tfrac partial x partial theta tfrac partial u partial y tfrac partial y partial theta hrux r u r r u x cos 8 r u y sin 8 x u x y u y displaystyle r tfrac partial u partial r r tfrac partial u partial x cos theta r tfrac partial u partial y sin theta x tfrac partial u partial x y tfrac partial u partial y u 8 u x r sin 8 u y r cos 8 y u x x u y displaystyle tfrac partial u partial theta tfrac partial u partial x r sin theta tfrac partial u partial y r cos theta y tfrac partial u partial x x tfrac partial u partial y ephraachann caidsmkar r r x x y y displaystyle r tfrac partial partial r x tfrac partial partial x y tfrac partial partial y 8 y x x y displaystyle tfrac partial partial theta y tfrac partial partial x x tfrac partial partial y hakhwamchnkharthiesiynkhxngesnsmphsesnokhngechingkhw r 8 inthukcudthiih esnokhngnnxyuinruprabbsmkarxingtwaepresrim x r 8 cos 8 displaystyle x r theta cos theta y r 8 sin 8 displaystyle y r theta sin theta thaxnuphnthinethxmkhxng 8 thngsxngsmkar d x d 8 r 8 cos 8 r 8 sin 8 displaystyle frac dx d theta r theta cos theta r theta sin theta d y d 8 r 8 sin 8 r 8 cos 8 displaystyle frac dy d theta r theta sin theta r theta cos theta harsmkarthisxngdwysmkaraerkihkhwamchnkharthiesiynkhxngesnsmphsesnokhngthicud r r 8 d y d x r 8 sin 8 r 8 cos 8 r 8 cos 8 r 8 sin 8 displaystyle frac dy dx frac r theta sin theta r theta cos theta r theta cos theta r theta sin theta aekhlkhulsewketxr aekikh aekhlkhulsewketxrsamarthichkbphikdechingkhwiddwyechnkn ih r displaystyle mathbf r epnewketxrtaaehnng rcos 8 rsin 8 r aela 8 khunkbewla tichewketxrhnunghnwy r cos 8 sin 8 displaystyle hat mathbf r cos theta sin theta inthisthangkhxng r aela 8 sin 8 cos 8 displaystyle hat boldsymbol theta sin theta cos theta thimumchakthung r xnuphnthxndbhnungaelasxngkhxngtaaehnngepn d r d t r r r 8 8 displaystyle frac d mathbf r dt dot r hat mathbf r r dot theta hat boldsymbol theta d 2 r d t 2 r r 8 2 r r 8 2 r 8 8 r r 8 2 r 1 r r 2 8 8 displaystyle frac d 2 mathbf r dt 2 ddot r r dot theta 2 hat mathbf r r ddot theta 2 dot r dot theta hat boldsymbol theta ddot r r dot theta 2 hat mathbf r frac 1 r quad dot overbrace r 2 dot theta quad hat boldsymbol theta karechuxmoyngkbphikdthrngklmaelakrabxk aekikhrabbphikdechingkhwsamarthkhyayxxkipthungsammitikbrabbphikdthiaetktngknxiksxngrabbidkhuxrabbphikdthrngklmaelarabbphikdkrabxkkarprayukt aekikhswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidduephim aekikhrabbphikdkharthiesiynxangxing aekikh Brown Richard G 1997 Andrew M Gleason b k Advanced Mathematics Precalculus with Discrete Mathematics and Data Analysis Evanston Illinois McDougal Littell ISBN 0 395 77114 5 Friendly Michael Milestones in the History of Thematic Cartography Statistical Graphics and Data Visualization subkhnemux 2006 09 10 T Koetsier L Bergmans 2005 Mathematics and the Divine Elsevier p 169 ISBN 0444503285 O Connor John J Robertson Edmund F Abu Arrayhan Muhammad ibn Ahmad al Biruni MacTutor History of Mathematics archive University of St Andrews David A King 1996 Astronomy and Islamic society Qibla gnomics and timekeeping in Roshdi Rashed ed Encyclopedia of the History of Arabic Science Vol 1 pp 128 184 153 Routledge London and New York 6 0 6 1 Coolidge Julian 1952 The Origin of Polar Coordinates American Mathematical Monthly 59 78 85 doi 10 2307 2307104 Boyer C B 1949 Newton as an Originator of Polar Coordinates American Mathematical Monthly 56 73 78 doi 10 2307 2306162 Miller Jeff Earliest Known Uses of Some of the Words of Mathematics khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 1999 10 03 subkhnemux 2006 09 10 Smith David Eugene 1925 History of Mathematics Vol II Boston Ginn and Co p 324 Serway Raymond A 2005 Principles of Physics Brooks Cole Thomson Learning ISBN 0 534 49143 X Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Polar Coordinates and Graphing PDF 2006 04 13 subkhnemux 2006 09 22 Check date values in date help Lee Theodore 2005 Precalculus With Unit Circle Trigonometry Fourth Edition ed Thomson Brooks Cole ISBN 0534402305 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help CS1 maint extra text link Stewart Ian 1983 Complex Analysis the Hitchhiker s Guide to the Plane Cambridge University Press ISBN 0521287634 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Torrence Bruce Follett 1999 The Student s Introduction to Mathematica Cambridge University Press ISBN 0521594618 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Claeys Johan Polar coordinates subkhnemux 2006 05 25 Smith Julius O 2003 Euler s Identity Mathematics of the Discrete Fourier Transform DFT W3K Publishing ISBN 0 9745607 0 7 subkhnemux 2006 09 22 Husch Lawrence S Areas Bounded by Polar Curves subkhnemux 2006 11 25 Lawrence S Husch Tangent Lines to Polar Graphs subkhnemux 2006 11 25 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title rabbphikdechingkhw amp oldid 5827913, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม