fbpx
วิกิพีเดีย

การทำให้เป็นประชาธิปไตย

การทำให้เป็นประชาธิปไตย หรือ การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย (อังกฤษ: Democratization) เป็นการเปลี่ยนระบอบการปกครองให้เป็นประชาธิปไตยยิ่งขึ้น ซึ่งอาจหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างสำคัญไปในทางประชาธิปไตย การเปลี่ยนจากระบอบอำนาจนิยมไปเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ จากระบอบอำนาจนิยมไปเป็นกึ่งประชาธิปไตย หรือจากกึ่งประชาธิปไตย/อำนาจนิยมไปเป็นประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจมีผลเป็นความมั่นคงทางประชาธิปไตย (ดังที่สหราชอาณาจักรเป็นตัวอย่าง) หรืออาจจะกลับไปกลับมาบ่อย ๆ (ดังที่ อาร์เจนตินาเป็นตัวอย่าง) รูปแบบต่าง ๆ ของการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยมักใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางการเมืองอื่น ๆ เช่น ประเทศจะเริ่มทำสงครามหรือไม่ เศรษฐกิจจะเติบโตหรือไม่ กระบวนการมีปัจจัยหลายอย่างรวมทั้งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ ประวัติ และประชาสังคม ผลสูงสุดของกระบวนการนี้ก็เพื่อประกันว่า ประชาชนจะมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง และมีส่วนตัดสินใจในระบอบการปกครอง

เหตุ

มีเรื่องถกเถียงไม่ใช่น้อยเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผล โดยที่สุดที่จำกัดการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย ปัจจัยมากมายรวมทั้งเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ล้วนอ้างว่ามีผลต่อกระบวนการ โดยที่อ้างบ่อยมากที่สุดจะกล่าวในหัวข้อต่อ ๆ ไป

ความร่ำรวย

การมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ต่อประชากรที่สูงกว่า สัมพันธ์กับประชาธิปไตย โดยบางคนอ้างว่า รัฐประชาธิปไตยซึ่งรวยที่สุดไม่เคยปรากฏว่าตกอยู่ใต้ลัทธิอำนาจนิยม แต่การขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์และพรรคนาซีในสาธารณรัฐไวมาร์ ก็เป็นตัวอย่างคัดค้านที่ชัดเจน แม้ในต้นคริสต์ทศวรรษ 1930 เยอรมนีจะมีเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า แต่ในเวลาที่ฮิตเลอร์ขึ้นสู่อำนาจ ประเทศก็กำลังเผชิญวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่เริ่มตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งได้แย่ลงเพราะภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

ยังมีข้อสังเกตทั่วไปว่า ประชาธิปไตยเกิดก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมน้อยมาก งานวิจัยเชิงหลักฐานจึงทำให้นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า พัฒนาการทางเศรษฐกิจถ้าไม่เพิ่มโอกาสเปลี่ยนเป็นประชาธิไปตย ก็จะช่วยประชาธิปไตยที่เกิดใหม่ให้มั่นคงยิ่งขึ้น

งานศึกษาหนึ่งพบว่า พัฒนาการทางเศรษฐกิจจะกระตุ้นให้เปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยแต่ต้องเป็นระยะเวลาปานกลาง คือ 10-20 ปี เพราะแม้พัฒนาการอาจสร้างความมั่นคงให้แก่ผู้นำที่อยู่ในอำนาจ แต่การจะให้ลูกหรือคนเชื่อใจอื่นสืบทอดอำนาจต่อไปก็เป็นเรื่องยาก

ถึงกระนั้น การถกเถียงว่า ประชาธิปไตยเป็นผลของความร่ำรวย เป็นเหตุ หรือไม่สัมพันธ์กัน ก็ยังเป็นเรื่องยังไม่ยุติ งานศึกษาอีกงานหนึ่งแสดงว่า พัฒนาการทางเศรษฐกิจจะขึ้นอยู่กับเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศเพื่อจะมีผลโปรโหมตประชาธิปไตยได้

นักวิชาการกลุ่มหนึ่งอธิบายว่า ไม่ใช่การเพิ่มความร่ำรวยในประเทศเองที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย แต่เป็นความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างทางสังคม-เศรษฐกิจที่เกิดจากความร่ำรวย โดยมีนักวิชาการอื่น ๆ ที่อ้างว่า ความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเป็นเหตุหลัก ๆ ที่ประเทศยุโรปกลายเป็นประชาธิปไตย

เมื่อโครงสร้างทางสังคมเศรษฐกิจเปลี่ยนไป เพราะความก้าวหน้าทำให้เกษตรกรรมมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงมีการลงทุนทั้งเวลาและทรัพยากรอื่น ๆ เพื่อใช้ในการผลิตและการบริการ ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศอังกฤษ สมาชิกของพวกผู้ดีได้ลงทุนในกิจการค้ามากขึ้น ทำให้พวกตนมีความสำคัญทางเศรษฐกิจต่อประเทศมากขึ้น กิจกรรมเยี่ยงนี้จะมาพร้อมกับอำนาจทางเศรษฐกิจ เพราะทรัพย์สมบัตินับได้ยากขึ้น ดังนั้น รัฐจึงหักภาษีได้ยากขึ้น เพราะเหตุนี้ การปล้นสะดมทรัพย์ตรง ๆ จึงเป็นไปไม่ได้ และดังนั้น รัฐจึงต้องต่อรองกับอภิสิทธิชนทางเศรษฐกิจรุ่นใหม่เพื่อจะหารายได้ ข้อตกลงแบบยั่งยืนกลายเป็นเรื่องจำเป็น เพราะรัฐต้องอาศัยประชาชนที่ยังคงความจงรักภักดี ดังนั้น ประชาชนจึงได้อำนาจแสดงเสียงในกระบวนการตัดสินใจของประเทศ

ความเท่าเทียมกันทางสังคม

นักวิชาการคู่หนึ่งอ้างว่า ความสัมพันธ์ของความเท่าเทียมกันทางสังคมกับการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยเป็นเรื่องซับซ้อน ประชาชนจะมีแรงจูงใจเพื่อกบฏน้อยกว่าในสังคมที่เท่าเทียมกัน ดังนั้น การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยก็จะมีโอกาสน้อยกว่า เทียบกับสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันแบบสุดโต่ง (เช่น แอฟริกาใต้ภายใต้ระบบการถือผิว) การจัดสรรปันส่วนของทั้งความมั่งคั่งและอำนาจภายใต้ระบอบประชาธิปไตยจะเป็นผลร้ายต่ออภิสิทธิชน พวกเขาจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่วนในประเทศที่อยู่ตรงกลาง ๆ ที่ไม่สุดโต่ง การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยจะมีโอกาสสูงกว่า โดยอภิสิทธิชนจะยอมให้เพราะ (1) พิจารณาว่าการกบฏอาจเป็นไปได้ (2) ราคาของการยินยอมไม่สูงเกินไป ความคาดหวังเช่นนี้เข้ากับหลักฐานการทดลองที่แสดงว่า ประชาธิปไตยจะเสถียรภาพกว่าในสังคมที่เท่าเทียมกัน

วัฒนธรรม

มีผู้ที่อ้างว่า วัฒนธรรมบางอย่างเข้ากับค่านิยมประชาธิปไตยได้มากกว่า ซึ่งอาจเป็นมุมมองแบบชาติพันธุ์นิยม เพราะปกติแล้ว จะอ้างว่าวัฒนธรรมตะวันตก "เข้าได้ดีที่สุด" กับประชาธิปไตย และอ้างวัฒนธรรมอื่นว่า มีค่านิยมที่ทำให้ประชาธิปไตยเป็นเรื่องยากหรือเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา เป็นข้ออ้างที่บางครั้งใช้โดยระบอบการปกครองอื่น ๆ เพื่อแก้ต่างความล้มเหลวในการปฏิรูปเพื่อประชาธิปไตย แต่ในปัจจุบัน มีรัฐประชาธิปไตยที่ไม่ใช่คนตะวันตกมากมาย รวมทั้งอินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย นามิเบีย บอตสวานา ไต้หวัน และเกาหลีใต้ มีงานวิจัยที่พบว่า "ผู้นำที่ได้การศึกษาในประเทศตะวันตกจะเพิ่มโอกาสเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยอย่างสำคัญ"

ค่านิยมของสังคม

มีนักวิชาการที่อ้างว่า มีลักษณะบางอย่างที่ทำให้สังคมมีโอกาสมีวัฒนธรรมการทำงานเพื่อส่วนรวมมากกว่า และทำให้เกิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมสูงกว่า คือชุมชนที่มีเครือข่ายองค์กรพลเมืองที่ช่วยปรับปรุงดูแลละแวกบ้าน ที่มีโครงสร้างเป็น "แนวนอน" คือมีสมาชิกมีฐานะ/อิทธิพลเท่าเทียมกัน จะช่วยสร้าง "ความเชื่อใจ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และการมีส่วนร่วมในฐานะพลเมือง" ได้ดีกว่า ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตย และจะเป็นประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า เทียบกับเครือข่ายที่มีโครงสร้างเป็นแนวตั้ง คือมีการจัดตำแหน่งการงานเป็นชั้น ๆ หรือที่มีความสัมพันธ์แบบผู้อุปถัมภ์-ผู้พึ่งพา ซึ่งก็จะมีโอกาสสร้างวัฒนกรรมการมีส่วนร่วมของพลเมืองที่จำเป็นในการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยน้อยกว่า

กลุ่มอำนาจต่าง ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน

นักวิชาการอีกคนหนึ่งคาดว่า การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นเมื่ออภิสิทธิชนไม่สามารถคืนรูประบอบอัตตาธิปไตยได้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อมีกลุ่มอำนาจต่าง ๆ อยู่ร่วมกันในเขตภูมิภาคหนึ่ง ๆ อันทำให้อภิสิทธิชนจำเป็นต้องสร้างสถาบันประชาธิปไตยและสถาบันตัวแทนเพื่อควบคุมเขตนั้น และเพื่อจำกัดอิทธิพลของกลุ่มอภิสิทธิชนผู้เป็นคู่แข่ง

การแทรกแซงจากประเทศอื่น

ประชาธิปไตยบางครั้งเกิดเพราะการแทรกแซงทางทหารของประเทศอื่น ดังที่เกิดในญี่ปุ่นและเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อิสรภาพจากการเป็นอาณานิคมบางครั้งก็อำนวยให้ก่อตั้งประชาธิปไตย ที่ต่อมาไม่นานก็ถูกแทนที่ด้วยระบอบอำนาจนิยม ตัวอย่างเช่น ซีเรียหลังจากได้อิสรภาพจากอาณัติของฝรั่งเศสเมื่อต้นสงครามเย็น ไม่ได้ทำประชาธิปไตยให้มั่นคง แล้วในที่สุดก็ล้มและถูกแทนที่ด้วยระบอบเผด็จการของพรรคบะอัธ

การศึกษา

มีทฤษฎีมานานแล้วว่า การศึกษาจะช่วยโปรโหมตสังคมประชาธิปไตยที่มั่นคง งานวิจัยแสดงว่า การศึกษาทำให้ยอมรับความแตกต่างทางการเมืองได้มากกว่า เพิ่มโอกาสการมีส่วนร่วม และลดความไม่เท่าเทียมกัน งานวิจัยหนึ่งพบว่า "การเพิ่มระดับการศึกษาจะเพิ่มระดับประชาธิปไตย โดยผลของการศึกษาต่อการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยจะมีพลังยิ่งกว่าในประเทศยากจน"

การค้าขายระหว่างประเทศ

งานศึกษาปี 2559 พบว่า ความตกลงค้าขายแบบบุริมสิทธิ (PTA) "กระตุ้นให้ประเทศเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะถ้าคู่ความตกลงก็เป็นรัฐประชาธิปไตยเองด้วย"

การร่วมมือระหว่างประเทศ

งานศึกษาปี 2545 พบว่า การเป็นสมาชิกในองค์กรนานาชาติ "สัมพันธ์กับการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยในช่วงปี 2493-2535"

รูปแบบระบอบเผด็จการ

ระบอบเผด็จการสามอย่าง คือ ราชาธิปไตย เผด็จการพลเรือน และเผด็จการทหาร จะเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยโดยต่างกันเพราะมีเป้าหมายต่างกัน เผด็จการของพระราชาและพลเรือนต้องการอยู่ในอำนาจอย่างไม่มีกำหนด ผ่านการสืบทอดพระราชวงศ์สำหรับพระราชาและการกดขี่ศัตรูสำหรับเผด็จการพลเรือน ส่วนเผด็จการทหารจะยึดอำนาจแล้วปฏิบัติการเป็นรัฐบาลรักษาการ เพื่อทดแทนรัฐบาลพลเรือนที่พิจารณาว่าบกพร่อง เผด็จการทหารมีโอกาสเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยมากกว่า เพราะตั้งแต่เริ่มก็หมายเป็นแค่การแก้ปัญหาชั่วคราวในขณะที่กำลังตั้งรัฐบาลที่ยอมรับได้ใหม่

การประท้วงเพื่อประชาธิปไตย

การประท้วงเพื่อประชาธิปไตยสัมพันธ์กับการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย งานวิจัยปี 2559 พบว่า กรณี 1 ใน 4 ของการประท้วงเพื่อประชาธิปไตยระหว่างปี 2532-2554 ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเป็นประชาธิปไตย

ภัยสงครามเมือง

งานวิจัยแสดงว่า ภัยสงครามเมืองกระตุ้นให้ผู้ปกครองยอมเปลี่ยนแปลงไปในทางประชาธิปไตย งานศึกษาปี 2559 พบว่า การจลาจลเหตุความแห้งแล้งในแอฟริกาใต้สะฮาราทำให้ผู้ปกครองเกรงสงครามการเมือง แล้วยอมรับความเปลี่ยนแปลงทางประชาธิปไตย

การก่อสงคราม

ในบทความที่ได้รับความยกย่องชื่อว่า "สงครามและสภาพในแอฟริกา (War and the state in Africa)" นักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันอธิบายว่า ประเทศในยุโรปเกิดขึ้นอาศัยการทำสงครามซึ่งเป็นเหตุที่ไม่มีอย่างหนึ่งในแอฟริกาปัจจุบัน คือสงครามเป็นเหตุให้รัฐต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการเก็บรายได้ บังคับให้ผู้นำต้องจัดระบบการบริหารปกครองให้ดีขึ้น และสร้างสภาพแวดล้อมที่ประชาชนจะรู้สึกสามัคคีกัน ดังที่พบในรัฐยุโรปที่เสี่ยงต่อการถูกรุกรานหรือเกิดสงครามอย่างฉับพลันกับประเทศเพื่อนบ้าน

การบังคับให้ระวังระไวเช่นนี้ทำให้เกิดพัฒนาการเก็บภาษีที่ดีขึ้น เพราะรัฐที่ไม่มีรายได้พอทำสงครามก็จะสูญเสียเอกราช สงครามยังสร้างความสัมพันธ์ร่วมกันที่มีพลังระหว่างรัฐกับประชาชน เพราะประชาชนก็จะรู้สึกถึงภัยเหมือนกับรัฐ และต้องอาศัยประเทศเพื่อที่จะเจริญรุ่งเรืองได้ การทำสงครามทำให้ประชาชนรู้สึกว่าเป็นส่วนของรัฐมากขึ้น

การเปลี่ยนเป็นชุมชนเมือง

มีงานวิจัยที่แสดงว่า การเปลี่ยนเป็นชุมชนเมืองมากขึ้นโดยวิธีต่าง ๆ ช่วยการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย

ทรัพยากรธรรมชาติ

คำอธิบายหนึ่งสำหรับการกลับไปเป็นประชาธิปไตยของประเทศเอกวาดอร์ อันเป็นเหตุการณ์ที่ค้านความเห็นทั่วไปว่า รายได้จากทรัพยากรธรรมชาติมักกระตุ้นให้เกิดรัฐบาลเผด็จการ ก็คือ มีสถานการณ์บางอย่างที่รายได้จากทรัพยากรธรรมชาติ เช่นจากน้ำมัน จะลดความเสี่ยงที่นโยบายทางสังคมจะมีต่ออภิสิทธิชน เพราะรัฐมีรายได้อื่นเพื่อเป็นงบประมาณดำเนินการนโยบายสังคม โดยไม่เกี่ยวพันกับความมั่งคั่งหรือรายได้ของอภิสิทธิชน และในประเทศที่มากไปด้วยความไม่เท่าเทียมกัน เช่นเอกวาดอร์ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ผลก็คือโอกาสการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยจะเพิ่มขึ้น

รัฐประหารของทหารในเอกวาดอร์ปี 2515 มีเหตุโดยมากจากความเกรงกลัวของอภิสิทธิชนว่า จะมีการปรับกระจายรายได้ แต่ในปีเดียวกัน น้ำมันก็กลายเป็นแหล่งรายได้เพิ่มยิ่ง ๆ ขึ้นของประเทศ แม้รายได้ในช่วงแรกนั้นจะใช้เพื่องบประมาณทางทหาร แต่รายได้ที่เพิ่มขึ้นในปี 2522 ต่อมาได้ดำเนินขนานกับการเปลี่ยนกลับไปเป็นประชาธิปไตยของประเทศอีก นักวิชาการจึงอ้างว่า การเปลี่ยนกลับไปเป็นประชาธิปไตยของเอกวาดอร์ มีเหตุจากการเพิ่มรายได้จากน้ำมันอย่างสำคัญ ซึ่งไม่เพียงเพิ่มงบประมาณของรัฐ แต่ยังลดความกลัวของอภิสิทธิชนว่า รายได้/ความมั่งคั่งของตนจะถูกปรับกระจายไปใช้เป็นงบประมาณของรัฐ การแสวงหาประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติทำให้รัฐบาลสามารถออกนโยบายเกี่ยวกับราคาสินค้าและสินจ้าง ที่ให้ประโยชน์แก่ประชาชนโดยที่อภิสิทธิชนไม่มีผลกระทบ แล้วจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงและการเติบโตของสถาบันประชาธิปไตยต่าง ๆ

ผู้ครองอำนาจเผด็จการ

การเสียชีวิตของผู้เผด็จการ น้อยครั้งที่จะเปลี่ยนระบอบการปกครองให้เป็นประชาธิปไตย นักวิเคราะห์รายหนึ่งพบว่า "ในบรรดาผู้เผด็จการ 79 ท่านที่ได้เสียชีวิตในอำนาจ (พ.ศ. 2489-2557) ในกรณีโดยมาก (92%) ระบอบการปกครองก็ดำเนินต่อไปหลังจากการเสียชีวิต"

การเปลี่ยนแปลง

พัฒนาการให้เป็นประชาธิปไตยบ่อยครั้งช้า รุนแรง และถอยกลับบ่อย ๆ

กรณีในประวัติศาสตร์

ในประเทศอังกฤษ สงครามกลางเมืองอังกฤษ (พ.ศ. 2185-2194) เป็นสงครามระหว่างพระราชาและรัฐสภาที่ได้รับเลือกตั้งแต่มีลักษณะของคณาธิปไตย ต่อมา ยุครัฐในอารักขา (2196-2202) และเหตุการณ์การฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ (2203-2231) จึงได้คืนการปกครองแบบอัตตาธิปไตย ในปี 2231 ก็เกิดการปฏิวัติอันรุ่งโรจน์ที่ตั้งรัฐสภาที่เข้มแข็ง แล้วผ่านพระราชบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง ค.ศ. 1689 ซึ่งบัญญัติสิทธิเสรีภาพของประชาชนบางอย่าง บัญญัติบังคับให้มีการเลือกตั้งเป็นประจำ ตั้งกฎเสรีภาพในการพูดในรัฐสภา และจำกัดอำนาจของพระราชา ซึ่งรับรองว่า โดยไม่เหมือนยุโรปโดยมากในยุคนั้น สมบูรณาญาสิทธิราชย์จะไม่มีชัย แต่ต้องรอจนถึงราชบัญญัติการมีตัวแทนของประชาชนปี 2427 (Representation of the People Act 1884) ที่ประชาชนชายส่วนใหญ่จะมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

การปฏิวัติอเมริกา (2308-2326) ได้ก่อตั้งสหรัฐอเมริกา จากมุมมองต่าง ๆ มันเป็นชัยชนะทางอุดมคติ เพราะเป็นสาธารณรัฐที่แท้จริงโดยไม่เคยมีผู้เผด็จการสักคนหนึ่ง แม้สิทธิการออกเสียงเลือกตั้งจะจำกัดให้ชายผิวขาวอเมริกันผู้มีที่ดินในเบื้องต้น แต่ทาสก็ยังไม่ได้เลิกโดยเฉพาะในรัฐภาคใต้จนกระทั่งการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลังสงครามกลางเมืองอเมริกา (2404-2408) และชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาก็ไม่ได้สิทธิพลเมืองจนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1960

การปฏิวัติฝรั่งเศส (2332) ทำให้คนจำนวนมากสามารถออกเสียงเลือกตั้งได้เป็นเวลาสั้น ๆ แต่ก็ตามด้วยสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส (2335-2345) และสงครามนโปเลียน (2346-2358) ที่ยาวนานกว่า 20 ปี การปฏิวัติช่วง French Directory (2338-2342) มีลักษณะทางคณาธิปไตยมากกว่า จักรวรรดิฝรั่งเศสที่หนึ่ง (2347-2358) แล้วตามด้วยการคืนสู่ราชบัลลังก์ของราชวงศ์บูร์บง (2358-2373) ทั้งสองก็กลับคืนการปกครองแบบอัตตาธิปไตย ส่วนสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2 ต่อมา (2391-2395) ก็ได้ให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปแก่ชาย แต่แล้วก็ตามมาด้วยจักรวรรดิฝรั่งเศสที่สอง (2395-2413) ต้องอาศัยสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย (2413-2414) จึงได้ตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 (2413-2483)

จักรวรรดิเยอรมันตั้งขึ้นเมื่อปี 2414 แล้วตามด้วยสาธารณรัฐไวมาร์หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมานาซีเยอรมนีจึงคืนการปกครองแบบอัตตาธิปไตยจนกระทั่งแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2

ราชอาณาจักรอิตาลีซึ่งตั้งขึ้นหลังการรวมเอกราชของอิตาลีในปี 2404 เป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมมนูญ ที่พระราชาทรงมีอำนาจค่อนข้างมาก ต่อมาลัทธิฟาสซิสต์อิตาลีจึงตั้งระบอบเผด็จการขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐอิตาลีดังปัจจุบัน

ยุคเมจิหลังปี 2411 เป็นจุดเริ่มปรับประเทศญี่ปุ่นให้ทันสมัย โดยมีการปฏิรูปทางประชาธิปไตยอย่างจำกัดด้วย ต่อมาในยุคไทโช (2455-2469) จึงมีการปฏิรูปเพิ่มขึ้น แต่ยุคโชวะก่อนสงคราม (2469-2488) ที่ตามมาก็พลิกกลับจนกระทั่งยุติสงครามโลกครั้งที่ 2

ตั้งแต่ พ.ศ. 2515

ตามงานศึกษาโดย "ฟรีดอมเฮาส์" ในประเทศ 67 ประเทศที่ระบอบเผด็จการได้ล้มลงตั้งแต่ปี 2515 การต่อต้านของพลเมืองที่ไม่ใช้ความรุนแรงเป็นปัจจัยที่มีกำลังในกรณี 70 เปอร์เซ็นต์ โดยไม่ได้เนื่องจากการรุกรานของประเทศอื่น และมีน้อยมากที่เนื่องจากการก่อการกำเริบที่ใช้อาวุธ หรือเนื่องจากการปฏิรูปที่อภิสิทธิชนสมัครใจเริ่มเอง แต่อย่างท่วมท้นเนื่องจากปฏิบัติการขององค์กรประชาสังคมเพื่อประชาธิปไตยที่ไม่ใช้วิธีการรุนแรง และเนื่องจากการต่อต้านแบบสันติอื่น ๆ เช่น การนัดหยุดงาน การคว่ำบาตร การขัดขืนเจ้าหน้าที่/กฎหมายอย่างสงบ และการชุมนุมประท้วง

ตัวบ่งชี้

ในเรื่องการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย องค์กร "ฟรีดอมเฮาส์" ทำงานสำรวจที่ทรงอิทธิพล ซึ่งเริ่มขึ้นในระหว่างสงครามเย็น องค์กรปัจจุบันเป็นสถาบันนโยบาย (think tank) ที่ผลิตรายงานเสรีภาพที่ครอบคลุมกว้างขวางมากที่สุดงานหนึ่งทั้งในประเทศและในระหว่างประเทศ ซึ่งโดยปริยายก็เป็นรายงานการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยด้วย องค์กรจัดหมวดหมู่ประเทศทั้งหมดในโลกตามค่า 7 อย่างโดยมีคำถามกว่า 200 คำถามในงานสำรวจ และมีเจ้าหน้าที่หลายคนในทุก ๆ ประเทศ คะแนนจากส่วนต่าง ๆ ของการสำรวจจะสรุปประเทศลงใน 3 หมวด คือ เสรี กึ่งเสรี และไม่เสรี

งานศึกษาหนึ่งที่ตรวจความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจตลาดเสรี (วัดด้วยดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ) พัฒนาการทางเศรษฐกิจ (วัดด้วยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) /ประชากร) และเสรีภาพทางการเมือง (วัดด้วยดัชนีฟรีดอม์เฮาส์) พบว่า เสรีภาพทางเศรษฐกิจระดับสูงจะเพิ่ม GDP/ประชากร ซึ่งก็ป้อนกลับเพิ่มเสรีภาพทางเศรษฐกิจ GDP/ประชากรยังเพิ่มเสรีภาพทางการเมืองอีกด้วย แต่เสรีภาพทางการเมืองไม่ได้เพิ่ม GDP/ประชากร และเสรีภาพทางเศรษฐกิจก็ไม่สัมพันธ์กับเสรีภาพทางการเมืองโดยตรง ถ้า GDP/ประชากรอยู่คงที่

มุมมองต่าง ๆ

นักรัฐศาสตร์-เศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ศ. ดร. ฟรานซิส ฟุกุยะมะ ได้เขียนบทความเรื่องการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยที่คลาสสิกอีกงานหนึ่งในชื่อเรื่อง อวสารประวัติศาสตร์และมนุษย์คนสุดท้าย (The End of History and the Last Man) ซึ่งกล่าวถึงการเกิดขึ้นของประชาธิปไตยเสรีนิยมว่าเป็นรูปแบบการปกครองสุดท้ายของมนุษย์ แต่ก็มีผู้อ้างว่า การขยายปฏิรูปเศรษฐกิจให้เสรี มีผลผสมผเสต่อการเปลี่ยนเป็นประชาธิไตย คืออ้างว่า จากหลาย ๆ มุมมอง สถาบันทางประชาธิปไตยต่าง ๆ ถูกจำกัดหรือถูกขังไว้เพื่อประโยชน์ของตลาดทุนนานาชาติ หรือเพื่ออำนวยการค้าขายทั่วโลก

ส่วนนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ศ. ดร. ซามูเอล ฮันติงตัน ได้เขียนหนังสือชื่อว่า คลื่นลูกที่ 3 - การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 (The Third Wave: Democratization in the Late 20th century) ซึ่งเขากำหนดคลื่นการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย 3 ลูกที่เกิดในประวัติศาสตร์ คลื่นลูกแรกนำประชาธิปไตยมาสู่ยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือในคริสต์ทศวรรษที่ 19 แล้วตามด้วยการเกิดระบอบเผด็จการช่วงในระหว่างสงครามโลกทั้ง 2 ลูกที่สองเกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่หมดพลังลงช่วงระหว่าง ค.ศ. 1962 กับกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 คลื่นล่าสุดเริ่มที่ปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2517) และยังดำเนินไปอยู่ การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยในละตินอเมริกาและกลุ่มตะวันออก (Eastern Bloc) เป็นส่วนของคลื่นลูกที่สามนี้

ตัวอย่างที่ดีของเขตที่ผ่านคลื่นทั้งสามก็คือตะวันออกกลาง ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 เขตนี้เป็นส่วนของจักรวรรดิออตโตมัน ในศตวรรษที่ 19 "เมื่อจักรวรรดิออตโตมันล้มลงในที่สุด ... ช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพชาวตะวันตกในที่สุดก็ได้เข้าไปยึดครองเขต" นี่เป็นทั้งการขยายอาณาเขตของชาวยุโรป และเป็นการสร้างประเทศเพื่อเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยด้วย

แต่ก็มีนักวิชาการที่อ้างว่า "การแบ่งกลุ่มชาติพันธุ์ ... เป็น (อุปสรรค) ที่ขวางความพยายามของสหรัฐเพื่อเปลี่ยนอิรักให้เป็นประชาธิปไตย" ซึ่งแสดงปัญหาที่น่าสนใจในเรื่องการรวมปัจจัยต่างชาติและภายในประเทศในกระบวนการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย นอกจากนั้นแล้ว ศ. ดร. เอ็ดวาร์ด เซด ยังกล่าวตำหนิความรู้สึกที่เป็นของคนตะวันตกโดยมากว่ามี "ความเข้ากันไม่ได้โดยธรรมชาติระหว่างค่านิยมทางประชาธิปไตยกับอิสลาม" ว่าเป็น "orientalist" คือเป็นไปตามความรู้สึกปรามาสและเรื่องที่ไม่เป็นจริงเกี่ยวกับ "คนตะวันออก" เขาเสนอเหตุผลว่า "ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือยังไม่มีปัจจัยที่ต้องมีก่อนการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย" (ไม่ใช่เพราะเข้ากันไม่ได้กับอิสลาม)

ส่วนนักข่าวผู้ชำนาญเรื่องการปกครองคนหนึ่ง ได้ตรวจสอบเรื่องความมั่นคงที่การโปรโหมดประชาธิปไตยช่วยเสริมสร้าง แล้วชี้ความสัมพันธ์ระหว่างระดับประชาธิปไตยกับระดับการก่อการร้ายในประเทศ แม้จะเป็นเรื่องที่ยอมรับว่า ความยากจนในประเทศมุสลิมเป็นเหตุแนวหน้าในการก่อการร้ายที่เพิ่มขึ้น นักข่าวก็ให้ข้อสังเกตว่า ผู้ก่อการร้ายหลักในเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544 เป็นคนชั้นกลางหรือคนชั้นสูง เขาเสนอว่า สังคมที่ผู้ก่อการร้ายของอัลกออิดะฮ์ใช้ชีวิต มักเป็นที่หาเงินได้ง่าย ๆ (เช่นจากน้ำมัน) และดังนั้นจึงไม่มีแรงจูงใจให้พัฒนาทางเศรษฐกิจหรือการเมือง เมื่อมีโอกาสมีส่วนร่วมทางการเมืองน้อย เยาวชนชาวอาหรับจึงได้ถูกล่อให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมอื่น ๆ เช่นในลัทธิต้นคัมภีร์อิสลาม (Islamic fundamentalism) การเจริญขึ้นของลัทธิต้นคัมภีร์อิสลาม และความรุนแรงที่เป็นผลในเหตุการณ์ 9/11 แสดงความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยธรรมชาติ และรัฐบาลประชาธิปไตยหรือที่มีกระบวนการทางประชาธิปไตย (เช่น การเปิดให้มีส่วนร่วมทางการเมือง) เป็นลานประชาคมที่จำเป็นเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง

ผู้ออกความเห็นคนหนึ่ง (Larry Pardy) ให้ข้อสังเกตว่า รัฐบาลมีแรงจูงใจเพื่อจะรักษาอำนาจโดยมีปัจจัยสองอย่าง คือ ความชอบธรรมและวิถีทาง ความชอบธรรมของรัฐบาลประชาธิปไตยจะได้จากการยอมรับของประชาชนผ่านการเลือกตั้งที่ยุติธรรมและเปิดเผย และวิถีทางด้านการเงินจะมาจากแหล่งภาษีที่สมบูรณ์อันเกิดจากเศรษฐกิจที่ดี โดยความสำเร็จทางเศรษฐกิจก็จะมาจากเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีที่มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ คือ สิทธิในทรัพย์สิน ฝ่ายตุลาการที่ยุติธรรมและเป็นอิสระ ความมั่นคง และหลักนิติธรรม อนึ่ง องค์ประกอบหลักที่สนับสนุนเสรีภาพทางเศรษฐกิจ ก็ยังสืบไปยังสิทธิพื้นฐานของปัจเจกบุคคลอีกด้วย ในนัยตรงข้าม เมื่อรัฐบาลสามารถกดขี่คู่แข่งทางการเมือง ก็จะไม่มีหลักนิติธรรม และเมื่อความมั่งคั่งสามารถยึดได้ตามใจชอบ ก็จะไม่มีสิทธิทางทรัพย์สิน

ตามนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง แบบจำลอง "ทางออก การมีเสียง และความจงรักภักดี (exit, voice, and loyalty model)" แสดงว่า ถ้าประชาชนสามารถมีทางออกไม่อยู่ใต้อาณัติของรัฐบาล ก็จะมีโอกาสเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยสูงกว่า คือ รัฐบาลอาจจะมีอำนาจอธิปไตยเหนือประชากรที่มีทางออกต่าง ๆ ได้ยาก และการออกไม่ใช่เป็นเพียงแค่ออกจากอาณาเขตของรัฐที่มีแต่บีบบังคับ แต่หมายเอาการตอบสนองปรับตัวที่ทำให้รัฐลำบากในการอ้างอำนาจอธิปไตยเหนือตนมากขึ้น รวมทั้งการปลูกพืชที่รัฐไม่สามารถนับได้ (และไม่สามารถเก็บภาษี) หรือเลี้ยงสัตว์ที่นำไปที่อื่นได้ง่ายกว่า

จริง ๆ แล้วกำเนิดของรัฐก็เป็นผลของการปรับตัวของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม และของการเลือกว่าจะอยู่หรือจะออกจากบริเวณนั้น ถ้าประชาชนมีอิสรภาพในการย้ายที่ แบบจำลองนี้พยากรณ์ว่า รัฐจะต้องเป็นตัวแทนของประชาชนเพื่อป้องกันไม่ให้ประชาชนไปที่อื่น ดังนั้น ถ้าบุคคลมีทางออกที่เป็นไปได้โดยไม่ต้องอยู่ใต้อาณัติของรัฐบาล ก็จะสามารถจำกัดพฤติกรรมตามอำเภอใจของรัฐบาลเพราะสามารถขู่ด้วยการเลือกทางออกได้

ประชาธิปไตยที่คงยืนเป็นเรื่องที่ยิ่งกว่าการเลือกตั้งที่ยุติธรรมและโปร่งใส มันต้องอาศัยพื้นฐานที่หนักแน่นของเสรีภาพทางเศรษฐกิจและทางการเมือง ที่ประชาชนในประเทศตะวันตกต้องแคะงัดจากรัฐบาลด้วยความยากลำบากเป็นศตวรรษ ๆ โดยเริ่มอย่างช้าก็ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1758 เมื่อพระเจ้าจอห์นทรงยอมรับข้อจำกัดต่อพระอำนาจ คือทรงยอมให้ประชาชนมีสิทธิตามมหากฎบัตร สมัยนั้นก็ดี แม้แต่สมัยนี้ก็ดี รัฐบาลจะมีแรงจูงใจสนับสนุนสิทธิเสรีภาพก็ต่อเมื่อมันมีผลโดยตรงต่อการรักษาและใช้อำนาจของรัฐบาล มันไม่ได้เกิดจากแนวคิดอุดมคติเกี่ยวกับประชาธิปไตยและเสรีภาพ จากการมีสัญญาโดยนัยกับประชาชน จากการเคี่ยวเข็ญของประเทศที่เป็นผู้บริจาค หรือการป่าวประกาศขององค์กรนานาชาติ

ตามนักวิชาการท่านหนึ่ง ดร. ฟุกุยะมะถูกแล้วในคำกล่าวถึงอวสานแห่งประวัติศาสตร์ เพราะประชาธิปไตยเสรีนิยมที่มีในประเทศตะวันตก เป็นที่สุดของวิวัฒนาการทางอุดมคติของมนุษย์ เป็นกลไกที่ระบบตลาดเสรีสามารถจัดสรรปันส่วนทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพโดยพึ่งอาศัยซึ่งกันและกันกับระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลจะมีแรงจูงใจปกป้องเศรษฐกิจ ในขณะที่มูลฐานของเศรษฐกิจเช่นนั้นก็จะสร้างปัจจัยของความเป็นประชาธิปไตย

ในบริบทอื่น ๆ

แม้การเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยมักจะกล่าวในเรื่องการเมืองระดับประเทศหรือท้องถิ่น แต่ก็สามารถใช้ในบริบทอื่น ๆ ได้ด้วย

องค์กรนานาชาติ

องค์กรนานาชาติ (เช่น สหประชาชาติ) มักจะมีข้อเรียกร้องให้ปฏิรูปและเปลี่ยนโครงสร้างการออกเสียงลงคะแนน และเปลี่ยนระบบการนับคะแนน

บริษัท

แนวคิดการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยสามารถประยุกต์ใช้ในบรรษัท ที่ทั่วไปมีโครงสร้างอำนาจแบบหัวหน้าสั่งลูกน้อง หรือหัวหน้ารู้ดีที่สุด ซึ่งต่างจากวิธีบริหารแบบปรึกษา ให้อำนาจแก่ลูกน้อง และการกระจายอำนาจการตัดสินใจไปทั่วบริษัท ดังที่สนับสนุนโดยขบวนการประชาธิปไตยในที่ทำงาน

อินเทอร์เน็ต

โครงสร้างแบบอนาธิปไตยของคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) และของตัวอินเทอร์เน็ตเอง เป็นแรงดลใจให้กลุ่มบางกลุ่มเรียกร้องให้ระบบการได้และการเสียชื่อโดเมนเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตย พวกเขาให้ข้อสังเกตว่าระบบการตั้งชื่อโดเมนขององค์กร ICANN เป็นส่วนที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและรวมศูนย์อำนาจมากที่สุดของอินเทอร์เน็ต โดยใช้แบบง่าย ๆ คือใครมาก่อนได้ก่อน

ความรู้

การเปลี่ยนความรู้ให้เป็นประชาธิปไตย คือการให้ความรู้กับบุคคลทั่วไป เทียบกับความรู้ที่จำกัดอยู่กับกลุ่มอภิสิทธิชน

การออกแบบ

มีความโน้มเอียงที่ผลิตภัณฑ์ออกแบบโดยนักออกแบบชื่อดัง จะมีราคาถูกลงซึ่งผู้บริโภคจำนวนมากขึ้นสามารถเข้าถึงได้ และความโน้มเอียงที่บริษัทจะออกแบบตามการตัดสินใจของผู้บริโภค

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. "Democratization", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (รัฐศาสตร์) การทำให้เป็นประชาธิปไตย
  2. Przeworski, Adam; และคณะ (2000). Democracy and Development: Political Institutions and Well-Being in the World, 1950-1990. Cambridge: Cambridge University Press.
  3. Rice, Tom W.; Ling, Jeffrey (2002-12-01). "Democracy, Economic Wealth and Social Capital: Sorting Out the Causal Connections". Space and Polity. 6 (3): 307–325. doi:10.1080/1356257022000031995. ISSN 1356-2576.
  4. Treisman, Daniel (2015-10-01). "Income, Democracy, and Leader Turnover". American Journal of Political Science (ภาษาอังกฤษ). 59 (4): 927–942. doi:10.1111/ajps.12135. ISSN 1540-5907.
  5. Traversa, Federico (2014). "Income and the stability of democracy: Pushing beyond the borders of logic to explain a strong correlation?". Constitutional Political Economy. 26: 121–136. doi:10.1007/s10602-014-9175-x.
  6. FENG, YI (1997-07). "Democracy, Political Stability and Economic Growth". British Journal of Political Science. 27 (3): 416, 391–418. doi:10.1017/S0007123497000197. Check date values in: |date= (help)
  7. Clark, William Roberts, Matt Golder, and Sona N. Golder. 2013. “Power and politics: insights from an exit, voice, and loyalty game.” Unpublished manuscript, University of Michigan and Pennsylvania State University.
  8. Acemoglu, Daron; James A. Robinson (2006). Economic Origins of Dictatorship and Democracy. Cambridge: Cambridge University Press.
  9. Gift, Thomas; Krcmaric, Daniel (2015). "Who Democratizes? Western-educated Leaders and Regime Transitions". Journal of Conflict Resolution. doi:10.1177/0022002715590878. สืบค้นเมื่อ 2015-12-23.
  10. Putnam, Robert (1993-03). "What makes democracy work?". National Civic Review. Check date values in: |date= (help)
  11. Olson, Mancur (1993). "Dictatorship, Democracy and Development". American Political Science Review.
  12. Therborn, Göran (1977). "The rule of capital and the rise of democracy: Capital and suffrage (cover title)". New Left Review. I. 103 (The advent of bourgeois democracy): 3–41.CS1 maint: ref=harv (link)
  13. . The Independent Review. 11 (2). Fall 2006. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2017-02-25. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  14. Krokowska, Katarzyna (2011). (PDF). Perceptions. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2017-03-12. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  15. Friedman, Milton (1962). Capitalism and Freedom. p. 86.
  16. Alemán, Eduardo; Kim, Yeaji (2015-10-01). "The democratizing effect of education". Research & Politics (ภาษาอังกฤษ). 2 (4): 2053168015613360. doi:10.1177/2053168015613360. ISSN 2053-1680.
  17. Manger, Mark S.; Pickup, Mark A. (2016-02-01). "The Coevolution of Trade Agreement Networks and Democracy". Journal of Conflict Resolution (ภาษาอังกฤษ). 60 (1): 164–191. doi:10.1177/0022002714535431. ISSN 0022-0027.
  18. Pevehouse, Jon C. (2002-06-01). "Democracy from the Outside-In? International Organizations and Democratization". International Organization. 56 (03): 515–549. doi:10.1162/002081802760199872. ISSN 1531-5088.
  19. Debs, Alexandre (2016-02-18). "Living by the Sword and Dying by the Sword? Leadership Transitions in and out of Dictatorships". International Studies Quarterly (ภาษาอังกฤษ): sqv014. doi:10.1093/isq/sqv014. ISSN 0020-8833.
  20. Cheibub, Jose Antonio; Ghandi, Jennifer; Vreeland, James (2010). "Democracy and Dictatorship Revisited". Public Choice.
  21. Smith, Peter (2005). Democracy in Latin America. Oxford University Press.
  22. Brancati, Dawn (2016). Democracy Protests: Origins, Features and Significance. Cambridge: Cambridge University Press.
  23. Aidt, Toke S.; Leon, Gabriel (2016-06-01). "The Democratic Window of Opportunity Evidence from Riots in Sub-Saharan Africa". Journal of Conflict Resolution (ภาษาอังกฤษ). 60 (4): 694–717. doi:10.1177/0022002714564014. ISSN 0022-0027.
  24. Herbst, Jeffrey (1990). ""War and the State in Africa". International Security: 117–139.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  25. Glaeser, Edward L.; Steinberg, Bryce Millett (2016-11-01). "Transforming Cities: Does Urbanization Promote Democratic Change?". National Bureau of Economic Research. Cite journal requires |journal= (help)
  26. Dunning, Thad (2008). "1". Crude Democracy: Natural Resource Wealth and Political Regimes. Cambridge University Press. p. 3.CS1 maint: ref=harv (link)
  27. Dunning 2008, ch. 1, p. 21
  28. Dunning 2008, ch. 1, p. 34
  29. "When Dictators Die". Foreign Policy. สืบค้นเมื่อ 2016-02-26.
  30. Berman, Sheri (2007-01). (PDF). Journal of Democracy. 18 (1). คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2012-02-11. สืบค้นเมื่อ 2017-08-01. Check date values in: |date= (help)
  31. "Origins and growth of Parliament". The National Archives. สืบค้นเมื่อ 2015-04-07.
  32. "Britain's unwritten constitution". British Library. สืบค้นเมื่อ 2015-11-27. The key landmark is the Bill of Rights (1689), which established the supremacy of Parliament over the Crown.... The Bill of Rights (1689) then settled the primacy of Parliament over the monarch's prerogatives, providing for the regular meeting of Parliament, free elections to the Commons, free speech in parliamentary debates, and some basic human rights, most famously freedom from 'cruel or unusual punishment'.
  33. "Constitutionalism: America & Beyond". Bureau of International Information Programs (IIP), U.S. Department of State. สืบค้นเมื่อ 2014-10-30. The earliest, and perhaps greatest, victory for liberalism was achieved in England. The rising commercial class that had supported the Tudor monarchy in the 16th century led the revolutionary battle in the 17th, and succeeded in establishing the supremacy of Parliament and, eventually, of the House of Commons. What emerged as the distinctive feature of modern constitutionalism was not the insistence on the idea that the king is subject to law (although this concept is an essential attribute of all constitutionalism). This notion was already well established in the Middle Ages. What was distinctive was the establishment of effective means of political control whereby the rule of law might be enforced. Modern constitutionalism was born with the political requirement that representative government depended upon the consent of citizen subjects.... However, as can be seen through provisions in the 1689 Bill of Rights, the English Revolution was fought not just to protect the rights of property (in the narrow sense) but to establish those liberties which liberals believed essential to human dignity and moral worth. The "rights of man" enumerated in the English Bill of Rights gradually were proclaimed beyond the boundaries of England, notably in the American Declaration of Independence of 1776 and in the French Declaration of the Rights of Man in 1789.
  34. "Citizenship 1625-1789". The National Archives. สืบค้นเมื่อ 2010-08-22.
  35. "Expansion of Rights and Liberties - The Right of Suffrage". Online Exhibit: The Charters of Freedom. National Archives. สืบค้นเมื่อ 2015-04-21.
  36. Freedom House เป็นองค์การนอกภาครัฐที่ได้รับทุน 66-85% จากรัฐบาลกลางสหรัฐระหว่างปี 2549-2558 เพื่อทำงานสนับสนุนและวิจัยในเรื่องประชาธิปไตย เสรีภาพทางการเมือง และสิทธิมนุษยชน องค์กรทำรายงานประจำปีรวมทั้ง
    • รายงานเสรีภาพในโลก (Freedom in the World Report) ซึ่งประเมินเสรีภาพทางการเมืองและเสรีภาพของพลเรือน เป็นรายงานที่นักรัฐศาสตร์ นักข่าว และผู้ออกนโยบายรัฐ อ้างอิงบ่อย ๆ
    • รายงาน เสรีภาพของนักข่าว (Freedom of the Press) และ เสรีภาพของอินเทอร์เน็ต (Freedom of Net) ซึ่งตรวจตราการตรวจพิจารณา (การเซ็นเซอร์) การคุกคามและความรุนแรงต่อนักข่าว และการเข้าถึงข้อมูลได้ของประชาชน
    แม้องค์การจะถูกตำหนิโดยกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้ง รัสเซีย จีน คิวบา ซูดาน พร้อมทั้งนักรัฐศาสตร์และนักปฏิบัติการทางการเมืองของสหรัฐเอง แต่งานวิเคราะห์ของนักวิชาการพวกหนึ่ง (Kenneth A. Bollen) ก็ไม่พบความเอนเอียงอย่างเป็นระบบของดัชนีที่เป็นผลงาน ส่วนอีกงานหนึ่ง (Mainwaring et. al) พบความเอนเอียงอย่างเป็นระบบสองอย่าง แม้ค่าที่ได้เกี่ยวกับประเทศลาตินอเมริกาจะสัมพันธ์กับที่พบในงานวิเคราะห์ของกลุ่มอื่น ๆ
  37. "Study: Nonviolent Civic Resistance Key Factor in Building Durable Democracies". 2005-05-24.
  38. Farr, Ken; Lord, Richard A; Wolfenbarger, J Larry (1998). "Economic Freedom, Political Freedom, and Economic Well-Being: A Causality Analysis". Cato Journal. 18 (2): 247–262.CS1 maint: uses authors parameter (link) Full PDF 2005-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  39. Roberts, Alasdair S (2008-12-23). "Empowerment or Discipline? Two Logics of Governmental Reform". Social Science Research Network.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  40. Huntington, Samuel P. (1991). Democratization in the Late 20th century. Norman: University of Oklahoma Press.
  41. Simon, Bromley (1994). Rethinking Middle East Politics: State Formation and Development. Cambridge: Polity Press.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  42. doi:10.1111/j.1949-3606.2007.tb00069.x
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  43. Zakaria, Fareed (2007). The Future of Freedom: Illiberal Democracy at Home and Abroad. W.W. Norton. p. 138.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  44. C., Scott, James (2010). The Art of not being governed : an anarchist history of upland Southeast Asia. NUS Press. p. 7. ISBN 9780300152289. OCLC 872296825.
  45. "Power and politics: insights from an exit, voice, and loyalty game" (PDF).
  46. Pardy, Larry D (2014). Understanding the Determinants of Democracy: Opening the Black Box. Amherst, NS.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  47. Harry (2007). . คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2017-01-09. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)CS1 maint: uses authors parameter (link)

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Thomas Carothers. Aiding Democracy Abroad: The Learning Curve. 1999. Washington, DC: Carnegie Endowment for International Peace.
  • Josep M. Colomer. Strategic Transitions. 2000. Baltimore, Md: The Johns Hopkins University Press.
  • Daniele Conversi. 'Demo-skepticism and genocide', Political Science Review, September 2006, Vol 4, issue 3, pp. 247-262
  • Haerpfer, Christian; Bernhagen, Patrick; Inglehart, Ronald & Welzel, Christian (2009), Democratization, Oxford: Oxford University Press, ISBN 9780199233021
  • Inglehart, Ronald & Welzel, Christian (2005), Modernization, Cultural Change and Democracy: The Human Development Sequence, New York: Cambridge University Press, ISBN 9780521846950
  • Muno, Wolfgang. "Democratization" (2012). University Bielefeld - Center for InterAmerican Studies.
  • Frederic C. Schaffer. Democracy in Translation: Understanding Politics in an Unfamiliar Culture. 1998. Ithaca, NY: Cornell University Press.
  • Fareed Zakaria. The Future of Freedom: Illiberal Democracy at Home and Abroad. 2003. New York: W.W. Norton.
  • Christian Welzel. Freedom Rising: Human Empowerment and the Quest for Emancipation. 2013. New York: Cambridge University Press.
  • Tatu Vanhanen. Democratization: A Comparative Analysis of 170 Countries. 2003. Routledge.
  • International IDEA
  • Did the United States Create Democracy in Germany?

การทำให, เป, นประชาธ, ปไตย, หร, การเปล, ยนเป, นประชาธ, ปไตย, งกฤษ, democratization, เป, นการเปล, ยนระบอบการปกครองให, เป, นประชาธ, ปไตยย, งข, งอาจหมายถ, งการเปล, ยนแปลงทางการเม, องอย, างสำค, ญไปในทางประชาธ, ปไตย, การเปล, ยนจากระบอบอำนาจน, ยมไปเป, นประชาธ, ปไตยอ. karthaihepnprachathipity 1 hrux karepliynepnprachathipity xngkvs Democratization epnkarepliynrabxbkarpkkhrxngihepnprachathipityyingkhun sungxachmaythungkarepliynaeplngthangkaremuxngxyangsakhyipinthangprachathipity karepliyncakrabxbxanacniymipepnprachathipityxyangsmburn cakrabxbxanacniymipepnkungprachathipity hruxcakkungprachathipity xanacniymipepnprachathipityxyangsmburn sungxacmiphlepnkhwammnkhngthangprachathipity dngthishrachxanackrepntwxyang hruxxaccaklbipklbmabxy dngthi xarecntinaepntwxyang rupaebbtang khxngkarepliynepnprachathipitymkichxthibaypraktkarnthangkaremuxngxun echn praethscaerimthasngkhramhruxim esrsthkiccaetibothruxim krabwnkarmipccyhlayxyangrwmthngphthnakarthangesrsthkic prawti aelaprachasngkhm phlsungsudkhxngkrabwnkarnikephuxpraknwa prachachncamisiththixxkesiyngeluxktng aelamiswntdsinicinrabxbkarpkkhrxng enuxha 1 ehtu 1 1 khwamrarwy 1 2 khwamethaethiymknthangsngkhm 1 3 wthnthrrm 1 4 khaniymkhxngsngkhm 1 5 klumxanactang inphumiphakhediywkn 1 6 karaethrkaesngcakpraethsxun 1 7 karsuksa 1 8 karkhakhayrahwangpraeths 1 9 karrwmmuxrahwangpraeths 1 10 rupaebbrabxbephdckar 1 11 karprathwngephuxprachathipity 1 12 physngkhramemuxng 1 13 karkxsngkhram 1 14 karepliynepnchumchnemuxng 1 15 thrphyakrthrrmchati 1 16 phukhrxngxanacephdckar 2 karepliynaeplng 2 1 krniinprawtisastr 2 2 tngaet ph s 2515 3 twbngchi 4 mummxngtang 5 inbribthxun 5 1 xngkhkrnanachati 5 2 bristh 5 3 xinethxrent 5 4 khwamru 5 5 karxxkaebb 6 duephim 7 echingxrrthaelaxangxing 8 aehlngkhxmulxunehtu aekikhmieruxngthkethiyngimichnxyekiywkbpccythimiphl odythisudthicakdkarepliynepnprachathipity pccymakmayrwmthngesrsthkic wthnthrrm aelaprawtisastr lwnxangwamiphltxkrabwnkar odythixangbxymakthisudcaklawinhwkhxtx ip khwamrarwy aekikh karmiphlitphnthmwlrwminpraeths GDP txprachakrthisungkwa smphnthkbprachathipity odybangkhnxangwa rthprachathipitysungrwythisudimekhypraktwatkxyuitlththixanacniym 2 aetkarkhunsuxanackhxnghitelxraelaphrrkhnasiinsatharnrthiwmar kepntwxyangkhdkhanthichdecn aemintnkhristthswrrs 1930 eyxrmnicamiesrsthkicthikawhna aetinewlathihitelxrkhunsuxanac praethskkalngephchiywikvtikarnthangesrsthkicthierimtngaetsngkhramolkkhrngthi 1 sungidaeylngephraaphawaesrsthkictktakhrngihyyngmikhxsngektthwipwa prachathipityekidkxnkarptiwtixutsahkrrmnxymak nganwicyechinghlkthancungthaihnkwichakarhlaykhnechuxwa phthnakarthangesrsthkicthaimephimoxkasepliynepnprachathiipty kcachwyprachathipitythiekidihmihmnkhngyingkhun 2 3 ngansuksahnungphbwa phthnakarthangesrsthkiccakratunihepliynepnprachathipityaettxngepnrayaewlapanklang khux 10 20 pi ephraaaemphthnakarxacsrangkhwammnkhngihaekphunathixyuinxanac aetkarcaihlukhruxkhnechuxicxunsubthxdxanactxipkepneruxngyak 4 thungkrann karthkethiyngwa prachathipityepnphlkhxngkhwamrarwy epnehtu hruximsmphnthkn kyngepneruxngyngimyuti 5 ngansuksaxiknganhnungaesdngwa phthnakarthangesrsthkiccakhunxyukbesthiyrphaphthangkaremuxngkhxngpraethsephuxcamiphloprohmtprachathipityid 6 nkwichakarklumhnungxthibaywa imichkarephimkhwamrarwyinpraethsexngthimixiththiphltxkarepliynepnprachathipity aetepnkhwamepliynaeplngkhxngokhrngsrangthangsngkhm esrsthkicthiekidcakkhwamrarwy odyminkwichakarxun thixangwa khwamepliynaeplngthangokhrngsrangepnehtuhlk thipraethsyuorpklayepnprachathipityemuxokhrngsrangthangsngkhmesrsthkicepliynip ephraakhwamkawhnathaihekstrkrrmmiprasiththiphaphmakkhun cungmikarlngthunthngewlaaelathrphyakrxun ephuxichinkarphlitaelakarbrikar yktwxyangechn inpraethsxngkvs smachikkhxngphwkphudiidlngthuninkickarkhamakkhun thaihphwktnmikhwamsakhythangesrsthkictxpraethsmakkhun kickrrmeyiyngnicamaphrxmkbxanacthangesrsthkic ephraathrphysmbtinbidyakkhun dngnn rthcunghkphasiidyakkhun ephraaehtuni karplnsadmthrphytrng cungepnipimid aeladngnn rthcungtxngtxrxngkbxphisiththichnthangesrsthkicrunihmephuxcaharayid khxtklngaebbyngyunklayepneruxngcaepn ephraarthtxngxasyprachachnthiyngkhngkhwamcngrkphkdi dngnn prachachncungidxanacaesdngesiynginkrabwnkartdsinickhxngpraeths 7 khwamethaethiymknthangsngkhm aekikh nkwichakarkhuhnungxangwa khwamsmphnthkhxngkhwamethaethiymknthangsngkhmkbkarepliynepnprachathipityepneruxngsbsxn prachachncamiaerngcungicephuxkbtnxykwainsngkhmthiethaethiymkn dngnn karepliynepnprachathipitykcamioxkasnxykwa ethiybkbsngkhmthiimethaethiymknaebbsudotng echn aexfrikaitphayitrabbkarthuxphiw karcdsrrpnswnkhxngthngkhwammngkhngaelaxanacphayitrabxbprachathipitycaepnphlraytxxphisiththichn phwkekhacungtxngthathukxyangephuximihekidkarepliynaeplng swninpraethsthixyutrngklang thiimsudotng karepliynepnprachathipitycamioxkassungkwa odyxphisiththichncayxmihephraa 1 phicarnawakarkbtxacepnipid 2 rakhakhxngkaryinyxmimsungekinip 8 khwamkhadhwngechnniekhakbhlkthankarthdlxngthiaesdngwa prachathipitycaesthiyrphaphkwainsngkhmthiethaethiymkn 2 wthnthrrm aekikh miphuthixangwa wthnthrrmbangxyangekhakbkhaniymprachathipityidmakkwa sungxacepnmummxngaebbchatiphnthuniym ephraapktiaelw caxangwawthnthrrmtawntk ekhaiddithisud kbprachathipity aelaxangwthnthrrmxunwa mikhaniymthithaihprachathipityepneruxngyakhruxepnsingimphungprarthna epnkhxxangthibangkhrngichodyrabxbkarpkkhrxngxun ephuxaektangkhwamlmehlwinkarptirupephuxprachathipity aetinpccubn mirthprachathipitythiimichkhntawntkmakmay rwmthngxinediy yipun xinodniesiy namiebiy bxtswana ithwn aelaekahliit minganwicythiphbwa phunathiidkarsuksainpraethstawntkcaephimoxkasepliynepnprachathipityxyangsakhy 9 khaniymkhxngsngkhm aekikh minkwichakarthixangwa milksnabangxyangthithaihsngkhmmioxkasmiwthnthrrmkarthanganephuxswnrwmmakkwa aelathaihekidprachathipityaebbmiswnrwmsungkwa khuxchumchnthimiekhruxkhayxngkhkrphlemuxngthichwyprbprungduaellaaewkban thimiokhrngsrangepn aenwnxn khuxmismachikmithana xiththiphlethaethiymkn cachwysrang khwamechuxic karchwyehluxsungknaelakn aelakarmiswnrwminthanaphlemuxng iddikwa sungnaipsukarepliynaeplngepnprachathipity aelacaepnprachathipityaebbmiswnrwmthidaeninkaridxyangmiprasiththiphaphkwa ethiybkbekhruxkhaythimiokhrngsrangepnaenwtng khuxmikarcdtaaehnngkarnganepnchn hruxthimikhwamsmphnthaebbphuxupthmph phuphungpha sungkcamioxkassrangwthnkrrmkarmiswnrwmkhxngphlemuxngthicaepninkarepliynepnprachathipitynxykwa 10 klumxanactang inphumiphakhediywkn aekikh nkwichakarxikkhnhnungkhadwa karepliynepnprachathipitycaekidkhunemuxxphisiththichnimsamarthkhunruprabxbxttathipityid sungekidkhunemuxmiklumxanactang xyurwmkninekhtphumiphakhhnung xnthaihxphisiththichncaepntxngsrangsthabnprachathipityaelasthabntwaethnephuxkhwbkhumekhtnn aelaephuxcakdxiththiphlkhxngklumxphisiththichnphuepnkhuaekhng 11 karaethrkaesngcakpraethsxun aekikh prachathipitybangkhrngekidephraakaraethrkaesngthangthharkhxngpraethsxun dngthiekidinyipunaelaeyxrmnihlngsngkhramolkkhrngthi 2 12 13 xisrphaphcakkarepnxananikhmbangkhrngkxanwyihkxtngprachathipity thitxmaimnankthukaethnthidwyrabxbxanacniym twxyangechn sieriyhlngcakidxisrphaphcakxantikhxngfrngessemuxtnsngkhrameyn imidthaprachathipityihmnkhng aelwinthisudklmaelathukaethnthidwyrabxbephdckarkhxngphrrkhbaxth 14 karsuksa aekikh mithvsdimananaelwwa karsuksacachwyoprohmtsngkhmprachathipitythimnkhng 15 nganwicyaesdngwa karsuksathaihyxmrbkhwamaetktangthangkaremuxngidmakkwa ephimoxkaskarmiswnrwm aelaldkhwamimethaethiymkn 16 nganwicyhnungphbwa karephimradbkarsuksacaephimradbprachathipity odyphlkhxngkarsuksatxkarepliynepnprachathipitycamiphlngyingkwainpraethsyakcn 16 karkhakhayrahwangpraeths aekikh ngansuksapi 2559 phbwa khwamtklngkhakhayaebbburimsiththi PTA kratunihpraethsepliynepnprachathipity odyechphaathakhukhwamtklngkepnrthprachathipityexngdwy 17 karrwmmuxrahwangpraeths aekikh ngansuksapi 2545 phbwa karepnsmachikinxngkhkrnanachati smphnthkbkarepliynepnprachathipityinchwngpi 2493 2535 18 rupaebbrabxbephdckar aekikh rabxbephdckarsamxyang khux rachathipity ephdckarphleruxn aelaephdckarthhar caepliynepnprachathipityodytangknephraamiepahmaytangkn ephdckarkhxngphrarachaaelaphleruxntxngkarxyuinxanacxyangimmikahnd phankarsubthxdphrarachwngssahrbphrarachaaelakarkdkhistrusahrbephdckarphleruxn swnephdckarthharcayudxanacaelwptibtikarepnrthbalrksakar ephuxthdaethnrthbalphleruxnthiphicarnawabkphrxng ephdckarthharmioxkasepliynepnprachathipitymakkwa ephraatngaeterimkhmayepnaekhkaraekpyhachwkhrawinkhnathikalngtngrthbalthiyxmrbidihm 19 20 21 karprathwngephuxprachathipity aekikh karprathwngephuxprachathipitysmphnthkbkarepliynepnprachathipity nganwicypi 2559 phbwa krni 1 in 4 khxngkarprathwngephuxprachathipityrahwangpi 2532 2554 thaihekidkhwamepliynaeplngepnprachathipity 22 physngkhramemuxng aekikh nganwicyaesdngwa physngkhramemuxngkratunihphupkkhrxngyxmepliynaeplngipinthangprachathipity ngansuksapi 2559 phbwa karclaclehtukhwamaehngaelnginaexfrikaitsaharathaihphupkkhrxngekrngsngkhramkaremuxng aelwyxmrbkhwamepliynaeplngthangprachathipity 23 karkxsngkhram aekikh inbthkhwamthiidrbkhwamykyxngchuxwa sngkhramaelasphaphinaexfrika War and the state in Africa nkrthsastrchawxemriknxthibaywa praethsinyuorpekidkhunxasykarthasngkhramsungepnehtuthiimmixyanghnunginaexfrikapccubn khuxsngkhramepnehtuihrthtxngmiprasiththiphaphmakkhuninkarekbrayid bngkhbihphunatxngcdrabbkarbriharpkkhrxngihdikhun aelasrangsphaphaewdlxmthiprachachncarusuksamkhkhikn dngthiphbinrthyuorpthiesiyngtxkarthukrukranhruxekidsngkhramxyangchbphlnkbpraethsephuxnbankarbngkhbihrawngraiwechnnithaihekidphthnakarekbphasithidikhun ephraarththiimmirayidphxthasngkhramkcasuyesiyexkrach sngkhramyngsrangkhwamsmphnthrwmknthimiphlngrahwangrthkbprachachn ephraaprachachnkcarusukthungphyehmuxnkbrth aelatxngxasypraethsephuxthicaecriyrungeruxngid karthasngkhramthaihprachachnrusukwaepnswnkhxngrthmakkhun 24 karepliynepnchumchnemuxng aekikh minganwicythiaesdngwa karepliynepnchumchnemuxngmakkhunodywithitang chwykarepliynepnprachathipity 25 thrphyakrthrrmchati aekikh khaxthibayhnungsahrbkarklbipepnprachathipitykhxngpraethsexkwadxr xnepnehtukarnthikhankhwamehnthwipwa rayidcakthrphyakrthrrmchatimkkratunihekidrthbalephdckar kkhux misthankarnbangxyangthirayidcakthrphyakrthrrmchati echncaknamn caldkhwamesiyngthinoybaythangsngkhmcamitxxphisiththichn ephraarthmirayidxunephuxepnngbpramandaeninkarnoybaysngkhm odyimekiywphnkbkhwammngkhnghruxrayidkhxngxphisiththichn 26 aelainpraethsthimakipdwykhwamimethaethiymkn echnexkwadxrinchwngkhristthswrrs 1970 phlkkhuxoxkaskarepliynepnprachathipitycaephimkhun 27 rthpraharkhxngthharinexkwadxrpi 2515 miehtuodymakcakkhwamekrngklwkhxngxphisiththichnwa camikarprbkracayrayid 28 aetinpiediywkn namnkklayepnaehlngrayidephimying khunkhxngpraeths 28 aemrayidinchwngaerknncaichephuxngbpramanthangthhar aetrayidthiephimkhuninpi 2522 txmaiddaeninkhnankbkarepliynklbipepnprachathipitykhxngpraethsxik 28 nkwichakarcungxangwa karepliynklbipepnprachathipitykhxngexkwadxr miehtucakkarephimrayidcaknamnxyangsakhy sungimephiyngephimngbpramankhxngrth aetyngldkhwamklwkhxngxphisiththichnwa rayid khwammngkhngkhxngtncathukprbkracayipichepnngbpramankhxngrth 28 karaeswnghapraoychncakthrphyakrthrrmchatithaihrthbalsamarthxxknoybayekiywkbrakhasinkhaaelasincang thiihpraoychnaekprachachnodythixphisiththichnimmiphlkrathb aelwcungekidkarepliynaeplngaelakaretibotkhxngsthabnprachathipitytang 28 phukhrxngxanacephdckar aekikh karesiychiwitkhxngphuephdckar nxykhrngthicaepliynrabxbkarpkkhrxngihepnprachathipity nkwiekhraahrayhnungphbwa inbrrdaphuephdckar 79 thanthiidesiychiwitinxanac ph s 2489 2557 inkrniodymak 92 rabxbkarpkkhrxngkdaenintxiphlngcakkaresiychiwit 29 karepliynaeplng aekikhphthnakarihepnprachathipitybxykhrngcha runaerng aelathxyklbbxy 30 krniinprawtisastr aekikh inpraethsxngkvs sngkhramklangemuxngxngkvs ph s 2185 2194 epnsngkhramrahwangphrarachaaelarthsphathiidrbeluxktngaetmilksnakhxngkhnathipity 31 txma yukhrthinxarkkha 2196 2202 aelaehtukarnkarfunfurachwngsxngkvs 2203 2231 cungidkhunkarpkkhrxngaebbxttathipity inpi 2231 kekidkarptiwtixnrungorcnthitngrthsphathiekhmaekhng aelwphanphrarachbyytiwadwysiththiphunthankhxngphlemuxng kh s 1689 sungbyytisiththiesriphaphkhxngprachachnbangxyang 32 byytibngkhbihmikareluxktngepnpraca tngkdesriphaphinkarphudinrthspha aelacakdxanackhxngphraracha sungrbrxngwa odyimehmuxnyuorpodymakinyukhnn smburnayasiththirachycaimmichy 33 34 aettxngrxcnthungrachbyytikarmitwaethnkhxngprachachnpi 2427 Representation of the People Act 1884 thiprachachnchayswnihycamisiththixxkesiyngeluxktngkarptiwtixemrika 2308 2326 idkxtngshrthxemrika cakmummxngtang mnepnchychnathangxudmkhti ephraaepnsatharnrththiaethcringodyimekhymiphuephdckarskkhnhnung aemsiththikarxxkesiyngeluxktngcacakdihchayphiwkhawxemriknphumithidininebuxngtn 35 aetthaskyngimidelikodyechphaainrthphakhitcnkrathngkaraekikhephimetimrththrrmnuyhlngsngkhramklangemuxngxemrika 2404 2408 aelachawxemriknechuxsayaexfrikakimidsiththiphlemuxngcnkrathngkhristthswrrs 1960karptiwtifrngess 2332 thaihkhncanwnmaksamarthxxkesiyngeluxktngidepnewlasn aetktamdwysngkhramptiwtifrngess 2335 2345 aelasngkhramnopeliyn 2346 2358 thiyawnankwa 20 pi karptiwtichwng French Directory 2338 2342 milksnathangkhnathipitymakkwa ckrwrrdifrngessthihnung 2347 2358 aelwtamdwykarkhunsurachbllngkkhxngrachwngsburbng 2358 2373 thngsxngkklbkhunkarpkkhrxngaebbxttathipity swnsatharnrthfrngessthi 2 txma 2391 2395 kidihsiththixxkesiyngeluxktngthwipaekchay aetaelwktammadwyckrwrrdifrngessthisxng 2395 2413 txngxasysngkhramfrngess prsesiy 2413 2414 cungidtngsatharnrthfrngessthi 3 2413 2483 ckrwrrdieyxrmntngkhunemuxpi 2414 aelwtamdwysatharnrthiwmarhlngsngkhramolkkhrngthi 2 txmanasieyxrmnicungkhunkarpkkhrxngaebbxttathipitycnkrathngaephsngkhramolkkhrngthi 2rachxanackrxitalisungtngkhunhlngkarrwmexkrachkhxngxitaliinpi 2404 epnrachathipityphayitrththrrmmnuy thiphrarachathrngmixanackhxnkhangmak txmalththifassistxitalicungtngrabxbephdckarkhunhlngsngkhramolkkhrngthi 1 cnkrathngphayhlngsngkhramolkkhrngthi 2 cungepliynepnsatharnrthxitalidngpccubnyukhemcihlngpi 2411 epncuderimprbpraethsyipunihthnsmy odymikarptirupthangprachathipityxyangcakddwy txmainyukhithoch 2455 2469 cungmikarptirupephimkhun aetyukhochwakxnsngkhram 2469 2488 thitammakphlikklbcnkrathngyutisngkhramolkkhrngthi 2 tngaet ph s 2515 aekikh tamngansuksaody fridxmehas 36 inpraeths 67 praethsthirabxbephdckaridlmlngtngaetpi 2515 kartxtankhxngphlemuxngthiimichkhwamrunaerngepnpccythimikalnginkrni 70 epxresnt odyimidenuxngcakkarrukrankhxngpraethsxun aelaminxymakthienuxngcakkarkxkarkaeribthiichxawuth hruxenuxngcakkarptirupthixphisiththichnsmkhricerimexng aetxyangthwmthnenuxngcakptibtikarkhxngxngkhkrprachasngkhmephuxprachathipitythiimichwithikarrunaerng aelaenuxngcakkartxtanaebbsntixun echn karndhyudngan karkhwabatr karkhdkhunecahnathi kdhmayxyangsngb aelakarchumnumprathwng 37 twbngchi aekikhineruxngkarepliynepnprachathipity xngkhkr fridxmehas 36 thangansarwcthithrngxiththiphl sungerimkhuninrahwangsngkhrameyn xngkhkrpccubnepnsthabnnoybay think tank thiphlitraynganesriphaphthikhrxbkhlumkwangkhwangmakthisudnganhnungthnginpraethsaelainrahwangpraeths sungodypriyaykepnrayngankarepliynepnprachathipitydwy xngkhkrcdhmwdhmupraethsthnghmdinolktamkha 7 xyangodymikhathamkwa 200 khathaminngansarwc aelamiecahnathihlaykhninthuk praeths khaaenncakswntang khxngkarsarwccasruppraethslngin 3 hmwd khux esri kungesri aelaimesringansuksahnungthitrwckhwamsmphnthrahwangesrsthkictladesri wddwydchniesriphaphthangesrsthkic phthnakarthangesrsthkic wddwyphlitphnthmwlrwminpraeths GDP prachakr aelaesriphaphthangkaremuxng wddwydchnifridxmehas phbwa esriphaphthangesrsthkicradbsungcaephim GDP prachakr sungkpxnklbephimesriphaphthangesrsthkic GDP prachakryngephimesriphaphthangkaremuxngxikdwy aetesriphaphthangkaremuxngimidephim GDP prachakr aelaesriphaphthangesrsthkickimsmphnthkbesriphaphthangkaremuxngodytrng tha GDP prachakrxyukhngthi 38 mummxngtang aekikhnkrthsastr esrsthsastrchawxemrikn s dr fransis fukuyama idekhiynbthkhwameruxngkarepliynepnprachathipitythikhlassikxiknganhnunginchuxeruxng xwsarprawtisastraelamnusykhnsudthay The End of History and the Last Man sungklawthungkarekidkhunkhxngprachathipityesriniymwaepnrupaebbkarpkkhrxngsudthaykhxngmnusy aetkmiphuxangwa karkhyayptirupesrsthkicihesri miphlphsmphestxkarepliynepnprachathiity khuxxangwa cakhlay mummxng sthabnthangprachathipitytang thukcakdhruxthukkhngiwephuxpraoychnkhxngtladthunnanachati hruxephuxxanwykarkhakhaythwolk 39 swnnkrthsastrchawxemrikn s dr samuexl hntingtn idekhiynhnngsuxchuxwa khlunlukthi 3 karepliynepnprachathipityinplaykhriststwrrsthi 20 The Third Wave Democratization in the Late 20th century sungekhakahndkhlunkarepliynepnprachathipity 3 lukthiekidinprawtisastr 40 khlunlukaerknaprachathipitymasuyuorptawntkaelaxemrikaehnuxinkhristthswrrsthi 19 aelwtamdwykarekidrabxbephdckarchwnginrahwangsngkhramolkthng 2 lukthisxngekidhlngsngkhramolkkhrngthi 2 aethmdphlnglngchwngrahwang kh s 1962 kbklangkhristthswrrs 1970 khlunlasuderimthipi kh s 1974 ph s 2517 aelayngdaeninipxyu karepliynepnprachathipityinlatinxemrikaaelaklumtawnxxk Eastern Bloc epnswnkhxngkhlunlukthisamnitwxyangthidikhxngekhtthiphankhlunthngsamkkhuxtawnxxkklang inkhriststwrrsthi 15 ekhtniepnswnkhxngckrwrrdixxtotmn instwrrsthi 19 emuxckrwrrdixxtotmnlmlnginthisud chwngthaykhxngsngkhramolkkhrngthi 2 kxngthphchawtawntkinthisudkidekhaipyudkhrxngekht 41 niepnthngkarkhyayxanaekhtkhxngchawyuorp aelaepnkarsrangpraethsephuxepliynepnprachathipitydwyaetkminkwichakarthixangwa karaebngklumchatiphnthu epn xupsrrkh thikhwangkhwamphyayamkhxngshrthephuxepliynxirkihepnprachathipity sungaesdngpyhathinasnicineruxngkarrwmpccytangchatiaelaphayinpraethsinkrabwnkarepliynepnprachathipity 42 nxkcaknnaelw s dr exdward esd yngklawtahnikhwamrusukthiepnkhxngkhntawntkodymakwami khwamekhaknimidodythrrmchatirahwangkhaniymthangprachathipitykbxislam waepn orientalist khuxepniptamkhwamrusukpramasaelaeruxngthiimepncringekiywkb khntawnxxk ekhaesnxehtuphlwa tawnxxkklangaelaaexfrikaehnuxyngimmipccythitxngmikxnkarepliynepnprachathipity imichephraaekhaknimidkbxislam swnnkkhawphuchanayeruxngkarpkkhrxngkhnhnung idtrwcsxberuxngkhwammnkhngthikaroprohmdprachathipitychwyesrimsrang aelwchikhwamsmphnthrahwangradbprachathipitykbradbkarkxkarrayinpraeths aemcaepneruxngthiyxmrbwa khwamyakcninpraethsmuslimepnehtuaenwhnainkarkxkarraythiephimkhun nkkhawkihkhxsngektwa phukxkarrayhlkinehtukarnwinaskrrm 11 knyayn ph s 2544 epnkhnchnklanghruxkhnchnsung ekhaesnxwa sngkhmthiphukxkarraykhxngxlkxxidahichchiwit mkepnthihaenginidngay echncaknamn aeladngnncungimmiaerngcungicihphthnathangesrsthkichruxkaremuxng 43 emuxmioxkasmiswnrwmthangkaremuxngnxy eyawchnchawxahrbcungidthuklxihmiswnrwminkickrrmxun echninlththitnkhmphirxislam Islamic fundamentalism karecriykhunkhxnglththitnkhmphirxislam aelakhwamrunaerngthiepnphlinehtukarn 9 11 aesdngkhwamtxngkarmiswnrwmthangkaremuxngodythrrmchati aelarthbalprachathipityhruxthimikrabwnkarthangprachathipity echn karepidihmiswnrwmthangkaremuxng epnlanprachakhmthicaepnephuxihprachachnmiswnrwmthangkaremuxngphuxxkkhwamehnkhnhnung Larry Pardy ihkhxsngektwa rthbalmiaerngcungicephuxcarksaxanacodymipccysxngxyang khux khwamchxbthrrmaelawithithang khwamchxbthrrmkhxngrthbalprachathipitycaidcakkaryxmrbkhxngprachachnphankareluxktngthiyutithrrmaelaepidephy aelawithithangdankarengincamacakaehlngphasithismburnxnekidcakesrsthkicthidi odykhwamsaercthangesrsthkickcamacakesrsthkicaebbtladesrithimixngkhprakxbdngtxipni khux siththiinthrphysin faytulakarthiyutithrrmaelaepnxisra khwammnkhng aelahlknitithrrm xnung xngkhprakxbhlkthisnbsnunesriphaphthangesrsthkic kyngsubipyngsiththiphunthankhxngpceckbukhkhlxikdwy innytrngkham emuxrthbalsamarthkdkhikhuaekhngthangkaremuxng kcaimmihlknitithrrm aelaemuxkhwammngkhngsamarthyudidtamicchxb kcaimmisiththithangthrphysintamnkwichakarklumhnung aebbcalxng thangxxk karmiesiyng aelakhwamcngrkphkdi exit voice and loyalty model aesdngwa thaprachachnsamarthmithangxxkimxyuitxantikhxngrthbal kcamioxkasepliynepnprachathipitysungkwa khux rthbalxaccamixanacxthipityehnuxprachakrthimithangxxktang idyak 44 aelakarxxkimichepnephiyngaekhxxkcakxanaekhtkhxngrththimiaetbibbngkhb aethmayexakartxbsnxngprbtwthithaihrthlabakinkarxangxanacxthipityehnuxtnmakkhun rwmthngkarplukphuchthirthimsamarthnbid aelaimsamarthekbphasi hruxeliyngstwthinaipthixunidngaykwacring aelwkaenidkhxngrthkepnphlkhxngkarprbtwkhxngmnusytxsingaewdlxm aelakhxngkareluxkwacaxyuhruxcaxxkcakbriewnnn 44 thaprachachnmixisrphaphinkaryaythi aebbcalxngniphyakrnwa rthcatxngepntwaethnkhxngprachachnephuxpxngknimihprachachnipthixun 45 dngnn thabukhkhlmithangxxkthiepnipidodyimtxngxyuitxantikhxngrthbal kcasamarthcakdphvtikrrmtamxaephxickhxngrthbalephraasamarthkhudwykareluxkthangxxkid 45 prachathipitythikhngyunepneruxngthiyingkwakareluxktngthiyutithrrmaelaoprngis mntxngxasyphunthanthihnkaennkhxngesriphaphthangesrsthkicaelathangkaremuxng thiprachachninpraethstawntktxngaekhangdcakrthbaldwykhwamyaklabakepnstwrrs odyerimxyangchaktngaetpi ph s 1758 emuxphraecacxhnthrngyxmrbkhxcakdtxphraxanac khuxthrngyxmihprachachnmisiththitammhakdbtr smynnkdi aemaetsmynikdi rthbalcamiaerngcungicsnbsnunsiththiesriphaphktxemuxmnmiphlodytrngtxkarrksaaelaichxanackhxngrthbal mnimidekidcakaenwkhidxudmkhtiekiywkbprachathipityaelaesriphaph cakkarmisyyaodynykbprachachn cakkarekhiywekhykhxngpraethsthiepnphubricakh hruxkarpawprakaskhxngxngkhkrnanachatitamnkwichakarthanhnung dr fukuyamathukaelwinkhaklawthungxwsanaehngprawtisastr ephraaprachathipityesriniymthimiinpraethstawntk epnthisudkhxngwiwthnakarthangxudmkhtikhxngmnusy epnklikthirabbtladesrisamarthcdsrrpnswnthrphyakrxyangmiprasiththiphaphodyphungxasysungknaelaknkbrabxbprachathipity rthbalcamiaerngcungicpkpxngesrsthkic inkhnathimulthankhxngesrsthkicechnnnkcasrangpccykhxngkhwamepnprachathipity 46 inbribthxun aekikhaemkarepliynepnprachathipitymkcaklawineruxngkaremuxngradbpraethshruxthxngthin aetksamarthichinbribthxun iddwy xngkhkrnanachati aekikh xngkhkrnanachati echn shprachachati mkcamikhxeriykrxngihptirupaelaepliynokhrngsrangkarxxkesiynglngkhaaenn aelaepliynrabbkarnbkhaaenn bristh aekikh aenwkhidkarepliynepnprachathipitysamarthprayuktichinbrrsth thithwipmiokhrngsrangxanacaebbhwhnasngluknxng hruxhwhnarudithisud sungtangcakwithibriharaebbpruksa ihxanacaekluknxng aelakarkracayxanackartdsinicipthwbristh dngthisnbsnunodykhbwnkarprachathipityinthithangan xinethxrent aekikh okhrngsrangaebbxnathipitykhxngkhnathanganechphaakicdanwiswkrrmxinethxrent IETF aelakhxngtwxinethxrentexng epnaerngdlicihklumbangklumeriykrxngihrabbkaridaelakaresiychuxodemnepliynepnprachathipity phwkekhaihkhxsngektwarabbkartngchuxodemnkhxngxngkhkr ICANN epnswnthiimepnprachathipityaelarwmsunyxanacmakthisudkhxngxinethxrent odyichaebbngay khuxikhrmakxnidkxn khwamru aekikh karepliynkhwamruihepnprachathipity khuxkarihkhwamrukbbukhkhlthwip ethiybkbkhwamruthicakdxyukbklumxphisiththichn karxxkaebb aekikh mikhwamonmexiyngthiphlitphnthxxkaebbodynkxxkaebbchuxdng camirakhathuklngsungphubriophkhcanwnmakkhunsamarthekhathungid aelakhwamonmexiyngthibristhcaxxkaebbtamkartdsinickhxngphubriophkh 47 duephim aekikh karemuxngthrrmaphibal khwamyutithrrminrayaepliynphanechingxrrthaelaxangxing aekikh Democratization sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 chbb 2545 rthsastr karthaihepnprachathipity 2 0 2 1 2 2 Przeworski Adam aelakhna 2000 Democracy and Development Political Institutions and Well Being in the World 1950 1990 Cambridge Cambridge University Press Rice Tom W Ling Jeffrey 2002 12 01 Democracy Economic Wealth and Social Capital Sorting Out the Causal Connections Space and Polity 6 3 307 325 doi 10 1080 1356257022000031995 ISSN 1356 2576 Treisman Daniel 2015 10 01 Income Democracy and Leader Turnover American Journal of Political Science phasaxngkvs 59 4 927 942 doi 10 1111 ajps 12135 ISSN 1540 5907 Traversa Federico 2014 Income and the stability of democracy Pushing beyond the borders of logic to explain a strong correlation Constitutional Political Economy 26 121 136 doi 10 1007 s10602 014 9175 x FENG YI 1997 07 Democracy Political Stability and Economic Growth British Journal of Political Science 27 3 416 391 418 doi 10 1017 S0007123497000197 Check date values in date help Clark William Roberts Matt Golder and Sona N Golder 2013 Power and politics insights from an exit voice and loyalty game Unpublished manuscript University of Michigan and Pennsylvania State University Acemoglu Daron James A Robinson 2006 Economic Origins of Dictatorship and Democracy Cambridge Cambridge University Press Gift Thomas Krcmaric Daniel 2015 Who Democratizes Western educated Leaders and Regime Transitions Journal of Conflict Resolution doi 10 1177 0022002715590878 subkhnemux 2015 12 23 Putnam Robert 1993 03 What makes democracy work National Civic Review Check date values in date help Olson Mancur 1993 Dictatorship Democracy and Development American Political Science Review Therborn Goran 1977 The rule of capital and the rise of democracy Capital and suffrage cover title New Left Review I 103 The advent of bourgeois democracy 3 41 CS1 maint ref harv link Did the United States Create Democracy in Germany The Independent Review 11 2 Fall 2006 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2017 02 25 Unknown parameter deadurl ignored help Krokowska Katarzyna 2011 The Fall of Democracy in Syria PDF Perceptions khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim PDF emux 2017 03 12 Unknown parameter deadurl ignored help Friedman Milton 1962 Capitalism and Freedom p 86 16 0 16 1 Aleman Eduardo Kim Yeaji 2015 10 01 The democratizing effect of education Research amp Politics phasaxngkvs 2 4 2053168015613360 doi 10 1177 2053168015613360 ISSN 2053 1680 Manger Mark S Pickup Mark A 2016 02 01 The Coevolution of Trade Agreement Networks and Democracy Journal of Conflict Resolution phasaxngkvs 60 1 164 191 doi 10 1177 0022002714535431 ISSN 0022 0027 Pevehouse Jon C 2002 06 01 Democracy from the Outside In International Organizations and Democratization International Organization 56 03 515 549 doi 10 1162 002081802760199872 ISSN 1531 5088 Debs Alexandre 2016 02 18 Living by the Sword and Dying by the Sword Leadership Transitions in and out of Dictatorships International Studies Quarterly phasaxngkvs sqv014 doi 10 1093 isq sqv014 ISSN 0020 8833 Cheibub Jose Antonio Ghandi Jennifer Vreeland James 2010 Democracy and Dictatorship Revisited Public Choice Smith Peter 2005 Democracy in Latin America Oxford University Press Brancati Dawn 2016 Democracy Protests Origins Features and Significance Cambridge Cambridge University Press Aidt Toke S Leon Gabriel 2016 06 01 The Democratic Window of Opportunity Evidence from Riots in Sub Saharan Africa Journal of Conflict Resolution phasaxngkvs 60 4 694 717 doi 10 1177 0022002714564014 ISSN 0022 0027 Herbst Jeffrey 1990 War and the State in Africa International Security 117 139 CS1 maint uses authors parameter link Glaeser Edward L Steinberg Bryce Millett 2016 11 01 Transforming Cities Does Urbanization Promote Democratic Change National Bureau of Economic Research Cite journal requires journal help Dunning Thad 2008 1 Crude Democracy Natural Resource Wealth and Political Regimes Cambridge University Press p 3 CS1 maint ref harv link Dunning 2008 ch 1 p 21 28 0 28 1 28 2 28 3 28 4 Dunning 2008 ch 1 p 34 When Dictators Die Foreign Policy subkhnemux 2016 02 26 Berman Sheri 2007 01 How Democracies Emerge PDF Journal of Democracy 18 1 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim PDF emux 2012 02 11 subkhnemux 2017 08 01 Check date values in date help Origins and growth of Parliament The National Archives subkhnemux 2015 04 07 Britain s unwritten constitution British Library subkhnemux 2015 11 27 The key landmark is the Bill of Rights 1689 which established the supremacy of Parliament over the Crown The Bill of Rights 1689 then settled the primacy of Parliament over the monarch s prerogatives providing for the regular meeting of Parliament free elections to the Commons free speech in parliamentary debates and some basic human rights most famously freedom from cruel or unusual punishment Constitutionalism America amp Beyond Bureau of International Information Programs IIP U S Department of State subkhnemux 2014 10 30 The earliest and perhaps greatest victory for liberalism was achieved in England The rising commercial class that had supported the Tudor monarchy in the 16th century led the revolutionary battle in the 17th and succeeded in establishing the supremacy of Parliament and eventually of the House of Commons What emerged as the distinctive feature of modern constitutionalism was not the insistence on the idea that the king is subject to law although this concept is an essential attribute of all constitutionalism This notion was already well established in the Middle Ages What was distinctive was the establishment of effective means of political control whereby the rule of law might be enforced Modern constitutionalism was born with the political requirement that representative government depended upon the consent of citizen subjects However as can be seen through provisions in the 1689 Bill of Rights the English Revolution was fought not just to protect the rights of property in the narrow sense but to establish those liberties which liberals believed essential to human dignity and moral worth The rights of man enumerated in the English Bill of Rights gradually were proclaimed beyond the boundaries of England notably in the American Declaration of Independence of 1776 and in the French Declaration of the Rights of Man in 1789 Citizenship 1625 1789 The National Archives subkhnemux 2010 08 22 Expansion of Rights and Liberties The Right of Suffrage Online Exhibit The Charters of Freedom National Archives subkhnemux 2015 04 21 36 0 36 1 Freedom House epnxngkhkarnxkphakhrththiidrbthun 66 85 cakrthbalklangshrthrahwangpi 2549 2558 ephuxthangansnbsnunaelawicyineruxngprachathipity esriphaphthangkaremuxng aelasiththimnusychn xngkhkrtharaynganpracapirwmthng raynganesriphaphinolk Freedom in the World Report sungpraeminesriphaphthangkaremuxngaelaesriphaphkhxngphleruxn epnraynganthinkrthsastr nkkhaw aelaphuxxknoybayrth xangxingbxy rayngan esriphaphkhxngnkkhaw Freedom of the Press aela esriphaphkhxngxinethxrent Freedom of Net sungtrwctrakartrwcphicarna karesnesxr karkhukkhamaelakhwamrunaerngtxnkkhaw aelakarekhathungkhxmulidkhxngprachachn aemxngkhkarcathuktahniodyklumtang rwmthng rsesiy cin khiwba sudan phrxmthngnkrthsastraelankptibtikarthangkaremuxngkhxngshrthexng aetnganwiekhraahkhxngnkwichakarphwkhnung Kenneth A Bollen kimphbkhwamexnexiyngxyangepnrabbkhxngdchnithiepnphlngan swnxiknganhnung Mainwaring et al phbkhwamexnexiyngxyangepnrabbsxngxyang aemkhathiidekiywkbpraethslatinxemrikacasmphnthkbthiphbinnganwiekhraahkhxngklumxun Study Nonviolent Civic Resistance Key Factor in Building Durable Democracies 2005 05 24 Farr Ken Lord Richard A Wolfenbarger J Larry 1998 Economic Freedom Political Freedom and Economic Well Being A Causality Analysis Cato Journal 18 2 247 262 CS1 maint uses authors parameter link Full PDF Archived 2005 04 13 thi ewyaebkaemchchin Roberts Alasdair S 2008 12 23 Empowerment or Discipline Two Logics of Governmental Reform Social Science Research Network CS1 maint uses authors parameter link Huntington Samuel P 1991 Democratization in the Late 20th century Norman University of Oklahoma Press Simon Bromley 1994 Rethinking Middle East Politics State Formation and Development Cambridge Polity Press CS1 maint uses authors parameter link doi 10 1111 j 1949 3606 2007 tb00069 xThis citation will be automatically completed in the next few minutes You can jump the queue or expand by hand Zakaria Fareed 2007 The Future of Freedom Illiberal Democracy at Home and Abroad W W Norton p 138 CS1 maint uses authors parameter link 44 0 44 1 C Scott James 2010 The Art of not being governed an anarchist history of upland Southeast Asia NUS Press p 7 ISBN 9780300152289 OCLC 872296825 45 0 45 1 Power and politics insights from an exit voice and loyalty game PDF Pardy Larry D 2014 Understanding the Determinants of Democracy Opening the Black Box Amherst NS CS1 maint uses authors parameter link Harry 2007 The Democratization of Design khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2017 01 09 Unknown parameter deadurl ignored help CS1 maint uses authors parameter link aehlngkhxmulxun aekikhThomas Carothers Aiding Democracy Abroad The Learning Curve 1999 Washington DC Carnegie Endowment for International Peace Josep M Colomer Strategic Transitions 2000 Baltimore Md The Johns Hopkins University Press Daniele Conversi Demo skepticism and genocide Political Science Review September 2006 Vol 4 issue 3 pp 247 262 Haerpfer Christian Bernhagen Patrick Inglehart Ronald amp Welzel Christian 2009 Democratization Oxford Oxford University Press ISBN 9780199233021 Inglehart Ronald amp Welzel Christian 2005 Modernization Cultural Change and Democracy The Human Development Sequence New York Cambridge University Press ISBN 9780521846950 Muno Wolfgang Democratization 2012 University Bielefeld Center for InterAmerican Studies Frederic C Schaffer Democracy in Translation Understanding Politics in an Unfamiliar Culture 1998 Ithaca NY Cornell University Press Fareed Zakaria The Future of Freedom Illiberal Democracy at Home and Abroad 2003 New York W W Norton Christian Welzel Freedom Rising Human Empowerment and the Quest for Emancipation 2013 New York Cambridge University Press Tatu Vanhanen Democratization A Comparative Analysis of 170 Countries 2003 Routledge International IDEA Did the United States Create Democracy in Germany ekhathungcak https th wikipedia org w index php title karthaihepnprachathipity amp oldid 9614727, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม