fbpx
วิกิพีเดีย

การกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนในมนุษย์

การกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนในมนุษย์ (อังกฤษ: Human echolocation) เป็นความสามารถในมนุษย์ที่จะกำหนดวัตถุในสิ่งแวดล้อมโดยใช้เสียงสะท้อนจากวัตถุเหล่านั้น โดยที่บุคคลเหล่านั้นก่อต้นเสียงโดยวิธีเป็นต้นว่าเคาะไม้เท้า (ที่ใช้โดยคนตาบอด) กระทืบเท้าอย่างเบา ๆ หรือใช้ลิ้นทำเสียงกริ๊ก ๆ (คือใช้ลิ้นดีดที่เพดานปาก) บุคคลที่ได้ฝึกการกำหนดทิศทางด้วยเสียงสะท้อน สามารถแปลคลื่นเสียงสะท้อนจากวัตถุที่อยู่ใกล้ ๆ เพื่อที่จะระบุตำแหน่งและขนาดของวัตถุอย่างแม่นยำ เป็นความสามารถที่ใช้โดยคนตาบอดบางพวกในการกำหนดทิศทางและการนำทางโดยใช้ระบบการได้ยินแทนที่จะใช้ตัวกระตุ้นทางตา เป็นวิธีที่มีหลักการเหมือนกับกับระบบโซนาร์ (ระบบหาวัตถุใต้น้ำโดยใช้เสียง) และการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนในสัตว์รวมทั้งค้างคาว ปลาโลมา และปลาวาฬมีฟัน

ประวัติพื้นเพ

การกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนในมนุษย์ เป็นความสามารถที่มีการศึกษามาอย่างช้าที่สุดก็ในคริสต์ทศวรรษ 1950 ในสมัยก่อน ๆ ความสามารถนี้เรียกกันว่าเป็น การเห็นด้วยใบหน้า (อังกฤษ: facial vision) หนังสือเกี่ยวกับการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนทั้งในมนุษย์ทั้งในสัตว์ มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1959 รวมทั้งงานของไวท์ในปี ค.ศ. 1970

กลไก

การเห็นและการได้ยินมีส่วนคล้ายกันคือเป็นการแปลผลของพลังงานคลื่นสะท้อน คือ ระบบการเห็นแปลผลของคลื่นแสงที่เดินทางไปจากต้นแสง กระทบผิวของวัตถุต่าง ๆ ในสิ่งแวดล้อม แล้วสะท้อนมาที่ตา และโดยนัยเดียวกัน ระบบการได้ยินแปลผลของคลื่นเสียงที่เดินทางไปจากต้นเสียง กระทบผิวของวัตถุต่าง ๆ แล้วสะท้อนมาที่หู ระบบการรับรู้ทั้งสองสามารถดึงข้อมูลจำนวนมากจากสิ่งแวดล้อมโดยการแปลผลพลังงานสะท้อนที่ได้รับ ที่มีรูปแบบซับซ้อน ในกรณีของเสียง พลังงานคลื่นสะท้อนนั้นเรียกว่า เสียงสะท้อน (echo)

เสียงสะท้อนและเสียงอื่น ๆ สามารถสื่อข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งรอบตัวที่เทียบได้โดยหลาย ๆ นัยกับข้อมูลที่สื่อโดยแสง ด้วยเสียงสะท้อน คนตาบอดสามารถรับรู้ข้อมูลที่ซับซ้อน ละเอียด และจำเพาะเจาะจงเป็นระยะทางที่ไกลกว่าระยะความยาวของไม้เท้าหรือแขน คือ เสียงสะท้อนบอกข้อมูลเกี่ยวกับธรรมชาติ (คุณสมบัติ) และระเบียบที่ตั้งของวัตถุในสิ่งแวดล้อมเป็นต้นว่า หลังคา กำแพง ประตูและช่องในกำแพง เสา ขอบถนนและบันได กระถางต้นไม้ คนเดินเท้า หัวก๊อกน้ำดับเพลิง รถที่หยุดอยู่หรือวิ่งอยู่ ต้นไม้และพุ่มไม้ และวัตถุอื่น ๆ อีกมากมาย เสียงสะท้อนสามารถให้ข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่ง ขนาด รูปร่างคร่าว ๆ และความหนาแน่น ของวัตถุ ตำแหน่งโดยทั่ว ๆ ไปก็คือระยะทางและทิศทาง (ซ้าย-ขวา หน้า-หลัง สูง-ต่ำ) ส่วนขนาดหมายถึงความสูง (สูง-เตี้ย) และความกว้าง (กว้าง-แคบ)

โดยเข้าใจความสืบต่อสัมพันธ์ของลักษณะเหล่านี้ ก็จะสามารถรู้ถึงธรรมชาติของวัตถุหนึ่งหรือแม้แต่ของหลาย ๆ วัตถุ ยกตัวอย่างเช่น วัตถุที่สูงและแคบอาจจะเป็นเสา วัตถุสูงที่แคบด้านล่างและกว้างด้านบนอาจจะเป็นต้นไม้ วัตถุที่ทั้งสูงและกว้างมากอาจจเป็นกำแพงหรืออาคาร วัตถุที่กว้างและสูงตรงกลาง แต่เตี้ยกว่าที่ปลายทั้งสองอาจจะเป็นรถที่จอดอยู่ วัตถุเตี้ยกว้างอาจจะเป็นกระถางยาวสำหรับปลูกต้นไม้ แนวกำแพงกั้นดิน หรือขอบฟุตบาท และวัตถุที่เริ่มต้นใกล้และเตี้ยมากแต่เริ่มไกลออกไปในขณะที่สูงขึ้น อาจจะเป็นขั้นบันได ส่วนความหนาแน่นหมายถึงความแข็งแรงความหนาทึบของวัตถุ (ทึบ-เป็นช่อง ๆ, แข็ง-อ่อน) การสำนึกรู้ความหนาแน่นเพิ่มความสมบูณ์และความซับซ้อนให้กับข้อมูลที่ได้ ยกตัวอย่างเช่น วัตถุเตี้ยแต่ทึบอาจจะเป็นโต๊ะ แต่วัตถุที่เตี้ยและเป็นช่องอาจจะเป็นพุ่มไม้ และวัตถุที่สูง กว้าง และเป็นช่อง ๆ ก็น่าจะเป็นรั้ว

มูลฐานทางประสาท

 
การทำงานในระบบประสาทเกี่ยวกับการแปลผลเสียงสะท้อนของผู้มีความสามารถกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน (ที่มีตาบอดตั้งแต่เยาว์วัย) แสดงในรูปซ้าย ส่วนในสมองของคนที่เห็นปกติในรูปด้านขวา ไม่ปรากฏการทำงานใด ๆ เมื่อฟังเสียงสะท้อนเสียงเดียวกันกับคนบอด วงรีขาวด้านบนเป็นเขตสายตาที่ทำหน้าที่ประมวลข้อมูลที่ได้ทางตา วงรีขาวสีชมพูเป็นเขตการได้ยิน

คนตาบอดบางพวกมีความชำนาญในการกำหนดที่ตั้งวัตถุที่ไม่มีเสียง โดยทำเสียงอย่างง่าย ๆ โดยใช้ลิ้นทำเสียงกริ๊ก ๆ แล้วฟังเสียงสะท้อนกลับ งานวิจัยเร็ว ๆ นี้แสดงว่า ผู้ชำนาญในวิธีนี้ ใช้เขตคอร์เทกซ์ในสมองที่คนมีตาปกติใช้ประมวลผลเกี่ยวกับการเห็น เพื่อแปลผลเสียงสะท้อน การเปลี่ยนแปลงการทำงานในเขตสมองอย่างนี้ เป็นปรากฏการณ์ที่รู้จักกันว่า สภาพพลาสติกในระบบประสาท (neuroplasticity)

ในงานวิจัยที่ว่านี้ นักวิจัยตอนแรกทำการอัดเสียงกริ๊กที่ทำโดยผู้มีความสามารถนี้ และเสียงสะท้อนกลับที่เบามากโดยใช้ไมโครโฟนเล็ก ๆ ที่อยู่ในหูของผู้รับการทดลอง ในขณะที่ผู้รับการทดลองนั้น อยู่ข้างนอกอาคารเพื่อที่จะระบุวัตถุต่าง ๆ เช่นรถยนต์ เสาธง และต้นไม้ หลังจากนั้น นักวิจัยก็เล่นเทปให้กับผู้รับการทดลอง ในขณะที่การทำงานในสมองจะได้รับการบันทึกโดยเครื่อง fMRI เป็นที่น่าสนใจว่า เมื่อผู้รับการทดลองได้ยินเสียงอัดเหล่านั้น พวกเขาไม่เพียงแต่มีการรับรู้ถึงวัตถุที่สะท้อนเสียง แต่ปรากฏว่า มีการทำงานในเขตสมองที่ปกติเป็นเขตแปลผลของข้อมูลทางตาของคนที่เห็นเป็นปกติ คือคอร์เทกซ์สายตาปฐมภูมิ หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เขตสายตา V1 (ดูรูปด้านบน) และเป็นที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้น เขตในสมองที่ปกติแปลผลของข้อมูลทางหู ไม่ปรากฏว่า มีการทำงานเพราะเหตุแห่งเสียงอัดที่ประกอบด้วยเสียงสะท้อน มากกว่าการทำงานเพราะเหตุแห่งเสียงอัดที่ลบเสียงสะท้อนออกเสีย และสำคัญอย่างยิ่ง เมื่อทำการทดลองอย่างเดียวกันกับบุคคลผู้เห็นเป็นปกติ บุคคลเหล่านั้นไม่สามารถกำหนดตำแหน่งวัตถุ ไม่สามารถรับรู้วัตถุเหล่านั้น และไม่มีการทำงานในสมองที่เกี่ยวข้องกับเสียงสะท้อนโดยประการทั้งปวง

บุคคลน่าสนใจที่ใช้เทคนิคนี้

เบ็น อันเดอร์วูด

 
เบ็น อันเดอร์วูด ผู้มีตาบอดตั้งแต่ยังเป็นทารก สามารถใช้เสียงสะท้อนในการกำหนดสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวตั้งแต่วัยเยาว์

เบ็น อันเดอร์วูดเป็นเด็กชาวอเมริกันที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีมะเร็งในจอตาตั้งแต่อายุ 2 ขวบ จึงได้ผ่าตัดนัยน์ตาออกเมื่อถึงอายุ 3 ขวบ เขาได้เริ่มใช้เทคนิคการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนตั้งแต่อายุ 5 ขวบ สามารถที่จะรู้ตำแหน่งของวัตถุต่าง ๆ โดยทำเสียงกริ๊ก ๆ ด้วยลิ้น รายการโทรทัศน์ "20/20 เรื่องลึกลับทางแพทย์" ได้อธิบายเรื่องของเบ็นไว้ เบ็นสามารถใช้ความสามารถนี้ในการวิ่งเล่น เล่นบาสเกตบอล ขี่จักรยาน เล่นโรลเลอร์เบลด เล่นอเมริกันฟุตบอล และเล่นสเกตบอร์ด คุณหมอของเบ็นผู้เป็นจักษุแพทย์สำหรับเด็กยืนยันว่า เบ็นเป็นบุคคลที่มีความชำนาญที่สุดคนหนึ่งในการใช้เทคนิคการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน

เบ็นได้เสียชีวิตไปแล้วเมื่อวันที่ 19 มกราคม ค.ศ. 2009 เมื่อถึงวัย 16 ปี เพราะโรคมะเร็งที่เริ่มแรกทำให้เขาสูญเสียตาไป

ผู้กำกับหนังชาวโปแลนด์ชื่อว่า Andrzej Jakimowski เจอกับเบ็นและได้รับแรงบันดาลใจจากเบ็น ในปี ค.ศ. 2012 เขาได้สร้างหนังเรื่อง จินตนาการ (Imagine) เกี่ยวกับชายผู้ชื่อว่า "ไอแอน" ผู้เป็นครูสอนวิธีกำหนดทิศทางในพื้นที่ ผู้ได้เดินทางไปถึงคลินิกลิสบอนที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกในการรักษาคนไข้มีสายตาเสียหาย เพื่อที่จะไปทำงานกับคนตาบอด แพทย์ที่เป็นหัวหน้าได้ว่าจ้างไอแอนโดยมีเงื่อนไขว่า คนไข้ต้องไม่มีอันตรายในขณะที่เรียนรู้การใช้เทคนิคการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนที่ไอแอนสอน เพื่อจะไปในที่ต่าง ๆ ด้วยตนเอง

แดเนียวล์ คิช

เทคนิคการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนได้รับการพัฒนาเพิ่มขึ้นโดยชาวอเมริกันชื่อว่า แดเนียวล์ คิช ผู้ทำงานกับคนตาบอดโดยพาเด็กวัยรุ่นตาบอดไปเดินหรือไปขี่จักรยานเที่ยวไปในที่ที่ไม่มีคน แล้วสอนเด็กให้รู้จักการหาทางไปในที่ใหม่ ๆ อย่างปลอดภัยด้วยเทคนิคที่คิชเรียกว่า Flash Sonar (โซนาร์ฉับพลัน) โดยทำงานเป็นส่วนขององค์กรการกุศล World Access for the Blind (โอกาสในการเข้าถึงโลกเพื่อคนตาบอด) คิชผ่าตัดดวงตาออกเมื่ออายุ 13 เดือนเนื่องจากโรคมะเร็งจอตา เขาจึงได้เรียนรู้วิธีการใช้ลิ้นทำเสียงกริ๊ก ๆ ที่เพดานปากเมื่อยังเป็นเด็ก และปัจจุบันสอนคนตาบอดผู้อื่นในเทคนิคการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน ด้วยวิธีที่เขาเรียกว่า Perceptual Mobility (การเดินทางไปได้อาศัยการรับรู้) แม้ว่าในตอนแรก คิชต่อต้านการใช้ไม้เท้า (สำหรับคนตาบอด) เพราะเห็นว่าเป็นอุปกรณ์เพื่อคนพิการและพิจารณาตนเองว่า "ไม่ใช่คนพิการโดยประการทั้งปวง" ภายหลังคิชได้พัฒนาเทคนิคการใช้ไม้เท้าร่วมกับการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อน เพื่อเพิ่มระดับความสามารถในการไปที่ต่าง ๆ ของเขา

คิชรายงานว่า "ภาพที่เกิดในใจนั้นมีความสมบูรณ์มากสำหรับผู้ที่มีความชำนาญ จนสามารถที่จะรู้สึกถึงความงดงาม ความปล่าวเปลี่ยว หรือความรู้สึกอื่น ๆ (เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม) ทั้งที่มาจากเสียงและเสียงสะท้อน" คิชสามารถที่จะแยกแยะรั้วที่เป็นโลหะจากที่เป็นไม้จากเสียงสะท้อน เพราะรูปแบบโครงสร้างของรั้ว นอกจากนั้นแล้ว ในที่เงียบมาก เขาสามารถได้ยินความแตกต่างกันระหว่างเสียงสะท้อนของไม้กับของโลหะ

ทอม เดอวิทต์

ทอม เดอวิทต์ เกิดในปี ค.ศ. 1979 ในประเทศเบลเยียม เป็นโรคต้อหินแต่กำเนิดในตาทั้งสองข้าง เมื่อเยาว์วัย เดอวิทต์มีท่าทีว่าจะสามารถพัฒนาเป็นนักดนตรี (เป่าขลุ่ย) ที่จะประสบความสำเร็จได้ต่อไป จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 2005 ที่เขาต้องเลิกล้มความตั้งใจนั้นเสีย ตาของเดอวิทต์ได้บอดอย่างสิ้นเชิงตั้งแต่ปี ค.ศ. 2009 เนื่องจากปัญหาที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ คิชเป็นผู้สอนเทคนิคการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนให้กับเขา เขาเป็นที่รู้จักดีจนกระทั่งว่าสื่อมวลชนได้ตั้งชื่อเล่นให้กับเขาว่า "มนุษย์ค้างคาวจากประเทศเบลเยียม"

ดร. ลอเร็นซ์ สแก็ดเด็น

ดร. สแก็ดเด็นได้เขียนบันทึกประสบการณ์ของเขาเกี่ยวกับการมีตาบอด เขาไม่ได้เกิดมาตาบอด แต่สูญเสียสายตาของเขาเนื่องจากโรค ตั้งแต่วัยเด็ก เขาได้เรียนรู้การใช้การกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนดีจนกระทั่งสามารถขี่จักรยานได้ในถนน (ในขณะที่บิดามารดาของเขาคิดว่าเขายังพอมองเห็นได้บ้าง) ภายหลัง เขาได้เข้าร่วมกับงานวิจัยเกี่ยวกับ "การเห็นด้วยใบหน้า" (White, et al. 1970) ประมาณปี ค.ศ. 1998 เขาได้ไปเยี่ยมแล็บประสาทพฤติกรรมวิทยาเกี่ยวกับการได้ยิน (Auditory Neuroethology Laboratory) ที่มหาวิทยาลัยรัฐแมรีแลนด์ และได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับประสบการณ์ของเขาเกี่ยวกับการเห็นด้วยใบหน้า ในตอนนั้น นักวิจัยที่แล็บกำลังศึกษาการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนในค้างคาว และมีการตระหนักรู้ถึงปรากฏการณ์ Wiederorientierung ที่กริฟฟินได้พรรณนาไว้ในปี ค.ศ. 1959 ว่า แม้ว่าค้างคาวจะส่งเสียงร้องอยู่เรื่อย ๆ แต่กลับใช้วิธีกำหนดจุดสังเกตด้วยตาเพื่อกำหนดทิศทาง (dead reckoning) ในสถานที่คุ้นเคย ไม่ได้ใช้ข้อมูลจากเสียงสะท้อน ดร. สแก็ดเด็นได้ให้ความเห็นว่า วิธีการกำหนดที่ตั้งวัตถุด้วยเสียงสะท้อนต้องใช้ความพยายามมาก ดังนั้น ตัวเขาเองจะไม่ใช้เทคนิคนั้นเพื่อการนำทางในที่ที่คุ้นเคยนอกจากจะเกรงว่า อาจมีอุปสรรคอยู่ในที่นั้น ซึ่งเป็นความเห็นที่ให้ไอเดียเกี่ยวกับพฤติกรรมของค้างคาว

ในประเทศสหรัฐอเมริกา องค์กรพันธมิตรวิทยาศาสตร์ส่วนภูมิภาค (Regional Alliance of Science) องค์กรวิศวกรรมและคณิตศาสตร์เพื่อนักเรียนพิการ (Engineering and Mathematics for Students with Disabilities) องค์กรการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เพื่อนักเรียนพิการ (Science Education for Students With Disabilities) และสมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Teachers Association) ได้ก่อตั้งรางวัลลอเร็นซ์-เอ-สแก็ดเด็นเพื่อครูดีเด่นประจำปีเพื่อนักเรียนพิการเป็นเกียรติคุณเพื่อเขา

ลูคัส เมอร์เรย์

ลูคัส เมอร์เรย์ ชาวอังกฤษผู้มาจากมณฑลดอร์เซต เกิดมาตาบอด เป็นที่เชื่อกันว่า เมอร์เรย์เป็นคนหนึ่งใบบรรดาคนอังกฤษคนแรก ๆ ที่เรียนรู้การ "เห็น" สิ่งแวดล้อมด้วย echolocation เขาเป็นนักเรียนคนหนึ่งของแดเนียวล์ คิช

เควิน วอร์วิก

นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษชื่อว่า เควิน วอร์วิก ทำการทดลองโดยป้อนคลื่นเสียงความถี่สูง (เหมือนที่ใช้ตรวจด้วยเครื่องอัลตราซาวด์) เข้าไปในสมองโดยใช้วิธีกระตุ้นทางไฟฟ้าผ่านอุปกรณ์ที่ฝังอยู่ในสมอง เพื่อเป็นทางประสาทรับรู้อีกทางหนึ่ง ่ช่วงที่อยู่ในการทดลอง เขาสามารถที่จะกำหนดระยะทางจากวัตถุต่าง ๆ และสามารถรู้ถึงการเคลื่อนไหวเล็ก ๆ น้อย ๆ ของวัตถุเหล่านั้น

ฮวน รุยส์

ชาวอเมริกันชื่อว่า ฮวน รุยส์ ปรากฏในรายการ "ซูเปอร์มนุษย์ของสแตน ลี (Stan Lee's Superhumans)" ในตอนแรกที่มีชื่อว่า "มนุษย์อิเล็กโทร (Electro Man)" รุยส์อยู่ในเมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย และเกิดมาตาบอด ในรายการนั้น เขาแสดงความสามารถในการขี่จักรยานหลบหลีกรถยนต์ที่จอดอยู่และอุปสรรคอื่น ๆ และกำหนดวัตถุที่อยู่ใกล้ ๆ ได้ สามารถเข้าออกจากถ้ำที่เขาสามารถกำหนดความลึกและลักษณะอย่างอื่น ๆ ได้

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ location ว่า "การกำหนดที่ตั้ง" ของ echo ว่า "เสียงสะท้อน" หรือ "เสียงสะท้อนกลับ"
  2. Richard L. Welsh, Bruce B. Blasch, online Foundations of Orientation and Mobility, American Foundation for the Blind, 1997; which cites S. O. Myers and C. G. E. G. Jones, "Obstable experiments: second report", Teacher for the Blind 46, 47–62, 1958.
  3. Raymond J Corsini, The Dictionary of Psychology, Psychology Press (UK), 1999, ISBN 1-58391-028-X.
  4. M. Supa, M. Cotzin, and K. M. Dallenbach. "Facial Vision" - The Perception of Obstacles by the Blind. The American Journal of Psychology, April 1944.
  5. Cotzin and Dallenbach. "Facial Vision": The Role of Pitch and Loudness in the Location of Obstacles by the Blind. The American Journal of Psychology, October 1950.
  6. Griffin, Donald R., Echos of Bats and Men, Anchor Press, 1959 (Science and Study Series, Seeing With Sound Waves)
  7. White, J. C., Saunders, F. A., Scadden, L., Bach-y-Rita, P., & Collins, C. C. (1970) . Seeing with the skin. Perception & Psychophysics, 7, 23-27.
  8. Rosenblum LD, Gordon MS, Jarquin L. (2000). "Echolocating distance by moving and stationary listeners". Ecol. Psychol. 12 (3): 181–206. doi:10.1207/S15326969ECO1203_1.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  9. Kish D. (1982). Evaluation of an echo-mobility training program for young blind people: Master's Thesis, University of Southern California (Thesis).
  10. Thaler L, Arnott SR, Goodale MA. (2011). "Neural correlates of natural human echolocation in early and late blind echolocation experts". PLoS ONE. 6 (5): e20162. Bibcode:2011PLoSO...6E0162T. doi:10.1371/journal.pone.0020162. PMID 21633496.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  11. Bat Man, Reader's Digest Australia, 2012, p. 192, ISBN 9-311484-01874 Check |isbn= value: length (help)
  12. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ plasticity ว่า "สภาพพลาสติก"
  13. Humans With Amazing Senses — ABC News.
  14. Moorhead, Joanna (January 27, 2007). "Seeing with sound". The Guardian. London.
  15. "How A Blind Teen 'Sees' With Sound". CBS News. July 19, 2006.
  16. "The Boy Who Sees with Sound". People magazine.
  17. เว็บไซท์ขอเบ็น อันเดอร์วูด
  18. "ภาพยนตร์เรื่อง จินตนาการ (Imagine)".
  19. Kremer, William (12 September 2012). "Human echolocation: Using tongue-clicks to navigate the world". BBC. สืบค้นเมื่อ September 12, 2012.
  20. World Access for the Blind
  21. "The Bat Man". สืบค้นเมื่อ 27 Dec 2013.
  22. http://www.gva.be/regio-antwerpen-zuid/niel/straf-verhaal-blinde-ziet-door-goed-te-horen.aspx
  23. "Surpassing Expectations Life without Sight".
  24. คือ เพราะระบบสมองโดยมากสื่อสารกันโดยกระแสไฟฟ้า จึงส่งสัญญาณเสียงความถี่สูงเป็นกระแสไฟฟ้า ไม่ได้ใช้เสียงส่งเข้าไปในสมองโดยตรงเหมือนกับการใช้เครื่องอัลตราซาวด์
  25. Warwick, K.; Hutt, B.; Gasson, Mark; Goodhew, I. (October 2005). "An attempt to extend human sensory capabilities by means of implant technology". Proc. IEEE International Conference on Systems, Man and Cybernetics. Hawaii: 1663–1668.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • How to see with sound Article by Daniel Kish in the New Scientist
  • Harvard historical study and bibliography
  • Ben Underwood
  • Seeing with Sound project
  • The Blind Man Who Taught Himself To See Men's Journal
  • Bat Man Reader's Digest
  • Human Echolocation - Learn to See with your Ears - Free audio lesson for learning to click.

การกำหนดท, งว, ตถ, วยเส, ยงสะท, อนในมน, ษย, งกฤษ, human, echolocation, เป, นความสามารถในมน, ษย, จะกำหนดว, ตถ, ในส, งแวดล, อมโดยใช, เส, ยงสะท, อนจากว, ตถ, เหล, าน, โดยท, คคลเหล, าน, นก, อต, นเส, ยงโดยว, เป, นต, นว, าเคาะไม, เท, ใช, โดยคนตาบอด, กระท, บเท, าอย, า. karkahndthitngwtthudwyesiyngsathxninmnusy 1 xngkvs Human echolocation epnkhwamsamarthinmnusythicakahndwtthuinsingaewdlxmodyichesiyngsathxncakwtthuehlann odythibukhkhlehlannkxtnesiyngodywithiepntnwaekhaaimetha thiichodykhntabxd krathubethaxyangeba hruxichlinthaesiyngkrik khuxichlindidthiephdanpak bukhkhlthiidfukkarkahndthisthangdwyesiyngsathxn samarthaeplkhlunesiyngsathxncakwtthuthixyuikl ephuxthicarabutaaehnngaelakhnadkhxngwtthuxyangaemnya epnkhwamsamarththiichodykhntabxdbangphwkinkarkahndthisthangaelakarnathangodyichrabbkaridyinaethnthicaichtwkratunthangta epnwithithimihlkkarehmuxnkbkbrabbosnar rabbhawtthuitnaodyichesiyng aelakarkahndthitngwtthudwyesiyngsathxninstwrwmthngkhangkhaw plaolma aelaplawalmifn enuxha 1 prawtiphuneph 2 klik 3 multhanthangprasath 4 bukhkhlnasnicthiichethkhnikhni 4 1 ebn xnedxrwud 4 2 aedeniywl khich 4 3 thxm edxwitht 4 4 dr lxerns saekdedn 4 5 lukhs emxrery 4 6 ekhwin wxrwik 4 7 hwn ruys 5 echingxrrthaelaxangxing 6 aehlngkhxmulxunprawtiphuneph aekikhkarkahndthitngwtthudwyesiyngsathxninmnusy epnkhwamsamarththimikarsuksamaxyangchathisudkinkhristthswrrs 1950 2 insmykxn khwamsamarthnieriykknwaepn karehndwyibhna xngkvs facial vision 3 4 5 hnngsuxekiywkbkarkahndthitngwtthudwyesiyngsathxnthnginmnusythnginstw mimatngaetpi kh s 1959 6 rwmthngngankhxngiwthinpi kh s 1970 7 klik aekikhkarehnaelakaridyinmiswnkhlayknkhuxepnkaraeplphlkhxngphlngngankhlunsathxn khux rabbkarehnaeplphlkhxngkhlunaesngthiedinthangipcaktnaesng krathbphiwkhxngwtthutang insingaewdlxm aelwsathxnmathita aelaodynyediywkn rabbkaridyinaeplphlkhxngkhlunesiyngthiedinthangipcaktnesiyng krathbphiwkhxngwtthutang aelwsathxnmathihu rabbkarrbruthngsxngsamarthdungkhxmulcanwnmakcaksingaewdlxmodykaraeplphlphlngngansathxnthiidrb thimirupaebbsbsxn inkrnikhxngesiyng phlngngankhlunsathxnnneriykwa esiyngsathxn echo esiyngsathxnaelaesiyngxun samarthsuxkhxmulekiywkbsingrxbtwthiethiybidodyhlay nykbkhxmulthisuxodyaesng 8 dwyesiyngsathxn khntabxdsamarthrbrukhxmulthisbsxn laexiyd aelacaephaaecaacngepnrayathangthiiklkwarayakhwamyawkhxngimethahruxaekhn khux esiyngsathxnbxkkhxmulekiywkbthrrmchati khunsmbti aelaraebiybthitngkhxngwtthuinsingaewdlxmepntnwa hlngkha kaaephng pratuaelachxnginkaaephng esa khxbthnnaelabnid krathangtnim khnedinetha hwkxknadbephling rththihyudxyuhruxwingxyu tnimaelaphumim aelawtthuxun xikmakmay esiyngsathxnsamarthihkhxmulxyanglaexiydekiywkbtaaehnng khnad ruprangkhraw aelakhwamhnaaenn khxngwtthu taaehnngodythw ipkkhuxrayathangaelathisthang say khwa hna hlng sung ta swnkhnadhmaythungkhwamsung sung etiy aelakhwamkwang kwang aekhb odyekhaickhwamsubtxsmphnthkhxnglksnaehlani kcasamarthruthungthrrmchatikhxngwtthuhnunghruxaemaetkhxnghlay wtthu yktwxyangechn wtthuthisungaelaaekhbxaccaepnesa wtthusungthiaekhbdanlangaelakwangdanbnxaccaepntnim wtthuthithngsungaelakwangmakxaccepnkaaephnghruxxakhar wtthuthikwangaelasungtrngklang aetetiykwathiplaythngsxngxaccaepnrththicxdxyu wtthuetiykwangxaccaepnkrathangyawsahrbpluktnim aenwkaaephngkndin hruxkhxbfutbath aelawtthuthierimtniklaelaetiymakaeterimiklxxkipinkhnathisungkhun xaccaepnkhnbnid swnkhwamhnaaennhmaythungkhwamaekhngaerngkhwamhnathubkhxngwtthu thub epnchxng aekhng xxn karsanukrukhwamhnaaennephimkhwamsmbunaelakhwamsbsxnihkbkhxmulthiid yktwxyangechn wtthuetiyaetthubxaccaepnota aetwtthuthietiyaelaepnchxngxaccaepnphumim aelawtthuthisung kwang aelaepnchxng knacaepnrw 9 multhanthangprasath aekikh karthanganinrabbprasathekiywkbkaraeplphlesiyngsathxnkhxngphumikhwamsamarthkahndthitngwtthudwyesiyngsathxn thimitabxdtngaeteyawwy aesdnginrupsay swninsmxngkhxngkhnthiehnpktiinrupdankhwa impraktkarthanganid emuxfngesiyngsathxnesiyngediywknkbkhnbxd wngrikhawdanbnepnekhtsaytathithahnathipramwlkhxmulthiidthangta wngrikhawsichmphuepnekhtkaridyin khntabxdbangphwkmikhwamchanayinkarkahndthitngwtthuthiimmiesiyng odythaesiyngxyangngay odyichlinthaesiyngkrik aelwfngesiyngsathxnklb nganwicyerw niaesdngwa phuchanayinwithini ichekhtkhxrethksinsmxngthikhnmitapktiichpramwlphlekiywkbkarehn ephuxaeplphlesiyngsathxn 10 11 karepliynaeplngkarthanganinekhtsmxngxyangni epnpraktkarnthiruckknwa sphaphphlastikinrabbprasath neuroplasticity 12 innganwicythiwani nkwicytxnaerkthakarxdesiyngkrikthithaodyphumikhwamsamarthni aelaesiyngsathxnklbthiebamakodyichimokhrofnelk thixyuinhukhxngphurbkarthdlxng inkhnathiphurbkarthdlxngnn xyukhangnxkxakharephuxthicarabuwtthutang echnrthynt esathng aelatnim hlngcaknn nkwicykelnethpihkbphurbkarthdlxng inkhnathikarthanganinsmxngcaidrbkarbnthukodyekhruxng fMRI epnthinasnicwa emuxphurbkarthdlxngidyinesiyngxdehlann phwkekhaimephiyngaetmikarrbruthungwtthuthisathxnesiyng aetpraktwa mikarthanganinekhtsmxngthipktiepnekhtaeplphlkhxngkhxmulthangtakhxngkhnthiehnepnpkti khuxkhxrethkssaytapthmphumi hruxthieriykxikxyanghnungwa ekhtsayta V1 durupdanbn aelaepnthinasnicyingkwann ekhtinsmxngthipktiaeplphlkhxngkhxmulthanghu impraktwa mikarthanganephraaehtuaehngesiyngxdthiprakxbdwyesiyngsathxn makkwakarthanganephraaehtuaehngesiyngxdthilbesiyngsathxnxxkesiy aelasakhyxyangying emuxthakarthdlxngxyangediywknkbbukhkhlphuehnepnpkti bukhkhlehlannimsamarthkahndtaaehnngwtthu imsamarthrbruwtthuehlann aelaimmikarthanganinsmxngthiekiywkhxngkbesiyngsathxnodyprakarthngpwngbukhkhlnasnicthiichethkhnikhni aekikhebn xnedxrwud aekikh ebn xnedxrwud phumitabxdtngaetyngepnthark samarthichesiyngsathxninkarkahndsingthixyurxb twtngaetwyeyaw ebn xnedxrwudepnedkchawxemriknthiidrbkarwinicchywamimaerngincxtatngaetxayu 2 khwb cungidphatdnyntaxxkemuxthungxayu 3 khwb 13 ekhaiderimichethkhnikhkarkahndthitngwtthudwyesiyngsathxntngaetxayu 5 khwb samarththicarutaaehnngkhxngwtthutang odythaesiyngkrik dwylin raykarothrthsn 20 20 eruxngluklbthangaephthy 14 idxthibayeruxngkhxngebniw ebnsamarthichkhwamsamarthniinkarwingeln elnbasektbxl khickryan elnorlelxrebld elnxemriknfutbxl aelaelnsektbxrd 15 16 khunhmxkhxngebnphuepncksuaephthysahrbedkyunynwa ebnepnbukhkhlthimikhwamchanaythisudkhnhnunginkarichethkhnikhkarkahndthitngwtthudwyesiyngsathxnebnidesiychiwitipaelwemuxwnthi 19 mkrakhm kh s 2009 emuxthungwy 16 pi ephraaorkhmaerngthierimaerkthaihekhasuyesiytaip 17 phukakbhnngchawopaelndchuxwa Andrzej Jakimowski ecxkbebnaelaidrbaerngbndaliccakebn inpi kh s 2012 ekhaidsranghnngeruxng cintnakar Imagine 18 ekiywkbchayphuchuxwa ixaexn phuepnkhrusxnwithikahndthisthanginphunthi phuidedinthangipthungkhliniklisbxnthimichuxesiyngipthwolkinkarrksakhnikhmisaytaesiyhay ephuxthicaipthangankbkhntabxd aephthythiepnhwhnaidwacangixaexnodymienguxnikhwa khnikhtxngimmixntrayinkhnathieriynrukarichethkhnikhkarkahndthitngwtthudwyesiyngsathxnthiixaexnsxn ephuxcaipinthitang dwytnexng aedeniywl khich aekikh ethkhnikhkarkahndthitngwtthudwyesiyngsathxnidrbkarphthnaephimkhunodychawxemriknchuxwa aedeniywl khich phuthangankbkhntabxdodyphaedkwyruntabxdipedinhruxipkhickryanethiywipinthithiimmikhn aelwsxnedkihruckkarhathangipinthiihm xyangplxdphydwyethkhnikhthikhicheriykwa Flash Sonar osnarchbphln 19 odythanganepnswnkhxngxngkhkrkarkusl World Access for the Blind oxkasinkarekhathungolkephuxkhntabxd 20 khichphatddwngtaxxkemuxxayu 13 eduxnenuxngcakorkhmaerngcxta ekhacungideriynruwithikarichlinthaesiyngkrik thiephdanpakemuxyngepnedk aelapccubnsxnkhntabxdphuxuninethkhnikhkarkahndthitngwtthudwyesiyngsathxn dwywithithiekhaeriykwa Perceptual Mobility karedinthangipidxasykarrbru 21 aemwaintxnaerk khichtxtankarichimetha sahrbkhntabxd ephraaehnwaepnxupkrnephuxkhnphikaraelaphicarnatnexngwa imichkhnphikarodyprakarthngpwng phayhlngkhichidphthnaethkhnikhkarichimetharwmkbkarkahndthitngwtthudwyesiyngsathxn ephuxephimradbkhwamsamarthinkaripthitang khxngekha 21 khichraynganwa phaphthiekidinicnnmikhwamsmburnmaksahrbphuthimikhwamchanay cnsamarththicarusukthungkhwamngdngam khwamplawepliyw hruxkhwamrusukxun ekiywkbsingaewdlxm thngthimacakesiyngaelaesiyngsathxn 19 khichsamarththicaaeykaeyarwthiepnolhacakthiepnimcakesiyngsathxn ephraarupaebbokhrngsrangkhxngrw nxkcaknnaelw inthiengiybmak ekhasamarthidyinkhwamaetktangknrahwangesiyngsathxnkhxngimkbkhxngolha 19 thxm edxwitht aekikh thxm edxwitht ekidinpi kh s 1979 inpraethsebleyiym epnorkhtxhinaetkaenidintathngsxngkhang emuxeyawwy edxwithtmithathiwacasamarthphthnaepnnkdntri epakhluy thicaprasbkhwamsaercidtxip cnkrathngthungpi kh s 2005 thiekhatxngeliklmkhwamtngicnnesiy takhxngedxwithtidbxdxyangsinechingtngaetpi kh s 2009 enuxngcakpyhathiephimkhuneruxy khichepnphusxnethkhnikhkarkahndthitngwtthudwyesiyngsathxnihkbekha ekhaepnthiruckdicnkrathngwasuxmwlchnidtngchuxelnihkbekhawa mnusykhangkhawcakpraethsebleyiym 22 dr lxerns saekdedn aekikh dr saekdednidekhiynbnthukprasbkarnkhxngekhaekiywkbkarmitabxd 23 ekhaimidekidmatabxd aetsuyesiysaytakhxngekhaenuxngcakorkh tngaetwyedk ekhaideriynrukarichkarkahndthitngwtthudwyesiyngsathxndicnkrathngsamarthkhickryanidinthnn inkhnathibidamardakhxngekhakhidwaekhayngphxmxngehnidbang phayhlng ekhaidekharwmkbnganwicyekiywkb karehndwyibhna White et al 1970 pramanpi kh s 1998 ekhaidipeyiymaelbprasathphvtikrrmwithyaekiywkbkaridyin Auditory Neuroethology Laboratory thimhawithyalyrthaemriaelnd aelaidihsmphasnekiywkbprasbkarnkhxngekhaekiywkbkarehndwyibhna intxnnn nkwicythiaelbkalngsuksakarkahndthitngwtthudwyesiyngsathxninkhangkhaw aelamikartrahnkruthungpraktkarn Wiederorientierung thikriffinidphrrnnaiwinpi kh s 1959 wa aemwakhangkhawcasngesiyngrxngxyueruxy aetklbichwithikahndcudsngektdwytaephuxkahndthisthang dead reckoning insthanthikhunekhy imidichkhxmulcakesiyngsathxn dr saekdednidihkhwamehnwa withikarkahndthitngwtthudwyesiyngsathxntxngichkhwamphyayammak dngnn twekhaexngcaimichethkhnikhnnephuxkarnathanginthithikhunekhynxkcakcaekrngwa xacmixupsrrkhxyuinthinn sungepnkhwamehnthiihixediyekiywkbphvtikrrmkhxngkhangkhawinpraethsshrthxemrika xngkhkrphnthmitrwithyasastrswnphumiphakh Regional Alliance of Science xngkhkrwiswkrrmaelakhnitsastrephuxnkeriynphikar Engineering and Mathematics for Students with Disabilities xngkhkrkarsuksathangwithyasastrephuxnkeriynphikar Science Education for Students With Disabilities aelasmakhmkhruwithyasastraehngchati National Science Teachers Association idkxtngrangwllxerns ex saekdednephuxkhrudiednpracapiephuxnkeriynphikarepnekiyrtikhunephuxekha lukhs emxrery aekikh lukhs emxrery chawxngkvsphumacakmnthldxrest ekidmatabxd epnthiechuxknwa emxreryepnkhnhnungibbrrdakhnxngkvskhnaerk thieriynrukar ehn singaewdlxmdwy echolocation ekhaepnnkeriynkhnhnungkhxngaedeniywl khich ekhwin wxrwik aekikh nkwithyasastrchawxngkvschuxwa ekhwin wxrwik thakarthdlxngodypxnkhlunesiyngkhwamthisung ehmuxnthiichtrwcdwyekhruxngxltrasawd ekhaipinsmxngodyichwithikratunthangiffaphanxupkrnthifngxyuinsmxng 24 ephuxepnthangprasathrbruxikthanghnung chwngthixyuinkarthdlxng ekhasamarththicakahndrayathangcakwtthutang aelasamarthruthungkarekhluxnihwelk nxy khxngwtthuehlann 25 hwn ruys aekikh chawxemriknchuxwa hwn ruys praktinraykar suepxrmnusykhxngsaetn li Stan Lee s Superhumans intxnaerkthimichuxwa mnusyxielkothr Electro Man ruysxyuinemuxnglxsaexneclis rthaekhlifxreniy aelaekidmatabxd inraykarnn ekhaaesdngkhwamsamarthinkarkhickryanhlbhlikrthyntthicxdxyuaelaxupsrrkhxun aelakahndwtthuthixyuikl id samarthekhaxxkcakthathiekhasamarthkahndkhwamlukaelalksnaxyangxun idechingxrrthaelaxangxing aekikh sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 ihkhwamhmaykhxng location wa karkahndthitng khxng echo wa esiyngsathxn hrux esiyngsathxnklb Richard L Welsh Bruce B Blasch online Foundations of Orientation and Mobility American Foundation for the Blind 1997 which cites S O Myers and C G E G Jones Obstable experiments second report Teacher for the Blind 46 47 62 1958 Raymond J Corsini The Dictionary of Psychology Psychology Press UK 1999 ISBN 1 58391 028 X M Supa M Cotzin and K M Dallenbach Facial Vision The Perception of Obstacles by the Blind The American Journal of Psychology April 1944 Cotzin and Dallenbach Facial Vision The Role of Pitch and Loudness in the Location of Obstacles by the Blind The American Journal of Psychology October 1950 Griffin Donald R Echos of Bats and Men Anchor Press 1959 Science and Study Series Seeing With Sound Waves White J C Saunders F A Scadden L Bach y Rita P amp Collins C C 1970 Seeing with the skin Perception amp Psychophysics 7 23 27 Rosenblum LD Gordon MS Jarquin L 2000 Echolocating distance by moving and stationary listeners Ecol Psychol 12 3 181 206 doi 10 1207 S15326969ECO1203 1 CS1 maint multiple names authors list link Kish D 1982 Evaluation of an echo mobility training program for young blind people Master s Thesis University of Southern California Thesis Thaler L Arnott SR Goodale MA 2011 Neural correlates of natural human echolocation in early and late blind echolocation experts PLoS ONE 6 5 e20162 Bibcode 2011PLoSO 6E0162T doi 10 1371 journal pone 0020162 PMID 21633496 CS1 maint multiple names authors list link Bat Man Reader s Digest Australia 2012 p 192 ISBN 9 311484 01874Check isbn value length help sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 ihkhwamhmaykhxng plasticity wa sphaphphlastik Humans With Amazing Senses ABC News Moorhead Joanna January 27 2007 Seeing with sound The Guardian London How A Blind Teen Sees With Sound CBS News July 19 2006 The Boy Who Sees with Sound People magazine ewbisthkhxebn xnedxrwud phaphyntreruxng cintnakar Imagine 19 0 19 1 19 2 Kremer William 12 September 2012 Human echolocation Using tongue clicks to navigate the world BBC subkhnemux September 12 2012 World Access for the Blind 21 0 21 1 The Bat Man subkhnemux 27 Dec 2013 http www gva be regio antwerpen zuid niel straf verhaal blinde ziet door goed te horen aspx Surpassing Expectations Life without Sight khux ephraarabbsmxngodymaksuxsarknodykraaesiffa cungsngsyyanesiyngkhwamthisungepnkraaesiffa imidichesiyngsngekhaipinsmxngodytrngehmuxnkbkarichekhruxngxltrasawd Warwick K Hutt B Gasson Mark Goodhew I October 2005 An attempt to extend human sensory capabilities by means of implant technology Proc IEEE International Conference on Systems Man and Cybernetics Hawaii 1663 1668 aehlngkhxmulxun aekikhHow to see with sound Article by Daniel Kish in the New Scientist Harvard historical study and bibliography Ben Underwood Seeing with Sound project The Blind Man Who Taught Himself To See Men s Journal Bat Man Reader s Digest Human Echolocation Learn to See with your Ears Free audio lesson for learning to click ekhathungcak https th wikipedia org w index php title karkahndthitngwtthudwyesiyngsathxninmnusy amp oldid 5883664, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม