fbpx
วิกิพีเดีย

นิคมญี่ปุ่นในประเทศปาเลา

ประเทศปาเลา ซึ่งเป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก มีชุมชนชาวญี่ปุ่นขนาดเล็กที่ส่วนมากแล้วเข้ามาอยู่อาศัยในปาเลาระยะยาว ชาวญี่ปุ่นจำนวนน้อยกลุ่มนี้เริ่มอยู่อาศัยในปาเลาหลังจากได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1994 และก่อตั้งกิจการธุรกิจขึ้นในประเทศ อย่างไรก็ตามนิคมชาวญี่ปุ่นในปาเลาสามารถย้อนกลับไปได้ถึงช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ยังไม่มีการย้ายถิ่นฐานขนาดใหญ่ของชาวญี่ปุ่นสู่ปาเลามากนัก ทว่าเมื่อปาเลาอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น โดยเป็นส่วนหนึ่งของแปซิฟิกใต้ในอาณัติในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 มีการย้ายถิ่นฐานขนาดใหญ่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ตั้งถิ่นฐานจากญี่ปุ่นมีทั้งผู้ที่มีบทบาทด้านการบริหารจัดการในรัฐบาลอาณานิคมญี่ปุ่น และพัฒนาเศรษฐกิจของปาเลา หลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1945 ประชากรชาวญี่ปุ่นแทบทั้งหมดถูกส่งกลับไปประเทศญี่ปุ่น ส่วนประชากรลูกครึ่งญี่ปุ่น-ปาเลายังได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อไป ประชากรเชื้อสายญี่ปุ่น-ปาเลาเป็นประชากรกลุ่มน้อยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจากการที่มีการสมรสต่างพวกระหว่างชาวญี่ปุ่นและชาวปาเลา พวกเขามักระบุตัวตนและปฏิบัติตนสอดคล้องกับบรรทัดฐานและชีวิตประจำวันของชาวปาเลา

นิคมญี่ปุ่นในประเทศปาเลา
มาโมรุ นากามูระ
ลุค ทีแมน
ประชากรทั้งหมด
300 (ค.ศ. 2009)
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
อาเงาร์และคอรอร์
ภาษา
ปาเลา, อังกฤษ, ญี่ปุ่น
ศาสนา
โรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนท์
ชินโตและพุทธศาสนา
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวปาเลา, ชาวญี่ปุ่น, ชาวโอกินาวะ

ประวัติศาสตร์

ระยะแรก (ค.ศ. 1820–1945)

รายงานลายลักษณ์อักษรชิ้นแรกระบุว่าการติดต่อระหว่างชาวญี่ปุ่นกับปาเลาเกิดขึ้นเมื่อลมพัดเรือใบเลียบชายฝั่งของญี่ปุ่นออกนอกเส้นทาง ใน ค.ศ. 1820 และผู้รอดชีวิตทั้งแปดใช้ชีวิตอยู่ในปาเลาเป็นเวลา 5 ปี จนถึง ค.ศ. 1825 พ่อค้าชาวญี่ปุ่นเริ่มตั้งนิคมตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 และใน ค.ศ. 1890 ได้มีการก่อตั้งสถานีการค้าของญี่ปุ่นขึ้น 2 แห่ง พ่อค้าเหล่านี้จำนวนมากสมรสกับธิดาของผู้นำท้องถิ่นและเลี้ยงดูครอบครัวท้องถิ่น เมื่อญี่ปุ่นผนวกปาเลาจากเยอรมนีใน ค.ศ. 1914 ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวญี่ปุ่นและทายาททำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงานของรัฐและล่ามสำหรับการปกครองด้วยรัฐบาลทหารของญี่ปุ่น

 
คอรอร์ระหว่างการปกครองของญี่ปุ่น

รัฐบาลพลเรือนได้รับการจัดตั้งขึ้นแทนที่การปกครองด้วยทหารใน ค.ศ. 1922 โดยมีศูนย์กลางการบริหารอยู่ที่คอรอร์ รัฐบาลพลเรือนได้ริเริ่มแผนงานที่จะระบุและรวบรวมที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ระหว่าง ค.ศ. 1923 และ 1932 เพื่อการพัฒนาขึ้นใหม่ ที่ดินเหล่านี้ส่วนมากใช้สำหรับการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมและการขยายพื้นที่เมืองเพื่อรองรับประชากรที่ย้ายถิ่นฐานมาจากญี่ปุ่นและโอกินาวะ รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนชาวญี่ปุ่นและชาวโอกินาวะอย่างแข็งขันเพื่อให้ไปตั้งรกรากใหม่ในภูมิภาคไมโครนีเซีย ซึ่งมีปาเลาเป็นหนึ่งในนั้น และจัดตั้งนิคมเกษตรกรรมขึ้น นิคมเกษตรกรรมแห่งแรกก่อตั้งขึ้นที่เงเรมเลงุยใน ค.ศ. 1926 แต่ผู้ตั้งถิ่นฐานประสบปัญหากับสภาพอากาศร้อนชื้นและต้องละทิ้งนิคมใน ค.ศ. 1930 ทว่าการตั้งนิคมในระยะต่อมาประสบความสำเร็จมากขึ้น

ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ส่งผลให้เกิดการว่างงานครั้งใหญ่ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 และ 1930 ชาวญี่ปุ่นและชาวโอกินาวะจำนวนมากย้ายถิ่นฐานมายังปาเลา ผู้ย้ายถิ่นได้นำครอบครัวของพวกเขามาด้วยและพยายามแสวงหางานทำในหลากหลายวิชาชีพ ผู้ย้ายถิ่นชาวญี่ปุ่นได้ตำแหน่งในรัฐบาลอาณานิคม ขณะที่ชาวโอกินาวะและชาวเกาหลีจำนวนหนึ่ง ทำงานเป็นแรงงานในภาคการเกษตร ประมงและอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ใน ค.ศ. 1935 ชาวญี่ปุ่นมีจำนวนคิดเป็นร้อยละ 60 ของประชากรปาเลา และรวมกลุ่มอยู่ในเขตเมือง เช่น อาเงาร์และคอรอร์ ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวญี่ปุ่นบางส่วนมีหญิงปาเลาเป็นภรรยาหรืออนุภรรยา ทำให้มีประชากรเด็กลูกครึ่งญี่ปุ่น-ปาเลาพอสมควรในเวลานั้น จนถึงปีท้าย ๆ ของการปกครองของญี่ปุ่น

นับตั้งแต่ ค.ศ. 1937 เป็นต้นไป กองทัพเรือญี่ปุ่นได้ขยายสิ่งอำนวยความสะดวกทางทหาร ส่งผลให้เกิดการจ้างแรงงานจำนวนมากจากญี่ปุ่นและเกาหลีในการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายในระยะเวลาอันสั้น จำนวนของแรงงานบังคับมีมากกว่า 10,000 คนทั้วทั้งภูมิภาคไมโครนีเซีย และสร้างภาระอย่างหนักต่อทรัพยากรอันจำกัดของเกาะ แรงงานชาวโอกินาวะและชาวญี่ปุ่น รวมถึงผู้ตั้งถิ่นฐานถาวรถูกส่งกลับภูมิลำเนาของพวกเขา มีการเกณฑ์ชายชาวญี่ปุ่นเป็นทหาร ส่วนชาวปาเลาที่มีหน้าที่ด้านอำนวยการในกองกำลังตำรวจ ต้องเปลี่ยนงานไปอยู่ในภาคการเกษตร พลเรือนชาวญี่ปุ่นมีส่วนสำคัญในกิจกรรมโฆษณาชวนเชื่อบนเกาะ ในช่วงเวลานี้ชาวญี่ปุ่นจำนวนมากประสบปัญหาเป็นอย่างมากในการจัดการกับความอดอยากจากการที่แหล่งอาหารจากญี่ปุ่นถูกตัดขาด ซึ่งต่างจากชาวปาเลาที่มีองค์ความรู้การเอาชีวิตรอดในเขตร้อนมากกว่าชาวญี่ปุ่น

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1945–ปัจจุบัน)

หลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่นต่อฝ่ายสัมพันธมิตร บุคลากรทางทหารและพลเรือนชาวญี่ปุ่นถูกส่งตัวกลับประเทศญี่ปุ่นระหว่าง ค.ศ. 1945–46 ขณะที่แรงงานและเจ้าหน้าที่เทคนิคจำนวน 350 คน ได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อเพื่อดำเนินการซ่อมแซมสาธารณูปโภคของปาเลาให้แล้วเสร็จ นอกจากนี้ทายาทของการสมรสต่างพวกระหว่างชาวญี่ปุ่นและปาเลายังได้รับอนุญาตให้อยู่ต่อไปได้ โดยมีบางส่วนที่ย้ายถิ่นฐานไปญี่ปุ่นติดตามบิดาของตน ใน ค.ศ. 1950 ชาวญี่ปุ่น-ปาเลา ได้ก่อตั้งองค์กร ซากุระ-ไค เพื่อช่วยเหลือเยาวชนชาวญี่ปุ่น-ปาเลาและชาวญี่ปุ่นที่ถูกทอดทิ้งโดยบิดามารดาของพวกเขา องค์กรนี้จะช่วยค้นหาบิดามารดาและญาติที่ต้องแยกจากกันจากผลของการบังคับให้ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวญี่ปุ่นกลับประเทศ ต่อมานับตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นไป องค์กรแห่งนี้ได้เปลี่ยนเป็นองค์กรทางวัฒนธรรม จากการที่ชาวญี่ปุ่น-ปาเลาส่วนมากได้กลับไปรวมตัวกับครอบครัวญี่ปุ่นอีกครั้งหรือบางคนสมัครใจเลือกที่จะปล่อยให้การแยกครอบครัวเป็นไปเช่นเดิม

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างปาเลาและญี่ปุ่นอยู่ในระดับน้อยมากในช่วงหลังสงคราม แม้ว่าจะมีชาวประมงโอกินาวะล่องเรือเข้ามาจับปลาในปาเลาเป็นบางครั้งในช่วงทศวรรษ 1960 เป็นต้นไป ชาวญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งได้มาตั้งถิ่นฐานในปาเลาช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และสมรสกับหญิงปาเลา ต่อมาในคริสต์ทศวรรษ 1980 นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นเริ่มประกอบธุรกิจในปาเลา และพบว่ามีชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่ในปาเลาจำนวน 218 คน ใน ค.ศ. 1995 ในจำนวนนี้กว่าครึ่งแสดงความประสงค์ที่จะได้อยู่อาศัยถาวรในปาเลา และมีชาวญี่ปุ่นจำนวนหนึ่งสมรสกับหญิงชาวปาเลาหรือฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตามชาวญี่ปุ่นส่วนมากมักนำครอบครัวมาอยู่ด้วยและยังคงมีการติดต่อกับในประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะ ผู้ตั้งถิ่นฐานตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 บางส่วนประกอบด้วยอดีตผู้ตั้งถิ่นฐานที่ถูกส่งตัวกลับญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติ อดีตผู้ตั้งถิ่นฐานที่กลับมาสู่ปาเลามักเป็นผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปี และมักทำงานเป็นมัคคุเทศก์หรือเจ้าของร้านอาหารในปาเลา

ชาวญี่ปุ่น-ปาเลาหลายคนมีตำแหน่งสำคัญในภาครัฐและการเมือง นักชาติพันธุ์วิทยาอย่างมาร์ก พิตตีเสนอว่าการมีส่วนร่วมอย่างสูงของชาวญี่ปุ่น-ปาเลาในตำแหน่งระดับสูงน่าจะมาจากการศึกษาแบบญี่ปุ่นที่พวกเขาได้รับตั้งแต่เด็ก คูนิโอะ นากามูระ ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของปาเลาและเป็นลูกครึ่งญี่ปุ่น ได้สนับสนุนให้เกิดความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างญี่ปุ่นและปาเลาขณะที่เขาดำรงตำแหน่ง ระหว่างที่เขาเดินทางเยือนญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1996 สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะเสด็จมาต้อนรับด้วยพระองค์เอง ซึ่งชาวญี่ปุ่นและชาวปาเลาต่างชื่นชมการพบปะกันในครั้งนี้ การเดินทางเยือนญี่ปุ่นของนากามูระได้ทำให้ญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ปาเลาในการซ่อมแซมสะพานคอรอร์-บาเบลดาอบ และยังบรรลุข้อตกลงพิเศษทางการค้ากับญี่ปุ่นอีกด้วย

ประชากร

ในช่วงแรกของการปกครองของรัฐบาลพลเรือน ประชากรชาวญี่ปุ่นมีเพียงไม่กี่ร้อยคนเท่านั้น และมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่า 2,000 คน ในค.ศ. 1930 ประชากรชาวญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นตามอัตราเลขชี้กำลังตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1930 เป็นต้นไป โดยใน ค.ศ. 1938 มีประชากรชาวญี่ปุ่นในปาเลาถึง 15,000 คน ซึ่งส่วนมากอาศัยอยู่ในบริเวณคอรอร์ การเข้ามาของผู้ย้ายถิ่นฐานชาวญี่ปุ่นจำนวนมากมีส่วนกระตุ้นการพัฒนาให้คอรอร์เป็นนครใน ค.ศ. 1939 ในเวลาไม่นานชาวญี่ปุ่นมีจำนวนประชากรสูงกว่าชาวปาเลาอย่างชัดเจน โดยมีประชากรชาวปาเลาเพียงร้อยละ 16 ของประชากรทั้งนครใน ค.ศ. 1937 นอกจากนี้จำนวนชาวญี่ปุ่นบนเกาะยังเกินกึ่งหนึ่งของประชากรทั้งเกาะอีกด้วย คิดเป็นร้อยละ 27 ของประชากรชาวญี่ปุ่นในไมโครนีเซียเมื่อมีการทำสำมะโนใน ค.ศ. 1938 ประชากรชาวญี่ปุ่นกลุ่มเล็กที่ใหญ่ที่สุดประกอบด้วยชาวโอกินาวะและชาวเกาหลีในจำนวนเล็กน้อย หลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่น ประชากรชาวญี่ปุ่นในปาเลาถูกส่งกลับ ทว่าประชากรญี่ปุ่น-ปาเลายังคงอยู่ต่อไป และกลายเป็นประชากรกลุ่มเล็กที่ใหญ่ที่สุดในปาเลา ซาซากาวะแปซิฟิกไอส์แลนด์เนชันส์ฟันด์ (Sasakawa Pacific Island Nations Fund) ได้ทำการศึกษาและประมาณว่าน่าจะมีชาวปาเลาประมาณร้อยละ 10 ที่ถือกำเนิดมาจากบิดาชาวญี่ปุ่น และมารดาชาวปาเลา ซึ่งส่วนมากแล้วมักเกินก่อน ค.ศ. 1945 มูลนิธิการศึกษาขั้นสูงด้านการพัฒนาระหว่างประเทศจากญี่ปุ่นได้ทำการศึกษาในประเด็นนี้เช่นกันใน ค.ศ. 2005 โดยผลของการศึกษาชี้ว่ามีประชากรชาวปาเลาประมาณร้อยละ 25 ที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวญี่ปุ่น

ตารางต่อไปนี้แสดงการเพิ่มขึ้นของประชากรชาวญี่ปุ่นตลอดสมัยอาณานิคมญี่ปุ่น:

ประชากรชาวญี่ปุ่นและชาวปาเลาในปาเลา ระหว่าง ค.ศ. 1912–43
ค.ศ. ชาวญี่ปุ่น ชาวปาเลา
1912 73 -
1920 592 5,700
1922 206 5,700
1925 1,054 -
1930 2,078 5,794
1931 2,489 -
1932 3,346 -
1933 3,940 -
1934 5,365
1935 6,553 5,851
1937 11,400 -
1940 23,700 7,000
1943 27,500 -

ภาษา

ชาวญี่ปุ่นใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาที่ใช้สนทนาในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้ภาษาญี่ปุ่นยังเป็นภาษากลางที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างชาวญี่ปุ่นและชาวปาเลาสมัยที่ปาเลายังเป็นอาณานิคมของญี่ปุ่นอีกด้วย ส่วนภาษาอังกฤษได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาญี่ปุ่น และชาวญี่ปุ่นหลายคนมีความสามารถในระดับหนึ่งที่จะสื่อสารภาษาอังกฤษได้ ลูกครึ่งชาวญี่ปุ่น-ปาเลาจะมีความสามารถในการใช้ภาษาญี่ปุ่นสูงกว่าชาวปาเลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เข้ารับการศึกษากระแสหลักในโรงประถม นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังได้นำตัวอักษรคาตาคานะมาใช้ในภาษาปาเลา ซึ่งมีการใช้อย่างไม่เป็นทางการ หลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่น การใช้ภาษาปาเลาและอังกฤษเข้ามาแทนที่การใช้ภาษาญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่น-ปาเลาส่วนมากจะใช้ภาษาปาเลาในการสนทนาในชีวิตประจำวัน มากกว่าที่จะใช้ภาษาญี่ปุ่นหรืออังกฤษ แม้ว่าชาวญี่ปุ่น-ปาเลาจะเคยสนทนาด้วยภาษาญี่ปุ่นมากกว่ากลุ่มคนที่ไม่ได้มีบรรพบุรุษเป็นชาวญี่ปุ่นก็ตาม ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 นักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นเพิ่มจำนวนมากขึ้น ส่งผลให้มีการจัดสอนภาษาญี่ปุ่นอีกครั้งในฐานะวิชาเลือกของโรงเรียนในปาเลาและการจัดการเลือกตั้ง

ธรรมนูญของรัฐอาเงาร์ระบุว่าภาษาอังกฤษ ภาษาปาเลาและภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการของรัฐ ส่งผลให้อาเงาร์เป็นพื้นที่นอกญี่ปุ่นที่เดียวในโลกที่กำหนดให้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการ

ศาสนา

 
ศาลเจ้าเปเลลิวบนเกาะเปเลลิว

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 ชินโตแบบรัฐได้รับความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อใช้ในการส่งเสริมชาตินิยมญี่ปุ่นและผสมผสานทางวัฒนธรรมปาเลาให้เข้ากับบรรทัดฐานแบบญี่ปุ่น โดยมีการก่อสร้างศาลเจ้าขึ้นจำนวนหนึ่งในปาเลา ศาลเจ้าที่ถือว่ามีความสำคัญคือศาลเจ้านันโย ซึ่งสร้างแล้วเสร็จที่คอรอร์ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1940 และเป็นศูนย์กลางศาลเจ้าในภูมิภาคไมโครนีเซีย นอกจากนี้การมีส่วนร่วมของพลเรือนในพิธีกรรมชินโตก็ได้รับการให้ความสำคัญเช่นกัน โดยมุ่งเน้นไปที่อุดมคติวัฒนธรรมญี่ปุ่นและการถวายสักการะแด่จักรพรรดิญี่ปุ่น สำหรับคณะผู้สอนศาสนาชินโต, พุทธศาสนาแบบเซ็นและเท็นริเกียวได้รับการสนับสนุนให้จัดตั้งคณะผู้สอนศาสนา โดยพบว่าวัดในพุทธศาสนาแห่งแรกในปาเลาสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1926 โดยมีจุดประสงค์สำคัญเพื่อให้บริการทางจิตวิญญาณแด่ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าผู้ตั้งถิ่นฐานชาวญี่ปุ่นรุ่นแรก ๆ ได้สร้างศาลเจ้าขนาดเล็กในนิคมเกษตรกรรมของพวกเขา ก่อนที่รัฐบาลพลเรือนจะส่งเสริมคณะผู้สอนศาสนาในปาเลา

ในระยะแรก คณะผู้สอนศาสนาคริสต์ยังได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลพลเรือนญี่ปุ่นและได้รับการส่งเสริมให้ขจัดพิธีกรรมวิญญาณนิยม (Animism) ที่ชาวปาเลาถือปฏิบัติ อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 มีการคุมขังมิชชันนารีเหล่านี้ เนื่องจากญี่ปุ่นสงสัยว่ามิชชันนารีมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจารกรรม หลังสงครามสิ้นสุดลง ศาลเจ้าหลายแห่งถูกทิ้งร้างหรือทำลาย ขณะที่ชาวญี่ปุ่น-ปาเลาเลือกที่จะนับถือศาสนาคริสต์มากกว่าศาสนาพุทธหรือชินโต ในคริสต์ทศวรรษ 1980–90 ได้มีการก่อกสร้างแบบจำลองขนาดเล็กของศาลเจ้าชินโตที่เปเลลิวและอาเงาร์ขึ้นใหม่อีกครั้ง โดยศาลเจ้าที่สร้างขึ้นใหม่นี้มีวัตถุประสงค์ต่างจากสมัยอาณานิคมญี่ปุ่น กล่าวคือมีไว้เพื่อระลึกถึงทหารญี่ปุ่นที่เสียชีวิตช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นและครอบครัวของทหารผู้เสียชีวิตเป็นผู้เข้ามาเยี่ยมชมศาลเจ้าเหล่านี้

สังคม

การแบ่งแยกเชื้อชาติ

รัฐบาลพลเรือนญี่ปุ่นแบ่งแยกผู้ย้ายถิ่นชาวญี่ปุ่นออกจากชาวปาเลา และใช้นโยบายที่มีจุดประสงค์สำคัญในการปกป้องสวัสดิภาพของชาวปาเลา อย่างไรก็ตามนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 เป็นต้นไป จุดเน้นของนโยบายเปลี่ยนแปลงไปโดยให้สิทธิ์แก่ผู้ย้ายถิ่นชาวญี่ปุ่นมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลพลเรือนประสบความยากลำบากในการตอบสนองความต้องการของผู้ย้ายถิ่นที่มีประชากรเพิ่มขึ้น การแบ่งแยกเชื้อชาติถูกปฏิบัติอยู่ในเกือบทุกภาคส่วนของสังคม แต่เห็นได้อย่างชัดเจนในภาคแรงงานและการศึกษา ชาวปาเลาต้องเผชิญกับความยากลำบากในการได้รับตำแหน่งในรัฐบาลอาณานิคม ซึ่งมักอยู่ในการครอบครองของผู้ตั้งถิ่นฐานชาวญี่ปุ่น ส่วนภาคส่วนการศึกษาพบว่าเด็กญี่ปุ่นจะเข้ารับการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษากระแสหลัก (โชกักโก) ซึ่งบทเรียนที่จัดการเรียนการสอนอิงตามหลักสูตรเหมือนกับโรงเรียนอื่นในญี่ปุ่น ขณะที่เด็กปาเลาจะเข้ารับการศึกษาใน "โรงเรียนของรัฐ" (โลกักโก) ซึ่งบทเรียนจะเน้นไปที่การสอนทักษะสำหรับแรงงานระดับล่าง นักเรียนส่วนมากจาก "โรงเรียนของรัฐ" มักออกจากระบบการศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา นอกจากนี้เด็กที่เกิดจากบิดาชาวญี่ปุ่นและมารดาชาวปาเลาก็ประสบปัญหาการเข้าศึกษาต่อโรงเรียนประถมศึกษาเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับเด็กที่เกิดนอกสมรส

ลูกครึ่ง

ชาวญี่ปุ่น-ปาเลาในสมัยอาณานิคมญี่ปุ่นเป็นประชากรกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมากประมาณหนึ่ง โดยกลุ่มนี้มักถือกำเนิดจากบิดาชาวญี่ปุ่นและมารดาชาวปาเลา ประชากรกลุ่มนี้ส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตเมืองและได้รับการเลี้ยงดูตามบรรทัดฐานและค่านิยมแบบญี่ปุ่น รวมถึงใช้ภาษาญี่ปุ่นในชีวิตประจำวัน ชาวญี่ปุ่น-ปาเลาจำนวนหนึ่งศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้คนกลุ่มนี้มีความรู้ด้านประเพณีและภาษาปาเลาที่จำกัด อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าเด็กที่เกิดนอกสมรสมีโอกาสสัมผัสกับประเพณีจากฝ่ายมารดามากกว่า และสามารถสื่อสารทั้งภาษาญี่ปุ่นและภาษาปาเลาได้อย่างคล่องแคล่ว แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วเด็กญี่ปุ่น-ปาเลาได้รับการจัดว่าเป็นชาวญี่ปุ่นในสถิติทางการ และเข้าถึงอภิสิทธิ์สังคมของชาวญี่ปุ่น แต่มีรายงานว่าคนกลุ่มนี้จำนวนมากเผชิญกับการเลือกปฏิบัติเมื่ออยู่ในวงของชาวญี่ปุ่นและชาวปาเลา ในพื้นที่ชนบทที่มีชาวปาเลาอยู่เป็นจำนวนมาก คู่สมรสและอนุภรรยาของชายญี่ปุ่นมักถูกรังเกียจ และกลุ่มชาตินิยมปาเลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโมเด็กเงย์ ที่ไม่เห็นด้วยกับการสมรสต่างพวกระหว่างชายญี่ปุ่นและหญิงปาเลา ขณะที่รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนให้เกิดการสมรสต่างพวก และให้สิทธิประโยชน์แก่หญิงที่สมรสกับชายญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามมีเพียงพลเรือนชายเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้สมรสต่างพวก ส่วนทหารไม่สามารถสมรสลักษณะนี้ได้ แต่สามารถมีอนุภรรยาได้ นอกจากนี้รัฐบาลพลเรือนยังระงับการสมรสระหว่างชายปาเลาและหญิงญี่ปุ่น โดยมีเพียงกรณีเดียวเท่านั้นที่มีการสมรสระหว่างชายปาเลาและหญิงญี่ปุ่นเกิดขึ้นในสมัยอาณานิคมญี่ปุ่น

หลังจากการยอมจำนนของญี่ปุ่นใน ค.ศ. 1945 ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวญี่ปุ่นถูกส่งกลับประเทศ และชายญี่ปุ่นที่ดูแลครอบครัวญี่ปุ่น-ปาเลาได้ละทิ้งครอบครัวของพวกเขา และเลือกที่จะถูกส่งตัวกลับ โดยให้เหตุผลว่าลูกของตนน่าจะปรับตัวในปาเลาได้ง่ายกว่าในญี่ปุ่น หญิงปาเลาเหล่านี้จำนวนมากต้องเลี้ยงดูลูกเพียงลำพัง ขณะที่บางคนถูกทอดทิ้งและมีครอบครัวปาเลารับเลี้ยงดูต่อ ครอบครัวญี่ปุ่น-ปาเลาบางส่วนได้อพยพย้ายถิ่นไปอยู่ญี่ปุ่น แต่โดยทั่วไปแล้วมักเผชิญกับความตื่นตระหนกทางวัฒนธรรม และยื่นคำร้องขอกลับปาเลาหลังจากที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่นเป็นระยะเวลาหนึ่ง คำร้องส่วนมากได้รับการอนุมัติ แม้ว่าจะไม่ได้รับอนุญาตให้นำคู่สมรสชาวญี่ปุ่นกลับมาด้วยก็ตาม

ทายาทชาวญี่ปุ่น-ปาเลารุ่นที่สองและสาม ซึ่งสืบเชื้อสายจากผู้ตั้งถิ่นฐานยุคเริ่มแรกมักเลือกที่จะอยู่ปาเลาต่อไป แม้ว่าผู้ที่ได้รับการเลี้ยงดูในครอบครัวที่พูดภาษาญี่ปุ่นเผชิญกับปัญหาการสนทนาภาษาปาเลา คนกลุ่มนี้ยังคงใช้นามสกุลแบบญี่ปุ่นอยู่ เพียงแต่ว่ามักระบุตัวตนว่าเป็นชาวปาเลาหลังจบสงคราม ทายาทรุ่นที่สองมักสมรสกับหญิงชาวปาเลา และกลมกลืนไปกับชาวปาเลาท้องถิ่นในที่สุด คนกลุ่มนี้จะระบุอัตลักษณ์ของตนว่าเป็นญี่ปุ่น เมื่อเข้าสังคมกับชาวญี่ปุ่นคนอื่น เช่น เมื่อเข้าร่วมการระลึกถึงทหารญี่ปุ่นที่เสียชีวิตในช่วงสงครามแปซิฟิก ชาวญี่ปุ่น-ปาเลาบางคนเลือกที่จะฝังศพตนเองในสุสานญี่ปุ่นหลังจากเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่คอรอร์

เศรษฐกิจ

รัฐบาลพลเรือนญี่ปุ่นส่งเสริมให้นักธุรกิจชาวญี่ปุ่นและผู้ตั้งถิ่นฐานขยายการทำเหมืองแร่ฟอสเฟตและการผลิตเนื้อมะพร้าวแห้ง ซึ่งเป็นกิจกรรมทางพาณิชย์ที่ทำกันมาตั้งแต่สมัยอาณานิคมเยอรมนี ในช่วงนี้มีการก่อสร้างสาธารณูปโภคใหม่ระหว่างเมือง เช่น ถนน ท่าเรือ การจ่ายไฟฟ้าและระบบท่อน้ำเสีย โอกาสในการหางานใหม่ทำให้มีผู้ย้ายถิ่นจากญี่ปุ่น โอกินาวะและเกาหลีมายังปาเลาเป็นจำนวนมาก กิจการของรัฐอย่างนันโยโคฮัตสึคาบูชิกิไคชา (บริษัทพัฒนาทะเลใต้) ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1936 เพื่อปรับปรุงกิจกรรมทางเศรษฐกิจของหมู่เกาะให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ด้านการบริหารจัดการที่จะพัฒนาขีดความสามารถการพึ่งพาตนเองของปาเลา ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1930 คนเก็บไข่มุกชาวญี่ปุ่นเข้ามายังทะเลอาราฟูราเป็นประจำ และจะหยุดพักที่ปาเลาระหว่างเดือนตุลาคมถึงเมษายน การเข้ามาของคนเก็บไข่มุกกจากญี่ปุ่นทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของเกาะ และมีผู้ตั้งถิ่นฐานชาวญี่ปุ่นบางคนจากไซปันเปิดร้านกาแฟ สำนักเกอิชาและร้านสุราในคอรอร์ เพื่อรองรับคนเก็บไข่มุกระหว่างที่หยุดพักในเดือนตุลาคมถึงเมษายน

เมื่อญี่ปุ่นยอมจำนนใน ค.ศ. 1945 กิจการแลองค์กรทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในปาเลาปิดตัวลง นับได้ว่าเป็นการยุติอิทธิพลของญี่ปุ่นต่อเศรษฐกิจของปาเลา ในช่วงสองทศวรรษแรกหลังสงคราม รัฐบาลยึดครองอเมริกันกำหนดการจำกัดทางการค้ากับญี่ปุ่นอย่างเข้มงวด การติดต่อระหว่างปาเลาและญี่ปุ่นเกิดขึ้นอีกครั้งในคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยเริ่มจากการที่ชาวประมงโอกินาวะได้รับสิทธิ์การทำประมง และต่อมาในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 จำนวนนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่เข้ามายังปาเลาเพิ่มจำนวนมากขึ้น การเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวนำไปสู่การบูรณะแหล่งมรดกทั่วปาเลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อนุสรณ์สถานและสิ่งปลูกสร้างของรัฐบาลในสมัยญี่ปุ่นปกครอง รวมไปถึงบ้านทรงยาวแบบปาเลาเพื่อรองรับความสนใจของนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น ซึ่งมีจำนวนครึ่งหนึ่งของนักท่องเที่ยวทั้งหมด แหล่งท่องเที่ยวในปาเลาหลายแห่งบริหารจัดการโดยประชาชนปาเลาที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น-ปาเลา ซึ่งมีความรู้ด้านประเพณีและภาษาทั้งญี่ปุ่นและปาเลา ซึ่งช่วยในการจัดการกลุ่มนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นได้ง่ายยิ่งขึ้น

การศึกษา

มีโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นในปาเลาที่เปิดสอนเสริมในช่วงสุดสัปดาห์ในคอรอร์

บุคคลสำคัญ

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

  1. ประธานศาลสูงสุดคนแรกของปาเลา และเป็นพี่ชายของอดีตประธานาธิบดีคูนิโอะ นากามูระ ถือกำเนิดจากบิดาชาวญี่ปุ่นและมารดาชาวปาเลา
  2. ลุค มาซาฮารุ ทีแมน (1938–2009) เป็นบุตรของเคียวตะ มาซาฮารุ บิดาชาวญี่ปุ่นจากโยโกฮามะ และมารดาชาวปาเลา ต่อมาได้รับการอุปการะโดยเอเลียส ฟีกีร์ ชายชาวแย็ป ขณะที่อายุยังน้อย เขาได้รับการเลี้ยงดูและได้รับชื่อว่า "ทีแมน" ต่อมาเขามีบทบาทกับการเมืองของสหพันธรัฐไมโครนีเซีย (โดยเฉพาะแย็ป) มากกว่าในปาเลา ทีแมนมีความชำนาญในการสนทนาภาษาปาเลาและแย็บ และสามารถสนทนาภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษได้ ชิโระ เคียวตะ ซึ่งเป็นพี่น้องของเขาเคยดำรงตำแหน่งประธานสภาคองเกรสของปาเลา
  3. จำนวนในที่นี้ไม่นับรวมประชากรปาเลาที่เป็นลูกผสมญี่ปุ่น-ปาเลา
  4. ชาวเกาหลีเข้ามาในปาเลาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1930 เป็นต้นไป
  5. รู้จักกันในชื่อ คนเค็ตสึ ในภาษาญี่ปุ่น
  6. นำโดยมิโนรุ อูเอกิ ซึ่งมีบิดาเป็นชาวญี่ปุ่นและมารดาเป็นชาวปาเลา
  7. ชาวโอกินาวะและชาวเกาหลีได้รับการจัดให้เป็น "ชาวญี่ปุ่น" ในสำมะโนอย่างเป็นทางการที่เกี่ยวข้องกับแปซิฟิกใต้ในอาณัติ
  8. มีบางกรณีที่ได้รับการยกเว้น ครอบครัวหนึ่งได้รับอนุญาตให้นำคู่สมรสกลับมาปาเลาได้ หลังจากที่ภรรยาดั้นด้นเข้าพบดักลาส แมกอาเธอร์ แต่ต่อมาถูกส่งตัวกลับหลังจากที่เหมืองฟอสเฟตในปาเลายุติการทำเหมืองใน ค.ศ. 1955 จนกระทั่งในนาทีสุดท้าย ผู้ว่าการทหารที่กวมอนุญาตให้เขาอยู่ต่อไปได้

อ้างอิง

  1. Palau Supreme Court Office of Court Counsel (2001), p. 77
  2. Deimel (2007), p. 225-6
  3. Japanese citizens cast ballots from Palau 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Pacific Islands Report, Philip N. Haruo, August 24, 2009
  4. McAuley (2001), p. 90
  5. Palau, CIA World Factbook, retrieved September 28, 2009
  6. Crocombe (2007), p. 91
  7. Crocombe (2007), p. 21
  8. Crocombe (2007), p. 45
  9. Peattie (1988), p. 191
  10. Hezer (2003), p. 191-2
  11. Hezer (2003), p. 188
  12. Hezel (2003), p. 193
  13. 1930 & 1935 Japanese Census of Micronesia 2016-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Insular Area Census (section) - pacificweb.org, retrieved November 23, 2009
  14. Peattie (1988), p. 115
  15. Hezel (2003), p. 218-9
  16. Hezel (2003), p. 223
  17. White, Lamont (1989), p. 128-30
  18. Polynesian Cultural Center (Laie, Hawaii) (1996), p. 83
  19. Leibowitz (1996), p. 76
  20. Peattie (1988), p. 349
  21. Crocombe (2001), p. 57
  22. Crocombe (2007), p. 54
  23. Moon et al. (2009), p. 179
  24. Peattie (1988), p. 316
  25. Nelson et al. (2003), p. 349
  26. Hezel (2003), p. 175
  27. Peattie (1988), p. 160
  28. McCall et al. (1992), p. 244
  29. Wave of Pacifika, SPINF (Sasakawa Pacific Islands Nations Fund) Report FY99, retrieved October 22, 2009
  30. Peattie (1988), p. 158
  31. Peattie (1988), p. 220
  32. Foundation for Advanced Studies in International Development (Japan) 2011-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Kimio Fujita, October 7, 2005
  33. Goto (2003), p. 15
  34. Wurm et al. (1996), p. 382
  35. Yoo et al. (2009), p. 18
  36. The Statesman's Year-book (1923), p. 1080
  37. Appell (1985), p. 68
  38. Price (1936), p. 172
  39. Polynesian Cultural Center (Laie, Hawaii) (1996), p. 45
  40. Nelson et al. (2003), p. 324
  41. Deimel (2007), p. 225
  42. McAuley (2001), p. 113
  43. Asian Cultural Center (1988), p. 83
  44. Investigating the sociolinguistic gender paradox in a multilingual community: A case study from the Republic of Palau, 2003, Kazuko Matsumoto, David Britain, Musashino University, University of Essex
  45. Crocombe (2007), p. 402
  46. "Constitution of the State of Angaur". Pacific Digital Library. Article XII. สืบค้นเมื่อ 28 March 2018. The traditional Palauan language, particularly the dialect spoken by the people of Angaur State, shall be the language of the State of Angaur. Palauan, English and Japanese shall be the official languages.
  47. Hezel (2003), p. 213-4
  48. Brigham Young University—Hawaii Campus (1981), p. 28
  49. Peattie (1988), p. 84-5
  50. Brigham Young University—Hawaii Campus (1981), p. 36
  51. 南洋神社, Asahi Shimbun, September 21, 2009
  52. [https://web.archive.org/web/20110727110724/http://www.nanyou.org/shrine.html Archived 2011-07-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน NPO南洋交流協会[パラオ共和国の神社], Palau-Japan Friendship, retrieved October 17, 2009
  53. Hezer (2003), p. 193-4
  54. McAuley (2001), p. 93
  55. Hezel (2003), p. 163-4
  56. Rechebei et al. (1997), p. 166
  57. Hezel (2003), p. 211, 400
  58. Denoon et al. (2004), p. 448
  59. White, Lamont (1989), p. 134
  60. 旧南洋群島における混血児のアソシエーションーパラオ ・サクラ会, Iitaka Shingo, University of the Ryukyus Repository, retrieved October 17, 2009
  61. Peattie (1988), p. 131-2
  62. Hezel (2003), p. 202-3
  63. Peattie (1988), p. 317
  64. Asian Cultural Center (1988), p. 62
  65. Moon et al. (2009), p. 186-7
  66. "" (). MEXT. Retrieved on February 13, 2015.

บรรณานุกรม

  • Appell, George N., Modernization and the Emergence of a Landless Peasantry: Essays on the Integration of Peripheries to Socioeconomic Centers, Volumes 33-34, Dept. of Anthropology, College of William and Mary, 1985
  • Asian Cultural Center, Asian Culture Quarterly, Volume 16, 1988
  • Brigham Young University—Hawaii Campus, Pacific Studies, Volumes 5–6, 1981
  • Crocombe, R. G., Asia in the Pacific Islands: Replacing the West, 2007, ISBN 982-02-0388-0
  • Crocombe, R. G., The South Pacific, University of the South Pacific, 2001, ISBN 982-02-0154-3
  • Denoon, Donald; Meleisea, Malama; Firth, Stewart; Linnekin, Jocelyn; Nero, Karen, The Cambridge History of the Pacific Islanders, Cambridge University Press, 2004, ISBN 0-521-00354-7
  • Deimel, Claus, Jahrbuch der Staatlichen Ethnographischen Sammlungen Sachsen. Band 43, LIT Verlag Berlin-Hamburg-Münster, 2007, ISBN 3-8258-1484-X
  • Goto, Ken'ichi; Kratoska, Paul H., Tensions of Empire: Japan and Southeast Asia in the Colonial and Postcolonial World: Volume 108 of Research in International Studies, NUS Press, 2003, ISBN 9971-69-281-3
  • Hezel, Francis X., Strangers in Their Own Land: A Century of Colonial Rule in the Caroline and Marshall Islands (Issue 13 of Pacific Islands Monograph Ser. 13), University of Hawaii Press, 2003, ISBN 0-8248-2804-6
  • Leibowitz, Arnold H., Embattled Island: Palau's Struggle for Independence, Greenwood Publishing Group, 1996, ISBN 0-275-95390-4
  • McAuley, Thomas E., Language Change in East Asia, Routledge, 2001, ISBN 0-7007-1377-8
  • Moon, Opkyo; Guichard-Anguis, Sylvie, Japanese Tourism and Travel Culture: Japan anthropology workshop series, Taylor & Francis, 2009, ISBN 0-415-47001-3
  • Nelson, Daniel N.; Dedaić, Mirjana N., Volume 10 of Language, Power, and Social process: At War with Words, Walter de Gruyter, 2003, ISBN 3-11-017649-1
  • McCall, Grant; Connell, John, A World Perspective on Pacific Islander Migration: Australia, New Zealand, and the USA: Issue 6 of Pacific Studies Monograph, Centre for South Pacific Studies, University of New South Wales in association with the Bureau of Immigration Research, 1992, ISBN 0-7334-0285-2
  • Palau Supreme Court Office of Court Counsel, The Wisdom of the Past, A Vision for the Future: The Judiciary of the Republic of Palau, Office of the Court Counsel, Supreme Court of the Republic of Palau, 2001
  • Peattie, Mark R., Nanʻyō: The rise and fall of the Japanese in Micronesia, 1885–1945, University of Hawaii Press, 1988, ISBN 0-8248-1480-0
  • Polynesian Cultural Center (Laie, Hawaii), Pacific studies, Volume 19,—Issues 3–4, Brigham Young University—Hawaii Campus. Institute for Polynesian Studies, 1996
  • Price, Willard, Pacific Adventure, Reynal & Hitchcock, 1936
  • Rechebei, Elizabeth Diaz; McPhetres, Samuel F., History of Palau: Heritage of an Emerging Nation, Ministry of Education, 1997, ISBN 0-9652776-3-1
  • The Statesman's Year-book, St. Martin's Press, 1923
  • White, Miles Geoffrey; Lindstrom, Lamont, The Pacific theater: island representations of World War II, Part 767—Issue 8 of Pacific Islands Monograph Series, University of Hawaii Press, 1989, ISBN 0-8248-1146-1
  • Wurm, Stephen Adolphe; Mühlhäusler, Peter; Tryon, Darrell T., Atlas of Languages of Intercultural Communication in the Pacific, Asia, and the Americas, Volume 2,–Part 2, Walter de Gruyter, 1996, ISBN 3-11-013417-9
  • Yoo, Dongwoo; Steckel, Richard E., , Economics Department, The Ohio State University; International Policy Center, Gerald R. Ford of Public Policy, University of Michigan, October 20, 2009

คมญ, นในประเทศปาเลา, ประเทศปาเลา, งเป, นประเทศเกาะในมหาสม, ทรแปซ, มชนชาวญ, นขนาดเล, กท, วนมากแล, วเข, ามาอย, อาศ, ยในปาเลาระยะยาว, ชาวญ, นจำนวนน, อยกล, มน, เร, มอย, อาศ, ยในปาเลาหล, งจากได, บเอกราชใน, 1994, และก, อต, งก, จการธ, รก, จข, นในประเทศ, อย, างไรก, ตา. praethspaela sungepnpraethsekaainmhasmuthraepsifik michumchnchawyipunkhnadelkthiswnmakaelwekhamaxyuxasyinpaelarayayaw chawyipuncanwnnxyklumnierimxyuxasyinpaelahlngcakidrbexkrachin kh s 1994 aelakxtngkickarthurkickhuninpraeths xyangirktamnikhmchawyipuninpaelasamarthyxnklbipidthungchwngtnkhriststwrrsthi 19 aetyngimmikaryaythinthankhnadihykhxngchawyipunsupaelamaknk thwaemuxpaelaxyuphayitkarpkkhrxngkhxngyipun odyepnswnhnungkhxngaepsifikitinxantiinchwngkhristthswrrs 1920 mikaryaythinthankhnadihyekidkhun sungphutngthinthancakyipunmithngphuthimibthbathdankarbriharcdkarinrthbalxananikhmyipun aelaphthnaesrsthkickhxngpaela hlngcakkaryxmcannkhxngyipunin kh s 1945 prachakrchawyipunaethbthnghmdthuksngklbippraethsyipun swnprachakrlukkhrungyipun paelayngidrbxnuyatihxyutxip prachakrechuxsayyipun paelaepnprachakrklumnxythiihythisudinpraethscakkarthimikarsmrstangphwkrahwangchawyipunaelachawpaela phwkekhamkrabutwtnaelaptibtitnsxdkhlxngkbbrrthdthanaelachiwitpracawnkhxngchawpaela 6 nikhmyipuninpraethspaelamaomru nakamura fn 1 lukh thiaemn fn 2 ehxresy ekhiywtaexeliys khmeskh chinprachakrthnghmd300 kh s 2009 3 fn 3 phumiphakhthimiprachakrxyangminysakhyxaengaraelakhxrxrphasapaela xngkvs yipun 4 sasnaormnkhathxlikaelaopretsaetnth 5 chinotaelaphuththsasnaklumchatiphnthuthiekiywkhxngchawpaela chawyipun chawoxkinawa enuxha 1 prawtisastr 1 1 rayaaerk kh s 1820 1945 1 2 hlngsngkhramolkkhrngthisxng kh s 1945 pccubn 2 prachakr 3 phasa 4 sasna 5 sngkhm 5 1 karaebngaeykechuxchati 5 2 lukkhrung 6 esrsthkic 7 karsuksa 8 bukhkhlsakhy 9 duephim 10 echingxrrth 11 xangxing 12 brrnanukrmprawtisastr aekikhrayaaerk kh s 1820 1945 aekikh raynganlaylksnxksrchinaerkrabuwakartidtxrahwangchawyipunkbpaelaekidkhunemuxlmphderuxibeliybchayfngkhxngyipunxxknxkesnthang in kh s 1820 aelaphurxdchiwitthngaepdichchiwitxyuinpaelaepnewla 5 pi cnthung kh s 1825 7 phxkhachawyipunerimtngnikhmtngaetchwngklangkhriststwrrsthi 19 aelain kh s 1890 idmikarkxtngsthanikarkhakhxngyipunkhun 2 aehng 8 phxkhaehlanicanwnmaksmrskbthidakhxngphunathxngthinaelaeliyngdukhrxbkhrwthxngthin emuxyipunphnwkpaelacakeyxrmniin kh s 1914 phutngthinthanchawyipunaelathayaththahnathiepnecahnathitidtxprasanngankhxngrthaelalamsahrbkarpkkhrxngdwyrthbalthharkhxngyipun 9 khxrxrrahwangkarpkkhrxngkhxngyipun rthbalphleruxnidrbkarcdtngkhunaethnthikarpkkhrxngdwythharin kh s 1922 odymisunyklangkarbriharxyuthikhxrxr rthbalphleruxnidrierimaephnnganthicarabuaelarwbrwmthidinthiimidichpraoychnrahwang kh s 1923 aela 1932 ephuxkarphthnakhunihm thidinehlaniswnmakichsahrbkarkxsrangnikhmxutsahkrrmaelakarkhyayphunthiemuxngephuxrxngrbprachakrthiyaythinthanmacakyipunaelaoxkinawa 10 rthbalyipunsnbsnunchawyipunaelachawoxkinawaxyangaekhngkhnephuxihiptngrkrakihminphumiphakhimokhrniesiy sungmipaelaepnhnunginnn aelacdtngnikhmekstrkrrmkhun nikhmekstrkrrmaehngaerkkxtngkhunthiengermelnguyin kh s 1926 aetphutngthinthanprasbpyhakbsphaphxakasrxnchunaelatxnglathingnikhmin kh s 1930 thwakartngnikhminrayatxmaprasbkhwamsaercmakkhun 11 phawaesrsthkictktakhrngihysngphlihekidkarwangngankhrngihyinchwngplaykhristthswrrs 1920 aela 1930 chawyipunaelachawoxkinawacanwnmakyaythinthanmayngpaela phuyaythinidnakhrxbkhrwkhxngphwkekhamadwyaelaphyayamaeswnghanganthainhlakhlaywichachiph phuyaythinchawyipunidtaaehnnginrthbalxananikhm khnathichawoxkinawaaelachawekahlicanwnhnung fn 4 thanganepnaerngnganinphakhkarekstr pramngaelaxutsahkrrmehmuxngaer 12 in kh s 1935 chawyipunmicanwnkhidepnrxyla 60 khxngprachakrpaela 13 aelarwmklumxyuinekhtemuxng echn xaengaraelakhxrxr phutngthinthanchawyipunbangswnmihyingpaelaepnphrryahruxxnuphrrya thaihmiprachakredklukkhrungyipun paela fn 5 phxsmkhwrinewlann cnthungpithay khxngkarpkkhrxngkhxngyipun 14 nbtngaet kh s 1937 epntnip kxngthpheruxyipunidkhyaysingxanwykhwamsadwkthangthhar sngphlihekidkarcangaerngngancanwnmakcakyipunaelaekahliinkarkxsrangsingxanwykhwamsadwktang phayinrayaewlaxnsn canwnkhxngaerngnganbngkhbmimakkwa 10 000 khnthwthngphumiphakhimokhrniesiy aelasrangpharaxyanghnktxthrphyakrxncakdkhxngekaa aerngnganchawoxkinawaaelachawyipun rwmthungphutngthinthanthawrthuksngklbphumilaenakhxngphwkekha 15 mikareknthchaychawyipunepnthhar swnchawpaelathimihnathidanxanwykarinkxngkalngtarwc txngepliynnganipxyuinphakhkarekstr 16 phleruxnchawyipunmiswnsakhyinkickrrmokhsnachwnechuxbnekaa inchwngewlanichawyipuncanwnmakprasbpyhaepnxyangmakinkarcdkarkbkhwamxdxyakcakkarthiaehlngxaharcakyipunthuktdkhad sungtangcakchawpaelathimixngkhkhwamrukarexachiwitrxdinekhtrxnmakkwachawyipun 17 hlngsngkhramolkkhrngthisxng kh s 1945 pccubn aekikh hlngcakkaryxmcannkhxngyipuntxfaysmphnthmitr bukhlakrthangthharaelaphleruxnchawyipunthuksngtwklbpraethsyipunrahwang kh s 1945 46 khnathiaerngnganaelaecahnathiethkhnikhcanwn 350 khn idrbxnuyatihxyutxephuxdaeninkarsxmaesmsatharnupophkhkhxngpaelaihaelwesrc 18 nxkcaknithayathkhxngkarsmrstangphwkrahwangchawyipunaelapaelayngidrbxnuyatihxyutxipid odymibangswnthiyaythinthanipyipuntidtambidakhxngtn 19 in kh s 1950 chawyipun paela fn 6 idkxtngxngkhkr sakura ikh ephuxchwyehluxeyawchnchawyipun paelaaelachawyipunthithukthxdthingodybidamardakhxngphwkekha xngkhkrnicachwykhnhabidamardaaelayatithitxngaeykcakkncakphlkhxngkarbngkhbihphutngthinthanchawyipunklbpraeths txmanbtngaetthswrrs 1980 epntnip xngkhkraehngniidepliynepnxngkhkrthangwthnthrrm cakkarthichawyipun paelaswnmakidklbiprwmtwkbkhrxbkhrwyipunxikkhrnghruxbangkhnsmkhriceluxkthicaplxyihkaraeykkhrxbkhrwepnipechnedim 20 ptismphnthrahwangpaelaaelayipunxyuinradbnxymakinchwnghlngsngkhram aemwacamichawpramngoxkinawalxngeruxekhamacbplainpaelaepnbangkhrnginchwngthswrrs 1960 epntnip chawyipuncanwnhnungidmatngthinthaninpaelachwngkhristthswrrs 1970 aelasmrskbhyingpaela 21 txmainkhristthswrrs 1980 nkthurkicchawyipunerimprakxbthurkicinpaela aelaphbwamichawyipunxasyxyuinpaelacanwn 218 khn in kh s 1995 incanwnnikwakhrungaesdngkhwamprasngkhthicaidxyuxasythawrinpaela aelamichawyipuncanwnhnungsmrskbhyingchawpaelahruxfilippins 22 xyangirktamchawyipunswnmakmknakhrxbkhrwmaxyudwyaelayngkhngmikartidtxkbinpraethsyipunepnraya 21 phutngthinthantngaetkhristthswrrs 1980 bangswnprakxbdwyxditphutngthinthanthithuksngtwklbyipunhlngsngkhramolkkhrngthisxngyuti xditphutngthinthanthiklbmasupaelamkepnphuthimixayuekin 60 pi aelamkthanganepnmkhkhuethskhruxecakhxngranxaharinpaela 23 chawyipun paelahlaykhnmitaaehnngsakhyinphakhrthaelakaremuxng nkchatiphnthuwithyaxyangmark phittiesnxwakarmiswnrwmxyangsungkhxngchawyipun paelaintaaehnngradbsungnacamacakkarsuksaaebbyipunthiphwkekhaidrbtngaetedk 24 khunioxa nakamura sungepnprathanathibdikhnaerkkhxngpaelaaelaepnlukkhrungyipun idsnbsnunihekidkhwamsmphnththiiklchidrahwangyipunaelapaelakhnathiekhadarngtaaehnng rahwangthiekhaedinthangeyuxnyipunin kh s 1996 smedcphrackrphrrdixakihiotaesdcmatxnrbdwyphraxngkhexng sungchawyipunaelachawpaelatangchunchmkarphbpakninkhrngni karedinthangeyuxnyipunkhxngnakamuraidthaihyipunihkhwamchwyehluxthangkarenginaekpaelainkarsxmaesmsaphankhxrxr baebldaxb aelayngbrrlukhxtklngphiessthangkarkhakbyipunxikdwy 25 prachakr aekikhinchwngaerkkhxngkarpkkhrxngkhxngrthbalphleruxn prachakrchawyipunmiephiyngimkirxykhnethann aelamicanwnephimkhunkwa 2 000 khn inkh s 1930 26 prachakrchawyipunephimkhuntamxtraelkhchikalngtngaetklangkhristthswrrs 1930 epntnip odyin kh s 1938 miprachakrchawyipuninpaelathung 15 000 khn sungswnmakxasyxyuinbriewnkhxrxr 27 karekhamakhxngphuyaythinthanchawyipuncanwnmakmiswnkratunkarphthnaihkhxrxrepnnkhrin kh s 1939 inewlaimnanchawyipunmicanwnprachakrsungkwachawpaelaxyangchdecn odymiprachakrchawpaelaephiyngrxyla 16 khxngprachakrthngnkhrin kh s 1937 28 nxkcaknicanwnchawyipunbnekaayngekinkunghnungkhxngprachakrthngekaaxikdwy 29 khidepnrxyla 27 khxngprachakrchawyipuninimokhrniesiyemuxmikarthasamaonin kh s 1938 30 prachakrchawyipunklumelkthiihythisudprakxbdwychawoxkinawaaelachawekahliincanwnelknxy 30 fn 7 hlngcakkaryxmcannkhxngyipun prachakrchawyipuninpaelathuksngklb thwaprachakryipun paelayngkhngxyutxip aelaklayepnprachakrklumelkthiihythisudinpaela sasakawaaepsifikixsaelndenchnsfnd Sasakawa Pacific Island Nations Fund idthakarsuksaaelapramanwanacamichawpaelapramanrxyla 10 thithuxkaenidmacakbidachawyipun aelamardachawpaela sungswnmakaelwmkekinkxn kh s 1945 29 mulnithikarsuksakhnsungdankarphthnarahwangpraethscakyipunidthakarsuksainpraednniechnknin kh s 2005 odyphlkhxngkarsuksachiwamiprachakrchawpaelapramanrxyla 25 thimibrrphburusepnchawyipun 32 tarangtxipniaesdngkarephimkhunkhxngprachakrchawyipuntlxdsmyxananikhmyipun prachakrchawyipunaelachawpaelainpaela rahwang kh s 1912 43kh s chawyipun chawpaela1912 73 33 1920 592 34 5 700 35 1922 206 36 5 7001925 1 054 34 1930 2 078 34 5 794 37 1931 2 489 34 1932 3 346 34 1933 3 940 34 1934 5 365 34 1935 6 553 38 5 851 13 1937 11 400 39 1940 23 700 35 7 000 35 1943 27 500 39 phasa aekikhchawyipunichphasayipunepnphasathiichsnthnainchiwitpracawn nxkcakniphasayipunyngepnphasaklangthiichinkarsuxsarrahwangchawyipunaelachawpaelasmythipaelayngepnxananikhmkhxngyipunxikdwy swnphasaxngkvsidrbkaryxmrbihepnphasarachkarrwmkbphasayipun aelachawyipunhlaykhnmikhwamsamarthinradbhnungthicasuxsarphasaxngkvsid 40 lukkhrungchawyipun paelacamikhwamsamarthinkarichphasayipunsungkwachawpaela odyechphaaxyangyingkhnthiekharbkarsuksakraaeshlkinorngprathm 41 nxkcakniyipunyngidnatwxksrkhatakhanamaichinphasapaela sungmikarichxyangimepnthangkar 42 hlngcakkaryxmcannkhxngyipun karichphasapaelaaelaxngkvsekhamaaethnthikarichphasayipun chawyipun paelaswnmakcaichphasapaelainkarsnthnainchiwitpracawn makkwathicaichphasayipunhruxxngkvs 43 aemwachawyipun paelacaekhysnthnadwyphasayipunmakkwaklumkhnthiimidmibrrphburusepnchawyipunktam 44 inchwngkhristthswrrs 1990 nkthxngethiywchawyipunephimcanwnmakkhun sngphlihmikarcdsxnphasayipunxikkhrnginthanawichaeluxkkhxngorngeriyninpaelaaelakarcdkareluxktng 45 thrrmnuykhxngrthxaengarrabuwaphasaxngkvs phasapaelaaelaphasayipunepnphasarachkarkhxngrth sngphlihxaengarepnphunthinxkyipunthiediywinolkthikahndihphasayipunepnphasarachkar 46 sasna aekikh salecaepelliwbnekaaepelliw inchwngkhristthswrrs 1930 chinotaebbrthidrbkhwamsakhyepnxyangmak ephuxichinkarsngesrimchatiniymyipunaelaphsmphsanthangwthnthrrmpaelaihekhakbbrrthdthanaebbyipun odymikarkxsrangsalecakhuncanwnhnunginpaela salecathithuxwamikhwamsakhykhuxsalecannoy sungsrangaelwesrcthikhxrxrineduxnphvscikayn kh s 1940 aelaepnsunyklangsalecainphumiphakhimokhrniesiy nxkcaknikarmiswnrwmkhxngphleruxninphithikrrmchinotkidrbkarihkhwamsakhyechnkn odymungennipthixudmkhtiwthnthrrmyipunaelakarthwayskkaraaedckrphrrdiyipun 47 sahrbkhnaphusxnsasnachinot phuththsasnaaebbesnaelaethnriekiywidrbkarsnbsnunihcdtngkhnaphusxnsasna odyphbwawdinphuththsasnaaehngaerkinpaelasrangkhunin kh s 1926 odymicudprasngkhsakhyephuxihbrikarthangcitwiyyanaedphutngthinthanchawyipun xyangirktammiraynganwaphutngthinthanchawyipunrunaerk idsrangsalecakhnadelkinnikhmekstrkrrmkhxngphwkekha kxnthirthbalphleruxncasngesrimkhnaphusxnsasnainpaela 48 inrayaaerk khnaphusxnsasnakhristyngidrbkarsnbsnunthangkarengincakrthbalphleruxnyipunaelaidrbkarsngesrimihkhcdphithikrrmwiyyanniym Animism thichawpaelathuxptibti xyangirktamnbtngaetplaykhristthswrrs 1930 mikarkhumkhngmichchnnariehlani enuxngcakyipunsngsywamichchnnarimiswnekiywkhxngkbkarcarkrrm 49 hlngsngkhramsinsudlng salecahlayaehngthukthingranghruxthalay khnathichawyipun paelaeluxkthicanbthuxsasnakhristmakkwasasnaphuththhruxchinot 50 inkhristthswrrs 1980 90 idmikarkxksrangaebbcalxngkhnadelkkhxngsalecachinotthiepelliwaelaxaengarkhunihmxikkhrng odysalecathisrangkhunihmnimiwtthuprasngkhtangcaksmyxananikhmyipun klawkhuxmiiwephuxralukthungthharyipunthiesiychiwitchwngsngkhramolkkhrngthisxng sungnkthxngethiywchawyipunaelakhrxbkhrwkhxngthharphuesiychiwitepnphuekhamaeyiymchmsalecaehlani 51 52 sngkhm aekikhkaraebngaeykechuxchati aekikh rthbalphleruxnyipunaebngaeykphuyaythinchawyipunxxkcakchawpaela aelaichnoybaythimicudprasngkhsakhyinkarpkpxngswsdiphaphkhxngchawpaela xyangirktamnbtngaetkhristthswrrs 1930 epntnip cudennkhxngnoybayepliynaeplngipodyihsiththiaekphuyaythinchawyipunmakkhun enuxngcakrthbalphleruxnprasbkhwamyaklabakinkartxbsnxngkhwamtxngkarkhxngphuyaythinthimiprachakrephimkhun karaebngaeykechuxchatithukptibtixyuinekuxbthukphakhswnkhxngsngkhm aetehnidxyangchdecninphakhaerngnganaelakarsuksa chawpaelatxngephchiykbkhwamyaklabakinkaridrbtaaehnnginrthbalxananikhm sungmkxyuinkarkhrxbkhrxngkhxngphutngthinthanchawyipun swnphakhswnkarsuksaphbwaedkyipuncaekharbkarsuksainorngeriynprathmsuksakraaeshlk ochkkok sungbtheriynthicdkareriynkarsxnxingtamhlksutrehmuxnkborngeriynxuninyipun khnathiedkpaelacaekharbkarsuksain orngeriynkhxngrth olkkok sungbtheriyncaennipthikarsxnthksasahrbaerngnganradblang nkeriynswnmakcak orngeriynkhxngrth mkxxkcakrabbkarsuksaemuxsaerckarsuksaradbprathmsuksa nxkcakniedkthiekidcakbidachawyipunaelamardachawpaelakprasbpyhakarekhasuksatxorngeriynprathmsuksaechnkn 53 odyechphaaxyangyingkbedkthiekidnxksmrs 24 lukkhrung aekikh chawyipun paelainsmyxananikhmyipunepnprachakrklumnxythimicanwnmakpramanhnung odyklumnimkthuxkaenidcakbidachawyipunaelamardachawpaela prachakrklumniswnmakxasyxyuinekhtemuxngaelaidrbkareliyngdutambrrthdthanaelakhaniymaebbyipun rwmthungichphasayipuninchiwitpracawn chawyipun paelacanwnhnungsuksatxinpraethsyipun sngphlihkhnklumnimikhwamrudanpraephniaelaphasapaelathicakd xyangirktammiraynganwaedkthiekidnxksmrsmioxkassmphskbpraephnicakfaymardamakkwa aelasamarthsuxsarthngphasayipunaelaphasapaelaidxyangkhlxngaekhlw 54 aemwaodythwipaelwedkyipun paelaidrbkarcdwaepnchawyipuninsthitithangkar aelaekhathungxphisiththisngkhmkhxngchawyipun aetmiraynganwakhnklumnicanwnmakephchiykbkareluxkptibtiemuxxyuinwngkhxngchawyipunaelachawpaela inphunthichnbththimichawpaelaxyuepncanwnmak khusmrsaelaxnuphrryakhxngchayyipunmkthukrngekiyc aelaklumchatiniympaela odyechphaaxyangyingklumomedkengy thiimehndwykbkarsmrstangphwkrahwangchayyipunaelahyingpaela 55 khnathirthbalyipunsnbsnunihekidkarsmrstangphwk aelaihsiththipraoychnaekhyingthismrskbchayyipun xyangirktammiephiyngphleruxnchayethannthiidrbxnuyatihsmrstangphwk swnthharimsamarthsmrslksnaniid aetsamarthmixnuphrryaid 4 nxkcaknirthbalphleruxnyngrangbkarsmrsrahwangchaypaelaaelahyingyipun 56 odymiephiyngkrniediywethannthimikarsmrsrahwangchaypaelaaelahyingyipunekidkhuninsmyxananikhmyipun 57 hlngcakkaryxmcannkhxngyipunin kh s 1945 phutngthinthanchawyipunthuksngklbpraeths aelachayyipunthiduaelkhrxbkhrwyipun paelaidlathingkhrxbkhrwkhxngphwkekha aelaeluxkthicathuksngtwklb odyihehtuphlwalukkhxngtnnacaprbtwinpaelaidngaykwainyipun hyingpaelaehlanicanwnmaktxngeliyngdulukephiynglaphng khnathibangkhnthukthxdthingaelamikhrxbkhrwpaelarbeliyngdutx 58 khrxbkhrwyipun paelabangswnidxphyphyaythinipxyuyipun aetodythwipaelwmkephchiykbkhwamtuntrahnkthangwthnthrrm aelayunkharxngkhxklbpaelahlngcakthixasyxyuinyipunepnrayaewlahnung kharxngswnmakidrbkarxnumti aemwacaimidrbxnuyatihnakhusmrschawyipunklbmadwyktam fn 8 59 thayathchawyipun paelarunthisxngaelasam sungsubechuxsaycakphutngthinthanyukherimaerkmkeluxkthicaxyupaelatxip aemwaphuthiidrbkareliyngduinkhrxbkhrwthiphudphasayipunephchiykbpyhakarsnthnaphasapaela khnklumniyngkhngichnamskulaebbyipunxyu ephiyngaetwamkrabutwtnwaepnchawpaelahlngcbsngkhram thayathrunthisxngmksmrskbhyingchawpaela aelaklmklunipkbchawpaelathxngthininthisud 41 khnklumnicarabuxtlksnkhxngtnwaepnyipun emuxekhasngkhmkbchawyipunkhnxun echn emuxekharwmkarralukthungthharyipunthiesiychiwitinchwngsngkhramaepsifik chawyipun paelabangkhneluxkthicafngsphtnexnginsusanyipunhlngcakesiychiwit odyechphaaxyangyingthikhxrxr 60 esrsthkic aekikhrthbalphleruxnyipunsngesrimihnkthurkicchawyipunaelaphutngthinthankhyaykarthaehmuxngaerfxseftaelakarphlitenuxmaphrawaehng sungepnkickrrmthangphanichythithaknmatngaetsmyxananikhmeyxrmni inchwngnimikarkxsrangsatharnupophkhihmrahwangemuxng echn thnn thaerux karcayiffaaelarabbthxnaesiy oxkasinkarhanganihmthaihmiphuyaythincakyipun oxkinawaaelaekahlimayngpaelaepncanwnmak kickarkhxngrthxyangnnoyokhhtsukhabuchikiikhcha bristhphthnathaelit kxtngkhunin kh s 1936 ephuxprbprungkickrrmthangesrsthkickhxnghmuekaaihmiprasiththiphaphmakyingkhun odymiwtthuprasngkhdankarbriharcdkarthicaphthnakhidkhwamsamarthkarphungphatnexngkhxngpaela 61 inchwngplaykhristthswrrs 1930 khnekbikhmukchawyipunekhamayngthaelxarafuraepnpraca aelacahyudphkthipaelarahwangeduxntulakhmthungemsayn karekhamakhxngkhnekbikhmukkcakyipunthaihekidkarphthnaxutsahkrrmthxngethiywkhxngekaa aelamiphutngthinthanchawyipunbangkhncakispnepidrankaaef sankekxichaaelaransurainkhxrxr ephuxrxngrbkhnekbikhmukrahwangthihyudphkineduxntulakhmthungemsayn 62 emuxyipunyxmcannin kh s 1945 kickaraelxngkhkrthangesrsthkickhxngyipuninpaelapidtwlng nbidwaepnkaryutixiththiphlkhxngyipuntxesrsthkickhxngpaela inchwngsxngthswrrsaerkhlngsngkhram rthbalyudkhrxngxemriknkahndkarcakdthangkarkhakbyipunxyangekhmngwd 63 kartidtxrahwangpaelaaelayipunekidkhunxikkhrnginkhristthswrrs 1960 odyerimcakkarthichawpramngoxkinawaidrbsiththikarthapramng aelatxmainchwngklangkhristthswrrs 1970 canwnnkthxngethiywchawyipunthiekhamayngpaelaephimcanwnmakkhun 64 karephimkhunkhxngnkthxngethiywnaipsukarburnaaehlngmrdkthwpaela odyechphaaxyangying xnusrnsthanaelasingpluksrangkhxngrthbalinsmyyipunpkkhrxng rwmipthungbanthrngyawaebbpaelaephuxrxngrbkhwamsnickhxngnkthxngethiywyipun sungmicanwnkhrunghnungkhxngnkthxngethiywthnghmd aehlngthxngethiywinpaelahlayaehngbriharcdkarodyprachachnpaelathimiechuxsayyipun paela sungmikhwamrudanpraephniaelaphasathngyipunaelapaela sungchwyinkarcdkarklumnkthxngethiywchawyipunidngayyingkhun 65 karsuksa aekikhmiorngeriynsxnphasayipuninpaelathiepidsxnesriminchwngsudspdahinkhxrxr 66 bukhkhlsakhy aekikhaesnti xasanuma smachikwuthispha exeliys khmeskh chin xditrxngprathanathibdi ehxresy ekhiywta nkkaremuxngaelankkarthut khunioxa nakamura xditprathanathibdiaelarthmntriwakarkrathrwngkartangpraeths haruoxa eremlik xditprathanathibdiduephim aekikhnikhmyipuninphumiphakhimokhrniesiyechingxrrth aekikh prathansalsungsudkhnaerkkhxngpaela aelaepnphichaykhxngxditprathanathibdikhunioxa nakamura thuxkaenidcakbidachawyipunaelamardachawpaela 1 lukh masaharu thiaemn 1938 2009 epnbutrkhxngekhiywta masaharu bidachawyipuncakoyokhama aelamardachawpaela txmaidrbkarxupkaraodyexeliys fikir chaychawaeyp khnathixayuyngnxy ekhaidrbkareliyngduaelaidrbchuxwa thiaemn txmaekhamibthbathkbkaremuxngkhxngshphnthrthimokhrniesiy odyechphaaaeyp makkwainpaela thiaemnmikhwamchanayinkarsnthnaphasapaelaaelaaeyb aelasamarthsnthnaphasayipunaelaphasaxngkvsid chiora ekhiywta sungepnphinxngkhxngekhaekhydarngtaaehnngprathansphakhxngekrskhxngpaela 2 canwninthiniimnbrwmprachakrpaelathiepnlukphsmyipun paela chawekahliekhamainpaelatngaetkhristthswrrs 1930 epntnip ruckkninchux khnekhtsu inphasayipun naodymionru xuexki sungmibidaepnchawyipunaelamardaepnchawpaela chawoxkinawaaelachawekahliidrbkarcdihepn chawyipun insamaonxyangepnthangkarthiekiywkhxngkbaepsifikitinxanti 31 mibangkrnithiidrbkarykewn khrxbkhrwhnungidrbxnuyatihnakhusmrsklbmapaelaid hlngcakthiphrryadndnekhaphbdklas aemkxaethxr aettxmathuksngtwklbhlngcakthiehmuxngfxseftinpaelayutikarthaehmuxngin kh s 1955 cnkrathnginnathisudthay phuwakarthharthikwmxnuyatihekhaxyutxipidxangxing aekikh Palau Supreme Court Office of Court Counsel 2001 p 77 Deimel 2007 p 225 6 Japanese citizens cast ballots from Palau Archived 2016 03 04 thi ewyaebkaemchchin Pacific Islands Report Philip N Haruo August 24 2009 4 0 4 1 McAuley 2001 p 90 Palau CIA World Factbook retrieved September 28 2009 Crocombe 2007 p 91 Crocombe 2007 p 21 Crocombe 2007 p 45 Peattie 1988 p 191 Hezer 2003 p 191 2 Hezer 2003 p 188 Hezel 2003 p 193 13 0 13 1 1930 amp 1935 Japanese Census of Micronesia Archived 2016 11 18 thi ewyaebkaemchchin Insular Area Census section pacificweb org retrieved November 23 2009 Peattie 1988 p 115 Hezel 2003 p 218 9 Hezel 2003 p 223 White Lamont 1989 p 128 30 Polynesian Cultural Center Laie Hawaii 1996 p 83 Leibowitz 1996 p 76 Peattie 1988 p 349 21 0 21 1 Crocombe 2001 p 57 Crocombe 2007 p 54 Moon et al 2009 p 179 24 0 24 1 Peattie 1988 p 316 Nelson et al 2003 p 349 Hezel 2003 p 175 Peattie 1988 p 160 McCall et al 1992 p 244 29 0 29 1 Wave of Pacifika SPINF Sasakawa Pacific Islands Nations Fund Report FY99 retrieved October 22 2009 30 0 30 1 Peattie 1988 p 158 Peattie 1988 p 220 Foundation for Advanced Studies in International Development Japan Archived 2011 07 22 thi ewyaebkaemchchin Kimio Fujita October 7 2005 Goto 2003 p 15 34 0 34 1 34 2 34 3 34 4 34 5 34 6 Wurm et al 1996 p 382 35 0 35 1 35 2 Yoo et al 2009 p 18 The Statesman s Year book 1923 p 1080 Appell 1985 p 68 Price 1936 p 172 39 0 39 1 Polynesian Cultural Center Laie Hawaii 1996 p 45 Nelson et al 2003 p 324 41 0 41 1 Deimel 2007 p 225 McAuley 2001 p 113 Asian Cultural Center 1988 p 83 Investigating the sociolinguistic gender paradox in a multilingual community A case study from the Republic of Palau 2003 Kazuko Matsumoto David Britain Musashino University University of Essex Crocombe 2007 p 402 Constitution of the State of Angaur Pacific Digital Library Article XII subkhnemux 28 March 2018 The traditional Palauan language particularly the dialect spoken by the people of Angaur State shall be the language of the State of Angaur Palauan English and Japanese shall be the official languages Hezel 2003 p 213 4 Brigham Young University Hawaii Campus 1981 p 28 Peattie 1988 p 84 5 Brigham Young University Hawaii Campus 1981 p 36 南洋神社 Asahi Shimbun September 21 2009 https web archive org web 20110727110724 http www nanyou org shrine html Archived 2011 07 27 thi ewyaebkaemchchin NPO南洋交流協会 パラオ共和国の神社 Palau Japan Friendship retrieved October 17 2009 Hezer 2003 p 193 4 McAuley 2001 p 93 Hezel 2003 p 163 4 Rechebei et al 1997 p 166 Hezel 2003 p 211 400 Denoon et al 2004 p 448 White Lamont 1989 p 134 旧南洋群島における混血児のアソシエーションーパラオ サクラ会 Iitaka Shingo University of the Ryukyus Repository retrieved October 17 2009 Peattie 1988 p 131 2 Hezel 2003 p 202 3 Peattie 1988 p 317 Asian Cultural Center 1988 p 62 Moon et al 2009 p 186 7 大洋州の補習授業校一覧 平成25年4月15日現在 MEXT Retrieved on February 13 2015 brrnanukrm aekikhAppell George N Modernization and the Emergence of a Landless Peasantry Essays on the Integration of Peripheries to Socioeconomic Centers Volumes 33 34 Dept of Anthropology College of William and Mary 1985 Asian Cultural Center Asian Culture Quarterly Volume 16 1988 Brigham Young University Hawaii Campus Pacific Studies Volumes 5 6 1981 Crocombe R G Asia in the Pacific Islands Replacing the West 2007 ISBN 982 02 0388 0 Crocombe R G The South Pacific University of the South Pacific 2001 ISBN 982 02 0154 3 Denoon Donald Meleisea Malama Firth Stewart Linnekin Jocelyn Nero Karen The Cambridge History of the Pacific Islanders Cambridge University Press 2004 ISBN 0 521 00354 7 Deimel Claus Jahrbuch der Staatlichen Ethnographischen Sammlungen Sachsen Band 43 LIT Verlag Berlin Hamburg Munster 2007 ISBN 3 8258 1484 X Goto Ken ichi Kratoska Paul H Tensions of Empire Japan and Southeast Asia in the Colonial and Postcolonial World Volume 108 of Research in International Studies NUS Press 2003 ISBN 9971 69 281 3 Hezel Francis X Strangers in Their Own Land A Century of Colonial Rule in the Caroline and Marshall Islands Issue 13 of Pacific Islands Monograph Ser 13 University of Hawaii Press 2003 ISBN 0 8248 2804 6 Leibowitz Arnold H Embattled Island Palau s Struggle for Independence Greenwood Publishing Group 1996 ISBN 0 275 95390 4 McAuley Thomas E Language Change in East Asia Routledge 2001 ISBN 0 7007 1377 8 Moon Opkyo Guichard Anguis Sylvie Japanese Tourism and Travel Culture Japan anthropology workshop series Taylor amp Francis 2009 ISBN 0 415 47001 3 Nelson Daniel N Dedaic Mirjana N Volume 10 of Language Power and Social process At War with Words Walter de Gruyter 2003 ISBN 3 11 017649 1 McCall Grant Connell John A World Perspective on Pacific Islander Migration Australia New Zealand and the USA Issue 6 of Pacific Studies Monograph Centre for South Pacific Studies University of New South Wales in association with the Bureau of Immigration Research 1992 ISBN 0 7334 0285 2 Palau Supreme Court Office of Court Counsel The Wisdom of the Past A Vision for the Future The Judiciary of the Republic of Palau Office of the Court Counsel Supreme Court of the Republic of Palau 2001 Peattie Mark R Nanʻyō The rise and fall of the Japanese in Micronesia 1885 1945 University of Hawaii Press 1988 ISBN 0 8248 1480 0 Polynesian Cultural Center Laie Hawaii Pacific studies Volume 19 Issues 3 4 Brigham Young University Hawaii Campus Institute for Polynesian Studies 1996 Price Willard Pacific Adventure Reynal amp Hitchcock 1936 Rechebei Elizabeth Diaz McPhetres Samuel F History of Palau Heritage of an Emerging Nation Ministry of Education 1997 ISBN 0 9652776 3 1 The Statesman s Year book St Martin s Press 1923 White Miles Geoffrey Lindstrom Lamont The Pacific theater island representations of World War II Part 767 Issue 8 of Pacific Islands Monograph Series University of Hawaii Press 1989 ISBN 0 8248 1146 1 Wurm Stephen Adolphe Muhlhausler Peter Tryon Darrell T Atlas of Languages of Intercultural Communication in the Pacific Asia and the Americas Volume 2 Part 2 Walter de Gruyter 1996 ISBN 3 11 013417 9 Yoo Dongwoo Steckel Richard E Institutions Property Rights and Economic Growth in Asia Economics Department The Ohio State University International Policy Center Gerald R Ford of Public Policy University of Michigan October 20 2009ekhathungcak https th wikipedia org w index php title nikhmyipuninpraethspaela amp oldid 9594020, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม