fbpx
วิกิพีเดีย

เปลือกสมอง

เปลือกสมองหรือ ส่วนนอกของสมองใหญ่ หรือ คอร์เทกซ์สมองใหญ่ หรือ เซรีบรัลคอร์เทกซ์ หรือบางครั้งเรียกสั้น ๆ เพียงแค่ว่า คอร์เทกซ์ (แต่คำว่า คอร์เทกซ์ สามารถหมายถึงส่วนย่อยส่วนหนึ่ง ๆ ในเปลือกสมองด้วย) (อังกฤษ: Cerebral cortex, cortex, Cortex cerebri) เป็นชั้นเนื้อเยื่อเซลล์ประสาทชั้นนอกสุดของซีรีบรัม (หรือเรียกว่าเทเลนฟาลอน) ที่เป็นส่วนของสมองในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางพวก เป็นส่วนที่ปกคลุมทั้งซีรีบรัมทั้งซีรีเบลลัม มีอยู่ทั้งซีกซ้ายซีกขวาของสมอง เปลือกสมองมีบทบาทสำคัญในระบบความจำ ความใส่ใจ ความตระหนัก (awareness) ความคิด ภาษา และการรับรู้ (consciousness) เปลือกสมองมี 6 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเซลล์ประสาทต่าง ๆ กัน และการเชื่อมต่อกับสมองส่วนอื่น ๆ ที่ไม่เหมือนกัน เปลือกสมองของมนุษย์มีความหนา 2-4 มิลลิเมตร

Brain: เปลือกสมอง (cerebral cortex)
เปลือกสมองคือชั้นนอกสุดมีสีม่วงเข้ม
เซลล์ประสาทย้อมสีแบบ Golgi ในคอร์เทกซ์
NeuroLex ID birnlex_1494

ในสมองดอง เปลือกสมองมีสีเทา ดังนั้น จึงมีชื่อว่าเนื้อเทา มีสีดังนั้นก็เพราะประกอบด้วยเซลล์ประสาทและแอกซอนที่ไม่มีปลอกไมอีลิน เปรียบเทียบกับเนื้อขาว (white matter) ที่อยู่ใต้เนื้อเทา ซึ่งประกอบด้วยแอกซอนที่โดยมากมีปลอกไมอีลิน ที่เชื่อมโยงกับเซลล์ประสาทในเขตต่าง ๆ ของเปลือกสมองและในเขตอื่น ๆ ของระบบประสาทกลาง

ผิวของเปลือกสมองดำรงอยู่เป็นส่วนพับในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ จนกระทั่งว่า ผิวเปลือกสมองของมนุษย์มากกว่าสองในสามส่วน อยู่ใต้ช่องที่เรียกว่า "ร่อง" (sulci) ส่วนใหม่ที่สุดของเปลือกสมองตามวิวัฒนาการชาติพันธุ์ ก็คือ คอร์เทกซ์ใหม่ (neocortex) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโซคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 6 ชั้น ส่วนที่เก่าแก่ที่สุดก็คือฮิปโปแคมปัส หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อาร์คิคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้น 3 ชั้นเป็นอย่างมาก และแบ่งเขตออกเป็นฟิลด์ย่อยของฮิปโปแคมปัส (Hippocampal subfields)

เซลล์ในชั้นต่าง ๆ ของเปลือกสมองเชื่อมต่อกันเป็นแนวตั้ง รวมตัวกันเป็นวงจรประสาทขนาดเล็กที่เรียกว่า "คอลัมน์ในคอร์เทกซ์" (cortical columns) เขตต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ใหม่ สามารถแบ่งออกเป็นเขตต่าง ๆ ที่เรียกว่า เขตบร็อดแมนน์ (Brodmann areas) แต่ละเขตมีลักษณะต่าง ๆ กันเป็นต้นว่า ความหนา ชนิดของเซลล์โดยมาก และตัวบ่งชี้สารเคมีประสาท (neurochemical markers)

พัฒนาการในครรภ์

 
พัฒนาการของเปลือกสมองในมนุษย์ช่วงอาทิตย์ที่ 26 ถึง 39 ในครรภ์

วิวัฒนาการ

เปลือกสมองเป็นอนุพันธ์ของ (คือมีวิวัฒนาการสืบมาจาก) แพลเลียม (pallium) ซึ่งเป็นโครงสร้างมีหลายชั้นพบในสมองส่วนหน้าของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหมด แพลเลียมชนิดพื้นฐานเป็นชั้นรูปทรงกระบอกมีโพรงมีน้ำอยู่ภายใน รอบ ๆ ทรงกระบอกมีเขต 4 เขต ได้แก่ แพลเลียมด้านท้อง (ventral) แพลเลียมด้านใน (medial) แพลเลียมด้านหลัง (dorsal) และแพลเลียมด้านข้าง (lateral) ซึ่งมีสันนิษฐานว่า ก่อให้เกิดคอร์เทกซ์ใหม่ ฮิปโปแคมปัส อะมิกดะลา (amygdala) และ คอร์เทกซ์รูปชมพู่ (piriform cortex)

จนกระทั่งเร็ว ๆ นี้ ส่วนคล้ายกันของเปลือกสมองในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไม่ได้รับการยอมรับโดยนักวิทยาศาสตร์ แต่ว่า งานวิจัยที่พิมพ์ในวารสาร "เซลล์" ใน ค.ศ. 2010 แสดงว่า โดยวิเคราะห์การแสดงออกของยีน (gene expression) เปลือกสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังและสมองรูปเห็ด (mushroom bodies)ของหนอนทราย มีความใกล้เคียงกัน สมองรูปเห็ดเป็นโครงสร้างในสมองของหนอนหลายจำพวกและของสัตว์ขาปล้อง มีบทบาทสำคัญในการเรียนและการทรงจำ หลักฐานในงานวิจัยนี้ชี้ว่า วิวัฒนาการของเปลือกสมองและสมองรูปเห็ดมีจุดกำเนิดเดียวกัน ดังนั้น จึงแสดงว่า โครงสร้างตั้งต้นของเปลือกสมองเกิดขึ้นในสมัยมหายุคพรีแคมเบรียน

โครงสร้างเป็นชั้นของเปลือกสมอง

 
รูปวาด ๓ ภาพ ของชั้นต่าง ๆ ในเปลือกสมอง วาดโดย ซานเตียโก รามอน อี กาฮาล แต่ละรูปแสดงหน้าตัดแนวยืน ด้านบนสุดเป็นผิวของคอร์เทกซ์ รูปซ้ายเป็นคอร์เทกซ์สายตาของมนุษย์ผู้ใหญ่่ย้อมสีแบบนิซซัล, รูปกลางเป็นคอร์เทกซ์สั่งการของมนุษย์ผู้ใหญ่, รูปขวาเป็นคอร์เทกซ์ของทารกวัยขวบครึ่งย้อมสีแบบ Golgi. การย้อมสีแบบนิซซัลแสดงตัวเซลล์ประสาท ส่วนการย้อมสีแบบ Golgi แสดงเดนไดรต์และแอกซอนของเซลล์ประสาทส่วนหนึ่งโดยสุ่ม
 
รูปไมโครกราฟแสดงคอร์เทกซ์สายตาเป็นสีชมพูโดยมาก ส่วนเนื้อขาวที่อยู่ใต้เปลือกสมองอยู่ด้านล่างเป็นสีน้ำเงินโดยมาก

เปลือกสมองมีโครงสร้างเป็นชั้น แต่ละชั้นมีลักษณะเฉพาะเจาะจงที่ต่าง ๆ กัน เช่นประเภทของเซลล์ประสาท และการเชื่อมต่อของเซลล์ประสาทในชั้นนั้นกับเซลล์อื่นทั้งในเปลือกสมองและใต้เปลือกสมอง ตัวอย่างของความต่างที่ชัดเจนที่สุดอย่างหนึ่งก็คือชั้นต่าง ๆ ของ ลายเจ็นนารี (Stria of Gennari) ในคอร์เทกซ์สายตาปฐมภูมิ ซึ่งเป็นลายของเนื้อขาวที่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่าที่ก้นของร่องแคลคารีนของสมองกลีบท้ายทอย ลายเจ็นนารีเป็นแอกซอนที่ส่งข้อมูลทางตาจากทาลามัสไปสู่ชั้นที่ 4 ของคอร์เทกซ์สายตา

การย้อมสีโดยหน้าตัด (คือโดยภาคตัดขวาง) ของคอร์เทกซ์เปิดเผยตำแหน่งของตัวเซลล์ประสาท และแถบแอกซอนที่เชื่อมส่วนต่าง ๆ ในคอร์เทกซ์ เปิดโอกาสให้นักประสาทกายวิภาค ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ทำการพรรณนาอย่างละเอียดถึงโครงสร้างเป็นชั้น ๆ ของคอร์เทกซ์ในสปีชีส์ต่าง ๆ หลังจากงานวิจัยของคอร์บิเนียน บร็อดแมนน์ ในปี ค.ศ. 1909 เซลล์ประสาทในเปลือกสมองก็มีการแบ่งออกเป็น 6 ชั้นหลัก ๆ เริ่มจากส่วนนอกที่เป็นเนื้อเทา ไปสุดยังส่วนในที่เป็นเนื้อขาว ซึ่งได้แก่

  1. ชั้นที่ 1 เรียกว่า ชั้นโมเลกุลาร์ (molecular layer) มีเซลล์ประสาทน้อยตัวที่กระจายออกไป และโดยมากประกอบด้วยกระจุกของเดนไดรต์จากยอดของเซลล์ประสาทพีรามิด (pyramidal neuron) และแอกซอนที่ไปในแนวขวาง และเซลล์เกลีย. เซลล์ประสาทคาฮาล-เร็ตเซียส (Cajal-Retzius cell) และเซลล์ประสาทรูปดาว (stellate cells) แบบมีหนามก็มีอยู่ในชั้นนี้ด้วย มีการสันนิษฐานว่า การเชื่อมต่อจากเซลล์ประสาทจากเขตอื่นมายังกระจุกเดนไดรต์ของยอดเซลล์ประสาทพีรามิด เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการทำงานร่วมกันของเซลล์ต่าง ๆ ในเปลือกสมองที่มีบทบาทในการเรียนโดยสัมพันธ์และการใส่ใจ แม้ว่า จะเคยเชื่อกันว่า การเชื่อมต่อที่เข้ามาสู่ชั้นที่ 1 มาจากเปลือกสมองเอง แต่เดี๋ยวนี้รู้กันแล้วว่า ชั้นที่ 1 ในผิวทั่วเปลือกสมองรับสัญญาณไม่ใช่น้อย จากเซลล์ประสาทในทาลามัสแบบเอ็ม (M-type) หรือที่เรียกว่า เซลล์ประสาทแบบเมทริกซ์ เมื่อเปรียบเทียบกับ เซลล์ประสาทแบบซี (C-type) หรือที่เรียกว่า เซลล์ประสาทแบบคอร์ (core) ซึ่งส่งสัญญาณไปในชั้นที่ 4
  2. ชั้นที่ 2 ที่เรียกว่า ชั้นเซลล์ประสาทเล็กด้านนอก (External granular layer) ประกอบด้วยเซลล์ประสาทพิรามิดขนาดเล็ก ๆ และเซลล์ประสาทรูปดาวเป็นจำนวนมาก
  3. ชั้นที่ 3 หรือชั้นเซลล์ประสาทพิรามิดด้านนอก (external pyramidal layer) ประกอบด้วยเซลล์ประสาทพิรามิดขนาดเล็กและกลางโดยมาก แต่ก็ยังประกอบด้วยเซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์พิรามิดอย่างอื่นที่มีแอกซอนแนวตั้งเชื่อมต่อกับภายในคอร์เทกซ์. ชั้นที่ 1 และชั้นที่ 3 เป็นจุดหมายปลายทางหลักสำหรับใยประสาทนำเข้าจากคอร์เทกซ์สู่คอร์เทกซ์ที่มาจากอีกซีกสมองหนึ่ง และชั้นที่ 3 เป็นแหล่งกำเนิดหลักของใยประสาทนำออกจากคอร์เทกซ์สู่คอร์เทกซ์ที่ไปสู่อีกซีกสมองหนึ่ง
  4. ชั้นที่ 4 หรือที่เรียกว่า ชั้นเซลล์ประสาทเล็กด้านใน (Granular layer) ประกอบด้วยเซลล์ประสาทรูปดาวและเซลล์ประสาทพิรามิด ชนิดต่าง ๆ และเป็นปลายทางหลักสำหรับใยประสาทนำเข้าจากทาลามัสสู่คอร์เทกซ์ จากเซลล์ประสาททาลามัสแบบซี และสำหรับใยประสาทนำเข้าจากคอร์เทกซ์สู่คอร์เทกซ์ที่เชื่อมต่อกับสมองซีกเดียวกัน
  5. ชั้นที่ 5 หรือชั้นเซลล์ประสาทพิรามิดด้านใน (internal pyramidal layer) มีเซลล์ประสาทพิรามิดขนาดใหญ่ เช่นเซลล์เบ็ทซ์ (Betz cells) ในคอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิ เป็นชั้นที่เป็นต้นกำเนิดหลักต่อใยประสาทนำออกที่ไปสู่เขตใต้เปลือกสมอง เพราะเหตุนั้น จึงมีเซลล์พิรามิดขนาดใหญ่ที่ส่งแอกซอนไปจากคอร์เทกซ์ลงผ่านปมประสาทฐาน (basal ganglia) ก้านสมอง และไขสันหลัง
  6. ชั้นที่ 6 หรือชั้นหลายรูป (Polymorphic layer หรือ multiform layer) มีเซลล์ประสาทพิรามิดขนาดใหญ่บ้าง และมีเซลล์พิรามิดมีรูปร่างคล้ายกระสวย และเซลล์รูปร่างต่าง ๆ อย่างอื่น ชั้นที่ 6 ส่งใยประสาทนำออกไปยังทาลามัส เป็นการเชื่อมต่อซึ่งกันและกันระหว่างคอร์เทกซ์และทาลามัส ใยประสาทที่นำออกนั้นเป็นทั้งแบบเร้าและแบบห้าม เซลล์ประสาทจากชั้น 6 นี้ ส่งใยประสาทแบบเร้าไปยังเซลล์ประสาทในทาลามัส และส่งใยประสาทที่เป็นสาขาไปยังนิวเคลียสตาข่ายในทาลามัส (thalamic reticular nucleus) ที่มีฤทธิ์ห้ามเซลล์ประสาทในทาลามัสกลุ่มเดียวกันหรือที่อยู่ใกล้ ๆ กันนั่นแหละ เนื่องจากว่าฤทธิ์การห้ามของเซลล์ประสาทจากชั้น 6 ในเปลือกสมองนั้นลดลง เพราะสัญญาณทางเข้าไปยังเปลือกสมองที่สื่อโดยอะเซ็ตทิลโคลีน กลไกเช่นนี้จึงเปิดโอกาสให้ก้านสมอง สามารถควบคุมระดับความเร้าของของสัญญาณจากวิถีประสาทคอลัมน์หลัง-เล็มนิสคัสกลาง (Posterior column-medial lemniscus pathway) ซึ่งเป็นวิถีประสาทรับความรู้สึก กล่าวโดยอีกนัยหนึ่งคือ เปิดโอกาสให้ก้านสมองควบคุมระดับความรู้สึกนั่นเอง

ให้รู้ว่า ชั้นในคอร์เทกซ์นั้น ไม่ใช่เป็นเพียงแต่ชั้นที่ทำงานเป็นอิสระจากกันที่อยู่ซ้อน ๆ กันขึ้นไปเพียงเท่านั้น แต่ว่า มีการเชื่อมต่อระหว่างชั้นและระหว่างประเภทของนิวรอนที่เฉพาะเจาะจง และเป็นไปตลอดความหนาของคอร์เทกซ์ วงจรประสาทเล็ก ๆ เหล่านี้ แบ่งกลุ่มออกเป็นคอลัมน์ในคอร์เทกซ์ (cortical columns)และมินิคอลัมน์ในคอร์เทกซ์ มินิคอลัมน์ในคอร์เทกซ์ได้รับการเสนอว่าเป็นหน่วยพื้นฐานโดยกิจ (คือเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดที่มีกิจเดียวกัน) ของคอร์เทกซ์

ในปี ค.ศ. 1957 เวอร์นอน เมานต์แคสเติล แสดงให้เห็นว่า กิจของคอร์เทกซ์ในจุดที่อยู่ข้าง ๆ กัน สามารถเปลี่ยนไปได้อย่างฉับพลัน แต่ว่า ในแนวที่ตั้งฉากกับผิว กิจของคอร์เทกซ์นั้นมีความสืบต่อกัน งานวิจัยหลังจากนั้นได้ให้หลักฐานที่แสดงหน่วยพื้นฐานโดยกิจที่เรียกว่า คอลัมน์ในคอร์เทกซ์ ในคอร์เทกซ์สายตา (ฮูเบลและวีเซล ค.ศ. 1959) คอร์เทกซ์การได้ยิน (auditory cortex) และคอร์เทกซ์สัมพันธ์ (associative cortex)

เขตคอร์เทกซ์ที่ไม่มีชั้นที่ 4 เรียกว่า agranular (คือคอร์เทกซ์ที่ไม่มีชั้นเซลล์ประสาทเล็ก) และเขตที่มีชั้นที่ 4 ที่ไม่บริบูณ์เรียกว่า dysgranular (คือคอร์เทกซ์ที่มีชั้นเซลล์ประสาทเล็กผิดปกติ)

การประมวลข้อมูลของแต่ละชั้นมีการกำหนดโดยความถี่ทางกาลเวลาที่ไม่เหมือนกัน คือว่า ชั้น 2 และ 3 มีการแกว่ง (oscillation) อย่างช้า ๆ ที่ 2 เฮิรตซ์ ในขณะที่ชั้น 5 มีความแกว่งอย่างเร็ว ๆ ที่ 10-15 เฮิรตซ์

การเชื่อมต่อ

เปลือกสมองมีการเชื่อมต่อกับเขตใต้เปลือกสมองหลายเขต เช่น ทาลามัสและปมประสาทฐาน และส่งข้อมูลไปยังเขตเหล่านั้นโดยใยประสาทนำออก และรับข้อมูลจากเขตเหล่านั้นโดยใยประสาทนำเข้า โดยส่วนมาก ข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึกทางประสาทความรู้สึกต่าง ๆ รับการส่งไปยังเปลือกสมองผ่านทาลามัส แต่ว่า ข้อมูลเกี่ยวกับกลิ่นรับการส่งผ่านส่วนป่องกลิ่น (olfactory bulb) ไปยังคอร์เทกซ์รูปชมพู่ (piriform cortex) ซึ่งเป็นคอร์เทกซ์ที่ประมวลการรับรู้ของกลิ่น การเชื่อมต่อโดยมากในคอร์เทกซ์ไปจากเขตคอร์เทกซ์หนึ่งไปยังอีกเขตหนึ่ง ไม่ใช่ไปยังเขตใต้เปลือกสมอง เบรเท็นเบอร์ก และชูส (ค.ศ. 1991) ประมาณการเชื่อมต่อภายในคอร์เทกซ์ไว้ที่ 99% (และดังนั้น การเชื่อมต่อกับส่วนนอกคอร์เทกซ์ไว้ที่ 1%)

นักเขียนโดยมากพรรณนาคอร์เทกซ์ว่ามี 3 ส่วนได้แก่ เขตรับรู้ความรู้สึก (sensory) เขตสั่งการ (motor) และเขตสัมพันธ์ (association)

เขตรับรู้ความรู้สึก

เขตรับรู้ความรู้สึก (อังกฤษ: sensory areas) รับข้อมูลและประมวลข้อมูลจากประสาทรับรู้ความรู้สึก ส่วนของคอร์เทกซ์ที่รับข้อมูลความรู้สึกจากทาลามัสเรียกว่า เขตรับรู้ความรู้สึกปฐมภูมิ (primary sensory areas) การเห็น การได้ยิน และการกระทบสัมผัสเป็นกิจของคอร์เทกซ์สายตา (visual) คอร์เทกซ์การได้ยิน (auditory) และคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกาย (somatosensory)

โดยทั่วไป ซีกสมองทั้งสองข้างรับข้อมูลมาจากด้านตรงข้ามของร่างกาย ยกตัวอย่างเช่น คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายของสมองซีกขวา รับข้อมูลมาจากแขนขาข้างซ้าย และคอร์เทกซ์สายตาข้างขวารับข้อมูลมาจากลานสายตาด้านซ้าย การจัดระเบียบแผนที่ที่แสดงความรู้สึกในคอร์เทกซ์ เป็นไปตามอวัยวะที่รับรู้ความรู้สึกเช่นตาเป็นต้น เป็นแผนที่มีระเบียบที่เรียกว่า แผนที่โทโพกราฟิก (topographic map)

ยกตัวอย่างเช่น เซลล์ประสาทจุดที่อยู่ใกล้ ๆ กันในคอร์เทกซ์สายตา ก็จะมีความสัมพันธ์กับเซลล์ประสาทจุดที่อยู่ใกล้ ๆ กันในเรตินา แผนที่โทโพกราฟิกของเรตินานี้ เรียกว่า แผนที่ผิวเรตินา (retinotopic map) โดยนัยเดียวกัน มีแผนที่ความถี่เสียง (tonotopic map) ในคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ และมีแผนที่ส่วนร่างกาย (somatotopic map) ในคอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ

แผนที่โทโพกราฟิกของส่วนร่างกายที่กล่าวถึงทีหลังนี้ มีรูปเป็นภาพมนุษย์ที่ผิดส่วนไป คือ ขนาดคอร์เทกซ์ที่แสดงส่วนหนึ่งของร่างกาย ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของเซลล์ประสาทในส่วนนั้น ๆ ส่วนที่มีเซลล์ประสาทรับรู้ความรู้สึกหนาแน่น เช่นปลายนิ้วและปาก ก็จะมีเขตในคอร์เทกซ์ที่ใหญ่กว่า เพื่อประมวลผลของความรู้สึกที่ละเอียดกว่านั้น

เขตสั่งการ

เขตสั่งการ (motor areas) อยู่ในคอร์เทกซ์ในซีกสมองทั้งสองข้าง มีรูปร่างคล้ายกับหูฟังเริ่มจากหูหนึ่งแผ่ไปยังอีกหูหนึ่ง เขตสั่งการมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการควบคุมการเคลื่อนไหวที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคลื่อนไหวมือที่แบ่งเป็นช่วง ๆ อย่างละเอียด เขตสั่งการในสมองซีกขวาควบคุมกายด้านซ้าย และในทางกลับกัน เขตสั่งการในสมองซีกซ้ายควบคุมกายด้านขวา

มีเขต 2 เขตในคอร์เทกซ์ที่เรียกว่าเขตสั่งการ ได้แก่

  • คอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิ (Primary motor cortex) ซึ่งดำเนินการเคลื่อนไหวที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ
  • เขตสั่งการเสริม (Supplementary motor area) และคอร์เทกซ์พรีมอเตอร์ (คือคอร์เทกซ์ที่อยู่ด้านหน้าของคอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิ หรือ premotor cortex) ซึ่ง "เลือก" การเคลื่อนไหวที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจ

ยิ่งไปกว่านั้น กิจเกี่ยวกับการสั่งการมีความเกี่ยวข้องกับเขตอื่น ๆ รวมทั้ง

  • คอร์เทกซ์สมองกลีบข้างด้านหลัง (Posterior parietal cortex) ซึ่งนำทางการเคลื่อนไหวที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจในปริภูมิ
  • dorsolateral prefrontal cortex ซึ่งทำการตัดสินใจว่า จะทำการเคลื่อนไหวแบบไหน โดยขึ้นอยู่กับคำสั่ง กฎเกณฑ์ และความคิดในใจ

ฝังลึกภายใต้เนื้อขาวของเปลือกสมอง ก็คือเนื้อเทาของเขตใต้เปลือกสมองที่เชื่อมต่อกันที่เรียกว่า นิวคลีไอฐาน (basal nuclei) นิวคลีไอฐานรับข้อมูลมาจาก substantia nigra ของสมองส่วนกลางและเขตสั่งการของเปลือกสมอง และส่งข้อมูลกลับไปสู่เขตทั้งสองนั้น นิวคลีไอฐานทำกิจเกี่ยวข้องกับการสั่งการ (คือการควบคุมการเคลื่อนไหว) เป็นเขตที่อยู่ข้าง ๆ ทาลามัส และบ่อยครั้งเรียกว่า ปมประสาทฐาน (basal ganglia) ถึงแม้ว่า ในปัจจุบัน คำว่า ปมประสาท (ganglion) จะใช้กับกลุ่มเซลล์ประสาทที่อยู่นอกระบบประสาทกลาง

นักประสาทกายวิภาคไม่สามารถตกลงกันได้ว่า มีศูนย์กลางในสมองทั้งหมดกี่แห่งกันแน่ที่เป็นส่วนของนิวคลีไอฐาน แต่ตกลงกันว่าอย่างน้อย ๆ มีสามเขต คือ นิวเคลียสมีหาง (caudate nucleus) putamen และ globus pallidus ตัว putamen และ globus pallidus รวมกันเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า นิวเคลียสรูปเลนส์ (lentiform nucleus) เพราะว่าเขตเหล่านั้นรวมกันมีรูปร่างเหมือนเลนส์ และตัว putamen และนิวเคลียสมีหางเองก็รวมกันเรียกว่า corpus striatum เพราะปรากฏเป็นรอยริ้ว

เขตสัมพันธ์

เขตสัมพันธ์ หรือ เขตประสาทสัมพันธ์ หรือ คอร์เทกซ์สัมพันธ์ (อังกฤษ: association areas, อังกฤษ: association cortex) ทำหน้าที่เป็นที่กำเนิดของประสบการณ์การรับรู้ ที่ทำความหมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้ปรากฏ (คือทำให้เราเข้าใจสิ่งแวดล้อม) ที่ทำให้เราสามารถตอบสนองกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสนับสนุนให้เกิดความคิดทางนามธรรม และการใช้ภาษา ส่วนของเขตสัมพันธ์ คือ สมองกลีบข้าง สมองกลีบขมับ และสมองกลีบท้ายทอย ซึ่งล้วนแต่อยู่ด้านหลังของคอร์เทกซ์ ทำหน้าที่จัดระเบียบข้อมูลเกี่ยวกับความรู้สึก เช่นการเห็นเป็นต้น ให้เป็นแบบจำลองเพื่อการรับรู้สิ่งแวดล้อมที่เข้ากัน (คล้องจองกัน ปะติดปะต่อกัน) โดยมีตัวเราเองเป็นศูนย์กลาง

สมองกลีบหน้า มีบทบาทในการวางแผนพฤติกรรมเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และในความคิดทางนามธรรม ในอดีต ได้มีทฤษฎีว่า สมรรถภาพเกี่ยวกับภาษานั้นอยู่ในสมองซีกซ้าย กล่าวโดยเฉพาะคือ ในเขตบร็อดแมนน์ 44/45 หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เขตโบรคา ในด้านการแสดงออก (เช่นคำพูดและการเขียน), และในเขตบร็อดแมนน์ 22 หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เขตเวอร์นิก ในด้านการรับรู้ (เช่นการฟังและการอ่าน) แต่ปรากฏว่า สมรรถภาพเกี่ยวกับภาษากลับไม่จำกัดอยู่ในเพียงแค่เขตเหล่านั้นเท่านั้น งานวิจัยเร็ว ๆ นี้เสนอว่า กระบวนการแสดงออกและการรับรู้ของภาษา เกิดขึ้นในเขตอื่นนอกเหนือจากเขตรอบร่องด้านข้างเหล่านั้น เช่น ในคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า ปมประสาทฐาน ซีรีเบลลัม พอนส์ นิวเคลียสมีหาง (caudate nucleus) และเขตอื่น ๆ

เขตสัมพันธ์รวบรวมข้อมูลจากตัวรับความรู้สึกหรือเขตความรู้สึกต่าง ๆ แล้วสัมพันธ์ข้อมูลที่รับมานั้น กับประสบการณ์ในอดีต ต่อจากนั้น สมองก็จะทำการตัดสินใจและส่งศักยะงานไปยังเขตสั่งการเพื่อทำการตอบสนองต่อข้อมูลที่ได้รับนั้น

 
ผิวด้านข้าง (Lateral surface) ของเปลือกสมองในมนุษย์
 
ผิวด้านใน (Medial surface) ของเปลือกสมองในมนุษย์

การจำแนกประเภท

เปลือกสมองสามารถจำแนกประเภทออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ โดยความแตกต่างกันในโครงสร้างของชั้น ได้แก่

  • ไอโซคอร์เทกซ์ (isocortex หรือคอร์เทกซ์ใหม่) เป็นส่วนของสมองที่เมื่อเจริญเต็มที่แล้วประกอบด้วยชั้นที่แตกต่างกัน 6 ชั้น เป็นพวกที่เรียกว่า homotypic (คือเหมือนกันกับส่วนอื่น ๆ) หรือ เป็นส่วนที่มีชั้น 6 ชั้นในขณะที่กำลังพัฒนา แต่กลับมีชั้นที่มากกว่าหรือน้อยกว่า 6 ชั้นเมื่อเจริญเต็มที่แล้ว เป็นพวกที่เรียกว่า heterotypic (คือต่างจากส่วนอื่น ๆ) ตัวอย่างของไอโซคอร์เทกซ์ต่างก็คือ เขตบร็อดแมนน์ 4 ซึ่งก็คือคอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิ ที่ไม่มีชั้นที่ 4 และเขตบร็อดแมนน์ 17 ซึ่งก็คือ คอร์เทกซ์สายตาปฐมภูมิ ที่มีชั้นมากกว่า 6 ชั้น (คือชั้น 4 แบ่งออกเป็นชั้นย่อยอีก 4 ชั้น)
  • อัลโลคอร์เทกซ์ (allocortex) เป็นส่วนของเปลือกสมองที่มีน้อยกว่า 6 ชั้น โดยที่มีจำนวนไม่เท่ากัน ตัวอย่างของอัลโลคอร์เทกซ์ก็คือคอร์เทกซ์รูปชมพู่ (piriform cortex) และฮิปโปแคมปัส

ประเภทอื่น ๆ ได้แก่

  • เมโซคอร์เทกซ์ (mesocortex) เป็นประเภทระหว่างไอโซคอร์เทกซ์และอัลโลคอร์เทกซ์ ซึ่งมีชั้นที่ 2-3-4 รวมเข้าด้วยกัน
  • พร็อยโซคอร์เทกซ์ (proisocortex) เป็นต้นว่าเขตบร็อดแมนน์ 24 25 30 และ 32
  • เพริอัลโลคอร์เทกซ์ (periallocortex) คือเขตคอร์เทกซ์รอบ ๆ อัลโลคอร์เทกซ์

และโดยความแตกต่างกันในช่วงวิวัฒนาการ ประเภทเหล่านี้ก็มีใช้ด้วย ได้แก่

ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถจัดประเภทของคอร์เทกซ์ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งคร่าว ๆ โดยเป็น 4 กลีบสมอง ได้แก่ สมองกลีบขมับ สมองกลีบท้ายทอย สมองกลีบข้าง และสมองกลีบหน้าผาก

ความหนาของเปลือกสมอง

ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์ที่มีสมองที่ใหญ่กว่า (โดยขนาด ไม่ใช่เพียงแค่ขนาดโดยเปรียบเทียบกับขนาดกาย) มักจะมีเปลือกสมองที่หนากว่า แต่ช่วงความหนาจริง ๆ ก็ไม่ต่างกันมาก คือแค่ประมาณ 7 เท่าระหว่างคอร์เทกซ์ที่หนาที่สุดและที่บางที่สุด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เล็กที่สุด เป็นต้นว่าหนูผี มีความหนาของคอร์เทกซ์ใหม่ประมาณ 0.5 ม.ม. และสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดคือมนุษย์และปลาวาฬฟิน มีความหนาของคอร์เทกซ์ใหม่ประมาณ 2.3—2.8 ม.ม.

มีความสัมพันธ์เกือบเป็นเชิงลอการิทึมระหว่างน้ำหนักของสมองและความหนาของคอร์เทกซ์ แต่อย่างไรก็ตาม ปลาโลมากลับมีคอร์เทกซ์ที่บางมาก เมื่อเทียบกับความหนาที่ความสัมพันธ์นั้นกำหนด

เพราะการสร้างภาพด้วยเรโซแนนซ์แม่เหล็ก จึงเป็นไปได้ที่จะวัดความหนาของเปลือกสมองในมนุษย์ แล้วหาความสัมพันธ์ของความหนานั้นกับค่าอื่น ๆ ความหนาของเปลือกสมองในเขตต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน แต่โดยทั่ว ๆ ไปคอร์เทกซ์รับความรู้สึกจะบางกว่า และคอร์เทกซ์สั่งการจะหนากว่า

งานวิจัยหนึ่งพบความสัมพันธ์โดยบวกระหว่างความหนาของคอร์เทกซ์และความฉลาด

ส่วนอีกงานหนึ่งพบว่า คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายมีความหนามากกว่าในคนไข้โรคไมเกรน

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑"
  2. "ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑", ให้ความหมายของ cerebral ว่า "-สมองใหญ่" หรือ "-สมอง"
  3. Kandel, Eric R.; Schwartz, James H.; Jessell, Thomas M. (2000). Principles of Neural Science Fourth Edition. United State of America: McGraw-Hill. p. 324. ISBN 0-8385-7701-6.
  4. ในประสาทกายวิภาค คำว่า แพลเลียม (pallium) หมายถึงเนื้อเทาและเนื้อขาวที่คลุมด้านบนของซีรีบรัมของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นส่วนของสมองที่มีการวิวัฒนาการไปเป็นส่วนสมองอื่น ๆ เช่นเปลือกสมองเป็นต้น
  5. คอร์เทกซ์รูปชมพู่ (piriform cortex) เป็นส่วนของ rhinencephalon ซึ่งอยู่ในเทเลนเซฟาลอน ในมนุษย์ คอร์เทกซ์รูปชมพู่ประกอบด้วยอะมิกดะลา uncus และรอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสส่วนหน้า คอร์เทกซ์รูปชมพู่มีหน้าที่เกี่ยวกับการรับรู้กลิ่น
  6. การแสดงออกของยีน (gene expression) คือขบวนการที่ข้อมูลต่าง ๆ ของยีน มีการนำมาใช้เพื่อการสังเคราะห์โปรตีนและกรดไรโบนิวคลีอิก (RNA) อันเป็นผลิตภัณฑ์ของยีน
  7. สมองรูปเห็ด (mushroom bodies) หรือ corpora pedunculata เป็นโครงสร้างคู่ในสมองของแมลงและสัตว์ขาปล้อง เป็นส่วนของสมองที่มีบทบาทในการเรียนรู้กลิ่นและการจำกลิ่น
  8. Tomer, R; Denes, AS; Tessmar-Raible, K; Arendt, D; Tomer R; Denes AS; Tessmar-Raible K; Arendt D (2010). "Profiling by image registration reveals common origin of annelid mushroom bodies and vertebrate pallium". Cell. 142 (5): 800–809. doi:10.1016/j.cell.2010.07.043. PMID 20813265.
  9. คอร์บิเนียน บร็อดแมนน์ เป็นนักประสาทวิทยาชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียงในการแบ่งเปลือกสมองออกเป็น 52 เขต ตามลักษณะของตัวเซลล์ในเขตต่าง ๆ และเขตเหล่านั้น เรียกรวม ๆ กันว่า เขตบร็อดแมนน์
  10. Shipp, Stewart (2007-06-17). "Structure and function of the cerebral cortex". Current Biology. 17 (12): R443–9. doi:10.1016/j.cub.2007.03.044. PMID 17580069. สืบค้นเมื่อ 2009-02-17.
  11. การเรียนโดยสัมพันธ์ (associated learning) เป็นกระบวนการเรียนรู้ความสัมพันธ์กันระหว่างตัวกระตุ้นสองตัว หรือระหว่างพฤติกรรมกับตัวกระตุ้นตัวหนึ่ง
  12. Gilbert CD, Sigman M (2007). "Brain states: top-down influences in sensory processing". Neuron. 54 (5): 677–96. doi:10.1016/j.neuron.2007.05.019. PMID 17553419.
  13. Cauller L (1995). "Layer I of primary sensory neocortex: where top-down converges upon bottom-up". Behav Brain Res. 71 (1–2): 163–70. doi:10.1016/0166-4328(95)00032-1. PMID 8747184.
  14. Rubio-Garrido P, Pérez-de-Manzo F, Porrero C, Galazo MJ, Clascá F (2009). "Thalamic input to distal apical dendrites in neocortical layer 1 is massive and highly convergent". Cereb Cortex. 19 (10): 2380–95. doi:10.1093/cercor/bhn259. PMID 19188274.
  15. Jones EG (1998). "Viewpoint: the core and matrix of thalamic organization". Neuroscience. 85 (2): 331–45. doi:10.1016/S0306-4522(97)00581-2. PMID 9622234.
  16. Creutzfeldt, O. 1995. Cortex Cerebri. Springer-Verlag.
  17. Lam YW, Sherman SM (2010). "Functional Organization of the Somatosensory Cortical Layer 6 Feedback to the Thalamus". Cereb Cortex. 20 (1): 13–24. doi:10.1093/cercor/bhp077. PMC 2792186. PMID 19447861.
  18. วิถีประสาทคอลัมน์หลัง-เล็มนิสคัสกลาง (Posterior column-medial lemniscus pathway) เป็นวิถีประสาทรับรู้ความรู้สึก มีหน้าที่ส่งสัญญาณเป็นต้นว่า การกระทบสัมผัสละเอียด ความสั่นสะเทือน และการรับรู้อากัปกิริยา จากร่างกายไปยังเปลือกสมอง ส่วนชื่อของวิถีประสาทมาจากโครงสร้างสองอย่าง ที่สัญญาณความรู้สึกรับการส่งผ่านไปยังเปลือกสมอง คือ คอลัมน์ด้านหลังของไขสันหลัง และเล็มนิสคัสด้านใน (medial lemniscus) ในก้านสมอง
  19. Mountcastle V (1997). "The columnar organization of the neocortex". Brain. 120 (4): 701–722. doi:10.1093/brain/120.4.701. PMID 9153131.
  20. Hubel DH, Wiesel TN (October 1959). "Receptive fields of single neurones in the cat's striate cortex". J. Physiol. (Lond.). 148 (3): 574–91. PMC 1363130. PMID 14403679.
  21. S.M. Dombrowski , C.C. Hilgetag , and H. Barbas. Quantitative Architecture Distinguishes Prefrontal Cortical Systems in the Rhesus Monkey.Cereb. Cortex 11: 975-988. "...they either lack (agranular) or have only a rudimentary granular layer IV (dysgranular)."
  22. Sun W, Dan Y (2009). "Layer-specific network oscillation and spatiotemporal receptive field in the visual cortex". Proc Natl Acad Sci U S A. 106 (42): 17986–17991. doi:10.1073/pnas.0903962106. PMC 2764922. PMID 19805197.
  23. ส่วนป่องกลิ่น (olfactory bulb) เป็นโครงสร้างของสมองส่วนหน้าของสัตว์มีกระดูกสันหลัง มีกิจหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้กลิ่น
  24. Braitenberg, V and Sch?z, A 1991. "Anatomy of the Cortex: Statistics and Geometry" NY: Springer-Verlag
  25. แผนที่โทโพกราฟิก (topographic map) เป็นแผนที่ในสมองที่แสดงพื้นผิวของอวัยวะรับรู้ความรู้สึก เช่นเรตินาหรือผิวหนัง หรือส่วนของร่างกายที่เป็นหน่วยปฏิบัติงาน เช่นระบบกล้ามเนื้อ แผนที่โทโพกราฟิกมีอยู่ในระบบรับรู้ความรู้สึกทุกระบบ และในระบบสั่งการเป็นจำนวนมาก
  26. การทำแผนที่ของผิวเรตินา (retinotopy) เป็นการสร้างแผนที่ของสัญญาณการเห็นจากเรตินาในเซลล์ประสาท โดยเฉพาะเซลล์ประสาทที่อยู่ในทางสัญญาณทั้ง 2 นี่สามารถเปรียบเทียบกับคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์ คือ สัญญาณดิจิทัลที่เกิดจากการกดปุ่มที่คีย์บอร์ด เปลี่ยนไปเป็นตัวอักษรบนจอ
  27. Saladin, Kenneth. Anatomy and Physiology: The Unity of Form and Function, 5th Ed. New York: McGraw-Hill Companies Inc, 2010. Print.
  28. Dorland’s Medical Dictionary for Health Consumers, 2008.
  29. Cathy J. Price (2000). "The anatomy of language: contributions from functional neuroimaging". Journal of Anatomy. 197 (3): 335–359. doi:10.1046/j.1469-7580.2000.19730335.x.
  30. Nieuwenhuys R, Donkelaar HJ, Nicholson C (1998). The central nervous system of vertebrates, Volume 1. Springer. pp. 2011–2012. ISBN 978-3-540-56013-5.
  31. Frithjof Kruggel; Martina K Brückner; Thomas Arendt; Christopher J Wiggins; D Yves von Cramon (2003). "Analyzing the neocortical fine-structure". Medical Image Analysis. 7 (3): 251–264. doi:10.1016/S1361-8415(03)00006-9.
  32. คือคอร์เทกซ์ยิ่งหนามาก ก็ยิ่งฉลาดมาก
  33. Katherine L Narr; Roger P Woods; Paul M Thompson; Philip Szeszko; Delbert Robinson; Teodora Dimtcheva; Mala Gurbani; Arthur W Toga; Robert M Bilder (2007). "Relationships between IQ and Regional Cortical Grey Matter Thickness in Healthy Adults". Cerebral Cortex. 17 (9): 2163–2171. doi:10.1093/cercor/bhl125. PMID 17118969.
  34. Alexandre FM DaSilva; Cristina Granziera; Josh Snyder; Nouchine Hadjikhani (2007). "Thickening in the somatosensory cortex of patients with migraine". Neurology. 69 (21): 1990–1995. doi:10.1212/01.wnl.0000291618.32247.2d. PMID 18025393. News report:
    • Catharine Paddock (2007-11-20). "Migraine Sufferers Have Thicker Brain Cortex". Medical News Today.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • NeuroNames hier-20
  • ภาพสมองตัดแต่งสีซึ่งรวมส่วน "cerebral cortex" at the BrainMaps project
  • Webvision - The primary visual cortex 2004-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Comprehensive article about the structure and function of the primary visual cortex.
  • Webvision - Basic cell types 2016-07-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Image of the basic cell types of the monkey cerebral cortex.
  • Development of the Cerebral Cortex Different topics on cortical development in the form of columns written by leading scientists.
  • Cerebral Cortex - Cell Centered Database
  • NIF Search - Cerebral Cortex via the Neuroscience Information Framework


เปล, อกสมอง, หร, วนนอกของสมองใหญ, หร, คอร, เทกซ, สมองใหญ, หร, เซร, บร, ลคอร, เทกซ, หร, อบางคร, งเร, ยกส, เพ, ยงแค, คอร, เทกซ, แต, คำว, คอร, เทกซ, สามารถหมายถ, งส, วนย, อยส, วนหน, ในด, วย, งกฤษ, cerebral, cortex, cortex, cortex, cerebri, เป, นช, นเน, อเย, อเซลล. epluxksmxng 1 hrux swnnxkkhxngsmxngihy 1 hrux khxrethkssmxngihy 2 hrux esribrlkhxrethks hruxbangkhrngeriyksn ephiyngaekhwa khxrethks aetkhawa khxrethks samarthhmaythungswnyxyswnhnung inepluxksmxngdwy xngkvs Cerebral cortex cortex Cortex cerebri epnchnenuxeyuxesllprasathchnnxksudkhxngsiribrm hruxeriykwaethelnfalxn thiepnswnkhxngsmxnginstwmikraduksnhlngbangphwk epnswnthipkkhlumthngsiribrmthngsiriebllm mixyuthngsiksaysikkhwakhxngsmxng epluxksmxngmibthbathsakhyinrabbkhwamca khwamisic khwamtrahnk awareness khwamkhid phasa aelakarrbru consciousness epluxksmxngmi 6 chn aetlachnprakxbdwyesllprasathtang kn aelakarechuxmtxkbsmxngswnxun thiimehmuxnkn epluxksmxngkhxngmnusymikhwamhna 2 4 milliemtr 3 Brain epluxksmxng cerebral cortex epluxksmxngkhuxchnnxksudmisimwngekhmesllprasathyxmsiaebb Golgi inkhxrethksNeuroLex ID birnlex 1494insmxngdxng epluxksmxngmisietha dngnn cungmichuxwaenuxetha misidngnnkephraaprakxbdwyesllprasathaelaaexksxnthiimmiplxkimxilin epriybethiybkbenuxkhaw white matter thixyuitenuxetha sungprakxbdwyaexksxnthiodymakmiplxkimxilin thiechuxmoyngkbesllprasathinekhttang khxngepluxksmxngaelainekhtxun khxngrabbprasathklangphiwkhxngepluxksmxngdarngxyuepnswnphbinstweliynglukdwynmthimikhnadihy cnkrathngwa phiwepluxksmxngkhxngmnusymakkwasxnginsamswn xyuitchxngthieriykwa rxng sulci swnihmthisudkhxngepluxksmxngtamwiwthnakarchatiphnthu kkhux khxrethksihm neocortex hruxeriykxikxyanghnungwa ixoskhxrethks sungmichn 6 chn swnthiekaaekthisudkkhuxhipopaekhmps hruxeriykxikxyanghnungwa xarkhikhxrethks sungmichn 3 chnepnxyangmak aelaaebngekhtxxkepnfildyxykhxnghipopaekhmps Hippocampal subfields esllinchntang khxngepluxksmxngechuxmtxknepnaenwtng rwmtwknepnwngcrprasathkhnadelkthieriykwa khxlmninkhxrethks cortical columns ekhttang inkhxrethksihm samarthaebngxxkepnekhttang thieriykwa ekhtbrxdaemnn Brodmann areas aetlaekhtmilksnatang knepntnwa khwamhna chnidkhxngesllodymak aelatwbngchisarekhmiprasath neurochemical markers enuxha 1 phthnakarinkhrrph 2 wiwthnakar 3 okhrngsrangepnchnkhxngepluxksmxng 4 karechuxmtx 4 1 ekhtrbrukhwamrusuk 4 2 ekhtsngkar 4 3 ekhtsmphnth 5 karcaaenkpraephth 6 khwamhnakhxngepluxksmxng 7 duephim 8 echingxrrthaelaxangxing 9 aehlngkhxmulxunphthnakarinkhrrph aekikh phthnakarkhxngepluxksmxnginmnusychwngxathitythi 26 thung 39 inkhrrph swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidwiwthnakar aekikhepluxksmxngepnxnuphnthkhxng khuxmiwiwthnakarsubmacak aephleliym pallium 4 sungepnokhrngsrangmihlaychnphbinsmxngswnhnakhxngstwmikraduksnhlngthnghmd aephleliymchnidphunthanepnchnrupthrngkrabxkmiophrngminaxyuphayin rxb thrngkrabxkmiekht 4 ekht idaek aephleliymdanthxng ventral aephleliymdanin medial aephleliymdanhlng dorsal aelaaephleliymdankhang lateral sungmisnnisthanwa kxihekidkhxrethksihm hipopaekhmps xamikdala amygdala aela khxrethksrupchmphu piriform cortex 5 cnkrathngerw ni swnkhlayknkhxngepluxksmxnginstwimmikraduksnhlng imidrbkaryxmrbodynkwithyasastr aetwa nganwicythiphimphinwarsar esll in kh s 2010 aesdngwa odywiekhraahkaraesdngxxkkhxngyin gene expression 6 epluxksmxngkhxngstwmikraduksnhlngaelasmxngrupehd mushroom bodies 7 khxnghnxnthray mikhwamiklekhiyngkn 8 smxngrupehdepnokhrngsranginsmxngkhxnghnxnhlaycaphwkaelakhxngstwkhaplxng mibthbathsakhyinkareriynaelakarthrngca hlkthaninnganwicynichiwa wiwthnakarkhxngepluxksmxngaelasmxngrupehdmicudkaenidediywkn dngnn cungaesdngwa okhrngsrangtngtnkhxngepluxksmxngekidkhuninsmymhayukhphriaekhmebriynokhrngsrangepnchnkhxngepluxksmxng aekikh rupwad 3 phaph khxngchntang inepluxksmxng wadody sanetiyok ramxn xi kahal aetlarupaesdnghnatdaenwyun danbnsudepnphiwkhxngkhxrethks rupsayepnkhxrethkssaytakhxngmnusyphuihyyxmsiaebbnissl rupklangepnkhxrethkssngkarkhxngmnusyphuihy rupkhwaepnkhxrethkskhxngtharkwykhwbkhrungyxmsiaebb Golgi karyxmsiaebbnisslaesdngtwesllprasath swnkaryxmsiaebb Golgi aesdngednidrtaelaaexksxnkhxngesllprasathswnhnungodysum rupimokhrkrafaesdngkhxrethkssaytaepnsichmphuodymak swnenuxkhawthixyuitepluxksmxngxyudanlangepnsinaenginodymak epluxksmxngmiokhrngsrangepnchn aetlachnmilksnaechphaaecaacngthitang kn echnpraephthkhxngesllprasath aelakarechuxmtxkhxngesllprasathinchnnnkbesllxunthnginepluxksmxngaelaitepluxksmxng twxyangkhxngkhwamtangthichdecnthisudxyanghnungkkhuxchntang khxng layecnnari Stria of Gennari inkhxrethkssaytapthmphumi sungepnlaykhxngenuxkhawthisamarthehniddwytaeplathiknkhxngrxngaekhlkharinkhxngsmxngklibthaythxy layecnnariepnaexksxnthisngkhxmulthangtacakthalamsipsuchnthi 4 khxngkhxrethkssaytakaryxmsiodyhnatd khuxodyphakhtdkhwang khxngkhxrethksepidephytaaehnngkhxngtwesllprasath aelaaethbaexksxnthiechuxmswntang inkhxrethks epidoxkasihnkprasathkaywiphakh intnkhriststwrrsthi 20 thakarphrrnnaxyanglaexiydthungokhrngsrangepnchn khxngkhxrethksinspichistang hlngcaknganwicykhxngkhxrbieniyn brxdaemnn 9 inpi kh s 1909 esllprasathinepluxksmxngkmikaraebngxxkepn 6 chnhlk erimcakswnnxkthiepnenuxetha ipsudyngswninthiepnenuxkhaw sungidaek chnthi 1 eriykwa chnomelkular molecular layer miesllprasathnxytwthikracayxxkip aelaodymakprakxbdwykracukkhxngednidrtcakyxdkhxngesllprasathphiramid pyramidal neuron aelaaexksxnthiipinaenwkhwang aelaesllekliy 10 esllprasathkhahal ertesiys Cajal Retzius cell aelaesllprasathrupdaw stellate cells aebbmihnamkmixyuinchnnidwy mikarsnnisthanwa karechuxmtxcakesllprasathcakekhtxunmayngkracukednidrtkhxngyxdesllprasathphiramid epnxngkhprakxbthisakhyinkarthanganrwmknkhxngeslltang inepluxksmxngthimibthbathinkareriynodysmphnth 11 aelakarisic 12 aemwa caekhyechuxknwa karechuxmtxthiekhamasuchnthi 1 macakepluxksmxngexng 13 aetediywniruknaelwwa chnthi 1 inphiwthwepluxksmxngrbsyyanimichnxy cakesllprasathinthalamsaebbexm M type hruxthieriykwa esllprasathaebbemthriks 14 emuxepriybethiybkb esllprasathaebbsi C type hruxthieriykwa esllprasathaebbkhxr core sungsngsyyanipinchnthi 4 15 chnthi 2 thieriykwa chnesllprasathelkdannxk External granular layer prakxbdwyesllprasathphiramidkhnadelk aelaesllprasathrupdawepncanwnmak chnthi 3 hruxchnesllprasathphiramiddannxk external pyramidal layer prakxbdwyesllprasathphiramidkhnadelkaelaklangodymak aetkyngprakxbdwyesllthiimichesllphiramidxyangxunthimiaexksxnaenwtngechuxmtxkbphayinkhxrethks chnthi 1 aelachnthi 3 epncudhmayplaythanghlksahrbiyprasathnaekhacakkhxrethkssukhxrethksthimacakxiksiksmxnghnung aelachnthi 3 epnaehlngkaenidhlkkhxngiyprasathnaxxkcakkhxrethkssukhxrethksthiipsuxiksiksmxnghnung chnthi 4 hruxthieriykwa chnesllprasathelkdanin Granular layer prakxbdwyesllprasathrupdawaelaesllprasathphiramid chnidtang aelaepnplaythanghlksahrbiyprasathnaekhacakthalamssukhxrethks cakesllprasaththalamsaebbsi 15 aelasahrbiyprasathnaekhacakkhxrethkssukhxrethksthiechuxmtxkbsmxngsikediywkn chnthi 5 hruxchnesllprasathphiramiddanin internal pyramidal layer miesllprasathphiramidkhnadihy echnesllebths Betz cells inkhxrethkssngkarpthmphumi epnchnthiepntnkaenidhlktxiyprasathnaxxkthiipsuekhtitepluxksmxng ephraaehtunn cungmiesllphiramidkhnadihythisngaexksxnipcakkhxrethkslngphanpmprasaththan basal ganglia kansmxng aelaikhsnhlng chnthi 6 hruxchnhlayrup Polymorphic layer hrux multiform layer miesllprasathphiramidkhnadihybang aelamiesllphiramidmiruprangkhlaykraswy aelaesllruprangtang xyangxun chnthi 6 sngiyprasathnaxxkipyngthalams epnkarechuxmtxsungknaelaknrahwangkhxrethksaelathalams 16 iyprasaththinaxxknnepnthngaebberaaelaaebbham 17 esllprasathcakchn 6 ni sngiyprasathaebberaipyngesllprasathinthalams aelasngiyprasaththiepnsakhaipyngniwekhliystakhayinthalams thalamic reticular nucleus thimivththihamesllprasathinthalamsklumediywknhruxthixyuikl knnnaehla enuxngcakwavththikarhamkhxngesllprasathcakchn 6 inepluxksmxngnnldlng ephraasyyanthangekhaipyngepluxksmxngthisuxodyxaestthilokhlin klikechnnicungepidoxkasihkansmxng samarthkhwbkhumradbkhwamerakhxngkhxngsyyancakwithiprasathkhxlmnhlng elmniskhsklang Posterior column medial lemniscus pathway 18 17 sungepnwithiprasathrbkhwamrusuk klawodyxiknyhnungkhux epidoxkasihkansmxngkhwbkhumradbkhwamrusuknnexngihruwa chninkhxrethksnn imichepnephiyngaetchnthithanganepnxisracakknthixyusxn knkhunipephiyngethann aetwa mikarechuxmtxrahwangchnaelarahwangpraephthkhxngniwrxnthiechphaaecaacng aelaepniptlxdkhwamhnakhxngkhxrethks wngcrprasathelk ehlani aebngklumxxkepnkhxlmninkhxrethks cortical columns aelaminikhxlmninkhxrethks minikhxlmninkhxrethksidrbkaresnxwaepnhnwyphunthanodykic khuxepnhnwythielkthisudthimikicediywkn khxngkhxrethks 19 inpi kh s 1957 ewxrnxn emantaekhsetil aesdngihehnwa kickhxngkhxrethksincudthixyukhang kn samarthepliynipidxyangchbphln aetwa inaenwthitngchakkbphiw kickhxngkhxrethksnnmikhwamsubtxkn nganwicyhlngcaknnidihhlkthanthiaesdnghnwyphunthanodykicthieriykwa khxlmninkhxrethks inkhxrethkssayta hueblaelawiesl kh s 1959 20 khxrethkskaridyin auditory cortex aelakhxrethkssmphnth associative cortex ekhtkhxrethksthiimmichnthi 4 eriykwa agranular khuxkhxrethksthiimmichnesllprasathelk aelaekhtthimichnthi 4 thiimbribuneriykwa dysgranular khuxkhxrethksthimichnesllprasathelkphidpkti 21 karpramwlkhxmulkhxngaetlachnmikarkahndodykhwamthithangkalewlathiimehmuxnkn khuxwa chn 2 aela 3 mikaraekwng oscillation xyangcha thi 2 ehirts inkhnathichn 5 mikhwamaekwngxyangerw thi 10 15 ehirts 22 karechuxmtx aekikhepluxksmxngmikarechuxmtxkbekhtitepluxksmxnghlayekht echn thalamsaelapmprasaththan aelasngkhxmulipyngekhtehlannodyiyprasathnaxxk aelarbkhxmulcakekhtehlannodyiyprasathnaekha odyswnmak khxmulekiywkbkhwamrusukthangprasathkhwamrusuktang rbkarsngipyngepluxksmxngphanthalams aetwa khxmulekiywkbklinrbkarsngphanswnpxngklin olfactory bulb 23 ipyngkhxrethksrupchmphu piriform cortex sungepnkhxrethksthipramwlkarrbrukhxngklin karechuxmtxodymakinkhxrethksipcakekhtkhxrethkshnungipyngxikekhthnung imichipyngekhtitepluxksmxng ebrethnebxrk aelachus kh s 1991 pramankarechuxmtxphayinkhxrethksiwthi 99 24 aeladngnn karechuxmtxkbswnnxkkhxrethksiwthi 1 nkekhiynodymakphrrnnakhxrethkswami 3 swnidaek ekhtrbrukhwamrusuk sensory ekhtsngkar motor aelaekhtsmphnth association ekhtrbrukhwamrusuk aekikh ekhtrbrukhwamrusuk xngkvs sensory areas rbkhxmulaelapramwlkhxmulcakprasathrbrukhwamrusuk swnkhxngkhxrethksthirbkhxmulkhwamrusukcakthalamseriykwa ekhtrbrukhwamrusukpthmphumi primary sensory areas karehn karidyin aelakarkrathbsmphsepnkickhxngkhxrethkssayta visual khxrethkskaridyin auditory aelakhxrethksrbkhwamrusukthangkay somatosensory odythwip siksmxngthngsxngkhangrbkhxmulmacakdantrngkhamkhxngrangkay yktwxyangechn khxrethksrbkhwamrusukthangkaykhxngsmxngsikkhwa rbkhxmulmacakaekhnkhakhangsay aelakhxrethkssaytakhangkhwarbkhxmulmacaklansaytadansay karcdraebiybaephnthithiaesdngkhwamrusukinkhxrethks epniptamxwywathirbrukhwamrusukechntaepntn epnaephnthimiraebiybthieriykwa aephnthiothophkrafik topographic map 25 yktwxyangechn esllprasathcudthixyuikl kninkhxrethkssayta kcamikhwamsmphnthkbesllprasathcudthixyuikl kninertina aephnthiothophkrafikkhxngertinani eriykwa aephnthiphiwertina retinotopic 26 map odynyediywkn miaephnthikhwamthiesiyng tonotopic map inkhxrethkskaridyinpthmphumi aelamiaephnthiswnrangkay somatotopic map inkhxrethksrbkhwamrusukthangkaypthmphumiaephnthiothophkrafikkhxngswnrangkaythiklawthungthihlngni mirupepnphaphmnusythiphidswnip khux khnadkhxrethksthiaesdngswnhnungkhxngrangkay khunxyukbkhwamhnaaennkhxngesllprasathinswnnn swnthimiesllprasathrbrukhwamrusukhnaaenn echnplayniwaelapak kcamiekhtinkhxrethksthiihykwa ephuxpramwlphlkhxngkhwamrusukthilaexiydkwann ekhtsngkar aekikh ekhtsngkar motor areas xyuinkhxrethksinsiksmxngthngsxngkhang miruprangkhlaykbhufngerimcakhuhnungaephipyngxikhuhnung ekhtsngkarmikhwamsmphnthxyangiklchidkbkarkhwbkhumkarekhluxnihwthixyuitxanaccitic odyechphaaxyangyingkarekhluxnihwmuxthiaebngepnchwng xyanglaexiyd ekhtsngkarinsmxngsikkhwakhwbkhumkaydansay aelainthangklbkn ekhtsngkarinsmxngsiksaykhwbkhumkaydankhwamiekht 2 ekhtinkhxrethksthieriykwaekhtsngkar idaek khxrethkssngkarpthmphumi Primary motor cortex sungdaeninkarekhluxnihwthixyuitxanaccitic ekhtsngkaresrim Supplementary motor area aelakhxrethksphrimxetxr khuxkhxrethksthixyudanhnakhxngkhxrethkssngkarpthmphumi hrux premotor cortex sung eluxk karekhluxnihwthixyuitxanacciticyingipkwann kicekiywkbkarsngkarmikhwamekiywkhxngkbekhtxun rwmthng khxrethkssmxngklibkhangdanhlng Posterior parietal cortex sungnathangkarekhluxnihwthixyuitxanacciticinpriphumi dorsolateral prefrontal cortex sungthakartdsinicwa cathakarekhluxnihwaebbihn odykhunxyukbkhasng kdeknth aelakhwamkhidinicfnglukphayitenuxkhawkhxngepluxksmxng kkhuxenuxethakhxngekhtitepluxksmxngthiechuxmtxknthieriykwa niwkhliixthan basal nuclei niwkhliixthanrbkhxmulmacak substantia nigra khxngsmxngswnklangaelaekhtsngkarkhxngepluxksmxng aelasngkhxmulklbipsuekhtthngsxngnn niwkhliixthanthakicekiywkhxngkbkarsngkar khuxkarkhwbkhumkarekhluxnihw epnekhtthixyukhang thalams aelabxykhrngeriykwa pmprasaththan basal ganglia thungaemwa inpccubn khawa pmprasath ganglion caichkbklumesllprasaththixyunxkrabbprasathklangnkprasathkaywiphakhimsamarthtklngknidwa misunyklanginsmxngthnghmdkiaehngknaenthiepnswnkhxngniwkhliixthan aettklngknwaxyangnxy misamekht khux niwekhliysmihang caudate nucleus putamen aela globus pallidus tw putamen aela globus pallidus rwmkneriykxikxyanghnungwa niwekhliysrupelns lentiform nucleus ephraawaekhtehlannrwmknmiruprangehmuxnelns aelatw putamen aelaniwekhliysmihangexngkrwmkneriykwa corpus striatum ephraapraktepnrxyriw 27 28 ekhtsmphnth aekikh ekhtsmphnth hrux ekhtprasathsmphnth hrux khxrethkssmphnth xngkvs association areas xngkvs association cortex thahnathiepnthikaenidkhxngprasbkarnkarrbru thithakhwamhmayekiywkbsingaewdlxmihprakt khuxthaiheraekhaicsingaewdlxm thithaiherasamarthtxbsnxngkbsingaewdlxmidxyangmiprasiththiphaph aelasnbsnunihekidkhwamkhidthangnamthrrm aelakarichphasa swnkhxngekhtsmphnth khux smxngklibkhang smxngklibkhmb aelasmxngklibthaythxy sunglwnaetxyudanhlngkhxngkhxrethks thahnathicdraebiybkhxmulekiywkbkhwamrusuk echnkarehnepntn ihepnaebbcalxngephuxkarrbrusingaewdlxmthiekhakn khlxngcxngkn patidpatxkn odymitweraexngepnsunyklangsmxngklibhna mibthbathinkarwangaephnphvtikrrmekiywkbkarekhluxnihw aelainkhwamkhidthangnamthrrm inxdit idmithvsdiwa smrrthphaphekiywkbphasannxyuinsmxngsiksay klawodyechphaakhux inekhtbrxdaemnn 44 45 hruxeriykxikxyanghnungwa ekhtobrkha indankaraesdngxxk echnkhaphudaelakarekhiyn aelainekhtbrxdaemnn 22 hruxeriykxikxyanghnungwa ekhtewxrnik indankarrbru echnkarfngaelakarxan aetpraktwa smrrthphaphekiywkbphasaklbimcakdxyuinephiyngaekhekhtehlannethann nganwicyerw niesnxwa krabwnkaraesdngxxkaelakarrbrukhxngphasa ekidkhuninekhtxunnxkehnuxcakekhtrxbrxngdankhangehlann echn inkhxrethksklibhnaphakswnhna pmprasaththan siriebllm phxns niwekhliysmihang caudate nucleus aelaekhtxun ekhtsmphnthrwbrwmkhxmulcaktwrbkhwamrusukhruxekhtkhwamrusuktang aelwsmphnthkhxmulthirbmann kbprasbkarninxdit txcaknn smxngkcathakartdsinicaelasngskyanganipyngekhtsngkarephuxthakartxbsnxngtxkhxmulthiidrbnn 29 phiwdankhang Lateral surface khxngepluxksmxnginmnusy phiwdanin Medial surface khxngepluxksmxnginmnusykarcaaenkpraephth aekikhepluxksmxngsamarthcaaenkpraephthxxkepnsxngklumihy odykhwamaetktangkninokhrngsrangkhxngchn idaek ixoskhxrethks isocortex hruxkhxrethksihm epnswnkhxngsmxngthiemuxecriyetmthiaelwprakxbdwychnthiaetktangkn 6 chn epnphwkthieriykwa homotypic khuxehmuxnknkbswnxun hrux epnswnthimichn 6 chninkhnathikalngphthna aetklbmichnthimakkwahruxnxykwa 6 chnemuxecriyetmthiaelw epnphwkthieriykwa heterotypic khuxtangcakswnxun twxyangkhxngixoskhxrethkstangkkhux ekhtbrxdaemnn 4 sungkkhuxkhxrethkssngkarpthmphumi thiimmichnthi 4 aelaekhtbrxdaemnn 17 sungkkhux khxrethkssaytapthmphumi thimichnmakkwa 6 chn khuxchn 4 aebngxxkepnchnyxyxik 4 chn xlolkhxrethks allocortex epnswnkhxngepluxksmxngthiminxykwa 6 chn odythimicanwnimethakn twxyangkhxngxlolkhxrethkskkhuxkhxrethksrupchmphu piriform cortex 5 aelahipopaekhmpspraephthxun idaek emoskhxrethks mesocortex epnpraephthrahwangixoskhxrethksaelaxlolkhxrethks sungmichnthi 2 3 4 rwmekhadwykn phrxyoskhxrethks proisocortex epntnwaekhtbrxdaemnn 24 25 30 aela 32 ephrixlolkhxrethks periallocortex khuxekhtkhxrethksrxb xlolkhxrethksaelaodykhwamaetktangkninchwngwiwthnakar praephthehlanikmiichdwy idaek khxrethksihm neocortex hrux nioxaephleliym neopallium sungkkhuxswnediywkbixoskhxrethks xarkhikhxrethks archicortex sungodyladbkhxngwiwthnakarinstw epnkhxrethksthiekaaekthisud phaeloxkhxrethks paleocortex sungodyladbkhxngwiwthnakarinstw epnkhxrethksmikhwamekaaekkwakhxrethksihm aetihmkwaxarkhikhxrethksyingipkwann yngsamarthcdpraephthkhxngkhxrethks khunxyukbtaaehnngkhraw odyepn 4 klibsmxng idaek smxngklibkhmb smxngklibthaythxy smxngklibkhang aelasmxngklibhnaphak klibhna Frontal lobe klibkhmb Temporal lobe klibkhang Parietal lobe klibthaythxy Occipital lobe khwamhnakhxngepluxksmxng aekikhinstweliynglukdwynm stwthimismxngthiihykwa odykhnad imichephiyngaekhkhnadodyepriybethiybkbkhnadkay mkcamiepluxksmxngthihnakwa 30 aetchwngkhwamhnacring kimtangknmak khuxaekhpraman 7 etharahwangkhxrethksthihnathisudaelathibangthisud stweliynglukdwynmthielkthisud epntnwahnuphi mikhwamhnakhxngkhxrethksihmpraman 0 5 m m aelastwthiihythisudkhuxmnusyaelaplawalfin mikhwamhnakhxngkhxrethksihmpraman 2 3 2 8 m m mikhwamsmphnthekuxbepnechinglxkarithumrahwangnahnkkhxngsmxngaelakhwamhnakhxngkhxrethks aetxyangirktam plaolmaklbmikhxrethksthibangmak emuxethiybkbkhwamhnathikhwamsmphnthnnkahnd 30 ephraakarsrangphaphdwyerosaennsaemehlk cungepnipidthicawdkhwamhnakhxngepluxksmxnginmnusy aelwhakhwamsmphnthkhxngkhwamhnannkbkhaxun khwamhnakhxngepluxksmxnginekhttang imehmuxnkn aetodythw ipkhxrethksrbkhwamrusukcabangkwa aelakhxrethkssngkarcahnakwa 31 nganwicyhnungphbkhwamsmphnthodybwkrahwangkhwamhnakhxngkhxrethksaelakhwamchlad 32 33 swnxiknganhnungphbwa khxrethksrbkhwamrusukthangkaymikhwamhnamakkwainkhnikhorkhimekrn 34 duephim aekikhrabblimbik khxlmninkhxrethks smxngklibhna smxngklibthaythxy smxngklibkhang smxngklibkhmbechingxrrthaelaxangxing aekikh 1 0 1 1 sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 ihkhwamhmaykhxng cerebral wa smxngihy hrux smxng Kandel Eric R Schwartz James H Jessell Thomas M 2000 Principles of Neural Science Fourth Edition United State of America McGraw Hill p 324 ISBN 0 8385 7701 6 inprasathkaywiphakh khawa aephleliym pallium hmaythungenuxethaaelaenuxkhawthikhlumdanbnkhxngsiribrmkhxngstwmikraduksnhlng epnswnkhxngsmxngthimikarwiwthnakaripepnswnsmxngxun echnepluxksmxngepntn 5 0 5 1 khxrethksrupchmphu piriform cortex epnswnkhxng rhinencephalon sungxyuinethelnesfalxn inmnusy khxrethksrupchmphuprakxbdwyxamikdala uncus aelarxynunrxbhipopaekhmpsswnhna khxrethksrupchmphumihnathiekiywkbkarrbruklin karaesdngxxkkhxngyin gene expression khuxkhbwnkarthikhxmultang khxngyin mikarnamaichephuxkarsngekhraahoprtinaelakrdirobniwkhlixik RNA xnepnphlitphnthkhxngyin smxngrupehd mushroom bodies hrux corpora pedunculata epnokhrngsrangkhuinsmxngkhxngaemlngaelastwkhaplxng epnswnkhxngsmxngthimibthbathinkareriynruklinaelakarcaklin Tomer R Denes AS Tessmar Raible K Arendt D Tomer R Denes AS Tessmar Raible K Arendt D 2010 Profiling by image registration reveals common origin of annelid mushroom bodies and vertebrate pallium Cell 142 5 800 809 doi 10 1016 j cell 2010 07 043 PMID 20813265 khxrbieniyn brxdaemnn epnnkprasathwithyachaweyxrmnthimichuxesiynginkaraebngepluxksmxngxxkepn 52 ekht tamlksnakhxngtwesllinekhttang aelaekhtehlann eriykrwm knwa ekhtbrxdaemnn Shipp Stewart 2007 06 17 Structure and function of the cerebral cortex Current Biology 17 12 R443 9 doi 10 1016 j cub 2007 03 044 PMID 17580069 subkhnemux 2009 02 17 kareriynodysmphnth associated learning epnkrabwnkareriynrukhwamsmphnthknrahwangtwkratunsxngtw hruxrahwangphvtikrrmkbtwkratuntwhnung Gilbert CD Sigman M 2007 Brain states top down influences in sensory processing Neuron 54 5 677 96 doi 10 1016 j neuron 2007 05 019 PMID 17553419 Cauller L 1995 Layer I of primary sensory neocortex where top down converges upon bottom up Behav Brain Res 71 1 2 163 70 doi 10 1016 0166 4328 95 00032 1 PMID 8747184 Rubio Garrido P Perez de Manzo F Porrero C Galazo MJ Clasca F 2009 Thalamic input to distal apical dendrites in neocortical layer 1 is massive and highly convergent Cereb Cortex 19 10 2380 95 doi 10 1093 cercor bhn259 PMID 19188274 15 0 15 1 Jones EG 1998 Viewpoint the core and matrix of thalamic organization Neuroscience 85 2 331 45 doi 10 1016 S0306 4522 97 00581 2 PMID 9622234 Creutzfeldt O 1995 Cortex Cerebri Springer Verlag 17 0 17 1 Lam YW Sherman SM 2010 Functional Organization of the Somatosensory Cortical Layer 6 Feedback to the Thalamus Cereb Cortex 20 1 13 24 doi 10 1093 cercor bhp077 PMC 2792186 PMID 19447861 withiprasathkhxlmnhlng elmniskhsklang Posterior column medial lemniscus pathway epnwithiprasathrbrukhwamrusuk mihnathisngsyyanepntnwa karkrathbsmphslaexiyd khwamsnsaethuxn aelakarrbruxakpkiriya cakrangkayipyngepluxksmxng swnchuxkhxngwithiprasathmacakokhrngsrangsxngxyang thisyyankhwamrusukrbkarsngphanipyngepluxksmxng khux khxlmndanhlngkhxngikhsnhlng aelaelmniskhsdanin medial lemniscus inkansmxng Mountcastle V 1997 The columnar organization of the neocortex Brain 120 4 701 722 doi 10 1093 brain 120 4 701 PMID 9153131 Hubel DH Wiesel TN October 1959 Receptive fields of single neurones in the cat s striate cortex J Physiol Lond 148 3 574 91 PMC 1363130 PMID 14403679 S M Dombrowski C C Hilgetag and H Barbas Quantitative Architecture Distinguishes Prefrontal Cortical Systems in the Rhesus Monkey Cereb Cortex 11 975 988 they either lack agranular or have only a rudimentary granular layer IV dysgranular Sun W Dan Y 2009 Layer specific network oscillation and spatiotemporal receptive field in the visual cortex Proc Natl Acad Sci U S A 106 42 17986 17991 doi 10 1073 pnas 0903962106 PMC 2764922 PMID 19805197 swnpxngklin olfactory bulb epnokhrngsrangkhxngsmxngswnhnakhxngstwmikraduksnhlng mikichnathiekiywkhxngkbkarrbruklin Braitenberg V and Sch z A 1991 Anatomy of the Cortex Statistics and Geometry NY Springer Verlag aephnthiothophkrafik topographic map epnaephnthiinsmxngthiaesdngphunphiwkhxngxwywarbrukhwamrusuk echnertinahruxphiwhnng hruxswnkhxngrangkaythiepnhnwyptibtingan echnrabbklamenux aephnthiothophkrafikmixyuinrabbrbrukhwamrusukthukrabb aelainrabbsngkarepncanwnmak karthaaephnthikhxngphiwertina retinotopy epnkarsrangaephnthikhxngsyyankarehncakertinainesllprasath odyechphaaesllprasaththixyuinthangsyyanthng 2 nisamarthepriybethiybkbkhiybxrdkhxmphiwetxr khux syyandicithlthiekidcakkarkdpumthikhiybxrd epliynipepntwxksrbncx Saladin Kenneth Anatomy and Physiology The Unity of Form and Function 5th Ed New York McGraw Hill Companies Inc 2010 Print Dorland s Medical Dictionary for Health Consumers 2008 Cathy J Price 2000 The anatomy of language contributions from functional neuroimaging Journal of Anatomy 197 3 335 359 doi 10 1046 j 1469 7580 2000 19730335 x 30 0 30 1 Nieuwenhuys R Donkelaar HJ Nicholson C 1998 The central nervous system of vertebrates Volume 1 Springer pp 2011 2012 ISBN 978 3 540 56013 5 Frithjof Kruggel Martina K Bruckner Thomas Arendt Christopher J Wiggins D Yves von Cramon 2003 Analyzing the neocortical fine structure Medical Image Analysis 7 3 251 264 doi 10 1016 S1361 8415 03 00006 9 khuxkhxrethksyinghnamak kyingchladmak Katherine L Narr Roger P Woods Paul M Thompson Philip Szeszko Delbert Robinson Teodora Dimtcheva Mala Gurbani Arthur W Toga Robert M Bilder 2007 Relationships between IQ and Regional Cortical Grey Matter Thickness in Healthy Adults Cerebral Cortex 17 9 2163 2171 doi 10 1093 cercor bhl125 PMID 17118969 Alexandre FM DaSilva Cristina Granziera Josh Snyder Nouchine Hadjikhani 2007 Thickening in the somatosensory cortex of patients with migraine Neurology 69 21 1990 1995 doi 10 1212 01 wnl 0000291618 32247 2d PMID 18025393 News report Catharine Paddock 2007 11 20 Migraine Sufferers Have Thicker Brain Cortex Medical News Today aehlngkhxmulxun aekikhNeuroNames hier 20 phaphsmxngtdaetngsisungrwmswn cerebral cortex at the BrainMaps project Webvision The primary visual cortex Archived 2004 12 29 thi ewyaebkaemchchin Comprehensive article about the structure and function of the primary visual cortex Webvision Basic cell types Archived 2016 07 22 thi ewyaebkaemchchin Image of the basic cell types of the monkey cerebral cortex Development of the Cerebral Cortex Different topics on cortical development in the form of columns written by leading scientists Cerebral Cortex Cell Centered Database NIF Search Cerebral Cortex via the Neuroscience Information Framework bthkhwamekiywkbkaywiphakhsastrniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmul duephimthi okhrngkarwikikaywiphakhsastrekhathungcak https th wikipedia org w index php title epluxksmxng amp oldid 9550457, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม