fbpx
วิกิพีเดีย

Lateral geniculate nucleus

Lateral geniculate nucleus (ตัวย่อ LGN แปลว่า นิวเคลียสงอคล้ายเข่าด้านข้าง) เป็นศูนย์ถ่ายทอดสัญญาณประสาทหลักจากจอตา ไปยังระบบประสาทกลาง อยู่ในส่วนทาลามัสของสมอง และยังมีส่วนอื่นที่เรียกว่า medial geniculate nucleus ซึ่งเป็นส่วนที่มีหน้าที่คล้ายกันแต่ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเกี่ยวกับเสียง

Lateral geniculate nucleus
(ตัวย่อ LGN)
(แปลว่า นิวเคลียสงอคล้ายเข่าด้านข้าง)
สมองส่วนหลัง (hindbrain) และสมองส่วนกลาง มองจากข้างหลังด้านข้าง (postero-lateral) LGN อยู่ด้านบน
รายละเอียด
ส่วนหนึ่งของทาลามัส
ระบบระบบการเห็น
หลอดเลือดแดงAnterior choroidal artery และ Posterior cerebral artery
หลอดเลือดดำTerminal vein
ตัวระบุ
ภาษาละตินCorpus geniculatum laterale
นิวโรเนมส์352
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_1662
TA98A14.1.08.302
TA25666
FMA62209
ศัพท์กายวิภาคศาสตร์ของประสาทกายวิภาคศาสตร์
[แก้ไขบนวิกิสนเทศ]

LGN รับสัญญาณโดยตรงจาก

LGN ส่งแอกซอนไปทางส่วนแผ่ประสาทตาตรงไปยังคอร์เทกซ์สายตาปฐมภูมิ (primary visual cortex ตัวย่อ V1) นอกจากนั้นแล้ว LGN ยังรับสัญญาณป้อนกลับจาก V1 มีขนาดเป็น 10 เท่าของสัญญาณที่ส่งไปยัง V1 แม้ว่ายังไม่มีความชัดเจนว่าเพื่อประโยชน์อะไร

ในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม วิถีประสาทใหญ่ที่สุดสองวิถีที่เชื่อมตากับสมองก็คือส่วนที่ส่งไปยังด้านหลังของ LGN ในทาลามัส (ที่เรียกว่า LGNd) และส่วนที่ส่งไปยัง superior colliculus

โครงสร้าง

ซีกสมองทั้งซีกซ้ายและขวามี LGN ซึ่งมีชื่อที่แปลว่า "นิวเคลียสงอคล้ายเข่าด้านข้าง" (lateral geniculate nucleus) ก็เพราะว่า มีรูปคล้ายกับเข่าที่งอ (คือ genu เป็นภาษาละตินแปลว่า "เข่า") ในสัตว์อันดับวานรรวมทั้งมนุษย์ LGN มีเซลล์อยู่เป็นชั้น ๆ แต่ละชั้นมี neuropil อยู่ในระหว่าง ในมนุษย์ LGN มีชั้น 6 ชั้น คือ ชั้นด้านใน 1 และ 2 เรียกว่า magnocellular layer ในขณะที่ชั้นด้านนอกอีก 4 ชั้น คือ 3-4-5-6 เรียกว่า parvocellular layer นอกจากนั้นแล้ว ยังมีชั้น koniocellular layer อยู่ที่ด้านล่างของแต่ละชั้นของ magnocellular layer และ parvocellular layer ชั้นหลัก ๆ และชั้นย่อย ๆ เหล่านี้แตกต่างกันไปในระหว่างสปีชีส์ของสัตว์อันดับวานร

เซลล์ M, P และ K

ประเภท ขนาด* รายละเอียด ตำแหน่ง การตอบสนอง
M - เซลล์ magnocellular ใหญ่ เซลล์รูปแท่ง ขาดไม่ได้ในการรับรู้การเคลื่อนไหว ความลึก และความแตกต่างของแสงสว่างอย่างละเอียด ชั้น 1-2 เร็วแต่ชั่วคราว
P - เซลล์ parvocellular (หรือ parvicellular) เล็ก เซลล์รูปกรวย รับคลื่นแสงยาวและกลาง (สีแดงและสีเขียว) จำเป็นในการรับรู้สีและรูปร่างที่ละเอียด ชั้น 3-4-5-6 ช้า ๆ และชั่วคราว
K - เซลล์ koniocellular (หรือ interlaminar) เล็กมาก เซลล์รูปกรวย รับคลื่นแสงแบบสั้น (สีน้ำเงิน) ในระหว่างชั้น M และชั้น P

(*) ขนาดของตัวเซลล์ เดนไดรต์ และลานรับสัญญาณ

 
แผนผังของ LGN ในไพรเมต ชั้น 1-2 อยู่ด้านล่าง และอยู่ต่อจากลำเส้นใยประสาทตา (optic tract) ที่มาจากเรตินา

ชั้น magnocellular, parvocellular, และ koniocellular ของ LGN รับสัญญาณจาก retinal ganglion cell ที่มีชื่อคล้าย ๆ กันตามลำดับ

เซลล์ koniocellular มีหน้าที่และมีประสาทเคมีที่แตกต่างจากเซลล์ magnocellular และ parvocellular ทำหน้าที่เป็นวิถีประสาทที่ 3 ที่ส่งไปยังคอร์เทกซ์สายตา โดยส่งแอกซอนออกไปจากระหว่างชั้นของ LGN ที่เซลล์ M และเซลล์ P ส่งไป ส่วนหน้าที่ของเซลล์ K ในการรับรู้ทางตายังไม่ชัดเจน แต่ว่า มีหลักฐานแสดงว่า เซลล์ K มีส่วนในการประสานข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้อากัปกิริยาของระบบรับความรู้สึกทางกาย กับข้อมูลจากการเห็น และอาจจะมีบทบาทเกี่ยวกับการรับรู้สี

ส่วนทางสัญญาณด้านล่างและทางสัญญาณด้านหลัง (ในสมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง) เชื่อกันมาก่อนว่า ได้รับใยประสาทจากเซลล์ P และเซลล์ M ตามลำดับโดยมาก แต่ว่า หลักฐานที่รวบรวมขึ้นใหม่ ๆ กลับแสดงว่า ทางสัญญาณทั้งสองอาจจะได้รับใยประสาทแบบผสมผสานกัน

วิถีประสาทจากเรตินาไปยังเปลือกสมองที่สำคัญอีกวิถีหนึ่งก็คือ วิถี tectopulvinar ซึ่งส่งสัญญาณจากเรตินา ผ่าน superior colliculus และนิวเคลียส pulvinar ในทาลามัส ไปยังคอร์เทกซ์กลีบข้างส่วนหลัง (posterior parietal cortex) และเขตสายตา MT

ชั้นข้อมูลจากตาข้างเดียวกันและข้างตรงกันข้ามกัน

LGN ทั้งในสมองซีกขวาทั้งในสมองซีกซ้ายรับสัญญาณมาจากตาทั้งสองข้าง แต่ว่า LGN ในสมองแต่ละซีกจะรับสัญญาณจากลานสายตาเพียงครึ่งเดียวจากตาแต่ละข้าง ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะแอกซอนจาก retinal ganglion cell จากครึ่งในของเรตินา (คือครึ่งด้านจมูก) ข้ามมายังส่วนตรงข้ามของสมอง ส่วนแอกซอนของเซลล์ปมประสาทในเรตินาจากครึ่งด้านนอก (คือด้านขมับ) ไปสุดที่สมองด้านเดียวกัน ดังนั้น สมองซีกซ้ายจึงรับข้อมูลสายตาจากลานสายตาด้านขวา และสมองซีกขวารับข้อมูลสายตามาจากลานสายตาด้านซ้าย แต่ข้อมูลของกึ่งลานสายตาใน LGN แต่ละซีกนั้นมาจากตาทั้งสองข้าง

ใน LGN ในสมองซีกหนึ่ง ข้อมูลสายตาจะแบ่งไปตามชั้นต่าง ๆ ดังนี้ คือ

  • ตาที่อยู่ข้างเดียวกันส่งข้อมูลไปยังชั้น 2-3-5
  • ตาที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกันส่งข้อมูลไปยังชั้น 1-4-6

วิธีจำง่าย ๆ ก็โดยใช้ประโยคนี้คือ "See I? I see, I see. (คุณเห็นฉันไหม? ฉันเห็น ฉันเห็น) " ด้วยคำว่า "see" เป็นตัวแทนอักษร "C" ซึ่งมาจากคำว่า "contralateral (ด้านตรงข้าม) " และอักษรว่า "I" ซึ่งมาจากคำว่า "ipsilateral (ด้านเดียวกัน) " รวมเป็น "C-I-I-C-I-C" ส่วนอีกวิธีหนึ่งให้จำว่า 2+3=5 ซึ่งถูกต้อง จึงเป็นด้านเดียวกัน (ipsilateral) และ 1+4 ไม่เท่ากับ 6 จึงเป็นด้านตรงข้าม (contralateral)

คำพรรณนานี้ถูกต้องสำหรับ LGN ในไพรเมตส่วนมาก แต่ไม่ทั้งหมด ลำดับชั้นที่รับข้อมูลจากตาข้างเดียวกันและตรงกันข้าม ไม่เหมือนกันในไพรเมตประเภททาร์เซีย เพราะเหตุนั้น นักประสาทวิทยาศาสตร์บางท่านจึงเสนอว่า "ความแตกต่างที่เห็นได้นี้ ทำทาร์เซียให้ต่างจากไพรเมตอย่างอื่นทั้งหมด สนับสนุนแนวความคิดว่า ทาร์เซียเกิดขึ้นในสายพันธ์ที่แยกออกไปต่างหากในวิวัฒนาการของไพรเมต"

ในการรับรู้ทางสายตา (visual perception) ตาข้างขวารับข้อมูลมาจากทั้งโลกทางด้านขวา (ลานสายตาด้านขวา) และทั้งโลกทางด้านซ้าย (ลานสายตาด้านซ้าย) คุณสามารถพิสูจน์ได้โดยปิดตาข้างซ้าย ตาข้างขวาจะยังเห็นได้ทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ถึงแม้ว่า มุมมองทางด้านซ้ายอาจจะติดจมูกอยู่บ้าง

ใน LGN ข้อมูลจากตาซ้ายและขวาที่แสดงจุดเดียวกันจะตั้งขึ้นซ้อน ๆ กันเป็นชั้นของ LGN ดังนั้น ไม้จิ้มฟันที่จิ้มทะลุตั้งแต่ชั้น 1 ตลอดชั้น 6 จะกระทบจุดเดียวกันของพื้นที่สายตา (ซึ่งเป็นข้อมูลที่รับมาจากทั้งตาซ้ายและตาขวา) 6 ครั้งด้วยกัน

ข้อมูลขาเข้า

LGN รับข้อมูลมาจากเรตินา ในบางสปีชีส์ LGN ยังรับข้อมูลจาก superior colliculus อีกด้วย

ข้อมูลขาออก

ข้อมูลออกจาก LGN ส่งผ่านส่วนแผ่ประสาทตา (optic radiation) ซึ่งกลายเป็นส่วน retrolenticular ของ internal capsule

แอกซอนที่ออกจาก LGN จะไปสุดที่คอร์เทกซ์สายตาปฐมภูมิ (V1) คือ ชั้น magnocellular 1-2 และ parvocellular 3-6 ส่งแอกซอนไปยังชั้น 4 ใน V1 และภายในชั้น 4 ของ V1 ชั้น 4cβ จะรับสัญญาณจากชั้น parvocellular ของ LGN และชั้น 4cα จะรับสัญญาณจากชั้น magnocellular ส่วนชั้น koniocellular ของ LGN (ซึ่งอยู่ในระหว่างชั้น 1-6) ส่งแอกซอนไปยังชั้น 4a ใน V1 และแอกซอนจากชั้น 6 ของ V1 ก็ส่งข้อมูลป้อนกลับไปให้ LGN

งานวิจัยในภาวะเห็นทั้งบอดบอกเป็นนัยว่า LGN ไม่ได้ส่งข้อมูลไปให้ V1 เพียงเท่านั้น แต่ยังส่งไปให้เขตสายตา V2 และเขตสายตา V3 อีกด้วย คือ คนไข้ภาวะเห็นทั้งบอดไม่สามารถมองเห็นได้ในบางส่วนของลานสายตาที่สัมพันธ์กับรอยโรคใน V1 ในสมองด้านตรงกันข้าม แต่ว่า คนไข้เหล่านี้กลับสามารถทำการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมเกี่ยวเนื่องกับเขตที่มองไม่เห็น เช่นการหยิบจับวัตถุ (ที่มองไม่เห็น) ปรากฏการณ์เช่นนี้บอกเป็นนัยว่า สัญญาณที่ส่งไปจาก LGN ไปถึงทั้ง V1 และเขตสายตาระดับสูงยิ่ง ๆ ขึ้นไป

หน้าที่ในการรับรู้ทางสายตา

ภาพต่าง ๆ

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. ศ.พญ. ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์ (พ.ศ. 2556). ประสาทกายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน (ฺBasic neuroanatomy). กรุงเทพมหานคร: ศ.พญ. ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์. pp. 253–254. ISBN 978-616-335-105-0. Check date values in: |year= (help)
  2. retinal ganglion cell (ตัวย่อ RGC แปลว่า เซลล์ปมประสาทในเรตินา) เป็นเซลล์ประสาทประเภทหนึ่ง ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ ผิวด้านใน (ในชั้นเซลล์ปมประสาท) ของเรตินา RGC รับข้อมูลสายตามาจากตัวรับแสง (photoreceptor) ผ่านเซลล์ประสาทอีกกลุ่มหนึ่ง คือ bipolar cell และ amacrine cell แล้วส่งข้อมูลสายตาที่ทำให้เกิดการเห็นและที่ไม่ทำให้เกิดการเห็น ไปยังเขตต่าง ๆ ในทาลามัส ไฮโปทาลามัส และสมองส่วนกลาง
  3. reticular activating system (RAS) หรือ extrathalamic control modulatory system เป็นเซตของนิวเคลียสเซลล์ประสาทต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อกันในสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ทำหน้าที่ควบคุมความตื่นตัว และการตื่นหลับ (sleep-wake transitions) ระบบย่อยที่สำคัญที่สุดของ RAS คือ reticular formation
  4. Kandel, Eric R.; Schwartz, James H.; Jessell, Thomas M.; Siegelbaum, Steven A.; Hudspeth, A.J. (2013). Principles of Neural Science Fifth Edition. United State of America: McGraw-Hill. p. 573. ISBN 978-0-07-139011-8.
  5. Cudeiro, Javier (2006). "Looking back: corticothalamic feedback and early visual processing". Trends in Neurosciences. 29 (6): 298–306. doi:10.1016/j.tins.2006.05.002. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  6. Goodale, M. & Milner, D. (2004) Sight unseen.Oxford University Press, Inc.: New York.
  7. นิวโรพิว (neuropil) เป็นบทกว้าง ๆ มีนิยามว่า เขตภายในระบบประสาทที่ประกอบด้วยแอกซอนที่ไม่มีปลอกไมอีลิน เดนไดรต์ และ เซลล์เกลีย โดยมาก ประกอบกันเป็นเขตที่มีไซแนปส์หนาแน่น ที่มีตัวเซลล์น้อยกว่ามาก
  8. Carlson, N. R. (2007) Physiology of Behavior: ninth edition. Pearson Education, Inc.: Boston.
  9. White, B.J., Boehnke, S.E., Marino, R.A., Itti, L. and Munoz, D.P. (2009) . Color-Related Signals in the Primate Superior Colliculus, The Journal of Neuroscience, 29 (39), 12159-12166. http://www.jneurosci.org/content/29/39/12159.abstract.
  10. Goodale & Milner, 1993, 1995.
  11. ให้สังเกตว่า ลานสายตาด้านขวานั้นมาจากด้านซ้ายของเรตินาในตาทั้งสอง และลานสายด้านซ้ายมาจากด้านขวาของเรตินา เพราะว่า ภาพที่ฉายเข้าไปในนัยน์ตาแล้วกระทบกับเรตินานั้น เป็นภาพกลับด้าน
  12. Nicholls J., et al. From Neuron to Brain: Fourth Edition. Sinauer Associates, Inc. 2001.
  13. Rosa MG, Pettigrew JD, Cooper HM (1996) Unusual pattern of retinogeniculate projections in the controversial primate Tarsius. Brain Behav Evol 48 (3) :121–129.
  14. Collins CE, Hendrickson A, Kaas JH (2005) Overview of the visual system of Tarsius. Anat Rec A Discov Mol Cell Evol Biol 287 (1) :1013–1025.
  15. ในบทที่ 7 หัวข้อย่อย "The Parcellation Hypothesis" ในหัวข้อว่า "Principles of Brain Evolution" Georg F. Striedter (Sinauer Associates, Sunderland, MA, USA, 2005) ได้กล่าวว่า "...ในปัจจุบันเรารู้แล้วว่า LGN ได้รับข้อมูลบางส่วนจาก optic tectum (ซึ่งก็คือ superior colliculus) สำหรับสัตว์ใน clade 'amniota'" โดยอ้างอิง "Wild, J.M. 1989. Pretectal and tectal projections to the homolog of the dorsal lateral geniculate nucleus in the pigeon—an anterograde and retrograde tracing study with cholera-toxin conjugated to horseradish-peroxidase. Brain Res 489: 130–137" และ "Kaas, J.H., and Huerta, M.F. 1988. The subcortical visual system of primates. In: Steklis H. D., Erwin J., editors. Comparative primate biology, vol 4: neurosciences. New York: Alan Liss, pp. 327–391.
  16. internal capsule เป็นเขตเนื้อขาวในสมองที่แยก caudate nucleus กับทาลามัส จาก putamen กับ globus pallidus. internal capsule มีทั้งแอกซอนที่ส่งขึ้นไปยังเขตสมองที่สูงกว่า และที่ส่งลงไปยังระบบประสาทที่ต่ำกว่า
  17. Schmid, Michael C. (2010). "Blindsight depends on the lateral geniculate nucleus". Nature. 466 (7304): 373–377. doi:10.1038/nature09179. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  18. Kandel 2013 หน้า 561 แสดงการเชื่อมต่อทั้งด้านไปและด้านกลับระหว่าง V1 กับ V2, V3, และ V4

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Malpeli J. Malpeli Lab Home Page. Retrieved September 1, 2004.
  • ภาพสมองตัดแต่งสีซึ่งรวมส่วน "lateral%20geniculate%20nucleus" at the BrainMaps project
  • แม่แบบ:UMichAtlas—"The Visual Pathway from Below"
  • ภาพสมองตัดแต่งสีซึ่งรวมส่วน "lgn" at the BrainMaps project
  • MedicalMnemonics.com (วลึช่วยจำทางการแพทย์): 307 640

lateral, geniculate, nucleus, บทความน, อเป, นภาษาอ, งกฤษ, เน, องจากช, อเป, นศ, พท, เฉพาะทางของกายว, ภาคศาสตร, ราชบ, ณฑ, ตยสถานย, งไม, ญญ, ภาษาไทย, หน, งส, อเฉพาะทางใช, พท, งกฤษ, วย, แปลว, วเคล, ยสงอคล, ายเข, าด, านข, าง, เป, นศ, นย, ายทอดส, ญญาณประสาทหล, กจากจ. bthkhwamnimichuxepnphasaxngkvs enuxngcakchuxepnsphthechphaathangkhxngkaywiphakhsastr rachbnthitysthanyngimbyytiphasaithy hnngsuxechphaathangichsphthxngkvsLateral geniculate nucleus 1 twyx LGN aeplwa niwekhliysngxkhlayekhadankhang epnsunythaythxdsyyanprasathhlkcakcxta ipyngrabbprasathklang xyuinswnthalamskhxngsmxng aelayngmiswnxunthieriykwa medial geniculate nucleus sungepnswnthimihnathikhlayknaetthahnathisngsyyanekiywkbesiyngLateral geniculate nucleus twyx LGN aeplwa niwekhliysngxkhlayekhadankhang smxngswnhlng hindbrain aelasmxngswnklang mxngcakkhanghlngdankhang postero lateral LGN xyudanbnraylaexiydswnhnungkhxngthalamsrabbrabbkarehnhlxdeluxdaedngAnterior choroidal artery aela Posterior cerebral arteryhlxdeluxddaTerminal veintwrabuphasalatinCorpus geniculatum lateraleniworenms352niworelks IDbirnlex 1662TA98A14 1 08 302TA25666FMA62209sphthkaywiphakhsastrkhxngprasathkaywiphakhsastr aekikhbnwikisneths LGN rbsyyanodytrngcak aexksxnkhxng retinal ganglion cell 2 phanlaesniyprasathta reticular activating system 3 LGN sngaexksxnipthangswnaephprasathtatrngipyngkhxrethkssaytapthmphumi primary visual cortex twyx V1 nxkcaknnaelw LGN yngrbsyyanpxnklbcak V1 mikhnadepn 10 ethakhxngsyyanthisngipyng V1 aemwayngimmikhwamchdecnwaephuxpraoychnxair 4 5 inmnusyaelastweliynglukdwynm withiprasathihythisudsxngwithithiechuxmtakbsmxngkkhuxswnthisngipyngdanhlngkhxng LGN inthalams thieriykwa LGNd aelaswnthisngipyng superior colliculus 6 enuxha 1 okhrngsrang 2 esll M P aela K 3 chnkhxmulcaktakhangediywknaelakhangtrngknkhamkn 4 khxmulkhaekha 5 khxmulkhaxxk 6 hnathiinkarrbruthangsayta 7 phaphtang 8 duephim 9 echingxrrthaelaxangxing 10 aehlngkhxmulxunokhrngsrang aekikhsiksmxngthngsiksayaelakhwami LGN sungmichuxthiaeplwa niwekhliysngxkhlayekhadankhang lateral geniculate nucleus kephraawa mirupkhlaykbekhathingx khux genu epnphasalatinaeplwa ekha instwxndbwanrrwmthngmnusy LGN miesllxyuepnchn aetlachnmi neuropil 7 xyuinrahwang inmnusy LGN michn 6 chn khux chndanin 1 aela 2 eriykwa magnocellular layer inkhnathichndannxkxik 4 chn khux 3 4 5 6 eriykwa parvocellular layer nxkcaknnaelw yngmichn koniocellular layer xyuthidanlangkhxngaetlachnkhxng magnocellular layer aela parvocellular layer 8 chnhlk aelachnyxy ehlaniaetktangknipinrahwangspichiskhxngstwxndbwanresll M P aela K aekikhpraephth khnad raylaexiyd taaehnng kartxbsnxngM esll magnocellular ihy esllrupaethng khadimidinkarrbrukarekhluxnihw khwamluk aelakhwamaetktangkhxngaesngswangxyanglaexiyd chn 1 2 erwaetchwkhrawP esll parvocellular hrux parvicellular elk esllrupkrwy rbkhlunaesngyawaelaklang siaedngaelasiekhiyw caepninkarrbrusiaelaruprangthilaexiyd chn 3 4 5 6 cha aelachwkhrawK esll koniocellular hrux interlaminar elkmak esllrupkrwy rbkhlunaesngaebbsn sinaengin inrahwangchn M aelachn P khnadkhxngtwesll ednidrt aelalanrbsyyan aephnphngkhxng LGN iniphremt chn 1 2 xyudanlang aelaxyutxcaklaesniyprasathta optic tract thimacakertina chn magnocellular parvocellular aela koniocellular khxng LGN rbsyyancak retinal ganglion cell 2 thimichuxkhlay kntamladbesll koniocellular mihnathiaelamiprasathekhmithiaetktangcakesll magnocellular aela parvocellular thahnathiepnwithiprasaththi 3 thisngipyngkhxrethkssayta odysngaexksxnxxkipcakrahwangchnkhxng LGN thiesll M aelaesll P sngip swnhnathikhxngesll K inkarrbruthangtayngimchdecn aetwa mihlkthanaesdngwa esll K miswninkarprasankhxmulekiywkbkarrbruxakpkiriyakhxngrabbrbkhwamrusukthangkay kbkhxmulcakkarehn aelaxaccamibthbathekiywkbkarrbrusi 9 swnthangsyyandanlangaelathangsyyandanhlng insmmutithanthangsyyansxngthang echuxknmakxnwa idrbiyprasathcakesll P aelaesll M tamladbodymak aetwa hlkthanthirwbrwmkhunihm klbaesdngwa thangsyyanthngsxngxaccaidrbiyprasathaebbphsmphsankn 10 withiprasathcakertinaipyngepluxksmxngthisakhyxikwithihnungkkhux withi tectopulvinar sungsngsyyancakertina phan superior colliculus aelaniwekhliys pulvinar inthalams ipyngkhxrethksklibkhangswnhlng posterior parietal cortex aelaekhtsayta MTchnkhxmulcaktakhangediywknaelakhangtrngknkhamkn aekikhLGN thnginsmxngsikkhwathnginsmxngsiksayrbsyyanmacaktathngsxngkhang aetwa LGN insmxngaetlasikcarbsyyancaklansaytaephiyngkhrungediywcaktaaetlakhang thiepnxyangnikephraaaexksxncak retinal ganglion cell 2 cakkhrunginkhxngertina khuxkhrungdancmuk khammayngswntrngkhamkhxngsmxng swnaexksxnkhxngesllpmprasathinertinacakkhrungdannxk khuxdankhmb ipsudthismxngdanediywkn dngnn smxngsiksaycungrbkhxmulsaytacaklansaytadankhwa aelasmxngsikkhwarbkhxmulsaytamacaklansaytadansay aetkhxmulkhxngkunglansaytain LGN aetlasiknnmacaktathngsxngkhang 11 in LGN insmxngsikhnung khxmulsaytacaaebngiptamchntang dngni khux 12 tathixyukhangediywknsngkhxmulipyngchn 2 3 5 tathixyufngtrngkhamknsngkhxmulipyngchn 1 4 6withicangay kodyichpraoykhnikhux See I I see I see khunehnchnihm chnehn chnehn dwykhawa see epntwaethnxksr C sungmacakkhawa contralateral dantrngkham aelaxksrwa I sungmacakkhawa ipsilateral danediywkn rwmepn C I I C I C swnxikwithihnungihcawa 2 3 5 sungthuktxng cungepndanediywkn ipsilateral aela 1 4 imethakb 6 cungepndantrngkham contralateral khaphrrnnanithuktxngsahrb LGN iniphremtswnmak aetimthnghmd ladbchnthirbkhxmulcaktakhangediywknaelatrngknkham imehmuxnkniniphremtpraephththaresiy 13 ephraaehtunn nkprasathwithyasastrbangthancungesnxwa khwamaetktangthiehnidni thatharesiyihtangcakiphremtxyangxunthnghmd snbsnunaenwkhwamkhidwa tharesiyekidkhuninsayphnththiaeykxxkiptanghakinwiwthnakarkhxngiphremt 14 inkarrbruthangsayta visual perception takhangkhwarbkhxmulmacakthngolkthangdankhwa lansaytadankhwa aelathngolkthangdansay lansaytadansay khunsamarthphisucnidodypidtakhangsay takhangkhwacayngehnidthngdansayaeladankhwa thungaemwa mummxngthangdansayxaccatidcmukxyubangin LGN khxmulcaktasayaelakhwathiaesdngcudediywkncatngkhunsxn knepnchnkhxng LGN dngnn imcimfnthicimthalutngaetchn 1 tlxdchn 6 cakrathbcudediywknkhxngphunthisayta sungepnkhxmulthirbmacakthngtasayaelatakhwa 6 khrngdwyknkhxmulkhaekha aekikhLGN rbkhxmulmacakertina inbangspichis LGN yngrbkhxmulcak superior colliculus xikdwy 15 khxmulkhaxxk aekikhkhxmulxxkcak LGN sngphanswnaephprasathta optic radiation sungklayepnswn retrolenticular khxng internal capsule 16 aexksxnthixxkcak LGN caipsudthikhxrethkssaytapthmphumi V1 khux chn magnocellular 1 2 aela parvocellular 3 6 sngaexksxnipyngchn 4 in V1 aelaphayinchn 4 khxng V1 chn 4cb carbsyyancakchn parvocellular khxng LGN aelachn 4ca carbsyyancakchn magnocellular swnchn koniocellular khxng LGN sungxyuinrahwangchn 1 6 sngaexksxnipyngchn 4a in V1 aelaaexksxncakchn 6 khxng V1 ksngkhxmulpxnklbipih LGNnganwicyinphawaehnthngbxdbxkepnnywa LGN imidsngkhxmulipih V1 ephiyngethann aetyngsngipihekhtsayta V2 aelaekhtsayta V3 xikdwy khux khnikhphawaehnthngbxdimsamarthmxngehnidinbangswnkhxnglansaytathismphnthkbrxyorkhin V1 insmxngdantrngknkham aetwa khnikhehlaniklbsamarththakarekhluxnihwthiehmaasmekiywenuxngkbekhtthimxngimehn echnkarhyibcbwtthu thimxngimehn praktkarnechnnibxkepnnywa syyanthisngipcak LGN ipthungthng V1 aelaekhtsaytaradbsungying khunip 17 18 hnathiinkarrbruthangsayta aekikhswnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidphaphtang aekikh thalams phaphchaaehlakhxngkansmxng mxngmacakdankhang aephnphngaesdngkarechuxmtxhlkkhxngesnprasathta optic nerve aelalaesniyprasathta optic tract niwekhliystang inthalams aephnphngsammitiaesdnglaesniyprasathta optic tract kansmxng mxngcakdanhlngduephim aekikhkhxrethkssaytaechingxrrthaelaxangxing aekikh s phy phasuk mhrrkhanuekhraah ph s 2556 prasathkaywiphakhsastrphunthan Basic neuroanatomy krungethphmhankhr s phy phasuk mhrrkhanuekhraah pp 253 254 ISBN 978 616 335 105 0 Check date values in year help 2 0 2 1 2 2 retinal ganglion cell twyx RGC aeplwa esllpmprasathinertina epnesllprasathpraephthhnung sungxyuikl phiwdanin inchnesllpmprasath khxngertina RGC rbkhxmulsaytamacaktwrbaesng photoreceptor phanesllprasathxikklumhnung khux bipolar cell aela amacrine cell aelwsngkhxmulsaytathithaihekidkarehnaelathiimthaihekidkarehn ipyngekhttang inthalams ihopthalams aelasmxngswnklang reticular activating system RAS hrux extrathalamic control modulatory system epnestkhxngniwekhliysesllprasathtang thiechuxmtxkninsmxngkhxngstwmikraduksnhlng thahnathikhwbkhumkhwamtuntw aelakartunhlb sleep wake transitions rabbyxythisakhythisudkhxng RAS khux reticular formation Kandel Eric R Schwartz James H Jessell Thomas M Siegelbaum Steven A Hudspeth A J 2013 Principles of Neural Science Fifth Edition United State of America McGraw Hill p 573 ISBN 978 0 07 139011 8 Cudeiro Javier 2006 Looking back corticothalamic feedback and early visual processing Trends in Neurosciences 29 6 298 306 doi 10 1016 j tins 2006 05 002 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Goodale M amp Milner D 2004 Sight unseen Oxford University Press Inc New York niworphiw neuropil epnbthkwang miniyamwa ekhtphayinrabbprasaththiprakxbdwyaexksxnthiimmiplxkimxilin ednidrt aela esllekliy odymak prakxbknepnekhtthimiisaenpshnaaenn thimitwesllnxykwamak Carlson N R 2007 Physiology of Behavior ninth edition Pearson Education Inc Boston White B J Boehnke S E Marino R A Itti L and Munoz D P 2009 Color Related Signals in the Primate Superior Colliculus The Journal of Neuroscience 29 39 12159 12166 http www jneurosci org content 29 39 12159 abstract Goodale amp Milner 1993 1995 ihsngektwa lansaytadankhwannmacakdansaykhxngertinaintathngsxng aelalansaydansaymacakdankhwakhxngertina ephraawa phaphthichayekhaipinnyntaaelwkrathbkbertinann epnphaphklbdan Nicholls J et al From Neuron to Brain Fourth Edition Sinauer Associates Inc 2001 Rosa MG Pettigrew JD Cooper HM 1996 Unusual pattern of retinogeniculate projections in the controversial primate Tarsius Brain Behav Evol 48 3 121 129 Collins CE Hendrickson A Kaas JH 2005 Overview of the visual system of Tarsius Anat Rec A Discov Mol Cell Evol Biol 287 1 1013 1025 inbththi 7 hwkhxyxy The Parcellation Hypothesis inhwkhxwa Principles of Brain Evolution Georg F Striedter Sinauer Associates Sunderland MA USA 2005 idklawwa inpccubneraruaelwwa LGN idrbkhxmulbangswncak optic tectum sungkkhux superior colliculus sahrbstwin clade amniota odyxangxing Wild J M 1989 Pretectal and tectal projections to the homolog of the dorsal lateral geniculate nucleus in the pigeon an anterograde and retrograde tracing study with cholera toxin conjugated to horseradish peroxidase Brain Res 489 130 137 aela Kaas J H and Huerta M F 1988 The subcortical visual system of primates In Steklis H D Erwin J editors Comparative primate biology vol 4 neurosciences New York Alan Liss pp 327 391 internal capsule epnekhtenuxkhawinsmxngthiaeyk caudate nucleus kbthalams cak putamen kb globus pallidus internal capsule mithngaexksxnthisngkhunipyngekhtsmxngthisungkwa aelathisnglngipyngrabbprasaththitakwa Schmid Michael C 2010 Blindsight depends on the lateral geniculate nucleus Nature 466 7304 373 377 doi 10 1038 nature09179 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Kandel 2013 hna 561 aesdngkarechuxmtxthngdanipaeladanklbrahwang V1 kb V2 V3 aela V4aehlngkhxmulxun aekikhkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb Lateral geniculate nucleusMalpeli J Malpeli Lab Home Page Retrieved September 1 2004 phaphsmxngtdaetngsisungrwmswn lateral 20geniculate 20nucleus at the BrainMaps project aemaebb UMichAtlas The Visual Pathway from Below phaphsmxngtdaetngsisungrwmswn lgn at the BrainMaps project MedicalMnemonics com wluchwycathangkaraephthy 307 640ekhathungcak https th wikipedia org w index php title Lateral geniculate nucleus amp oldid 5879516, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม