fbpx
วิกิพีเดีย

การจัดการทาลัสซีเมีย

ยา

คนไข้ทาลัสซีเมียจะค่อย ๆ สะสมธาตุเหล็กเกินในร่างกาย การสะสมอาจจะเป็นเพราะโรคเอง จากเฮโมโกลบินผิดปกติที่ไม่รวมเหล็กเข้าในโครงสร้างอย่างสมควร หรืออาจจะเป็นเพราะการถ่ายเลือดหลายครั้งที่ได้ การมีภาวะเหล็กเกินสร้างปัญหาทางเคมี-ชีวภาพหลายอย่าง

สารสำคัญสองอย่างที่ขนส่งและเก็บธาตุเหล็กในร่างกายก็คือ ferritin และ transferrin. ferritin เป็นโปรตีนในเซลล์ที่ยึดกับเหล็ก (II) แล้วเก็บเป็นเหล็ก (III) โดยปล่อยออกในเลือดเมื่อจำเป็น ส่วน transferrin เป็นโปรตีนยึดเหล็กที่อยู่ในน้ำเลือด มีหน้าที่ขนส่งเหล็กในเลือด โดยให้เหล็กต่อเซลล์ผ่านกระบวนการ endocytosis โปรตีน transferrin ทำงานเฉพาะกับเหล็ก (III) โดยมีค่าคงตัวสมดุล (equilibrium constant) ที่ 1023 M−1 ที่ค่าพีเอช 7.4

การมีทาลัสซีเมียทำให้มีเหล็กที่ไม่ยึดกับ transferrin ในเลือด เพราะว่า transferrin ที่มีทั้งหมดอิ่มตัว เหล็กที่เป็นอิสระเช่นนี้เป็นพิษต่อร่างกาย เพราะว่ามันเร่งปฏิกิริยาให้เกิดอนุมูลอิสระไฮดรอกซิล (free hydroxyl radical) อนุมูลที่ว่านี้สามารถทำลายไขมันผ่านกระบวนการ lipid peroxidation ต่อออร์แกเนลล์ของเซลล์รวมทั้งไลโซโซม ไมโทคอนเดรีย และเยื่อหุ้ม sarcoplasm ในกล้ามเนื้อ lipid peroxide ที่เป็นผลสามารถปฏิสัมพันธ์กับโมเลกุลอื่น ๆ โดยเชื่อมโยงข้าม (cross link) และดังนั้น จึงเป็นเหตุให้ส่วนต่าง ๆ เหล่านี้ทำงานได้ไม่ดี หรือไม่ได้เลย

ภาวะเหล็กเกินสามารถรักษาได้ด้วยการรักษาโดยคีเลชัน (chelation therapy) ซึ่งเป็นกระบวนการกำจัดเหล็กโดยยา deferoxamine, deferiprone, และ deferasirox เป็นยากำจัดเหล็กที่ใช้อย่างสามัญที่สุด

Deferoxamine

โครงสร้างและการทำงาน

ยา deferoxamine หรือที่เรียกว่า desferoxamine B และ DFO-B เป็นกรด trihydroxamic ที่ผลิตจาก actinobacteria พันธุ์ Streptomyces pilosus เป็นยาซึ่งยึดกับเหล็ก ลดพิษที่เร่งปฏิกิริยาโดยเหล็กที่เป็นอิสระ และยังลดการเก็บสะสมเหล็กภายในเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยทำงานเป็นลิแกนด์เกาะกับเหล็กแบบ hexadentate คือยึดกับจุดพันธะทั้ง 6 ของเหล็กที่ไม่ได้ยึดกับ transferrin ซึ่งทำให้เหล็กหมดฤทธิ์ แต่ยาก็ทำงานเฉพาะเจาะจงที่สุดกับ Fe3+ โดยยึดกับมันผ่านออกซิเจนที่อยู่ในกลุ่มไฮดรอกซิลและ carbonyl ของยา รวมกันเป็นโครงสร้างที่เรียกว่า ferrioxamine สารประกอบยา+เหล็กเช่นนี้โดยมากขับออกทางไตเพราะละลายน้ำได้ ประมาณ 1/3 ของสารประกอบก็ขับออกทางอุจจาระผ่านน้ำดีด้วย

การให้ยาและฤทธิ์

deferoxamine ให้โดยฉีดเข้าทางเส้นเลือด ในกล้ามเนื้อ หรือภายใต้ผิวหนัง ยาทานยังเป็นไปไม่ได้เพราะยาย่อยสลายได้อย่างรวดเร็วโดยเอนไซม์ และดูดซึมได้ไม่ดีผ่านทางเดินอาหาร วิธีการให้โดยฉีดเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งเพราะว่าทำให้การรักษามีราคาสูงกว่าและทำให้เจ็บ

แต่ยามีหลักฐานว่ารักษาปัญหาหลายอย่างที่มาจากภาวะเหล็กเกิน มีผลดีต่อโรคหัวใจที่เกิดจากการสะสมเหล็กในหัวใจ ช่วยปรับปรุงหน้าที่การทำงานของตับโดยระงับการเกิดพังผืดตับ (hepatic fibrosis) ซึ่งเป็นผลจากการสะสมเหล็กในตับ มีผลดีต่อการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ และการเจริญเติบโต

ความผิดปกติในต่อมไร้ท่อของคนไข้ทาลัสซีเมียที่มีภาวะเหล็กเกินก็คือ การขัดขวางการผลิต insulin-like growth factor (IGF-1) และทำให้เกิดภาวะการทำงานหย่อนของอวัยวะเพศ (hypogonadism) ซึ่งสภาพทั้งสองล้วนแต่ทำให้โตช้าในช่วงวัยรุ่น งานศึกษาหนึ่งแสดงว่า คนไข้ 90% ที่รักษาด้วย deferoxamine อย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เด็กจะโตอย่างเป็นปกติในช่วงวัยรุ่น แต่ตกไปที่ระดับ 38% สำหรับคนไข้ที่รักษาด้วย deferoxamine ขนาดต่ำ ๆ เริ่มตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น ความผิดปกติทางต่อมไร้ท่ออีกอย่างที่คนไข้เผชิญก็คือโรคเบาหวาน เพราะตับอ่อนมีเหล็กเกินจึงขัดขวางการหลั่งอินซูลิน งานศึกษาหลายงานแสดงว่า คนไข้ที่รักษาด้วย deferoxamine เป็นประจำมีโอกาสเสี่ยงโรคเบาหวานน้อยกว่า

ผลข้างเคียง

deferoxamine สามารถมีผลเป็นพิษถ้าใช้เกิน 50 มก./กก. ของน้ำหนักร่างกาย โดยมีผลเป็นการได้ยินและการเห็นที่ผิดปกติ ความเป็นพิษต่อปอด (pulmonary toxicity) ความเป็นพิษต่อระบบประสาท (sensorimotor neurotoxicity) และการทำงานของไตเปลี่ยน ผลเป็นพิษที่พบโดยมากในเด็กก็คือการไม่สูงขึ้น ซึ่งอาจเกิดจาก deferoxamine เข้ายึดกับโลหะชนิดอื่น ๆ ที่จำเป็นในการเจริญเติบโต

ยามีค่าคงตัวสัมพรรคภาพ (affinity constant คือ Ka) ที่ 1031 สำหรับ Fe3+, 1014 สำหรับ Cu2+, และ 1010 สำหรับ Zn2+ และดังนั้นอาจจะเข้าจับทองแดงและสังกะสีเมื่อไม่มีเหล็กให้จับ สังกะสีจำเป็นต่อการทำงานของ metalloenzyme ที่มีบทบาทในการสร้างกระดูก และการยึดสังกะสีอาจจะทำให้ขาดสังกะสี แล้วทำให้โตช้า ลดการสร้างคอลลาเจน และทำกระบวนการ mineralization ของกระดูกให้เสียหาย

โดยนัยเดียวกัน ทองแดงทำงานเป็น enzyme cofactor ในการสร้างกระดูก การเข้ายึดทองแดงอาจมีผลเป็นการขาดทองแดงเช่นกัน ทำให้เกิดอาการ metaphyseal cupping (กระดูก metaphysis เป็นรูปถ้วย) และภาวะกระดูกพรุน ยกตัวอย่างเช่น จะมีคอลลาเจนผิดปกติเกิดขึ้นถ้าขาดทองแดงเพราะเอนไซม์ lysyl oxidase ซึ่งใช้ทองแดงเป็น cofactor และเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาขั้นตอน oxidative deamination ซึ่งสำคัญในการเชื่อมโยงคอลลาเจน ไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ มีงานศึกษาที่แสดงด้วยว่าแม้ว่าระดับทองแดงและสังกะสีจะไม่ขาดในเลือดของคนไข้ที่รับยา deferoxamine กระดูก metaphysis ก็ยังขาดโลหะ การขัดขวางการสูงขึ้นของยาอาจจะมาจากการมี deferoxamine สะสมในเนื้อเยื่อและรบกวนเอนไซม์ที่อาศัยเหล็ก และมีบทบาทในการปรับคอลลาเจนแบบ post-translational

คนไข้ที่ได้ยาเสริมวิตามินซีจะสามารถขับเหล็กออกพร้อมกับ deferoxamine ได้ดีขึ้น เพราะวิตามินซีเพิ่มปริมาณธาตุเหล็กที่ deferoxamine เข้าถึงได้ แต่ว่า การได้ยาวิตามินซีก็สามารถเพิ่มความเป็นพิษของเหล็กได้เพราะสร้างอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น ดังนั้น ควรให้วิตามินซีเพียงแค่ 100 มก. 30 นาทีก่อนให้ยา deferoxamine

มีหลักฐานแล้วด้วยว่าการใช้ยา deferoxamine ร่วมกับ deferiprone เพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการคีเลชันโดยเพิ่มการขับเหล็กออกถึงสองเท่า

 
Deferiprone

Deferiprone

โครงสร้าง

Deferiprone (DFP) เป็น ลิแกนด์เกาะกับเหล็กแบบ bidentate คือเข้ายึดพันธะของเหล็กเพียงสองจุด ดังนั้น จึงต้องมีโมเลกุลของยา 3 โมเลกุลต่อเหล็กอะตอมหนึ่ง โดยมีโครงสร้างแบบ orthorhombic

DFP ผลิตโดยการสังเคราะห์และมีฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเหล็ก (III) คุณสมบัติของ DFP ที่ทำให้มีประสิทธิภาพเป็นยาก็คือ ละลายน้ำได้ มีมวลโมเลกุลต่ำ (139 Da) ไม่มีขั้ว และละลายในลิพิดได้ (lipophilicity) คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้ยาผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าไปในเซลล์ทั่วร่างกายได้ง่าย รวมทั้งส่วนกั้นเลือด-สมอง ช่วยให้สามารถกำจัดเหล็กเกินจากอวัยวะต่าง ๆ ได้

แม้ว่ากลไกการกำจัดเหล็กของ DFP จะยังไม่ชัดเจน คือคาดกันมาก่อนว่า ยาเข้ายึดกับเหล็กโดยการแยกพันธะคาร์บอน-คาร์บอน หรือพันธะคาร์บอน-ออกซิเจนที่อยู่ในยา แต่ว่างานศึกษาในไทยปี 2549 เสนอกลไกหนึ่งที่เป็นไปได้ โดยสรุปว่า กลไกเกิดจากการแยกพันธะคาร์บอน-คาร์บอน เพราะว่าต้องใช้พลังงานน้อยกว่าในการแยก และพลังงานที่ใช้ในการแยกพันธะพบว่าติดลบ ซึ่งแสดงนัยว่า เป็นกระบวนการเกิดขึ้นเอง (spontaneous process) และเป็นปฏิกิริยาคายพลังงาน (exergonic reaction) และโครงสร้างของผลิตผลจากกระบวนการนี้คล้ายกับโครงสร้าง 3-มิติ (tertiary structure) ของยาที่ยึดเหล็กแล้ว

การให้ยาและฤทธิ์

deferiprone (DFP) เป็นตัวยึดเหล็ก (iron chelator) ที่มีฤทธิ์ทางปาก และดังนั้นจึงใช้ได้ง่ายกว่า deferoxamine มาก ระดับสารประกอบยาบวกกับเหล็กในเลือดจะถึงระดับสูงสุดหลังจาก 1 ชม. โดยยามีระยะครึ่งชีวิต 160 นาที สารประกอบยาบวกกับเหล็กจึงขับออกภายใน 3-4 ชม. หลังทาน โดยมากทางปัสสาวะ (90%)

เมื่อเทียบ deferiprone กับ deferoxamine จะพบว่า ทั้งสองมีประสิทธิภาพพอ ๆ กัน แต่ว่า ยาที่มีลักษณะต่างกันจะเข้าถึงที่สะสมเหล็กต่าง ๆ ได้ต่างกัน DFP เล็กกว่า deferoxamine และสามารถเข้าไปในเซลล์ได้ง่ายกว่า อีกอย่างหนึ่ง ที่ระดับพีเอชของเลือด สัมพรรคภาพของ DFP กับเหล็กขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของยา ในระดับความเข้มข้นต่ำ สารประกอบยา+เหล็กจะแยกออก โดยให้เหล็กกับลิแกนต์อื่นที่ต้องการเหล็กเหมือนกัน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่อธิบายว่า ทำไม DFP ดูเหมือนจะกระจายจำหน่ายเหล็กไปในร่างกาย และด้วยเหตุผลเดียวกัน DFP จึงสามารถ "ขนส่ง" เหล็กออกจากเซลล์ไปยังเลือด และให้เหล็กกับ deferoxamine ซึ่งเป็นตัวขับเหล็กออกจากร่างกาย

DFP ยังมีประสิทธิภาพดีกว่า deferoxamine อย่างสำคัญในการรักษาภาวะเหล็กคั่งในกล้ามเนื้อหัวใจ (myocardial siderosis) ในคนไข้ที่มีทาลัสซีเมียใหญ่ (thalassemia major) คือ เชื่อว่า DFP ปรับการทำงานของไมโทคอนเดรียในหัวใจโดยการกระจายจำหน่ายเหล็กที่ไม่เสถียร (labile) ในเซลล์หัวใจ

คนไข้ทาลัสซีเมียอาจเผชิญกับปัญหาออกซิเดชันในเซลล์สมองเพราะว่าสมองต้องการออกซิเจนมากกว่า แต่มีสารต้านอนุมูลอิสระในระดับที่ต่ำกว่าเพื่อป้องกันกระบวนการออกซิเดชัน ดังนั้น การมีเหล็กเกินในสมองอาจทำให้เกิดอนุมูลอิสระมากขึ้น ตัวยึดเหล็กแบบ hexadentate เช่น deferoxamine มีโมเลกุลใหญ่ และดังนั้นมีโอกาสข้ามตัวกั้นเลือด-สมองน้อยกว่า เพื่อจะยึดกับเหล็กที่เกิน แต่ DFP สามารถทำได้โดยเป็นสารประกอบยา+เหล็กที่ละลายน้ำได้ และสามารถผ่านเข้าเยื่อหุ้มเซลล์ผ่านกระบวนการแพร่ที่ไม่ต้องช่วย และการต่อยากับน้ำตาลยังอาจเพิ่มการผ่านเข้าตัวกั้นเลือด-สมองได้ เพราะว่า สมองมีตัวช่วยขนส่งน้ำตาลที่สมองต้องใช้ในระดับสูง

ผลข้างเคียง

DFP อาจเสี่ยงต่อกระบวนการ glucuronidation ในตับ ซึ่งอาจขับยาถึง 85% ออกจากร่างกายก่อนที่จะเข้ายึดเหล็กได้ ขอบเขตความปลอดภัยของ DFP เข้าใจกันดี โดยมีภาวะแกรนูโลไซต์น้อย (agranulocytosis) เป็นผลข้างเคียงที่หนักที่สุด แม้ว่า ภาวะนี้จะรายงานในคนไข้น้อยกว่า 2% แต่ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ดังนั้น จึงต้องตรวจตราดูจำนวนเม็ดเลือดขาวในเลือด ผลข้างเคียงที่หนักน้อยกว่ารวมทั้งอาการในทางเดินอาหาร โดยพบในคนไข้ 33% ในช่วงปีแรกที่ใช้ยา แต่เหลืออยู่เพียง 3% ในปีต่อ ๆ มา, ปวดในข้อ (arthralgia), และการขาดสังกะสี ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญโดยเฉพาะในคนไข้โรคเบาหวาน

 
Deferasirox

Deferasirox

โครงสร้าง

Deferasirox เป็น N-substituted bis-hydroxyphenyl-triazole และสามารถกำจัดเหล็กจากเลือดโดยใช้โมเลกุลของ deferasirox 2 โมเลกุลเข้ายึดกับเหล็กอะตอมหนึ่ง ซึ่งจะกลายเป็นสารประกอบโคออร์ดิเนชัน Fe-[deferasirox]2 deferasirox ซึ่งเป็นตัวยืดแบบ tridentate จะยึดกับเหล็กโดย 3 พันธะ โดยใช้อะตอมไนโตรเจนหนึ่งอะตอมและอะตอมออกซิเจนอีก 2 อะตอม ซึ่งมีผลเป็นโครงสร้างแปดด้าน (octahedral) โดยมีเหล็กอยู่ตรงกลาง สมรรถภาพกำจัดเหล็กของยามาจากขนาดที่เล็ก ซึ่งช่วยให้เข้าถึงเหล็กภายในเลือด และที่น่าสนใจกว่า ภายในเซลล์ นอกจากนั้นแล้ว deferasirox ยังจำเพาะกับ iron (+3) อย่างยิ่ง และดังนั้นการใช้ยาจะไม่ทำให้เสียโลหะสำคัญอื่น ๆ ภายในร่างกาย

 
Deferasirox-Iron (III) complex

การใช้ยาและฤทธิ์

deferasirox วางขายใต้ชื่อการค้า Exjade โดยสามัญที่สุด มีประโยชน์สำคัญเหนือกว่า desferoxamine เพราะสามารถทานได้ ไม่ต้องให้ผ่านเส้นเลือดหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง โดยมีระยะครึ่งชีวิต (terminal elimination half life) ที่ 8-16 ชม. ยาอาจทานได้วันละครั้ง การทานยาที่ขนาด 20 มก./กก. ของน้ำหนักร่างกาย จะพอในคนไข้โดยมากเพื่อดำรง (maintenance) ระดับความเข้มข้นของเหล็กในตับ (liver iron concentration, LIC) ซึ่งปกติจะวัดเป็น มก. ของเหล็ก ต่อกรัมของเนื้อเยื่อตับ แต่เพื่อลดระดับ LIC อาจจะต้องใช้ยาในขนาดสูงขึ้น

สมรรถภาพของ deferasirox ในการลดระดับ LIC มีหลักฐานมากมาย งานศึกษาหนึ่งแสดงว่า หลังจากใช้ยา 4-5 ปี ระดับมัชฌิมของ LIC ลดลงจาก 17.4 ± 10.5 mg Fe/g ไปเป็น 9.6 ± 8.0 mg Fe/g งานศึกษานี้แสดงว่า การรักษาระยะยาวมีผลลดระดับเหล็กอย่างคงยืนสำหรับคนไข้ที่ต้องถ่ายเลือดเพราะเหตุแห่งโรค

ประโยชน์สำคัญอีกอย่างของการใช้ deferasirox แทน desferoxamine ก็คือ งานวิจัยเบื้องต้นไม่พบว่า ยามีผลสำคัญต่อการเจริญเติบโตของคนไข้เด็ก งานศึกษาปี 2554 พบว่า เด็กที่รักษาเติบโตได้เกือบปกติตลอดระยะ 5 ปีช่วงงานศึกษา

ผลข้างเคียง

deferasirox สามารถมีผลข้างเคียงมากมายหลายหลาก รวมทั้งปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน และปวดในข้อ มีหลักฐานบ้างว่า มีปัญหาทางเดินอาหารเนื่องจากยา

 
indicaxanthin ซึ่งเป็นสีเหลืองของผลต้นกระบองเพชร

Indicaxanthin

โครงสร้าง

indicaxanthin เป็นสีที่ทำมาจากผลของต้นกระบองเพชร และสามารถใช้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ การเสริม indicaxanthin พบว่ามีผลป้องกันเม็ดเลือดแดงต่อคนที่มีทาลัสซีเมียแบบบีตา สารมีโครงสร้างคล้ายกับกรดอะมิโนและชอบทั้งน้ำและลิพิด (amphiphilic) คือ มันสามารถยึดกับโครงสร้างที่เป็นหัวขั้ว (polar head groups) ของเยื่อหุ้มเซลล์ผ่านปฏิสัมพันธ์ทางไฟฟ้า แต่ก็สามารถดูดซับ (adsorption) เข้าไปในลิพิดของเซลล์ได้อีกด้วย เมื่อใส่ indicaxanthin กับเลือดในหลอดของคนไข้ทาลัสซีเมีย ก็พบว่า เซลล์เม็ดเลือดแดงจะเริ่มสะสม indicaxanthin ภายในเซลล์

หน้าที่

เฮโมโกลบินจะผ่านปฏิกิริยาออกซิเดชันต่อไปนี้ เป็นกระบวนการที่ในที่สุดทำลายเม็ดเลือดแดงโดยปกติธรรมดา

Hb → Oxy-Hb → Met-Hb → [Perferryl-Hb] → Oxoferryl → ขั้นตอนออกซิเดชันอื่น ๆ

แต่ว่า ปฏิกิริยานี้มีกับคนไข้ทาลัสซีเมียมากกว่า ไม่ใช่เพราะเพียงว่า มีอนุมูลอิสระมากกว่าในเลือดเท่านั้น แต่เม็ดเลือดแดงของคนไข้ยังป้องกันสารอนุมูลอิสระได้จำกัดกว่าอีกด้วย และ indicaxanthin สามารถลดระดับ perferryl-Hb โดยเปลี่ยนมันกลับเป็น met-Hb โดยมีผลคือ เฮโมโกลบินจึงเสื่อมช้ากว่า ซึ่งช่วยป้องกันการทำลายเม็ดเลือดของระบบ

นอกจากนั้นแล้ว indicaxathin ยังสามารถลดความเสียหายจากกระบวนการออกซิเดชันในเซลล์และเนื้อเยื่อโดยเข้าไปยึดสารอนุมูลอิสระ แต่กลไกการทำงานเช่นนี้ยังไม่ชัดเจน indicaxanthin ดูดซึมได้ง่ายและมีผลข้างเคียงน้อย เช่นการอาเจียนและท้องเสีย

การตรวจจับความเป็นพาหะ

  • ประเทศไซปรัสมีนโยบายการตรวจคัดกรองเพื่อลดความชุกของทาลัสซีเมีย ซึ่งตั้งแต่เริ่มโปรแกรมในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 (ซึ่งรวมทั้งการตรวจคัดกรองก่อนมีครรภ์และการทำแท้ง) ได้ลดจำนวนเด็กที่เกิดพร้อมกับโรคเลือดทางกรรมพันธุ์จาก 1 คนใน 158 คน จนเกือบเหลือ 0
  • ประเทศอิหร่านมีการตรวจคัดกรองก่อนแต่งงาน โดยเช็คเม็ดเลือดแดงของชายก่อน ถ้ามีเม็ดเลือดแดงเล็ก (microcytosis) คือมีปริมาณเฉลี่ยของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (MCH) < 27 pg หรือปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (MCV) < 80 fl ก็จะเช็คหญิงต่อไป และถ้าทั้งสองมีเม็ดเลือดแดงเล็ก ก็จะเช็คอัตราของเฮโมโกลบินแบบ A2 ต่อไป ถ้าทั้งสองมีระดับความเข้มข้นสูงกว่า 3.5% (ซึ่งเป็นลักษณะของพาหะทาลัสซีเมียบีตา คือ มี thalassemia trait) ก็จะส่งทั้งสองไปเพื่อปรึกษาผู้ชำนาญการในเรื่องกรรมพันธุ์ต่อ-

ในปี 2551 ในประเทศสเปน มีการผสมเทียมทารกคนหนึ่งโดยเฉพาะเพื่อช่วยรักษาทาลัสซีเมียในพี่ชายของเขา คือ เด็กเกิดจากตัวอ่อนที่ได้ตรวจคัดกรองว่าไม่มีโรคก่อนฝังลงในมดลูกแม่ เลือดจากสายรกที่เข้ากับพี่ชายของเขาได้ก็เก็บไว้เพื่อปลูกถ่ายไขกระดูกให้กับพี่ชาย แพทย์จัดว่าประสบความสำเร็จ

ในปี 2552 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในประเทศอินเดียได้แสดงผลการรักษาทาลัสซีเมียในเด็กหญิงที่สำเร็จ โดยใช้เซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดที่ได้จากสายรกของน้องชายเพื่อปลูกถ่ายให้กับพี่สาว

การปลูกถ่ายไขกระดูก

การรักษาโรคให้หายโดยไม่ต้องถ่ายเลือดอีกต่อไปเป็นไปได้โดยปลูกถ่ายไขกระดูกจากผู้บริจาคที่เข้ากันได้ ในคนไข้ความเสี่ยงน้อยที่อายุน้อย อัตราการรอดชีวิตโดยไม่เป็นทาลัสซีเมียอยู่ที่ 87% อัตราเสี่ยงตายอยู่ที่ 3% ข้อเสียอย่างเดียวคือต้องมีคนบริจาคที่มี Human leukocyte antigen (HLA) เข้ากันได้ แต่ว่าถ้าคนไข้ไม่มีผู้บริจาคที่เข้ากันได้ทาง HLA ก็ยังสามารถถ่ายปลูกไขกระดูกจากแม่ได้ (haploidentical mother, mismatched donor) ผลที่ได้ก็คือ การรอดชีวิตโดยไม่มีทาลัสซีเมียอยู่ที่อัตรา 70% การไม่ยอมรับไขกระดูก 23% และอัตราการตายที่ 7% ผลจะดีที่สุดในเด็กเล็กที่สุด

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. "Pediatric Thalassemia Treatment & Management". Medical Care. Open Publishing. 2010-04-30. สืบค้นเมื่อ 2011-09-27.
  2. Burdick, Claude Owen. "Separating Thalassemia Trait and Iron Deficiency by Simple Inspection". American Society for Clinical Pathology. สืบค้นเมื่อ 2011-09-27.
  3. Harrison's Principles of Internal Medicine 17th Edition. McGraw-Hill medical. 2008-09. p. 776. ISBN 0-07-164114-9. Check date values in: |date= (help)
  4. Aisen, P; Leibman, A; Zweier, J; Leibman; Zweier (1978-03). "Stoichiometric and site characteristics of the binding of iron to human transferrin". J. Biol. Chem. 253 (6): 1930–7. PMID 204636. Check date values in: |date= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  5. Brittenham, Gary M; Olivieri, Nancy F (1997). "Iron-chelating therapy and the treatment of thalassemia". Journal of the American Society of Hematology. 89 (3): 739–761. PMID 9028304. สืบค้นเมื่อ 2013-02-28.
  6. Brittenham, Gary M.; Griffith, Patricia M.; Nienhuis, Arthur W.; McLaren, Christine E.; Young, Neal S.; Tucker, Eben E.; Allen, Christopher J.; Farrell, David E.; Harris, John W. (1994). "Efficacy of Deferoxamine in Preventing Complications of Iron Overload in Patients with Thalassemia Major". New England Journal of Medicine. 331 (9): 567–73. doi:10.1056/NEJM199409013310902. PMID 8047080.
  7. Cozar, O.; Leopold, N.; Jelic, C.; Chiş, V.; David, L.; Mocanu, A.; Tomoaia-Cotişel, M. (2006). "IR, Raman and surface-enhanced Raman study of desferrioxamine B and its Fe (III) complex, ferrioxamine B". Journal of Molecular Structure. 788: 1. Bibcode:2006JMoSt.788....1C. doi:10.1016/j.molstruc.2005.04.035.
  8. Cohen, Alan; Martin, Marie; Schwartz, Elias (1981). "Response to long-term deferoxamine therapy in thalassemia". The Journal of Pediatrics. 99 (5): 689–94. doi:10.1016/S0022-3476(81)80385-X. PMID 7299539.
  9. Pennell, D. J.; Berdoukas, V; Karagiorga, M; Ladis, V; Piga, A; Aessopos, A; Gotsis, ED; Tanner, MA; และคณะ (2006). "Randomized controlled trial of deferiprone or deferoxamine in beta-thalassemia major patients with asymptomatic myocardial siderosis". Blood. 107 (9): 3738–44. doi:10.1182/blood-2005-07-2948. PMID 16352815.
  10. Jin, Haiyan; Terai, Shuji; Sakaida, Isao (2007). "The iron chelator deferoxamine causes activated hepatic stellate cells to become quiescent and to undergo apoptosis". Journal of Gastroenterology. 42 (6): 475–84. doi:10.1007/s00535-007-2020-5. PMID 17671763.
  11. Kaye, Todd B.; Guay, André T.; Simonson, Donald C. (1993). "Non-insulin-dependent diabetes mellitus and elevated serum ferritin level". Journal of Diabetes and its Complications. 7 (4): 245. doi:10.1016/S0002-9610(05)80252-1.
  12. Olivieri, Nancy F.; Koren, Gideon; Harris, Jonathan; Khattak, Sohail; Freedman, Melvin H.; Templeton, Douglas M.; Bailey, John D.; Reilly, B. J. (1992). "Growth Failure and Bony Changes Induced by Deferoxamine". Journal of Pediatric Hematology/Oncology. 14: 48. doi:10.1097/00043426-199221000-00007.
  13. Ambruso, DR; Mahony, BS; Githens, JH; Rhoades, ED (1982). "Effect of subcutaneous deferoxamine and oral vitamin C on iron excretion in congenital hypoplastic anemia and refractory anemia associated with the 5q-syndrome". The American journal of pediatric hematology/oncology. 4 (2): 115–23. PMID 7114394.
  14. Kattamis, Antonis (2005). "Combined therapy with deferoxamine and deferiprone". Annals of the New York Academy of Sciences. 1054: 175–82. Bibcode:2005NYASA1054..175K. doi:10.1196/annals.1345.020. PMID 16339663.
  15. Wiwanitkit, Viroj (2006). "Quantum chemical analysis of the deferiprone-iron binding reaction". International Journal of Nanomedicine. 1 (1): 111–3. doi:10.2147/nano.2006.1.1.111. PMC 2426763. PMID 17722270.
  16. Olivieri, Nancy F.; Brittenham, Gary M. (1997). "Iron-Chelating Therapy and the Treatment of Thalassemia". Blood. 89 (3): 739–61. PMID 9028304.
  17. Galanello, R.; Campus, S. (2009). "Deferiprone Chelation Therapy for Thalassemia Major". Acta Haematologica. 122 (2–3): 155–64. doi:10.1159/000243800. PMID 19907153.
  18. Wiwanitkit, Viroj (2006). "Quantum Chemical Analysis of the Deferiprone-Iron Binding Reaction". International journal of nanomedicine. 1 (1): 111–3. doi:10.2147/nano.2006.1.1.111. PMC 2426763. PMID 17722270.
  19. Heli, Hossein; Mirtorabi, Siamak; Karimian, Khashayar (2011). "Advances in iron chelation: An update". Expert Opinion on Therapeutic Patents. 21 (6): 819–56. doi:10.1517/13543776.2011.569493. PMID 21449664.
  20. Cappellini, M. D.; Cohen, A; Piga, A; Bejaoui, M; Perrotta, S; Agaoglu, L; Aydinok, Y; Kattamis, A; และคณะ (2006). "A phase 3 study of deferasirox (ICL670), a once-daily oral iron chelator, in patients with beta-thalassemia". Blood. 107 (9): 3455–62. doi:10.1182/blood-2005-08-3430. PMID 16352812.
  21. R Galanello; Piga, A; Forni, GL; Bertrand, Y; Foschini, ML; Bordone, E; Leoni, G; Lavagetto, A; และคณะ (2006-01-01). "Phase II clinical evaluation of deferasirox, a once-daily oral chelating agent, in pediatric patients with β-thalassemia major". Haematologica. 91 (10): 1343–51. PMID 17018383.
  22. Nisbet-Brown, Eric; Olivieri, Nancy F; Giardina, Patricia J; Grady, Robert W; Neufeld, Ellis J; Séchaud, Romain; Krebs-Brown, Axel J; Anderson, Judith R; และคณะ (2003). "Effectiveness and safety of ICL670 in iron-loaded patients with thalassaemia: A randomised, double-blind, placebo-controlled, dose-escalation trial". The Lancet. 361 (9369): 1597. doi:10.1016/S0140-6736(03)13309-0.
  23. Cappellini, M. D.; Bejaoui, M.; Agaoglu, L.; Canatan, D.; Capra, M.; Cohen, A.; Drelichman, G.; Economou, M.; และคณะ (2011). "Iron chelation with deferasirox in adult and pediatric patients with thalassemia major: Efficacy and safety during 5 years' follow-up". Blood. 118 (4): 884–93. doi:10.1182/blood-2010-11-316646. PMID 21628399.
  24. "How Are Thalassemias Treated?". National Heat, Lung and Blood institute. สืบค้นเมื่อ 2013-03-02.
  25. Tesoriere, L.; Allegra, M.; Butera, D.; Gentile, C.; Livrea, M. A. (2006). "Cytoprotective effects of the antioxidant phytochemical indicaxanthin in β-thalassemia red blood cells". Free Radical Research. 40 (7): 753–61. doi:10.1080/10715760600554228. PMID 16984002.
  26. Leung, TN; Lau, TK; Chung, TKH (2005-04). "Thalassaemia screening in pregnancy". Current Opinion in Obstetrics and Gynecology. 17 (2): 129–34. doi:10.1097/01.gco.0000162180.22984.a3. PMID 15758603. Check date values in: |date= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  27. Samavat, A; Modell, B; Modell (2004-11). "Iranian national thalassaemia screening programme". BMJ (Clinical Research Ed.). 329 (7475): 1134–7. doi:10.1136/bmj.329.7475.1134. PMC 527686. PMID 15539666. Check date values in: |date= (help)CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  28. . 2008-10. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2008-12-04. Unknown parameter |deadurl= ignored (help); Check date values in: |date= (help)
  29. "His sister's keeper: Brother's blood is boon of life". Times of India. 2009-09-17.
  30. Sabloff, M; Chandy, M; Wang, Z; Logan, BR; Ghavamzadeh, A; Li, CK; Irfan, SM; Bredeson, CN; และคณะ (2011). "HLA-matched sibling bone marrow transplantation for β-thalassemia major". Blood. 117 (5): 1745–50. doi:10.1182/blood-2010-09-306829. PMC 3056598. PMID 21119108.
  31. Sodani, P; Isgrò, A; Gaziev, J; Paciaroni, K; Marziali, M; Simone, MD; Roveda, A; De Angelis, G; และคณะ (2011). "T cell-depleted hla-haploidentical stem cell transplantation in thalassemia young patients". Pediatric reports. 3 Suppl 2 (Suppl 2): e13. doi:10.4081/pr.2011.s2.e13. PMC 3206538. PMID 22053275.

การจ, ดการทาล, สซ, เม, สำหร, บทาล, สซ, เม, ยอย, างอ, อน, คนไข, กษณะส, บสายพ, นธ, trait, ไม, จำเป, นต, องร, กษาหร, อด, แลหล, งจากได, จฉ, ยแล, แต, คนไข, ทาล, สซ, เม, ยแบบบ, ตาควรทราบว, สภาพของตนสามารถว, จฉ, ยผ, ดว, าเป, นภาวะเล, อดจางเหต, ขาดธาต, เหล, กซ, งสาม, . sahrbthalssiemiyxyangxxn khnikhthimilksnasubsayphnthu trait imcaepntxngrksahruxduaelhlngcakidwinicchyaelw 1 aetkhnikhthalssiemiyaebbbitakhwrthrabwa sphaphkhxngtnsamarthwinicchyphidwaepnphawaeluxdcangehtukhadthatuehlksungsamyid aelakhwrptiesthkarrksaaebblxngyaesrimehlk iron supplement aemwakarkhadthatuehlkxacekidkhunidemuxtngkhrrphhruxmieluxdxxkeruxrng 2 emuxmikhrxbkhrw khwrpruksaaephthyeruxngorkhthangphnthukrrmthukxyang odyechphaathalukesiyngmiorkhaebbrunaerngthipxngknid 3 sahrbthalssiemiyxyangrunaerng khnikhtxngrksa karthayeluxdepnkarrksathichwyyudchiwitepnxyangaerk 1 enuxha 1 ya 1 1 Deferoxamine 1 1 1 okhrngsrangaelakarthangan 1 1 2 karihyaaelavththi 1 1 3 phlkhangekhiyng 1 2 Deferiprone 1 2 1 okhrngsrang 1 2 2 karihyaaelavththi 1 2 3 phlkhangekhiyng 1 3 Deferasirox 1 3 1 okhrngsrang 1 3 2 karichyaaelavththi 1 3 3 phlkhangekhiyng 1 4 Indicaxanthin 1 4 1 okhrngsrang 1 4 2 hnathi 2 kartrwccbkhwamepnphaha 3 karplukthayikhkraduk 4 echingxrrthaelaxangxingya aekikhkhnikhthalssiemiycakhxy sasmthatuehlkekininrangkay karsasmxaccaepnephraaorkhexng cakehomoklbinphidpktithiimrwmehlkekhainokhrngsrangxyangsmkhwr hruxxaccaepnephraakarthayeluxdhlaykhrngthiid karmiphawaehlkekinsrangpyhathangekhmi chiwphaphhlayxyangsarsakhysxngxyangthikhnsngaelaekbthatuehlkinrangkaykkhux ferritin aela transferrin ferritin epnoprtininesllthiyudkbehlk II aelwekbepnehlk III odyplxyxxkineluxdemuxcaepn swn transferrin epnoprtinyudehlkthixyuinnaeluxd mihnathikhnsngehlkineluxd odyihehlktxesllphankrabwnkar endocytosis oprtin transferrin thanganechphaakbehlk III odymikhakhngtwsmdul equilibrium constant thi 1023 M 1 thikhaphiexch 7 4 4 karmithalssiemiythaihmiehlkthiimyudkb transferrin ineluxd ephraawa transferrin thimithnghmdximtw ehlkthiepnxisraechnniepnphistxrangkay ephraawamnerngptikiriyaihekidxnumulxisraihdrxksil free hydroxyl radical 5 xnumulthiwanisamarththalayikhmnphankrabwnkar lipid peroxidation txxxraekenllkhxngesllrwmthngilososm imothkhxnedriy aelaeyuxhum sarcoplasm inklamenux lipid peroxide thiepnphlsamarthptismphnthkbomelkulxun odyechuxmoyngkham cross link aeladngnn cungepnehtuihswntang ehlanithanganidimdi hruximidely 5 phawaehlkekinsamarthrksaiddwykarrksaodykhielchn chelation therapy sungepnkrabwnkarkacdehlkodyya deferoxamine deferiprone aela deferasirox epnyakacdehlkthiichxyangsamythisud Deferoxamine aekikh okhrngsrangaelakarthangan aekikh ya deferoxamine hruxthieriykwa desferoxamine B aela DFO B epnkrd trihydroxamic thiphlitcak actinobacteria phnthu Streptomyces pilosus epnyasungyudkbehlk ldphisthierngptikiriyaodyehlkthiepnxisra aelayngldkarekbsasmehlkphayinenuxeyuxtang odythanganepnliaekndekaakbehlkaebb hexadentate khuxyudkbcudphnthathng 6 khxngehlkthiimidyudkb transferrin sungthaihehlkhmdvththi 6 aetyakthanganechphaaecaacngthisudkb Fe3 odyyudkbmnphanxxksiecnthixyuinklumihdrxksilaela carbonyl khxngya rwmknepnokhrngsrangthieriykwa ferrioxamine sarprakxbya ehlkechnniodymakkhbxxkthangitephraalalaynaid 7 praman 1 3 khxngsarprakxbkkhbxxkthangxuccaraphannadidwy 5 karihyaaelavththi aekikh deferoxamine ihodychidekhathangesneluxd inklamenux hruxphayitphiwhnng yathanyngepnipimidephraayayxyslayidxyangrwderwodyexnism aeladudsumidimdiphanthangedinxahar withikarihodychidepncudxxnxyanghnungephraawathaihkarrksamirakhasungkwaaelathaihecb 8 aetyamihlkthanwarksapyhahlayxyangthimacakphawaehlkekin miphlditxorkhhwicthiekidcakkarsasmehlkinhwic 9 chwyprbprunghnathikarthangankhxngtbodyrangbkarekidphngphudtb hepatic fibrosis sungepnphlcakkarsasmehlkintb 10 miphlditxkarthangankhxngrabbtxmirthx aelakarecriyetibotkhwamphidpktiintxmirthxkhxngkhnikhthalssiemiythimiphawaehlkekinkkhux karkhdkhwangkarphlit insulin like growth factor IGF 1 aelathaihekidphawakarthanganhyxnkhxngxwywaephs hypogonadism sungsphaphthngsxnglwnaetthaihotchainchwngwyrun ngansuksahnungaesdngwa khnikh 90 thirksadwy deferoxamine xyangsmaesmxtngaetedkcaotxyangepnpktiinchwngwyrun aettkipthiradb 38 sahrbkhnikhthirksadwy deferoxamine khnadta erimtngaetchwngwyrun 5 khwamphidpktithangtxmirthxxikxyangthikhnikhephchiykkhuxorkhebahwan ephraatbxxnmiehlkekincungkhdkhwangkarhlngxinsulin ngansuksahlaynganaesdngwa khnikhthirksadwy deferoxamine epnpracamioxkasesiyngorkhebahwannxykwa 11 phlkhangekhiyng aekikh deferoxamine samarthmiphlepnphisthaichekin 50 mk kk khxngnahnkrangkay odymiphlepnkaridyinaelakarehnthiphidpkti khwamepnphistxpxd pulmonary toxicity khwamepnphistxrabbprasath sensorimotor neurotoxicity aelakarthangankhxngitepliyn 5 phlepnphisthiphbodymakinedkkkhuxkarimsungkhun sungxacekidcak deferoxamine ekhayudkbolhachnidxun thicaepninkarecriyetibotyamikhakhngtwsmphrrkhphaph affinity constant khux Ka thi 1031 sahrb Fe3 1014 sahrb Cu2 aela 1010 sahrb Zn2 aeladngnnxaccaekhacbthxngaedngaelasngkasiemuximmiehlkihcb sngkasicaepntxkarthangankhxng metalloenzyme thimibthbathinkarsrangkraduk aelakaryudsngkasixaccathaihkhadsngkasi aelwthaihotcha ldkarsrangkhxllaecn aelathakrabwnkar mineralization khxngkradukihesiyhayodynyediywkn thxngaedngthanganepn enzyme cofactor inkarsrangkraduk karekhayudthxngaedngxacmiphlepnkarkhadthxngaedngechnkn thaihekidxakar metaphyseal cupping kraduk metaphysis epnrupthwy aelaphawakradukphrun yktwxyangechn camikhxllaecnphidpktiekidkhunthakhadthxngaedngephraaexnism lysyl oxidase sungichthxngaedngepn cofactor aelaepntwerngptikiriyakhntxn oxidative deamination sungsakhyinkarechuxmoyngkhxllaecn imsamarththanganidxyangpkti mingansuksathiaesdngdwywaaemwaradbthxngaedngaelasngkasicaimkhadineluxdkhxngkhnikhthirbya deferoxamine kraduk metaphysis kyngkhadolha karkhdkhwangkarsungkhunkhxngyaxaccamacakkarmi deferoxamine sasminenuxeyuxaelarbkwnexnismthixasyehlk aelamibthbathinkarprbkhxllaecnaebb post translational 12 khnikhthiidyaesrimwitaminsicasamarthkhbehlkxxkphrxmkb deferoxamine iddikhun ephraawitaminsiephimprimanthatuehlkthi deferoxamine ekhathungid aetwa karidyawitaminsiksamarthephimkhwamepnphiskhxngehlkidephraasrangxnumulxisraephimkhun dngnn khwrihwitaminsiephiyngaekh 100 mk 30 nathikxnihya deferoxamine 13 mihlkthanaelwdwywakarichya deferoxamine rwmkb deferiprone ephimprasiththiphaphkhxngkrabwnkarkhielchnodyephimkarkhbehlkxxkthungsxngetha 14 Deferiprone Deferiprone aekikh okhrngsrang aekikh Deferiprone DFP epn liaekndekaakbehlkaebb bidentate khuxekhayudphnthakhxngehlkephiyngsxngcud dngnn cungtxngmiomelkulkhxngya 3 omelkultxehlkxatxmhnung odymiokhrngsrangaebb orthorhombic 15 DFP phlitodykarsngekhraahaelamivththiechphaaecaacngtxehlk III 15 16 khunsmbtikhxng DFP thithaihmiprasiththiphaphepnyakkhux lalaynaid mimwlomelkulta 139 Da immikhw aelalalayinliphidid lipophilicity 15 khunsmbtiehlanithaihyaphaneyuxhumesllekhaipinesllthwrangkayidngay rwmthngswnkneluxd smxng chwyihsamarthkacdehlkekincakxwywatang id 15 17 aemwaklikkarkacdehlkkhxng DFP cayngimchdecn khuxkhadknmakxnwa yaekhayudkbehlkodykaraeykphnthakharbxn kharbxn hruxphnthakharbxn xxksiecnthixyuinya aetwangansuksainithypi 2549 esnxklikhnungthiepnipid odysrupwa klikekidcakkaraeykphnthakharbxn kharbxn ephraawatxngichphlngngannxykwainkaraeyk aelaphlngnganthiichinkaraeykphnthaphbwatidlb sungaesdngnywa epnkrabwnkarekidkhunexng spontaneous process aelaepnptikiriyakhayphlngngan exergonic reaction aelaokhrngsrangkhxngphlitphlcakkrabwnkarnikhlaykbokhrngsrang 3 miti tertiary structure khxngyathiyudehlkaelw 18 karihyaaelavththi aekikh deferiprone DFP epntwyudehlk iron chelator thimivththithangpak aeladngnncungichidngaykwa deferoxamine mak 15 radbsarprakxbyabwkkbehlkineluxdcathungradbsungsudhlngcak 1 chm odyyamirayakhrungchiwit 160 nathi sarprakxbyabwkkbehlkcungkhbxxkphayin 3 4 chm hlngthan odymakthangpssawa 90 15 emuxethiyb deferiprone kb deferoxamine caphbwa thngsxngmiprasiththiphaphphx kn aetwa yathimilksnatangkncaekhathungthisasmehlktang idtangkn DFP elkkwa deferoxamine aelasamarthekhaipinesllidngaykwa xikxyanghnung thiradbphiexchkhxngeluxd smphrrkhphaphkhxng DFP kbehlkkhunxyukbkhwamekhmkhnkhxngya inradbkhwamekhmkhnta sarprakxbya ehlkcaaeykxxk odyihehlkkbliaekntxunthitxngkarehlkehmuxnkn sungepnkhunsmbtithixthibaywa thaim DFP duehmuxncakracaycahnayehlkipinrangkay aeladwyehtuphlediywkn DFP cungsamarth khnsng ehlkxxkcakesllipyngeluxd aelaihehlkkb deferoxamine sungepntwkhbehlkxxkcakrangkay 16 DFP yngmiprasiththiphaphdikwa deferoxamine xyangsakhyinkarrksaphawaehlkkhnginklamenuxhwic myocardial siderosis inkhnikhthimithalssiemiyihy thalassemia major 15 khux echuxwa DFP prbkarthangankhxngimothkhxnedriyinhwicodykarkracaycahnayehlkthiimesthiyr labile inesllhwickhnikhthalssiemiyxacephchiykbpyhaxxksiedchninesllsmxngephraawasmxngtxngkarxxksiecnmakkwa aetmisartanxnumulxisrainradbthitakwaephuxpxngknkrabwnkarxxksiedchn dngnn karmiehlkekininsmxngxacthaihekidxnumulxisramakkhun twyudehlkaebb hexadentate echn deferoxamine miomelkulihy aeladngnnmioxkaskhamtwkneluxd smxngnxykwa ephuxcayudkbehlkthiekin aet DFP samarththaidodyepnsarprakxbya ehlkthilalaynaid aelasamarthphanekhaeyuxhumesllphankrabwnkaraephrthiimtxngchwy aelakartxyakbnatalyngxacephimkarphanekhatwkneluxd smxngid ephraawa smxngmitwchwykhnsngnatalthismxngtxngichinradbsung 19 phlkhangekhiyng aekikh DFP xacesiyngtxkrabwnkar glucuronidation intb sungxackhbyathung 85 xxkcakrangkaykxnthicaekhayudehlkid khxbekhtkhwamplxdphykhxng DFP ekhaickndi odymiphawaaekrnuolistnxy agranulocytosis epnphlkhangekhiyngthihnkthisud 15 aemwa phawanicaraynganinkhnikhnxykwa 2 aetkxacepnxntraythungchiwit dngnn cungtxngtrwctraducanwnemdeluxdkhawineluxd 17 phlkhangekhiyngthihnknxykwarwmthngxakarinthangedinxahar odyphbinkhnikh 33 inchwngpiaerkthiichya aetehluxxyuephiyng 3 inpitx ma pwdinkhx arthralgia aelakarkhadsngkasi sungepnpyhasakhyodyechphaainkhnikhorkhebahwan 15 Deferasirox Deferasirox aekikh okhrngsrang aekikh Deferasirox epn N substituted bis hydroxyphenyl triazole aelasamarthkacdehlkcakeluxdodyichomelkulkhxng deferasirox 2 omelkulekhayudkbehlkxatxmhnung sungcaklayepnsarprakxbokhxxrdienchn Fe deferasirox 2 20 deferasirox sungepntwyudaebb tridentate cayudkbehlkody 3 phntha odyichxatxminotrecnhnungxatxmaelaxatxmxxksiecnxik 2 xatxm sungmiphlepnokhrngsrangaepddan octahedral odymiehlkxyutrngklang smrrthphaphkacdehlkkhxngyamacakkhnadthielk sungchwyihekhathungehlkphayineluxd aelathinasnickwa phayinesll nxkcaknnaelw deferasirox yngcaephaakb iron 3 xyangying aeladngnnkarichyacaimthaihesiyolhasakhyxun phayinrangkay 21 Deferasirox Iron III complex karichyaaelavththi aekikh deferasirox wangkhayitchuxkarkha Exjade odysamythisud mipraoychnsakhyehnuxkwa desferoxamine ephraasamarththanid imtxngihphanesneluxdhruxchidekhaitphiwhnng odymirayakhrungchiwit terminal elimination half life thi 8 16 chm yaxacthanidwnlakhrng karthanyathikhnad 20 mk kk khxngnahnkrangkay caphxinkhnikhodymakephuxdarng maintenance radbkhwamekhmkhnkhxngehlkintb liver iron concentration LIC sungpkticawdepn mk khxngehlk txkrmkhxngenuxeyuxtb aetephuxldradb LIC xaccatxngichyainkhnadsungkhun 22 smrrthphaphkhxng deferasirox inkarldradb LIC mihlkthanmakmay ngansuksahnungaesdngwa hlngcakichya 4 5 pi radbmchchimkhxng LIC ldlngcak 17 4 10 5 mg Fe g ipepn 9 6 8 0 mg Fe g ngansuksaniaesdngwa karrksarayayawmiphlldradbehlkxyangkhngyunsahrbkhnikhthitxngthayeluxdephraaehtuaehngorkh 23 praoychnsakhyxikxyangkhxngkarich deferasirox aethn desferoxamine kkhux nganwicyebuxngtnimphbwa yamiphlsakhytxkarecriyetibotkhxngkhnikhedk ngansuksapi 2554 phbwa edkthirksaetibotidekuxbpktitlxdraya 5 pichwngngansuksa 23 phlkhangekhiyng aekikh deferasirox samarthmiphlkhangekhiyngmakmayhlayhlak rwmthngpwdhw khlunis xaeciyn aelapwdinkhx 24 mihlkthanbangwa mipyhathangedinxaharenuxngcakya 23 indicaxanthin sungepnsiehluxngkhxngphltnkrabxngephchr Indicaxanthin aekikh okhrngsrang aekikh indicaxanthin epnsithithamacakphlkhxngtnkrabxngephchr aelasamarthichepnsartanxnumulxisra karesrim indicaxanthin phbwamiphlpxngknemdeluxdaedngtxkhnthimithalssiemiyaebbbita 25 sarmiokhrngsrangkhlaykbkrdxamionaelachxbthngnaaelaliphid amphiphilic khux mnsamarthyudkbokhrngsrangthiepnhwkhw polar head groups khxngeyuxhumesllphanptismphnththangiffa aetksamarthdudsb adsorption ekhaipinliphidkhxngesllidxikdwy emuxis indicaxanthin kbeluxdinhlxdkhxngkhnikhthalssiemiy kphbwa esllemdeluxdaedngcaerimsasm indicaxanthin phayinesll 25 hnathi aekikh ehomoklbincaphanptikiriyaxxksiedchntxipni epnkrabwnkarthiinthisudthalayemdeluxdaedngodypktithrrmda Hb Oxy Hb Met Hb Perferryl Hb Oxoferryl khntxnxxksiedchnxun aetwa ptikiriyanimikbkhnikhthalssiemiymakkwa imichephraaephiyngwa mixnumulxisramakkwaineluxdethann aetemdeluxdaedngkhxngkhnikhyngpxngknsarxnumulxisraidcakdkwaxikdwy aela indicaxanthin samarthldradb perferryl Hb odyepliynmnklbepn met Hb odymiphlkhux ehomoklbincungesuxmchakwa sungchwypxngknkarthalayemdeluxdkhxngrabb 25 nxkcaknnaelw indicaxathin yngsamarthldkhwamesiyhaycakkrabwnkarxxksiedchninesllaelaenuxeyuxodyekhaipyudsarxnumulxisra aetklikkarthanganechnniyngimchdecn 25 indicaxanthin dudsumidngayaelamiphlkhangekhiyngnxy echnkarxaeciynaelathxngesiykartrwccbkhwamepnphaha aekikhpraethsisprsminoybaykartrwckhdkrxngephuxldkhwamchukkhxngthalssiemiy sungtngaeterimopraekrminchwngkhristthswrrs 1970 sungrwmthngkartrwckhdkrxngkxnmikhrrphaelakarthaaethng idldcanwnedkthiekidphrxmkborkheluxdthangkrrmphnthucak 1 khnin 158 khn cnekuxbehlux 0 26 praethsxihranmikartrwckhdkrxngkxnaetngngan odyechkhemdeluxdaedngkhxngchaykxn thamiemdeluxdaedngelk microcytosis khuxmiprimanechliykhxnghiomoklbininemdeluxdaedng MCH lt 27 pg hruxprimatrkhxngemdeluxdaedngodyechliy MCV lt 80 fl kcaechkhhyingtxip aelathathngsxngmiemdeluxdaedngelk kcaechkhxtrakhxngehomoklbinaebb A2 txip thathngsxngmiradbkhwamekhmkhnsungkwa 3 5 sungepnlksnakhxngphahathalssiemiybita khux mi thalassemia trait kcasngthngsxngipephuxpruksaphuchanaykarineruxngkrrmphnthutx 27 inpi 2551 inpraethssepn mikarphsmethiymtharkkhnhnungodyechphaaephuxchwyrksathalssiemiyinphichaykhxngekha khux edkekidcaktwxxnthiidtrwckhdkrxngwaimmiorkhkxnfnglnginmdlukaem eluxdcaksayrkthiekhakbphichaykhxngekhaidkekbiwephuxplukthayikhkradukihkbphichay aephthycdwaprasbkhwamsaerc 28 inpi 2552 klumphuechiywchayinpraethsxinediyidaesdngphlkarrksathalssiemiyinedkhyingthisaerc odyicheslltnkaenidcakeluxdthiidcaksayrkkhxngnxngchayephuxplukthayihkbphisaw 29 karplukthayikhkraduk aekikhkarrksaorkhihhayodyimtxngthayeluxdxiktxipepnipidodyplukthayikhkradukcakphubricakhthiekhaknid inkhnikhkhwamesiyngnxythixayunxy xtrakarrxdchiwitodyimepnthalssiemiyxyuthi 87 xtraesiyngtayxyuthi 3 30 khxesiyxyangediywkhuxtxngmikhnbricakhthimi Human leukocyte antigen HLA ekhaknid aetwathakhnikhimmiphubricakhthiekhaknidthang HLA kyngsamarththayplukikhkradukcakaemid haploidentical mother mismatched donor phlthiidkkhux karrxdchiwitodyimmithalssiemiyxyuthixtra 70 karimyxmrbikhkraduk 23 aelaxtrakartaythi 7 phlcadithisudinedkelkthisud 31 echingxrrthaelaxangxing aekikh 1 0 1 1 Pediatric Thalassemia Treatment amp Management Medical Care Open Publishing 2010 04 30 subkhnemux 2011 09 27 Burdick Claude Owen Separating Thalassemia Trait and Iron Deficiency by Simple Inspection American Society for Clinical Pathology subkhnemux 2011 09 27 Harrison s Principles of Internal Medicine 17th Edition McGraw Hill medical 2008 09 p 776 ISBN 0 07 164114 9 Check date values in date help Aisen P Leibman A Zweier J Leibman Zweier 1978 03 Stoichiometric and site characteristics of the binding of iron to human transferrin J Biol Chem 253 6 1930 7 PMID 204636 Check date values in date help CS1 maint multiple names authors list link 5 0 5 1 5 2 5 3 5 4 Brittenham Gary M Olivieri Nancy F 1997 Iron chelating therapy and the treatment of thalassemia Journal of the American Society of Hematology 89 3 739 761 PMID 9028304 subkhnemux 2013 02 28 Brittenham Gary M Griffith Patricia M Nienhuis Arthur W McLaren Christine E Young Neal S Tucker Eben E Allen Christopher J Farrell David E Harris John W 1994 Efficacy of Deferoxamine in Preventing Complications of Iron Overload in Patients with Thalassemia Major New England Journal of Medicine 331 9 567 73 doi 10 1056 NEJM199409013310902 PMID 8047080 Cozar O Leopold N Jelic C Chis V David L Mocanu A Tomoaia Cotisel M 2006 IR Raman and surface enhanced Raman study of desferrioxamine B and its Fe III complex ferrioxamine B Journal of Molecular Structure 788 1 Bibcode 2006JMoSt 788 1C doi 10 1016 j molstruc 2005 04 035 Cohen Alan Martin Marie Schwartz Elias 1981 Response to long term deferoxamine therapy in thalassemia The Journal of Pediatrics 99 5 689 94 doi 10 1016 S0022 3476 81 80385 X PMID 7299539 Pennell D J Berdoukas V Karagiorga M Ladis V Piga A Aessopos A Gotsis ED Tanner MA aelakhna 2006 Randomized controlled trial of deferiprone or deferoxamine in beta thalassemia major patients with asymptomatic myocardial siderosis Blood 107 9 3738 44 doi 10 1182 blood 2005 07 2948 PMID 16352815 Jin Haiyan Terai Shuji Sakaida Isao 2007 The iron chelator deferoxamine causes activated hepatic stellate cells to become quiescent and to undergo apoptosis Journal of Gastroenterology 42 6 475 84 doi 10 1007 s00535 007 2020 5 PMID 17671763 Kaye Todd B Guay Andre T Simonson Donald C 1993 Non insulin dependent diabetes mellitus and elevated serum ferritin level Journal of Diabetes and its Complications 7 4 245 doi 10 1016 S0002 9610 05 80252 1 Olivieri Nancy F Koren Gideon Harris Jonathan Khattak Sohail Freedman Melvin H Templeton Douglas M Bailey John D Reilly B J 1992 Growth Failure and Bony Changes Induced by Deferoxamine Journal of Pediatric Hematology Oncology 14 48 doi 10 1097 00043426 199221000 00007 Ambruso DR Mahony BS Githens JH Rhoades ED 1982 Effect of subcutaneous deferoxamine and oral vitamin C on iron excretion in congenital hypoplastic anemia and refractory anemia associated with the 5q syndrome The American journal of pediatric hematology oncology 4 2 115 23 PMID 7114394 Kattamis Antonis 2005 Combined therapy with deferoxamine and deferiprone Annals of the New York Academy of Sciences 1054 175 82 Bibcode 2005NYASA1054 175K doi 10 1196 annals 1345 020 PMID 16339663 15 0 15 1 15 2 15 3 15 4 15 5 15 6 15 7 15 8 Wiwanitkit Viroj 2006 Quantum chemical analysis of the deferiprone iron binding reaction International Journal of Nanomedicine 1 1 111 3 doi 10 2147 nano 2006 1 1 111 PMC 2426763 PMID 17722270 16 0 16 1 Olivieri Nancy F Brittenham Gary M 1997 Iron Chelating Therapy and the Treatment of Thalassemia Blood 89 3 739 61 PMID 9028304 17 0 17 1 Galanello R Campus S 2009 Deferiprone Chelation Therapy for Thalassemia Major Acta Haematologica 122 2 3 155 64 doi 10 1159 000243800 PMID 19907153 Wiwanitkit Viroj 2006 Quantum Chemical Analysis of the Deferiprone Iron Binding Reaction International journal of nanomedicine 1 1 111 3 doi 10 2147 nano 2006 1 1 111 PMC 2426763 PMID 17722270 Heli Hossein Mirtorabi Siamak Karimian Khashayar 2011 Advances in iron chelation An update Expert Opinion on Therapeutic Patents 21 6 819 56 doi 10 1517 13543776 2011 569493 PMID 21449664 Cappellini M D Cohen A Piga A Bejaoui M Perrotta S Agaoglu L Aydinok Y Kattamis A aelakhna 2006 A phase 3 study of deferasirox ICL670 a once daily oral iron chelator in patients with beta thalassemia Blood 107 9 3455 62 doi 10 1182 blood 2005 08 3430 PMID 16352812 R Galanello Piga A Forni GL Bertrand Y Foschini ML Bordone E Leoni G Lavagetto A aelakhna 2006 01 01 Phase II clinical evaluation of deferasirox a once daily oral chelating agent in pediatric patients with b thalassemia major Haematologica 91 10 1343 51 PMID 17018383 Nisbet Brown Eric Olivieri Nancy F Giardina Patricia J Grady Robert W Neufeld Ellis J Sechaud Romain Krebs Brown Axel J Anderson Judith R aelakhna 2003 Effectiveness and safety of ICL670 in iron loaded patients with thalassaemia A randomised double blind placebo controlled dose escalation trial The Lancet 361 9369 1597 doi 10 1016 S0140 6736 03 13309 0 23 0 23 1 23 2 Cappellini M D Bejaoui M Agaoglu L Canatan D Capra M Cohen A Drelichman G Economou M aelakhna 2011 Iron chelation with deferasirox in adult and pediatric patients with thalassemia major Efficacy and safety during 5 years follow up Blood 118 4 884 93 doi 10 1182 blood 2010 11 316646 PMID 21628399 How Are Thalassemias Treated National Heat Lung and Blood institute subkhnemux 2013 03 02 25 0 25 1 25 2 25 3 Tesoriere L Allegra M Butera D Gentile C Livrea M A 2006 Cytoprotective effects of the antioxidant phytochemical indicaxanthin in b thalassemia red blood cells Free Radical Research 40 7 753 61 doi 10 1080 10715760600554228 PMID 16984002 Leung TN Lau TK Chung TKH 2005 04 Thalassaemia screening in pregnancy Current Opinion in Obstetrics and Gynecology 17 2 129 34 doi 10 1097 01 gco 0000162180 22984 a3 PMID 15758603 Check date values in date help CS1 maint multiple names authors list link Samavat A Modell B Modell 2004 11 Iranian national thalassaemia screening programme BMJ Clinical Research Ed 329 7475 1134 7 doi 10 1136 bmj 329 7475 1134 PMC 527686 PMID 15539666 Check date values in date help CS1 maint multiple names authors list link Spanish Baby Engineered To Cure Brother 2008 10 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2008 12 04 Unknown parameter deadurl ignored help Check date values in date help His sister s keeper Brother s blood is boon of life Times of India 2009 09 17 Sabloff M Chandy M Wang Z Logan BR Ghavamzadeh A Li CK Irfan SM Bredeson CN aelakhna 2011 HLA matched sibling bone marrow transplantation for b thalassemia major Blood 117 5 1745 50 doi 10 1182 blood 2010 09 306829 PMC 3056598 PMID 21119108 Sodani P Isgro A Gaziev J Paciaroni K Marziali M Simone MD Roveda A De Angelis G aelakhna 2011 T cell depleted hla haploidentical stem cell transplantation in thalassemia young patients Pediatric reports 3 Suppl 2 Suppl 2 e13 doi 10 4081 pr 2011 s2 e13 PMC 3206538 PMID 22053275 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title karcdkarthalssiemiy amp oldid 6834201, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม