fbpx
วิกิพีเดีย

การควบคุมอารมณ์ตนเอง

การควบคุมอารมณ์ตนเอง (อังกฤษ: Emotional self-regulation) เป็นความสามารถในการตอบสนองทางอารมณ์ต่อประสบการณ์ในรูปแบบที่สังคมยอมรับได้แต่ยืดหยุ่นพอที่จะเป็นปฏิกิริยาแบบฉับพลัน และเป็นความสามารถในการผัดผ่อนปฏิกิริยาแบบฉับพลันถ้าจำเป็น หรือสามารถนิยามได้ว่า เป็นกระบวนการไม่ว่าจะเป็นภายนอกหรือภายในที่มีหน้าที่ตรวจสอบ ประเมิน และเปลี่ยนปฏิกิริยาทางอารมณ์ การควบคุมอารมณ์ของตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการควบคุมอารมณ์ ซึ่งรวมการควบคุมทั้งตัวเองและผู้อื่น

การควบคุมอารมณ์เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนรวมทั้งการเริ่ม การยับยั้ง หรือปรับสภาพหรือพฤติกรรมในสถานการณ์หนึ่ง ๆ เช่นปรับความรู้สึกในใจที่เป็นอัตวิสัย การรู้คิด การตอบสนองทางสรีรภาพที่สัมพันธ์กับอารมณ์ (เช่นการเต้นของหัวใจหรือการทำงานทางฮอร์โมน) และพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับอารมณ์ (ไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางสีหน้า) นอกจากนั้น โดยกิจ การควบคุมอารมณ์ยังอาจหมายถึงกระบวนการต่าง ๆ เช่น การใส่ใจในงานที่กำลังทำ และการหยุดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมที่คนอื่นบอก การควบคุมอารมณ์เป็นกิจที่สำคัญมากในชีวิตมนุษย์

ทุก ๆ วัน มนุษย์ได้รับสิ่งเร้ามากมายหลายอย่างที่อาจทำให้เกิดการตื่นตัว ปฏิกิริยาทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม สุด ๆ หรือไม่ระวัง อาจจะทำให้เข้ากับสังคมไม่ได้ ดังนั้น ทุกคนต้องควบคุมอารมณ์ของตนในรูปแบบต่าง ๆ เกือบตลอดเวลา ในเรื่องสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ที่ผิดปกติ (emotional dysregulation) นิยามว่าเป็นความลำบากในการควบคุมอิทธิพลของความตื่นตัวทางอารมณ์ต่อรูปแบบและคุณภาพทางความคิด ทางการกระทำ และทางปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น/สิ่งอื่น บุคคลที่มีการควบคุมอารมณ์ผิดปกติจะแสดงรูปแบบการตอบสนองที่เป้าหมาย การตอบสนอง และ/หรือวิธีการแสดงออก ไม่เข้ากับสิ่งที่สังคมยอมรับได้ ยกตัวอย่างเช่น การควบคุมอารมณ์ผิดปกติสัมพันธ์อย่างสำคัญกับอาการของโรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ความผิดปกติในการรับประทาน และการติดสารเสพติด การควบคุมอารมณ์ได้น่าจะสัมพันธ์กับสมรรถภาพทางสังคมและกับการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม

ทฤษฎี

แบบจำลองกระบวนการ (process model) ของการควบคุมอารมณ์ อาศัยสมมติฐานว่า กระบวนการสร้างอารมณ์เกิดเป็นลำดับโดยเฉพาะ ๆ ไปตามเวลา โดยมีลำดับดังต่อไปนี้คือ

  1. สถานการณ์ - ลำดับเริ่มที่สถานการณ์ ไม่ว่าจะจริงหรือคิดเอา ที่เกี่ยวเนื่องทางอารมณ์
  2. การใส่ใจ - มีการใส่ใจในสถานการณ์ที่ก่ออารมณ์
  3. การประเมินทางการรู้คิด - มีการประเมินและตีความสถานการณ์
  4. การตอบสนอง - เกิดการตอบสนองทางอารมณ์ขึ้น ซึ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่ประสานกันอย่างกว้าง ๆ ในระบบตอบสนองทั้งทางการรับรู้ ทางพฤติกรรม และทางสรีรภาพ

เพราะการตอบสนองทางอารมณ์ (4) สามารถเปลี่ยนสถานการณ์ (1) แบบจำลองนี้มีวนป้อนกลับจาก 4 คือการตอบสนอง ไปยัง 1 คือสถานการณ์ ซึ่งแสดงว่า กระบวนการก่ออารมณ์สามารถเวียนเกิด เป็นไปต่อเนื่อง และเปลี่ยนแปลงได้

แบบจำลองอ้างว่า ขั้นตอนทั้งสี่ในกระบวนการนี้สามารถควบคุมได้ จากแนวคิดนี้ แบบจำลองวางวิธีการควบคุมอารมณ์ 5 รูปแบบเพื่อควบคุมขั้นตอนทั้ง 4 ซึ่งเกิดไปตามลำดับดังต่อไปนี้

  1. การเลือกสถานการณ์
  2. การเปลี่ยนสถานการณ์
  3. การเปลี่ยนการใส่ใจ
  4. การเปลี่ยนการรู้คิด
  5. การควบคุม/ปรับการตอบสนอง

แบบจำลองยังแบ่งกลยุทธ์ควบคุมอารมณ์ออกเป็นสองหมวด คือ เน้นสิ่งที่เกิดก่อน หรือเน้นการตอบสนอง กลยุทธ์ที่เน้นสิ่งที่เกิดก่อน ก็คือ การเลือกสถานการณ์ การเปลี่ยนสถานการณ์ การเปลี่ยนการใส่ใจ และการเปลี่ยนการรู้คิด จะเกิดขึ้นก่อนที่การตอบสนองทางอารมณ์จะเกิดอย่างสมบูรณ์ กลยุทธ์ที่เน้นการตอบสนอง ก็คือ การปรับการตอบสนองที่เกิดขึ้นหลังจากการตอบสนองทางอารมณ์ได้เกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์แล้ว

กลยุทธ์

การเลือกสถานการณ์

กลยุทธ์เลือกสถานการณ์เป็นการเลือกที่จะหลีกเลี่ยงหรือเข้าหาสถานการณ์ที่อาจก่ออารมณ์ ถ้าเลี่ยงหรือถอยออกจากสถานการณ์ ก็จะลดโอกาสประสบกับอารมณ์ หรือถ้าเลือกที่จะเข้าหาหรือเผชิญกับสถานการณ์ โอกาสก็สูงขึ้นที่จะประสบกับอารมณ์ ตัวอย่างอาจเห็นได้กับเหตุการณ์ระหว่างบุคคล เช่น เมื่อพ่อแม่เอาเด็กออกจากเหตุการณ์ที่สร้างอารมณ์ไม่ดี

การเลือกสถานการณ์สามารถเห็นได้เกี่ยวเนื่องกับความผิดปกติทางจิตด้วย ยกตัวอย่างเช่น การหลีกเลี่ยงสถานการณ์ทางสังคมเพื่อควบคุมอารมณ์เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดในคนไข้โรคกลัวการเข้าสังคม (social anxiety disorder) และความผิดปกติทางบุคลิกภาพแบบหลีกเลี่ยง

การเลือกสถานการณ์ให้ดีไม่ใช่เป็นเรื่องง่ายเสมอ ยกตัวอย่างเช่น มนุษย์มีปัญหาพยากรณ์ความรู้สึกของตนเองเกี่ยวกับเหตุการณ์ในอนาคต ดังนั้น จึงอาจมีปัญหาตัดสินใจให้แม่นยำและเหมาะว่าควรจะเข้าหาหรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่อาจก่ออารมณ์ต่าง ๆ

การเปลี่ยนสถานการณ์

กลยุทธ์เปลี่ยนสถานการณ์เป็นความพยายามเปลี่ยนสถานการณ์เพื่อเปลี่ยนผลทางอารมณ์ โดยเฉพาะก็คือ เป็นการเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมและวัตถุภายนอก การเปลี่ยนสภาพภายในเพื่อคุมอารมณ์เรียกว่าเป็นการเปลี่ยนการรู้คิด ตัวอย่างของการเปลี่ยนสถานการณ์รวมทั้งการใช้มุกตลกเพื่อให้คนอื่นหัวเราะ หรือการถอยกายห่างออกจากอีกคนหนึ่ง

การเปลี่ยนการใส่ใจ

กลยุทธ์เปลี่ยนการใส่ใจเป็นการเลือกใส่ใจไปที่ หรือออกจาก สถานการณ์ที่สร้างอารมณ์

การหันไปสนใจเรื่องอื่น

การสนใจเรื่องอื่น (Distraction) เป็นการเปลี่ยนการใส่ใจวิธีหนึ่ง เป็นกลยุทธ์การเลือกในระยะต้น ซึ่งเปลี่ยนความสนใจไปจากสิ่งเร้าที่สร้างอารมณ์ไปยังเรื่องอื่น โดยมีหลักฐานว่าสามารถช่วยลดระดับความรู้สึกเจ็บปวด หรืออารมณ์ความรู้สึกที่รุนแรง เพื่อลดระดับสีหน้าที่แสดงอารมณ์ และเพื่อบรรเทาความทุกข์ทางใจ เทียบกับ การประเมินใหม่ มนุษย์มักจะเลือกหันไปสนใจเรื่องอื่นเมื่อเผชิญกับสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดอารมณ์ลบสูง เพราะว่า การสนใจเรื่องอื่นจะช่วยกรองเนื้อความเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดอารมณ์ ซึ่งถ้าไม่ทำแล้ว ก็จะเป็นเหตุการณ์ที่ยากในการประเมินและประมวล

การครุ่นคิด

การครุ่นคิดเป็นตัวอย่างการเปลี่ยนการใส่ใจอย่างหนึ่ง ซึ่งมีนิยามว่า เป็นการสนใจที่ไม่ตั้งใจแบบซ้ำ ๆ ต่ออาการความทุกข์ของตนและผลของอาการนั้น ๆ ที่ทั่วไปแล้วพิจารณาว่าเป็นกลยุทธ์ควบคุมอารมณ์ที่เป็นการปรับตัวผิด (maladaptive) เพราะว่า มักจะเพิ่มอารมณ์ทุกข์ และยกว่าเป็นตัวการของความผิดปกติทางจิตหลายอย่างรวมทั้งโรคซึมเศร้า (MDD)

ความกังวล

ความกังวล (worry) เป็นอีกตัวอย่างของการเปลี่ยนการใส่ใจ เป็นการใส่ใจในความคิดและจินตภาพเกี่ยวกับเหตุการณ์ร้ายที่เป็นไปได้ในอนาคต คือโดยใส่ใจในเหตุการณ์เหล่านี้ ความกังวลในเรื่องหนึ่งอาจลดความกังวลที่จะเป็นหนักกว่าในอีกเรื่องหนึ่ง แต่แม้ว่า ความกังวลอาจจะช่วยจูงใจให้แก้ปัญหา การกังวลไม่หยุดหย่อนพิจารณาว่าเป็นการปรับตัวผิด เป็นลักษณะสามัญของโรควิตกกังวล โดยเฉพาะโรควิตกกังวลทั่วไป (generalized anxiety disorder)

การห้ามความคิด

การห้ามความคิดเป็นตัวอย่างการเปลี่ยนการใส่ใจ เป็นความพยามยามเปลี่ยนความใส่ใจไปจากความคิดและจินตภาพบางอย่าง ไปยังเรื่องอื่นเพื่อเปลี่ยนสภาพอารมณ์ของตนเอง แม้ว่า การห้ามความคิดอาจช่วยบรรเทาความคิดที่ไม่ต้องการชั่วคราว แต่ก็อาจเป็นเหตุให้เกิดความคิดที่ไม่พึงประสงค์มากขึ้น และกลยุทธ์บริหารเยี่ยงนี้โดยทั่วไปถือเป็นการปรับตัวผิด ที่พบมากที่สุดในคนไข้โรคย้ำคิดย้ำทำ

การเปลี่ยนการรู้คิด

การเปลี่ยนการรู้คิดเป็นการเปลี่ยนการประเมินเหตุการณ์เพื่อเปลี่ยนความหมายทางอารมณ์ของเหตุการณ์

การประเมินใหม่

การประเมินใหม่เป็นตัวอย่างการเปลี่ยนการรู้คิด เป็นกลยุทธ์การเลือกที่ทำทีหลัง ซึ่งเป็นการแปลความเหตุการณ์ใหม่เพื่อเปลี่ยนอารมณ์ที่เป็นผล ยกตัวอย่างเช่น อาจจะแปลความเหตุการณ์ใหม่โดยขยายมุมมองเพื่อให้เห็น "ภาพรวม" การประเมินใหม่มีหลักฐานว่าช่วยลดการตอบสนองทางอารมณ์ทั้งทางกาย ทางจิตใจ และทางประสาท

เทียบกับการสนใจเรื่องอื่น บุคคลมักจะเลือกประเมินเหตุการณ์ใหม่เมื่อเผชิญสิ่งเร้าที่สร้างอารมณ์เชิงลบในระดับต่ำเพราะง่ายที่จะประเมินและแปลความหมายสิ่งเหล่านั้นใหม่ การประเมินใหม่ทั่วไปพิจารณาว่าเป็นกลยุทธ์ควบคุมอารมณ์ที่เป็นการปรับตัวที่ดี เทียบกับการห้ามความคิด ซึ่งมีค่าสหสัมพันธ์กับความผิดปกติทางจิตหลายอย่าง การประเมินใหม่สัมพันธ์กับผลในระหว่างบุคคลที่ดีกว่า และสัมพันธ์กับความอยู่เป็นสุข (wellbeing) แต่ว่า ก็มีนักวิจัยบางท่านที่อ้างว่า บริบทก็เป็นเรื่องสำคัญเมื่อพิจารณาคุณค่าโดยเป็นการปรับตัวของกลยุทธ์ คือแสดงว่า ในบางบริบท การประเมินใหม่อาจเป็นการปรับตัวผิด

การแยกตัวห่าง

การแยกตัวห่าง (distancing) เป็นตัวอย่างการเปลี่ยนการรู้คิด เป็นการเปลี่ยนมุมมองไปเป็นของบุคคลที่สามที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียเมื่อประเมินเหตุการณ์ที่สร้างอารมณ์ การแยกตัวออกห่างมีหลักฐานว่าเป็นรูปแบบการพิจารณาตนเอง (self-reflection) ที่เป็นการปรับตัวที่ดี ซึ่งช่วยให้สามารถประมวลสิ่งเร้าที่สัมพันธ์กับอารมณ์เชิงลบ โดยลดปฏิกิริยาทางอารมณ์และทางระบบหลอดเลือดหัวใจต่อสิ่งเร้าเชิงลบ และเพิ่มพฤติกรรมช่วยแก้ปัญหา

มุกตลก

การใช้มุกตลก เป็นตัวอย่างการเปลี่ยนการรู้คิด ที่มีหลักฐานว่าเป็นกลยุทธ์ควบคุมอารมณ์ที่มีประสิทธิผล โดยเฉพาะก็คือ มุกตลกเชิงบวก แบบใจดี มีหลักฐานว่าช่วยเพิ่มอารมณ์เชิงบวกและลดอารมณ์เชิงลบอย่างมีประสิทธิผล และโดยเทียบกันแล้ว มุกตลกแบบใจร้ายมีประสิทธิผลน้อยกว่า

การปรับการตอบสนอง

กลยุทธ์ปรับการตอบสนองเป็นความพยายามที่จะมีอิทธิพลโดยตรงต่อระบบตอบสนองทางการรับรู้ ทางพฤติกรรม และทางกาย

การคุมสีหน้า

การคุมสีหน้า (expressive suppression) เป็นตัวอย่างการควบคุมการตอบสนอง เป็นการห้ามการแสดงอารมณ์ ที่มีหลักฐานว่าสามารถลดการแสดงสีหน้า ความรู้สึกดีในใจ อัตราหัวใจเต้น และการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก (ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการตอบสนองแบบสู้หรือหนี และการควบคุมภาวะธำรงดุล) แต่ว่า งานวิจัยแสดงผลไม่ชัดเจนว่าวิธีนี้มีประสิทธิผลในการลดอารมณ์เชิงลบหรือไม่ และแสดงว่า การคุมสีหน้าอาจมีผลเชิงลบทางสังคม สัมพันธ์กับการลดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความยากลำบากเพิ่มขึ้นในการสร้างความสัมพันธ์

การคุมสีหน้าโดยทั่วไปพิจารณาว่าเป็นกลยุทธ์ควบคุมอารมณ์ที่เป็นการปรับตัวผิดเทียบกับการประเมินใหม่ เป็นกลยุทธ์ที่สัมพันธ์กับความผิดปกติทางจิตหลายอย่าง กับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่แย่กว่า และกับความอยู่เป็นสุขที่ไม่ดี เป็นกลยุทธ์ที่ต้องใช้ความพยายามทางสมองมากเพื่อจะทำ แต่ว่า ก็มีนักวิจัยบางท่านที่อ้างว่า บริบทก็เป็นเรื่องสำคัญเมื่อพิจารณาคุณค่าโดยเป็นการปรับตัวของกลยุทธ์ คือแสดงว่า ในบางบริบท การคุมสีหน้าอาจเป็นการปรับตัวที่ดี

การใช้ยาเสพติด

การใช้ยาเสพติดเป็นตัวอย่างของการเปลี่ยนการตอบสนอง โดยสามารถเปลี่ยนการตอบสนองทางกายต่อเหตุการณ์ที่สร้างอารมณ์ เช่น สุรามีฤทธิ์ระงับประสาทและความวิตกกังวล และยาเบต้า บล็อกเกอร์สามารถมีผลต่อระบบประสาทซิมพาเทติก (ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการตอบสนองแบบสู้หรือหนี และการควบคุมภาวะธำรงดุล)

การออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นตัวอย่างของการปรับการตอบสนอง ซึ่งสามารถช่วยลดผลทางกายและทางใจของอารมณ์เชิงลบ การออกกำลังกายให้สม่ำเสมอมีหลักฐานว่าช่วยลดความทุกข์ใจและเพิ่มการควบคุมอารมณ์

การนอน

การนอนมีบทบาทในการควบคุมอารมณ์ แม้ว่า ความเครียดและความกังวลก็สามารถกวนการนอนเช่นเดียวกัน งานวิจัยแสดงว่า การนอนหลับ โดยเฉพาะในช่วงที่ตาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว (REM sleep) ลดความไวปฏิกิริยาของอะมิกดะลา ซึ่งเป็นโครงสร้างทางสมองที่มีส่วนในการประมวลอารมณ์ โดยอาศัยประสบการณ์ทางอารมณ์ที่เคยมีมาในอดีต

ในนัยตรงกันข้าม การขาดนอนสัมพันธ์กับความไวอารมณ์และการมีปฏิกิริยารุนแรงเกินไปต่อสิ่งเร้าที่ไม่ดีหรือก่อความเครียด ซึ่งเป็นผลของทั้งการทำงานเพิ่มขึ้นของอะมิกดะลา และการไม่ทำงานประสานกันระหว่างอะมิกดลาและ prefrontal cortex ซึ่งเป็นตัวควบคุมอะมิกดะลาโดยการยับยั้ง (inhibition) ซึ่งรวมกันมีผลเป็นสมองที่ไวอารมณ์เกินไป เนื่องจากผลเป็นการขาดการควบคุมอารมณ์ การขาดนอนอาจสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้า ความหุนหันพลันแล่น และอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ ยังมีหลักฐานด้วยว่า การขาดนอนอาจลดปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่อสิ่งเร้าและเหตุการณ์ที่ดี และขัดขวางการเข้าใจ/เห็นใจผู้อื่น

กลยุทธ์เพื่อควบคุมความอ่อนแอทางอารมณ์

เนื่องจากแต่ละคนมีธรรมชาติทางอารมณ์ที่ซับซ้อนและไม่เหมือนใคร มันอาจจะยากที่จะควบคุมตนเองเมื่อเกิดความอ่อนแอ เป็นเรื่องสำคัญที่จะกำหนดอารมณ์นี้ เข้าใจสิ่งเร้าที่มาจากสถานการณ์หรือจากการรู้คิด และปัญหาที่มันสร้าง เมื่อจำเป็นต้องรักษาเพราะเหตุความผิดปกติบางอย่าง เป็นการเรียนรู้แบบลองผิดลองถูกทั้งสำหรับคนไข้และผู้รักษาเพื่อหาวิธีเยียวยา ความรู้สึกหรือการรู้คิดบางอย่างเช่นความวิตกกังวล ความล้า การโทษ/ตำหนิตนเอง การรู้คิดที่มีผลไม่ดี และความสิ้นหวัง ได้พบในงานวิจัยแล้วว่า ล้วนแต่เป็นเหตุที่นำบุคคลไปสู่ความอ่อนแอทางอารมณ์

สำหรับผู้รักษา เป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยคนไข้ให้ลดความถี่ (Frequency) ความรุนแรง (Intensity) และระยะการเกิด (Duration) ของการเกิดความผิดปกติต่าง ๆ ในสถานการณ์ที่ไม่รู้สึกปลอดภัย เป็นเรื่องธรรมดาที่บุคคลจะเข้าสู่สภาวะสู้-หนี-ตัวแข็ง คนไข้จำเป็นต้องเข้าใจว่า ปฏิกิริยาเยี่ยงนี้เป็นเพียงพฤติกรรมอย่างหนึ่งที่อาจมีเมื่อเผชิญหน้ากับปัญหา ถ้าไม่กำหนดยืนยันแล้วแทรกแซงรักษาประสบการณ์ที่ทำให้เกิดความอ่อนแอทางอารมณ์อย่างสมควร นี้อาจทำให้เกิดปัญหาทางจิตที่เกิดร่วมกันเช่นความเครียด ความวิตกกังวล โรคโซมาโตฟอร์ม ความผิดปกติในการรับประทาน เป็นต้น

ทักษะที่ช่วยให้เป็นนายของเหตุที่ทำให้อ่อนแอก็คือความหวังและการกระทำที่ดี และการเข้าใจแบบจำลองทางจิตวิทยาของอารมณ์ก็ช่วยด้วย วิธีหนึ่งที่ใช้ในจิตบำบัดที่เรียกว่า "พฤติกรรมบำบัดวิภาษวิธี" (DBT) มีตัวย่อให้จำง่าย ๆ ว่า "ABC PLEASE" ซึ่งหมายถึง

  • Accumulate - สะสมอารมณ์เชิงบวก
  • Build - สร้างความชำนาญโดยร่วมทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกว่าตนมีความสามารถและมีประสิทธิภาพ เพื่อสู้กับความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง และเพื่อสร้างเหตุการณ์ดี ๆ ในชีวิต
  • Cope - รับมือกับสถานการณ์ที่สร้างอารมณ์อย่างแยบคาย ซึ่งอาจจะรวมการเตรียมแผนรับมือกับมืออาชีพผู้ชำนาญ ฝึกซ้อมแผนนั้นโดยไม่ตัดสินดีชั่วรวมทั้งการใช้เทคนิคผ่อนคลาย และการซ้อมทำเหตุการณ์ที่ผ่านไปแล้ว
  • Physical - มีสุขภาพกายที่ดี โดยตรวจสุขภาพกับแพทย์
  • Low - สำหรับคนที่ภูมิต้านทานโรคต่ำหรืออ่อนแอต่อโรค ให้จัดการปัญหากับผู้ชำนาญการทางสุขภาพ (ไม่ว่าจะเป็นปัญหาทางสิ่งแวดล้อม การใช้ชีวิต อาหาร เป็นต้น)
  • Eating - ทานอาหารให้ถูกสุขภาพ
  • Avoiding - หลีกเลี่ยงสารที่เปลี่ยนสภาพจิต
  • Sleep - นอนให้ถูกสุขภาพอย่างน้อย 7-9 ชม. อย่าไปมัวครุ่นคิดถึงปัญหา
  • Exercise - ออกกำลังให้สม่ำเสมอ ให้ทำกิจกรรมบริหารกายใจเช่นออกกำลังกาย ฟังเพลง เดิน อ่านหนังสือ เป็นต้น เพื่อแปรความอ่อนล้าที่เกิดขึ้นโดยให้ร่างกายปล่อยสารโดพามีนผ่านกิจกรรมที่ดี แทนที่จะมีพฤติกรรมที่ไม่ดี

พฤติกรรมบำบัดแนะนำให้ทำตรงกันข้ามกับความรู้สึกที่ไม่ดี เพราะว่า อารมณ์จะเปลี่ยนไปถ้าหยุดการเสริมแรงโดยทำสิ่งดี ๆ ศ.ดร.มาชา ไลน์แฮน ผู้คิดค้น DBT แนะนำให้ฝึกเทคนิคผ่อนคลายแบบย่อย ๆ เพราะว่าการตอบสนองที่แสดงออกให้เห็นจุดชนวนโดยอารมณ์ได้เร็วกว่าความคิด

พัฒนาการ

ทารก

การควบคุมอารมณ์ในวัยทารกเชื่อว่ามาจากระบบการตอบสนองทางกายภาพที่มีแต่กำเนิด โดยปรากฏเป็นการเข้าหาหรือหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่ดีหรือไม่ดี เมื่ออายุ 3 เดือน ทารกอาจจะมีพฤติกรรมปลอบตนเองเช่นการดูด และสามารถตอบสนองโดยรีเฟล็กซ์ต่อความทุกข์และแสดงให้เห็น ยกตัวอย่างเช่น มีการสังเกตเห็นทารกพยายามห้ามความโกรธหรือความเศร้าโดยขมวดคิ้วหรือเม้มปาก เมื่ออายุระหว่าง 3-6 เดือน ทักษะเคลื่อนไหวและกลไกการใส่ใจขั้นพื้นฐานเริ่มจะมีบทบาทในการควบคุมอารมณ์ ทำให้ทารกสามารถเข้าหาหรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่มีผลต่ออารมณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ทารกอาจจะหันไปสนใจเรื่องอื่นเองและหาคนช่วยเพื่อคุมอารมณ์

เมื่ออายุปีหนึ่ง ทารกสามารถหาทางไปได้รอบ ๆ ตัวเอง และตอบสนองต่อสิ่งเร้าทางอารมณ์อย่างพลิกแพลงดีขึ้นเพราะสามารถเคลื่อนไหวได้มากขึ้น และเริ่มจะเห็นคุณค่าของคนดูแลที่ช่วยให้ตนควบคุมอารมณ์ได้ ยกตัวอย่างเช่น ทารกโดยทั่วไปมีปัญหาควบคุมความกลัว และดังนั้น จึงมักหาวิธีแสดงความกลัวที่เรียกร้องความสนใจและการปลอบโยนจากผู้ดูแล

การช่วยควบคุมอารมณ์ให้โดยผู้ดูแล รวมทั้งการเลือกสถานการณ์ การเปลี่ยนสถานการณ์ และการให้ไปสนใจเรื่องอื่น เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทารก กลยุทธ์ควบคุมอารมณ์ที่ผู้ดูแลใช้ในการลดความทุกข์หรือเพิ่มความสุขในทารกอาจมีผลต่อพัฒนาการทางอารมณ์และพฤติกรรมของทารก เพราะเป็นการสอนวิธีการควบคุมอารมณ์ให้ ดังนั้น สไตล์การผูกพันระหว่างผู้ให้ความดูแลกับทารก อาจมีบทบาทสำคัญต่อกลยุทธ์ควบคุมอารมณ์ที่ทารกเรียนรู้เพื่อใช้

งานวิจัยปี 2558 สนับสนุนแนวคิดว่า การร้องเพลงให้ลูกฟังมีผลบวกต่อการควบคุมอารมณ์ของทารก การร้องเพลงเด็กให้ฟัง มีผลต่อความสุขที่ยาวนานขึ้นของทารกอย่างเห็นได้ และแม้แต่ช่วยบรรเทาความทุกข์ นอกจากจะช่วยอำนวยความสัมพันธ์กับทารก เมื่อรวมกับการเคลื่อนไหวหรือการสัมผัสเป็นจังหวะ การร้องเพลงของแม่เพื่อปรับอารมณ์สามารถใช้ได้กับทารกในห้องไอซียูของเด็กแรกเกิด หรือกับคนไข้ผู้ใหญ่ที่มีปัญหาทางบุคลิกภาพ หรือมีปัญหาปรับตัว

เด็กวัยหัดเดิน

โดยสิ้นปีแรก ทารกวัยหัดเดินจะเริ่มใช้กลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อลดความตื่นตัวเชิงลบ ซึ่งอาจจะเป็นการโยกตัว กัดสิ่งของ หรือหลีกไปจากวัตถุที่ไม่ชอบ ในวัย 2 ขวบ เด็กจะสามารถเพิ่มยิ่งขึ้นในการใช้กลยุทธ์ควบคุมอารมณ์ โดยใช้วิธีหลายอย่างในการปรับเปลี่ยนสภาพ นอกจากนั้นแล้ว การทำงานทางสมองที่ดีขึ้น ภาษา และทักษะการเคลื่อนไหวจะช่วยให้บริหารการตอบสนองทางอารมณ์และบริหารระดับการตื่นตัวได้อย่างมีประสิทธิผลกว่า

แต่ตัวช่วยภายนอกเพื่อควบคุมอารมณ์ก็ยังเป็นเรื่องสำคัญต่อพัฒนาการของเด็กวัยหัดเดิน ผู้สามารถเรียนรู้วิธีจากผู้ดูแลเพื่อควบคุมอารมณ์และพฤติกรรม ยกตัวอย่างเช่น ผู้ดูแลสามารถช่วยวิธีควบคุมตนเองโดยหันความสนใจของเด็กไปจากสิ่งที่ทำให้เป็นทุกข์ (เช่น เมื่อฉีดวัคซีน) หรือช่วยให้เข้าใจเหตุการณ์ที่ทำให้กลัว

วัยเด็ก

ความรู้ในการควบคุมอารมณ์จะเพิ่มขึ้นอีกในช่วงวัยเด็ก ยกตัวอย่างเช่น เด็กวัย 6-10 ขวบจะเริ่มเข้าใจกฎว่าเมื่อไร ที่ไหน และอย่างไรควรจะแสดงอารมณ์ จะเริ่มเข้าใจบริบทที่การแสดงอารมณ์บางอย่างเหมาะสมที่สุดทางสังคม และดังนั้นควรคอยควบคุมอารมณ์ ยกตัวอย่างเช่น เด็กอาจเข้าใจว่าเมื่อได้รับของขวัญก็ควรจะยิ้ม ไม่ว่าจะรู้สึกอย่างไรจริง ๆ กับของที่ได้นั้น ในวัยนี้ เด็กมีแนวโน้มที่จะใช้กลยุทธ์ควบคุมอารมณ์ทางความคิดมากขึ้น นอกเหนือไปจากการหันไปสนใจสิ่งอื่น เข้าหา หรือหลีกหนี

เกี่ยวกับพัฒนาการควบคุมอารมณ์ที่ผิดปกติของเด็ก ผลอย่างหนึ่งที่ทนพิสูจน์แสดงว่า เด็กที่ได้อารมณ์ไม่ดีที่บ้านมากกว่ามีโอกาสสูงกว่าที่จะแสดง และมีปัญหาควบคุม อารมณ์ไม่ดีที่อยู่ในระดับสูง

วัยรุ่น

วัยรุ่นแสดงสมรรถภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัดในการควบคุมอารมณ์ และการตัดสินควบคุมอารมณ์ก็กลายเป็นเรื่องที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง ซึ่งเป็นเพราะว่า ผลที่ได้ในระหว่างบุคคลสำคัญยิ่งขึ้นสำหรับเด็ก ดังนั้น เมื่อควบคุมอารมณ์ เด็กมีโอกาสสูงกว่าที่จะต้องคิดถึงบริบททางสังคมด้วย ยกตัวอย่างเช่น วัยรุ่นมีแนวโน้มแสดงอารมณ์มากกว่าถ้าคิดว่าจะได้ความเห็นใจจากเพื่อน

นอกจากนั้นแล้ว การใช้กลยุทธ์ควบคุมอารมณ์โดยความคิดแบบทันควันจะเพิ่มมากขึ้นในวัยนี้ ซึ่งได้หลักฐานจากทั้งข้อมูลที่เด็กรายงานเอง และจากภาพทางสมองแบบ fMRI

ภาพรวมของมุมมองต่าง ๆ

ทางประสาทจิตวิทยา

ทางอารมณ์

เมื่ออายุมากขึ้น การตอบสนองต่ออารมณ์ของบุคคลจะเปลี่ยนไป ไม่ว่าในเชิงบวกหรือลบ งานศึกษาหลายงานแสดงว่า อารมณ์เชิงบวกจะเพิ่มขึ้นเมื่อบุคคลอายุเพิ่มจากวัยรุ่นไปถึงช่วงอายุ 70 กลาง ๆ โดยเปรียบเทียบกัน อารมณ์เชิงลบจะลดลงจนถึงช่วงอายุ 70 กลาง ๆ

อารมณ์ในช่วงเป็นผู้ใหญ่จะต่าง ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์บวกหรือลบ แม้งานศึกษาบางงานจะพบว่า อารมณ์จะลดลงเมื่ออายุมากขึ้น แต่บางงานก็สรุปว่า ผู้ใหญ่วัยกลางคนประสบกับอารมณ์ดีมากกว่า และอารมณ์ไม่ดีน้อยกว่าผู้ใหญ่ที่อายุน้อยกว่า ชายมีอารมณ์ดีมากกว่าหญิง และหญิงมีอารมณ์ไม่ดีมากกว่าชาย รวมทั้งคนโสดด้วย เหตุผลที่ให้อย่างหนึ่งว่าทำไมผู้ใหญ่วัยกลางคนมีอารมณ์ไม่ดีน้อยกว่าก็เพราะว่าได้ชนะ "บททดสอบและความยากลำบากของคนอายุน้อย เขาอาจจะประสบดุลทางอารมณ์ที่ทำให้เป็นสุขเพิ่ม ๆ ขึ้น อย่างน้อยจนกระทั่งช่วงวัย 70 กลาง"

อารมณ์เชิงบวกอาจเพิ่มขึ้นในวัยกลางคน แต่เมื่อไปถึงปลายชีวิตในช่วงอายุ 70 มันจะเริ่มลดลง โดยอารมณ์เชิงลบก็จะเป็นนัยตรงกันข้าม นี่อาจจะเป็นเพราะสุขภาพแย่ลง กำลังไปถึงช่วงสุดท้ายแห่งชีวิต และการเสียชีวิตของเพื่อน ๆ ญาติ ๆ

นอกจากจะพบอัตราพื้นฐานของอารมณ์บวกและลบ งานศึกษาต่าง ๆ ยังพบความแตกต่างระหว่างบุคคลในการดำเนินของการตอบสนองทางอารมณ์ต่อสิ่งเร้าตามกาลเวลา พลศาสตร์ของการควบคุมอารมณ์ตามกาลเวลา (ที่เรียกว่า temporal dynamics of emotional regulation หรือ affective chronometry) มีตัวแปรกุญแจสำคัญสองอย่างในกระบวนการตอบสนองทางอารมณ์ คือ ช่วงเพิ่มจนถึงยอด (rise time to peak) และช่วงกลับคืนสู่ระดับพื้นฐาน (recovery time to baseline) งานศึกษาเช่นนี้มักจะแยกอารมณ์บวกและลบออกคนละหมวด (โดยไม่ต่อเนื่องกัน) เพราะว่า งานวิจัยก่อน ๆ แสดงว่า มนุษย์สามารถประสบความเปลี่ยนแปลงในหมวดหมู่เหล่านี้โดยเป็นอิสระจากกัน (แม้ว่าจะมีงานที่พบค่าสหสัมพันธ์ด้วย) งานศึกษาในเรื่องนี้ทำกับคนไข้ที่มีความผิดปกติทางความวิตกกังวล ทางอารมณ์ (mood disorders) และทางบุคลิกภาพ แต่ก็ยังใช้เป็นเครื่องวัดประสิทธิผลของวิธีรักษาการควบคุมอารมณ์ที่ผิดปกติ (emotional dysregulation) ต่าง ๆ เช่นการฝึกสติ ด้วย

ทางประสาทวิทยา

การพัฒนาเทคนิคสร้างภาพสมองด้วย fMRI ช่วยให้สามารถศึกษาการควบคุมอารมณ์โดยลักษณะทางชีวภาพ โดยเฉพาะก็คือ งานวิจัยในทศวรรษที่ผ่านมาแสดงอย่างชัดเจนว่า การควบคุมอารมณ์มีมูลเหตุทางประสาท มีหลักฐานเพียงพอที่แสดงสหสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมอารมณ์กับรูปแบบการทำงานโดยเฉพาะ ๆ ของสมองส่วน prefrontal cortex (ซึ่งรวมเขต orbital prefrontal cortex, ventromedial prefrontal cortex และ dorsolateral prefrontal cortex) ส่วนอะมิกดะลา และส่วน anterior cingulate cortex โครงสร้างต่าง ๆ เหล่านี้มีบทบาทในด้านต่าง ๆ ของการควบคุมอารมณ์ และความผิดปกติในเขตหนึ่งหรือมากกว่านั้น และ/หรือในการทำงานร่วมกันของเขตเหล่านี้ สัมพันธ์กับการควบคุมอารมณ์ที่ล้มเหลว

ผลที่ตามมาอย่างหนึ่งของเรื่องที่ค้นพบเหล่านี้ก็คือ ความแตกต่างในการทำงานของ prefrontal cortex ของแต่ละคน สามารถใช้พยากรณ์สมรรถภาพในการควบคุมอารมณ์เมื่อทำงานที่ใช้ทดสอบต่าง ๆ ในการทดลอง

ทางสังคม

มนุษย์มักจะเลียนแบบสีหน้าคนอื่นโดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของชีวิตปกติ ความคล้ายคลึงกันข้ามวัฒนธรรมต่าง ๆ ในการสื่อสารโดยไม่ใช้คำพูด (nonverbal communication) ได้ก่อประเด็นว่า นี่เป็นภาษาสากลหรือไม่ ดังนั้น จึงอ้างได้ว่า การควบคุมอารมณ์มีบทบาทกุญแจสำคัญต่อสมรรถภาพในการตอบสนองอย่างถูกต้องในสถานการณ์ทางสังคม มนุษย์สามารถควบคุมสีหน้าตนเองได้โดยทั้งเหนือสำนึกและใต้สำนึก คือ อารมณ์ภายในจะเกิดขึ้นปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก และมีผลทันทีเป็นการตอบสนองทางอารมณ์และโดยปกติแล้ว เป็นการตอบสนองทางสีหน้าด้วย

มีหลักฐานชัดเจนแล้วว่า อารมณ์มีผลต่อสีหน้า แต่ว่างานวิจัยอย่างช้าที่สุดตั้งแต่ปี 2533 ได้ให้หลักฐานแสดงนัยตรงกันข้ามด้วย เป็นแนวคิดที่ให้ความเชื่อว่า บุคคลไม่เพียงแค่ควบคุมอารมณ์ของตนได้เท่านั้น แต่ยังมีอิทธิพลอย่างอื่นต่อมันได้ด้วย การควบคุมอารมณ์มีก็เพื่อให้เกิดอารมณ์ที่เหมาะสมในสถานการณ์ที่เหมาะสม มีแม้แต่ทฤษฎีว่า อารมณ์แต่ละอย่างมีหน้าที่จำเพาะในการประสานความต้องการของสิ่งมีชีวิตกับความจำเป็นทางสิ่งแวดล้อม (cole 1994)

ทักษะเช่นนี้ แม้จะปรากฏชัดในทุก ๆ เชื้อชาติ แต่ก็ยังประยุกต์ใช้สำเร็จได้ไม่เท่ากันในคนอายุต่าง ๆ ในงานทดลองที่เปรียบเทียบผู้ใหญ่ที่อายุน้อยกับที่สูงวัยกว่าเมื่อได้สิ่งเร้าที่ไม่น่ายินดี ผู้ที่สูงวัยกว่าสามารถควบคุมการตอบสนองทางอารมณ์ของตน โดยวิธีที่ดูจะหลีกเลี่ยงการการเผชิญหน้าในทางลบได้ ซึ่งเป็นผลงานที่สนับสนุนทฤษฎีว่า คนจะพัฒนาการควบคุมอารมณ์ของตนได้ดีขึ้นไปตามอายุ ความสามารถที่พบในผู้ใหญ่เช่นนี้ดูเหมือนจะช่วยให้มีปฏิกิริยาที่ดีกว่าในรูปแบบที่พิจารณาว่าสมควรกว่าในสถานการณ์ทางสังคมบางอย่าง และช่วยให้หลีกเลี่ยงสถานการณ์ร้ายซึ่งมองว่ามีผลเสีย

การควบคุมการแสดงอารมณ์เมื่ออยู่คนเดียว

เมื่ออยู่คนเดียว การควบคุมอารมณ์อาจเป็นแบบ minimization-miniaturization effect (ปรากฏการณ์น้อยสุด-ย่อสุด) ที่ทดแทนรูปแบบการแสดงออกทางอารมณ์ที่สามัญโดยการแสดงออกแบบเดียวกันในระดับที่น้อยกว่า นี่ไม่เหมือนสถานการณ์อื่น ที่การแสดงออกทางกาย (และการควบคุมมัน) มีจุดประสงค์ทางสังคม (เช่น ตามกฎการแสดงออกที่ยอมรับได้ทางสังคม หรือเพื่อแสดงอารมณ์ต่อคนอื่น) การอยู่คนเดียวไม่จำเป็นต้องมีการแสดงออกทางอารมณ์ (แม้ว่า อารมณ์ที่รุนแรงจะแสดงออกไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม)

ดังนั้น แนวคิดในเรื่องนี้ก็คือว่า คนที่มีอายุมากขึ้น จะรู้แล้วว่าจุดประสงค์ในการแสดงออก (เพื่อดึงความสนใจจากผู้อื่น) ไม่จำเป็นในสถานการณ์ที่ไม่มีใครอื่น และดังนั้น ระดับการแสดงออกทางอารมณ์จะมีน้อยกว่าในสถานการณ์ที่อยู่คนเดียว

ความเครียด

ตามนักวิชาการท่านหนึ่ง ความเครียดทางอารมณ์ในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่นในการสอบเรียน สามารถลดได้โดยทำกิจกรรมที่ช่วยควบคุมอารมณ์ก่อนสถานการณ์นั้น เพื่อศึกษาผลการควบคุมตนเองต่อกระบวนการทางจิตและทางสรีรภาพภายใต้ความเครียดที่เกิดจากการสอบ เขาได้ทดลองกับกลุ่มนักศึกษา โดยมีกลุ่มทดลอง 28 คนและกลุ่มควบคุม 102 คน

ในขณะก่อนสอบ ระดับความเครียดเนื่องจากเหตุการณ์จะเพิ่มขึ้นในทั้งสองกลุ่มเทียบกับสภาวะปกติ ในกลุ่มทดลอง นักศึกษาใช้เทคนิคควบคุมตนเอง 3 อย่าง คือ ตั้งสมาธิที่การหายใจ การผ่อนคลายร่างกายทั่วไป และการจินตนาการว่าจะสอบผ่าน ในช่วงการสอบ ระดับความวิตกกังวลของกลุ่มทดลองต่ำกว่าของกลุ่มควบคุม นอกจากนั้นแล้ว อัตรานักศึกษาที่คะแนนไม่ผ่านในกลุ่มทดลองมีน้อยกว่า 1.7 เท่าของกลุ่มควบคุม จากข้อมูลนี้ นักวิชาการสรุปว่า การประยุกต์ใช้เทคนิคควบคุมตนเองก่อนการสอบช่วยลดระดับความตึงเครียดทางอารมณ์ ซึ่งยังช่วยให้สอบได้ดีขึ้นอีกด้วย

การตัดสินใจ

การรู้จักกระบวนการควบคุมอารมณ์ของตนสามารถช่วยในการตัดสินใจวรรณกรรมเกี่ยวกับการควบคุมอารมณ์แสดงว่า มนุษย์พยายามควบคุมประสบการณ์ทางอารมณ์ของตน ดังนั้น จึงเป็นไปได้ว่า สภาพอารมณ์ที่เรามีในปัจจุบันสามารถเปลี่ยนได้โดยกลยุทธ์ควบคุมอารมณ์ ซึ่งแสดงโอกาสว่า กลยุทธ์ควบคุมต่าง ๆ กันจะมีผลต่อการตัดสินใจต่าง ๆ กัน

ผลเมื่อคุมตัวเองไม่ได้

เมื่อบุคคลไม่สามารถคุมอารมณ์ของตน นั่นหมายถึงการเริ่มเกิดการทำหน้าที่ผิดปกติทางจิต-สังคมและทางอารมณ์ ซึ่งมีเหตุจากประสบการณ์สะเทือนใจ ที่มักเกิดขึ้นในโรงเรียนระดับประถม และบางครั้งสัมพันธ์กับการถูกรังแกซ้ำ ๆ เป็นประจำ

เด็กที่ไม่สามารถควบคุมตนเองจะแสดงอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ โดยหลายวิธี รวมทั้งกรีดร้องถ้าไม่ได้ตามที่ต้องการ ต่อยด้วยมือ หรือรังแกเด็กอื่น ๆ พฤติกรรมเช่นนี้ก่อให้เกิดปฏิกิริยาเชิงลบจากสังคม ซึ่งก็จะทำปัญหาควบคุมตัวเองไม่ได้ให้แย่ลงหรืออย่างน้อยก็ช่วยรักษาปัญหาต่อไป เด็กเช่นนี้มีโอกาสมีความสัมพันธ์แบบเป็นศัตรูกับทั้งครูและเด็กอื่น ๆ สูงกว่า ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหามากขึ้น เช่นไม่สามารถปรับตัวเข้ากับโรงเรียน และยังเป็นตัวพยากรณ์ว่าจะเลิกเรียนต่อไปในอนาคต

เด็กที่ไม่สามารควบคุมตนเองจะโตเป็นวัยรุ่นที่มีปัญหาเพิ่มขึ้น เพื่อน ๆ จะเริ่มสังเกตเห็น "ความไม่โต" และเด็กเช่นนี้มักจะถูกเพื่อนกีดกันไม่ให้ร่วมวง ถูกล้อ และถูกรังควาน "ความไม่โต" จะเป็นเหตุให้วัยรุ่นบางคนกลายเป็นผู้ที่คนไม่คบหา ทำให้ตัวเองทำหรือว่าร้ายผู้อื่นด้วยความโกรธและความรุนแรง โดยการถูกล้อหรือการกลายเป็นคนที่ไม่มีคนคบหาในช่วงวัยรุ่นสร้างความเสียหายเป็นพิเศษและอาจจะทำให้อนาคตไม่ดี[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งเป็นเหตุการแนะนำให้สนับสนุนเด็กควบคุมอารมณ์ตัวเองให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. Cole, PM; Michel, MK; Teti, LO (1994). "The development of emotion regulation and dysregulation: A clinical perspective" (PDF). Monographs of the Society for Research in Child Development. Wiley-Blackwell. 59: 73–100.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  2. Thompson, R. A. (1994). "Emotion regulation: a theme in search of definition". Monographs for the Society for Research in Child Development. 59: 25–52. doi:10.1111/j.1540-5834.1994.tb01276.x.
  3. Niven, K.; Totterdell, P.; Holman, D. (2009). "A classification of controlled interpersonal affect regulation strategies". Emotion. 9: 498–509. doi:10.1037/a0015962.
  4. Burman, J. T.; Green, C. D.; Shanker, S. (2015). "On the Meanings of Self-Regulation: Digital Humanities in Service of Conceptual Clarity". Child Development. 86 (5): 1507–1521. doi:10.1111/cdev.12395.
  5. Koole, SL (2009). The psychology of emotion regulation: An integrative review. 1 (23rd ed.). Psychology Press. pp. 4–41.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  6. Zeman, J.; Cassano, M.; Perry-Parrish, C.; Stegall, S. (2006). "Emotion regulation in children and adolescents". Journal of Developmental and Behavioral Pediatrics. 27: 155–168. doi:10.1097/00004703-200604000-00014.
  7. Aldao, A; Nolen-Hoeksema, S; Schweizer, S. "Emotion-regulation stratgies across psychopathology: a meta-analytic review". Clinical Psychology Review. 30: 217–237.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  8. Aldao, A.; Nolen-Hoeksema, S. (2010). "Specificity of cognitive emotion regulation strategies: a transdiagnostic examination". Behaviour Research and Therapy. 48: 974–983. doi:10.1016/j.brat.2010.06.002.
  9. Fabes, R. A.; Eisenberg, N.; Jones, S.; Smith, M.; Guthrie, I.; Poulin, R.; Shepard, S.; Friedman, J. (1999). "Regulation, emotionality, and pre-schoolers' socially competent peer interactions". Child Development. 70: 432–442. doi:10.1111/1467-8624.00031.
  10. Pulkkinen, L. Bakes, PB; Brim, O, Jr. (บ.ก.). Self-control and continuity from childhood to late adolescence. Life-span development and behavior. 4. New York: Academic Press. pp. 63–105.CS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)
  11. Gross, JJ; Thompson, RA (2007). Gross, JJ (บ.ก.). Emotion regulation: Conceptual foundations. Handbook of Emotion Regulation. New York: Guilford Press. pp. 3–24.CS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)
  12. Gross, J. J. (1998). "The emerging field of emotion regulation: An integrative review". Review of General Psychology. 2: 271–299. doi:10.1037/1089-2680.2.3.271.
  13. Gross, J. J. (1998). "Antecedent- and response-focused emotion regulation: Divergent consequences for experience, expression, and physiology". Journal of Personality and Social Psychology. 74: 224–237. doi:10.1037/0022-3514.74.1.224.
  14. Fox, N. A.; Calkins, S. D. (2003). "The development of self-control of emotion: Intrinsic and extrinsic influences". Motivation and Emotion. 27 (1): 7–26.
  15. Wells, A.; Papageorgiou, C. (1998). "Social phobia: Effects of external attention on anxiety, negative beliefs, and perspective taking". Behavior Therapy. 29: 357–370. doi:10.1016/s0005-7894(98)80037-3.
  16. Campbell-Sills, L; Barlow, DH (2007). Gross, JJ (บ.ก.). Incorporating emotion regulation into conceptualizations and treatments of anxiety and mood disorders. Handbook of Emotion Regulation. New York: Guilford Press. pp. 542–559.CS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)
  17. Loewenstein, G (2007). Gross, JJ (บ.ก.). Affect regulation and affective forecasting. Handbook of Emotion Regulation. New York: Guilford Press. pp. 180–203.CS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)
  18. Hofmann, S. G.; Gerlach, A. L.; Wender, A.; Roth, W T. (1997). "Speech disturbances and gaze behavior during public speaking in subtypes of social phobia". Journal of Anxiety Disorders. 11 (6): 573–585. doi:10.1016/s0887-6185(97)00040-6.
  19. Edelmann, R. J.; Iwawaki, S. (1987). "Self-reported expression and consequences of embarrassment in the United Kingdom and Japan". Psychologia. 30 (4): 205–216.
  20. Sheppes, G.; Gross, J. J. (2011). "Is timing everything? Temporal considerations in emotion regulation". Personality and Social Psychology Review. 15 (4): 319–331. doi:10.1177/1088868310395778.
  21. Seminowicz, D. A.; Davis (2007). "Interactions of pain intensity and cognitive load: the brain stays on task". Cerebral Cortex. 17: 1412–1422. doi:10.1093/cercor/bhl052.
  22. Urry, H. L. (2010). "Seeing, thinking, and feeling: emotion-regulating effects of gaze-directed cognitive reappraisal". Emotion. 10: 125–135. doi:10.1037/a0017434.
  23. Nolen-Hoeksema, S.; Morrow, J. (1993). "Effects of rumination and distraction on naturally occurring depressed mood". Cognition and Emotion. 7: 561–570. doi:10.1080/02699939308409206.
  24. Sheppes, G.; Scheibe, S.; Suri, G.; Gross, J. J. (2011). "Emotion-regulation choice". Psychological Science. 22 (11): 1391–1396. doi:10.1177/0956797611418350.
  25. Nolen-Hoeksema, S.; Wisco, B. E.; Lyubomirsky, S. (2008). "Rethinking rumination". Perspectives on Psychological Science. 3 (5): 400–424. doi:10.1111/j.1745-6924.2008.00088.x.
  26. Borkovec, T. D.; Robinson, E.; Pruzinsky, T.; DePree, J. A. (1983). "Preliminary exploration of worry: Some characteristics and processes". Behavior Research and Therapy. 21: 9–16. doi:10.1016/0005-7967(83)90121-3.
  27. Borkovec, T. D.; Inz, J. (1990). "The nature of worry in generalized anxiety disorder: A predominance of thought activity". Behavior Research and Therapy. 28 (2): 153–158. doi:10.1016/0005-7967(90)90027-g.
  28. Wegner, D. M.; Zanakos, S. (1994). "Chronic thought suppression". Journal of Personality. 62: 615–640. doi:10.1111/j.1467-6494.1994.tb00311.x.
  29. Schartau, P. E.; Dalgleish, T.; Dunn, B. D. (2009). "Seeing the bigger picture: training in perspective broadening reduces self-reported affect and psychophysiological response to distressing films and autobiographical memories". Journal of Abnormal Psychology. 118 (1): 15–27. doi:10.1037/a0012906.
  30. Jackson, D. C.; Malmstadt, J. R.; Larson, C. L.; Davidson, R. J. (2000). "Suppression and enhancement of emotional responses to unpleasant pictures". Psychophysiology. 37: 515–522. doi:10.1111/1469-8986.3740515.
  31. Ochsner, K. N.; Ray, R. R.; Cooper, J. C.; Robertson, E. R.; Chopra, S.; Gabrieli, J. D. E.; Gross, J. J. (2004). "For better or for worse: Neural systems supporting the cognitive down- and up-regulation of negative emotion". NeuroImage. 23: 483–499. doi:10.1016/j.neuroimage.2004.06.030.
  32. Gross, James; John, Oliver (2003). "Individual differences in two emotion regulation processes: Implications for affect, relationships, and well-being" (PDF). Journal of Personality and Social Psychology. 85 (2): 348–62. doi:10.1037/0022-3514.85.2.348. PMID 12916575.
  33. Tamir, M (2009). "What do people want to feel and why? Pleasure and utility in emotion regulation". Current Directions in Psychological Science. 18 (2): 101–105. doi:10.1111/j.1467-8721.2009.01617.x.
  34. Ochsner, K. N.; Gross, J. J. (2008). "Cognitive emotion regulation: Insights from social, cognitive, affective neuroscience". Current Directions in Psychological Science. 17 (2): 153–158. doi:10.1111/j.1467-8721.2008.00566.x.
  35. Ayduk, O.; Kross, E. (2009). "Asking why from a distance facilitates emotional processing: A reanalysis of Wimalaweera and Moulds (2008)". Behavior Research and Therapy. 47: 88–92. doi:10.1016/j.brat.2008.06.014.
  36. Ayduk, O.; Kross, E. (2010). "From a distance: Implications of spontaneous self-distancing for adaptive self-reflection". Journal of Personality and Social Psychology. 98 (5): 809–829. doi:10.1037/a0019205. PMC 2881638. PMID 20438226.
  37. Samson, A. C.; Gross, J. J. (2012). "Humour as emotion regulation: The differential consequences of negative versus positive humour". Cognition and Emotion. 26 (2): 375–384. doi:10.1080/02699931.2011.585069.
  38. Dan-Glauser, E. S.; Gross, J. J. (2011). "The temporal dynamics of two response-focused forms of emotion regulation: Experiential, expressive, and autonomic consequences". Psychophysiology. 48: 1309–1322. doi:10.1111/j.1469-8986.2011.01191.x.
  39. Butler, E. A.; Egloff, B.; Wlhelm, F. H.; Smith, N. C.; Erickson, E. A.; Gross, J. J. (2003). "The social consequences of expressive suppression". Emotion. 3 (1): 48–67. doi:10.1037/1528-3542.3.1.48.
  40. Richards, Jane (2004-08). "The Cognitive Consequences of Concealing Feelings". Current Directions in Psychological Science. 13 (4): 131–134. doi:10.1111/j.0963-7214.2004.00291.x. Check date values in: |date= (help)
  41. Sher, KJ; Grekin, ER (2007). Gross, JJ (บ.ก.). Alcohol and affect regulation. Handbook of Emotion Regulation. New York: Guilford Press. pp. 560–580.CS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)
  42. Oaten, Megan; Cheng, Ken (2006). "Longitudinal gains in self-regulation from regular physical exercise". British Journal of Health Psychology. 11 (4): 717–733. doi:10.1348/135910706X96481.
  43. Walker, Matthew P. (2009-03). "The Role of Sleep in Cognition and Emotion" (PDF). Annals of the New York Academy of Sciences. 1156: 168–197. doi:10.1111/j.1749-6632.2009.04416.x. PMID 19338508. สืบค้นเมื่อ 2015-11-25. Check date values in: |date= (help)
  44. Beattie, Louise; Kyle, Simon D.; Espie, Colin A.; Biello, Stephany M. (2015-12). "Social interactions, emotion and sleep: A systematic review and research agenda". Sleep Medicine Reviews. 24: 83–100. doi:10.1016/j.smrv.2014.12.005. สืบค้นเมื่อ 2015-11-24. Check date values in: |date= (help)
  45. Marsha M. Linehan, 2005
  46. Sulz, 2000
  47. Derryberr, D; Rothbart, MK (2001). Kalverboer, AF; Gramsbergen, A (บ.ก.). Early temperament and emotional development. Handbook of Brain and Behavior in Human Development. Dordrecht, The Netherlands: Kluwer Academic. pp. 967–988.CS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)
  48. Rothbart, M; Ziaie, H; O'Boyle, C. Eisenberg, N; Fabes, R (บ.ก.). Self-regulation and emotion in infancy. Emotion and Its Regulation in Early Development. San Francisco: Jossey-Bass/Pfeiffer. pp. 7–23.CS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)
  49. Malatesta, C.Z.; Grigoryev, P.; Lamb, C.; Albin, M.; Culver,C. (1986). "Emotional socialization and expressive development in preterm and full-term infants". Child Development. 57 (2): 316–330. doi:10.2307/1130587. PMID 3956316.
  50. Kochanska, G.; Coy, K. C.; Murray, K. Y. (2001). "The development of self-regulation in the first four years of life". Child Development. 72 (4): 1091–1111. doi:10.1111/1467-8624.00336.
  51. Stifter, C. A.; Braungart, J. M. (1995). "The regulation of negative reactivity in infancy: Function and development". Developmental Psychology. 31 (3): 448–455. doi:10.1037/0012-1649.31.3.448.
  52. Kopp, C (1982). "Antecedents of self-regulation: A developmental perspective". Developmental Psychology. 18: 199–214. doi:10.1037/0012-1649.18.2.199.
  53. Diener, M.; Mangelsdorf, S.; McHale, J.; Frosch, C. (2002). "Infants' behavioral strategies for emotion regulation with fathers and mothers: Associations with emotional expressions and attachment quality". Infancy. 3: 153–174. doi:10.1207/s15327078in0302_3.
  54. Buss, K.A.; Goldsmith, H.H. (1998). "Fear and anger regulation in infancy: Effects on temporal dynamics of affective expression". Child Development. 69 (2): 359–374. doi:10.1111/j.1467-8624.1998.tb06195.x. PMID 9586212.
  55. Bridges, L.J.; Grolnick, W.S. (1995). "The development of emotional self-regulation in infancy and early childhood". Social Development. 15: 185–211.
  56. Calkins, SD; Hill, A (2007). Gross, JJ (บ.ก.). Caregiver influence on emerging emotion regulation: Biological and environmental transactions in early development. Handbook of Emotion Regulation. New York: Guilford Press. pp. 229–248.CS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)
  57. Sroufe, L. A. (1996). Emotional development: The organization of emotional life in the early years. New York: Cambridge University Press.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  58. Kochanska, G (2001). "Emotional development in children with different attachment histories: The first three years". Child Development. 72: 474–490. doi:10.1111/1467-8624.00291.
  59. Trehub, S. E.; Ghazban, N.; Corbeil, M. (2015). "Musical affect regulation in infancy". Annals of the New York Academy of Sciences. 1337 (1): 186–192. doi:10.1111/nyas.12622.
  60. Kopp, C.B. (1989). "Regulation of distress and negative emotions". Developmental Psychology. 25 (3): 343–354. doi:10.1037/0012-1649.25.3.343.
  61. Rueda, MR; Posner, MI; Rothbart, MK (2004). Baumeister, RF; Vohs, KD (บ.ก.). Attentional control and self-regulation. Handbook of self-regulation: Research, theory, and applications. New York: Guilford Press. pp. 283–300.CS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)
  62. Kopp, C (1989). "Regulation of distress and negative emotions: A developmental view". Developmental Psychology. 25: 243–254. doi:10.1037/0012-1649.25.3.343.
  63. Thompson, R.A. (1994). "Emotional regulation: A theme in search of definition". Monographs of Society for Research in Child Development. 59: 2–3. doi:10.1111/j.1540-5834.1994.tb01276.x.
  64. Harris, P. L. (1983). "Children's understanding of the link between situation and emotion". Journal of Experimental Child Psychology. 33: 1–20. doi:10.1016/0022-0965(83)90048-6.
  65. Stegge, H; Terwog, MM (2007). Gross, JJ (บ.ก.). Awareness and regulation of emotion in typical and atypical development. Handbook of Emotion Regulation. New York: Guilford Press. pp. 269–286.CS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)
  66. Caspi, A.; Moffitt, T.E.; Morgan, J.; Rutter, M.; Taylor, A.; Arseneault, L.; Tully, L.; Jacobs, C.; Kim-Cohen, J.; Polo-Tomas,M. (2004). "Maternal expressed emotion predicts children's antisocial behaviour problems: Using monozygotic-twin differences to identify environmental effects on behavioural development". Developmental Psychology. 40 (2): 149–161. doi:10.1037/0012-1649.40.2.149. PMID 14979757.
  67. Eisenberg, N.; Zhou, Q.; Koller, S. (2001). "Brazilian adolescents' prosocial moral judgement and behaviour: Relations to sympathy, perspective-taking, gender-role orientation, and demographic characteristics". Child Development. 72 (2): 518–534. doi:10.1111/1467-8624.00294. PMID 11333082.
  68. Maughan, A.; Cicchetti, D. (2002). "Impact of child maltreatment and interadult violence on children's emotional regulation abilities and socioemotional adjustements". Child Development. 73 (5): 1525–1542. doi:10.1111/1467-8624.00488. PMID 12361317.
  69. Valiente, C.; Fabes, R.A.; Eisenberg, N.; Spinrad, T.L. (2004). "The relations of parental expressivity and support to children's coping with daily stress". Journal of Family Psychology. 18 (1): 97–106. doi:10.1037/0893-3200.18.1.97. PMID 14992613.
  70. Zeman, J.; Cassano, M.; Perry-Parrish, C.; Stegall, S. (2006). "Emotion regulation in children and adolescents". Journal of Developmental and Behavioral Pediatrics. 27 (2): 155–168. doi:10.1097/00004703-200604000-00014.
  71. Zeman, J.; Garber, J. (1996). "Display rules for anger, sadness, and pain: it depends on who is watching". Child Development. 67: 957–973. doi:10.2307/1131873.
  72. Garnefski, N.; Kraaij, V. (2006). "Relationships between cognitive emotion regulation strategies and depressive symptoms: A comparative study of five specific samples". Personality and Individual Differences. 40: 1659–1669. doi:10.1016/j.paid.2005.12.009.
  73. Luna, B.; Padmanabhan, A.; O'Hearn, K. (2010). "What has fMRI told us about the development of cognitive control through adolescence?". Brain and Cognition. 72: 101–113. doi:10.1016/j.bandc.2009.08.005.
  74. Labouvie-Vief, Gisela (2003-12). "Dynamic Integration:Affect, Cognition and the Self in Adulthood". Current Directions in Psychological Science. 12 (6): 201–206. doi:10.1046/j.0963-7214.2003.01262.x. Check date values in: |date= (help)
  75. Davidson, R. J. (1998). "Affective Style and Affective Disorders: Perspectives from Affective Neuroscience". Cognition and Emotion. 12 (3): 307–330. doi:10.1080/026999398379628.
  76. Ruef, Anna Marie; Levenson, Robert W (2007). Coan, James A; Allen, John J. B. (บ.ก.). Continuous measurement of emotion: The affect rating dial. Handbook of emotion elicitation and assessment. Series in affective science. New York, NY, US: Oxford University Press. pp. 287–297.CS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)
  77. Geschwind, N.; Peeters, F; Drukker, M; Van Os, J; Wichers, M (2011). "Mindfulness training increases momentary positive emotions and reward experience in adults vulnerable to depression: A randomized controlled trial". Journal of Consulting and Clinical Psychology. 79 (5): 618–28. doi:10.1037/a0024595. PMID 21767001.
  78. Frank, DW; Dewitt, M; Hudgens-Haney, ME; Schaeffer, DJ; Ball, BH; Schwarz, NF; Hussein, AA; Smart, LM; Sabatinelli, D (2014). "Emotion regulation: Quantitative meta-analysis of functional activation and deactivation". Neuroscience & Biobehavioral Reviews. 45: 202–211. doi:10.1016/j.neubiorev.2014.06.010.
  79. Davidson, R.J.; Putnam, K.M.; Larson, C.L. (2000). "Dysfunction in the neural circuitry of emotion regulation - A possible prelude to violence". Science. 289: 591–594. doi:10.1126/science.289.5479.591.
  80. Elfenbein, H. A.; Ambady, N. (2002). "On the universality and cultural specificity of emotion recognition: a meta-analysis". Psychological Bulletin. 128 (2): 203–235. doi:10.1037/0033-2909.128.2.203. PMID 11931516.
  81. Ekman, P.; Friesen, W. V.; Ancoli, S. (1980). "Facial signs of emotional experience". Journal of Personality and Social Psychology. 39: 1125–1134. doi:10.1037/h0077722.
  82. Izard, C. E. (1990). "Facial expressions and the regulation of emotions". Journal of Personality and Social Psychology. 58 (3): 487–498. doi:10.1037/0022-3514.58.3.487. PMID 2182826.
  83. Older; Charles, S. T.; Carstensen, L. L. (2008). "Unpleasant situations elicit different emotional responses in younger and older adults". Psychology and Aging. 23 (3): 495–504. doi:10.1037/a0013284.
  84. Holodynski, Manfred (2004). "The Miniaturization of Expression in the Development of Emotional Self-Regulation". Developmental Psychology. 40 (1): 16–28. doi:10.1037/0012-1649.40.1.16. PMID 14700461.
  85. Shcherbatykh, Yu. V. (2000). "Self-Regulation of Autonomic Homeostasis in Emotional Stress". Human Physiology. 26 (5): 641–642. doi:10.1007/BF02760382.
  86. Miclea, M; Miu, A. (2010). "Emotion Regulation and Decision Making Under Risk and Uncertainty". Emotion (Washington, D.C.). 10 (2): 257–65. doi:10.1037/a0018489. PMID 20364902.
  87. Gross, J. J. (2002). (PDF). Psychophysiology. 39 (3): 281–91. doi:10.1017/s0048577201393198. PMID 12212647. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2004-01-25. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  88. Bandura, A.; Caprara, G. V.; Barbaranelli, C.; Gerbino, M.; Pastorelli, C. (2003). "Role of Affective Self-Regulatory Efficacy in Diverse Spheres of Psychosocial Functioning". Child Development. 74 (3): 769–82. doi:10.1111/1467-8624.00567. JSTOR 3696228. PMID 12795389.

การควบค, มอารมณ, ตนเอง, งกฤษ, emotional, self, regulation, เป, นความสามารถในการตอบสนองทางอารมณ, อประสบการณ, ในร, ปแบบท, งคมยอมร, บได, แต, ดหย, นพอท, จะเป, นปฏ, ยาแบบฉ, บพล, และเป, นความสามารถในการผ, ดผ, อนปฏ, ยาแบบฉ, บพล, นถ, าจำเป, หร, อสามารถน, ยามได, เป, นก. karkhwbkhumxarmntnexng xngkvs Emotional self regulation epnkhwamsamarthinkartxbsnxngthangxarmntxprasbkarninrupaebbthisngkhmyxmrbidaetyudhyunphxthicaepnptikiriyaaebbchbphln aelaepnkhwamsamarthinkarphdphxnptikiriyaaebbchbphlnthacaepn 1 hruxsamarthniyamidwa epnkrabwnkarimwacaepnphaynxkhruxphayinthimihnathitrwcsxb praemin aelaepliynptikiriyathangxarmn 2 karkhwbkhumxarmnkhxngtwexngepnswnhnungkhxngkrabwnkarkhwbkhumxarmn sungrwmkarkhwbkhumthngtwexngaelaphuxun 3 4 karkhwbkhumxarmnepnkrabwnkarthisbsxnrwmthngkarerim karybyng hruxprbsphaphhruxphvtikrrminsthankarnhnung echnprbkhwamrusukinicthiepnxtwisy karrukhid kartxbsnxngthangsrirphaphthismphnthkbxarmn echnkaretnkhxnghwichruxkarthanganthanghxromn aelaphvtikrrmthismphnthkbxarmn imwacaepnthangkayhruxthangsihna nxkcaknn odykic karkhwbkhumxarmnyngxachmaythungkrabwnkartang echn karisicinnganthikalngtha aelakarhyudphvtikrrmthiimehmaasmthikhnxunbxk karkhwbkhumxarmnepnkicthisakhymakinchiwitmnusythuk wn mnusyidrbsingeramakmayhlayxyangthixacthaihekidkartuntw ptikiriyathangxarmnthiimehmaasm sud hruximrawng xaccathaihekhakbsngkhmimid dngnn thukkhntxngkhwbkhumxarmnkhxngtninrupaebbtang ekuxbtlxdewla 5 ineruxngsukhphaphcit karkhwbkhumxarmnthiphidpkti emotional dysregulation niyamwaepnkhwamlabakinkarkhwbkhumxiththiphlkhxngkhwamtuntwthangxarmntxrupaebbaelakhunphaphthangkhwamkhid thangkarkratha aelathangptismphnthkbphuxun singxun bukhkhlthimikarkhwbkhumxarmnphidpkticaaesdngrupaebbkartxbsnxngthiepahmay kartxbsnxng aela hruxwithikaraesdngxxk imekhakbsingthisngkhmyxmrbid 6 yktwxyangechn karkhwbkhumxarmnphidpktismphnthxyangsakhykbxakarkhxngorkhsumesra orkhwitkkngwl khwamphidpktiinkarrbprathan aelakartidsaresphtid 7 8 karkhwbkhumxarmnidnacasmphnthkbsmrrthphaphthangsngkhmaelakbkaraesdngxxkthangxarmnthiehmaasm 9 10 enuxha 1 thvsdi 2 klyuthth 2 1 kareluxksthankarn 2 2 karepliynsthankarn 2 3 karepliynkarisic 2 3 1 karhnipsniceruxngxun 2 3 2 karkhrunkhid 2 3 3 khwamkngwl 2 3 4 karhamkhwamkhid 2 4 karepliynkarrukhid 2 4 1 karpraeminihm 2 4 2 karaeyktwhang 2 4 3 muktlk 2 5 karprbkartxbsnxng 2 5 1 karkhumsihna 2 5 2 karichyaesphtid 2 5 3 karxxkkalngkay 2 5 4 karnxn 3 klyuththephuxkhwbkhumkhwamxxnaexthangxarmn 4 phthnakar 4 1 thark 4 2 edkwyhdedin 4 3 wyedk 4 4 wyrun 5 phaphrwmkhxngmummxngtang 5 1 thangprasathcitwithya 5 1 1 thangxarmn 5 1 2 thangprasathwithya 5 2 thangsngkhm 5 2 1 karkhwbkhumkaraesdngxarmnemuxxyukhnediyw 5 3 khwamekhriyd 5 4 kartdsinic 6 phlemuxkhumtwexngimid 7 duephim 8 echingxrrthaelaxangxingthvsdi aekikhaebbcalxngkrabwnkar process model khxngkarkhwbkhumxarmn xasysmmtithanwa krabwnkarsrangxarmnekidepnladbodyechphaa iptamewla odymiladbdngtxipnikhux sthankarn ladberimthisthankarn imwacacringhruxkhidexa thiekiywenuxngthangxarmn karisic mikarisicinsthankarnthikxxarmn karpraeminthangkarrukhid mikarpraeminaelatikhwamsthankarn kartxbsnxng ekidkartxbsnxngthangxarmnkhun sungnaipsukhwamepliynaeplngthiprasanknxyangkwang inrabbtxbsnxngthngthangkarrbru thangphvtikrrm aelathangsrirphaphephraakartxbsnxngthangxarmn 4 samarthepliynsthankarn 1 aebbcalxngnimiwnpxnklbcak 4 khuxkartxbsnxng ipyng 1 khuxsthankarn sungaesdngwa krabwnkarkxxarmnsamarthewiynekid epniptxenuxng aelaepliynaeplngid 11 aebbcalxngxangwa khntxnthngsiinkrabwnkarnisamarthkhwbkhumid cakaenwkhidni aebbcalxngwangwithikarkhwbkhumxarmn 5 rupaebbephuxkhwbkhumkhntxnthng 4 sungekidiptamladbdngtxipni kareluxksthankarn karepliynsthankarn karepliynkarisic karepliynkarrukhid karkhwbkhum prbkartxbsnxng 12 aebbcalxngyngaebngklyuththkhwbkhumxarmnxxkepnsxnghmwd khux ennsingthiekidkxn hruxennkartxbsnxng klyuthththiennsingthiekidkxn kkhux kareluxksthankarn karepliynsthankarn karepliynkarisic aelakarepliynkarrukhid caekidkhunkxnthikartxbsnxngthangxarmncaekidxyangsmburn klyuthththiennkartxbsnxng kkhux karprbkartxbsnxngthiekidkhunhlngcakkartxbsnxngthangxarmnidekidkhunxyangsmburnaelw 13 klyuthth aekikhkareluxksthankarn aekikh klyuththeluxksthankarnepnkareluxkthicahlikeliynghruxekhahasthankarnthixackxxarmn thaeliynghruxthxyxxkcaksthankarn kcaldoxkasprasbkbxarmn hruxthaeluxkthicaekhahahruxephchiykbsthankarn oxkasksungkhunthicaprasbkbxarmn 12 twxyangxacehnidkbehtukarnrahwangbukhkhl echn emuxphxaemexaedkxxkcakehtukarnthisrangxarmnimdi 14 kareluxksthankarnsamarthehnidekiywenuxngkbkhwamphidpktithangcitdwy yktwxyangechn karhlikeliyngsthankarnthangsngkhmephuxkhwbkhumxarmnepnsingthiehnidchdinkhnikhorkhklwkarekhasngkhm social anxiety disorder 15 aelakhwamphidpktithangbukhlikphaphaebbhlikeliyng 16 kareluxksthankarnihdiimichepneruxngngayesmx yktwxyangechn mnusymipyhaphyakrnkhwamrusukkhxngtnexngekiywkbehtukarninxnakht dngnn cungxacmipyhatdsinicihaemnyaaelaehmaawakhwrcaekhahahruxhlikeliyngsthankarnthixackxxarmntang 17 karepliynsthankarn aekikh klyuththepliynsthankarnepnkhwamphyayamepliynsthankarnephuxepliynphlthangxarmn 12 odyechphaakkhux epnkarepliynsingaewdlxmaelawtthuphaynxk karepliynsphaphphayinephuxkhumxarmneriykwaepnkarepliynkarrukhid 11 twxyangkhxngkarepliynsthankarnrwmthngkarichmuktlkephuxihkhnxunhweraa 18 hruxkarthxykayhangxxkcakxikkhnhnung 19 karepliynkarisic aekikh klyuththepliynkarisicepnkareluxkisicipthi hruxxxkcak sthankarnthisrangxarmn 12 karhnipsniceruxngxun aekikh karsniceruxngxun Distraction epnkarepliynkarisicwithihnung epnklyuththkareluxkinrayatn sungepliynkhwamsnicipcaksingerathisrangxarmnipyngeruxngxun 20 odymihlkthanwasamarthchwyldradbkhwamrusukecbpwd 21 hruxxarmnkhwamrusukthirunaerng 22 ephuxldradbsihnathiaesdngxarmn 22 aelaephuxbrrethakhwamthukkhthangic 23 ethiybkb karpraeminihm mnusymkcaeluxkhnipsniceruxngxunemuxephchiykbsingerathithaihekidxarmnlbsung ephraawa karsniceruxngxuncachwykrxngenuxkhwamehtukarnthithaihekidxarmn sungthaimthaaelw kcaepnehtukarnthiyakinkarpraeminaelapramwl 24 karkhrunkhid aekikh karkhrunkhidepntwxyangkarepliynkarisicxyanghnung 16 sungminiyamwa epnkarsnicthiimtngicaebbsa txxakarkhwamthukkhkhxngtnaelaphlkhxngxakarnn thithwipaelwphicarnawaepnklyuththkhwbkhumxarmnthiepnkarprbtwphid maladaptive ephraawa mkcaephimxarmnthukkh aelaykwaepntwkarkhxngkhwamphidpktithangcithlayxyangrwmthngorkhsumesra MDD 25 khwamkngwl aekikh khwamkngwl worry epnxiktwxyangkhxngkarepliynkarisic 16 epnkarisicinkhwamkhidaelacintphaphekiywkbehtukarnraythiepnipidinxnakht 26 khuxodyisicinehtukarnehlani khwamkngwlineruxnghnungxacldkhwamkngwlthicaepnhnkkwainxikeruxnghnung 16 aetaemwa khwamkngwlxaccachwycungicihaekpyha karkngwlimhyudhyxnphicarnawaepnkarprbtwphid epnlksnasamykhxngorkhwitkkngwl odyechphaaorkhwitkkngwlthwip generalized anxiety disorder 27 karhamkhwamkhid aekikh karhamkhwamkhidepntwxyangkarepliynkarisic epnkhwamphyamyamepliynkhwamisicipcakkhwamkhidaelacintphaphbangxyang ipyngeruxngxunephuxepliynsphaphxarmnkhxngtnexng 16 aemwa karhamkhwamkhidxacchwybrrethakhwamkhidthiimtxngkarchwkhraw aetkxacepnehtuihekidkhwamkhidthiimphungprasngkhmakkhun 28 aelaklyuththbrihareyiyngniodythwipthuxepnkarprbtwphid thiphbmakthisudinkhnikhorkhyakhidyatha 16 karepliynkarrukhid aekikh karepliynkarrukhidepnkarepliynkarpraeminehtukarnephuxepliynkhwamhmaythangxarmnkhxngehtukarn 12 karpraeminihm aekikh karpraeminihmepntwxyangkarepliynkarrukhid epnklyuththkareluxkthithathihlng sungepnkaraeplkhwamehtukarnihmephuxepliynxarmnthiepnphl 12 yktwxyangechn xaccaaeplkhwamehtukarnihmodykhyaymummxngephuxihehn phaphrwm 29 karpraeminihmmihlkthanwachwyldkartxbsnxngthangxarmnthngthangkay 30 thangcitic 13 aelathangprasath 31 ethiybkbkarsniceruxngxun bukhkhlmkcaeluxkpraeminehtukarnihmemuxephchiysingerathisrangxarmnechinglbinradbtaephraangaythicapraeminaelaaeplkhwamhmaysingehlannihm 24 karpraeminihmthwipphicarnawaepnklyuththkhwbkhumxarmnthiepnkarprbtwthidi ethiybkbkarhamkhwamkhid sungmikhashsmphnthkbkhwamphidpktithangcithlayxyang 7 karpraeminihmsmphnthkbphlinrahwangbukhkhlthidikwa aelasmphnthkbkhwamxyuepnsukh wellbeing 32 aetwa kminkwicybangthanthixangwa bribthkepneruxngsakhyemuxphicarnakhunkhaodyepnkarprbtwkhxngklyuthth khuxaesdngwa inbangbribth karpraeminihmxacepnkarprbtwphid 33 karaeyktwhang aekikh karaeyktwhang distancing epntwxyangkarepliynkarrukhid epnkarepliynmummxngipepnkhxngbukhkhlthisamthiimmiswnidswnesiyemuxpraeminehtukarnthisrangxarmn 34 karaeyktwxxkhangmihlkthanwaepnrupaebbkarphicarnatnexng self reflection thiepnkarprbtwthidi sungchwyihsamarthpramwlsingerathismphnthkbxarmnechinglb 35 odyldptikiriyathangxarmnaelathangrabbhlxdeluxdhwictxsingeraechinglb aelaephimphvtikrrmchwyaekpyha 36 muktlk aekikh karichmuktlk epntwxyangkarepliynkarrukhid thimihlkthanwaepnklyuththkhwbkhumxarmnthimiprasiththiphl odyechphaakkhux muktlkechingbwk aebbicdi mihlkthanwachwyephimxarmnechingbwkaelaldxarmnechinglbxyangmiprasiththiphl aelaodyethiybknaelw muktlkaebbicraymiprasiththiphlnxykwa 37 karprbkartxbsnxng aekikh klyuththprbkartxbsnxngepnkhwamphyayamthicamixiththiphlodytrngtxrabbtxbsnxngthangkarrbru thangphvtikrrm aelathangkay 12 karkhumsihna aekikh karkhumsihna expressive suppression epntwxyangkarkhwbkhumkartxbsnxng epnkarhamkaraesdngxarmn thimihlkthanwasamarthldkaraesdngsihna khwamrusukdiinic xtrahwicetn aelakarthangankhxngrabbprasathsimphaethtik sungmihnathiekiywkbkartxbsnxngaebbsuhruxhni aelakarkhwbkhumphawatharngdul aetwa nganwicyaesdngphlimchdecnwawithinimiprasiththiphlinkarldxarmnechinglbhruxim 38 aelaaesdngwa karkhumsihnaxacmiphlechinglbthangsngkhm smphnthkbkarldkhwamsmphnthrahwangbukhkhl aelakhwamyaklabakephimkhuninkarsrangkhwamsmphnth 39 karkhumsihnaodythwipphicarnawaepnklyuththkhwbkhumxarmnthiepnkarprbtwphidethiybkbkarpraeminihm epnklyuthththismphnthkbkhwamphidpktithangcithlayxyang 7 kbkhwamsmphnthrahwangbukhkhlthiaeykwa aelakbkhwamxyuepnsukhthiimdi 32 epnklyuthththitxngichkhwamphyayamthangsmxngmakephuxcatha 40 aetwa kminkwicybangthanthixangwa bribthkepneruxngsakhyemuxphicarnakhunkhaodyepnkarprbtwkhxngklyuthth khuxaesdngwa inbangbribth karkhumsihnaxacepnkarprbtwthidi 33 karichyaesphtid aekikh karichyaesphtidepntwxyangkhxngkarepliynkartxbsnxng odysamarthepliynkartxbsnxngthangkaytxehtukarnthisrangxarmn echn suramivththirangbprasathaelakhwamwitkkngwl 41 aelayaebta blxkekxrsamarthmiphltxrabbprasathsimphaethtik 11 sungmihnathiekiywkbkartxbsnxngaebbsuhruxhni aelakarkhwbkhumphawatharngdul karxxkkalngkay aekikh karxxkkalngkayepntwxyangkhxngkarprbkartxbsnxng sungsamarthchwyldphlthangkayaelathangickhxngxarmnechinglb 11 karxxkkalngkayihsmaesmxmihlkthanwachwyldkhwamthukkhicaelaephimkarkhwbkhumxarmn 42 karnxn aekikh karnxnmibthbathinkarkhwbkhumxarmn aemwa khwamekhriydaelakhwamkngwlksamarthkwnkarnxnechnediywkn nganwicyaesdngwa karnxnhlb odyechphaainchwngthitaekhluxnihwxyangrwderw REM sleep ldkhwamiwptikiriyakhxngxamikdala sungepnokhrngsrangthangsmxngthimiswninkarpramwlxarmn odyxasyprasbkarnthangxarmnthiekhymimainxdit 43 innytrngknkham karkhadnxnsmphnthkbkhwamiwxarmnaelakarmiptikiriyarunaerngekiniptxsingerathiimdihruxkxkhwamekhriyd sungepnphlkhxngthngkarthanganephimkhunkhxngxamikdala aelakarimthanganprasanknrahwangxamikdlaaela prefrontal cortex sungepntwkhwbkhumxamikdalaodykarybyng inhibition sungrwmknmiphlepnsmxngthiiwxarmnekinip 43 enuxngcakphlepnkarkhadkarkhwbkhumxarmn karkhadnxnxacsmphnthkborkhsumesra khwamhunhnphlnaeln aelaxarmnkhun lng yngmihlkthandwywa karkhadnxnxacldptikiriyathangxarmntxsingeraaelaehtukarnthidi aelakhdkhwangkarekhaic ehnicphuxun 44 klyuththephuxkhwbkhumkhwamxxnaexthangxarmn aekikhenuxngcakaetlakhnmithrrmchatithangxarmnthisbsxnaelaimehmuxnikhr mnxaccayakthicakhwbkhumtnexngemuxekidkhwamxxnaex epneruxngsakhythicakahndxarmnni ekhaicsingerathimacaksthankarnhruxcakkarrukhid aelapyhathimnsrang emuxcaepntxngrksaephraaehtukhwamphidpktibangxyang epnkareriynruaebblxngphidlxngthukthngsahrbkhnikhaelaphurksaephuxhawithieyiywya khwamrusukhruxkarrukhidbangxyangechnkhwamwitkkngwl khwamla karoths tahnitnexng karrukhidthimiphlimdi aelakhwamsinhwng idphbinnganwicyaelwwa lwnaetepnehtuthinabukhkhlipsukhwamxxnaexthangxarmnsahrbphurksa epneruxngsakhythicachwykhnikhihldkhwamthi Frequency khwamrunaerng Intensity aelarayakarekid Duration khxngkarekidkhwamphidpktitang insthankarnthiimrusukplxdphy epneruxngthrrmdathibukhkhlcaekhasusphawasu hni twaekhng khnikhcaepntxngekhaicwa ptikiriyaeyiyngniepnephiyngphvtikrrmxyanghnungthixacmiemuxephchiyhnakbpyha thaimkahndyunynaelwaethrkaesngrksaprasbkarnthithaihekidkhwamxxnaexthangxarmnxyangsmkhwr nixacthaihekidpyhathangcitthiekidrwmknechnkhwamekhriyd khwamwitkkngwl orkhosmaotfxrm khwamphidpktiinkarrbprathan epntnthksathichwyihepnnaykhxngehtuthithaihxxnaexkkhuxkhwamhwngaelakarkrathathidi aelakarekhaicaebbcalxngthangcitwithyakhxngxarmnkchwydwy withihnungthiichincitbabdthieriykwa phvtikrrmbabdwiphaswithi DBT mitwyxihcangay wa ABC PLEASE sunghmaythung 45 Accumulate sasmxarmnechingbwk Build srangkhwamchanayodyrwmthakickrrmthithaihrusukwatnmikhwamsamarthaelamiprasiththiphaph ephuxsukbkhwamrusukthxaeth sinhwng aelaephuxsrangehtukarndi inchiwit Cope rbmuxkbsthankarnthisrangxarmnxyangaeybkhay sungxaccarwmkaretriymaephnrbmuxkbmuxxachiphphuchanay fuksxmaephnnnodyimtdsindichwrwmthngkarichethkhnikhphxnkhlay aelakarsxmthaehtukarnthiphanipaelw Physical misukhphaphkaythidi odytrwcsukhphaphkbaephthy Low sahrbkhnthiphumitanthanorkhtahruxxxnaextxorkh ihcdkarpyhakbphuchanaykarthangsukhphaph imwacaepnpyhathangsingaewdlxm karichchiwit xahar epntn Eating thanxaharihthuksukhphaph Avoiding hlikeliyngsarthiepliynsphaphcit Sleep nxnihthuksukhphaphxyangnxy 7 9 chm xyaipmwkhrunkhidthungpyha Exercise xxkkalngihsmaesmx ihthakickrrmbriharkayicechnxxkkalngkay fngephlng edin xanhnngsux epntn ephuxaeprkhwamxxnlathiekidkhunodyihrangkayplxysarodphaminphankickrrmthidi aethnthicamiphvtikrrmthiimdiphvtikrrmbabdaenanaihthatrngknkhamkbkhwamrusukthiimdi ephraawa xarmncaepliynipthahyudkaresrimaerngodythasingdi 46 s dr macha ilnaehn phukhidkhn DBT aenanaihfukethkhnikhphxnkhlayaebbyxy ephraawakartxbsnxngthiaesdngxxkihehncudchnwnodyxarmniderwkwakhwamkhidphthnakar aekikhthark aekikh karkhwbkhumxarmninwytharkechuxwamacakrabbkartxbsnxngthangkayphaphthimiaetkaenid 47 odypraktepnkarekhahahruxhlikeliyngsingerathidihruximdi emuxxayu 3 eduxn tharkxaccamiphvtikrrmplxbtnexngechnkardud aelasamarthtxbsnxngodyrieflkstxkhwamthukkhaelaaesdngihehn 48 yktwxyangechn mikarsngektehntharkphyayamhamkhwamokrthhruxkhwamesraodykhmwdkhiwhruxemmpak 49 emuxxayurahwang 3 6 eduxn thksaekhluxnihwaelaklikkarisickhnphunthanerimcamibthbathinkarkhwbkhumxarmn thaihtharksamarthekhahahruxhlikeliyngsthankarnthimiphltxxarmnidxyangmiprasiththiphaphkhun 50 tharkxaccahnipsniceruxngxunexngaelahakhnchwyephuxkhumxarmn 51 emuxxayupihnung tharksamarthhathangipidrxb twexng aelatxbsnxngtxsingerathangxarmnxyangphlikaephlngdikhunephraasamarthekhluxnihwidmakkhun 52 aelaerimcaehnkhunkhakhxngkhnduaelthichwyihtnkhwbkhumxarmnid 53 yktwxyangechn tharkodythwipmipyhakhwbkhumkhwamklw 54 aeladngnn cungmkhawithiaesdngkhwamklwthieriykrxngkhwamsnicaelakarplxboyncakphuduael 55 karchwykhwbkhumxarmnihodyphuduael rwmthngkareluxksthankarn karepliynsthankarn aelakarihipsniceruxngxun epneruxngsakhyxyangyingsahrbthark 56 klyuththkhwbkhumxarmnthiphuduaelichinkarldkhwamthukkhhruxephimkhwamsukhintharkxacmiphltxphthnakarthangxarmnaelaphvtikrrmkhxngthark ephraaepnkarsxnwithikarkhwbkhumxarmnih 57 dngnn sitlkarphukphnrahwangphuihkhwamduaelkbthark xacmibthbathsakhytxklyuththkhwbkhumxarmnthitharkeriynruephuxich 58 nganwicypi 2558 snbsnunaenwkhidwa karrxngephlngihlukfngmiphlbwktxkarkhwbkhumxarmnkhxngthark 59 karrxngephlngedkihfng miphltxkhwamsukhthiyawnankhunkhxngtharkxyangehnid aelaaemaetchwybrrethakhwamthukkh nxkcakcachwyxanwykhwamsmphnthkbthark emuxrwmkbkarekhluxnihwhruxkarsmphsepncnghwa karrxngephlngkhxngaemephuxprbxarmnsamarthichidkbtharkinhxngixsiyukhxngedkaerkekid hruxkbkhnikhphuihythimipyhathangbukhlikphaph hruxmipyhaprbtw edkwyhdedin aekikh odysinpiaerk tharkwyhdedincaerimichklyuththihm ephuxldkhwamtuntwechinglb sungxaccaepnkaroyktw kdsingkhxng hruxhlikipcakwtthuthiimchxb 60 inwy 2 khwb edkcasamarthephimyingkhuninkarichklyuththkhwbkhumxarmn 48 odyichwithihlayxyanginkarprbepliynsphaph 56 nxkcaknnaelw karthanganthangsmxngthidikhun phasa aelathksakarekhluxnihwcachwyihbriharkartxbsnxngthangxarmnaelabriharradbkartuntwidxyangmiprasiththiphlkwa 61 aettwchwyphaynxkephuxkhwbkhumxarmnkyngepneruxngsakhytxphthnakarkhxngedkwyhdedin phusamartheriynruwithicakphuduaelephuxkhwbkhumxarmnaelaphvtikrrm 62 yktwxyangechn phuduaelsamarthchwywithikhwbkhumtnexngodyhnkhwamsnickhxngedkipcaksingthithaihepnthukkh echn emuxchidwkhsin hruxchwyihekhaicehtukarnthithaihklw 63 wyedk aekikh khwamruinkarkhwbkhumxarmncaephimkhunxikinchwngwyedk yktwxyangechn edkwy 6 10 khwbcaerimekhaickdwaemuxir thiihn aelaxyangirkhwrcaaesdngxarmn caerimekhaicbribththikaraesdngxarmnbangxyangehmaasmthisudthangsngkhm aeladngnnkhwrkhxykhwbkhumxarmn yktwxyangechn edkxacekhaicwaemuxidrbkhxngkhwykkhwrcayim imwacarusukxyangircring kbkhxngthiidnn 64 inwyni edkmiaenwonmthicaichklyuththkhwbkhumxarmnthangkhwamkhidmakkhun nxkehnuxipcakkarhnipsnicsingxun ekhaha hruxhlikhni 65 ekiywkbphthnakarkhwbkhumxarmnthiphidpktikhxngedk phlxyanghnungthithnphisucnaesdngwa edkthiidxarmnimdithibanmakkwamioxkassungkwathicaaesdng aelamipyhakhwbkhum xarmnimdithixyuinradbsung 66 67 68 69 wyrun aekikh wyrunaesdngsmrrthphaphthiephimkhunxyangednchdinkarkhwbkhumxarmn aelakartdsinkhwbkhumxarmnkklayepneruxngthisbsxnyingkhun odytxngxasypccyhlayxyang sungepnephraawa phlthiidinrahwangbukhkhlsakhyyingkhunsahrbedk dngnn emuxkhwbkhumxarmn edkmioxkassungkwathicatxngkhidthungbribththangsngkhmdwy 70 yktwxyangechn wyrunmiaenwonmaesdngxarmnmakkwathakhidwacaidkhwamehniccakephuxn 71 nxkcaknnaelw karichklyuththkhwbkhumxarmnodykhwamkhidaebbthnkhwncaephimmakkhuninwyni sungidhlkthancakthngkhxmulthiedkraynganexng 72 aelacakphaphthangsmxngaebb fMRI 73 phaphrwmkhxngmummxngtang aekikhthangprasathcitwithya aekikh thangxarmn aekikh emuxxayumakkhun kartxbsnxngtxxarmnkhxngbukhkhlcaepliynip imwainechingbwkhruxlb ngansuksahlaynganaesdngwa xarmnechingbwkcaephimkhunemuxbukhkhlxayuephimcakwyrunipthungchwngxayu 70 klang odyepriybethiybkn xarmnechinglbcaldlngcnthungchwngxayu 70 klang xarmninchwngepnphuihycatang kn imwacaepnxarmnbwkhruxlb aemngansuksabangngancaphbwa xarmncaldlngemuxxayumakkhun aetbangnganksrupwa phuihywyklangkhnprasbkbxarmndimakkwa aelaxarmnimdinxykwaphuihythixayunxykwa chaymixarmndimakkwahying aelahyingmixarmnimdimakkwachay rwmthngkhnosddwy ehtuphlthiihxyanghnungwathaimphuihywyklangkhnmixarmnimdinxykwakephraawaidchna bththdsxbaelakhwamyaklabakkhxngkhnxayunxy ekhaxaccaprasbdulthangxarmnthithaihepnsukhephim khun xyangnxycnkrathngchwngwy 70 klang xarmnechingbwkxacephimkhuninwyklangkhn aetemuxipthungplaychiwitinchwngxayu 70 mncaerimldlng odyxarmnechinglbkcaepnnytrngknkham nixaccaepnephraasukhphaphaeylng kalngipthungchwngsudthayaehngchiwit aelakaresiychiwitkhxngephuxn yati 74 nxkcakcaphbxtraphunthankhxngxarmnbwkaelalb ngansuksatang yngphbkhwamaetktangrahwangbukhkhlinkardaeninkhxngkartxbsnxngthangxarmntxsingeratamkalewla phlsastrkhxngkarkhwbkhumxarmntamkalewla thieriykwa temporal dynamics of emotional regulation hrux affective chronometry mitwaeprkuyaecsakhysxngxyanginkrabwnkartxbsnxngthangxarmn khux chwngephimcnthungyxd rise time to peak aelachwngklbkhunsuradbphunthan recovery time to baseline 75 ngansuksaechnnimkcaaeykxarmnbwkaelalbxxkkhnlahmwd odyimtxenuxngkn ephraawa nganwicykxn aesdngwa mnusysamarthprasbkhwamepliynaeplnginhmwdhmuehlaniodyepnxisracakkn aemwacaminganthiphbkhashsmphnthdwy 76 ngansuksaineruxngnithakbkhnikhthimikhwamphidpktithangkhwamwitkkngwl thangxarmn mood disorders aelathangbukhlikphaph aetkyngichepnekhruxngwdprasiththiphlkhxngwithirksakarkhwbkhumxarmnthiphidpkti emotional dysregulation tang echnkarfuksti dwy 77 thangprasathwithya aekikh karphthnaethkhnikhsrangphaphsmxngdwy fMRI chwyihsamarthsuksakarkhwbkhumxarmnodylksnathangchiwphaph odyechphaakkhux nganwicyinthswrrsthiphanmaaesdngxyangchdecnwa karkhwbkhumxarmnmimulehtuthangprasath 78 mihlkthanephiyngphxthiaesdngshsmphnthrahwangkarkhwbkhumxarmnkbrupaebbkarthanganodyechphaa khxngsmxngswn prefrontal cortex sungrwmekht orbital prefrontal cortex ventromedial prefrontal cortex aela dorsolateral prefrontal cortex swnxamikdala aelaswn anterior cingulate cortex okhrngsrangtang ehlanimibthbathindantang khxngkarkhwbkhumxarmn aelakhwamphidpktiinekhthnunghruxmakkwann aela hruxinkarthanganrwmknkhxngekhtehlani smphnthkbkarkhwbkhumxarmnthilmehlwphlthitammaxyanghnungkhxngeruxngthikhnphbehlanikkhux khwamaetktanginkarthangankhxng prefrontal cortex khxngaetlakhn samarthichphyakrnsmrrthphaphinkarkhwbkhumxarmnemuxthanganthiichthdsxbtang inkarthdlxng 79 thangsngkhm aekikh mnusymkcaeliynaebbsihnakhnxunodythrrmchati sungepnswnsakhykhxngchiwitpkti khwamkhlaykhlungknkhamwthnthrrmtang inkarsuxsarodyimichkhaphud nonverbal communication idkxpraednwa niepnphasasaklhruxim 80 dngnn cungxangidwa karkhwbkhumxarmnmibthbathkuyaecsakhytxsmrrthphaphinkartxbsnxngxyangthuktxnginsthankarnthangsngkhm mnusysamarthkhwbkhumsihnatnexngidodythngehnuxsanukaelaitsanuk khux xarmnphayincaekidkhunptismphnthkbolkphaynxk aelamiphlthnthiepnkartxbsnxngthangxarmnaelaodypktiaelw epnkartxbsnxngthangsihnadwy 81 mihlkthanchdecnaelwwa xarmnmiphltxsihna aetwanganwicyxyangchathisudtngaetpi 2533 idihhlkthanaesdngnytrngknkhamdwy 82 epnaenwkhidthiihkhwamechuxwa bukhkhlimephiyngaekhkhwbkhumxarmnkhxngtnidethann aetyngmixiththiphlxyangxuntxmniddwy karkhwbkhumxarmnmikephuxihekidxarmnthiehmaasminsthankarnthiehmaasm miaemaetthvsdiwa xarmnaetlaxyangmihnathicaephaainkarprasankhwamtxngkarkhxngsingmichiwitkbkhwamcaepnthangsingaewdlxm cole 1994 thksaechnni aemcapraktchdinthuk echuxchati 80 aetkyngprayuktichsaercidimethakninkhnxayutang innganthdlxngthiepriybethiybphuihythixayunxykbthisungwykwaemuxidsingerathiimnayindi phuthisungwykwasamarthkhwbkhumkartxbsnxngthangxarmnkhxngtn odywithithiducahlikeliyngkarkarephchiyhnainthanglbid 83 sungepnphlnganthisnbsnunthvsdiwa khncaphthnakarkhwbkhumxarmnkhxngtniddikhuniptamxayu khwamsamarththiphbinphuihyechnniduehmuxncachwyihmiptikiriyathidikwainrupaebbthiphicarnawasmkhwrkwainsthankarnthangsngkhmbangxyang aelachwyihhlikeliyngsthankarnraysungmxngwamiphlesiy karkhwbkhumkaraesdngxarmnemuxxyukhnediyw aekikh emuxxyukhnediyw karkhwbkhumxarmnxacepnaebb minimization miniaturization effect praktkarnnxysud yxsud thithdaethnrupaebbkaraesdngxxkthangxarmnthisamyodykaraesdngxxkaebbediywkninradbthinxykwa niimehmuxnsthankarnxun thikaraesdngxxkthangkay aelakarkhwbkhummn micudprasngkhthangsngkhm echn tamkdkaraesdngxxkthiyxmrbidthangsngkhm hruxephuxaesdngxarmntxkhnxun karxyukhnediywimcaepntxngmikaraesdngxxkthangxarmn aemwa xarmnthirunaerngcaaesdngxxkimwacaxyangirktam dngnn aenwkhidineruxngnikkhuxwa khnthimixayumakkhun caruaelwwacudprasngkhinkaraesdngxxk ephuxdungkhwamsniccakphuxun imcaepninsthankarnthiimmiikhrxun 84 aeladngnn radbkaraesdngxxkthangxarmncaminxykwainsthankarnthixyukhnediyw khwamekhriyd aekikh tamnkwichakarthanhnung khwamekhriydthangxarmninsthankarntang echninkarsxberiyn samarthldidodythakickrrmthichwykhwbkhumxarmnkxnsthankarnnn ephuxsuksaphlkarkhwbkhumtnexngtxkrabwnkarthangcitaelathangsrirphaphphayitkhwamekhriydthiekidcakkarsxb ekhaidthdlxngkbklumnksuksa odymiklumthdlxng 28 khnaelaklumkhwbkhum 102 khn 85 inkhnakxnsxb radbkhwamekhriydenuxngcakehtukarncaephimkhuninthngsxngklumethiybkbsphawapkti inklumthdlxng nksuksaichethkhnikhkhwbkhumtnexng 3 xyang khux tngsmathithikarhayic karphxnkhlayrangkaythwip aelakarcintnakarwacasxbphan inchwngkarsxb radbkhwamwitkkngwlkhxngklumthdlxngtakwakhxngklumkhwbkhum nxkcaknnaelw xtranksuksathikhaaennimphaninklumthdlxngminxykwa 1 7 ethakhxngklumkhwbkhum cakkhxmulni nkwichakarsrupwa karprayuktichethkhnikhkhwbkhumtnexngkxnkarsxbchwyldradbkhwamtungekhriydthangxarmn sungyngchwyihsxbiddikhunxikdwy 85 kartdsinic aekikh karruckkrabwnkarkhwbkhumxarmnkhxngtnsamarthchwyinkartdsinic 86 wrrnkrrmekiywkbkarkhwbkhumxarmnaesdngwa mnusyphyayamkhwbkhumprasbkarnthangxarmnkhxngtn 87 dngnn cungepnipidwa sphaphxarmnthieramiinpccubnsamarthepliynidodyklyuththkhwbkhumxarmn sungaesdngoxkaswa klyuththkhwbkhumtang kncamiphltxkartdsinictang knphlemuxkhumtwexngimid aekikhemuxbukhkhlimsamarthkhumxarmnkhxngtn nnhmaythungkarerimekidkarthahnathiphidpktithangcit sngkhmaelathangxarmn 88 sungmiehtucakprasbkarnsaethuxnic thimkekidkhuninorngeriynradbprathm aelabangkhrngsmphnthkbkarthukrngaeksa epnpracaedkthiimsamarthkhwbkhumtnexngcaaesdngxarmnkhun lng odyhlaywithi rwmthngkridrxngthaimidtamthitxngkar txydwymux hruxrngaekedkxun phvtikrrmechnnikxihekidptikiriyaechinglbcaksngkhm sungkcathapyhakhwbkhumtwexngimidihaeylnghruxxyangnxykchwyrksapyhatxip edkechnnimioxkasmikhwamsmphnthaebbepnstrukbthngkhruaelaedkxun sungkwa sungxacnaipsupyhamakkhun echnimsamarthprbtwekhakborngeriyn aelayngepntwphyakrnwacaelikeriyntxipinxnakhtedkthiimsamarkhwbkhumtnexngcaotepnwyrunthimipyhaephimkhun ephuxn caerimsngektehn khwamimot aelaedkechnnimkcathukephuxnkidknimihrwmwng thuklx aelathukrngkhwan khwamimot caepnehtuihwyrunbangkhnklayepnphuthikhnimkhbha thaihtwexngthahruxwarayphuxundwykhwamokrthaelakhwamrunaerng odykarthuklxhruxkarklayepnkhnthiimmikhnkhbhainchwngwyrunsrangkhwamesiyhayepnphiessaelaxaccathaihxnakhtimdi txngkarxangxing sungepnehtukaraenanaihsnbsnunedkkhwbkhumxarmntwexngiherwthisudethathicaepnipidduephim aekikhkarehnicphuxunechingxrrthaelaxangxing aekikh Cole PM Michel MK Teti LO 1994 The development of emotion regulation and dysregulation A clinical perspective PDF Monographs of the Society for Research in Child Development Wiley Blackwell 59 73 100 CS1 maint uses authors parameter link Thompson R A 1994 Emotion regulation a theme in search of definition Monographs for the Society for Research in Child Development 59 25 52 doi 10 1111 j 1540 5834 1994 tb01276 x Niven K Totterdell P Holman D 2009 A classification of controlled interpersonal affect regulation strategies Emotion 9 498 509 doi 10 1037 a0015962 Burman J T Green C D Shanker S 2015 On the Meanings of Self Regulation Digital Humanities in Service of Conceptual Clarity Child Development 86 5 1507 1521 doi 10 1111 cdev 12395 Koole SL 2009 The psychology of emotion regulation An integrative review 1 23rd ed Psychology Press pp 4 41 CS1 maint uses authors parameter link Zeman J Cassano M Perry Parrish C Stegall S 2006 Emotion regulation in children and adolescents Journal of Developmental and Behavioral Pediatrics 27 155 168 doi 10 1097 00004703 200604000 00014 7 0 7 1 7 2 Aldao A Nolen Hoeksema S Schweizer S Emotion regulation stratgies across psychopathology a meta analytic review Clinical Psychology Review 30 217 237 CS1 maint uses authors parameter link Aldao A Nolen Hoeksema S 2010 Specificity of cognitive emotion regulation strategies a transdiagnostic examination Behaviour Research and Therapy 48 974 983 doi 10 1016 j brat 2010 06 002 Fabes R A Eisenberg N Jones S Smith M Guthrie I Poulin R Shepard S Friedman J 1999 Regulation emotionality and pre schoolers socially competent peer interactions Child Development 70 432 442 doi 10 1111 1467 8624 00031 Pulkkinen L Bakes PB Brim O Jr b k Self control and continuity from childhood to late adolescence Life span development and behavior 4 New York Academic Press pp 63 105 CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint uses editors parameter link 11 0 11 1 11 2 11 3 Gross JJ Thompson RA 2007 Gross JJ b k Emotion regulation Conceptual foundations Handbook of Emotion Regulation New York Guilford Press pp 3 24 CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint uses editors parameter link 12 0 12 1 12 2 12 3 12 4 12 5 12 6 Gross J J 1998 The emerging field of emotion regulation An integrative review Review of General Psychology 2 271 299 doi 10 1037 1089 2680 2 3 271 13 0 13 1 Gross J J 1998 Antecedent and response focused emotion regulation Divergent consequences for experience expression and physiology Journal of Personality and Social Psychology 74 224 237 doi 10 1037 0022 3514 74 1 224 Fox N A Calkins S D 2003 The development of self control of emotion Intrinsic and extrinsic influences Motivation and Emotion 27 1 7 26 Wells A Papageorgiou C 1998 Social phobia Effects of external attention on anxiety negative beliefs and perspective taking Behavior Therapy 29 357 370 doi 10 1016 s0005 7894 98 80037 3 16 0 16 1 16 2 16 3 16 4 16 5 Campbell Sills L Barlow DH 2007 Gross JJ b k Incorporating emotion regulation into conceptualizations and treatments of anxiety and mood disorders Handbook of Emotion Regulation New York Guilford Press pp 542 559 CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint uses editors parameter link Loewenstein G 2007 Gross JJ b k Affect regulation and affective forecasting Handbook of Emotion Regulation New York Guilford Press pp 180 203 CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint uses editors parameter link Hofmann S G Gerlach A L Wender A Roth W T 1997 Speech disturbances and gaze behavior during public speaking in subtypes of social phobia Journal of Anxiety Disorders 11 6 573 585 doi 10 1016 s0887 6185 97 00040 6 Edelmann R J Iwawaki S 1987 Self reported expression and consequences of embarrassment in the United Kingdom and Japan Psychologia 30 4 205 216 Sheppes G Gross J J 2011 Is timing everything Temporal considerations in emotion regulation Personality and Social Psychology Review 15 4 319 331 doi 10 1177 1088868310395778 Seminowicz D A Davis 2007 Interactions of pain intensity and cognitive load the brain stays on task Cerebral Cortex 17 1412 1422 doi 10 1093 cercor bhl052 22 0 22 1 Urry H L 2010 Seeing thinking and feeling emotion regulating effects of gaze directed cognitive reappraisal Emotion 10 125 135 doi 10 1037 a0017434 Nolen Hoeksema S Morrow J 1993 Effects of rumination and distraction on naturally occurring depressed mood Cognition and Emotion 7 561 570 doi 10 1080 02699939308409206 24 0 24 1 Sheppes G Scheibe S Suri G Gross J J 2011 Emotion regulation choice Psychological Science 22 11 1391 1396 doi 10 1177 0956797611418350 Nolen Hoeksema S Wisco B E Lyubomirsky S 2008 Rethinking rumination Perspectives on Psychological Science 3 5 400 424 doi 10 1111 j 1745 6924 2008 00088 x Borkovec T D Robinson E Pruzinsky T DePree J A 1983 Preliminary exploration of worry Some characteristics and processes Behavior Research and Therapy 21 9 16 doi 10 1016 0005 7967 83 90121 3 Borkovec T D Inz J 1990 The nature of worry in generalized anxiety disorder A predominance of thought activity Behavior Research and Therapy 28 2 153 158 doi 10 1016 0005 7967 90 90027 g Wegner D M Zanakos S 1994 Chronic thought suppression Journal of Personality 62 615 640 doi 10 1111 j 1467 6494 1994 tb00311 x Schartau P E Dalgleish T Dunn B D 2009 Seeing the bigger picture training in perspective broadening reduces self reported affect and psychophysiological response to distressing films and autobiographical memories Journal of Abnormal Psychology 118 1 15 27 doi 10 1037 a0012906 Jackson D C Malmstadt J R Larson C L Davidson R J 2000 Suppression and enhancement of emotional responses to unpleasant pictures Psychophysiology 37 515 522 doi 10 1111 1469 8986 3740515 Ochsner K N Ray R R Cooper J C Robertson E R Chopra S Gabrieli J D E Gross J J 2004 For better or for worse Neural systems supporting the cognitive down and up regulation of negative emotion NeuroImage 23 483 499 doi 10 1016 j neuroimage 2004 06 030 32 0 32 1 Gross James John Oliver 2003 Individual differences in two emotion regulation processes Implications for affect relationships and well being PDF Journal of Personality and Social Psychology 85 2 348 62 doi 10 1037 0022 3514 85 2 348 PMID 12916575 33 0 33 1 Tamir M 2009 What do people want to feel and why Pleasure and utility in emotion regulation Current Directions in Psychological Science 18 2 101 105 doi 10 1111 j 1467 8721 2009 01617 x Ochsner K N Gross J J 2008 Cognitive emotion regulation Insights from social cognitive affective neuroscience Current Directions in Psychological Science 17 2 153 158 doi 10 1111 j 1467 8721 2008 00566 x Ayduk O Kross E 2009 Asking why from a distance facilitates emotional processing A reanalysis of Wimalaweera and Moulds 2008 Behavior Research and Therapy 47 88 92 doi 10 1016 j brat 2008 06 014 Ayduk O Kross E 2010 From a distance Implications of spontaneous self distancing for adaptive self reflection Journal of Personality and Social Psychology 98 5 809 829 doi 10 1037 a0019205 PMC 2881638 PMID 20438226 Samson A C Gross J J 2012 Humour as emotion regulation The differential consequences of negative versus positive humour Cognition and Emotion 26 2 375 384 doi 10 1080 02699931 2011 585069 Dan Glauser E S Gross J J 2011 The temporal dynamics of two response focused forms of emotion regulation Experiential expressive and autonomic consequences Psychophysiology 48 1309 1322 doi 10 1111 j 1469 8986 2011 01191 x Butler E A Egloff B Wlhelm F H Smith N C Erickson E A Gross J J 2003 The social consequences of expressive suppression Emotion 3 1 48 67 doi 10 1037 1528 3542 3 1 48 Richards Jane 2004 08 The Cognitive Consequences of Concealing Feelings Current Directions in Psychological Science 13 4 131 134 doi 10 1111 j 0963 7214 2004 00291 x Check date values in date help Sher KJ Grekin ER 2007 Gross JJ b k Alcohol and affect regulation Handbook of Emotion Regulation New York Guilford Press pp 560 580 CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint uses editors parameter link Oaten Megan Cheng Ken 2006 Longitudinal gains in self regulation from regular physical exercise British Journal of Health Psychology 11 4 717 733 doi 10 1348 135910706X96481 43 0 43 1 Walker Matthew P 2009 03 The Role of Sleep in Cognition and Emotion PDF Annals of the New York Academy of Sciences 1156 168 197 doi 10 1111 j 1749 6632 2009 04416 x PMID 19338508 subkhnemux 2015 11 25 Check date values in date help Beattie Louise Kyle Simon D Espie Colin A Biello Stephany M 2015 12 Social interactions emotion and sleep A systematic review and research agenda Sleep Medicine Reviews 24 83 100 doi 10 1016 j smrv 2014 12 005 subkhnemux 2015 11 24 Check date values in date help Marsha M Linehan 2005 Sulz 2000 Derryberr D Rothbart MK 2001 Kalverboer AF Gramsbergen A b k Early temperament and emotional development Handbook of Brain and Behavior in Human Development Dordrecht The Netherlands Kluwer Academic pp 967 988 CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint uses editors parameter link 48 0 48 1 Rothbart M Ziaie H O Boyle C Eisenberg N Fabes R b k Self regulation and emotion in infancy Emotion and Its Regulation in Early Development San Francisco Jossey Bass Pfeiffer pp 7 23 CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint uses editors parameter link Malatesta C Z Grigoryev P Lamb C Albin M Culver C 1986 Emotional socialization and expressive development in preterm and full term infants Child Development 57 2 316 330 doi 10 2307 1130587 PMID 3956316 Kochanska G Coy K C Murray K Y 2001 The development of self regulation in the first four years of life Child Development 72 4 1091 1111 doi 10 1111 1467 8624 00336 Stifter C A Braungart J M 1995 The regulation of negative reactivity in infancy Function and development Developmental Psychology 31 3 448 455 doi 10 1037 0012 1649 31 3 448 Kopp C 1982 Antecedents of self regulation A developmental perspective Developmental Psychology 18 199 214 doi 10 1037 0012 1649 18 2 199 Diener M Mangelsdorf S McHale J Frosch C 2002 Infants behavioral strategies for emotion regulation with fathers and mothers Associations with emotional expressions and attachment quality Infancy 3 153 174 doi 10 1207 s15327078in0302 3 Buss K A Goldsmith H H 1998 Fear and anger regulation in infancy Effects on temporal dynamics of affective expression Child Development 69 2 359 374 doi 10 1111 j 1467 8624 1998 tb06195 x PMID 9586212 Bridges L J Grolnick W S 1995 The development of emotional self regulation in infancy and early childhood Social Development 15 185 211 56 0 56 1 Calkins SD Hill A 2007 Gross JJ b k Caregiver influence on emerging emotion regulation Biological and environmental transactions in early development Handbook of Emotion Regulation New York Guilford Press pp 229 248 CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint uses editors parameter link Sroufe L A 1996 Emotional development The organization of emotional life in the early years New York Cambridge University Press CS1 maint uses authors parameter link Kochanska G 2001 Emotional development in children with different attachment histories The first three years Child Development 72 474 490 doi 10 1111 1467 8624 00291 Trehub S E Ghazban N Corbeil M 2015 Musical affect regulation in infancy Annals of the New York Academy of Sciences 1337 1 186 192 doi 10 1111 nyas 12622 Kopp C B 1989 Regulation of distress and negative emotions Developmental Psychology 25 3 343 354 doi 10 1037 0012 1649 25 3 343 Rueda MR Posner MI Rothbart MK 2004 Baumeister RF Vohs KD b k Attentional control and self regulation Handbook of self regulation Research theory and applications New York Guilford Press pp 283 300 CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint uses editors parameter link Kopp C 1989 Regulation of distress and negative emotions A developmental view Developmental Psychology 25 243 254 doi 10 1037 0012 1649 25 3 343 Thompson R A 1994 Emotional regulation A theme in search of definition Monographs of Society for Research in Child Development 59 2 3 doi 10 1111 j 1540 5834 1994 tb01276 x Harris P L 1983 Children s understanding of the link between situation and emotion Journal of Experimental Child Psychology 33 1 20 doi 10 1016 0022 0965 83 90048 6 Stegge H Terwog MM 2007 Gross JJ b k Awareness and regulation of emotion in typical and atypical development Handbook of Emotion Regulation New York Guilford Press pp 269 286 CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint uses editors parameter link Caspi A Moffitt T E Morgan J Rutter M Taylor A Arseneault L Tully L Jacobs C Kim Cohen J Polo Tomas M 2004 Maternal expressed emotion predicts children s antisocial behaviour problems Using monozygotic twin differences to identify environmental effects on behavioural development Developmental Psychology 40 2 149 161 doi 10 1037 0012 1649 40 2 149 PMID 14979757 Eisenberg N Zhou Q Koller S 2001 Brazilian adolescents prosocial moral judgement and behaviour Relations to sympathy perspective taking gender role orientation and demographic characteristics Child Development 72 2 518 534 doi 10 1111 1467 8624 00294 PMID 11333082 Maughan A Cicchetti D 2002 Impact of child maltreatment and interadult violence on children s emotional regulation abilities and socioemotional adjustements Child Development 73 5 1525 1542 doi 10 1111 1467 8624 00488 PMID 12361317 Valiente C Fabes R A Eisenberg N Spinrad T L 2004 The relations of parental expressivity and support to children s coping with daily stress Journal of Family Psychology 18 1 97 106 doi 10 1037 0893 3200 18 1 97 PMID 14992613 Zeman J Cassano M Perry Parrish C Stegall S 2006 Emotion regulation in children and adolescents Journal of Developmental and Behavioral Pediatrics 27 2 155 168 doi 10 1097 00004703 200604000 00014 Zeman J Garber J 1996 Display rules for anger sadness and pain it depends on who is watching Child Development 67 957 973 doi 10 2307 1131873 Garnefski N Kraaij V 2006 Relationships between cognitive emotion regulation strategies and depressive symptoms A comparative study of five specific samples Personality and Individual Differences 40 1659 1669 doi 10 1016 j paid 2005 12 009 Luna B Padmanabhan A O Hearn K 2010 What has fMRI told us about the development of cognitive control through adolescence Brain and Cognition 72 101 113 doi 10 1016 j bandc 2009 08 005 Labouvie Vief Gisela 2003 12 Dynamic Integration Affect Cognition and the Self in Adulthood Current Directions in Psychological Science 12 6 201 206 doi 10 1046 j 0963 7214 2003 01262 x Check date values in date help Davidson R J 1998 Affective Style and Affective Disorders Perspectives from Affective Neuroscience Cognition and Emotion 12 3 307 330 doi 10 1080 026999398379628 Ruef Anna Marie Levenson Robert W 2007 Coan James A Allen John J B b k Continuous measurement of emotion The affect rating dial Handbook of emotion elicitation and assessment Series in affective science New York NY US Oxford University Press pp 287 297 CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint uses editors parameter link Geschwind N Peeters F Drukker M Van Os J Wichers M 2011 Mindfulness training increases momentary positive emotions and reward experience in adults vulnerable to depression A randomized controlled trial Journal of Consulting and Clinical Psychology 79 5 618 28 doi 10 1037 a0024595 PMID 21767001 Frank DW Dewitt M Hudgens Haney ME Schaeffer DJ Ball BH Schwarz NF Hussein AA Smart LM Sabatinelli D 2014 Emotion regulation Quantitative meta analysis of functional activation and deactivation Neuroscience amp Biobehavioral Reviews 45 202 211 doi 10 1016 j neubiorev 2014 06 010 Davidson R J Putnam K M Larson C L 2000 Dysfunction in the neural circuitry of emotion regulation A possible prelude to violence Science 289 591 594 doi 10 1126 science 289 5479 591 80 0 80 1 Elfenbein H A Ambady N 2002 On the universality and cultural specificity of emotion recognition a meta analysis Psychological Bulletin 128 2 203 235 doi 10 1037 0033 2909 128 2 203 PMID 11931516 Ekman P Friesen W V Ancoli S 1980 Facial signs of emotional experience Journal of Personality and Social Psychology 39 1125 1134 doi 10 1037 h0077722 Izard C E 1990 Facial expressions and the regulation of emotions Journal of Personality and Social Psychology 58 3 487 498 doi 10 1037 0022 3514 58 3 487 PMID 2182826 Older Charles S T Carstensen L L 2008 Unpleasant situations elicit different emotional responses in younger and older adults Psychology and Aging 23 3 495 504 doi 10 1037 a0013284 Holodynski Manfred 2004 The Miniaturization of Expression in the Development of Emotional Self Regulation Developmental Psychology 40 1 16 28 doi 10 1037 0012 1649 40 1 16 PMID 14700461 85 0 85 1 Shcherbatykh Yu V 2000 Self Regulation of Autonomic Homeostasis in Emotional Stress Human Physiology 26 5 641 642 doi 10 1007 BF02760382 Miclea M Miu A 2010 Emotion Regulation and Decision Making Under Risk and Uncertainty Emotion Washington D C 10 2 257 65 doi 10 1037 a0018489 PMID 20364902 Gross J J 2002 Emotion regulation Affective cognitive and social consequences PDF Psychophysiology 39 3 281 91 doi 10 1017 s0048577201393198 PMID 12212647 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim PDF emux 2004 01 25 Unknown parameter deadurl ignored help Bandura A Caprara G V Barbaranelli C Gerbino M Pastorelli C 2003 Role of Affective Self Regulatory Efficacy in Diverse Spheres of Psychosocial Functioning Child Development 74 3 769 82 doi 10 1111 1467 8624 00567 JSTOR 3696228 PMID 12795389 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title karkhwbkhumxarmntnexng amp oldid 8392537, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม