fbpx
วิกิพีเดีย

ซุน ยัตเซ็น

ซุน ยัตเซ็น (12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1866 - 12 มีนาคม ค.ศ. 1925) เป็นนักประชาธิปไตยและนักปฏิวัติ ผู้ได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "บิดาของชาติ" ในสาธารณรัฐจีน และ "ผู้บุกเบิกการปฏิวัติประชาธิปไตย" ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ด้วยความเป็นผู้ริเริ่มจีนชาตินิยมคนสำคัญ ซุนมีบทบาทสำคัญในจุดประกายการโค่นล้มราชวงศ์ชิงที่ปกครองแผ่นดินจีนเป็นราชวงศ์สุดท้ายและเกือบนำประเทศไปสู่ความหายนะ ซุนได้ปลุกกระแสให้ชาวจีนหันมาตระหนักถึงความล้มเหลวของราชวงศ์ชิง กระทั่งกลายเป็นกระแสต่อต้านราชวงศ์และนำไปสู่การปฏิวัติซินไฮ่ ซึ่งเปลี่ยนประเทศจีนเป็นประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ ซุนเป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาลคนแรกเมื่อสาธารณรัฐจีนก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1912 และภายหลังร่วมก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋ง ซึ่งเขาเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก

ซุน ยัตเซ็น
孫中山 / 孫逸仙 / 孫文
ซุน ยัตเซ็นในปี ค.ศ. 1911
ประธานาธิบดีเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐจีน
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม ค.ศ. 1912 – 10 มีนาคม ค.ศ. 1922
รองประธานาธิบดี หลี หยวนหง
ก่อนหน้า ผู่อี๋ (จักรพรรดิจีน)
ถัดไป ยฺเหวียน ชื่อไข่
หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง
ดำรงตำแหน่ง
10 ตุลาคม ค.ศ. 1919 – 12 มีนาคม ค.ศ. 1925
ก่อนหน้า จัดตั้งตำแหน่ง
ถัดไป จาง เหรินจี๋ (ฐานะผู้บริหารพรรค)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด ซุน เต๋อหมิง (孫德明)
12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1866(1866-11-12)
จงซาน มณฑลกวางตุ้ง จักรวรรดิชิง
เสียชีวิต 12 มีนาคม ค.ศ. 1925 (58 ปี)
กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐจีน
ที่ฝังร่าง สุสานซุน ยัตเซ็น
พรรคการเมือง ก๊กมินตั๋ง
การเข้าร่วม
พรรคการเมืองอื่น
พรรคจีนปฏิวัติ
บิดา ซุน ต๋าเชิ๋ง
มารดา มาดาม หยาง
คู่สมรส หลู มู่เจิน (สมรส ค.ศ. 1885; หย่าปี 1915)
คาโอรุ โอตสึกิ (สมรส ค.ศ. 1903–1906)
ซ่ง ชิ่งหลิง (สมรส ค.ศ. 1915–1925)
คู่อาศัย เฉิน ซุ่ยเฟิน (อนุภรรยา) (1892–1925)
ฮารุ อาซาดะ (อนุภรรยา) (1897–1902)
บุตร ซุน โฝ
ซุน หย่วน
ซุน หว่าน
ฟูมิโกะ มิยากาวะ
ศาสนา คริสต์
ลายมือชื่อ
(ภาษาจีน)
ลายมือชื่อ
การเข้าเป็นทหาร
รับใช้ สาธารณรัฐจีน
สังกัด กองทัพสาธารณรัฐจีน
ประจำการ 1917–1925
ยศ จอมพลสูงสุด
การยุทธ์
บำเหน็จ เครื่องมหาอิสริยาภรณ์ (ได้รับบำเหน็จจากประธานาธิบดี ยฺเหวียน ชื่อไข่ แต่ซุนได้ปฏิเสธโดยตัวเขาเอง)

แม้ซุนถูกมองว่าเป็นหนึ่งในผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจีนสมัยใหม่ ชีวิตการเมืองของเขากลับต้องต่อสู้ไม่หยุดหย่อนและต้องลี้ภัยบ่อยครั้ง หลังประสบความสำเร็จในการปฏิวัติ เขากลับสูญเสียอำนาจอย่างรวดเร็วในสาธารณรัฐจีนที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น และนำรัฐบาลปฏิวัติสืบต่อมาเป็นการท้าทายขุนศึกที่ควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ซุนมิได้มีชีวิตอยู่เห็นพรรคของเขารวบรวมอำนาจเหนือประเทศระหว่างการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ (Northern Expedition) พรรคของเขา ซึ่งสร้างพันธมิตรอันละเอียดอ่อนกับพวกคอมมิวนิสต์ แตกเป็นสองฝ่ายหลังเขาเสียชีวิต มรดกสำคัญของซุนอยู่ในการพัฒนาปรัญาการเมืองของเขา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ หลัก 3 ประการแห่งประชาชน อันได้แก่ ชาตินิยม ประชาธิปไตย และความเป็นอยู่ของประชาชน

ในปัจจุบันนั้นซุน ยัตเซ็นถือเป็นบุคคลผู้สร้างความสามัคคีในจีนหลังยุคจักรวรรดิและยังคงเป็นนักการเมืองจีนสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพียงหนึ่งเดียวที่ได้รับความเคารพนับถืออย่างกว้างขวางจากประชาชนทั้งสองฟากฝั่งช่องแคบไต้หวันซึ่งได้แก่ ในสาธารณรัฐจีนที่ตั้งอยู่บนเกาะไต้หวันและในสาธารณรัฐประชาชนจีนที่อยู่บนจีนแผ่นดินใหญ่

ประวัติช่วงต้น

 
ซุน ยัตเซ็น (แถวหลัง, คนที่ห้าจากซ้าย) และครอบครัว

ชื่อ

ชื่อเกิดของท่านมีว่า ซุน เหวิน (จีน: 孫文) และชื่อทางการของเขาคือ ซุน เต๋อหมิง (จีน: 孫德明) ต่อมาเรียกว่า ซุน อี้เซียน (จีน: 孫逸仙) ซึ่งออกเสียงเป็น ซุน ยัตเซ็น ในภาษาจีนกวางตุ้ง มีความหมายว่า เทพเจ้าอิสระ โดยชื่อ ซุน ยัตเซ็น นั้นท่านได้เริ่มใช้เมื่อมีอายุ 33 ปี ส่วนภาษาจีนกลางเรียกเขาว่า ซุน จงซาน (จีน: 孫中山) นอกจากนี้เขาก็ใช้นามแฝงในวรรณกรรมว่า รื่อซิน (จีน: 日新) อีกด้วย

วัยเด็ก และการศึกษา

 
ซุน ยัตเซ็นในวัย 17 ปี แต่งกายตามแบบแมนจู ช่วงสมัยราชวงศ์ชิง

ซุน ยัตเซ็น หรือ ดร. ซุน ยัตเซ็น เกิดเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 1866 ที่อำเภอจงซาน มณฑลกวางตุ้งของจีน ในครอบครัวชาวนาที่ยากจน ซึ่งมีเชื้อสายของพื้นหลังครอบครัวเป็นชาวจีนฮากกา ครอบครัวของซุนต้องอาศัยอยู่ในกระต๊อบหลังเล็กที่ชายหมู่บ้านอาศัยมันเทศเป็นอาหารหลักแทนข้าว ซุนมีลักษณะนิสัยเหมือนกับมารดา คือเป็นคนที่ค่อนข้างเงียบ ไม่ค่อยชอบพูดจา พอซุนอายุ 7 ปีท่านก็ได้เรียนหนังสือ ต่อมาก็ได้มีบาทหลวงมาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ท่านจึงได้คลุกคลีกับบาทหลวงเพื่อขอดูแผนที่และเกิดความสนใจในประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์ ซุนฉายแววเป็นคนฉลาดมาตั้งแต่เด็ก อ่านหนังสือเป็นพิเศษ โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจ ปรัชญา แล้วยังชอบที่จะอ่านแผนที่อีกด้วย ตั้งแต่ตัวท่านไม่ค่อยพูดเกี่ยวกับความสนใจเท่าใดนัก และไม่ชอบฟังเพลง ทางด้านการทานอาหาร ท่านชอบทานผักเนื้อปลา ไม่ชอบทานเผ็ด ผลไม้ที่ท่านชอบที่สุดคือส้มและสับปะรด

ปู่ของซุน ซุนจิ้งเสียนเป็นชาวนายากจนที่ต้องเช่านาเขาทำเพื่อความอยู่รอด บิดาของเขาซุนต๋าเฉิงต้องไปประกอบอาชีพเป็นช่างปะรองเท้าที่มาเก๊าในวัยหนุ่ม ต่อมาได้กลับบ้านเช่านาเขาทำ และเป็นยามในหมู่บ้านพร้อมกันไปด้วย ส่วนพี่ชายของเขาซุนเหมยเป็นคนงานในบ้านเจ้าของที่ดินในหมู่บ้านติดกัน

เมื่อซุนอายุได้ 10 ปี จึงได้เริ่มย้ายไปเรียนหนังสือที่ตลาด ในช่วงนั้นท่านมุมานะเรียนหนังสืออย่างตั้งใจ แม้แต่บิดาของซุนผู้ยากจนในอาชีพเกษตรกรรมจะมัธยัสถ์ ด้วยการประหยัดค่าน้ำมันที่ใช้จุดไฟในตอนกลางคืนที่มีแสงจันทร์ก็ตาม แต่ซุนก็ไม่ย่นย่อที่อ่านหนังสือตำราต่าง ๆ ภายใต้แสงสว่างของดวงจันทร์

ริเริ่มแนวความคิดต่อต้านราชวงศ์ชิง

ประเทศจีนในขณะนั้นปกครองโดยราชวงศ์ชิงที่เป็นชนต่างชาติชาวแมนจูเข้ามาปกครองประเทศจีนยาวนานนับทศวรรษ อีกทั้งช่วงนั้นถือหัวเลี้ยวหัวต่อที่สังคมศักดินาของจีนแปรเปลี่ยน เป็นสังคมกึ่งเมืองกึ่งศักดินา ความพ่ายแพ้และการยอมจำนนอันอัปยศในสงครามฝิ่นของรัฐบาลราชวงศ์ชิงสองครั้ง สองครา ทำให้ประเทศจีนสูญเสียเอกราชทางการเมืองและตกเป็นทาสทางเศรษฐกิจของทุนนิยมต่างชาติ ขณะเดียวกันการต่อสู้ของประชาชนจีนต่ออิทธิพลรุกรานของต่างชาติและอิทธิพลของศักดินาจีน ซุดยัดเซ็นต้องทำนาตั้งแต่อายุได้เพียง 6 ขวบ เริ่มเรียนหนังสือกับครูที่สอนในบ้านเมื่ออายุได้ 10 ขวบ

ในเวลานั้นมีนักรบผู้เฒ่าคนหนึ่งชื่อ ฝงส่วงกวาน ซึ่งเคยร่วมการปฏิวัติไท่ผิงเทียนกว๋อ มักจะเล่านิทานการโค่นบัลลังก์ราชวงศ์ชิงของหงซิ่วฉวน และหยางซิ่วซิงให้เด็ก ๆ ในหมู่บ้านฟังเสมอ พอเล่าถึงตอนก่อการที่จินเถียน ตั้งเมืองหลวงที่นานกิง และตีค่ายใหญ่ของทหารราชวงศ์ชิงฝั่งเหนือ และใต้ของแม่น้ำแยงซีเกียงแตก จนเจิงกว๋อฟานต้องกระโดดน้ำตาย เด็ก ๆ ก็ดีใจลิงโลด ซุนยัดเซ็นมีความสนใจเรื่องราวเกี่ยวการจับอาวุธลุกขึ้นสู้ของชาวนา อาทิ หงซิ่งฉวนและหยางซิ่วซิงเป็นอย่างยิ่งมาตั้งแต่เยาว์วัย เวลานั้นซุดยัดเซ็นก็เริ่มรู้สึกว่า สังคมประเทศจีนในขณะนั้นมีบางสิ่งบางอย่างที่ไม่ยุติธรรม เขาเห็นเจ้าหน้าที่เกณฑ์เสบียงอาหารกับชาวบ้านบังคับเก็บภาษี หรือไม่ก็จับกุม ถูกรีดภาษีอากรเพิ่มทุกปี โดยชนชั้นปกครองราชวงศ์ไม่เคยทำประโยชน์ให้แก่ราษฎรแม้แต่น้อย การฉ้อราษฎร์บังหลวงข่มประชาชนและขนบธรรมเนียมประเพณีอันเป็นศักดินาของประเทศจีนในอดีตนั้น ซุนยัดเซ็นในเยาว์วัยได้ประสบพบเห็นมาด้วยตัวเอง จึงทำให้เขาเริ่มเกิดความสงสัยและไม่พอใจมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ

อยู่มาวันหนึ่งมีกรรมการอำเภอและตำรวจในราชสำนักชิงได้มาจับกุมผู้คนในหมู่บ้านไป 3 คน คนหนึ่งถูกลงโทษประหารตัดหัวกลางตลาด ส่วนอีก 2 คน ถูกจองจำไว้ ชาวบ้านต่างโกรธไม่พอใจในการที่ต่างไม่รู้ข้อหา และไม่ได้รับความเป็นธรรมจากทางบ้านเมืองของการจับผู้ต้องหา 3 คนนั้น ซุนจึงเดินนำออกไปคัดค้านและสอบถามข้อมูลของสาเหตุที่ผู้ต้องหาทั้ง 3 ถูกลงโทษแต่ทำให้เจ้าหน้าที่กรรมการอำเภอในราชวงศ์ชิงโกรธมากถึงกับด่าทอและทุบตีทำร้ายท่าน อีกทั้งยังใช้มีดพยายามที่จะแทงท่าน แต่ถือเป็นโชคของท่านที่สามารถหลบปลายมีดได้ทันและหนีออกมาได้ จึงเป็นวีรกรรมที่ท่านก่อขึ้นในขณะที่อายุยังน้อย

หลังจากก่อวีรกรรมดังกล่าวแล้วท่านได้พบกับเพื่อนสนิทคือ ลู่ เฮาตง ต่อมาในปี ค.ศ. 1871 ท่านก็ได้เดินทางไปเรียนที่เมืองโฮโนลูลู ฮาวาย และอยู่ทำงานกับ ซุนเหมย พี่ชายของเขาและกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเลที่ได้อพยพจากบ้านเกิดเมืองนอนไปประกอบชีพการค้าหรือไม่ก็เป็นแรงงานกุลีรับจ้างที่นั่น ในปี ค.ศ. 1871 ซุนได้พลัดพรากจากบ้านเกิดไปหาเลี้ยงชีพยังหมู่เกาะฮาวายอันไกลโพ้น โดยแรก เริ่มทำงานในสวนผัก ไม่นานก็ไปเป็นคนงานในไร่ปศุสัตว์ จากนั้นได้หักร้างถางพงดำเนินกิจการคอกปศุสัตว์จนได้รับความสำเร็จกลายเป็น นายทุนชาวจีนโพ้นทะเลปีที่ซุนยัดเซ็นเกิดนั้น เป็นปีที่ 6 หลังจากทหารพันธมิตรอังกฤษ ฝรั่งเศสบุกเข้านครปักกิ่ง และเป็นปีที่ 2 หลังจากนครนานกิงซึ่งเป็นเมืองหลวงของไท่ผิงเทียนกว๋อ (ขบวนการเมืองแมนแดนสันติ) ถูกยึดครอง

การศึกษาที่ฮาวาย

ซุน ยัดเซ็นเริ่มต้นชีวิตการศึกษาเมื่ออายุ 12 ปี โดยเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษา 2 แห่ง ที่เกาะฮาวาย ตอนที่เขาอายุได้ 12 ขวบ ซุนยัดเซ็นก็เดินทางไปฮาวายพร้อมกับมารดาเพื่อไปอาศัยอยู่กับพี่ชายของเขาที่นั่น การเดินทางออกนอกประเทศเป็นครั้งแรก ทำให้เขาได้เปิดหูเปิดตาสู่โลกภายนอกเขาเริ่มงานโดยเป็นลูกจ้างอยู่ในร้าน ขายของของพี่ชายที่คาฮูลูอิในเกาะมาอูอิ เขาได้เรียนรู้การทำบัญชีและดีดลูกคิด ทั้งหัดพูดภาษาท้องถิ่น ไม่นานซุนได้เข้าเรียนในโรงเรียนเปาโล

ปีถัดมาค.ศ. 1879 เขาก็ได้เข้าเรียนหนังสือในโรงเรียนมัธยมชายอิโอลันนี ซึ่งเป็นโรงเรียนของคริสต์จักรอังกฤษในฮอนโนลูลู จบการศึกษาปี ค.ศ. 1882

ต่อจากนั้นได้เข้าเรียนต่อที่โออาร์โฮไฮสกูล ซึ่งเป็นของคริสต์จักรอเมริกา ในการสอนของโรงเรียนดังกล่าวข้างต้นใช้ภาษาอังกฤษทั้งหมด ซุนพากเพียรเรียนหนังสือวิชาต่าง ๆ จนได้เป็นนักเรียนที่มีคะแนนนิยมดีเด่น ในเวลาว่างนอกจากเรียนภาษาจีนด้วยตนเองยังชอบอ่านชีวประวัติของนักปฏิวัติชนชั้นนายทุน อาทิ ชีวประวัติของวอชิงตัน,ลินคอล์น ในเวลานั้นประชาชนฮาวายได้เกิดการรณรงค์ต่อสู้คัดค้านอเมริกา โดยเสนอคำขวัญว่า ฮาวายเป็นของชาวฮาวาย การโจมตีและขับไล่ศัตรูผู้รุกรานเกิดขึ้นทั่วไป การต่อสู้คัดค้านชาวอเมริกันผู้รุกรานอย่างห้าวหาญของประชาชนฮาวายที่ซุนได้ เห็นกับตา ทำให้เขาคิดถึงประเทศจีนที่ถูกจักรวรรดินิยมรุกราน และเกิดอุดมการณ์ในอันที่จะคัดค้านลัทธิอาณานิคมและเรียกร้องความเป็นเอกราชของประเทศจีน

เมื่อได้ศึกษาในต่างประเทศ เปิดโลกทัศน์ได้ซุนยัดเซ็นเห็นถึงการคัดค้านต่อสู้ทางการเมืองในหลายรูปแบบ จึงทำให้เกิดความคิดและแรงบันดาลใจที่จะกอบกู้ประเทศชาติ ในระหว่างที่อยู่ที่ฮาวายนี้ศึกษาซุนได้ศึกษาวิทยาศาสตร์ และศึกษาคัมภีร์ไบเบิลอย่างลึกซึ้ง ทำให้ซุนเกิดความคิดที่จะเปลี่ยนศาสนาขึ้นมา ความใกล้ชิดต่อคริสต์ศาสนา และห่างไกลจากลัทธิขงจื๊อซึ่งครอบครัวท่านยึดถือ ทำให้พี่ชายกังวลจนถึงขั้นแจ้งข่าวให้ทางบ้านทราบ และส่งตัวน้องชายกลับบ้าน

ซุนกลับประเทศจีนเมื่อปี ค.ศ. 1883 การที่ได้พำนักและศึกษาในต่างประเทศเป็นเวลา 5 ปี ทำให้ซุนได้เห็นความเจริญต่าง ๆ ทำให้เขามีความรู้สึกว่า ความไม่เป็นธรรมต่าง ๆ ในสังคมจีนจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง และทำให้ซุนเกิดความปรารถนาที่จะพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนของตน เมื่อกลับสู่มาตุภูมิแล้ว ซุนพยายามปลุกระดมชาวบ้านให้เกิดความสำนึกที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมโดยการโจมตีความเน่าเฟะของบ้านเมือง และขนบธรรมเนียมประเพณีอันล้าหลังของประเทศจีน อีกด้านหนึ่งเขาได้เริ่มลงมือพัฒนาการบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น ติดตั้งไฟส่องถนนหนทาง การวางเวรยามป้องกันโจรผู้ร้าย จากบันทึกความทรงจำเกี่ยวกับการปฏิบัติการเปลี่ยนแปลงในระยะแรกของเขาก็คือ เขาเห็นว่าความเชื่อโบราณของจีนเป็นเรื่องงมงาย ถึงขั้นทำลายเทวรูปในหมู่บ้าน และกล่าวว่าเป็นเพียงวัตถุไร้สาระที่ชาวบ้านงมงายอย่างไม่ลืมหูลืมตา เมื่อเกิดเป็นเรื่องวุ่นวาย เนื่องจากชาวบ้านโกรธแค้นอย่างมาก บิดาของซุนยัดเซ็นจึงต้องแก้ปัญหาด้วยการส่งตัวลูกชายไปศึกษาต่อที่ฮ่องกง ขณะที่ท่านศึกษาที่ฮ่องกงขณะนั้นฮ่องกงเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ท่านได้จบการศึกษาจากวิทยาลัยการแพทย์ตะวันตกในฮ่องกง ด้วยคะแนนจากการสอบไล่เป็นอันดับหนึ่ง ทำให้ท่านถูกขนานนามว่า ดร.ซุนยัตเซ็น

ในฐานะนักปฏิวัติ

สี่สหาย

 
ภาพของซุน ยัตเซ็น (นั่งคนที่สองจากซ้าย) และสมาชิกปฏิวัติสี่สหาย ได้แก่ ยึงฮกลิง (ซ้าย), ชานซิวบาก (นั่งคนที่สองจากขวา), เยาลิต (ขวา) และ กวน จิงเลี่ยง (จีน: 關景良) (ยืน) ที่วิทยาลัยการแพทย์ในฮ่องกง

ในระหว่างที่ ซุนยัดเซ็น พำนักอยู่ในฮ่องกงก็ได้พบปะกับเหล่านักศึกษาที่มีแนวความคิดเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่ประชาธิปไตย ซึ่งซุนได้เริ่มตั้งกลุ่มขึ้นโดยใช้ ชื่อเล่นว่า "สี่สหาย" ที่วิทยาลัยการแพทย์ฮ่องกง การตั้งกลุ่มสี่สหายได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดกันและโต้เถียงปัญหาการเมือง ซึ่งทำให้ซุนเริ่มมีแนวความคิดต่อต้านการปกครองของราชวงศ์ชิงขึ้น

การงาน และการต่อต้านราชวงศ์ชิง

นายแพทย์ซุน ยัตเซ็น ได้เป็นแพทย์ที่มาเก๊าและกวางโจว ในขณะที่ทำงานเป็นแพทย์ ซุนมีลักษณะนิสัยที่ชอบช่วยเหลือผู้คน บางครั้งท่านก็รักษาคนไข้ฟรีด้วย การรักษาคนไข้ของซุนทำให้ซุนได้รับรู้ถึงความทุกข์ยากของผู้คนที่มาให้ท่านรักษาที่ต่างล้วนแต่ยากจนและอับจนหนทางในชีวิตจนต้องอยู่ไปวัน ๆ แบบไร้อนาคต ซุนได้ตระหนักว่าสาเหตุเหล่านี้ล้วนเกิดจากสังคมที่สิ้นหวังทุกหย่อมหญ้า อันเนื่องมาจากระบบสังคมและการปกครองที่ต่างหยุดนิ่งโดยไม่พัฒนาไปด้านไหนมาเป็นเวลายาวนานตลอดช่วงการปกครองของราชวงศ์ชิงทำให้ประเทศจีนไม่สามารถตามโลกได้ทัน ซึ่งสาเหตุหลักนั้นก็มาจากการปกครองภายใต้ราชวงศ์ที่สวนกระแสโลกในขณะนั้น จนทำให้จีนไม่ทันความเจริญและการเปลี่ยนแปลงของโลก ซุนยังตระหนักอีกว่าเราต้องทำอะไรสักอย่างให้ประเทศจีนและชาวจีนหลุดพ้นจากวงจรที่เลวร้ายเหล่านี้ ทำให้ท่านคิดว่าไม่ใช่เพียงร่างกายคนเท่านั้นที่ต้องการการรักษายังต้องรักษาความคิดและจิตใจของคนอีกด้วย ซึ่งประเทศจีนตอนนั้นก็เปรียบเสมือนคนป่วยคนหนึ่ง ดังนั้นท่านจึงพยายามที่จะรักษาประเทศของท่านเองด้วยวัยเพียง 18 ปี ท่านได้เขียนร่างจดหมายถึงรัฐบาลจีน เพื่อขอร้องให้มีการปฏิรูป

เขียนฎีกาขอร้องการปฏิรูปประเทศ

ซุน ยัดเซ็นเวลานั้นมีความคิดอ่านปฏิวัติบ้างแล้ว ยังไม่ถึงขั้นเป็นนักปฏิวัติประชาธิปไตย เขาได้รับแรงดลใจจากแนวความคิดลัทธิปฏิรูปที่แพร่หลายอยู่ในประเทศจีนชั่วขณะหนึ่ง โดยฝากความหวังไว้กับขุนนางผู้ใหญ่บางคนของชนชั้นปกครอง ก้าวไปตามวิถีทางของลัทธิปฏิรูปด้วยคิดว่าความคิดอ่านของตนอาจได้รับความเห็นขอบจากขุนนางผู้ใหญ่บางคน

ครั้นแล้ว ฤดูร้อนปี ค.ศ. 1894 ซุนขอเข้าพบขุนนางผู้ใหญ่ หลี่ หงจาง (จีน: 李鸿章) ขุนนางคนสำคัญของราชสำนักชิงผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ซึ่งกุมอำนาจทางการทหาร การบริหารและการทูตของราชสำนักชิงอยู่ในเวลานั้น โดยการเสนอให้ปฏิรูปการปกครอง แต่ซุนก็ไม่เคยมีแม้กระทั่งโอกาสที่จะได้เข้าพบหลี่หงจาง ซ้ำความคิดเห็นของเขาก็มิได้รับความสนใจเอาเลย ขุนนางผู้ใหญ่ศักดินาที่เป็นขี้ข้าและนายหน้าค้าต่างของจักรวรรดินิยมหรือ จะสามารถรับข้อเสนอที่มีลักษณะก้าวหน้าในยุคนั้นได้

เมื่อถูกปฏิเสธครั้งแรก ซุนได้ร่างฎีกาเป็นหนังสือเรียกร้องขอให้มีการปฏิรูปประเทศ หนังสือที่เขาเขียนถึงหลี่นั้น มีความยาวถึงแปดพันคำ กล่าวโดยสรุปสาระสำคัญของบันทึกฉบับนี้คือ ฝากความหวังไว้กับคนชั้นสูงของชนชั้นปกครองให้ดำเนินมาตรการปฏิรูปของชนชั้นนายทุนบางประการและเรียกร้องให้มีการนำหลักประชาธิปไตยมาใช้ และในปีเดียวกันซุนได้พยายามถือฎีกาเดินทางขึ้นไปยังปักกิ่งเมืองหลวง เพื่อส่งจดหมายถึง หลี่ หงจาง โดยซุนต้องการเสนอแนวทางการพัฒนาจีนให้กับเขา แต่กลับถูกปฏิเสธอย่างไร้เยื่อใย หลี่ หงจางได้ฉีกฎีกาจดหมายนั้นลงถังขยะ พร้อมทั้งกล่าวเหยียดหยันซุนว่าเป็นคนไม่มีสัมมาคารวะ

สมาคมซิงจงฮุ่ย

เมื่อถูกปฏิเสธ ซุนจึงตระหนักดีว่า การเปลี่ยนแปลงจีนให้หลุดจากการปกครองของราชวงศ์ชิง นั้นไม่สามารถทำได้ด้วยวิธีอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่จำเป็นต้องกระทำการแบบ "พลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน" อันหมายถึง "การใช้กำลังปฏิวัติ" ดังนั้น ในฤดูหนาวปีเดียวกัน ซุนจึงเดินทางกลับไปยังฮาวาย โดยมีแนวความคิดที่จะรวบรวมชาวจีนโพ้นทะเลผู้รักชาติขึ้น ดังนั้นในปีเดียวกันท่านและลู่ เฮาตง สหายของท่านได้ก่อตั้งองค์การจัดตั้งการปฏิรูปขึ้นมาหรือที่เรียกว่า "สมาคมซิงจงฮุ่ย" (จีน: 兴中会) ที่มีความหมายว่า "ฟื้นฟูประเทศจีน" ขึ้น ทั้งนี้เงินทุนสนับสนุนสมาคมดังกล่าวก็มาจาก ซุนเหมย พี่ชายของท่าน และตั้งแต่นั้นมาซุนยัตเซ็นก็ได้เริ่มชีวิตที่เปลี่ยนไป ท่านได้ทำการต่อสู้กับราชสำนักชิง โดยหวังว่าประเทศจีนจะสามารถกลายเป็นประเทศที่เป็นอิสระ เสมอภาค และมั่นคง เขาค่อย ๆ รู้สึกว่า วิถีทางปฏิรูปโดยสันตินั้นจะมีประโยชน์อันใด จำเป็นต้องใช้วิธีการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานแทนวิธีการปฏิรูปเพียงส่วนหนึ่ง

ในปีเดียวกันสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่หนึ่ง ได้ระเบิดขึ้น สงครามครั้งนี้เหล่าทหารหาญจีนได้ต่อสู้อย่างทรหดและห้าวหาญ แต่รัฐบาลราชวงศ์ชิงที่เหลวแหลก และไร้สมรรถภาพมิกล้าทำสงครามอย่างเด็ดเดี่ยวทำให้ฝ่ายจีนต้องได้รับความเสียหายอย่างหนัก สร้างความสะเทือนใจ และเคียดแค้นให้แก่มวลชนทั่วประเทศ บัดนั้นเอง ซุนยัดเซ็นรู้สึกอีกครั้งหนึ่งว่า ประเทศจีนกำลังเผชิญกับวิกฤตของประชาชาติอย่างหนัก ยิ่งกว่านั้นเขาได้สำนึกว่า สันติวิธีนั้นใช้การไม่ได้เลยจึงจำเป็นต้องใช้วิธีการรุนแรงโดยการปฏิวัติเท่านั้น ที่เป็นวิถีทางเดียวที่จะแก้วิกฤติของประเทศจีนได้ ซุนยัดเซ็นได้เดินทางไป อเมริกาด้วยอุดมการณ์อันยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เขาได้ติดต่อและปลุกระดมชาวจีน ในตอนแรกคนที่สนับสนุนความคิดอ่านของเขานั้นมีอยู่เพียงไม่กี่คนจัดตั้ง สมาคมเพื่อการปฏิวัติครั้งแรกจึงเป็นชนชั้นที่เป็นกลุ่มของชนชั้นนายทุนที่มีความรู้

ด้วยความมานะในการเคลื่อนไหวซึ่งในที่สุดเขาก็ได้รับการสนับสนุนจากคนจำนวนหนึ่งทำการก่อตั้งสมาคมซิงจงฮุ่ย (ฟื้นฟูจีน) ซึ่งเป็นสมาคมปฏิวัติขนาดเล็กของชนชั้นนายทุนช่วงแรก ๆ ของจีน และเปิดการประชุมที่ฮอนโนลูลู ที่ประชุมได้มีมติผ่านร่างระเบียบการของสมาคมที่ซุนเป็นผู้ร่าง ในระเบียบการระบุว่า

"ประเทศจีนตกอยู่ภาวะคับขัน ปัจจุบันมีศัตรูล้อมรอบคอยจ้องตะครุบทรัพยากรธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ของจีน โดยเหล่าศัตรูพากันรุมเข้ามารุกรานและยึดครองจีน แล้วดำเนินการแบ่งสันปันส่วนอันเป็นสิ่งน่าวิตกอย่างยิ่ง พร้อมกันนั้นก็ประนามชนชั้นปกครองราชวงศ์ชิงที่โง่เขลาและไร้สมรรถภาพว่า ฝ่ายราชสำนักก็โอนอ่อนผ่อนตาม ส่วนขุนนางหรือก็โง่เขลาเบาปัญญา ไม่สามารถมองการณ์ไกล ทำให้ประเทศชาติต้องเสียทหาร ได้รับความอัปยศอดสูพวกขี้ข้าพาให้บ้านเมืองสู่ความหายนะ มวลชนต้องได้รับเคราะห์กรรมทนทุกข์ทรมานไม่มีวันโงหัว การก่อตั้งสมาคมนี้ขึ้นก็เพื่อกอบกู้ชาติบ้านเมือง ผดุงไว้ซึ่งศักดิ์ศรี เพื่อรวบรวมประชาชนจีนทั้งใน และนอกประเทศ เผยแพร่อุดมการณ์กู้ชาติ"

ในคำปฏิญาณของผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกนั้น ยังได้ย้ำอีกว่า จะต้องขับไล่พวกแมนจู ที่ป่าเถื่อนออกไป ฟื้นฟูประเทศจีนจัดตั้งสาธารณรัฐ อันเป็นความคิดที่มีลักษณะปฏิวัติ ได้เสนออุดมการณ์ให้โค่นล้มราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นทาสรับใช้ของจักรวรรดินิยม และสถาปนาสาธารณรัฐ ปกครองโดยประชาธิปไตย มีชนชั้นนายทุนสนับสนุนแบบตะวันตกต่อประชาชนจีนเป็นครั้งแรก ซึ่งได้กลายเป็นหลักนโยบายอันแรกของการปฏิวัติของชนชั้นนายทุนประเทศจีน

การปฏิวัติที่กว่างโจว

 
"ธงท้องฟ้าสีคราม ตะวันสาดส่อง" ซึ่งใช้เป็นธงของสมาคมซิงจงฮุ่ยในการปฏิวัติที่กว่างโจว

ด้วยความรวดเร็ว สมาคมซิงจงฮุ่ย วางแผนการปฏิวัติในทันที และกำหนดเอาวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ.1895 เป็นวันลงมือ โดยแผนการดังกล่าวนั้น ใช้กำลังคน 3,000 คน เพื่อยึดเมืองกว่างโจว เมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง เพื่อใช้เป็นฐานในการขยายการปฏิวัติต่อไป โดยในการปฏิวัติดังกล่าว ลู่เฮ่าตง เพื่อนสนิทตั้งแต่ยังเด็กผู้เชื่อมั่นในอุดมการณ์ปฏิวัติของซุน ได้ออกแบบ "ธงฟ้าสีน้ำเงินกับดวงตะวันสีขาว" ไว้ใช้ด้วย (ในเวลาต่อมาธงดังกล่าวได้กลายเป็นธงชาติของสาธารณรัฐจีน) อย่างไรก็ตาม การลงมือปฏิวัติครั้งแรกของซุน กลับล้มเหลวลงอย่างไม่เป็นท่า เนื่องจากมีคนทรยศ นำข่าวไปบอกกับเจ้าหน้าที่ของราชสำนักชิงก่อน ซึ่งก็ทำให้ผู้ร่วมปฏิวัติถูกประหารชีวิตตัดหัวไป 47 คน รวมถึง ลู่เฮ่าตง ส่วนดร.ซุนซึ่งไหวตัวทันก่อนจึงได้รอดชีวิตและหลบหนีได้สำเร็จ หลังจากการปฏิวัติในกว่างโจวประสบความล้มเหลว ซุนได้สลายผู้ที่มาร่วมก่อการอย่างสุขุม จากนั้นเขาก็เดินทางโดยทางเรือออกจากกว่างโจว ผ่านฮ่องกงไปลี้ภัยที่ประเทศญี่ปุ่น แล้วก็ก่อตั้งสาขาสมาคมซิงจงฮุ่ยขึ้นที่โยโกฮามา ซุนก็ตัดผมหางเปียแบบแมนจูทิ้ง เปลี่ยนเครื่องแต่งกายมาใส่สูทแบบชาวตะวันตกเพื่อแสดงถึงความเด็ดเดี่ยวในการปฏิวัติ และเดินทางไปประเทศต่าง ๆ เพื่อปลุกระดมชาวจีนให้เข้าร่วมการปฏิวัติ

 
ดร.ซุน ยัตเซ็น ในช่วงขณะทำการเคลื่อนไหวประชาธิปไตย

หลังจากตั้ง สาขาซิงจงฮุ่ย ขึ้นที่ญี่ปุ่น เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1896 ซุนก็เดินทางต่อไปยังสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ เพื่อศึกษาแนวคิดทางการเมืองของประเทศต่าง ๆ ในสหรัฐฯ และ ยุโรป โดยได้รับความช่วยเหลือจาก ดร.เจมส์ แคนต์ลี (Dr. James Cantlie) อาจารย์ชาวอังกฤษที่เคยสอนเขา ณ วิทยาลัยการแพทย์ในฮ่องกง และได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากพี่ชายคนเดิม

การถูกจับลักพาตัวที่อังกฤษ ประชาชาติเคลื่อนไหว

วันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1896 ระหว่างการเดินไปตามท้องถนนในกรุงลอนดอน ซุนก็ถูกลักพาตัวเข้าไปยังสถานทูตจีนประจำกรุงลอนดอน เพื่อส่งตัวลงเรือจากลอนดอนกลับไปยังจีนเพื่อ 'ตัดหัว' ตามคำบัญชาขององค์ชายไจ้เฟิง ราชสำนักชิงนั้นตั้งค่าหัวของเขาไว้ 7,000 ปอนด์ ในฐานะกบฏต่อราชสำนัก หรือไม่ถ้าการลอบพาตัวซุน กลับไปจีนไม่สำเร็จก็จะสังหารเสียที่สถานทูตจีนที่ลอนดอน

อย่างไรก็ตามด้วยความช่วยเหลือจาก พนักงาน ชาวอังกฤษในสถานทูต ที่ส่งข่าวไปให้ ดร.แคนต์ลี อาจารย์แพทย์ผู้ชิดเชื้อกับ ซุน ยัตเซ็น ดร.แคนต์ลีก็ทำการช่วยเหลือศิษย์ทุกวิถีทาง โดยทางหนึ่งติดต่อไปยัง สก๊อตแลนด์ยาร์ด เมื่อไม่ได้ผลจึงประโคมข่าวผ่านทางหนังสือพิมพ์เดอะ โกลบ และ เดอะไทมส์ ที่ลงพาดหัวว่า "นักปฏิวัติจีนถูกลักพาตัวในลอนดอน" ข่าวดังกล่าวเป็นกระแสในหมู่คนอังกฤษ และกดดันให้รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษต้องติดต่อไปยังสถานทูตจีนเพื่อเจรจา จนสุดท้ายสถานทูตจีนในลอนดอนต้องปล่อยตัวซุน ออกมาหลังจากกักตัวไว้นาน 12 วัน ซึ่งในตอนหลังซุนได้นำเหตุการณ์ตอนนี้มาเขียนโดยละเอียดโดยใช้ชื่อว่า Kidnapped in London

หลังจากรอดพ้นจากวิกฤตการณ์ที่เกือบถึงแก่ชีวิตซุน ก็ขลุกตัวอยู่ในห้องสมุดของบริติชมิวเซียมเป็นเวลาถึง 9 เดือนเศษ จากนั้นถึงเดินทางมายังแผ่นดินยุโรป เพื่อศึกษาถึงแนวทางการเมืองของสังคมโลกในขณะนั้น โดยเฉพาะแนวโน้มในการปฏิรูป ปฏิวัติ รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศต่าง ๆ จนในที่สุด ปี ค.ศ.1897 เขาจึงพัฒนาแนวคิดที่ว่าด้วยการปฏิวัติสังคม อันต่อเนื่องกันกับการปฏิวัติชาติกับประชาธิปไตยที่คิดไว้ก่อน

หลักแนวคิดลัทธิไตรราษฎร์

หลักการประชาธิปไตยของดร.ซุน ยัดเซ็นซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดก็คือ หลักสามประการแห่งประชาชน หรือ ลัทธิไตรราษฎร์ ซานหมินจู่อี้ (จีน: 三民主义) (The Three Principles of the people) อันได้แก่เอกราชแห่งชาติ (หมินจู่) อำนาจอธิปไตยของประชาชน (หมินฉวน) และหลักในการครองชีพ (หมินเซิง) ภาษาอังกฤษนิยมแปลเป็นหรือ socialism ซึ่งสามารถสรุปได้โดยย่อคือ

  • 1) ชาตินิยม (หมินจู่) หรือหลักการถือความเป็นเอกราชของชาติ เนื่องมหาอำนาจจักรวรรดินิยมยังคงคุกคามตามหัวเมืองต่าง ๆ ผืนแผ่นดินของจีน ซุนได้ใช้หลักการต่อต้านจักรวรรดินิยมและลัทธิล่าอาณานิคมมาสอดแทรกเป็นข้อย่อยของหลักการข้อแรก ส่วนข้อย่อยข้อสองคือหลักการปกครองตนเองที่ควรจะได้แก่ชนกลุ่มน้อยภายในประเทศจีน ซุนถือว่าทุกชนชาติในจีนทุกชนชาติควรมีความเสมอภาคเท่าทียมกันและล้วนเป็นชาวจีนด้วยกัน

(ประเทศจีนประกอบด้วยเชื้อชาติกลุ่มใหญ่ 5 เผ่า คือ ชาวฮั่น ชาวแมนจู ชาวมองโกล ชาวทิเบต ชาวอุยกูร์ ซุนถือว่าราชวงศ์ชิงในขณะนั้นปกครองโดยอภิสิทธิ์ชนชาวแมนจูจึงขัดกับหลักการจึงต้องทำการโค่นล้มราชวงศ์ชิงและให้ชาวแมนจูลงมามีฐานะเท่ากับเชื้อชาติอื่น ๆ

  • 2) ประชาธิปไตย (หมินฉวน) หรือหลักการถืออำนาจอธิปไตยของปวงชน รัฐบาลในอุดมการณ์ของซุน จะต้องเป็นรัฐที่แบ่งแยกองค์การที่ใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 สาขา คือนอกจากมีอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ตามหลักของมองเตสกิเออ (Montesquieu) ซุนยังมีเน้นย้ำถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

ในขณะเดียวกันต้องถือว่าประชาชนจะเป็นผู้มีอำนาจมากที่สุด การเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของประชาชนอาจแสดงออกได้ 4 ทาง อำนาจการออกเสียงเลือกตั้ง (Election) อำนาจถอดถอน (Recall) และอำนาจการลงประชามติ (Referendum)

  • 3) ความเป็นอยู่ของประชาชน (หมิงเซิง) หรือหลักการในการครองชีพ เป็นหลักการที่ซุนได้ยืมเอาลัทธิสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์มาใช้ มีการแบ่งสรรปันส่วนที่ดินใช้สอย

แนวคิดทั้งสามดีงกล่าวต่อมาได้กลายเป็นหลักการพื้นฐานที่ยึดถือในการปฏิวัติของจีนตลอดระยะเวลาหลายสิบปี

ถงเหมิงฮุ่ย

 
จดหมายลายมือพร้อมตราประทับของซุน ยัตเซ็น ในการก่อตั้งสมาคมถงเหมิงฮุ่ยในฮ่องกง
 
ภาพวาด ดร.ซุน ยัตเซ็น ขณะกล่าวปราศรัยท่ามกลางบรรดาเหล่านักปฏิวัติ หลังจากที่ประชุมมีฉันทามติลงความเห็นให้จัดตั้งขบวนการถงเหมิงฮุย
สำหรับบทความหลักในหมวดหมู่นี้ ดูที่ ถงเหมิงฮุ่ย

ระหว่างที่ซุนเคลื่อนไหวเพื่อสร้างกระแสการปฏิวัติจีนนั้น ในพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศจีนก็มีความเคลื่อนไหวจากคนกลุ่มต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน เพียงแต่กลุ่มอื่นนั้นเป็นเป็นเพียงกลุ่มที่กระจุกแต่เพียงในพื้นที่นั้น ๆ มิได้มีการคิดการใหญ่ซึ่งครอบคลุมไปทั่วประเทศ และที่สำคัญไม่มีหลักการพื้นฐานของการปฏิวัติที่แน่ชัด ดังเช่น ลัทธิไตรราษฎร์ ของ ซุน ยัตเซ็น

จนในเดือน สิงหาคม ปี ค.ศ. 1905 ก็มีการประกาศรวมกลุ่มผู้สนับสนุนการปฏิวัติจีนที่ชื่อ สมาคมพันธมิตรปฏิวัติจีน (จงกั๋วถงเหมิงฮุ่ย:中国同盟会) ขึ้นอย่างเป็นทางการ โดย "ถงเหมิงฮุ่ย" นี้มีจุดมุ่งหมายในการปฏิวัติล้มราชวงศ์ชิง โดยยึดหลักการของลัทธิไตรราษฎร์ โดยศูนย์กลางของถงเหมิงฮุ่ยนั้น อยู่ที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

ช่วงก่อนหน้าที่ "ถงเหมิงฮุ่ย" จะเกิดขึ้นนั้น ทางฝั่งราชสำนักจีนที่ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น-ชาติตะวันตก และปล่อยให้กบฏนักมวยออกมาสร้างความวุ่นวายในปักกิ่ง กำลังตกอยู่ในสถานะแพ้สงครามให้กับกองทัพมหาอำนาจพันธมิตร 8 ประเทศ จนต้องมีการลงนามในสนธิสัญญาที่เรียกว่า Boxer Protocol (จีน: 辛丑条约 ลงนามในวันที่ 7 กันยายน ค.ศ.1901) เพื่อยืนยันว่า จีนยินยอมชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาล จักรพรรดิกวังซฺวี่ก็กำลังพยายามทำการปฏิรูปทางการปกครองประเทศ การทหาร อยู่เช่นกัน โดยมีการส่งคนไปศึกษายังต่างประเทศเพื่อเตรียมประกาศรัฐธรรมนูญ (ระบบการสอบจอหงวนก็สิ้นสุดลงในช่วงนี้ และ การสะสมกำลังทหารเพื่อสร้างเป็นกองทัพของหยวนซื่อไข่ก็เกิดขึ้นในช่วงนี้เช่นกัน) แต่ทั้งหมดก็สิ้นสุดลงเพราะการขัดขวางของพระนางซูสีไทเฮา

อย่างไรก็ตาม ดังเช่น ที่ ซุนกล่าวไว้ถึง ความสิ้นหวังต่อระบอบจักรพรรดิ การปฏิรูปที่ราชสำนักชิงพยายามทำนั้น ในสายตาของประชาชนกลับไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง และยิ่งเป็นการเหยียบย่ำซ้ำเติมให้ทุกข์ยากยิ่งขึ้นไปอีก จากกระแสความไม่พอใจของประชาชนต่อราชสำนักชิงที่พุ่งขึ้นสูง ส่งผลให้ภายในระยะเวลาแค่หนึ่งปี ถงเหมิงฮุ่ย รวบรวมสมาชิกได้มากกว่าหมื่นคน มีการเปิดหนังสือพิมพ์เพื่อ ปลุกระดม และเผยแพร่ ลัทธิไตรราษฎร์ และที่สำคัญพยายามลงมือกระทำการปฏิวัติต่อเนื่อง

การเยี่ยมชาวจีนโพ้นทะเล

 
ภายในของบ้านพักวาน ชิงหยวน ซึ่งซุน ยัตเซ็นใช้เป็นที่ตั้งของสมาคมถงเหมิงฮุ่ยที่สิงค์โปร์

การปฏิบัติของเยี่ยมชาวจีนโพ้นทะเลของ ซุน ยัตเซ็น ได้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1910 ซุนได้มาเยี่ยมชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียอาคเนย์ อาทิเช่น เวียดนาม ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส มาเลเซีย สิงค์โปร์ และ สยาม

มลายาและสิงค์โปร์

ความโดดเด่นและความนิยมของซุนได้ขยายไปทั่วประเทศจีน รวมทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วย ซึ่งมีชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมากอาศัยอยู่ที่มลายา (มาเลเซียและสิงคโปร์) เป็นจำนวนมาก ที่สิงคโปร์เขาได้พบกับพ่อค้าท้องถิ่นชาวจีน เช่น เตียว เอ็ง ฮก ตัน ชอ นัม และ ลิม นีซูน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสนับสนุนโดยตรงจากกลุ่มชาวจีนโพ้นทะเล สมาคมถงเหมิงฮุ่ย สาขาสิงค์โปร์ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 1906 บ้านพักที่ซุนพักในสิงค์โปร์ที่รู้จักกันในชื่อ วาน ชิงหยวน ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของสมาคม

ไทย (สยาม)

ซุนได้เข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่ในปี ค.ศ. 1903 ซึ่งท่านได้ทางสลับไปมาระหว่างไทย มลายาและสิงค์โปร์ เมื่อซุนมาถึงกรุงเทพฯ ท่านได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสยามมกุฎราชกุมาร) เพื่อขอพระราชทานพระราชานุญาตพบปะกับชาวจีนในประเทศไทย พระองค์ทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ท่านสามารถพบปะกับชาวจีนในประเทศไทยให้ถูกต้องตามกฎหมายของประเทศ ต่อมาท่านได้จึงมาปราศรัยที่ถนนเยาวราช เพื่อปลุกระดมชาวจีนโพ้นทะเล (หัวเฉียว) ในสยามให้สนับสนุนการปฏิวัติโค่นล้มราชวงศ์ชิง ซุนได้พบกับหัวหน้าของชาวจีนในกรุงเทพฯ ในขณะนั้น คือ เซียวฮุดเสง (ต้นตระกูล สีบุญเรือง) ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์จีนโนสยามวารศัพท์ ซึ่งได้ช่วยตีพิมพ์แนวความคิดของซุนลงในหนังสือพิมพ์จีน และช่วยส่งเงินในการสนับสนุนสมาคมถงเหมิงฮุ่ยด้วย

การปฏิวัติซินไฮ่

สำหรับบทความหลักในหมวดหมู่นี้ ดูที่ การปฏิวัติซินไฮ่
 
กองทัพฝ่ายปฏิวัติใน การก่อการกำเริบอู่ชาง กำลังทำการรบในยุทธการหยางเซีย

นับแต่ปี ค.ศ. 1907 ถงเหมิงฮุ่ยทำการเคลื่อนไหวเพื่อปฏิวัติในพื้นที่ภาคใต้ของจีนสิบกว่าครั้ง ก่อนจะสำเร็จที่สุดในวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1911 ที่ อู่ชาง มณฑลหูเป่ย การปฏิวัติครั้งประวัติศาสตร์ เริ่มกระทำการอย่างเร่งด่วนในคืนวันที่ 10 ตุลาคม โดย ทหารสมาชิกพรรคปฏิวัติในกองทัพใหม่ที่ประจำการอยู่ภายในเมืองอู่ชางซึ่งนำโดยผู้บังคับการที่ชื่อว่า หลีหยวนหง (黎元洪) แต่ปราศจากผู้นำของถงเหมิงฮุ่ย คอยสั่งการแม้แต่คนเดียว เนื่องจากแผนปฏิวัติรั่วไหลไปเข้าหูทางการเข้า

 
ซุน ยัตเซ็น (ยืนอยู่หลังโต๊ะ) และ เจียง ไคเช็ค (ยืนบนเวที สวมเครื่องแบบ) ในพิธีเปิดโรงเรียนนายร้อยหวางผู่ในปี ค.ศ. 1924

เหตุการณ์ในครั้งนั้นเรียกกันว่า การก่อการกำเริบอู่ชาง (武昌起义) หรือเรียกกันง่าย ๆ ว่า สองสิบ (双十) เนื่องจากเกิดขึ้นในวันที่ 10 เดือน 10 (ปัจจุบันชาวไต้หวันยังถือเอาวันนี้เป็นวันชาติอยู่ ขณะที่จีนแผ่นดินใหญ่ถือเอาวันที่ 1 ตุลาคม เป็นวันชาติ) ส่วนชื่อทางการของการปฏิวัตินั้นเรียกว่า การปฏิวัติซินไฮ่ (辛亥革命) เนื่องจากตามปฏิทินจันทรคตินั้นเป็น ปี ค.ศ. 1911 ชาวจีนเรียกว่าปีซินไฮ่

ประกายไฟแห่งความสำเร็จของการก่อการที่อู่ชาง ปลุกให้เกิดการปฏิวัติทั่วประเทศจีน โดยในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1911 มีถึง 14 มณฑล จากทั้งหมด 24 มณฑลของจีนที่ประกาศปลดปล่อยตัวเองออกจากการปกครองของรัฐบาลชิงที่ปักกิ่ง

เดินทางกลับประเทศ

เมื่อฝ่ายปฏิวัติได้ชัยชนะในการก่อการที่อู่ชางทำให้สามารถตั้งหลักในการสู้กับราชสำนักชิงได้ ขณะนั้นซุน ยัตเซ็นกำลังลี้ภัยที่สหรัฐอเมริกาได้รับข่าวทำให้ท่านบรรลุความใฝ่ฝันและยินดีเป็นอย่างมาก ท่านจึงได้ตัดสินใจนั่งเรือเดินทางผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกกลับประเทศจีน เพื่อติดตามสถานการณ์การรบอย่างใกล้ชิดและเพื่อขวัญกำลังใจของกองทัพปฏิวัติ

ในวันคริสต์มาสของปี ค.ศ. 1911 ซุน ยัตเซ็นก็กลับจากต่างประเทศมาถึงเซี่ยงไฮ้ เมื่อเรือกลไฟแล่นถึงเซี่ยงไฮ้ ที่ท่าเรือมีฝูงชนมาต้อนรับอย่างเนืองแน่น ทั้งสมาชิกพันธมิตรคณะปฏิวัติ ผู้สื่อข่าว กรรมกร พ่อค้าและชาวเมืองจำนวนมาก เมื่อซุน ยัตเซ็นลงจากเรือก็ยิ้มและชูหมวกขึ้นโบกทักทายมวลชนที่มาต้อนรับ และขณะเดินออกจากท่าเรือผู้สื่อข่าวจำนวนมากก็ห้อมล้อมไว้ แต่ละคนมีกล่องถ่ายรูปในมือและแย่งกันถ่ายรูป ซุนยัตเซ็นได้จับมือและพูดทักทายกับทุกคน ณ ที่นั้น มีนักข่าวคนหนึ่งได้ถามซุนว่า "ได้ข่าวว่าท่านได้นำเงินก้อนใหญ่และเรือรบมาจากต่างประเทศ" ซุนตอบว่า "ผมกลับมาครั้งนี้ ไม่มีเงินติดตัว แต่ที่นำติดตัวมาคือจิตใจปฏิวัติ" พลางแหวกกระเป๋ากางเกงให้นักข่าวดู นักข่าวยังได้ถามคำถามทิ้งท้ายอีกว่า "ท่านคิดอย่างไรกับชัยชนะครั้งนี้" ซุนยัตเซ็นตอบอย่างเฉียบขาดว่า "ชัยชนะครั้งนี้คือชัยชนะของพวกเราทุกคนซึ่งเป็นประชาชน"

สถาปนาสาธารณรัฐ

ดูเพิ่มเติมที่: สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)

ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราว

 
ซุน ยัตเซ็นในช่วงที่ดำรงแหน่งเป็นประธานาธิบดีชั่วคราวของรัฐบาลเฉพาะกาล

รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งสาธารณรัฐจีน (1912)

การปฏิวัติซินไฮ่ยังคงดำเนินต่อไปฝ่ายราชวงศ์ชิงเป็นฝ่ายพ่ายแพ้และถอยร่นไปเรื่อยๆ ฝ่ายราชวงศ์ยังคงควบคุมพื้นที่ในภาคเหนือรอบนครหลวงปักกิ่งไว้ได้อย่างเข้มแข็งโดยที่ฝ่ายปฏิวัติยังไม่สามารถบุกเข้าไปได้ มีเพียงยฺเหวียน ชื่อไข่แม่ทัพเพียงคนเดียวที่ค้ำบัลลังก์ราชวงศ์ชิงไว้เท่านั้น ซุนยัตเซ็นพยายามเกลี้ยกล่อมให้ยฺเหวียนชื่อไข่แปรพักตร์จากราชสำนักชิงมาเข้าร่วมการปฏิวัติกับฝ่ายปฏิวัติ โดยยื่นเงื่อนไขว่าจะมอบตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐให้ หากบังคับให้จักรพรรดิราชวงศ์ชิงสละราชสมบัติได้ ทั้งนี้เป็นเพราะซุนต้องการหลีกเลี่ยงการสูญเสียเลือดเนื้อ ยุติสงครามโดยเร็ว และรีบสถาปนาสาธารณรัฐ

ขณะที่ซุนยัตเซ็นพำนักในเซี่ยงไฮ้ บรรดาคณะปฏิวัติจากมณฑลต่างๆได้เสนอให้ท่านดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเลย แต่ในใจจริงของซุนยัตเซ็นไม่อยากรับตำแหน่ง ท่านได้เสนอให้ย้ายเมืองหลวงไปที่กรุงหนานจิง เนื่องจากนครปักกิ่งนั้นเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์ชิงเต็มไปด้วยพระราชวังสะท้อนซึ่งสัญลักษณ์แห่งระบอบศักดินาเสียดแทงจิตใจของประชาชน ขอให้ย้ายเมืองหลวงไปเมืองหนานจิงแทนและขอให้จัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีแบบประชาธิปไตยที่เมืองดังกล่าวพร้อมเตรียมการสถาปนาประเทศแบบสาธารณรัฐ ระหว่างนี้ให้ใช้ธงชาติห้าสีไปพลางๆก่อน

ต่อมาคณะตัวแทนจากมณฑลต่างๆได้เปิดประชุมที่หนานจิงเพื่อจัดรัฐบาล มีตัวแทน 40 คน จาก 17 มณฑลเข้าร่วมประชุม มีการลงคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีจากการคำนวณคะแนนที่มีผล 17 คะแนนเสียง เมื่อทำการเปิดหีบ เสียงส่วนใหญ่เลือกซุนยัตเซ็น 16 คะแนนเสียงทำให้ซุนยัตเซ็นได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี แต่อย่างไรซุนยังคงไม่อยากรับตำแหน่งเพราะเกรงจะเป็นที่ครรหา ซุนรับผิดชอบต่อสายตาสาธารณชนมากจึงขอให้เรียก "ประธานาธิบดีชั่วคราว" และ "รัฐบาลเฉพาะกาล" แทน

วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1912 วันขึ้นปีใหม่ ซุนยัตเซ็นเดินทางจากเซี่ยงไฮ้ไปเมืองหนานจิงเพื่อรับตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราว เมื่อซุนถึงทำเนียบประธานาธิบดีชั่วคราว พิธีเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีชั่วคราวได้เริ่มชึ้น ซุนกล่าวปาฐกถาเรื่องลัทธิไตรราษฎร์ (สามหลักการแห่งประชาชน) เมื่อจบการปาฐกถา ซุน ยัตเซ็นหันหน้าเข้าหาธงชาติห้าสีพร้อมชูมือขวาอย่างเคร่งขรึม กล่าวคำสาบานต่อประชาชนทั่วประเทศ หลังจากนั้นมีคำแถลงการณ์กำหนดชื่อประเทศ โดยมีการใช้คำว่า "หมินกั๋ว" (民國) ที่แปลว่า "ประเทศของประชาชน" รวมกับคำว่า "จงฮวา" (中華) ที่แปลว่า ประเทศจีน เป็น จงฮวาหมินกั๋ว "中華民國" หรือ "สาธารณรัฐจีน"

เมตตาธรรมต่อราชวงศ์ชิง

การประชุมวุฒิสภาของรัฐบาลเฉพาะกาลหนานจิงได้หารือต่อการดำเนินการต่อราชวงศ์ชิง ที่ประชุมส่วนใหญ่เสนอให้นำบรรดาเชื้อพระวงศ์มาขึ้นศาลและพิจารณาตัดสินโทษ แต่ดร.ซุนไม่เห็นด้วยกับการนำเชื้อพระวงศ์มาขึ้นศาลและได้แย้งต่อข้อเสนอของที่ประชุมว่า "การปฏิวัติไม่จำเป็นต้องมีการนองเลือด" ซุนยังเสนอให้สมาชิกในที่ประชุมคำนึงต่อความเมตตาซึ่งจะเป็น คุณธรรมของสาธารณรัฐ (民國道德) เชื้อพระวงศ์ชิงจึงไม่ถูกสำเร็จโทษในที่สุด

คณะรัฐบาลของดร.ซุน ได้มีนโยบายให้บรรดาเชื้อพระวงศ์และขุนนางของราชวงศ์ชิงมีสิทธิและฐานะเท่าเทียมพลเมืองธรรมดาและอนุญาตให้ประทับอยู่ในพระราชวังต้องห้ามต่อไปได้ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐจะให้การคุ้มครองและถวายเงินเพื่อรักษาพระเกียรติปีละ 4 ล้านตำลึง แต่ต้องเคารพต่อกฎหมายของสาธารณรัฐอย่างเคร่งครัด

การลาออกจากตำแหน่งและการถูกทรยศ

รัฐบาลเป่ย์หยาง

ดูบทความหลักที่: รัฐบาลเป่ย์หยาง

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1912 ยฺเหวียน ชื่อไข่บีบบังคับให้จักรพรรดิผู่อี๋สละราชสมบัติได้สำเร็จ ราชวงศ์ชิงที่ปกครองประเทศจีนมาหลายร้อยปีต้องล่มสลาย ยฺเหวียน ชื่อไข่ได้เริ่มเรียกร้องให้ซุนยัตเซ็นลาออกและมอบตำแหน่งประธานาธิบดีตามสัญญา ซุนยัตเซ็นจึงได้เตรียมการลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีเพื่อให้คำสัตย์แก่สัญญา

แต่ต่อมายฺเหวียน ชื่อไข่สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์เสียเอง ซึ่งหยวนก็ได้ตาย แต่ประเทศจีนนั้นก็แตกแยกสาแหรกขาดมีสงครามและขุนศึกตลอดเวลา ต่อมานายแพทย์ ซุน ยัตเซน ได้พบกับเจียงไคเช็ค แล้วตั้งโรงเรียนทหารหวางผู่ขึ้นมาเพื่อสร้างกองทัพพรรคก๊กมินตั๋งของตนเองด้วยความช่วยเหลือทั้งด้านการฝึกทหารและการเงินจากโซเวียต รวบรวมแผ่นดินจีนให้เป็นปึกแผ่นแต่ว่าหลังตั้งโรงเรียนหวางผู่ได้แค่ 11 เดือน ท่านก็เสียชีวิตด้วยวัย 59 ปี ด้วยโรคมะเร็งตับ เมื่อ 12 มีนาคม ค.ศ. 1925

วัฒนธรรมสมัยนิยม

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง

  1. Derek Benjamin Heater. [1987] (1987). Our world this century. Oxford University Press. ISBN 0199133247, 9780199133246.
  2. Schoppa, Keith R. [2000] (2000). The Columbia guide to modern Chinese history. Columbia university press. ISBN 0231112769, 9780231112765. p 282.
  3. "Sun Yat-sen". Encyclopedia Britannica.
  4. 门杰丹 (4 December 2003). 浓浓乡情系中原—访孙中山先生孙女孙穗芳博士 [Interview with Dr. Sun Yat-granddaughter of Dr. Sun Suifang]. www.chinanews.com (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 30 July 2012.แม่แบบ:Google translation
  5. "浓浓乡情系中原—访孙中山先生孙女孙穗芳博士" [ชีวประวัติ ดร.ซุน ยัตเซน Interview with Dr. Sun Yat-sen's granddaughter, Dr. Sun Suifang]. Chinanews.com (ภาษาจีน). 4 December 2003. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2017.
  6. Kubota, Gary (20 August 2017). "Students from China study Sun Yat-sen on Maui". Star-Advertiser. Honolulu. สืบค้นเมื่อ 21 August 2017.
  7. KHON web staff (3 มิถุนายน 2013). . KHON-TV. Honolulu. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 22 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2017. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  8. "Sun Yat-sen Memorial Park". Hawaii Guide. สืบค้นเมื่อ 21 August 2017.
  9. "Sun Yet Sen Park". County of Maui. สืบค้นเมื่อ 18 October 2019.
  10. . ʻIolani School website. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 20 July 2011. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  11. . Big5.chinanews.com:89. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 28 October 2011. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2017. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  12. Bard, Solomon. Voices from the past: Hong Kong, 1842–1918. [2002] (2002). HK university press. ISBN 962-209-574-7, ISBN 978-962-209-574-8. pg 183.
  13. วิกรม กรมดิษฐ์, มองซีอีโอโลก, โพสต์ พับลิชชิง, 2550
  14. "Sun Yat-sen | Chinese leader". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-03-31.
  15. Wong, J.Y. (1986). The Origins of a Heroic Image: SunYat Sen in London, 1896–1987. Hong Kong: Oxford University Press.
    as summarized in
    Clark, David J.; Gerald McCoy (2000). The Most Fundamental Legal Right: Habeas Corpus in the Commonwealth. Oxford: Oxford University Press. p. 162.
  16. Cantlie, James (1913). Sun Yat Sen and the Awakening of China. London: Jarrold & Sons.
  17. "Internal Threats – The Manchu Qing Dynasty (1644–1911) – Imperial China – History – China – Asia". Countriesquest.com. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2017.
  18. Yan, Qinghuang. [2008] (2008). The Chinese in Southeast Asia and beyond: socioeconomic and political dimensions. World Scientific publishing. ISBN 981-279-047-0, ISBN 978-981-279-047-7. pg 182–187.
  19. "Sun Yat Sen Nanyang Memorial Hall". Wanqingyuan.org.sg. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2017.
  20. Eric Lim. "Soi Sun Yat Sen the legacy of a revolutionary". Tour Bangkok Legacies. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2017.
  21. Eiji Murashima. "The Origins of Chinese Nationalism in Thailand" (PDF). Journal of Asia-Pacific Studies (Waseda University). สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2017.
  • หนังสือ ประวัติศาสตร์จีนยุคใกล้และยุคปัจจุบัน (中国近现代历史概要) โดย ตู้จื้อจุน ของมหาวิทยาลัยภาษาและวัฒนธรรมปักกิ่ง บทที่ 9-11
  • หนังสือประวัติศาสตร์จีน โดย ทวีป วรดิลก สำนักพิมพ์สุขภาพใจ พ.ศ. 2542 บทที่ 20 หน้าที่ 739-771
  • หนังสือที่สุดของเมืองจีน โดย สุขสันต์ วิเวกเมธากร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, 2543 หน้าที่ 83-87
  • หนังสือ 孙中山在说 (2004) โดย ซุนจงซาน สำนักพิมพ์ตงฟัง
  • แปลจากหนังสือแบบเรียนภาษาจีน ออกโดยมหาวิทยาลัยปักกิ่งของจีน
  • Lonely Planet Taiwan, 6th edition (พฤศจิกายน 2547)

ตเซ, พฤศจ, กายน, 1866, นาคม, 1925, เป, นน, กประชาธ, ปไตยและน, กปฏ, ได, บการกล, าวขานว, าเป, ดาของชาต, ในสาธารณร, ฐจ, และ, กเบ, กการปฏ, ประชาธ, ปไตย, ในสาธารณร, ฐประชาชนจ, วยความเป, นผ, เร, มจ, นชาต, ยมคนสำค, นม, บทบาทสำค, ญในจ, ดประกายการโค, นล, มราชวงศ, งท, ป. sun ytesn 12 phvscikayn kh s 1866 12 minakhm kh s 1925 epnnkprachathipityaelankptiwti phuidrbkarklawkhanwaepn bidakhxngchati insatharnrthcin aela phubukebikkarptiwtiprachathipity insatharnrthprachachncin dwykhwamepnphurierimcinchatiniymkhnsakhy sunmibthbathsakhyincudprakaykarokhnlmrachwngschingthipkkhrxngaephndincinepnrachwngssudthayaelaekuxbnapraethsipsukhwamhayna sunidplukkraaesihchawcinhnmatrahnkthungkhwamlmehlwkhxngrachwngsching krathngklayepnkraaestxtanrachwngsaelanaipsukarptiwtisinih sungepliynpraethscinepnprachathipityaebbsatharnrth sunepnprathanathibdiechphaakalkhnaerkemuxsatharnrthcinkxtngkhunin kh s 1912 aelaphayhlngrwmkxtngphrrkhkkmintng sungekhaepnhwhnaphrrkhkhnaerk 1 sun ytesn 孫中山 孫逸仙 孫文sun ytesninpi kh s 1911prathanathibdiechphaakalaehngsatharnrthcindarngtaaehnng 1 mkrakhm kh s 1912 10 minakhm kh s 1922rxngprathanathibdi hli hywnhngkxnhna phuxi ckrphrrdicin thdip y ehwiyn chuxikhhwhnaphrrkhkkmintngdarngtaaehnng 10 tulakhm kh s 1919 12 minakhm kh s 1925kxnhna cdtngtaaehnngthdip cang ehrinci thanaphubriharphrrkh khxmulswnbukhkhlekid sun etxhming 孫德明 12 phvscikayn kh s 1866 1866 11 12 cngsan mnthlkwangtung ckrwrrdichingesiychiwit 12 minakhm kh s 1925 58 pi krungpkking satharnrthcinthifngrang susansun ytesnphrrkhkaremuxng kkmintngkarekharwm phrrkhkaremuxngxun phrrkhcinptiwtibida sun taechingmarda madam hyangkhusmrs hlu muecin smrs kh s 1885 hyapi 1915 khaoxru oxtsuki smrs kh s 1903 1906 sng chinghling smrs kh s 1915 1925 khuxasy echin suyefin xnuphrrya 1892 1925 haru xasada xnuphrrya 1897 1902 butr sun ofsun hywnsun hwanfumioka miyakawasasna khristlaymuxchux phasacin laymuxchuxkarekhaepnthharrbich satharnrthcinsngkd kxngthphsatharnrthcinpracakar 1917 1925ys cxmphlsungsudkaryuthth karptiwtisinih karptiwtikhrngthisxng khbwnkarphithksrththrrmnuy sngkhramkwangtung kwangsi smykhunsukbaehnc ekhruxngmhaxisriyaphrn idrbbaehnccakprathanathibdi y ehwiyn chuxikh aetsunidptiesthodytwekhaexng aemsunthukmxngwaepnhnunginphunathiyingihythisudkhxngcinsmyihm chiwitkaremuxngkhxngekhaklbtxngtxsuimhyudhyxnaelatxngliphybxykhrng hlngprasbkhwamsaercinkarptiwti ekhaklbsuyesiyxanacxyangrwderwinsatharnrthcinthiephingkxtngkhun aelanarthbalptiwtisubtxmaepnkarthathaykhunsukthikhwbkhumphunthiswnihykhxngpraeths sunmiidmichiwitxyuehnphrrkhkhxngekharwbrwmxanacehnuxpraethsrahwangkarkrithathphkhunehnux Northern Expedition phrrkhkhxngekha sungsrangphnthmitrxnlaexiydxxnkbphwkkhxmmiwnist aetkepnsxngfayhlngekhaesiychiwit mrdksakhykhxngsunxyuinkarphthnapryakaremuxngkhxngekha sungruckkninchux hlk 3 prakaraehngprachachn xnidaek chatiniym prachathipity aelakhwamepnxyukhxngprachachn 2 inpccubnnnsun ytesnthuxepnbukhkhlphusrangkhwamsamkhkhiincinhlngyukhckrwrrdiaelayngkhngepnnkkaremuxngcinsmykhriststwrrsthi 20 ephiynghnungediywthiidrbkhwamekharphnbthuxxyangkwangkhwangcakprachachnthngsxngfakfngchxngaekhbithwnsungidaek insatharnrthcinthitngxyubnekaaithwnaelainsatharnrthprachachncinthixyubncinaephndinihy enuxha 1 prawtichwngtn 1 1 chux 1 2 wyedk aelakarsuksa 1 2 1 rierimaenwkhwamkhidtxtanrachwngsching 1 3 karsuksathihaway 2 inthanankptiwti 2 1 sishay 2 2 karngan aelakartxtanrachwngsching 2 3 ekhiyndikakhxrxngkarptiruppraeths 2 4 smakhmsingcnghuy 2 5 karptiwtithikwangocw 2 6 karthukcblkphatwthixngkvs prachachatiekhluxnihw 2 7 hlkaenwkhidlththiitrrasdr 2 8 thngehminghuy 3 kareyiymchawcinophnthael 3 1 mlayaaelasingkhopr 3 2 ithy syam 4 karptiwtisinih 4 1 edinthangklbpraeths 5 sthapnasatharnrth 5 1 darngtaaehnngprathanathibdichwkhraw 5 1 1 rthbalechphaakalaehngsatharnrthcin 1912 5 1 2 emttathrrmtxrachwngsching 5 2 karlaxxkcaktaaehnngaelakarthukthrys 5 2 1 rthbalepyhyang 6 wthnthrrmsmyniym 7 bthkhwamthiekiywkhxng 8 xangxingprawtichwngtn aekikh sun ytesn aethwhlng khnthihacaksay aelakhrxbkhrw chux aekikh chuxekidkhxngthanmiwa sun ehwin cin 孫文 aelachuxthangkarkhxngekhakhux sun etxhming cin 孫德明 txmaeriykwa sun xiesiyn cin 孫逸仙 sungxxkesiyngepn sun ytesn inphasacinkwangtung mikhwamhmaywa ethphecaxisra odychux sun ytesn nnthaniderimichemuxmixayu 33 pi swnphasacinklangeriykekhawa sun cngsan cin 孫中山 nxkcakniekhakichnamaefnginwrrnkrrmwa ruxsin cin 日新 xikdwy 3 wyedk aelakarsuksa aekikh sun ytesninwy 17 pi aetngkaytamaebbaemncu chwngsmyrachwngsching sun ytesn hrux dr sun ytesn ekidemuxwnthi 12 phvscikayn kh s 1866 thixaephxcngsan mnthlkwangtungkhxngcin inkhrxbkhrwchawnathiyakcn sungmiechuxsaykhxngphunhlngkhrxbkhrwepnchawcinhakka 4 khrxbkhrwkhxngsuntxngxasyxyuinkratxbhlngelkthichayhmubanxasymnethsepnxaharhlkaethnkhaw 5 sunmilksnanisyehmuxnkbmarda khuxepnkhnthikhxnkhangengiyb imkhxychxbphudca phxsunxayu 7 pithankideriynhnngsux txmakidmibathhlwngmaephyaephsasnakhrist thancungidkhlukkhlikbbathhlwngephuxkhxduaephnthiaelaekidkhwamsnicinprawtisastr aelaphumisastr sunchayaewwepnkhnchladmatngaetedk xanhnngsuxepnphiess odyechphaadanthiekiywkbprawtisastr karemuxng esrsthkic prchya aelwyngchxbthicaxanaephnthixikdwy tngaettwthanimkhxyphudekiywkbkhwamsnicethaidnk aelaimchxbfngephlng thangdankarthanxahar thanchxbthanphkenuxpla imchxbthanephd phlimthithanchxbthisudkhuxsmaelasbpardpukhxngsun suncingesiynepnchawnayakcnthitxngechanaekhathaephuxkhwamxyurxd bidakhxngekhasuntaechingtxngipprakxbxachiphepnchangparxngethathimaekainwyhnum txmaidklbbanechanaekhatha aelaepnyaminhmubanphrxmknipdwy swnphichaykhxngekhasunehmyepnkhnnganinbanecakhxngthidininhmubantidknemuxsunxayuid 10 pi cungiderimyayiperiynhnngsuxthitlad inchwngnnthanmumanaeriynhnngsuxxyangtngic aemaetbidakhxngsunphuyakcninxachiphekstrkrrmcamthysth dwykarprahydkhanamnthiichcudifintxnklangkhunthimiaesngcnthrktam aetsunkimynyxthixanhnngsuxtaratang phayitaesngswangkhxngdwngcnthr rierimaenwkhwamkhidtxtanrachwngsching aekikh praethscininkhnannpkkhrxngodyrachwngschingthiepnchntangchatichawaemncuekhamapkkhrxngpraethscinyawnannbthswrrs xikthngchwngnnthuxhweliywhwtxthisngkhmskdinakhxngcinaeprepliyn epnsngkhmkungemuxngkungskdina khwamphayaephaelakaryxmcannxnxpysinsngkhramfinkhxngrthbalrachwngschingsxngkhrng sxngkhra thaihpraethscinsuyesiyexkrachthangkaremuxngaelatkepnthasthangesrsthkickhxngthunniymtangchati khnaediywknkartxsukhxngprachachncintxxiththiphlrukrankhxngtangchatiaelaxiththiphlkhxngskdinacin sudydesntxngthanatngaetxayuidephiyng 6 khwb erimeriynhnngsuxkbkhruthisxninbanemuxxayuid 10 khwbinewlannminkrbphuethakhnhnungchux fngswngkwan sungekhyrwmkarptiwtiithphingethiynkwx mkcaelanithankarokhnbllngkrachwngschingkhxnghngsiwchwn aelahyangsiwsingihedk inhmubanfngesmx phxelathungtxnkxkarthicinethiyn tngemuxnghlwngthinanking aelatikhayihykhxngthharrachwngschingfngehnux aelaitkhxngaemnaaeyngsiekiyngaetk cnecingkwxfantxngkraoddnatay edk kdiiclingold sunydesnmikhwamsniceruxngrawekiywkarcbxawuthlukkhunsukhxngchawna xathi hngsingchwnaelahyangsiwsingepnxyangyingmatngaeteyawwy ewlannsudydesnkerimrusukwa sngkhmpraethscininkhnannmibangsingbangxyangthiimyutithrrm ekhaehnecahnathieknthesbiyngxaharkbchawbanbngkhbekbphasi hruximkcbkum thukridphasixakrephimthukpi odychnchnpkkhrxngrachwngsimekhythapraoychnihaekrasdraemaetnxy karchxrasdrbnghlwngkhmprachachnaelakhnbthrrmeniympraephnixnepnskdinakhxngpraethscininxditnn sunydesnineyawwyidprasbphbehnmadwytwexng cungthaihekhaerimekidkhwamsngsyaelaimphxicmakyingkhunepnladbxyumawnhnungmikrrmkarxaephxaelatarwcinrachsankchingidmacbkumphukhninhmubanip 3 khn khnhnungthuklngothsprahartdhwklangtlad swnxik 2 khn thukcxngcaiw chawbantangokrthimphxicinkarthitangimrukhxha aelaimidrbkhwamepnthrrmcakthangbanemuxngkhxngkarcbphutxngha 3 khnnn suncungedinnaxxkipkhdkhanaelasxbthamkhxmulkhxngsaehtuthiphutxnghathng 3 thuklngothsaetthaihecahnathikrrmkarxaephxinrachwngschingokrthmakthungkbdathxaelathubtitharaythan xikthngyngichmidphyayamthicaaethngthan aetthuxepnochkhkhxngthanthisamarthhlbplaymididthnaelahnixxkmaid cungepnwirkrrmthithankxkhuninkhnathixayuyngnxyhlngcakkxwirkrrmdngklawaelwthanidphbkbephuxnsnithkhux lu ehatng txmainpi kh s 1871 thankidedinthangiperiynthiemuxngohonlulu haway aelaxyuthangankb sunehmy phichaykhxngekhaaelaklumchawcinophnthaelthiidxphyphcakbanekidemuxngnxnipprakxbchiphkarkhahruximkepnaerngngankulirbcangthinn 6 7 8 9 inpi kh s 1871 sunidphldphrakcakbanekidiphaeliyngchiphynghmuekaahawayxniklophn odyaerk erimthanganinswnphk imnankipepnkhnnganinirpsustw caknnidhkrangthangphngdaeninkickarkhxkpsustwcnidrbkhwamsaercklayepn naythunchawcinophnthaelpithisunydesnekidnn epnpithi 6 hlngcakthharphnthmitrxngkvs frngessbukekhankhrpkking aelaepnpithi 2 hlngcaknkhrnankingsungepnemuxnghlwngkhxngithphingethiynkwx khbwnkaremuxngaemnaednsnti thukyudkhrxng karsuksathihaway aekikh sun ydesnerimtnchiwitkarsuksaemuxxayu 12 pi odyekharbkarsuksainsthansuksa 2 aehng thiekaahaway txnthiekhaxayuid 12 khwb sunydesnkedinthangiphawayphrxmkbmardaephuxipxasyxyukbphichaykhxngekhathinn karedinthangxxknxkpraethsepnkhrngaerk thaihekhaidepidhuepidtasuolkphaynxkekhaerimnganodyepnlukcangxyuinran khaykhxngkhxngphichaythikhahuluxiinekaamaxuxi ekhaideriynrukarthabychiaeladidlukkhid thnghdphudphasathxngthin imnansunidekhaeriyninorngeriynepaolpithdmakh s 1879 ekhakidekhaeriynhnngsuxinorngeriynmthymchayxioxlnni sungepnorngeriynkhxngkhristckrxngkvsinhxnonlulu cbkarsuksapi kh s 1882 10 txcaknnidekhaeriyntxthioxxarohihskul sungepnkhxngkhristckrxemrika inkarsxnkhxngorngeriyndngklawkhangtnichphasaxngkvsthnghmd sunphakephiyreriynhnngsuxwichatang cnidepnnkeriynthimikhaaennniymdiedn inewlawangnxkcakeriynphasacindwytnexngyngchxbxanchiwprawtikhxngnkptiwtichnchnnaythun xathi chiwprawtikhxngwxchingtn linkhxln inewlannprachachnhawayidekidkarrnrngkhtxsukhdkhanxemrika odyesnxkhakhwywa hawayepnkhxngchawhaway karocmtiaelakhbilstruphurukranekidkhunthwip kartxsukhdkhanchawxemriknphurukranxyanghawhaykhxngprachachnhawaythisunid ehnkbta thaihekhakhidthungpraethscinthithukckrwrrdiniymrukran aelaekidxudmkarninxnthicakhdkhanlththixananikhmaelaeriykrxngkhwamepnexkrachkhxngpraethscinemuxidsuksaintangpraeths epidolkthsnidsunydesnehnthungkarkhdkhantxsuthangkaremuxnginhlayrupaebb cungthaihekidkhwamkhidaelaaerngbndalicthicakxbkupraethschati inrahwangthixyuthihawaynisuksasunidsuksawithyasastr aelasuksakhmphiribebilxyangluksung thaihsunekidkhwamkhidthicaepliynsasnakhunma khwamiklchidtxkhristsasna aelahangiklcaklththikhngcuxsungkhrxbkhrwthanyudthux thaihphichaykngwlcnthungkhnaecngkhawihthangbanthrab aelasngtwnxngchayklbbansunklbpraethscinemuxpi kh s 1883 karthiidphankaelasuksaintangpraethsepnewla 5 pi thaihsunidehnkhwamecriytang thaihekhamikhwamrusukwa khwamimepnthrrmtang insngkhmcincatxngmikarepliynaeplng aelathaihsunekidkhwamprarthnathicaphthnabanekidemuxngnxnkhxngtn emuxklbsumatuphumiaelw sunphyayamplukradmchawbanihekidkhwamsanukthicaepliynaeplngsngkhmodykarocmtikhwamenaefakhxngbanemuxng aelakhnbthrrmeniympraephnixnlahlngkhxngpraethscin xikdanhnungekhaiderimlngmuxphthnakarbriharswnthxngthin echn tidtngifsxngthnnhnthang karwangewryampxngknocrphuray cakbnthukkhwamthrngcaekiywkbkarptibtikarepliynaeplnginrayaaerkkhxngekhakkhux ekhaehnwakhwamechuxobrankhxngcinepneruxngngmngay thungkhnthalayethwrupinhmuban aelaklawwaepnephiyngwtthuirsarathichawbanngmngayxyangimlumhulumta emuxekidepneruxngwunway enuxngcakchawbanokrthaekhnxyangmak bidakhxngsunydesncungtxngaekpyhadwykarsngtwlukchayipsuksatxthihxngkng 11 khnathithansuksathihxngkngkhnannhxngkngepnxananikhmkhxngxngkvs thanidcbkarsuksacakwithyalykaraephthytawntkinhxngkng dwykhaaenncakkarsxbilepnxndbhnung thaihthanthukkhnannamwa dr sunytesninthanankptiwti aekikhsishay aekikh phaphkhxngsun ytesn nngkhnthisxngcaksay aelasmachikptiwtisishay idaek yunghkling say chansiwbak nngkhnthisxngcakkhwa eyalit khwa aela kwn cingeliyng cin 關景良 yun thiwithyalykaraephthyinhxngkng inrahwangthi sunydesn phankxyuinhxngkngkidphbpakbehlanksuksathimiaenwkhwamkhidepliynaeplngpraethsipsuprachathipity sungsuniderimtngklumkhunodyich chuxelnwa sishay thiwithyalykaraephthyhxngkng 12 kartngklumsishayidmikaraelkepliynkhwamkhidknaelaotethiyngpyhakaremuxng sungthaihsunerimmiaenwkhwamkhidtxtankarpkkhrxngkhxngrachwngschingkhun karngan aelakartxtanrachwngsching aekikh nayaephthysun ytesn idepnaephthythimaekaaelakwangocw inkhnathithanganepnaephthy sunmilksnanisythichxbchwyehluxphukhn bangkhrngthankrksakhnikhfridwy 13 karrksakhnikhkhxngsunthaihsunidrbruthungkhwamthukkhyakkhxngphukhnthimaihthanrksathitanglwnaetyakcnaelaxbcnhnthanginchiwitcntxngxyuipwn aebbirxnakht sunidtrahnkwasaehtuehlanilwnekidcaksngkhmthisinhwngthukhyxmhya xnenuxngmacakrabbsngkhmaelakarpkkhrxngthitanghyudningodyimphthnaipdanihnmaepnewlayawnantlxdchwngkarpkkhrxngkhxngrachwngschingthaihpraethscinimsamarthtamolkidthn sungsaehtuhlknnkmacakkarpkkhrxngphayitrachwngsthiswnkraaesolkinkhnann cnthaihcinimthnkhwamecriyaelakarepliynaeplngkhxngolk sunyngtrahnkxikwaeratxngthaxairskxyangihpraethscinaelachawcinhludphncakwngcrthielwrayehlani thaihthankhidwaimichephiyngrangkaykhnethannthitxngkarkarrksayngtxngrksakhwamkhidaelacitickhxngkhnxikdwy sungpraethscintxnnnkepriybesmuxnkhnpwykhnhnung dngnnthancungphyayamthicarksapraethskhxngthanexngdwywyephiyng 18 pi thanidekhiynrangcdhmaythungrthbalcin ephuxkhxrxngihmikarptirup ekhiyndikakhxrxngkarptiruppraeths aekikh sun ydesnewlannmikhwamkhidxanptiwtibangaelw yngimthungkhnepnnkptiwtiprachathipity ekhaidrbaerngdliccakaenwkhwamkhidlththiptirupthiaephrhlayxyuinpraethscinchwkhnahnung odyfakkhwamhwngiwkbkhunnangphuihybangkhnkhxngchnchnpkkhrxng kawiptamwithithangkhxnglththiptirupdwykhidwakhwamkhidxankhxngtnxacidrbkhwamehnkhxbcakkhunnangphuihybangkhnkhrnaelw vdurxnpi kh s 1894 sunkhxekhaphbkhunnangphuihy hli hngcang cin 李鸿章 khunnangkhnsakhykhxngrachsankchingphudarngtaaehnngnaykrthmntri sungkumxanacthangkarthhar karbriharaelakarthutkhxngrachsankchingxyuinewlann odykaresnxihptirupkarpkkhrxng aetsunkimekhymiaemkrathngoxkasthicaidekhaphbhlihngcang sakhwamkhidehnkhxngekhakmiidrbkhwamsnicexaely khunnangphuihyskdinathiepnkhikhaaelanayhnakhatangkhxngckrwrrdiniymhrux casamarthrbkhxesnxthimilksnakawhnainyukhnnidemuxthukptiesthkhrngaerk sunidrangdikaepnhnngsuxeriykrxngkhxihmikarptiruppraeths hnngsuxthiekhaekhiynthunghlinn mikhwamyawthungaepdphnkha klawodysrupsarasakhykhxngbnthukchbbnikhux fakkhwamhwngiwkbkhnchnsungkhxngchnchnpkkhrxngihdaeninmatrkarptirupkhxngchnchnnaythunbangprakaraelaeriykrxngihmikarnahlkprachathipitymaich aelainpiediywknsunidphyayamthuxdikaedinthangkhunipyngpkkingemuxnghlwng ephuxsngcdhmaythung hli hngcang odysuntxngkaresnxaenwthangkarphthnacinihkbekha aetklbthukptiesthxyangireyuxiy hli hngcangidchikdikacdhmaynnlngthngkhya phrxmthngklawehyiydhynsunwaepnkhnimmismmakharwa smakhmsingcnghuy aekikh emuxthukptiesth suncungtrahnkdiwa karepliynaeplngcinihhludcakkarpkkhrxngkhxngrachwngsching nnimsamarththaiddwywithixyangkhxyepnkhxyip aetcaepntxngkrathakaraebb phlikfakhwaaephndin xnhmaythung karichkalngptiwti dngnn invduhnawpiediywkn suncungedinthangklbipynghaway odymiaenwkhwamkhidthicarwbrwmchawcinophnthaelphurkchatikhun dngnninpiediywknthanaelalu ehatng shaykhxngthanidkxtngxngkhkarcdtngkarptirupkhunmahruxthieriykwa smakhmsingcnghuy cin 兴中会 thimikhwamhmaywa funfupraethscin khun thngnienginthunsnbsnunsmakhmdngklawkmacak sunehmy phichaykhxngthan aelatngaetnnmasunytesnkiderimchiwitthiepliynip thanidthakartxsukbrachsankching odyhwngwapraethscincasamarthklayepnpraethsthiepnxisra esmxphakh aelamnkhng ekhakhxy rusukwa withithangptirupodysntinncamipraoychnxnid caepntxngichwithikarepliynaeplngkhnphunthanaethnwithikarptirupephiyngswnhnunginpiediywknsngkhramcin yipunkhrngthihnung idraebidkhun sngkhramkhrngniehlathharhaycinidtxsuxyangthrhdaelahawhay aetrthbalrachwngschingthiehlwaehlk aelairsmrrthphaphmiklathasngkhramxyangeddediywthaihfaycintxngidrbkhwamesiyhayxyanghnk srangkhwamsaethuxnic aelaekhiydaekhnihaekmwlchnthwpraeths bdnnexng sunydesnrusukxikkhrnghnungwa praethscinkalngephchiykbwikvtkhxngprachachatixyanghnk yingkwannekhaidsanukwa sntiwithinnichkarimidelycungcaepntxngichwithikarrunaerngodykarptiwtiethann thiepnwithithangediywthicaaekwikvtikhxngpraethscinid sunydesnidedinthangip xemrikadwyxudmkarnxnyingihyxikkhrnghnung ekhaidtidtxaelaplukradmchawcin intxnaerkkhnthisnbsnunkhwamkhidxankhxngekhannmixyuephiyngimkikhncdtng smakhmephuxkarptiwtikhrngaerkcungepnchnchnthiepnklumkhxngchnchnnaythunthimikhwamrudwykhwammanainkarekhluxnihwsunginthisudekhakidrbkarsnbsnuncakkhncanwnhnungthakarkxtngsmakhmsingcnghuy funfucin sungepnsmakhmptiwtikhnadelkkhxngchnchnnaythunchwngaerk khxngcin aelaepidkarprachumthihxnonlulu thiprachumidmimtiphanrangraebiybkarkhxngsmakhmthisunepnphurang inraebiybkarrabuwa praethscintkxyuphawakhbkhn pccubnmistrulxmrxbkhxycxngtakhrubthrphyakrthrrmchatixnxudmsmburnkhxngcin odyehlastruphaknrumekhamarukranaelayudkhrxngcin aelwdaeninkaraebngsnpnswnxnepnsingnawitkxyangying phrxmknnnkpranamchnchnpkkhrxngrachwngschingthiongekhlaaelairsmrrthphaphwa fayrachsankkoxnxxnphxntam swnkhunnanghruxkongekhlaebapyya imsamarthmxngkarnikl thaihpraethschatitxngesiythhar idrbkhwamxpysxdsuphwkkhikhaphaihbanemuxngsukhwamhayna mwlchntxngidrbekhraahkrrmthnthukkhthrmanimmiwnonghw karkxtngsmakhmnikhunkephuxkxbkuchatibanemuxng phdungiwsungskdisri ephuxrwbrwmprachachncinthngin aelanxkpraeths ephyaephrxudmkarnkuchati inkhaptiyankhxngphusmkhrekhaepnsmachiknn yngidyaxikwa catxngkhbilphwkaemncu thipaethuxnxxkip funfupraethscincdtngsatharnrth xnepnkhwamkhidthimilksnaptiwti idesnxxudmkarnihokhnlmrachwngsching sungepnthasrbichkhxngckrwrrdiniym aelasthapnasatharnrth pkkhrxngodyprachathipity michnchnnaythunsnbsnunaebbtawntktxprachachncinepnkhrngaerk sungidklayepnhlknoybayxnaerkkhxngkarptiwtikhxngchnchnnaythunpraethscin karptiwtithikwangocw aekikh thngthxngfasikhram tawnsadsxng sungichepnthngkhxngsmakhmsingcnghuyinkarptiwtithikwangocw dwykhwamrwderw smakhmsingcnghuy wangaephnkarptiwtiinthnthi aelakahndexawnthi 26 tulakhm kh s 1895 epnwnlngmux odyaephnkardngklawnn ichkalngkhn 3 000 khn ephuxyudemuxngkwangocw emuxngexkkhxngmnthlkwangtung ephuxichepnthaninkarkhyaykarptiwtitxip odyinkarptiwtidngklaw luehatng ephuxnsnithtngaetyngedkphuechuxmninxudmkarnptiwtikhxngsun idxxkaebb thngfasinaenginkbdwngtawnsikhaw iwichdwy inewlatxmathngdngklawidklayepnthngchatikhxngsatharnrthcin xyangirktam karlngmuxptiwtikhrngaerkkhxngsun klblmehlwlngxyangimepntha enuxngcakmikhnthrys nakhawipbxkkbecahnathikhxngrachsankchingkxn sungkthaihphurwmptiwtithukpraharchiwittdhwip 47 khn rwmthung luehatng swndr sunsungihwtwthnkxncungidrxdchiwitaelahlbhniidsaerc hlngcakkarptiwtiinkwangocwprasbkhwamlmehlw sunidslayphuthimarwmkxkarxyangsukhum caknnekhakedinthangodythangeruxxxkcakkwangocw phanhxngkngipliphythipraethsyipun aelwkkxtngsakhasmakhmsingcnghuykhunthioyokhama sunktdphmhangepiyaebbaemncuthing epliynekhruxngaetngkaymaissuthaebbchawtawntkephuxaesdngthungkhwameddediywinkarptiwti aelaedinthangippraethstang ephuxplukradmchawcinihekharwmkarptiwti dr sun ytesn inchwngkhnathakarekhluxnihwprachathipity hlngcaktng sakhasingcnghuy khunthiyipun eduxnmithunayn kh s 1896 sunkedinthangtxipyngshrthxemrika aelaxngkvs ephuxsuksaaenwkhidthangkaremuxngkhxngpraethstang inshrth aela yuorp odyidrbkhwamchwyehluxcak dr ecms aekhntli Dr James Cantlie xacarychawxngkvsthiekhysxnekha n withyalykaraephthyinhxngkng aelaidrbkarsnbsnunthangkarengincakphichaykhnedim karthukcblkphatwthixngkvs prachachatiekhluxnihw aekikh wnthi 11 tulakhm kh s 1896 rahwangkarediniptamthxngthnninkrunglxndxn sunkthuklkphatwekhaipyngsthanthutcinpracakrunglxndxn ephuxsngtwlngeruxcaklxndxnklbipyngcinephux tdhw tamkhabychakhxngxngkhchayicefing rachsankchingnntngkhahwkhxngekhaiw 7 000 pxnd inthanakbttxrachsank hruximthakarlxbphatwsun klbipcinimsaerckcasngharesiythisthanthutcinthilxndxn 14 xyangirktamdwykhwamchwyehluxcak phnkngan chawxngkvsinsthanthut thisngkhawipih dr aekhntli xacaryaephthyphuchidechuxkb sun ytesn dr aekhntlikthakarchwyehluxsisythukwithithang odythanghnungtidtxipyng skxtaelndyard emuximidphlcungpraokhmkhawphanthanghnngsuxphimphedxa oklb aela edxaithms thilngphadhwwa nkptiwticinthuklkphatwinlxndxn 15 16 khawdngklawepnkraaesinhmukhnxngkvs aelakddnihrthmntritangpraethsxngkvstxngtidtxipyngsthanthutcinephuxecrca cnsudthaysthanthutcininlxndxntxngplxytwsun xxkmahlngcakkktwiwnan 12 wn sungintxnhlngsunidnaehtukarntxnnimaekhiynodylaexiydodyichchuxwa Kidnapped in Londonhlngcakrxdphncakwikvtkarnthiekuxbthungaekchiwitsun kkhluktwxyuinhxngsmudkhxngbritichmiwesiymepnewlathung 9 eduxness caknnthungedinthangmayngaephndinyuorp ephuxsuksathungaenwthangkaremuxngkhxngsngkhmolkinkhnann odyechphaaaenwonminkarptirup ptiwti rwmthungkarphthnaxutsahkrrmkhxngpraethstang cninthisud pi kh s 1897 ekhacungphthnaaenwkhidthiwadwykarptiwtisngkhm xntxenuxngknkbkarptiwtichatikbprachathipitythikhidiwkxn hlkaenwkhidlththiitrrasdr aekikh hlkkarprachathipitykhxngdr sun ydesnsungepnthiruckknaephrhlaythisudkkhux hlksamprakaraehngprachachn hrux lththiitrrasdr sanhmincuxi cin 三民主义 The Three Principles of the people xnidaekexkrachaehngchati hmincu xanacxthipitykhxngprachachn hminchwn aelahlkinkarkhrxngchiph hminesing phasaxngkvsniymaeplepnhrux socialism sungsamarthsrupidodyyxkhux 1 chatiniym hmincu hruxhlkkarthuxkhwamepnexkrachkhxngchati enuxngmhaxanacckrwrrdiniymyngkhngkhukkhamtamhwemuxngtang phunaephndinkhxngcin sunidichhlkkartxtanckrwrrdiniymaelalththilaxananikhmmasxdaethrkepnkhxyxykhxnghlkkarkhxaerk swnkhxyxykhxsxngkhuxhlkkarpkkhrxngtnexngthikhwrcaidaekchnklumnxyphayinpraethscin sunthuxwathukchnchatiincinthukchnchatikhwrmikhwamesmxphakhethathiymknaelalwnepnchawcindwykn praethscinprakxbdwyechuxchatiklumihy 5 epha khux chawhn chawaemncu chawmxngokl chawthiebt chawxuykur sunthuxwarachwngschinginkhnannpkkhrxngodyxphisiththichnchawaemncucungkhdkbhlkkarcungtxngthakarokhnlmrachwngschingaelaihchawaemnculngmamithanaethakbechuxchatixun 2 prachathipity hminchwn hruxhlkkarthuxxanacxthipitykhxngpwngchn rthbalinxudmkarnkhxngsun catxngepnrththiaebngaeykxngkhkarthiichxanacxthipityxxkepn 3 sakha khuxnxkcakmixanacnitibyyti xanacbrihar aelaxanactulakar tamhlkkhxngmxngetskiexx Montesquieu sunyngmiennyathungkhwamsakhykhxngkareluxktng odykarmiswnrwmkhxngprachachninkhnaediywkntxngthuxwaprachachncaepnphumixanacmakthisud karepnecakhxngxanacxthipitykhxngprachachnxacaesdngxxkid 4 thang xanackarxxkesiyngeluxktng Election xanacthxdthxn Recall aelaxanackarlngprachamti Referendum 3 khwamepnxyukhxngprachachn hmingesing hruxhlkkarinkarkhrxngchiph epnhlkkarthisunidyumexalththisngkhmniymaelakhxmmiwnistmaich mikaraebngsrrpnswnthidinichsxyaenwkhidthngsamdingklawtxmaidklayepnhlkkarphunthanthiyudthuxinkarptiwtikhxngcintlxdrayaewlahlaysibpi thngehminghuy aekikh cdhmaylaymuxphrxmtraprathbkhxngsun ytesn inkarkxtngsmakhmthngehminghuyinhxngkng phaphwad dr sun ytesn khnaklawprasrythamklangbrrdaehlankptiwti hlngcakthiprachummichnthamtilngkhwamehnihcdtngkhbwnkarthngehminghuy sahrbbthkhwamhlkinhmwdhmuni duthi thngehminghuy rahwangthisunekhluxnihwephuxsrangkraaeskarptiwticinnn inphunthixun khxngpraethscinkmikhwamekhluxnihwcakkhnklumtang dwyechnkn ephiyngaetklumxunnnepnepnephiyngklumthikracukaetephiynginphunthinn miidmikarkhidkarihysungkhrxbkhlumipthwpraeths aelathisakhyimmihlkkarphunthankhxngkarptiwtithiaenchd dngechn lththiitrrasdr khxng sun ytesncnineduxn singhakhm pi kh s 1905 kmikarprakasrwmklumphusnbsnunkarptiwticinthichux smakhmphnthmitrptiwticin cngkwthngehminghuy 中国同盟会 khunxyangepnthangkar ody thngehminghuy nimicudmunghmayinkarptiwtilmrachwngsching odyyudhlkkarkhxnglththiitrrasdr odysunyklangkhxngthngehminghuynn xyuthiemuxngotekiyw praethsyipun 17 chwngkxnhnathi thngehminghuy caekidkhunnn thangfngrachsankcinthiprakassngkhramkbyipun chatitawntk aelaplxyihkbtnkmwyxxkmasrangkhwamwunwayinpkking kalngtkxyuinsthanaaephsngkhramihkbkxngthphmhaxanacphnthmitr 8 praeths cntxngmikarlngnaminsnthisyyathieriykwa Boxer Protocol cin 辛丑条约 lngnaminwnthi 7 knyayn kh s 1901 ephuxyunynwa cinyinyxmchdichkhaptikrrmsngkhramcanwnmhasal ckrphrrdikwngs wikkalngphyayamthakarptirupthangkarpkkhrxngpraeths karthhar xyuechnkn odymikarsngkhnipsuksayngtangpraethsephuxetriymprakasrththrrmnuy rabbkarsxbcxhngwnksinsudlnginchwngni aela karsasmkalngthharephuxsrangepnkxngthphkhxnghywnsuxikhkekidkhuninchwngniechnkn aetthnghmdksinsudlngephraakarkhdkhwangkhxngphranangsusiithehaxyangirktam dngechn thi sunklawiwthung khwamsinhwngtxrabxbckrphrrdi karptirupthirachsankchingphyayamthann insaytakhxngprachachnklbimmixairepliynaeplng aelayingepnkarehyiybyasaetimihthukkhyakyingkhunipxik cakkraaeskhwamimphxickhxngprachachntxrachsankchingthiphungkhunsung sngphlihphayinrayaewlaaekhhnungpi thngehminghuy rwbrwmsmachikidmakkwahmunkhn mikarepidhnngsuxphimphephux plukradm aelaephyaephr lththiitrrasdr aelathisakhyphyayamlngmuxkrathakarptiwtitxenuxngkareyiymchawcinophnthael aekikh phayinkhxngbanphkwan chinghywn sungsun ytesnichepnthitngkhxngsmakhmthngehminghuythisingkhopr karptibtikhxngeyiymchawcinophnthaelkhxng sun ytesn idekidkhuninpi kh s 1910 sunidmaeyiymchawcinophnthaelinexechiyxakheny xathiechn ewiydnam khnannepnswnhnungkhxngxinodcinfrngess maelesiy singkhopr aela syam mlayaaelasingkhopr aekikh khwamoddednaelakhwamniymkhxngsunidkhyayipthwpraethscin rwmthngphumiphakhexechiytawnxxkechiyngitdwy sungmichawcinophnthaelcanwnmakxasyxyuthimlaya maelesiyaelasingkhopr epncanwnmak thisingkhoprekhaidphbkbphxkhathxngthinchawcin echn etiyw exng hk tn chx nm aela lim nisun sungepncuderimtnkhxngkarsnbsnunodytrngcakklumchawcinophnthael smakhmthngehminghuy sakhasingkhopr kxtngemuxwnthi 6 emsayn kh s 1906 18 banphkthisunphkinsingkhoprthiruckkninchux wan chinghywn sungepnthanthimnkhxngsmakhm 19 ithy syam aekikh sunidekhamainpraethsithy tngaetinpi kh s 1903 sungthanidthangslbipmarahwangithy mlayaaelasingkhopr emuxsunmathungkrungethph thanidekhaefa phrabathsmedcphramngkudeklaecaxyuhw khrngyngdarngphraxisriyysepnsyammkudrachkumar ephuxkhxphrarachthanphrarachanuyatphbpakbchawcininpraethsithy phraxngkhthrngmiphrabrmrachanuyatihthansamarthphbpakbchawcininpraethsithyihthuktxngtamkdhmaykhxngpraeths txmathanidcungmaprasrythithnneyawrach 20 ephuxplukradmchawcinophnthael hwechiyw insyamihsnbsnunkarptiwtiokhnlmrachwngsching sunidphbkbhwhnakhxngchawcininkrungethph inkhnann khux esiywhudesng tntrakul sibuyeruxng phukxtnghnngsuxphimphcinonsyamwarsphth sungidchwytiphimphaenwkhwamkhidkhxngsunlnginhnngsuxphimphcin aelachwysngengininkarsnbsnunsmakhmthngehminghuydwy 21 karptiwtisinih aekikhsahrbbthkhwamhlkinhmwdhmuni duthi karptiwtisinih kxngthphfayptiwtiin karkxkarkaeribxuchang kalngthakarrbinyuththkarhyangesiy nbaetpi kh s 1907 thngehminghuythakarekhluxnihwephuxptiwtiinphunthiphakhitkhxngcinsibkwakhrng kxncasaercthisudinwnthi 10 tulakhm kh s 1911 thi xuchang mnthlhuepy karptiwtikhrngprawtisastr erimkrathakarxyangerngdwninkhunwnthi 10 tulakhm ody thharsmachikphrrkhptiwtiinkxngthphihmthipracakarxyuphayinemuxngxuchangsungnaodyphubngkhbkarthichuxwa hlihywnhng 黎元洪 aetprascakphunakhxngthngehminghuy khxysngkaraemaetkhnediyw enuxngcakaephnptiwtirwihlipekhahuthangkarekha sun ytesn yunxyuhlngota aela eciyng ikhechkh yunbnewthi swmekhruxngaebb inphithiepidorngeriynnayrxyhwangphuinpi kh s 1924 ehtukarninkhrngnneriykknwa karkxkarkaeribxuchang 武昌起义 hruxeriykknngay wa sxngsib 双十 enuxngcakekidkhuninwnthi 10 eduxn 10 pccubnchawithwnyngthuxexawnniepnwnchatixyu khnathicinaephndinihythuxexawnthi 1 tulakhm epnwnchati swnchuxthangkarkhxngkarptiwtinneriykwa karptiwtisinih 辛亥革命 enuxngcaktamptithincnthrkhtinnepn pi kh s 1911 chawcineriykwapisinihprakayifaehngkhwamsaerckhxngkarkxkarthixuchang plukihekidkarptiwtithwpraethscin odyinchwngplayeduxnphvscikayn kh s 1911 mithung 14 mnthl cakthnghmd 24 mnthlkhxngcinthiprakaspldplxytwexngxxkcakkarpkkhrxngkhxngrthbalchingthipkking edinthangklbpraeths aekikh emuxfayptiwtiidchychnainkarkxkarthixuchangthaihsamarthtnghlkinkarsukbrachsankchingid khnannsun ytesnkalngliphythishrthxemrikaidrbkhawthaihthanbrrlukhwamiffnaelayindiepnxyangmak thancungidtdsinicnngeruxedinthangphanmhasmuthraepsifikklbpraethscin ephuxtidtamsthankarnkarrbxyangiklchidaelaephuxkhwykalngickhxngkxngthphptiwtiinwnkhristmaskhxngpi kh s 1911 sun ytesnkklbcaktangpraethsmathungesiyngih emuxeruxklifaelnthungesiyngih thithaeruxmifungchnmatxnrbxyangenuxngaenn thngsmachikphnthmitrkhnaptiwti phusuxkhaw krrmkr phxkhaaelachawemuxngcanwnmak emuxsun ytesnlngcakeruxkyimaelachuhmwkkhunobkthkthaymwlchnthimatxnrb aelakhnaedinxxkcakthaeruxphusuxkhawcanwnmakkhxmlxmiw aetlakhnmiklxngthayrupinmuxaelaaeyngknthayrup sunytesnidcbmuxaelaphudthkthaykbthukkhn n thinn minkkhawkhnhnungidthamsunwa idkhawwathanidnaenginkxnihyaelaeruxrbmacaktangpraeths suntxbwa phmklbmakhrngni immiengintidtw aetthinatidtwmakhuxciticptiwti phlangaehwkkraepakangekngihnkkhawdu nkkhawyngidthamkhathamthingthayxikwa thankhidxyangirkbchychnakhrngni sunytesntxbxyangechiybkhadwa chychnakhrngnikhuxchychnakhxngphwkerathukkhnsungepnprachachn sthapnasatharnrth aekikhduephimetimthi satharnrthcin kh s 1912 1949 darngtaaehnngprathanathibdichwkhraw aekikh sun ytesninchwngthidarngaehnngepnprathanathibdichwkhrawkhxngrthbalechphaakal rthbalechphaakalaehngsatharnrthcin 1912 aekikh karptiwtisinihyngkhngdaenintxipfayrachwngschingepnfayphayaephaelathxyrniperuxy fayrachwngsyngkhngkhwbkhumphunthiinphakhehnuxrxbnkhrhlwngpkkingiwidxyangekhmaekhngodythifayptiwtiyngimsamarthbukekhaipid miephiyngy ehwiyn chuxikhaemthphephiyngkhnediywthikhabllngkrachwngschingiwethann sunytesnphyayamekliyklxmihy ehwiynchuxikhaeprphktrcakrachsankchingmaekharwmkarptiwtikbfayptiwti odyyunenguxnikhwacamxbtaaehnngprathanathibdiaehngsatharnrthih hakbngkhbihckrphrrdirachwngschingslarachsmbtiid thngniepnephraasuntxngkarhlikeliyngkarsuyesiyeluxdenux yutisngkhramodyerw aelaribsthapnasatharnrthkhnathisunytesnphankinesiyngih brrdakhnaptiwticakmnthltangidesnxihthandarngtaaehnngprathanathibdiely aetiniccringkhxngsunytesnimxyakrbtaaehnng thanidesnxihyayemuxnghlwngipthikrunghnancing enuxngcaknkhrpkkingnnepnemuxnghlwngkhxngrachwngschingetmipdwyphrarachwngsathxnsungsylksnaehngrabxbskdinaesiydaethngcitickhxngprachachn khxihyayemuxnghlwngipemuxnghnancingaethnaelakhxihcdkareluxktngprathanathibdiaebbprachathipitythiemuxngdngklawphrxmetriymkarsthapnapraethsaebbsatharnrth rahwangniihichthngchatihasiipphlangkxntxmakhnatwaethncakmnthltangidepidprachumthihnancingephuxcdrthbal mitwaethn 40 khn cak 17 mnthlekharwmprachum mikarlngkhaaenneluxktngprathanathibdicakkarkhanwnkhaaennthimiphl 17 khaaennesiyng emuxthakarepidhib esiyngswnihyeluxksunytesn 16 khaaennesiyngthaihsunytesnidrbeluxkepnprathanathibdi aetxyangirsunyngkhngimxyakrbtaaehnngephraaekrngcaepnthikhrrha sunrbphidchxbtxsaytasatharnchnmakcungkhxiheriyk prathanathibdichwkhraw aela rthbalechphaakal aethnwnthi 1 mkrakhm kh s 1912 wnkhunpiihm sunytesnedinthangcakesiyngihipemuxnghnancingephuxrbtaaehnngprathanathibdichwkhraw emuxsunthungthaeniybprathanathibdichwkhraw phithiekharbtaaehnngprathanathibdichwkhrawiderimchun sunklawpathkthaeruxnglththiitrrasdr samhlkkaraehngprachachn emuxcbkarpathktha sun ytesnhnhnaekhahathngchatihasiphrxmchumuxkhwaxyangekhrngkhrum klawkhasabantxprachachnthwpraeths hlngcaknnmikhaaethlngkarnkahndchuxpraeths odymikarichkhawa hminkw 民國 thiaeplwa praethskhxngprachachn rwmkbkhawa cnghwa 中華 thiaeplwa praethscin epn cnghwahminkw 中華民國 hrux satharnrthcin khnarthbalkhxngsunytesn karprachumkhnarthbalechphaakalthihnancing sun ytesnnngthihwota sunytesnedinnahnaecahnathithharemttathrrmtxrachwngsching aekikh karprachumwuthisphakhxngrthbalechphaakalhnancingidharuxtxkardaeninkartxrachwngsching thiprachumswnihyesnxihnabrrdaechuxphrawngsmakhunsalaelaphicarnatdsinoths aetdr sunimehndwykbkarnaechuxphrawngsmakhunsalaelaidaeyngtxkhxesnxkhxngthiprachumwa karptiwtiimcaepntxngmikarnxngeluxd sunyngesnxihsmachikinthiprachumkhanungtxkhwamemttasungcaepn khunthrrmkhxngsatharnrth 民國道德 echuxphrawngschingcungimthuksaercothsinthisudkhnarthbalkhxngdr sun idminoybayihbrrdaechuxphrawngsaelakhunnangkhxngrachwngschingmisiththiaelathanaethaethiymphlemuxngthrrmdaaelaxnuyatihprathbxyuinphrarachwngtxnghamtxipid rthbalaehngsatharnrthcaihkarkhumkhrxngaelathwayenginephuxrksaphraekiyrtipila 4 lantalung aettxngekharphtxkdhmaykhxngsatharnrthxyangekhrngkhrd karlaxxkcaktaaehnngaelakarthukthrys aekikh rthbalepyhyang aekikh dubthkhwamhlkthi rthbalepyhyang wnthi 12 kumphaphnth pi kh s 1912 y ehwiyn chuxikhbibbngkhbihckrphrrdiphuxislarachsmbtiidsaerc rachwngschingthipkkhrxngpraethscinmahlayrxypitxnglmslay y ehwiyn chuxikhiderimeriykrxngihsunytesnlaxxkaelamxbtaaehnngprathanathibditamsyya sunytesncungidetriymkarlaxxkcaktaaehnngprathanathibdiephuxihkhastyaeksyyaaettxmay ehwiyn chuxikhsthapnatnexngkhunepnkstriyesiyexng sunghywnkidtay aetpraethscinnnkaetkaeyksaaehrkkhadmisngkhramaelakhunsuktlxdewla txmanayaephthy sun ytesn idphbkbeciyngikhechkh aelwtngorngeriynthharhwangphukhunmaephuxsrangkxngthphphrrkhkkmintngkhxngtnexngdwykhwamchwyehluxthngdankarfukthharaelakarengincakosewiyt rwbrwmaephndincinihepnpukaephnaetwahlngtngorngeriynhwangphuidaekh 11 eduxn thankesiychiwitdwywy 59 pi dwyorkhmaerngtb emux 12 minakhm kh s 1925wthnthrrmsmyniym aekikhdr sun ytesnidthuksrangepntwlakhrinphaphyntreruxng ihyphaihy sungepnphaphyntrxingprawtisastrinchwngkarptiwtisinihbthkhwamthiekiywkhxng aekikhsatharnrthcin satharnrthprachachncin phrrkhkkmintng ithwnxangxing aekikh Derek Benjamin Heater 1987 1987 Our world this century Oxford University Press ISBN 0199133247 9780199133246 Schoppa Keith R 2000 2000 The Columbia guide to modern Chinese history Columbia university press ISBN 0231112769 9780231112765 p 282 Sun Yat sen Encyclopedia Britannica 门杰丹 4 December 2003 浓浓乡情系中原 访孙中山先生孙女孙穗芳博士 Interview with Dr Sun Yat granddaughter of Dr Sun Suifang www chinanews com phasacin subkhnemux 30 July 2012 aemaebb Google translation 浓浓乡情系中原 访孙中山先生孙女孙穗芳博士 chiwprawti dr sun ytesn Interview with Dr Sun Yat sen s granddaughter Dr Sun Suifang Chinanews com phasacin 4 December 2003 subkhnemux 28 minakhm 2017 Kubota Gary 20 August 2017 Students from China study Sun Yat sen on Maui Star Advertiser Honolulu subkhnemux 21 August 2017 KHON web staff 3 mithunayn 2013 Chinese government officials attend Sun Mei statue unveiling on Maui KHON TV Honolulu khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 22 singhakhm 2017 subkhnemux 21 singhakhm 2017 Unknown parameter deadurl ignored help Sun Yat sen Memorial Park Hawaii Guide subkhnemux 21 August 2017 Sun Yet Sen Park County of Maui subkhnemux 18 October 2019 Dr Sun Yat Sen class of 1882 ʻIolani School website khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 20 July 2011 Unknown parameter deadurl ignored help chiwprawti dr sun ytesn inphasacin Big5 chinanews com 89 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 28 October 2011 subkhnemux 28 minakhm 2017 Unknown parameter deadurl ignored help Bard Solomon Voices from the past Hong Kong 1842 1918 2002 2002 HK university press ISBN 962 209 574 7 ISBN 978 962 209 574 8 pg 183 wikrm krmdisth mxngsixioxolk ophst phblichching 2550 Sun Yat sen Chinese leader Encyclopedia Britannica phasaxngkvs subkhnemux 2018 03 31 Wong J Y 1986 The Origins of a Heroic Image SunYat Sen in London 1896 1987 Hong Kong Oxford University Press as summarized in Clark David J Gerald McCoy 2000 The Most Fundamental Legal Right Habeas Corpus in the Commonwealth Oxford Oxford University Press p 162 Cantlie James 1913 Sun Yat Sen and the Awakening of China London Jarrold amp Sons Internal Threats The Manchu Qing Dynasty 1644 1911 Imperial China History China Asia Countriesquest com subkhnemux 31 minakhm 2017 Yan Qinghuang 2008 2008 The Chinese in Southeast Asia and beyond socioeconomic and political dimensions World Scientific publishing ISBN 981 279 047 0 ISBN 978 981 279 047 7 pg 182 187 Sun Yat Sen Nanyang Memorial Hall Wanqingyuan org sg subkhnemux 31 minakhm 2017 Eric Lim Soi Sun Yat Sen the legacy of a revolutionary Tour Bangkok Legacies subkhnemux 31 minakhm 2017 Eiji Murashima The Origins of Chinese Nationalism in Thailand PDF Journal of Asia Pacific Studies Waseda University subkhnemux 31 minakhm 2017 hnngsux prawtisastrcinyukhiklaelayukhpccubn 中国近现代历史概要 ody tucuxcun khxngmhawithyalyphasaaelawthnthrrmpkking bththi 9 11 hnngsuxprawtisastrcin ody thwip wrdilk sankphimphsukhphaphic ph s 2542 bththi 20 hnathi 739 771 hnngsuxthisudkhxngemuxngcin ody sukhsnt wiewkemthakr sankphimphsukhphaphic 2543 hnathi 83 87 hnngsux 孙中山在说 2004 ody suncngsan sankphimphtngfng aeplcakhnngsuxaebberiynphasacin xxkodymhawithyalypkkingkhxngcin Lonely Planet Taiwan 6th edition phvscikayn 2547 bthkhwamekiywkbbukhkhl chiwprawti aelahwkhxthiekiywkhxngkbpraethscinniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmulekhathungcak https th wikipedia org w index php title sun ytesn amp oldid 9537838, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม