fbpx
วิกิพีเดีย

ประวัติศาสตร์มาเลเซีย

มาเลเซียเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นประเทศเพื่อนบ้านของไทยทางทิศใต้ ตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญของภูมิภาคคือช่องแคบมะละกา (Straits of Malacca) ซึ่งเป็นทางผ่านของเส้นทางการคมนาคมและการค้ามาแต่สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์มาเลเซียเริ่มต้นเมื่อชาวโพรโต-มาเลย์ (Proto-Malay) อพยพมาถึงดินแดนประเทศมาเลเซียจากทางทะเล จากนั้นอารยธรรมอินเดียได้แผ่ขยายมาถึงแหลมมลายู กำเนิดเป็นรัฐโบราณต่าง ๆ ซึ่งนับถือพระพุทธศาสนามหายานและศาสนาฮินดู กลุ่มอำนาจที่สำคัญในสมัยโบราณคืออาณาจักรศรีวิชัยซึ่งเป็นศูนย์รวมของเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ทั่วภูมิภาค การติดต่อทางการค้ากับชาวอาหรับ อินเดีย และเปอร์เซียทำให้ศาสนาอิสลามเผยแพร่มาสู่ดินแดนประเทศมาเลเซียในสมัยต่อมา ชนชั้นผู้ปกครองเจ้าผู้ครองอำนาจในมาเลเซียจึงหันมารับนับถือศาสนาอิสลาม ดำรงตำแหน่งเป็นสุลต่าน ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 รัฐสุลต่านมะละกา (Malacca Sultanate) เป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมในโลกทัศน์ของชาวมลายู ในเวลาเดียวกันนักสำรวจชาวยุโรปมาถึงยังดินแดนภูมิภาคนี้ นำไปสู่การเผชิญหน้าทางการทหารและชาวโปรตุเกสเข้ายึดเมืองมะละกาได้ใน ค.ศ. 1511 เมื่อรัฐมะละกาล่มสลายศูนย์กลางทางการเมืองของมลายูจึงย้ายไปอยู่ที่รัฐสุลต่านยะโฮร์ (Johor Sultanate) ในขณะที่รัฐต่าง ๆ ในภาคเหนือของมลายูเช่นไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสยามอาณาจักรอยุธยาและรัตนโกสินทร์ ในสมัยต่อมาชาวฮอลันดาเข้ามามีอำนาจแทนที่ชาวโปรตุเกส ต่อตามมาด้วยชาวอังกฤษ นำไปสู่สนธิสัญญาอังกฤษ-ฮอลันดาปี ค.ศ. 1824 (Anglo-Dutch Treaty of 1824) แบ่งเขตอิทธิพลระหว่างสองอำนาจ ดินแดนส่วนของอังกฤษที่มาจากสนธิสัญญานี้จะกลายเป็นประเทศมาเลเซียในที่สุด อังกฤษจัดตั้งอาณานิคมขึ้นที่สิงคโปร์และปีนัง เรียกว่า อาณานิคมช่องแคบ (Straits Settlements) ใน ค.ศ. 1895 รัฐทั้งสี่รัฐได้แก่ปะหัง เปรัก เซอลาโงร์ และเนอเกอรีเซิมบีลัน ทำสนธิรัญญายินยอมเข้าเป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ นำไปสู่การจัดตั้งสหพันธรัฐมลายู (Federated Malay States) และอาณานิคมมลายาของอังกฤษ (British Malaya) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัฐทั้งสี่ได้แก่ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส เข้ามาอยู่ในอิทธิพลของอังกฤษ

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครองอาณานิคมมลายาของอังกฤษเป็นเวลาชั่วคราว หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองอังกฤษเข้ามาพยายามฟื้นฟูระบอบการปกครองของอาณานิคมตามเดิม แต่เกิดกระแสชาตินิยมขึ้นนำไปสู่การปะทะทางทหารเพื่อปลดแอกมาเลเซียจากอังกฤษเรียกว่า ภาวะฉุกเฉินมลายา (Malayan Emergency) ซึ่งพรรคคอมมิวนิสต์มลายา (Malayan Communist Party) เป็นแกนนำหลักในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราช แม้ว่าอังกฤษจะได้รับชัยชนะในการต่อสู้กับพรรคคอมมิวนิสต์ แต่มาเลเซียก็ได้รับเอกราชในที่สุดในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1957 ประเทศมาเลเซียก่อตั้งขึ้นภายใต้ผู้นำตุนกู อับดุล ระฮ์มัน (Tunku Abdul Rahman) ความพยายามของอาณานิคมบอร์เนียวเหนือซึ่งประกอบด้วยซาบะฮ์และซาราวักในการที่จะเข้าร่วมกับประเทศมาเลเซียนำไปสู่สงครามระหว่างมาเลเซียและอินโดนีเซีย (Konfrontasi) มาเลเซียชนะสงครามและสามารถผนวกเอาดินแดนภาคเหนือของเกาะบอร์เนียวมารวมเข้ากับประเทศมาเลเซียได้สำเร็จ ความขัดแย้งทางเชื้อชาติระหว่างชาวมลายูกับชาวจีนนำไปสู่การขับสิงคโปร์ออกจากประเทศมาเลเซียใน ค.ศ. 1965 นายกรัฐมนตรีอับดุลระฮ์มันออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ทางเศรษฐกิจแก่ ภูมิบุตร (Bumiputera) หรือชาวมลายูท้องถิ่นดั้งเดิม ในสมัยของนายกรัฐมนตรีมาฮาดีร์ บิน โมฮามัด เศรษฐกิจของมาเลเซียเจริญเติบโตขึ้น

สมัยก่อนประวัติศาสตร์

 
ทวีปซุนดาแลนด์ (Sundaland)

ในยุคหินเก่า หรือยุคน้ำแข็ง เมื่อประมาณ 100,000 ปีก่อนถึงเมื่อ 12,000 ปีก่อน ระดับน้ำทะเลอยู่ต่ำกว่าระดับในปัจจุบันประมาณ 30-40 เมตร ทำให้ทะเลจีนใต้บางส่วนตื้นเขินขึ้นมาเป็นแผ่นดินและคาบสมุทรมลายูเป็นดินแดนผืนแผ่นเดียวกันกับเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว เรียกว่า ดินแดนซุนดาแลนด์ (Sundaland) มีการค้นพบกระดูกมนุษย์โฮโมเซเปียนส์ที่เก่าแก่ที่สุดในมาเลเซียคือ มนุษย์เปรัก (Perak Man) ที่เมืองเลิงกง (Lenggong) รัฐเปรักในปัจจุบัน มีอายุประมาณ 11,000 ก่อน จากหลักฐานทางพันธุกรรมและการกระจายตัวของชาติพันธุ์ในปัจจุบัน ตามทฤษฏีออกจากแอฟริกา (Out of Africa theory) มนุษย์โฮโมเซเปี้ยนส์กลุ่มแรกที่มาถึงดินแดนมาเลเซียคือกลุ่มชาติพันธุ์นิกรอยด์ หรือเรียกว่าเนกริโต (Negrito) มาถึงดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อประมาณ 60,000 ปีก่อน ปัจจุบันคือชาวซาไก (Sakai) หรือซึ่งชาวมลายูเรียกว่า เซมัง (Semang) หรือเซนอย (Senoi) ซึ่งคนไทยรู้จักในนาม “เงาะป่า” ชาวซาไกเป็นมนุษย์กลุ่มแรกในภูมิภาคและดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์เก็บของป่า ต่อมาเมื่อประมาณ 20,000 ปีก่อนกลุ่มชนที่พูดภาษาในกลุ่มออสโตรเอเชียติก (Austro-Asiatic) มาถึงยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยชนกลุ่มออสโตรเอเชียติกมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มนิกรอยด์เดิม ทำให้ชนกลุ่มเนกริโตรับเอาภาษาของชาวออสโตรเอเชียติกมาใช้กลายเป็นภาษากลุ่มอัซลี (Asilan languages) ในปัจจุบัน ชาวมลายูเรียกชนพื้นเมืองดั้งเดิมซึ่งอาศัยอยู่ในมาเลเซียก่อนการมาถึงของชาวมลายูรวม ๆ กันว่า ชาวโอรังอัซลี (Orang Asli)

 
การกระจายตัวของชาวออสโตรนีเซียนออกจากเกาะไต้หวันไปตามที่ต่าง ๆ ได้แก่บริเวณหมู่เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงหมู่เกาะโอเชียเนียและเกาะมาดากัสการ์
 
ชาวเซมัง (Semang) หรือชาวซาไก (Sakai) หรือ "เงาะป่า" เป็นชนกลุ่มชาติพันธุ์เนกริโต (Negrito) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่เก่าแก่ที่สุดที่อาศัยในมาเลเซีย

ชาวมลายูซึ่งใช้ภาษามลายูอันเป็นภาษาในกลุ่มภาษาออสโตรนีเซียน (Austronesian) กลุ่มย่อยมลายู-โพลีนีเซียน (Malayo-Polynesian) ต้นกำเนิดของชาวมลายูทฤษฎีเก่าตั้งแต่ปี ค.ศ. 1889 ระบุว่าชาวมลายูอพยพมาถึงดินแดนประเทศมาเลเซียด้วยการเดินเรือทางทะเลในสองระลอก ระลอกแรกเรียกว่าชาวโพรโต-มาเลย์ (Proto-Malay) เป็นชาวมลายูกลุ่มแรกที่มาถึงภูมิภาคหมู่เกาะของเอเชียอุษาคเนย์เมื่อประมาณ 6000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งชาวโพรโตมาเลย์หรือชาวมลายูกลุ่มแรกนั้นกลายเป็นชาติพันธุ์กลุ่มโพรโต-มาเลย์ในปัจจุบัน เช่น ชาวดายัก (Dayak) ชาวบาตัก (Batak) และชาวนียัซ (Nias) บนเกาะบอร์เนียว และชาวจาคุน (Jakun) บนแหลมมลายู ตามมาด้วยชาวดิวเทอโร-มาเลย์ (Deutero-Malay) หรือชาวมลายูระลอกหลัง ซึ่งอพยพมาเมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล กลายเป็นชาวมลายูส่วนใหญ่ซึ่งต่อมารับวัฒนธรรมอินเดียและอิสลามและสร้างอารยธรรมและวัฒนธรรมมาเลย์ในปัจจุบัน ในปัจจุบันมีทฤษฎีออกจากไต้หวัน (“Out of Taiwan” hypothesis) โดยใช้หลักฐานทางภาษาศาสตร์ว่าภาษากลุ่มออสโตรนีเซียนมีต้นกำเนิดอยู่บนเกาะไต้หวัน ชาวออสโตรนีเซียนเริ่มอพยพออกจากเกาะไต้หวันเมื่อประมาณ 6000 ปีก่อนคริสตกาล เข้ามาตั้งรกรากในหมู่เกาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงหมู่เกาะโอเชียเนียในมหาสมุทรแปซิฟิก

ใน ค.ศ. 2009 มีการเสนอทฤษฏีใหม่ในเรื่องต้นกำเนิดของชาวมลายูคือ ทฤษฎีซุนดาแลนด์ (Sundaland Theory) จากการศึกษาทางพันธุศาสตร์เกี่ยวกับดีเอ็นเอไมโตคอนเดรีย พบว่าชาวมลายูอาจจะมีต้นกำเนิดที่แผ่นดินซุนดาแลนด์ เมื่อประมาณ 12,000 ปีก่อนยุคน้ำแข็งสิ้นสุดลงระดับน้ำทะเลสูงขึ้นทำให้แผ่นดินซุนดาแลนด์จมใต้น้ำ ชาวมลายูจึงกระจัดกระจายไปตามที่ต่าง ๆ อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องต้นกำเนิดของชาวมลายูยังคงเป็นที่ถกเถียง เมื่อชาวมลายูเข้ามาตั้งรกรากจับจองพื้นที่ทำมาหากินตามชายฝั่งทะเล ทำให้ชาวโอรังอัซลีเดิมต้องถอยร่นเข้าลึกไปในแผ่นดิน

สมัยโบราณ

 
แผนที่แสดงเครือข่ายเมืองและการขยายอำนาจของอาณาจักรศรีวิชัย

ประวัติศาสตร์ของมาเลเซียเริ่มต้นขึ้นจากการแผ่ขยายอิทธิพลของอารยธรรมอินเดียมาสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งแหลมมลายู พบหลักฐานเกี่ยวกับอารยธรรมอินเดียที่เก่าแก่ที่สุดอายุคริสต์ศตวรรษที่ 6 ในสมัยโบราณดินแดนประเทศมาเลเซียอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรศรีวิชัย (Srivijaya) ซึ่งมิใช้รัฐรวมอำนาจการปกครองที่ศูนย์กลางแต่เป็นเครือข่ายของเมืองต่าง ๆ ในภูมิภาคหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ควบคุมเส้นทางการเดินเรือสำคัญระหว่างจีนและอินเดีย ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง ประเทศอินโดนีเซีย หรืออยู่ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี จารึกภาษามลายูเก่า (Old Malay) ซึ่งเก่าแก่ที่สุดคือจารึกเคดูกันบูกิต (Kedukan Bukit Inscription) พบที่เมืองปาเล็มบัง มีอายุที่ ค.ศ. 683 เป็นจารึกภาษามลายูเก่าควบคู่กับภาษาสันสกฤต คำว่า “มลายู” นั้นมาจากคำว่าเมลายู (Melayu) เดิมหมายถึงพื้นที่ทางตอนใต้ของเกาะสุมาตราบริเวณเมืองปาเล็มบัง ต่อมาเมื่อศูนย์อำนาจย้ายมาอยู่บนแหลมมลายูคำว่ามลายูจึงเคลื่อนที่ตามมา ชนชั้นปกครองของมลายูในอาณาจักรศรีวิชัยนับถือพุทธศาสนามหายาน มีการค้นพบพระพุทธรูปและรูปของพระโพธิสัตว์ต่าง ๆ ในประติมากรรมศิลปะแบบศรีวิชัย

 
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรในพุทธศาสนามหายาน ศิลปะศรีวิชัย พบที่เมืองบีโดร์ (Bidor) รัฐเปรัก ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติมาเลเซีย

ใน ค.ศ. 1025 พระเจ้าราเชนทราโจฬะที่ 1 (Rajendra Chola I) แห่งราชวงศ์โจฬะจากแคว้นทมิฬในอินเดียใต้ ยกทัพเข้ารุกรานดินแดนของศรีวิชัยในคาบสมุทรมลายู ทำให้อำนาจของอาณาจักรศรีวิชัยในภูมิภาคเสื่อมลง คาบสมุทรมลายูตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาวทมิฬอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง ทำให้มีการค้นพบจารึกภาษาทมิฬตามที่ต่าง ๆ เมืองมลายูที่เก่าแก่อยู่ภายใต้การปกครองของศรีวิชัยได้แก่ เมืองคตาหะ หรือเกดะห์ (Kedah) หรือเมืองไทรบุรี และเมืองปะหัง มีการค้นพบแหล่งโบราณคดีที่หุบเขาบูยัง (Bujang valley) ที่รัฐเกดะห์ แสดงถึงวัฒนธรรมทมิฬและพุทธศาสนา เมื่อชาวทมิฬโจฬะเสื่อมอำนาจถอยออกไปแล้ว คาบสมุทรมลายูจึงอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรตามพรลิงก์ (Tambralinga) ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนครศรีธรรมราช ใน ค.ศ. 1231 พระเจ้าศรีธรรมาโศกราชขึ้นครองอาณาจักรตามพรลิงก์ เมืองต่าง ๆ ทางเหนือของมาเลเซียได้แก่ไทรบุรี กลันตัน และปะหัง อยู่ภายใต้การปกครองของตามพรลิงก์และเป็นส่วนหนึ่งของหัวเมืองบริวารสิบสองนักษัตร ในขณะที่เมืองในภาคใต้ของมาเลเซียยังคงอยู่ในเขตอิทธิพลของอาณาจักรศรีวิชัย

ใน ค.ศ. 1288 ทัพเรือของอาณาจักรสิงหะส่าหรีเข้าบุกยึดนครปาเล็มบัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย ทำให้อาณาจักรศรีวิชัยล่มสลายกลุ่มเชื้อวงศ์ต่าง ๆ ของศรีวิชัยต่างพากันหลบหนีออกจากพื้นที่ มีเจ้าชายศรีวิชัยองค์หนึ่งนามว่าสังนีลอุตมะ (Sang Nila Utama) หลบหนีทัพของชวามาตั้งมั่นอยู่บนเกาะเทมาเส็ก (Temasek) ตั้งเมืองสิงคปุระ (Singapura) ขึ้นใน ค.ศ. 1299 และปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นรายาแห่งอาณาจักรสิงคปุระ (Kingdom of Singapura) นามว่ารายาศรีตรีภูวนะ (Sri Tri Buana) อาณาจักรสิงคปุระยังคงต้องเผชิญกับการรุกรานของชาวชวาอาณาจักรมัชปาหิตอีกหลายครั้ง อาณาจักรสิงคปุระดำรงอยู่เป็นเวลาประมาณหนึ่งร้อยปีมีรายาปกครองทั้งสิ้นห้าองค์จนกระทั่งล่มสลายลงใน ค.ศ. 1398 จากการรุกรานของต่างชาติในสมัยของรายาปรเมศวร

รัฐมะละกาและศาสนาอิสลาม

 
จารึกตรังกานู (Terengganu Inscription) เป็นจารึกที่เก่าแก่ที่สุดที่ใช้อักษรยาวีเขียนภาษามลายูใน ค.ศ. 1303 เป็นหลักฐานถึงอิทธิพลของศาสนาอิสลามในระยะแรก

เจ้าชายปรเมศวร (Paramesawara) เป็นรายาพระองค์แรกของอาณาจักรมะละกา อย่างไรก็ตามประวัติความเป็นมาและเรื่องราวของเจ้าชายปรเมศวรยังคงเป็นที่ถกเถียงเนื่องจากเอกสารประวัติศาสตร์ระบุเหตุการณ์ไม่ตรงกัน พงศาวดารสยาราะฮ์มลายู (Sejarah Melayu) ซึ่งถูกบันทึกในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ระบุว่าเจ้าชายปรเมศวรเป็นรายาองค์สุดท้ายแห่งอาณาจักรสิงคปุระ พระเจ้าวิกรมวรรธนะ (Wikromwardhana) แห่งมัชปาหิตยกทัพเรือเข้าโจมตีเมืองสิงคปุระ รายาปรเมศวรสูญเสียเมืองสิงคปุระให้แก่ทัพเรือชวาและอาณาจักรสิงคปุระสิ้นสุดลง ในหนังสือเรื่องซุมาโอเรียนตัล (Suma Oriental) ของโตเมปิเรส (Tome Pires) นักเดินทางชาวโปรตุเกส ระบุว่าเจ้าชายปรเมศวรเป็นเจ้าชายจากเมืองปาเล็มบังของศรีวิชัย ซึ่งเจ้าชายปรเมศวรยกทัพเรือจากเมืองปาเล็มบังเข้ายึดเมืองสิงคปุระไว้ให้แก่ตนเอง แต่เนื่องจากเมืองสิงคปุระในขณะนั้นเป็นประเทศราชของสยาม ทัพเรือจากสยามจึงยกมาเข้ายึดเมืองสิงคปุระกลับคืนไป อาณาจักรสิงคปุระสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1398 จากการรุกรานของสยามหรือชวา ทำให้เจ้าชายปรเมศวรต้องเสด็จหลบหนีไปทางตะวันตกบนคาบสมุทรมลายู ไปยังแคว้นมูอาร์ (Muar) เจ้าชายปรเมศวรประทับใต้ต้นมะขามป้อม เมื่อสุนัขล่าเนื้อของเจ้าชายปรเมศวรไล่ติดตามละมั่งตัวหนึ่งปรากฏว่าละมั่งนั้นหายตัวไปเป็นสัญญาณมงคล เจ้าปรเมศวรจึงสร้างเมืองมะละกาขึ้นบริเวณต้นมะขามป้อมนั้นเป็นจุดกำเนิดของอาณาจักรมะละกา

เศรษฐกิจของอาณาจักรมะละกาเกิดจากการควบคุมเส้นทางการค้าผ่านทางช่องแคบมะละกา รัฐมะละกาในสมัยแรกต้องเผชิญกับมหาอำนาจทั้งสองได้แก่สยามอาณาจักรอยุธยาจากทิศเหนือและชวามัชปาหิตจากทิศใต้ ใน ค.ศ. 1405 พระจักรพรรดิหย่งเล่อแห่งราชวงศ์หมิงส่งกองทัพเรือทูตนำโดยเจิ้งเหอ (จีน: 鄭和; พินอิน: Zhèng Hé) มายังทะเลใต้ เจ้าชายปรเมศวรจึงหันไปผูกสัมพันธไมตรีกับจีนราชวงศ์หมิงเพื่อแสวงหาความคุ้มครองทางการเมืองคานอำนาจกับสยามและชวา ใน ค.ศ. 1411 เจ้าชายปรเมศวรพร้อมทั้งเชื้อวงศ์และขุนนางข้าราชการโดยสารติดไปกับกองเรือสำรวจของเจิ้งเหอเดินทางไปเข้าเฝ้าพระจักรพรรดิหย่งเล่อ

 
อาณาเขตสูงสุดของรัฐสุลต่านมะละกา ประกอบไปด้วยส่วนใหญ่ของแหลมมลายูรวมทั้งดินแดนฝั่งเกาะสุมาตราและหมู่เกาะรีเอา (Riau Islands) ในขณะที่รัฐมลายูทางเหนือได้แก่ปัตตานี ไทรบุรี และกลันตัน อยู่ภายใต้อิทธิพลของอยุธยา

ในสมัยของรัฐมะละกาศาสนาอิสลามนิกายซุนหนี่ได้เผยแพร่มาถึงยังคาบสมุทรมลายู ผ่านทางเส้นทางการค้าขายกับชาวเปอร์เซียและอินเดีย โดยศาสนาอิสลามในมะละกาได้รับอิทธิพลจากรัฐสมุเดราปาไซ (Samudera-Pasai) ทางเหนือของเกาะสุมาตรา เอกสารทางประวัติศาสตร์ของรัฐอื่น ๆ ต่างระบุอ้างว่ารัฐของตนรับศาสนาอิสลามมาก่อนหน้ารัฐมะละกาแล้ว เช่น พงศาวดารฮิกายะต์เมอรงมหาวังสา (Hikayat Merong Mahawangsa) ของไทรบุรี ระบุว่ารัฐไทรบุรีนับถือศาสนาอิสลามมาตั้งแต่ ค.ศ. 1136 มีการค้นพบจารึกตรังกานู (Terengganu Inscription) ที่รัฐตรังกานู จารึกขึ้นใน ค.ศ. 1303 เป็นจารึกภาษามลายูคลาสสิก (Classical Malay) โดยมีการใช้อักษรยาวี (Jawi script) เป็นครั้งแรกซึ่งประยุกต์มาจากอักษรอาหรับมาเพื่อใช้เขียนภาษามลายู อาณาจักรมะละกาได้พัฒนาขึ้นเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและวัฒนธรรมของโลกมลายู เมื่อมะละการับและส่งเสริมศาสนาอิสลามทำให้ศาสนาอิสลามสามารถประดิษฐานในโลกและวัฒนธรรมมลายู หนังสือซุมาโอเรียนตัลของโตเมปิเรสระบุว่าโอรสของรายาปรเมศวรรับศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำมะละกะและใช้ตำแหน่ง “สุลต่าน” เป็นผู้ปกครองรัฐมะละกา ทำให้มะละกากลายเป็นรัฐสุลต่าน (Sultanate) ในขณะที่สยาราะห์มลายูระบุว่ามะละการับศาสนาอิสลามในสมัยของรายาองค์ที่สาม ผู้ซึ่งเปลี่ยนมาใช้ชื่อว่าสุลต่านมูฮาหมัดชาฮ์ (Muhammad Shah) ระบบราชการของรัฐมะละกาประกอบไปด้วยตำแหน่งต่าง ๆ ตำแหน่งสูงสุดคือเสนาบดีเรียกว่าเบินดาฮารา (Bendahara) ต่อมามีหัวหน้าองครักษ์เรียกว่าตำมะหงง (Temenggong) แม่ทัพเรือเรียกว่าลักษมณา (Laksamana) และเจ้ากรมท่าเรือเรียกว่าชาฮ์บันดาร์ (Syahbandar)

 
บุหงามาศดันเปรัก (Bunga mas dan perak) หรือต้นไม้เงินต้นไม้ทอง เป็นเครื่องบรรณาการซึ่งรัฐมลายูทางภาคเหนือได้แก่ไทรบุรี และกลันตัน ต้องส่งให้แก่สยามอาณาจักรอยุธยา

ในสมัยของสุลต่านมันซูร์ชาฮ์ (Mansur Shah) เป็นยุครุ่งเรืองของรัฐสุลต่านมะละกา สุลต่านมันซูร์ชาฮ์ประสบความสำเร็จในการขยายดินแดนข้ามฝั่งไปยังเกาะสุมาตรามีอำนาจเหนือแคว้นรีเอา (Riau) รวมทั้งเข้าครอบครองหมู่เกาะรีเอา (Riau islands) ในขณะที่รัฐมะละกากำลังเรืองอำนาจอยู่ทางใต้ของแหลมมลายูนั้น รัฐมลายูต่าง ๆ ในภาคเหนือได้แก่ ไทรบุรี และกลันตันซึ่งเดิมอยู่ภายใต้อำนาจของอาณาจักรนครศรีธรรมราช เมื่อนครศรีธรรมราชถูกรวมเข้ากับอาณาจักรอยุธยารัฐมลายูเหล่านั้นจึงขึ้นกับสยามอาณาจักรอยุธยาด้วย มีการส่งบรรณาการเป็นต้นไม้เงินต้นไม้ทองหรือเรียกว่าบุหงามาศ (Bunga mas) ให้แก่อยุธยาเป็นระยะ รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสยามอยุธยาส่งกองทัพเข้าโจมตีรัฐมะละกาทางบกซึ่งเอกสารฝ่ายไทยและฝ่ายมลายูให้รายละเอียดเหตุการณ์ต่างกัน พงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่า "ศักราช ๘๐๓ ปีระกาตรีศก ( ค.ศ. 1441) แต่งทัพไปเอาเมืองมะละกา" พงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐระบุว่า "ศักราช ๘๑๗ กุนศก ( ค.ศ. 1455) แต่งทัพให้ไปเอาเมืองมลากา" ส่วนสยาระฮ์มลายูกล่าวว่ากษัตริย์สยามพระนามว่าบูบันยาร์ (Bubanyar) ทรงแต่งทัพเข้ารุกรานมะละกาสองครั้ง ครั้งแรกนำโดยอาวีชาครี (Awi Chacri ออกญาจักรี?) ยกทางบกมายังเมืองปะหัง ครั้งที่สองนำโดยอาวีดีชู (Avidichu ออกญาเดโช?) ซึ่งทั้งสองครั้งแม่ทัพตุนเปรัก (Tun Perak) สามารถนำทัพมลายูขับทัพฝ่ายสยามออกไปได้

ใน ค.ศ. 1509 ทหารชาวโปรตุเกสชื่อ ดีโยกู ลอปึช ดึ ซึไกรา (Diogo Lopes de Sequeira) เดินทางมายังเมืองมะละกาเพื่อขอเจรจาเปิดเส้นทางการค้า แต่บรรดาพ่อค้าชาวอินเดียมุสลิมในมะละกามองว่าโปรตุเกสเป็นศัตรูทางการค้าและทางศาสนา จึงแนะนำให้สุลต่านมาฮ์มุดชาฮ์ (Mahmud Shah) ต่อต้านอิทธิพลของโปรตุเกส สุลต่านมาฮ์มุดชาฮ์มีคำสั่งให้ลอบสังหารดึ ซึไกรา ดึ ซึไกราไหวตัวทันหลบหนีไปแต่ทางการมะละกาสามารถจับกุมชาวโปรตุเกสมาขังไว้บางส่วน ใน ค.ศ. 1511 อาฟงซู ดึ อัลบูแกร์กึ ข้าหลวงโปรตุเกสประจำเมืองกัว ยกทัพโปรตุเกสมายังเมืองมะละกาเพื่อเรียกร้องให้สุลต่านมะละกาปล่อยตัวชาวโปรตุเกส เมื่อสุลต่านไม่ยอมปล่อยตัวชาวโปรตุเกส ดึ อัลบูแกร์กึจึงยกทัพเข้าบุกยึดเมืองมะละกาได้อย่างรวดเร็ว สุลต่านมาฮ์มุดชาฮ์และครอบครัวหลบหนีออกจากเมืองมะละกา ทำให้รัฐสุลต่านมะละกาซึ่งดำรงอยู่มาเป็นเวลาประมาณหนึ่งร้อยปีสิ้นสุดลง สุลต่านมาฮ์มุดชาฮ์หลบหนีไปยังเมืองกัมปาร์ (Kampar) บนเกาะสุมาตราและอยู่ที่นั่นจนกระทั่งเสียชีวิต

รัฐยะโฮร์และอิทธิพลของชาวยุโรป

 
ภาพเมืองมะละกาภายใต้การปกครองของโปรตุเกส

การเสียเมืองมะละกาให้แก่โปรตุเกสทำให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองและเปิดโอกาสให้ชาวยุโรปเข้ามามีอำนาจและอิทธิพลในภูมิภาค หลังจากที่สุลต่านมาฮ์มุดชาฮ์เสียชีวิตที่เมืองกัมปาร์ใน ค.ศ. 1528 บุตรชายคนที่สองของสุลต่านมาฮ์มุดชาฮ์คือมูซัฟฟาร์ (Muzaffar) เดินทางไปตั้งตนเป็นสุลต่านขึ้นที่เปรัก เป็นสุลต่านคนแรกของรัฐสุลต่านเปรัก (Perak sultanate) และบุตรชายคนที่สามเดินทางไปตั้งตนเป็นสุลต่านขึ้นที่เมืองยะโฮร์ลามา (Johor Lama) เป็นสุลต่านอลาอุดดินรีอายะต์ชาฮ์ที่ 2 (Alauddin Riayat Shah II) สุลต่านคนแรกของรัฐสุลต่านยะโฮร์ (Johor sultanate) รัฐสุลต่านยะโฮร์สามารถดำรงรักษาดินแดนส่วนใหญ่ของรัฐมะละกาเอาไว้ได้ทั้งสองฝั่งของช่องแคบมะละกา และสืบทอดความเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและการปกครองประเพณีวัฒนธรรมมาจากมะละกา อย่างไรก็ตามสมัยของรัฐสุลต่านยะโฮร์เป็นสมัยที่ขาดเสถียรภาพทางการเมืองจากภายคุกคามต่างชาติทำให้สุลต่านแห่งยะโฮร์ย้ายเมืองหลวงเป็นจำนวนมากกว่าสิบแห่งซึ่งแต่ละแห่งเป็นศูนย์กลางการปกครองของยะโฮร์เพียงชั่วคราวเท่านั้น

สงครามสามฝ่าย

เมื่อชาวมลายูเสื่อมอำนาจลงในภูมิภาคทำให้รัฐสุลต่านอาเจะฮ์ (Aceh sultanate) ของชนชาติอาเจะฮ์ซึ่งอยู่ตอนเหนือของเกาะสุมาตราเรืองอำนาจขึ้น ใน ค.ศ. 1564 สุลต่านอลาอุดดินอัลกาฮาร์ (Alauddin al-Qahar) แห่งอาเจะฮ์ยกทัพเข้าบุกยึดเผาทำลายเมืองยะโฮร์ลามาและจับตัวสุลต่านอลาอุดดินรีอายะต์ชาฮ์แห่งยะโฮร์ไปประหารชีวิตที่เมืองอาเจะฮ์ ในสมัยต่อมาของสุลต่านอาลียัลลาอับดุลยาลีลชาฮ์ (Ali Jalla Abdul Jalil Shah) ฟืนฟูเมืองยะโฮร์ลามาขึ้นอีกครั้ง แต่ทัพเรือโปรตุเกสบุกเผาทำลายเมืองยะโฮร์ลามาอีกใน ค.ศ. 1587 สุลต่านอาลียัลลาฯจึงย้ายเมืองหลวงไปยังบาตูเซอวาร์ (Batu Sewar) สุลต่านอาลียัลลาฯมีบุตรชายสองคน คนโตขึ้นสืบทอดตำแหน่งสุลต่านชื่อว่าสุลต่านอัลลาอุดดินรีอายะต์ชาฮ์ที่ 3 (Alauddin Riayat Shah III) แห่งยะโฮร์ บุตรชายคนรองชื่อว่ารายาบงซู (Raja Bongsu) ในสมัยของสุลต่านอัลลาอุดดินฯที่สาม อำนาจการปกครองที่แท้จริงอยู่ที่รายาบงซูผู้เป็นน้องชาย รายาบงซูสร้างความสัมพันธกับฮอลันดาโดยการส่งคณะทูตไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์ใน ค.ศ. 1603 และทำสนธิสัญญาทางการค้าและการทหารกับนายคอร์เนลิส มาเตเลียฟ เดอ ยอร์จ (Cornelis Matelief de Jorge) ข้าหลวงใหญ่ของฮอลันดาในภูมิภาคอินเดียตะวันออกใน ค.ศ. 1606 โดยที่ยะโฮร์ให้ความช่วยเหลือทางทหารและเป็นที่พักพิงแก่ทัพเรือฮอลันดาในการต่อสู้กับโปรตุเกส เพื่อเป็นการคานอำนาจกับกับโปรตุเกสและอาเจะฮ์ในภูมิภาค

 
ในสมัยของสุลต่านอิซกันดาร์มุดา (Iskandar Muda) แห่งรัฐอาเจะฮ์ อาเจะฮ์แผ่ขยายอิทธิพลเข้ามายังแหลมมลายู

สงครามระหว่างรัฐยะโฮร์ รัฐอาเจะฮ์ และโปรตุเกสที่เมืองมะละกา เรียกว่า สงครามสามฝ่าย (Triangular War) แม้ว่ารัฐยะโฮร์จะได้รับการสนับสนุนจากฮอลันดาแต่ก็ต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากรัฐอาเจะฮ์อย่างหนัก ใน ค.ศ. 1613 สุลต่านอิซกันดาร์มุดา (Iskandar Muda) แห่งอาเจะฮ์ยกทัพเข้ายึดเมืองบาตูเซอวาร์จับตัวรายาบงซูกลับไปและทำให้สุลต่านอลาอุดดินฯที่สามแห่งยะโฮร์ต้องหลบหนีเสียชีวิต ใน ค.ศ. 1615 สุลต่านอิซกันดาร์มุดาแห่งอาเจะฮ์นำตัวรายาบงซูกลับมาตั้งขึ้นเป็นสุลต่านอับดุลเลาะฮ์มะอายะต์ชาฮ์ (Abdullah Ma’ayat Shah) แห่งยะโฮร์ และปีเดียวกันสุลต่านอิซกันดาร์มุดายกทัพเข้ายึดรัฐปะหังปลดสุลต่านวงศ์เดิมออกจากตำแหน่งและตั้งรายาบูยัง (Raja Bujang) บุตรชายของสุลต่านอลาอุดดินฯที่สามขึ้นเป็นสุลต่านแห่งปะหังแทน ใน ค.ศ. 1619 สุลต่านอิซกันดาร์มุดาบุกยึดเมืองไทรบุรี ใน ค.ศ. 1623 สุลต่านอับดุลเลาะฮ์มะอายะต์ฯเสียชีวิต รายาบูยังแห่งปะหังจึงขึ้นเป็นสุลต่านอับดุลยาลีลชาฮ์ (Abdul Jalil Shah) แห่งยะโฮร์ต่อมา รัฐยะโฮร์และปะหังจึงผนวกรวมเข้าด้วยกันเป็นรัฐเดียว สุลต่านอับดุลยาลีลชาฮ์ตั้งเมืองหลวงที่เกาะตัมเบอลัน (Tambelan Islands) ซึ่งอยู่ใกล้กับเกาะบอร์เนียวแห่งอันห่างไกลเพื่อหลีกเลี่ยงอำนาจของรัฐอะเจะฮ์ ต่อมาเมื่อฮอลันดาสามารถปราบปรามรัฐอะเจะฮ์ได้ อิทธิพลของรัฐอาเจะฮ์ในภูมิภาคมลายูจึงเสื่อมลง

 
ทัพเรือของโปรตุเกสและทัพเรือฮอลันดาประลองยุทธกัน

ใน ค.ศ. 1641 สุลต่านอับดุลยาลีลชาฮ์ส่งแม่ทัพเรือลักษมณาตุนอับดุลยามีล (Tun Abdul Jamil) เข้านำทัพเรือมลายูร่วมกับทัพเรือของฮอลันดาเข้าบุกยึดเมืองมะละกามาจากโปรตุเกสได้สำเร็จทำให้อิทธิพลของโปรตุเกสสิ้นสุดลง ฝ่ายยะโฮร์ยินยอมให้ฮอลันดาเข้าปกครองเมืองมะละกาต่อจากโปรตุเกสภายใต้เงื่อนไขว่าฮอลันดาจะได้ไม่แสวงหาขยายดินแดนเพิ่มเติมในแหลมมลายู เมื่ออำนาจของอาเจะฮ์และโปรตุเกสสิ้นไปแล้วสุลต่านอับดุลยาลีลชาฮ์จึงย้ายเมืองหลวงกลับมายังเมืองบาตูเซอวาร์ ขณะนั้นบนเกาะสุมาตรารัฐสุลต่านยัมบี (Jambi Sultanate) กำลังเรืองอำนาจขึ้น สุลต่านอับดุลยาลีลฯต้องการสานสัมพันธ์กับรัฐยัมบีจึงให้คำสัญญาว่าให้ยัมตวนมุดา (Yamtuan Muda) หรือทายาทสมรสกับบุตรสาวของสุลต่านแห่งยัมบี แต่ต่อมาสุลต่านอับดุลยาลีลฯผิดคำสัญญาให้ยัมตวนมุดาสมรสกับบุตรสาวของแม่ทัพเรือตุนอับดุลยามีลแทน นำไปสู่งสงครามยะโฮร์-ยัมบี (Johor-Jambi War) ใน ค.ศ. 1673 ทัพเรือยัมบีเข้าบุกยึดทำลายเมืองบาตูเซอวาร์สุลต่านอับดุลยามีลฯหลบหนีไปเมืองปะหังและเสียชีวิต ยัมตวนมุดาจึงขึ้นเป็นสุลต่านอิบราฮิมชาฮ์ (Ibrahim Shah) สุลต่านอิบราฮิมชาฮ์ว่าจ้างทหารรับจ้างชาวบูกิส (Bugis) มาจากทางตอนใต้ของเกาะสุลาเวสีมาเพื่อสู้รบกับทัพของรัฐยัมบีจนได้รับชัยชนะใน ค.ศ. 1679 หลังจากสิ้นสุดสงครามยะโฮร์-ยัมบีแล้วบรรดาทหารรับจ้าวชาวบูกิสไม่กลับถิ่นฐานของพวกตนแต่มาตั้งรกรากอยู่ที่แคว้นเซอลาโงร์

วงศ์เบินดาฮาราและอิทธิพลของชนชาติบูกิส

 
อาคารสตัดธิวส์ (Stadthuys) อาคารสีแดงเป็นที่ทำการของทางการอาณานิคมฮอลันดา ปัจจุบันอยู่ที่จตุรัสฮอลันดา (Dutch Square) ในเมืองมะละกา

สุลต่านอิบราฮิมชาฮ์ถูกวางยาพิษเสียชีวิตใน ค.ศ. 1685 บุตรชายขึ้นเป็นสุลต่านต่อมาชื่อว่าสุลต่านมาฮ์มุดที่สอง (Mahmud II) สุลต่านมาฮ์มุดมีพฤติกรรมวิปลาสและโหดเหี้ยม ขุนนางชื่อว่าเมอกะต์ศรีราม (Megat Sri Rama) จึงทำการลอบสังหารสุลต่านมาฮ์มุดใน ค.ศ. 1699 บรรดาขุนนางยกเสนาบดีเบินดาฮาราตุนอับดุลยาลีล (Tun Abdul Jalil) ขึ้นเป็นสุลต่านอับดุลยาลิลชาฮ์ (Abdul Jalil Shah) ทำให้วงศ์มะละกา (Melaka dynasty) ซึ่งปกครองรัฐยะโฮร์มาเป็นเวลาประมาณหนึ่งร้อยเจ็ดสิบปีสิ้นสุดลง วงศ์เบินดาฮารา (Bendahara dynasty) ขึ้นครองรัฐสุลต่านยะโฮร์ต่อมา อย่างไรก็ตามมีชายผู้หนึ่งจากเมืองซีอะก์ (Siak) บนเกาะสุมาตราชื่อว่ารายาเกอซิล (Raja Kecil) อ้างตนเป็นบุตรชายของสุลต่านมาฮ์มุดซึ่งถูกลอบสังหารไปนั้น รายาเกอซิลได้รับการสนับสนุนจากชาวมินังกาเบา (Minangkabau) ซึ่งอพยพจากเกาะสุมาตรามาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ดินแดนบริเวณรัฐเนอเกอรีเซิมบีลันในปัจจุบัน รายาเกอซิลนำทัพมินังกาเบาเข้าชิงตำแหน่งสุลต่านจากสุลต่านอับดุลยาลีลฯใน ค.ศ. 1718 ปลดสุลต่านอับดุลยาลีลฯออกจากตำแหน่ง อดีตสุลต่านอับดุลยาลีลฯหลบหนีไปยังเมืองปะหังเพื่อสะสมกำลังทหาร สุลต่านรายาเกอซิลส่งคนไปลอบสังหารอดตสุลต่านอับดุลยาลีลฯใน ค.ศ. 1721 และจับตัวบุตรชายของอับดุลยาลีลฯคือสุลัยมานกลับมา ปีต่อมา ค.ศ. 1712 ดาเอ็งปารานี (Daeng Parani) ผู้นำของชนชาติบูกิสยกทัพของชาวบูกิสเข้ายึดอำนาจปลดสุลต่านรายาเกอซิลออกจากตำแหน่งสุลต่าน และยกตำแหน่งสุลต่านให้แก่สุลัยมาน เป็นสุลต่านสุลัยมานบัดรุลอลัมชาฮ์ (Suleiman Badrul Alam Shah) วงศ์เบินดาฮาราจึงกลับมาปกครองยะโฮร์อีกครั้ง ฝ่ายรายาเกอซิลหลบหนีกลับไปยังเมืองซีอะก์และตั้งตนขึ้นเป็นสุลต่านที่เมืองซีอะก์ ก่อตั้งรัฐสุลต่านซีอะก์ศรีอินทรปุระ (Sultanate of Siak Sri Indrapura) แยกดินแดนบนเกาะสุมาตราทั้งหมดของรัฐยะโฮร์ออกไปเป็นอิสระ

เนื่องจากชาวบูกิสซึ่งมีผู้นำคือดาเอ็งปารานีมีบทบาทช่วยเหลือสุลต่านสุลัยมานฯในการยึดอำนาจจากรายาเกอซิล สุลต่านสุลัยมานฯจึงมอบรางวัลและอำนาจให้แก่ชาวบูกิสอย่างมาก สุลต่านสุลัยมานฯแต่งตั้งให้น้องชายของดาเอ็งปารานีเชื่อว่าดาเอ็งเมอเรอวะฮ์ (Daeng Merewah) ให้ดำรงตำแหน่งเป็นยัมตวนมุดาหรือผู้สำเร็จราชการแทนสุลต่าน ทำให้ชาวบูกิสเรืองอำนาจขึ้นมีบทบาทในการปกครองและการเมืองของรัฐยะโฮร์ ในสมัยของวงศ์เบินดาฮาราสุลต่านแห่งยะโฮร์เป็นเพียงหุ่นเชิดเท่านั้น อำนาจการปกครองที่แท้จริงอยู่ที่ยัมตวนมุดาซึ่งเป็นตำแหน่งที่ครอบครองโดยชาวบูกิสและสืบตำแหน่งทางสายเลือด ใน ค.ศ. 1743 ยัมตวนมุดาดาเอ็งเชอละก์ (Daeng Chelak) ให้บุตรชายของตนคือรายาลูมู (Raja Lumu) เข้าปกครองแคว้นเซอลาโงร์ซึ่งมีชาวบูกิสอาศัยอยู่จำนวนมาก ต่อมารายาลูมูเข้าช่วยเหลือสุลต่านแห่งเปรักในการชิงอำนาจภายใน สุลต่านแห่งเปรักจึงตั้งให้รายาลูมูเป็นสุลต่านซาเลอฮุดดิน (Sallehuddin) แห่งเซอลาโงร์ เป็นปฐมสุลต่านแห่งรัฐสุลต่านเซอลาโงร์ (Sultanate of Selangor) สุลต่านมาฮ์มุดชาฮ์ที่ 3 (Mahmud Shah III) แห่งยะโฮร์พยายามลดอำนาจของบูกิสด้วยความช่วยเหลือของฮอลันดาโดยการตกลงสัญญาทางการทหารกับฮอลันดาใน ค.ศ. 1784 เมื่อได้รับการสนับสนุนจากฮอลันดาสุลต่านมาฮ์มุดชาฮ์จึงประกาศปลดชาวบูกิสออกจากตำแหน่งยัมตวนมุดาและขับชาวบูกิสออกจากรัฐยะโฮร์ อิทธิพลของชาวบูกิสที่ปกครองยะโฮร์เป็นเวลานานทำให้อำนาจของสุลต่านเสื่อมลงและขุนนางท้องถิ่นต่างแยกตัวเป็นอิสระ เสนาบดีเบินดาฮารามีอำนาจขึ้นที่เมืองปะหัง ในขณะที่ขุนนางตำมะหงงปกครองสิงคโปร์

อิทธิพลของสยามและอังกฤษเหนือรัฐไทรบุรี

 
รูปปั้นของนายฟรานซิส ไลต์ (Francis Light) ที่เมืองจอร์จทาวน์

หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองใน ค.ศ. 1767 ทำให้รัฐสุลต่านมลายูทางตอนเหนือได้แก่ไทรบุรี กลันตัน และตรังกานูเป็นอิสระจากอิทธิพลของสยามเป็นการชั่วคราว ใน ค.ศ. 1786 นายฟรานซิส ไลต์ (Francis Light) ชาวอังกฤษเข้าพบสุลต่านอับดุลเลาะฮ์มุกการัมชาฮ์ (Abdullah Mukkaram Shah) แห่งไทรบุรี เพื่อเจรจาขอดินแดนเกาะปีนังหรือเกาะหมากให้แก่อังกฤษ โดยที่นายฟรานซิสไลต์ให้การตอบแทนแก่สุลต่านแห่งไทรบุรีด้วยสัญญาทางทหารว่าหากไทรบุรีถูกทัพสยามเข้ารุกรานอังกฤษจะให้การช่วยเหลือ สุลต่านอับดุลเลาะฮ์มุกการัมฯแห่งไทรบุรีจึงยินยอมยกเกาะปีนังให้แก่อังกฤษ นายฟรานซิสไลต์ตั้งชื่อเกาะปีนังว่า "เกาะเจ้าชายแห่งเวลส์" (Prince of Wales) และตั้งเมืองขึ้นใหม่บนเกาะเจ้าชายแห่งเวลส์ชื่อว่าเมืองจอร์จทาวน์ (Georgetown) ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าจอร์จที่ 4 แห่งสหราชอาณาจักรซึ่งในขณะนั้นดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าชายแห่งเวลส์ แต่ในปีเดียวกันนั้นเองกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงยกทัพเข้ายึดเมืองปัตตานี ทำให้สุลต่านอับดุลเลาะฮ์มุกการัมฯเกรงกลัวอิทธิพลของสยามจึงร้องขอความคุ้มครองทางทหารจากอังกฤษ แต่เนื่องจากนายฟรานซิสไลต์กระทำเจรจากับรัฐไทรบุรีการโดยพลการและไม่ได้ขอความเห็นชอบจากบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ (British East India Company) ที่เมืองกัลกัตตา ทำให้นายฟรานซิสไม่สามารถมอบกำลังทหารให้แก่สุลต่านไทรบุรีได้ สุลต่านอับดุลเลาะฮ์มุกการัมฯมีความโกรธเคืองว่าอังกฤษไม่ทำตามสัญญาจึงยกทัพเข้ายึดเกาะปีนังคืนแต่พ่ายแพ้แก่กองเรือของอังกฤษ นำไปสู่การเจรจาสงบศึกโดยไทรบุรีจำยอมยกดินแดนเพิ่มเติมบนแผ่นดินไทรบุรีเรียกว่าเซอเบอรังเปไร (Seberang Perai) ให้แก่อังกฤษ ซึ่งฟรานซิสไลต์ตั้งชื่อดินแดนใหม่นี้ว่าโพรวินซ์เวลซ์เลย์ (Province Wellesley) หรือจังหวัดเวลซ์เลย์ เมื่อไม่ได้รับความคุ้มครองจากอังกฤษรัฐไทรบุรีจึงกลับมาอยู่ในอิทธิพลของสยามอีกครั้งในสมัยรัตนโกสินทร์เฉกเช่นเดียวกับกลันตันและตรังกานู เกาะเจ้าชายแห่งเวลส์และโพรวินซ์เวลซ์เลย์เป็นดินแดนอาณานิคมแห่งแรกของอังกฤษในแหลมมลายูและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ใน ค.ศ. 1820 สุลต่านอาหมัดทัจอุดดินฮาลิมชาฮ์ที่ 2 (Ahmad Tajuddin Alim Shah II) แห่งไทรบุรี หรือเอกสารไทยเรียกว่า "ตวนกูปะแงหรัน" (Tunku Pangeran) หยุดส่งบุหงามาศให้แก่กรุงเทพและแข็งเมืองเป็นอิสระ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงมีพระราชโอการให้เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ยกทัพเรือจากเมืองท่าสงขลาและสตูลเข้าบุกโจมตียึดเมืองอาโลร์เซอตาร์ (Alor Setar) เมืองหลวงของไทรบุรีได้สำเร็จใน ค.ศ. 1821 สุลต่านอาหมัดทัจอุดดินฯหลบหนีไปเกาะปีนังอยู่กับอังกฤษ รัฐไทรบุรีถูกผนวกรวมเข้ากับนครศรีธรรมราชปกครองโดยตรงทำให้ไทรบุรีไม่มีสุลต่านปกครองเป็นเวลาประมาณยี่สิบปี พระยาอภัยธิเบศร์ (แสง) บุตรชายของเจ้าพระยานครฯเป็นพระยาไทรบุรี จนกระทั่งเกิดกบฏหวันหมาดหลีใน ค.ศ. 1830 ทัพเรือสลัดมลายูสามารถเข้ายึดเมืองอาโลร์เซอตาร์คืนจากสยามได้ พระยาอภัยธิเบศร์ต้องถอยออกจากเมือง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระราชโองการโปรดฯให้พระยาราชพิพัฒน์รัตนราชโกษา (ทัต บุนนาค) ยกทัพเข้าสมทบกับทัพของเจ้าพระยานครฯในการปราบกบฏไทรบุรี ทัพสยามสามารถเข้ายึดเมืองอาโลร์เซอตาร์และปราบทัพเรือสลัดได้สำเร็จ ฝ่ายสยามจึงจัดระเบียบการปกครองไทรบุรีเสียใหม่ใน ค.ศ. 1843 โดยการแบ่งไทรบุรีออกเป็นสี่ส่วนได้แก่ กูบังปาซู สตูล ปะลิส และไทรบุรีเดิม

ยะโฮร์มอบสิงคโปร์ให้อังกฤษ

 
เซอร์ โทมัส สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ (Sir Thomas Stamford Raffles) ผู้ก่อตั้งนครสิงคโปร์ในปัจจุบัน

สุลต่านมาฮ์มุดชาฮ์ที่สามแห่งยะโฮร์มีบุตรชายสองคน บุตรชายคนโตชื่อว่าเต็งกูฮุสเซ็น (Tengku Hussein) และบุตรชายคนรองชื่อว่าอับดุลราะฮ์มาน (Abdul Rahman) ใน ค.ศ. 1812 ขณะที่เต็งกูฮุสเซ็นกำลังพำนักอยู่ที่เมืองปะหังนั้น สุลต่านมาฮ์มุดชาฮ์เสียชีวิต ตามประเพณีของมลายูผู้ดำรงตำแหน่งสุลต่านคนต่อไปต้องเข้าร่วมงานศพของสุลต่านคนก่อนหน้าจึงจะสามารถสืบทอดตำแหน่งสุลต่านต่อไปได้ ยัมตวนมุดาชาวบูกิสชื่อว่ารายายาอะฟาร์ (Raja Ja’afar) ฉวยโอกาสนี้ปิดบังข่าวการเสียชีวิตของสุลต่านมาฮ์มุดชาฮ์ไม่ให้เต็งกูฮุสเซ็นทราบ เต็งกูฮุสเซ็นจึงไม่ได้เข้าร่วมงานศพของสุลต่านมาฮ์มุดชาฮ์ รายายาอะฟาร์จึงยกตำแหน่งสุลต่านให้แก่อับดุลราะฮ์มานบุตรชายคนรองของสุลต่านมาฮ์มุดชาฮ์ขึ้นเป็นสุลต่านอับดุลราะฮ์มันมูอัซซัมชาฮ์ (Abdul Rahman Muazzam Shah) เพื่อเป็นหุ่นเชิดของตนในการที่จะฟื้นฟูอำนาจของชาวบูกิสขึ้นมาอีกครั้ง ฝ่ายเต็งกูฮุสเซ็นทราบข่าวการยึดอำนาจจึงพำนักอยู่ที่เมืองปะหังต่อไปเพื่อหลีกเลี่ยงภัยทางการเมือง นายสแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ (Stamford Ruffles) ชาวอังกฤษมีความเห็นว่าอังกฤษควรจะมีฐานที่มั่นทางการค้าและการทหารในภูมิภาคแหลมมลายู จึงเดินทางมาเข้าพบกับตำมะหงงอับดุลราะฮ์มาน (Abdul Rahman) ซึ่งปกครองเกาะสิงคโปร์ในขณะนั้นและเป็นผู้ให้การสนับสนุนแก่เต็งกูฮุสเซ็น สแตมฟอร์ด แรฟเฟิลส์ ยื่นข้อเสนอที่จะสนับสนุนเต็งกูฮุสเซ็นขึ้นเป็นสุลต่าน ตำมะหงงอับดุลราะฮ์มานจึงเดินทางไปเชิญเต็งกูฮุสเซ็นมายังเกาะสิงคโปร์ และสแตมฟอร์ดแรฟเฟิลส์จึงประกาศให้เต็งกูฮุสเซ็นขึ้นเป็นสุลต่านฮุสเซ็นชาฮ์ (Hussein Shah) ที่สิงคโปร์ ซึ่งนายแรฟเฟิลส์ได้รับการตอบแทนด้วยการที่อังกฤษเข้ามาตั้งรกรากอาณานิคมบนเกาะสิงคโปร์

ฝ่ายฮอลันดาไม่พอใจที่อังกฤษเข้ามาแทรกแซงการเมืองภายในของรัฐยะโฮร์จึงให้การสนับสนุนแก่สุลต่านอับดุลราะฮ์มาน ใน ค.ศ. 1822 ฮอลันดาประกาศให้สุลต่านอับดุลราะฮ์มานเป็นสุลต่านโดยชอบธรรมถูกต้องตามประเพณีที่เกาะลิงกาในทะเล เกิดเป็นรัฐสุลต่านริเอา-ลิงกา (Sultanate of Riau-Lingga) ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างอังกฤษและฮอลันดาในภูมิภาคมลายูนำไปสู่สนธิสัญญาอังกฤษ-ฮอลันดาปี ค.ศ. 1824 (Anglo-Dutch Treaty of 1824) แบ่งเขตอิทธิพลระหว่างอังกฤษและฮอลันดา โดยที่ฮอลันดาสละยกดินแดนทุกส่วนในแหลมลายูรวมทั้งเมืองมะละกาให้แก่อังกฤษ ในขณะที่ฮอลันดายังคงมีอิทธิพลเหนือหมู่เกาะริเอาและเกาะลิงกา สนธิสัญญาฉบับนี้ทำให้รัฐยะโฮร์ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่ ส่วนของแหลมลายูซึ่งปกครองโดยสุลต่านฮุสเซ็นชาฮ์ภายใต้อิทธิพลของอังกฤษกลายเป็นดินแดนของประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน และส่วนหมู่เกาะรีเอาและเกาะลิงกาปกครองโดยสุลต่านอับดุลเราะฮ์มานภายใต้อิทธิพลของฮอลันดา กลายเป็นดินแดนของประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน

มลายาของอังกฤษ

สนธิสัญญาอังกฤษ-ฮอลันดา ค.ศ. 1824 ฮอลันดายกเมืองมะละกาซึ่งเป็นฐานการปกครองหลักของตนเองในแหลมมลายูให้แก่อังกฤษ ทำให้ฮอลันดาสิ้นอิทธิพลไปจากแหลมมลายูและอังกฤษสามารถเข้ามาขยายอำนาจในดินแดนแหลมมลายูได้อย่างเต็มที่ ใน ค.ศ. 1826 บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษซึ่งมีอำนาจปกครองอาณานิคมในแหลมมลายูรวบรวมเมืองต่าง ๆ ของอังกฤษประกอบด้วยเกาะปีนัง เขตโพรวินซ์เวลซ์เลย์จากไทรบุรี เมืองมะละกาจากฮอลันดา และเกาะสิงคโปร์ซึ่งได้มาจากรัฐสุลต่านยะโฮร์ รวมกันกลายเป็นอาณานิคมช่องแคบ (Strait Settlements) เป็นจุดเริ่มต้นของอาณานิคมของอังกฤษในแหลมมลายู หรือเรียกว่ามลายาของอังกฤษ (British Malaya) ซึ่งจะพัฒนาไปเป็นประเทศมาเลเซียในที่สุด ในระยะแรกอาณานิคมของอังกฤษมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองจอร์จทาวน์บนเกาะปีนัง แต่ต่อใน ค.ศ. 1832 ย้ายศูนย์การปกครองไปยังสิงคโปร์ อังกฤษสนใจแร่ดีบุกซึ่งพบมากทางภาคตะวันตกของแหลมมลายู ซึ่งอังกฤษต้องการแร่ดีบุกเพื่อป้อนให้แก่การปฏิวัติอุตสาหกรรม อังกฤษจ้างชาวจีนฮกเกี้ยนและชาวจีนแต้จิ๋วเข้ามาเป็นแรงงานขุดเหมืองแร่ดีบุก ทำให้ชาวจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานตามแหล่งขุดเหมืองดีบุกเป็นจำนวนมาก

 
เมืองกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lampur) เป็นเมืองในรัฐเซอลาโงร์ซึ่งเติบโตขึ้นจากอุตสาหกรรมการขุดแร่ดีบุกภายใต้การปกครองของอังกฤษ

เนื่องจากในเวลานั้นสถานการณ์ทางการเมืองในแหลมมลายูโดยรวมขาดเสถียรภาพแบ่งออกเป็นรัฐต่าง ๆ มีความขัดแย้งทางการเมืองบ่อยครั้ง อังกฤษจึงอาศัยโอกาสเข้าแทรกแซงทางการเมืองในรัฐมลายูต่าง ๆ ใน ค.ศ. 1861 เกิดความขัดแย้งระหว่างสมาคมอั่งยี่ชาวจีนสองกลุ่มในรัฐสุลต่านเปรักเกี่ยวกับสิทธิ์การขุดดีบุก และความขัดแย้งระหว่างรายาในการแย่งชิงตำแหน่งสุลต่านแห่งเปรัก นำไปสู่สงครามลารุต (Larut Wars) ในรัฐเปรัก สงครามกินเวลายืดเยื้อสิบสามปีสร้างความเสียหายแก่อุตสาหกรรมดีบุก อังกฤษจึงเข้าไกล่เกลี่ยยุติข้อพิพาทใน ค.ศ. 1874 นำไปสู่สนธิสัญญาปังโกร์ (Pangkor Treaty of 1874) ซึ่งอังกฤษยกรายาอับดุลเลาะฮ์ขึ้นเป็นสุลต่านแห่งเปรักภายใต้เงื่อนไขว่าอังกฤษส่ง “ผู้กำกับดูแลราชการ” (Resident) เข้าควบคุมการปกครองของรัฐเปรัก รวมทั้งรัฐเปรักยกดินแดนดิงดิง (Dingding) และเกาะปังโกร์ (Pangkor) ให้แก่อังกฤษ สนธิสัญญาปังโกร์มีความสำคัญเนื่องจากเป็นครั้งแรกที่อังกฤษส่งตัวแทนเข้าควบคุมรัฐมลายูทำให้รัฐเปรักสูญเสียอำนาจอธิปไตยให้แก่อังกฤษเป็นรัฐแรก ต่อมาในรัฐเซอลาโงร์มีแคว้นกลัง (Klang) ซึ่งเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ดีบุกมีชาวมลายูและชาวจีนอพยพเข้ามาตั้งรกรากจำนวนมากนำไปสู่การเกิดเมืองกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lampur) ซึ่งเป็นเมืองที่เติบโตขึ้นจากการขุดแร่ดีบุก ใน ค.ศ. 1867 เกิดความขัดแย้งแย่งชิงตำแหน่งผู้ครองแคว้นกลังซึ่งได้รับผลประโยชน์จากการขุดดีบุกจำนวนมหาศาล นำไปสู่สงครามกลัง (Klang War) หรือสงครามกลางเมืองเซอลาโงร์ (Selangor Civil War) อังกฤษเข้าแทรกแซงจนสงครามยุติลงใน ค.ศ. 1874 และรัฐสุลต่านเซอลาโงร์เสียอำนาจอธิปไตยให้แก่อังกฤษเป็นรัฐที่สอง โดยอังกฤษส่งผู้กำกับราชการเข้ามาในรัฐเซอลาโงร์ ความขัดแย้งระหว่างดาโต๊ะสองคนในเมืองสุไหงอูจง (Sungai Ujong) ในเรื่องการขุดดีบุกทำใหอังกฤษเข้าควบคุมรัฐเนอเกอรีเซิมบีลันเป็นรัฐที่สาม

 
กาปิตันจีนหยิปอาหล่อย (Yap Ah Loy) ชาวจีนกวางตุ้งผู้พัฒนาเมืองกัวลาลัมเปอร์

อุตสาหกรรมแร่ดีบุกทำให้มีชาวจีนอพยพมาอาศัยอยู่ในมาเลเซียจำนวนมากโดยเฉพาะที่เกาะปีนัง เมืองกัวลาลัมเปอร์ และเมืองสิงคโปร์ ส่งผลให้ในปัจจุบันเมืองเหล่านี้มีประชากรชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมาก การเข้ามาของชาวจีนทำให้เกิดสมาคมอังยี่ขึ้น สุลต่านมลายูรัฐต่าง ๆ และทางการอาณานิคมอังกฤษจึงแต่งตั้งหัวหน้าชาวจีนขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นกาปิตันจีน (Kapitan Cina) เพื่อควบคุมดูแลชาวจีนในสังกัด ซึ่งกาปิตีนจีนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเมืองต่าง ๆ ให้เจริญได้แก่ กาปีตันจีนโกะเลย์ฮวน (Koh Lay Huan ภาษาฮกเกี้ยน: 辜禮歡 Ko͘ Lé-hoan) ซึ่งอพยพมาจากเมืองจีนมาอยู่ที่นครศรีธรรมราชจากนั้นมาพัฒนาเกาะปีนัง และกาปีตันจีนหยิบอาหล่อย (Yap Ah Loy ภาษากวางตุ้ง: 葉亞來 ่jip6 aa3 loi4) ผู้พัฒนาเมืองกัวลาลัมเปอร์

ในรัฐปะหังเสนาบดีตำแหน่งเบินดาฮาราของยะโฮร์ได้ตั้งตนขึ้นเป็นอิสระโดยขึ้นกับสุลต่านแห่งยะโฮร์ในพิธีการเท่านั้น ต่อมาเบินดาฮาราแห่งปะหังตั้งตนขึ้นเป็นรายาเบินดาฮารา (Raja Bendahara) ใน ค.ศ. 1857 เกิดสงครามกลางเมืองปะหัง (Pahang Civil War) เป็นการแย่งชิงตำแหน่งรายาเบินดาฮาราผู้ปกครองรัฐปะหังระหว่างหวันอาหมัด (Wan Ahmad) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรุงเทพฯ และตุนมาฮาดีร์ (Tun Mahathir) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอังกฤษและรัฐยะโฮร์ แม้ว่าฝ่ายตุนมาฮาดีร์จะพ่ายแพ้และหวันอาหมัดได้ตำแหน่งรายาเบินดาฮาราไปครอบครอง แต่ฝ่ายอังกฤษก็ยอมรับหวันอาหมัดในฐานะเจ้าครองเมืองปะหัง ใน ค.ศ. 1881 รายาเบินดาฮาราหวันอาหมัดตั้งตนขึ้นเป็นสุลต่านอาหมัดอัลมูอัซซัมชาฮ์ (Ahmad Al-Mu’azzam Shah) แห่งรัฐสุลต่านปะหัง และใน ค.ศ. 1888 สุลต่านอาหมัดอัลมูอัซซัมฯยินยอมยกอำนาจอธิปไตยให้แก่อังกฤษเป็นรัฐที่สี่โดยอังกฤษส่งผู้กำกับราชการเข้ามาควบคุม

 
อาณานิคมมลายาของอังกฤษ (British Malaya) ประกอบด้วยสามส่วนได้แก่ สีแดง: อาณานิคมช่องแคบ (Straits Settlements) มีศูนย์กลางที่สิงคโปร์ ประกอบด้วยปีนัง โพรวินซ์เวลส์เลย์ ดิงดิง เมืองมะละกา และเกาะสิงคโปร์ สีเหลือง: สหพันธรัฐมลายู (Federated Malay States) มีศูนย์กลางที่กัวลาลัมเปอร์ ประกอบด้วยเปรัก เซอลาโงร์ เนอเกอรีเซิมบีลัน และปะหัง สีน้ำเงิน: รัฐที่ไม่ได้อยู่ในสมาพันธ์ (Unfederated Malay States) ประกอบด้วยไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปะลิส และยะโฮร์

ใน ค.ศ. 1895 อังกฤษจัดตั้งสหพันธรัฐมลายู (Federation of Malay States) เพื่อรวบรวมการปกครองของรัฐทั้งสี่ภายใต้อำนาจของอังกฤษประกอบด้วยรัฐเปรัก รัฐเซอลาโงร์ รัฐเนอเกอรีเซมบีลัน และรัฐปะหัง เข้าเป็นหนึ่งเดียวกันโดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองกัวลาลัมเปอร์ ผู้นำสุลต่านและยัมตวนของรัฐทั้งสี่ยังคงดำรงตำแหน่งไว้เช่นเดิมในทางพิธีการมีการจัดตั้งสภาผู้ปกครอง (Council of Rulers) หรือสภาดูร์บาร์ (Durbar) ประกอบด้วยผู้นำของรัฐทั้งสี่ แต่ในทางปฏิบัติอำนาจการปกครองที่แท้จริงอยู่ที่ทางการอาณานิคมอังกฤษ ใน ค.ศ. 1909 รัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สนธิสัญญาระหว่างสยามและอังกฤษ (Anglo-Siamese Treaty of 1909) รัฐมลายูทั้งสี่ได้แก่ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และปะลิส เข้ามาอยู่ในอิทธิพลของอังกฤษ อังกฤษจึงส่งผู้กำกับราชการเข้าไปยังรัฐใหม่ทั้งสี่นี้ และใน ค.ศ. 1914 รัฐยะโฮร์ยินยอมรับผู้กำกับราชการของอังกฤษเป็นรัฐสุดท้าย ทำให้อังกฤษมีอำนาจปกครองเหนือตลอดแหลมมลายู ทำให้รัฐต่าง ๆ ในมลายาแบ่งเป็นสองกลุ่มได้แก่ กลุ่มรัฐในสมาพันธรัฐ (Federated States) ประกอบด้วยเปรัก เซอลาโงร์ เนอเกอรีเซมบิลัน และปะหัง เป็นกลุ่มที่อังกฤษมีอำนาจปกครองอย่างแท้จริงโดยประมุขของรัฐมีหน้าที่ทางพิธีการเท่านั้น และกลุ่มรัฐที่ไม่ได้ร่วมสมาพันธ์ (Unfederated States) ประกอบด้วยไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู ปะลิส และยะโฮร์ ซึ่งอังกฤษเพียงแต่ส่งผู้กำกับราชการเข้าดูแลไม่เข้มงวดเท่ารัฐในสมาพันธ์ฯสุลต่านยังมีอำนาจปกครองอยู่บ้าง

สงครามโลกครั้งที่สองและภาวะฉุกเฉินมลายา

อ้างอิง

  1. https://kwekudee-tripdownmemorylane.blogspot.com/2012/10/semang-people-one-of-african-natives-of.html
  2. https://themalayadventurer.wordpress.com/2014/05/03/origin-of-malay-people/
  3. ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ ๖๔. พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ ( เจิม ).
  4. พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐ ฉบับพ.ศ. ๒๕๔๒
  5. https://en.wikisource.org/wiki/Malay_Annals/Chapter_13
  6. https://www.silpa-mag.com/history/article_1765
  7. http://www.treasury.go.th/pv_chainat/ewt_news.php?nid=483

ประว, ศาสตร, มาเลเซ, มาเลเซ, ยเป, นประเทศในเอเช, ยตะว, นออกเฉ, ยงใต, และเป, นประเทศเพ, อนบ, านของไทยทางท, ศใต, งอย, ในจ, ดย, ทธศาสตร, สำค, ญของภ, ภาคค, อช, องแคบมะละกา, straits, malacca, งเป, นทางผ, านของเส, นทางการคมนาคมและการค, ามาแต, สม, ยโบราณ, เร, มต, นเม. maelesiyepnpraethsinexechiytawnxxkechiyngitaelaepnpraethsephuxnbankhxngithythangthisit tngxyuincudyuththsastrsakhykhxngphumiphakhkhuxchxngaekhbmalaka Straits of Malacca sungepnthangphankhxngesnthangkarkhmnakhmaelakarkhamaaetsmyobran prawtisastrmaelesiyerimtnemuxchawophrot maely Proto Malay xphyphmathungdinaednpraethsmaelesiycakthangthael caknnxarythrrmxinediyidaephkhyaymathungaehlmmlayu kaenidepnrthobrantang sungnbthuxphraphuththsasnamhayanaelasasnahindu klumxanacthisakhyinsmyobrankhuxxanackrsriwichysungepnsunyrwmkhxngemuxngtang thixyuthwphumiphakh kartidtxthangkarkhakbchawxahrb xinediy aelaepxresiythaihsasnaxislamephyaephrmasudinaednpraethsmaelesiyinsmytxma chnchnphupkkhrxngecaphukhrxngxanacinmaelesiycunghnmarbnbthuxsasnaxislam darngtaaehnngepnsultan inkhriststwrrsthi 15 rthsultanmalaka Malacca Sultanate epnsunyklangthangkaremuxngaelawthnthrrminolkthsnkhxngchawmlayu inewlaediywknnksarwcchawyuorpmathungyngdinaednphumiphakhni naipsukarephchiyhnathangkarthharaelachawoprtueksekhayudemuxngmalakaidin kh s 1511 emuxrthmalakalmslaysunyklangthangkaremuxngkhxngmlayucungyayipxyuthirthsultanyaohr Johor Sultanate inkhnathirthtang inphakhehnuxkhxngmlayuechnithrburi klntn trngkanu tkxyuphayitxiththiphlkhxngsyamxanackrxyuthyaaelartnoksinthr insmytxmachawhxlndaekhamamixanacaethnthichawoprtueks txtammadwychawxngkvs naipsusnthisyyaxngkvs hxlndapi kh s 1824 Anglo Dutch Treaty of 1824 aebngekhtxiththiphlrahwangsxngxanac dinaednswnkhxngxngkvsthimacaksnthisyyanicaklayepnpraethsmaelesiyinthisud xngkvscdtngxananikhmkhunthisingkhopraelapinng eriykwa xananikhmchxngaekhb Straits Settlements in kh s 1895 rththngsirthidaekpahng eprk esxlaongr aelaenxekxriesimbiln thasnthiryyayinyxmekhaepnrthinxarkkhakhxngxngkvs naipsukarcdtngshphnthrthmlayu Federated Malay States aelaxananikhmmlayakhxngxngkvs British Malaya inrchsmyphrabathsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw rththngsiidaekithrburi klntn trngkanu aelapalis ekhamaxyuinxiththiphlkhxngxngkvsinsmysngkhramolkkhrngthisxngthphyipunekhayudkhrxngxananikhmmlayakhxngxngkvsepnewlachwkhraw hlngcaksngkhramolkkhrngthisxngxngkvsekhamaphyayamfunfurabxbkarpkkhrxngkhxngxananikhmtamedim aetekidkraaeschatiniymkhunnaipsukarpathathangthharephuxpldaexkmaelesiycakxngkvseriykwa phawachukechinmlaya Malayan Emergency sungphrrkhkhxmmiwnistmlaya Malayan Communist Party epnaeknnahlkinkartxsuephuxeriykrxngexkrach aemwaxngkvscaidrbchychnainkartxsukbphrrkhkhxmmiwnist aetmaelesiykidrbexkrachinthisudinwnthi 31 singhakhm kh s 1957 praethsmaelesiykxtngkhunphayitphunatunku xbdul rahmn Tunku Abdul Rahman khwamphyayamkhxngxananikhmbxreniywehnuxsungprakxbdwysabahaelasarawkinkarthicaekharwmkbpraethsmaelesiynaipsusngkhramrahwangmaelesiyaelaxinodniesiy Konfrontasi maelesiychnasngkhramaelasamarthphnwkexadinaednphakhehnuxkhxngekaabxreniywmarwmekhakbpraethsmaelesiyidsaerc khwamkhdaeyngthangechuxchatirahwangchawmlayukbchawcinnaipsukarkhbsingkhoprxxkcakpraethsmaelesiyin kh s 1965 naykrthmntrixbdulrahmnxxkkdhmayexuxpraoychnthangesrsthkicaek phumibutr Bumiputera hruxchawmlayuthxngthindngedim insmykhxngnaykrthmntrimahadir bin omhamd esrsthkickhxngmaelesiyecriyetibotkhun enuxha 1 smykxnprawtisastr 2 smyobran 3 rthmalakaaelasasnaxislam 4 rthyaohraelaxiththiphlkhxngchawyuorp 4 1 sngkhramsamfay 4 2 wngsebindaharaaelaxiththiphlkhxngchnchatibukis 4 3 xiththiphlkhxngsyamaelaxngkvsehnuxrthithrburi 4 4 yaohrmxbsingkhoprihxngkvs 5 mlayakhxngxngkvs 6 sngkhramolkkhrngthisxngaelaphawachukechinmlaya 7 xangxingsmykxnprawtisastr aekikh thwipsundaaelnd Sundaland inyukhhineka hruxyukhnaaekhng emuxpraman 100 000 pikxnthungemux 12 000 pikxn radbnathaelxyutakwaradbinpccubnpraman 30 40 emtr thaihthaelcinitbangswntunekhinkhunmaepnaephndinaelakhabsmuthrmlayuepndinaednphunaephnediywknkbekaasumatraaelaekaabxreniyw eriykwa dinaednsundaaelnd Sundaland mikarkhnphbkradukmnusyohomesepiynsthiekaaekthisudinmaelesiykhux mnusyeprk Perak Man thiemuxngelingkng Lenggong rtheprkinpccubn mixayupraman 11 000 kxn cakhlkthanthangphnthukrrmaelakarkracaytwkhxngchatiphnthuinpccubn tamthvstixxkcakaexfrika Out of Africa theory mnusyohomesepiynsklumaerkthimathungdinaednmaelesiykhuxklumchatiphnthunikrxyd 1 hruxeriykwaenkriot Negrito mathungdinaednexechiytawnxxkechiyngitemuxpraman 60 000 pikxn pccubnkhuxchawsaik Sakai hruxsungchawmlayueriykwa esmng Semang hruxesnxy Senoi sungkhnithyruckinnam engaapa chawsaikepnmnusyklumaerkinphumiphakhaeladarngchiwitdwykarlastwekbkhxngpa txmaemuxpraman 20 000 pikxnklumchnthiphudphasainklumxxsotrexechiytik Austro Asiatic mathungyngexechiytawnxxkechiyngit odychnklumxxsotrexechiytikmiptismphnthkbklumnikrxydedim thaihchnklumenkriotrbexaphasakhxngchawxxsotrexechiytikmaichklayepnphasaklumxsli Asilan languages inpccubn chawmlayueriykchnphunemuxngdngedimsungxasyxyuinmaelesiykxnkarmathungkhxngchawmlayurwm knwa chawoxrngxsli Orang Asli karkracaytwkhxngchawxxsotrniesiynxxkcakekaaithwniptamthitang idaekbriewnhmuekaakhxngexechiytawnxxkechiyngit ipcnthunghmuekaaoxechiyeniyaelaekaamadakskar chawesmng Semang hruxchawsaik Sakai hrux engaapa epnchnklumchatiphnthuenkriot Negrito epnklumchatiphnthuthiekaaekthisudthixasyinmaelesiy chawmlayusungichphasamlayuxnepnphasainklumphasaxxsotrniesiyn Austronesian klumyxymlayu ophliniesiyn Malayo Polynesian tnkaenidkhxngchawmlayuthvsdiekatngaetpi kh s 1889 rabuwachawmlayuxphyphmathungdinaednpraethsmaelesiydwykaredineruxthangthaelinsxngralxk 2 ralxkaerkeriykwachawophrot maely Proto Malay epnchawmlayuklumaerkthimathungphumiphakhhmuekaakhxngexechiyxusakhenyemuxpraman 6000 pikxnkhristkal sungchawophrotmaelyhruxchawmlayuklumaerknnklayepnchatiphnthuklumophrot maelyinpccubn echn chawdayk Dayak chawbatk Batak aelachawniys Nias bnekaabxreniyw aelachawcakhun Jakun bnaehlmmlayu tammadwychawdiwethxor maely Deutero Malay hruxchawmlayuralxkhlng sungxphyphmaemuxpraman 300 pikxnkhristkal klayepnchawmlayuswnihysungtxmarbwthnthrrmxinediyaelaxislamaelasrangxarythrrmaelawthnthrrmmaelyinpccubn inpccubnmithvsdixxkcakithwn Out of Taiwan hypothesis 2 odyichhlkthanthangphasasastrwaphasaklumxxsotrniesiynmitnkaenidxyubnekaaithwn chawxxsotrniesiynerimxphyphxxkcakekaaithwnemuxpraman 6000 pikxnkhristkal ekhamatngrkrakinhmuekaaexechiytawnxxkechiyngitipcnthunghmuekaaoxechiyeniyinmhasmuthraepsifikin kh s 2009 mikaresnxthvstiihmineruxngtnkaenidkhxngchawmlayukhux thvsdisundaaelnd Sundaland Theory cakkarsuksathangphnthusastrekiywkbdiexneximotkhxnedriy phbwachawmlayuxaccamitnkaenidthiaephndinsundaaelnd emuxpraman 12 000 pikxnyukhnaaekhngsinsudlngradbnathaelsungkhunthaihaephndinsundaaelndcmitna chawmlayucungkracdkracayiptamthitang xyangirktampraedneruxngtnkaenidkhxngchawmlayuyngkhngepnthithkethiyng emuxchawmlayuekhamatngrkrakcbcxngphunthithamahakintamchayfngthael thaihchawoxrngxsliedimtxngthxyrnekhalukipinaephndinsmyobran aekikh aephnthiaesdngekhruxkhayemuxngaelakarkhyayxanackhxngxanackrsriwichy prawtisastrkhxngmaelesiyerimtnkhuncakkaraephkhyayxiththiphlkhxngxarythrrmxinediymasuphumiphakhexechiytawnxxkechiyngitrwmthngaehlmmlayu phbhlkthanekiywkbxarythrrmxinediythiekaaekthisudxayukhriststwrrsthi 6 insmyobrandinaednpraethsmaelesiyxyuphayitkarpkkhrxngkhxngxanackrsriwichy Srivijaya sungmiichrthrwmxanackarpkkhrxngthisunyklangaetepnekhruxkhaykhxngemuxngtang inphumiphakhhmuekaainexechiytawnxxkechiyngit khwbkhumesnthangkaredineruxsakhyrahwangcinaelaxinediy sunyklangkhxngxanackrsriwichyxyuthiemuxngpaelmbng praethsxinodniesiy hruxxyuthixaephxichya cnghwdsurastrthani carukphasamlayueka Old Malay sungekaaekthisudkhuxcarukekhduknbukit Kedukan Bukit Inscription phbthiemuxngpaelmbng mixayuthi kh s 683 epncarukphasamlayuekakhwbkhukbphasasnskvt khawa mlayu nnmacakkhawaemlayu Melayu edimhmaythungphunthithangtxnitkhxngekaasumatrabriewnemuxngpaelmbng txmaemuxsunyxanacyaymaxyubnaehlmmlayukhawamlayucungekhluxnthitamma chnchnpkkhrxngkhxngmlayuinxanackrsriwichynbthuxphuththsasnamhayan mikarkhnphbphraphuththrupaelarupkhxngphraophthistwtang inpratimakrrmsilpaaebbsriwichy phraophthistwxwolkietswrinphuththsasnamhayan silpasriwichy phbthiemuxngbiodr Bidor rtheprk pccubnxyuthiphiphithphnthsthanaehngchatimaelesiy in kh s 1025 phraecaraechnthraoclathi 1 Rajendra Chola I aehngrachwngsoclacakaekhwnthmilinxinediyit ykthphekharukrandinaednkhxngsriwichyinkhabsmuthrmlayu thaihxanackhxngxanackrsriwichyinphumiphakhesuxmlng khabsmuthrmlayutkxyuphayitkarpkkhrxngkhxngchawthmilxyuchwngewlahnung thaihmikarkhnphbcarukphasathmiltamthitang emuxngmlayuthiekaaekxyuphayitkarpkkhrxngkhxngsriwichyidaek emuxngkhtaha hruxekdah Kedah hruxemuxngithrburi aelaemuxngpahng mikarkhnphbaehlngobrankhdithihubekhabuyng Bujang valley thirthekdah aesdngthungwthnthrrmthmilaelaphuththsasna emuxchawthmiloclaesuxmxanacthxyxxkipaelw khabsmuthrmlayucungxyuphayitkarpkkhrxngkhxngxanackrtamphrlingk Tambralinga sungmisunyklangxyuthiemuxngnkhrsrithrrmrach in kh s 1231 phraecasrithrrmaoskrachkhunkhrxngxanackrtamphrlingk emuxngtang thangehnuxkhxngmaelesiyidaekithrburi klntn aelapahng xyuphayitkarpkkhrxngkhxngtamphrlingkaelaepnswnhnungkhxnghwemuxngbriwarsibsxngnkstr inkhnathiemuxnginphakhitkhxngmaelesiyyngkhngxyuinekhtxiththiphlkhxngxanackrsriwichyin kh s 1288 thpheruxkhxngxanackrsinghasahriekhabukyudnkhrpaelmbng sungepnsunyklangkhxngxanackrsriwichy thaihxanackrsriwichylmslayklumechuxwngstang khxngsriwichytangphaknhlbhnixxkcakphunthi miecachaysriwichyxngkhhnungnamwasngnilxutma Sang Nila Utama hlbhnithphkhxngchwamatngmnxyubnekaaethmaesk Temasek tngemuxngsingkhpura Singapura khunin kh s 1299 aelaprabdaphiesktnexngkhunepnrayaaehngxanackrsingkhpura Kingdom of Singapura namwarayasritriphuwna Sri Tri Buana xanackrsingkhpurayngkhngtxngephchiykbkarrukrankhxngchawchwaxanackrmchpahitxikhlaykhrng xanackrsingkhpuradarngxyuepnewlapramanhnungrxypimirayapkkhrxngthngsinhaxngkhcnkrathnglmslaylngin kh s 1398 cakkarrukrankhxngtangchatiinsmykhxngrayapremswrrthmalakaaelasasnaxislam aekikh caruktrngkanu Terengganu Inscription epncarukthiekaaekthisudthiichxksryawiekhiynphasamlayuin kh s 1303 epnhlkthanthungxiththiphlkhxngsasnaxislaminrayaaerk ecachaypremswr Paramesawara epnrayaphraxngkhaerkkhxngxanackrmalaka xyangirktamprawtikhwamepnmaaelaeruxngrawkhxngecachaypremswryngkhngepnthithkethiyngenuxngcakexksarprawtisastrrabuehtukarnimtrngkn phngsawdarsyaraahmlayu Sejarah Melayu sungthukbnthukinkhriststwrrsthi 17 rabuwaecachaypremswrepnrayaxngkhsudthayaehngxanackrsingkhpura phraecawikrmwrrthna Wikromwardhana aehngmchpahitykthpheruxekhaocmtiemuxngsingkhpura rayapremswrsuyesiyemuxngsingkhpuraihaekthpheruxchwaaelaxanackrsingkhpurasinsudlng inhnngsuxeruxngsumaoxeriyntl Suma Oriental khxngotempiers Tome Pires nkedinthangchawoprtueks rabuwaecachaypremswrepnecachaycakemuxngpaelmbngkhxngsriwichy sungecachaypremswrykthpheruxcakemuxngpaelmbngekhayudemuxngsingkhpuraiwihaektnexng aetenuxngcakemuxngsingkhpurainkhnannepnpraethsrachkhxngsyam thpheruxcaksyamcungykmaekhayudemuxngsingkhpuraklbkhunip xanackrsingkhpurasinsudlngin kh s 1398 cakkarrukrankhxngsyamhruxchwa thaihecachaypremswrtxngesdchlbhniipthangtawntkbnkhabsmuthrmlayu ipyngaekhwnmuxar Muar ecachaypremswrprathbittnmakhampxm emuxsunkhlaenuxkhxngecachaypremswriltidtamlamngtwhnungpraktwalamngnnhaytwipepnsyyanmngkhl ecapremswrcungsrangemuxngmalakakhunbriewntnmakhampxmnnepncudkaenidkhxngxanackrmalakaesrsthkickhxngxanackrmalakaekidcakkarkhwbkhumesnthangkarkhaphanthangchxngaekhbmalaka rthmalakainsmyaerktxngephchiykbmhaxanacthngsxngidaeksyamxanackrxyuthyacakthisehnuxaelachwamchpahitcakthisit in kh s 1405 phrackrphrrdihyngelxaehngrachwngshmingsngkxngthpheruxthutnaodyecingehx cin 鄭和 phinxin Zheng He mayngthaelit ecachaypremswrcunghnipphuksmphnthimtrikbcinrachwngshmingephuxaeswnghakhwamkhumkhrxngthangkaremuxngkhanxanackbsyamaelachwa in kh s 1411 ecachaypremswrphrxmthngechuxwngsaelakhunnangkharachkarodysartidipkbkxngeruxsarwckhxngecingehxedinthangipekhaefaphrackrphrrdihyngelx xanaekhtsungsudkhxngrthsultanmalaka prakxbipdwyswnihykhxngaehlmmlayurwmthngdinaednfngekaasumatraaelahmuekaariexa Riau Islands inkhnathirthmlayuthangehnuxidaekpttani ithrburi aelaklntn xyuphayitxiththiphlkhxngxyuthya insmykhxngrthmalakasasnaxislamnikaysunhniidephyaephrmathungyngkhabsmuthrmlayu phanthangesnthangkarkhakhaykbchawepxresiyaelaxinediy odysasnaxislaminmalakaidrbxiththiphlcakrthsmuedrapais Samudera Pasai thangehnuxkhxngekaasumatra exksarthangprawtisastrkhxngrthxun tangrabuxangwarthkhxngtnrbsasnaxislammakxnhnarthmalakaaelw echn phngsawdarhikayatemxrngmhawngsa Hikayat Merong Mahawangsa khxngithrburi rabuwarthithrburinbthuxsasnaxislammatngaet kh s 1136 mikarkhnphbcaruktrngkanu Terengganu Inscription thirthtrngkanu carukkhunin kh s 1303 epncarukphasamlayukhlassik Classical Malay odymikarichxksryawi Jawi script epnkhrngaerksungprayuktmacakxksrxahrbmaephuxichekhiynphasamlayu xanackrmalakaidphthnakhunepnsunyklangthangkaremuxngaelawthnthrrmkhxngolkmlayu emuxmalakarbaelasngesrimsasnaxislamthaihsasnaxislamsamarthpradisthaninolkaelawthnthrrmmlayu hnngsuxsumaoxeriyntlkhxngotempiersrabuwaoxrskhxngrayapremswrrbsasnaxislamepnsasnapracamalakaaelaichtaaehnng sultan epnphupkkhrxngrthmalaka thaihmalakaklayepnrthsultan Sultanate inkhnathisyaraahmlayurabuwamalakarbsasnaxislaminsmykhxngrayaxngkhthisam phusungepliynmaichchuxwasultanmuhahmdchah Muhammad Shah rabbrachkarkhxngrthmalakaprakxbipdwytaaehnngtang taaehnngsungsudkhuxesnabdieriykwaebindahara Bendahara txmamihwhnaxngkhrkseriykwatamahngng Temenggong aemthpheruxeriykwalksmna Laksamana aelaecakrmthaeruxeriykwachahbndar Syahbandar buhngamasdneprk Bunga mas dan perak hruxtnimengintnimthxng epnekhruxngbrrnakarsungrthmlayuthangphakhehnuxidaekithrburi aelaklntn txngsngihaeksyamxanackrxyuthya insmykhxngsultanmnsurchah Mansur Shah epnyukhrungeruxngkhxngrthsultanmalaka sultanmnsurchahprasbkhwamsaercinkarkhyaydinaednkhamfngipyngekaasumatramixanacehnuxaekhwnriexa Riau rwmthngekhakhrxbkhrxnghmuekaariexa Riau islands inkhnathirthmalakakalngeruxngxanacxyuthangitkhxngaehlmmlayunn rthmlayutang inphakhehnuxidaek ithrburi aelaklntnsungedimxyuphayitxanackhxngxanackrnkhrsrithrrmrach emuxnkhrsrithrrmrachthukrwmekhakbxanackrxyuthyarthmlayuehlanncungkhunkbsyamxanackrxyuthyadwy mikarsngbrrnakarepntnimengintnimthxnghruxeriykwabuhngamas Bunga mas ihaekxyuthyaepnraya rchsmykhxngsmedcphrabrmitrolknathsyamxyuthyasngkxngthphekhaocmtirthmalakathangbksungexksarfayithyaelafaymlayuihraylaexiydehtukarntangkn phngsawdarchbbphncnthnumas ecim rabuwa skrach 803 pirakatrisk kh s 1441 aetngthphipexaemuxngmalaka 3 phngsawdarkrungekachbbhlwngpraesrithrabuwa skrach 817 kunsk kh s 1455 aetngthphihipexaemuxngmlaka 4 swnsyarahmlayuklawwakstriysyamphranamwabubnyar Bubanyar thrngaetngthphekharukranmalakasxngkhrng 5 khrngaerknaodyxawichakhri Awi Chacri xxkyackri ykthangbkmayngemuxngpahng khrngthisxngnaodyxawidichu Avidichu xxkyaedoch sungthngsxngkhrngaemthphtuneprk Tun Perak samarthnathphmlayukhbthphfaysyamxxkipidin kh s 1509 thharchawoprtuekschux dioyku lxpuch du suikra Diogo Lopes de Sequeira edinthangmayngemuxngmalakaephuxkhxecrcaepidesnthangkarkha aetbrrdaphxkhachawxinediymusliminmalakamxngwaoprtueksepnstruthangkarkhaaelathangsasna cungaenanaihsultanmahmudchah Mahmud Shah txtanxiththiphlkhxngoprtueks sultanmahmudchahmikhasngihlxbsnghardu suikra du suikraihwtwthnhlbhniipaetthangkarmalakasamarthcbkumchawoprtueksmakhngiwbangswn in kh s 1511 xafngsu du xlbuaekrku khahlwngoprtuekspracaemuxngkw ykthphoprtueksmayngemuxngmalakaephuxeriykrxngihsultanmalakaplxytwchawoprtueks emuxsultanimyxmplxytwchawoprtueks du xlbuaekrkucungykthphekhabukyudemuxngmalakaidxyangrwderw sultanmahmudchahaelakhrxbkhrwhlbhnixxkcakemuxngmalaka thaihrthsultanmalakasungdarngxyumaepnewlapramanhnungrxypisinsudlng sultanmahmudchahhlbhniipyngemuxngkmpar Kampar bnekaasumatraaelaxyuthinncnkrathngesiychiwitrthyaohraelaxiththiphlkhxngchawyuorp aekikh phaphemuxngmalakaphayitkarpkkhrxngkhxngoprtueks karesiyemuxngmalakaihaekoprtueksthaihekidsuyyakasthangkaremuxngaelaepidoxkasihchawyuorpekhamamixanacaelaxiththiphlinphumiphakh hlngcakthisultanmahmudchahesiychiwitthiemuxngkmparin kh s 1528 butrchaykhnthisxngkhxngsultanmahmudchahkhuxmusffar Muzaffar edinthangiptngtnepnsultankhunthieprk epnsultankhnaerkkhxngrthsultaneprk Perak sultanate aelabutrchaykhnthisamedinthangiptngtnepnsultankhunthiemuxngyaohrlama Johor Lama epnsultanxlaxuddinrixayatchahthi 2 Alauddin Riayat Shah II sultankhnaerkkhxngrthsultanyaohr Johor sultanate rthsultanyaohrsamarthdarngrksadinaednswnihykhxngrthmalakaexaiwidthngsxngfngkhxngchxngaekhbmalaka aelasubthxdkhwamepnsunyklangthangkaremuxngaelakarpkkhrxngpraephniwthnthrrmmacakmalaka xyangirktamsmykhxngrthsultanyaohrepnsmythikhadesthiyrphaphthangkaremuxngcakphaykhukkhamtangchatithaihsultanaehngyaohryayemuxnghlwngepncanwnmakkwasibaehngsungaetlaaehngepnsunyklangkarpkkhrxngkhxngyaohrephiyngchwkhrawethann sngkhramsamfay aekikh emuxchawmlayuesuxmxanaclnginphumiphakhthaihrthsultanxaecah Aceh sultanate khxngchnchatixaecahsungxyutxnehnuxkhxngekaasumatraeruxngxanackhun in kh s 1564 sultanxlaxuddinxlkahar Alauddin al Qahar aehngxaecahykthphekhabukyudephathalayemuxngyaohrlamaaelacbtwsultanxlaxuddinrixayatchahaehngyaohrippraharchiwitthiemuxngxaecah insmytxmakhxngsultanxaliyllaxbdulyalilchah Ali Jalla Abdul Jalil Shah funfuemuxngyaohrlamakhunxikkhrng aetthpheruxoprtueksbukephathalayemuxngyaohrlamaxikin kh s 1587 sultanxaliyllacungyayemuxnghlwngipyngbatuesxwar Batu Sewar sultanxaliyllamibutrchaysxngkhn khnotkhunsubthxdtaaehnngsultanchuxwasultanxllaxuddinrixayatchahthi 3 Alauddin Riayat Shah III aehngyaohr butrchaykhnrxngchuxwarayabngsu Raja Bongsu insmykhxngsultanxllaxuddinthisam xanackarpkkhrxngthiaethcringxyuthirayabngsuphuepnnxngchay rayabngsusrangkhwamsmphnthkbhxlndaodykarsngkhnathutipyngpraethsenethxraelndin kh s 1603 aelathasnthisyyathangkarkhaaelakarthharkbnaykhxrenlis maeteliyf edx yxrc Cornelis Matelief de Jorge khahlwngihykhxnghxlndainphumiphakhxinediytawnxxkin kh s 1606 odythiyaohrihkhwamchwyehluxthangthharaelaepnthiphkphingaekthpheruxhxlndainkartxsukboprtueks ephuxepnkarkhanxanackbkboprtueksaelaxaecahinphumiphakh insmykhxngsultanxiskndarmuda Iskandar Muda aehngrthxaecah xaecahaephkhyayxiththiphlekhamayngaehlmmlayu sngkhramrahwangrthyaohr rthxaecah aelaoprtueksthiemuxngmalaka eriykwa sngkhramsamfay Triangular War aemwarthyaohrcaidrbkarsnbsnuncakhxlndaaetktxngephchiykbphykhukkhamcakrthxaecahxyanghnk in kh s 1613 sultanxiskndarmuda Iskandar Muda aehngxaecahykthphekhayudemuxngbatuesxwarcbtwrayabngsuklbipaelathaihsultanxlaxuddinthisamaehngyaohrtxnghlbhniesiychiwit in kh s 1615 sultanxiskndarmudaaehngxaecahnatwrayabngsuklbmatngkhunepnsultanxbdulelaahmaxayatchah Abdullah Ma ayat Shah aehngyaohr aelapiediywknsultanxiskndarmudaykthphekhayudrthpahngpldsultanwngsedimxxkcaktaaehnngaelatngrayabuyng Raja Bujang butrchaykhxngsultanxlaxuddinthisamkhunepnsultanaehngpahngaethn in kh s 1619 sultanxiskndarmudabukyudemuxngithrburi in kh s 1623 sultanxbdulelaahmaxayatesiychiwit rayabuyngaehngpahngcungkhunepnsultanxbdulyalilchah Abdul Jalil Shah aehngyaohrtxma rthyaohraelapahngcungphnwkrwmekhadwyknepnrthediyw sultanxbdulyalilchahtngemuxnghlwngthiekaatmebxln Tambelan Islands sungxyuiklkbekaabxreniywaehngxnhangiklephuxhlikeliyngxanackhxngrthxaecah txmaemuxhxlndasamarthprabpramrthxaecahid xiththiphlkhxngrthxaecahinphumiphakhmlayucungesuxmlng thpheruxkhxngoprtueksaelathpheruxhxlndapralxngyuththkn in kh s 1641 sultanxbdulyalilchahsngaemthpheruxlksmnatunxbdulyamil Tun Abdul Jamil ekhanathpheruxmlayurwmkbthpheruxkhxnghxlndaekhabukyudemuxngmalakamacakoprtueksidsaercthaihxiththiphlkhxngoprtuekssinsudlng fayyaohryinyxmihhxlndaekhapkkhrxngemuxngmalakatxcakoprtueksphayitenguxnikhwahxlndacaidimaeswnghakhyaydinaednephimetiminaehlmmlayu emuxxanackhxngxaecahaelaoprtuekssinipaelwsultanxbdulyalilchahcungyayemuxnghlwngklbmayngemuxngbatuesxwar khnannbnekaasumatrarthsultanymbi Jambi Sultanate kalngeruxngxanackhun sultanxbdulyaliltxngkarsansmphnthkbrthymbicungihkhasyyawaihymtwnmuda Yamtuan Muda hruxthayathsmrskbbutrsawkhxngsultanaehngymbi aettxmasultanxbdulyalilphidkhasyyaihymtwnmudasmrskbbutrsawkhxngaemthpheruxtunxbdulyamilaethn naipsungsngkhramyaohr ymbi Johor Jambi War in kh s 1673 thpheruxymbiekhabukyudthalayemuxngbatuesxwarsultanxbdulyamilhlbhniipemuxngpahngaelaesiychiwit ymtwnmudacungkhunepnsultanxibrahimchah Ibrahim Shah sultanxibrahimchahwacangthharrbcangchawbukis Bugis macakthangtxnitkhxngekaasulaewsimaephuxsurbkbthphkhxngrthymbicnidrbchychnain kh s 1679 hlngcaksinsudsngkhramyaohr ymbiaelwbrrdathharrbcawchawbukisimklbthinthankhxngphwktnaetmatngrkrakxyuthiaekhwnesxlaongr wngsebindaharaaelaxiththiphlkhxngchnchatibukis aekikh xakharstdthiws Stadthuys xakharsiaedngepnthithakarkhxngthangkarxananikhmhxlnda pccubnxyuthicturshxlnda Dutch Square inemuxngmalaka sultanxibrahimchahthukwangyaphisesiychiwitin kh s 1685 butrchaykhunepnsultantxmachuxwasultanmahmudthisxng Mahmud II sultanmahmudmiphvtikrrmwiplasaelaohdehiym khunnangchuxwaemxkatsriram Megat Sri Rama cungthakarlxbsngharsultanmahmudin kh s 1699 brrdakhunnangykesnabdiebindaharatunxbdulyalil Tun Abdul Jalil khunepnsultanxbdulyalilchah Abdul Jalil Shah thaihwngsmalaka Melaka dynasty sungpkkhrxngrthyaohrmaepnewlapramanhnungrxyecdsibpisinsudlng wngsebindahara Bendahara dynasty khunkhrxngrthsultanyaohrtxma xyangirktammichayphuhnungcakemuxngsixak Siak bnekaasumatrachuxwarayaekxsil Raja Kecil xangtnepnbutrchaykhxngsultanmahmudsungthuklxbsngharipnn rayaekxsilidrbkarsnbsnuncakchawminngkaeba Minangkabau sungxphyphcakekaasumatramatngthinthanxyuthidinaednbriewnrthenxekxriesimbilninpccubn rayaekxsilnathphminngkaebaekhachingtaaehnngsultancaksultanxbdulyalilin kh s 1718 pldsultanxbdulyalilxxkcaktaaehnng xditsultanxbdulyalilhlbhniipyngemuxngpahngephuxsasmkalngthhar sultanrayaekxsilsngkhniplxbsngharxdtsultanxbdulyalilin kh s 1721 aelacbtwbutrchaykhxngxbdulyalilkhuxsulymanklbma pitxma kh s 1712 daexngparani Daeng Parani phunakhxngchnchatibukisykthphkhxngchawbukisekhayudxanacpldsultanrayaekxsilxxkcaktaaehnngsultan aelayktaaehnngsultanihaeksulyman epnsultansulymanbdrulxlmchah Suleiman Badrul Alam Shah wngsebindaharacungklbmapkkhrxngyaohrxikkhrng fayrayaekxsilhlbhniklbipyngemuxngsixakaelatngtnkhunepnsultanthiemuxngsixak kxtngrthsultansixaksrixinthrpura Sultanate of Siak Sri Indrapura aeykdinaednbnekaasumatrathnghmdkhxngrthyaohrxxkipepnxisraenuxngcakchawbukissungmiphunakhuxdaexngparanimibthbathchwyehluxsultansulymaninkaryudxanaccakrayaekxsil sultansulymancungmxbrangwlaelaxanacihaekchawbukisxyangmak sultansulymanaetngtngihnxngchaykhxngdaexngparaniechuxwadaexngemxerxwah Daeng Merewah ihdarngtaaehnngepnymtwnmudahruxphusaercrachkaraethnsultan thaihchawbukiseruxngxanackhunmibthbathinkarpkkhrxngaelakaremuxngkhxngrthyaohr insmykhxngwngsebindaharasultanaehngyaohrepnephiynghunechidethann xanackarpkkhrxngthiaethcringxyuthiymtwnmudasungepntaaehnngthikhrxbkhrxngodychawbukisaelasubtaaehnngthangsayeluxd in kh s 1743 ymtwnmudadaexngechxlak Daeng Chelak ihbutrchaykhxngtnkhuxrayalumu Raja Lumu ekhapkkhrxngaekhwnesxlaongrsungmichawbukisxasyxyucanwnmak txmarayalumuekhachwyehluxsultanaehngeprkinkarchingxanacphayin sultanaehngeprkcungtngihrayalumuepnsultansaelxhuddin Sallehuddin aehngesxlaongr epnpthmsultanaehngrthsultanesxlaongr Sultanate of Selangor sultanmahmudchahthi 3 Mahmud Shah III aehngyaohrphyayamldxanackhxngbukisdwykhwamchwyehluxkhxnghxlndaodykartklngsyyathangkarthharkbhxlndain kh s 1784 emuxidrbkarsnbsnuncakhxlndasultanmahmudchahcungprakaspldchawbukisxxkcaktaaehnngymtwnmudaaelakhbchawbukisxxkcakrthyaohr xiththiphlkhxngchawbukisthipkkhrxngyaohrepnewlananthaihxanackhxngsultanesuxmlngaelakhunnangthxngthintangaeyktwepnxisra esnabdiebindaharamixanackhunthiemuxngpahng inkhnathikhunnangtamahngngpkkhrxngsingkhopr xiththiphlkhxngsyamaelaxngkvsehnuxrthithrburi aekikh ruppnkhxngnayfransis ilt Francis Light thiemuxngcxrcthawn hlngcakkaresiykrungsrixyuthyakhrngthisxngin kh s 1767 thaihrthsultanmlayuthangtxnehnuxidaekithrburi klntn aelatrngkanuepnxisracakxiththiphlkhxngsyamepnkarchwkhraw in kh s 1786 nayfransis ilt Francis Light chawxngkvsekhaphbsultanxbdulelaahmukkarmchah Abdullah Mukkaram Shah aehngithrburi ephuxecrcakhxdinaednekaapinnghruxekaahmakihaekxngkvs odythinayfransisiltihkartxbaethnaeksultanaehngithrburidwysyyathangthharwahakithrburithukthphsyamekharukranxngkvscaihkarchwyehlux sultanxbdulelaahmukkarmaehngithrburicungyinyxmykekaapinngihaekxngkvs nayfransisilttngchuxekaapinngwa ekaaecachayaehngewls Prince of Wales aelatngemuxngkhunihmbnekaaecachayaehngewlschuxwaemuxngcxrcthawn Georgetown tngchuxtamphranamkhxngphraecacxrcthi 4 aehngshrachxanackrsunginkhnanndarngphraxisriyysepnecachayaehngewls aetinpiediywknnnexngkrmphrarachwngbwrmhasursinghnaththrngykthphekhayudemuxngpttani 6 thaihsultanxbdulelaahmukkarmekrngklwxiththiphlkhxngsyamcungrxngkhxkhwamkhumkhrxngthangthharcakxngkvs aetenuxngcaknayfransisiltkrathaecrcakbrthithrburikarodyphlkaraelaimidkhxkhwamehnchxbcakbristhxinediytawnxxkkhxngxngkvs British East India Company thiemuxngklktta thaihnayfransisimsamarthmxbkalngthharihaeksultanithrburiid sultanxbdulelaahmukkarmmikhwamokrthekhuxngwaxngkvsimthatamsyyacungykthphekhayudekaapinngkhunaetphayaephaekkxngeruxkhxngxngkvs naipsukarecrcasngbsukodyithrburicayxmykdinaednephimetimbnaephndinithrburieriykwaesxebxrngepir Seberang Perai ihaekxngkvs sungfransisilttngchuxdinaednihmniwaophrwinsewlsely Province Wellesley hruxcnghwdewlsely emuximidrbkhwamkhumkhrxngcakxngkvsrthithrburicungklbmaxyuinxiththiphlkhxngsyamxikkhrnginsmyrtnoksinthrechkechnediywkbklntnaelatrngkanu ekaaecachayaehngewlsaelaophrwinsewlselyepndinaednxananikhmaehngaerkkhxngxngkvsinaehlmmlayuaelainexechiytawnxxkechiyngitin kh s 1820 sultanxahmdthcxuddinhalimchahthi 2 Ahmad Tajuddin Alim Shah II aehngithrburi hruxexksarithyeriykwa twnkupaaenghrn Tunku Pangeran hyudsngbuhngamasihaekkrungethphaelaaekhngemuxngepnxisra phrabathsmedcphraphuththelishlanphalycungmiphrarachoxkarihecaphrayankhrsrithrrmrach nxy ykthpheruxcakemuxngthasngkhlaaelastul 7 ekhabukocmtiyudemuxngxaolresxtar Alor Setar emuxnghlwngkhxngithrburiidsaercin kh s 1821 sultanxahmdthcxuddinhlbhniipekaapinngxyukbxngkvs rthithrburithukphnwkrwmekhakbnkhrsrithrrmrachpkkhrxngodytrngthaihithrburiimmisultanpkkhrxngepnewlapramanyisibpi phrayaxphythiebsr aesng butrchaykhxngecaphrayankhrepnphrayaithrburi cnkrathngekidkbthwnhmadhliin kh s 1830 thpheruxsldmlayusamarthekhayudemuxngxaolresxtarkhuncaksyamid phrayaxphythiebsrtxngthxyxxkcakemuxng phrabathsmedcphranngeklaecaxyuhwcungthrngmiphrarachoxngkaroprdihphrayarachphiphthnrtnrachoksa tht bunnakh ykthphekhasmthbkbthphkhxngecaphrayankhrinkarprabkbtithrburi thphsyamsamarthekhayudemuxngxaolresxtaraelaprabthpheruxsldidsaerc faysyamcungcdraebiybkarpkkhrxngithrburiesiyihmin kh s 1843 odykaraebngithrburixxkepnsiswnidaek kubngpasu stul palis aelaithrburiedim yaohrmxbsingkhoprihxngkvs aekikh esxr othms saetmfxrd aerfefils Sir Thomas Stamford Raffles phukxtngnkhrsingkhoprinpccubn sultanmahmudchahthisamaehngyaohrmibutrchaysxngkhn butrchaykhnotchuxwaetngkuhusesn Tengku Hussein aelabutrchaykhnrxngchuxwaxbdulraahman Abdul Rahman in kh s 1812 khnathietngkuhusesnkalngphankxyuthiemuxngpahngnn sultanmahmudchahesiychiwit tampraephnikhxngmlayuphudarngtaaehnngsultankhntxiptxngekharwmngansphkhxngsultankhnkxnhnacungcasamarthsubthxdtaaehnngsultantxipid ymtwnmudachawbukischuxwarayayaxafar Raja Ja afar chwyoxkasnipidbngkhawkaresiychiwitkhxngsultanmahmudchahimihetngkuhusesnthrab etngkuhusesncungimidekharwmngansphkhxngsultanmahmudchah rayayaxafarcungyktaaehnngsultanihaekxbdulraahmanbutrchaykhnrxngkhxngsultanmahmudchahkhunepnsultanxbdulraahmnmuxssmchah Abdul Rahman Muazzam Shah ephuxepnhunechidkhxngtninkarthicafunfuxanackhxngchawbukiskhunmaxikkhrng fayetngkuhusesnthrabkhawkaryudxanaccungphankxyuthiemuxngpahngtxipephuxhlikeliyngphythangkaremuxng naysaetmfxrd aerfefils Stamford Ruffles chawxngkvsmikhwamehnwaxngkvskhwrcamithanthimnthangkarkhaaelakarthharinphumiphakhaehlmmlayu cungedinthangmaekhaphbkbtamahngngxbdulraahman Abdul Rahman sungpkkhrxngekaasingkhoprinkhnannaelaepnphuihkarsnbsnunaeketngkuhusesn saetmfxrd aerfefils yunkhxesnxthicasnbsnunetngkuhusesnkhunepnsultan tamahngngxbdulraahmancungedinthangipechiyetngkuhusesnmayngekaasingkhopr aelasaetmfxrdaerfefilscungprakasihetngkuhusesnkhunepnsultanhusesnchah Hussein Shah thisingkhopr sungnayaerfefilsidrbkartxbaethndwykarthixngkvsekhamatngrkrakxananikhmbnekaasingkhoprfayhxlndaimphxicthixngkvsekhamaaethrkaesngkaremuxngphayinkhxngrthyaohrcungihkarsnbsnunaeksultanxbdulraahman in kh s 1822 hxlndaprakasihsultanxbdulraahmanepnsultanodychxbthrrmthuktxngtampraephnithiekaalingkainthael ekidepnrthsultanriexa lingka Sultanate of Riau Lingga khwamkhdaeyngthangkaremuxngrahwangxngkvsaelahxlndainphumiphakhmlayunaipsusnthisyyaxngkvs hxlndapi kh s 1824 Anglo Dutch Treaty of 1824 aebngekhtxiththiphlrahwangxngkvsaelahxlnda odythihxlndaslaykdinaednthukswninaehlmlayurwmthngemuxngmalakaihaekxngkvs inkhnathihxlndayngkhngmixiththiphlehnuxhmuekaariexaaelaekaalingka snthisyyachbbnithaihrthyaohrthukaebngxxkepnsxngswnidaek swnkhxngaehlmlayusungpkkhrxngodysultanhusesnchahphayitxiththiphlkhxngxngkvsklayepndinaednkhxngpraethsmaelesiyinpccubn aelaswnhmuekaariexaaelaekaalingkapkkhrxngodysultanxbduleraahmanphayitxiththiphlkhxnghxlnda klayepndinaednkhxngpraethsxinodniesiyinpccubnmlayakhxngxngkvs aekikhsnthisyyaxngkvs hxlnda kh s 1824 hxlndaykemuxngmalakasungepnthankarpkkhrxnghlkkhxngtnexnginaehlmmlayuihaekxngkvs thaihhxlndasinxiththiphlipcakaehlmmlayuaelaxngkvssamarthekhamakhyayxanacindinaednaehlmmlayuidxyangetmthi in kh s 1826 bristhxinediytawnxxkkhxngxngkvssungmixanacpkkhrxngxananikhminaehlmmlayurwbrwmemuxngtang khxngxngkvsprakxbdwyekaapinng ekhtophrwinsewlselycakithrburi emuxngmalakacakhxlnda aelaekaasingkhoprsungidmacakrthsultanyaohr rwmknklayepnxananikhmchxngaekhb Strait Settlements epncuderimtnkhxngxananikhmkhxngxngkvsinaehlmmlayu hruxeriykwamlayakhxngxngkvs British Malaya sungcaphthnaipepnpraethsmaelesiyinthisud inrayaaerkxananikhmkhxngxngkvsmisunyklangkarpkkhrxngxyuthiemuxngcxrcthawnbnekaapinng aettxin kh s 1832 yaysunykarpkkhrxngipyngsingkhopr xngkvssnicaerdibuksungphbmakthangphakhtawntkkhxngaehlmmlayu sungxngkvstxngkaraerdibukephuxpxnihaekkarptiwtixutsahkrrm xngkvscangchawcinhkekiynaelachawcinaetciwekhamaepnaerngngankhudehmuxngaerdibuk thaihchawcinekhamatngthinthantamaehlngkhudehmuxngdibukepncanwnmak emuxngkwlalmepxr Kuala Lampur epnemuxnginrthesxlaongrsungetibotkhuncakxutsahkrrmkarkhudaerdibukphayitkarpkkhrxngkhxngxngkvs enuxngcakinewlannsthankarnthangkaremuxnginaehlmmlayuodyrwmkhadesthiyrphaphaebngxxkepnrthtang mikhwamkhdaeyngthangkaremuxngbxykhrng xngkvscungxasyoxkasekhaaethrkaesngthangkaremuxnginrthmlayutang in kh s 1861 ekidkhwamkhdaeyngrahwangsmakhmxngyichawcinsxngkluminrthsultaneprkekiywkbsiththikarkhuddibuk aelakhwamkhdaeyngrahwangrayainkaraeyngchingtaaehnngsultanaehngeprk naipsusngkhramlarut Larut Wars inrtheprk sngkhramkinewlayudeyuxsibsampisrangkhwamesiyhayaekxutsahkrrmdibuk xngkvscungekhaiklekliyyutikhxphiphathin kh s 1874 naipsusnthisyyapngokr Pangkor Treaty of 1874 sungxngkvsykrayaxbdulelaahkhunepnsultanaehngeprkphayitenguxnikhwaxngkvssng phukakbduaelrachkar Resident ekhakhwbkhumkarpkkhrxngkhxngrtheprk rwmthngrtheprkykdinaedndingding Dingding aelaekaapngokr Pangkor ihaekxngkvs snthisyyapngokrmikhwamsakhyenuxngcakepnkhrngaerkthixngkvssngtwaethnekhakhwbkhumrthmlayuthaihrtheprksuyesiyxanacxthipityihaekxngkvsepnrthaerk txmainrthesxlaongrmiaekhwnklng Klang sungepndinaednthixudmsmburnipdwyaerdibukmichawmlayuaelachawcinxphyphekhamatngrkrakcanwnmaknaipsukarekidemuxngkwlalmepxr Kuala Lampur sungepnemuxngthietibotkhuncakkarkhudaerdibuk in kh s 1867 ekidkhwamkhdaeyngaeyngchingtaaehnngphukhrxngaekhwnklngsungidrbphlpraoychncakkarkhuddibukcanwnmhasal naipsusngkhramklng Klang War hruxsngkhramklangemuxngesxlaongr Selangor Civil War xngkvsekhaaethrkaesngcnsngkhramyutilngin kh s 1874 aelarthsultanesxlaongresiyxanacxthipityihaekxngkvsepnrththisxng odyxngkvssngphukakbrachkarekhamainrthesxlaongr khwamkhdaeyngrahwangdaotasxngkhninemuxngsuihngxucng Sungai Ujong ineruxngkarkhuddibukthaihxngkvsekhakhwbkhumrthenxekxriesimbilnepnrththisam kapitncinhyipxahlxy Yap Ah Loy chawcinkwangtungphuphthnaemuxngkwlalmepxr xutsahkrrmaerdibukthaihmichawcinxphyphmaxasyxyuinmaelesiycanwnmakodyechphaathiekaapinng emuxngkwlalmepxr aelaemuxngsingkhopr sngphlihinpccubnemuxngehlanimiprachakrchawcinophnthaelcanwnmak karekhamakhxngchawcinthaihekidsmakhmxngyikhun sultanmlayurthtang aelathangkarxananikhmxngkvscungaetngtnghwhnachawcinkhundarngtaaehnngepnkapitncin Kapitan Cina ephuxkhwbkhumduaelchawcininsngkd sungkapitincinehlanimibthbathsakhyinkarphthnaemuxngtang ihecriyidaek kapitncinokaelyhwn Koh Lay Huan phasahkekiyn 辜禮歡 Ko Le hoan sungxphyphmacakemuxngcinmaxyuthinkhrsrithrrmrachcaknnmaphthnaekaapinng aelakapitncinhyibxahlxy Yap Ah Loy phasakwangtung 葉亞來 jip6 aa3 loi4 phuphthnaemuxngkwlalmepxrinrthpahngesnabditaaehnngebindaharakhxngyaohridtngtnkhunepnxisraodykhunkbsultanaehngyaohrinphithikarethann txmaebindaharaaehngpahngtngtnkhunepnrayaebindahara Raja Bendahara in kh s 1857 ekidsngkhramklangemuxngpahng Pahang Civil War epnkaraeyngchingtaaehnngrayaebindaharaphupkkhrxngrthpahngrahwanghwnxahmd Wan Ahmad sungidrbkarsnbsnuncakkrungethph aelatunmahadir Tun Mahathir sungidrbkarsnbsnuncakxngkvsaelarthyaohr aemwafaytunmahadircaphayaephaelahwnxahmdidtaaehnngrayaebindaharaipkhrxbkhrxng aetfayxngkvskyxmrbhwnxahmdinthanaecakhrxngemuxngpahng in kh s 1881 rayaebindaharahwnxahmdtngtnkhunepnsultanxahmdxlmuxssmchah Ahmad Al Mu azzam Shah aehngrthsultanpahng aelain kh s 1888 sultanxahmdxlmuxssmyinyxmykxanacxthipityihaekxngkvsepnrththisiodyxngkvssngphukakbrachkarekhamakhwbkhum xananikhmmlayakhxngxngkvs British Malaya prakxbdwysamswnidaek siaedng xananikhmchxngaekhb Straits Settlements misunyklangthisingkhopr prakxbdwypinng ophrwinsewlsely dingding emuxngmalaka aelaekaasingkhopr siehluxng shphnthrthmlayu Federated Malay States misunyklangthikwlalmepxr prakxbdwyeprk esxlaongr enxekxriesimbiln aelapahng sinaengin rththiimidxyuinsmaphnth Unfederated Malay States prakxbdwyithrburi klntn trngkanu palis aelayaohr in kh s 1895 xngkvscdtngshphnthrthmlayu Federation of Malay States ephuxrwbrwmkarpkkhrxngkhxngrththngsiphayitxanackhxngxngkvsprakxbdwyrtheprk rthesxlaongr rthenxekxriesmbiln aelarthpahng ekhaepnhnungediywknodymisunyklangkarpkkhrxngxyuthiemuxngkwlalmepxr phunasultanaelaymtwnkhxngrththngsiyngkhngdarngtaaehnngiwechnediminthangphithikarmikarcdtngsphaphupkkhrxng Council of Rulers hruxsphadurbar Durbar prakxbdwyphunakhxngrththngsi aetinthangptibtixanackarpkkhrxngthiaethcringxyuthithangkarxananikhmxngkvs in kh s 1909 rchkalsmedcphraculcxmeklaecaxyuhw snthisyyarahwangsyamaelaxngkvs Anglo Siamese Treaty of 1909 rthmlayuthngsiidaekithrburi klntn trngkanu aelapalis ekhamaxyuinxiththiphlkhxngxngkvs xngkvscungsngphukakbrachkarekhaipyngrthihmthngsini aelain kh s 1914 rthyaohryinyxmrbphukakbrachkarkhxngxngkvsepnrthsudthay thaihxngkvsmixanacpkkhrxngehnuxtlxdaehlmmlayu thaihrthtang inmlayaaebngepnsxngklumidaek klumrthinsmaphnthrth Federated States prakxbdwyeprk esxlaongr enxekxriesmbiln aelapahng epnklumthixngkvsmixanacpkkhrxngxyangaethcringodypramukhkhxngrthmihnathithangphithikarethann aelaklumrththiimidrwmsmaphnth Unfederated States prakxbdwyithrburi klntn trngkanu palis aelayaohr sungxngkvsephiyngaetsngphukakbrachkarekhaduaelimekhmngwdetharthinsmaphnthsultanyngmixanacpkkhrxngxyubangsngkhramolkkhrngthisxngaelaphawachukechinmlaya aekikhxangxing aekikh https kwekudee tripdownmemorylane blogspot com 2012 10 semang people one of african natives of html 2 0 2 1 https themalayadventurer wordpress com 2014 05 03 origin of malay people prachumphngsawdar phakhthi 64 phngsawdarkrungsrixyuthya chbbphncnthnumas ecim phrarachphngsawdarkrungeka chbbhlwngpraesrith chbbph s 2542 https en wikisource org wiki Malay Annals Chapter 13 https www silpa mag com history article 1765 http www treasury go th pv chainat ewt news php nid 483ekhathungcak https th wikipedia org w index php title prawtisastrmaelesiy amp oldid 9527202, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม