fbpx
วิกิพีเดีย

90377 เซดนา

90377 เซดนา (อังกฤษ: Sedna) เป็นดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่ในบริเวณส่วนนอกของระบบสุริยะซึ่งในปี พ.ศ. 2558 อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 86 หน่วยดาราศาสตร์ (AU) หรือ 1.29 × 1010 กิโลเมตร อยู่ห่างออกไปมากกว่าดาวเนปจูนเกือบสามเท่า กระบวนการสเปกโทรสโกปีเปิดเผยว่าพื้นผิวของเซดนามีองค์ประกอบคล้ายกับวัตถุพ้นดาวเนปจูนอื่น ๆ บางชิ้น โดยเป็นส่วนผสมของน้ำ มีเทน และไนโตรเจนแข็งกับโทลีนจำนวนมาก ผิวของเซดนาเป็นหนึ่งในผิวดาวที่มีสีแดงมากที่สุดท่ามกลางวัตถุอื่นในระบบสุริยะ เซดนาอาจเป็นดาวเคราะห์แคระ ในบรรดาวัตถุพ้นดาวเนปจูนทั้งแปดที่ใหญ่ที่สุด เซดนาเป็นวัตถุเดียวที่ไม่พบดาวบริวาร

เซดนา

เซดนาถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
การค้นพบ 
ค้นพบโดย:ไมเคิล บราวน์
แชด ทรูจีโล
ดาวิด ราบิโนวิตซ์
ค้นพบเมื่อ:14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
ชื่อตามระบบ MPC:(90377) เซดนา
ชื่ออื่น ๆ:2003 VB12
ชนิดของดาวเคราะห์น้อย:TNO · ไกลออกไป
เซดนอยด์
ลักษณะของวงโคจร
จุดเริ่มยุค 13 มกราคม พ.ศ. 2559 (JD 2457400.5)
ระยะจุดไกล
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
≈ 936 AU (Q)
1.4×1011 km
5.4 วันแสง
ระยะจุดใกล้
ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
76.0917±0.0087 AU (q)
1.1423×1010 km
กึ่งแกนเอก:506.8 AU
7.573×1010 km
ความเยื้องศูนย์กลาง:0.85491±0.00029
คาบดาราคติ:≈ 11400 yr
อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร
:
1.04 กิโลเมตร/วินาที
อนอมัลลีเฉลี่ย:358.163°±0.0054°
ความเอียง:11.92872° (i)
ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น
:
144.546° (Ω)
ระยะมุมจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
311.29°±0.014° (ω)
ลักษณะทางกายภาพ
มิติ:995±80 km
(แบบจำลองเทอร์โมฟิสิกส์)
1060±100 km
(std. thermal model)
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
10.273 ชม. (0.4280 วัน)
10.3 h ± 30%(ซิเดอเรียล)
อัตราส่วนสะท้อน:0.32±0.06
อุณหภูมิ:≈ 12 K (see note)
ชนิดสเปกตรัม:(แดง) B−V=1.24; V−R=0.78
โชติมาตรปรากฏ:21.1
20.5 (จุดที่ใกล้ที่สุด)
โชติมาตรสัมบูรณ์:1.83±0.05
1.6

วงโคจรส่วนใหญ่ของเซดนาอยู่ไกลออกจากดวงอาทิตย์ไปมากกว่าตำแหน่งปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าตำแหน่งที่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุดจะอยู่ห่างออกไปถึง 937 AU (31 เท่าของระยะของดาวเนปจูน) ทำให้เซดนาเป็นวัตถุหนึ่งที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ นอกเหนือจากดาวหางคาบยาว

เซดนามีวงโคจรที่ยาวและยืดเป็นพิเศษ โดยใช้เวลาโคจรหนึ่งรอบประมาณ 11,400 ปี และมีจุดใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุดที่ 76 AU สิ่งนี้นำมาสู่ความคิดเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเซดนา ศูนย์ดาวเคราะห์น้อยจัดเซดนาให้อยู่ในแถบหินกระจาย ซึ่งเป็นกลุ่มของวัตถุที่มีวงโคจรยืดยาวออกไปไกลเนื่องด้วยแรงโน้มถ่วงจากดาวเนปจูน การจัดให้เซดนาอยู่ในแถบหินกระจายนี้กลายเป็นข้อถกเถียง เพราะเซดนาไม่เคยเข้ามาใกล้ดาวเนปจูนมากพอที่จะเหวี่ยงกระจายเซดนาออกไปด้วยแรงโน้มถ่วงจากดาวเนปจูน ทำให้นักดาราศาสตร์บางคนเชื่อว่าเซดนาเป็นวัตถุหนึ่งในเมฆออร์ตชั้นใน แต่บางคนก็เชื่อว่าเซดนามีวงโคจรที่ยืดยาวแบบนี้เนื่องด้วยดาวฤกษ์ที่เฉียดผ่านเข้ามาใกล้ โดยอาจเป็นหนึ่งในดาวของกระจุกดาวของดวงอาทิตย์ตอนเกิด (กระจุกดาวเปิด) หรือระบบดาวเคราะห์อื่นอาจจับยึดไว้ สมมติฐานอีกอย่างหนึ่งเสนอว่าวงโคจรของเซดนาได้รับผลกระทบจากดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ดวงหนึ่งที่พ้นวงโคจรดาวเนปจูน

ไมเคิล บราวน์ นักดาราศาสตร์ผู้ค้นพบเซดนาและดาวเคราะห์แคระอีริส เฮาเมอา และมาคีมาคี คิดว่าเซดนาเป็นวัตถุพ้นดาวเนปจูนในปัจจุบันที่สำคัญที่สุดในทางวิทยาศาสตร์ เพราะว่าการทำความเข้าใจในวงโคจรที่ไม่เสถียรนี้เป็นไปได้ที่จะให้ข้อมูลอันมีค่าเกี่ยวกับต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะในช่วงแรก

ประวัติ

การค้นพบ

เซดนา (หรือในชื่อเก่า คือ 2003 VB12) ค้นพบโดย ไมเคิล อี. บราวน์ (สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย) แชด ทรูจีโล (หอดูดาวเจมินี) และ เดวิด แรบิโนวิตซ์ (มหาวิทยาลัยเยล) เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 การค้นพบเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2544 ด้วยกล้องโทรทรรศน์ซามูเอลออสชินที่หอดูดาวพาโลมาร์ ใกล้กับแซนดีเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ใช้กล้องความชัด 160 เมกะพิกเซลของมหาวิทยาลัยเยล ในวันนั้นพบว่าวัตถุเคลื่อนที่ไป 4.6 ลิปดา โดยใช้เวลา 3.1 ชั่วโมงเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ ซึ่งทำให้ประมาณได้ว่าวัตถุนั้นอยู่ห่างออกไปประมาณ 100 AU การสำรวจต่อมามีขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม พ.ศ. 2546 โดยใช้กล้องโทรทรรศน์สมาร์ทที่หอดูดาวนานาชาติ-อเมริกันเซร์โรโตโลโล ในประเทศชิลี กล้องโทรทรรศน์เทเนกรา 4 ในโนกาเลส รัฐแอริโซนา และกล้องของหอดูดาวเคกบนภูเขาไฟเมานาเคอาที่ฮาวาย ประกอบกับการตรวจสอบผ่านภาพเก่า ๆ ที่ถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์ซามูเอลออสชินในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2546 และภาพจากภารกิจตามหาดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกในปี พ.ศ. 2544–2545 ทำให้การค้นหาวงโคจรมีความแม่นยำมากขึ้น การคำนวณแสดงให้เห็นว่าวัตถุนั้นเคลื่อนไปตามวงโคจรที่เยื้องมาก ๆ ที่ระยะทาง 90.3 AU จากดวงอาทิตย์ ซึ่งการค้นพบภาพก่อนการค้นพบนี้เกิดขึ้นภายหลังในบรรดาภาพการสำรวจท้องฟ้าของปาโลมาร์ย้อนกลับไปถึงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2533

การตั้งชื่อ

ในระยะแรก ไมก์ บราวน์ ตั้งชื่อเล่นให้กับเซดนาว่า "เดอะฟลายอิงดัตช์แมน" หรือแค่ "ดัตช์" ตามชื่อเรือผีสิงในตำนาน เนื่องด้วยการเคลื่อนที่ที่ช้าที่ทำให้ทีมงานรู้ว่าดาวนั้นมีตัวตนอยู่ สำหรับชื่ออย่างเป็นทางการ ไมก์ บราวน์ เลือกชื่อเซดนา ชื่อจากเทพปกรณัมอินุต ซึ่งบราวน์เลือกด้วยเหตุผลส่วนหนึ่งว่าอินุตเป็นกลุ่มชนขั้วโลกที่อยู่ใกล้บ้านของเขาที่สุดที่ปาซาเดนา และเหตุผลอีกส่วนหนึ่งว่าชื่อนั้นสะกดง่าย ไม่เหมือนกับควาอัวร์ บนเว็บไซต์ของเขา เขาเขียนว่า

ไมเคิล บราวน์ยังเสนอต่อศูนย์ดาวเคราะห์น้อยของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลว่าวัตถุใด ๆ ที่จะค้นพบในอนาคต ถ้าอยู่ในบริเวณเดียวกับเซดนา ควรตั้งชื่อตามสิ่งที่อยู่ในเทพปกรณัมอาร์กติก ทีมผู้ค้นพบตีพิมพ์ชื่อ "เซดนา" ก่อนการตั้งชื่ออย่างเป็นทางการ ไบรอัน มาร์สเดน ผู้อำนวยการศูนย์ดาวเคราะห์น้อย กล่าวว่าการทำเช่นนี้เป็นการละเมิดพิธีสารและอาจมีนักดาราศาสตร์ของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลโต้แย้ง ถึงกระนั้น ไม่มีข้อคัดค้านใด ๆ ต่อชื่อนี้เลย และไม่มีชื่ออื่นใดเสนอเข้ามา การประชุมของคณะกรรมการร่างชื่อวัตถุขนาดเล็กจึงยอมรับชื่อ "เซดนา" ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 และอนุญาตให้มีการตั้งชื่อก่อนที่จะได้รับชื่ออย่างเป็นทางการ สำหรับกรณีที่น่าสนใจเป็นพิเศษที่คล้ายกัน

วงโคจรและการโคจร

 
วงโคจรของเซดนาเมื่อเทียบกับวงโคจรของวัตถุระบบสุริยะชั้นนอก (ภาพจากด้านบนและด้านข้าง วงโคจรดาวพลูโตเป็นสีม่วงและวงโคจรดาวเนปจูนเป็นสีน้ำเงิน)

เซดนาเป็นวัตถุที่มีคาบการโคจรนานที่สุดเป็นลำดับที่สองของระบบสุริยะ ซึ่งคำนวณแล้วอยู่ที่ 11,400 ปี วงโคจรของเซดนามีความเยื้องสูงมาก ด้วยจุดไกลที่สุดจากดวงอาทิตย์อยู่ที่ 937 AU และจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ที่ 76 AU โดยตำแหน่งที่ใกล้ที่สุดของเซดนาอยู่ไกลกว่าของวัตถุอื่น ๆ ในระบบสุริยะจนกระทั่งค้นพบ 2012 VP113 ณ จุดไกลที่สุดนั้น เซดนาโคจรด้วยความเร็วเพียงแค่ 1.3% ของความเร็วที่โลกโคจร เมื่อมีการค้นพบเซดนาที่ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 89.6 AU ขณะเคลื่อนที่เข้าใกล้จุดใกล้ที่สุด เซดนากลายเป็นวัตถุที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะ ภายหลังอีริสแซงเซดนาเมื่อตรวจพบอีริสโดยวิธีเดียวกันที่ระยะห่าง 97 AU จากดวงอาทิตย์ มีเพียงดาวหางคาบยาวบางดวงเท่านั้นที่มีคาบโคจรมากกว่าคาบของเซดนา ดาวหางเหล่านี้จางเกินไปที่จะสามารถค้นพบได้ เว้นแต่จะผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน ถึงแม้ว่าเซดนาจะอยู่ ณ จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในช่วงกลางปี พ.ศ. 2619 ดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนเซดนานั้นอาจมีขนาดเท่าปลายเข็มซึ่งสว่างกว่าดวงจันทร์ตอนเต็มดวง 100 เท่า (เมื่อเทียบกับโลกแล้ว ดวงอาทิตย์ที่เห็นบนโลกสว่างกว่าตอนดวงจันทร์เต็มดวง 400,000 เท่า) และดวงอาทิตย์อยู่ไกลเกินกว่าที่จะเห็นเป็นรูปร่าง

เมื่อค้นพบครั้งแรกนั้น คาดว่าเซดนามีคาบหมุนรอบตัวเองที่นานมาก ๆ (20 ถึง 50 วัน) ระยะแรกเชื่อกันว่าการหมุนรอบตัวเองของเซดนาที่ช้าเป็นผลมาจากแรงโน้มถ่วงจากดาวบริวารขนาดใหญ่ คล้ายกับแครอน ดาวบริวารของดาวพลูโต การค้นหาดาวบริวารดวงนั้นด้วยกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 ไม่พบอะไรเลย และจากผลการคำนวณจากกล้องโทรทรรศน์เอ็มเอ็มในเวลาต่อมาพบว่าเซดนาหมุนโดยใช้ระยะเวลาสั้นกว่าที่คาดไว้มาก ประมาณ 10 ชั่วโมง ซึ่งค่อนข้างปกติสำหรับดาวขนาดอย่างเซดนา

ลักษณะทางกายภาพ

เซดนามีความส่องสว่างสัมบูรณ์อยู่ที่ประมาณ 1.8 และอัตราส่วนสะท้อนอยู่ที่ประมาณ 0.32 จึงประมาณเส้นผ่านศูนย์กลางไว้ที่ 1,000 กิโลเมตร ณ เวลาที่ค้นพบเซดนานั้น ได้จัดให้เซดนาเป็นวัตถุที่ส่องสว่างภายในมากที่สุดในระบบสุริยะตั้งแต่ค้นพบดาวพลูโตในปี พ.ศ. 2473 ในปี พ.ศ. 2547 เหล่าผู้ค้นพบวางค่าสูงสุดของเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 1,800 กิโลเมตร แต่ในปี พ.ศ. 2550 ก็ลดลงมาต่ำกว่า 1,600 กิโลเมตร หลังจากที่สังเกตผ่านกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ ในปี พ.ศ. 2555 การคำนวณจากหอดูดาวอวกาศเฮอร์เชลเสนอว่าเซดนามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 995 ± 80 กิโลเมตร ซึ่งจะทำให้มีขนาดเล็กกว่าแครอน ดาวบริวารของดาวพลูโต เนื่องจากเซดนาไม่มีดาวบริวาร การหามวลโดยไม่ส่งยานอวกาศไปจึงเป็นไปไม่ได้และเซดนาก็เป็นวัตถุพ้นดาวเนปจูนที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่มีดาวบริวารในปัจจุบัน มีความพยายามในการหาดาวบริวารนั้นเพียงครั้งเดียว และคาดการณ์กันว่ามีโอกาสที่ไม่พบดาวบริวารนั้นอยู่ 25%

การสังเกตจากกล้องโทรทรรศน์ SMARTS แสดงให้เห็นว่าในระยะแสงที่มองเห็นได้ เซดนาเป็นหนึ่งในวัตถุที่สีแดงที่สุดในระบบสุริยะ เกือบมีสีแดงเท่าดาวอังคาร แชด ทรูจีโลและเพื่อนร่วมงานของเขาเสนอว่าสีแดงเข้มของเซดนานั้นเกิดจากผิวของดาวนั้นปกคลุมไปด้วยตะกอนไฮโดรคาร์บอน หรือโทลีน ซึ่งเกิดจากสารประกอบอินทรีย์ขนาดเล็กกว่าที่สัมผัสกับรังสีอัลตราไวโอเล็ตยาวนาน ผิวของเซดนาเหมือนกันทั้งสีและสเปกตรัมทั่วทั้งดาว ซึ่งอาจเกิดจากการที่เซดนาไม่ค่อยปะทะกับวัตถุอื่นใด ไม่เหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ที่ใกล้ดวงอาทิตย์กว่าที่มักจะปะทะกับวัตถุอื่น ซึ่งแสดงให้เห็นแถบน้ำแข็งสว่างที่มีเหมือนกับบน 8405 แอสโบลัส เซดนาและวัตถุที่อยู่ไกลมากสองชิ้น ได้แก่ 2006 SQ372 และ (87269) 2000 OO67 มีสีเดียวกันกับวัตถุดั้งเดิมในแถบไคเปอร์ชั้นนอกและเซนทอร์ 5145 โฟบัส วัตถุเหล่านี้อาจมีต้นกำเนิดในบริเวณเดียวกัน

ทรูจีโลและเพื่อนร่วมงานยังวางค่าสูงสุดขององค์ประกอบพื้นผิวของเซดนาอยู่ที่มีเทนแข็ง 60% และน้ำแข็ง 70% การมีอยู่ของมีเทนแข็งยังช่วยสนับสนุนถึงการมีอยู่ของโทลีนบนผิวเซดนา เนื่องด้วยโทลีนเหล่านี้เกิดจากการฉายรังสีของมีเทน บารุชชีและเพื่อนร่วมงานของเขาเปรียบเทียบสเปกตรัมของเซดนากับไทรทัน และตรวจพบแถบดูดซึมอย่างอ่อนของมีเทนและไนโตรเจนแข็ง จากการสังเกตเหล่านี้ พวกเขาจึงเสนอองค์ประกอบผิวดาวเป็นโทลีนชนิดไทรทัน 24% คาร์บอนอสัณฐาน 7% ไนโตรเจนแข็ง 10% เมทานอล 26% และมีเทน 33% และได้ยืนยันการตรวจพบมีเทนและน้ำแข็งในปี พ.ศ. 2549 โดยกล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์ การมีอยู่ของไนโตรเจนบนผิวดาวเสนอว่าเซดนาอาจมีชั้นบรรยากาศบาง ๆ แม้เพียงระยะเวลาสั้น ระหว่าง 200 ปีใกล้กับจุดใกล้ที่สุด อุณหภูมิสูงสุดบนเซดนาควรเกิน 35.6 เคลวิน (-237.6 องศาเซลเซียส) การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิระหว่างไนโตรเจนแข็งระยะแอลฟากับระยะบีตาบนไทรทัน ที่ 38 เคลวิน ความดันไอของ N2 อาจอยู่ที่ 14 ไมโครบาร์ (1.4 ปาสกาล) ความชันสเปกตรัมสีแดงเข้มของเซดนาแสดงให้เห็นถึงการมีอยู่ของสารประกอบอินทรีย์จำนวนมากบนผิวดาว และแถบการดูดกลืนมีเทนจาง ๆ ชี้ว่ามีเทนบนผิวดาวนั้นมีอายุมาก สิ่งนี้หมายความว่าเซดนานั้นหนาวเกินกว่าที่มีเทนจะระเหยไปจากผิวดาวและตกกลับมาในรูปของหิมะ ซึ่งเกิดขึ้นบนไทรทันและอาจจะบนดาวพลูโตด้วย

แบบจำลองของความร้อนภายในดาวด้วยการสลายตัวกัมมันตรังสีเสนอว่าเซดนาอาจมีมหาสมุทรเป็นน้ำเหลวอยู่ใต้ผิวดาว

ต้นกำเนิด

ในรายงานการค้นพบเซดนา ไมก์ บราวน์ และเพื่อนร่วมงานของเขาบรรยายไว้ว่าเซดนาเป็นวัตถุแรกที่อยู่ในบริเวณเมฆออร์ต ซึ่งเป็นเมฆสมมติของดาวหางที่เชื่อกันว่ามีอยู่ไปไกลถึงเกือบหนึ่งปีแสงจากดวงอาทิตย์ พวกเขาสังเกตว่าจุดใกล้ที่สุดของเซดนา (76 AU) นั้นไกลเกินกว่าที่อิทธิพลความโน้มถ่วงจากดาวเนปจูนจะกระจายเซตนาได้ แตกต่างจากวัตถุแถบหินกระจาย เช่น อีริส เนื่องจากเซดนาอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เกินกว่าที่คาดไว้สำหรับวัตถุเมฆออร์ต ประกอบกับมีวงโคจรที่เอียงในระนาบใกล้เคียงกับวัตถุอื่นในแถบไคเปอร์และดาวเคราะห์ พวกเขาจึงบรรยายวัตถุค้นพบใหม่ชิ้นนี้เป็น "วัตถุเมฆออร์ตชั้นใน" ซึ่งเริ่มตั้งแต่บริเวณแถบหินกระจายในแถบไคเปอร์ไปจนถึงบริเวณที่เป็นทรงกลมของเมฆออร์ต

ถ้าเซดนากำเนิดขึ้นในตำแหน่งปัจจุบัน จานดาวเคราะห์ก่อนเกิดดั้งเดิมของดวงอาทิตย์ต้องแผ่ออกไปไกลถึง 75 หน่วยดาราศาสตร์ (AU) ในอวกาศ วงโคจรดั้งเดิมของเซดนาก็ต้องเกือบเป็นวงกลมเช่นกัน มิเช่นนั้นการกำเนิดโดยการชนกันจากวัตถุขนาดเล็กกว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะว่าจะรบกวนความเร็วสัมพัทธ์ที่มากระหว่างชิ้นส่วนเล็ก ๆ มากเกินไป ดังนั้นจะต้องเหวี่ยงเซดนามายังวงโคจรปัจจุบันด้วยแรงโน้มถ่วงของวัตถุบางอย่าง ในรายงานแรกของพวกเขานั้น บราวน์ ราบิโนวิตซ์ และเพื่อนร่วมงานเสนอว่ามีสามตัวเลือกที่เป็นไปได้ที่จะเป็นวัตถุที่มารบกวนนี้ ได้แก่ ดาวเคราะห์ที่ยังไม่ค้นพบที่อยู่ถัดออกไปจากแถบไคเปอร์ ดาวฤกษ์ที่โคจรผ่านมา หรือหนึ่งในดาวฤกษ์แรกเกิดที่ตรึงอยู่กับดวงอาทิตย์ในกระจุกดาวฤกษ์ครั้งที่ดวงอาทิตย์กำเนิดขึ้น

ไมก์ บราวน์ และทีมงานของเขาสนับสนุนสมมติฐานที่ว่า "การเหวี่ยงเซดนามาให้อยู่ในวงโคจรปัจจุบันทำได้ด้วยดาวฤกษ์จากกระจุกดาวเปิดของดวงอาทิตย์" ให้เหตุผลด้วยว่าจุดที่ไกลที่สุดของเซดนาที่ประมาณ 1,000 AU ซึ่งใกล้มากเมื่อเทียบกับจุดที่ไกลที่สุดของดาวหางคาบยาวทั้งหลาย ไม่ไกลเพียงพอที่จะได้รับผลกระทบจากดาวฤกษ์ที่โคจรผ่านมา ณ ตำแหน่งปัจจุบันจากดวงอาทิตย์ พวกเขาเสนอว่าวงโคจรของเซดนาสามารถอธิบายได้ดีที่สุดด้วยการที่ดวงอาทิตย์กำเนิดในกระจุกดาวเปิดของดาวฤกษ์จำนวนมากที่ค่อย ๆ แยกจากกันไปตามเวลา สมมติฐานนั้นพัฒนาต่อไปโดยทั้งอาเลสซานโดร มอร์บีเดลลี และสกอตต์ เจย์ เคนยอน แบบจำลองคอมพิวเตอร์โดยฮูลิโอ เอ. เฟร์นันเดซและเอเดรียน บรูนีนี เสนอว่าการโคจรผ่านของดาวฤกษ์แรกเกิดหลายครั้งในกระจุกดาวเปิดแบบนั้นอาจดึงวัตถุต่าง ๆ จนมีวงโคจรแบบเซดนา การศึกษาของมอร์บีเดลลี และเลวิสันเสนอว่าคำอธิบายที่เป็นไปได้มากที่สุดเกี่ยวกับวงโคจรของเซดนา คือ ดาวฤกษ์อีกดวงหนึ่งต้องเคยรบกวนเซตนาจากในระยะใกล้ (ประมาณ 800 AU) ใน 100 ร้อยล้านปีแรกหรือมากกว่านั้นจากตอนที่ระบบสุริยะกำเนิดขึ้น

โลกดิสโนเมียดิสโนเมียอีริสอีริสแครอนแครอนนิกซ์นิกซ์เคอร์เบอรอสเคอร์เบอรอสสติกซ์สติกซ์ไฮดราดาวพลูโตดาวพลูโตมาคีมาคีมาคีมาคีนามากานามากาฮีอีอากาฮีอีอากาเฮาเมอาเฮาเมอาเซดนาเซดนา2007 OR102007 OR10เวย์วอตเวย์วอตควาอัวร์ควาอัวร์แวนธ์แวนธ์ออร์คัสออร์คัสไฟล์:EightTNOs-th.png 
ภาพการเปรียบเทียบ ดาวพลูโต, อีริส, มาคีมาคี, เฮาเมอา, เซดนา, 2007 OR10, ควาอัวร์, ออร์คัส, และ โลก.

()

สมมติฐานวัตถุพ้นดาวเนปจูนนั้นก้าวหน้าไปในหลากหลายรูปแบบโดยนักดาราศาสตร์จำนวนหนึ่ง รวมทั้ง รอดนีย์ โกเมส และปาทรึก ลือกาวกา สมมติฐานรูปแบบหนึ่งมีการรบกวนของวงโคจรเซดนาโดยวัตถุสมมติขนาดเท่าดาวเคราะห์ในเมฆฮิลล์เข้ามาเกี่ยวข้อง แบบจำลองล่าสุดแสดงให้เห็นว่าลักษณะการโคจรของเซดนาสามารถอธิบายด้วยการรบกวนจากวัตถุมวลเท่าดาวเนปจูน ณ ตำแหน่ง 2,000 AU หรือน้อยกว่า วัตถุมวลเท่าดาวพฤหัสบดี ณ ตำแหน่ง 5,000 AU หรือแม้กระทั่งวัตถุมวลเท่าโลก ณ ตำแหน่ง 1,000 AU แบบจำลองคอมพิวเตอร์โดยปาทรึก ลือกาวกา เสนอว่าวงโคจรของเซดนาอาจเป็นผลมาจากวัตถุขนาดประมาณใกล้เคียงกับโลกที่ถูกเหวี่ยงออกมาข้างนอกโดยดาวเนปจูนในช่วงเริ่มแรกของระบบสุริยะ และขณะนี้ก็อยู่ในวงโคจรที่ยืดออกไปในช่วงระหว่าง 80 และ 170 AU จากดวงอาทิตย์ การสำรวจท้องฟ้าหลายครั้งของไมก์ บราวน์ตรวจไม่พบวัตถุขนาดเท่าโลกใด ๆ ในช่วงระยะทางถึงประมาณ 100 AU เป็นไปได้ว่าวัตถุนั้นอาจหลุดออกไปนอกระบบสุริยะหลังจากการก่อตัวของเมฆออร์ตชั้นใน

คอนสแตนติน บาตีกิน นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย และไมก์ บราวน์ตั้งสมมติฐานไว้เกี่ยวกับการมีตัวตนของดาวเคราะห์ยักษ์ในระบบสุริยะชั้นนอก พวกเขาให้ชื่อเล่นว่า ดาวเคราะห์เก้า ดาวเคราะห์ดวงนี้อาจมีมวลมากกว่าโลก 10 เท่า มีวงโคจรที่เยื้องมาก ๆ และมีระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ประมาณ 20 เท่าของดาวเนปจูน (ซึ่งโคจรที่ระยะทางเฉลี่ยที่ 30.1 AU (4.50 × 109 กิโลเมตร)) คาบการโคจรอาจอยู่ที่ 10,000 ถึง 20,000 ปี การมีตัวตนของดาวเคราะห์ดวงนี้สมมติขึ้นจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแบบจำลองคอมพิวเตอร์แต่ยังไม่เคยสังเกตโดยตรง ดาวเคราะห์ดวงนี้อาจอธิบายลักษณะวงโคจรของกลุ่มของวัตถุที่รวมไปถึงเซดนา

มีการเสนอว่าวงโคจรของเซดนานั้นเป็นผลมาจากอิทธิพลของดาวคู่ขนาดใหญ่ของดวงอาทิตย์ที่อยู่ห่างออกไปหลายพันหน่วยดาราศาสตร์ ดาวคู่สมมติหนึ่ง คือ เนเมซิส ดาวคู่มืดของดวงอาทิตย์ที่เชื่อกันว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับคาบการเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่บนโลกอันเกิดมาจากการพุ่งชนของดาวหาง ร่องรอยการพุ่งชนบนดวงจันทร์ และองค์ประกอบวงโคจรที่คล้าย ๆ กันของดาวหางคาบยาวจำนวนมาก ไม่มีหลักฐานโดยตรงเกี่ยวกับเนเมซิสเลย และหลักฐานหลายอย่าง เช่น จำนวนหลุมอุกกาบาต ทำให้การมีตัวตนของดาวดวงนั้นกลายเป็นข้อกังขา จอห์น เจ. มัลทีส และดาเนียล พี. วิทไมร์ ผู้ที่เสนอความเป็นไปได้ของดาวคู่ดวงอาทิตย์มาอย่างยาวนาน เสนอว่าวัตถุมวล 5 เท่าของดาวพฤหัสบดีที่อยู่ออกไปประมาณ 7,850 AU จากดวงอาทิตย์ อาจทำให้วัตถุหนึ่งมีวงโคจรแบบเซดนา

มอร์บีเดลลี และเคนยอนยังเสนออีกว่าเซดนาอาจไม่ได้กำเนิดในระบบสุริยะ แต่มาจากระบบดาวเคราะห์อื่นที่โคจรผ่านมาแล้วโดนดวงอาทิตย์จับไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบของดาวแคระน้ำตาลที่มีมวล 1/20 เท่าของดวงอาทิตย์

ประชากร

ดูบทความหลักที่: เซดนอยด์
 
แนวคิดเกี่ยวกับผิวดาวเซดนาของศิลปิน มีทางช้างเผือก แอนทาเรส ดวงอาทิตย์ และสไปกาอยู่ด้านบน

วงโคจรที่เยื้องอย่างมากของเซดนาหมายความว่า มีโอกาสตรวจพบเพียงแค่ 1 ใน 80 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาจมีวัตถุขนาดเท่าเซดนา 40–120 ชิ้นอยู่ในบริเวณเดียวกัน เว้นเสียแต่ว่าการค้นพบเซดนาเป็นเรื่องบังเอิญ 2000 CR105 วัตถุอีกชิ้นหนึ่งมีวงโคจรที่คล้ายกันกับเซดนาแต่เยื้องน้อยกว่า โดยมีจุดที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ 44.3 AU จุดไกลที่สุดอยู่ที่ 394 AU และมีระยะเวลาการโคจรอยู่ที่ 3,240 ปี ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบในแบบเดียวกันกับเซดนา

แต่ละกลไกที่เสนอมาสำหรับวงโคจรสุดขั้วของเซดนานี้อาจทิ้งร่องรอยที่แตกต่างกันบนโครงสร้างและพลวัตของกลุ่มประชากรใด ๆ ที่กว้างกว่า ถ้าวัตถุพ้นดาวเนปจูนมีส่วนเกี่ยวข้อง วัตถุเหล่านี้ควรมีจุดที่ใกล้ที่สุดในบริเวณเดียวกัน (ประมาณ 80 AU) ถ้าระบบดาวเคราะห์อื่นที่หมุนรอบในทิศทางเดียวกันกับระบบสุริยะจับเซดนาได้ ประชากรทั้งหมดก็จะต้องมีวงโคจรที่เอียงน้อย และมีกึ่งแกนเอกอยู่ในช่วง 100–500 AU ถ้าดาวหมุนรอบในทิศทางตรงข้าม ประชากรสองกลุ่มจะเกิดขึ้น ได้แก่กลุ่มที่วงโคจรเอียงน้อยและเอียงมาก การรบกวนจากดาวฤกษ์ที่โคจรผ่านมาอาจทำให้เกิดความหลากหลายในทั้งจุดที่ใกล้ที่สุดและความเอียงของวงโคจร ขึ้นอยู่กับจำนวนครั้งและมุมที่ดาวดวงนั้นเข้ามา

การได้รับตัวอย่างที่ใหญ่กว่าของวัตถุเหล่านี้อาจช่วยให้ตัดสินใจว่าสถานการณ์แบบใดที่เป็นไปได้มากที่สุด "ผมเรียกเซดนาว่าเป็นฟอสซิลแห่งระบบสุริยะยุคแรกเริ่ม" กล่าวโดยบราวน์ในปี พ.ศ. 2549 "ในที่สุด เมื่อค้นพบฟอสซิลอื่น ๆ เซดนาช่วยบอกถึงวิธีการเกิดของดวงอาทิตย์และจำนวนดาวที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์ครั้งตอนเกิด" การสำรวจโดยบราวน์ ราบิโนวิตซ์ และเมแกน ชวามบ์ในปี พ.ศ. 2550–2551 พยายามที่จะระบุตำแหน่งของวัตถุกลุ่มสมมติของเซดนาชิ้นอื่น ๆ แม้ว่าการสำรวจนั้นจะจับได้ถึงการเคลื่อนที่ที่ห่างออกไปถึง 1,000 AU และค้นพบดาวเคราะห์แคระที่เป็นไปได้อย่าง 2007 OR10 แต่ก็ไม่พบวัตถุเซดนอยด์ใหม่เลย แบบจำลองต่อมาที่รวบรวมข้อมูลใหม่ ๆ เข้าด้วยแล้วเสนอว่าอาจมีวัตถุขนาดเท่าเซดนาอยู่ประมาณ 40 ชิ้นในบริเวณนั้น โดยวัตถุที่มีความส่องสว่างที่สุดอาจประมาณความส่องสว่างของอีริส (–1.0)

ในปี พ.ศ. 2557 นักดาราศาสตร์ประกาศการค้นพบ 2012 VP113 วัตถุขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของเซดนาในวงโคจรกว่า 4,200 ปีคล้ายกับวงโคจรของเซดนา และมีจุดที่ใกล้ที่สุดอยู่ภายในระยะของเซดนาที่ประมาณ 80 AU ซึ่งทำให้มีการคาดการณ์ว่าวัตถุนี้อาจเป็นหลักฐานของดาวเคราะห์พ้นดาวเนปจูน

การจัดระบบ

 
เซดนาเมื่อเทียบกับวัตถุโคจรระยะไกลอื่น ๆ

ศูนย์ดาวเคราะห์น้อยซึ่งเป็นหน่วยงานที่จัดระบบวัตถุต่าง ๆ ในระบบสุริยะ จัดให้เซดนาเป็นวัตถุแถบหินกระจาย การจัดนี้เป็นข้อสงสัยอย่างมาก โดยนักดาราศาสตร์จำนวนมากเสนอว่าเซดนาควรจัดอยู่ในหมวดหมู่ใหม่ของวัตถุไกลโพ้นที่เรียกว่า วัตถุแถบหินกระจายขยาย (Extended scattered disc objects) วัตถุที่ไกลออกไป วัตถุแยกออกระยะไกล หรือ วัตถุกระจาย–ขยาย ในการจัดระบบอย่างเป็นทางการโดย Deep Ecliptic Survey

การค้นพบเซดนานั้นรื้อฟื้นคำถามที่ว่าเทห์ฟ้าใดควรหรือไม่ควรเป็นดาวเคราะห์ ในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2547 บทความเกี่ยวกับเซดนาของสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงรายงานว่าค้นพบดาวเคราะห์ดวงที่สิบแล้ว คำถามนี้สามารถตอบได้โดยใช้นิยามดาวเคราะห์ของสหพันธ์ดาราศาสตร์สากลที่นำมาใช้ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งบอกว่าดาวเคราะห์ต้องไม่มีเทห์ฟ้าอื่น ๆ โคจรในบริเวณเดียวกัน เซดนามีค่าสเติร์น–เลวิสันต่ำกว่า 1 โดยประมาณ ดังนั้นจึงไม่จัดว่าเซดนาไร้ซึ่งเทห์ฟ้าโดยรอบ แม้ว่ายังไม่ค้นพบวัตถุอื่นในบริเวณเดียวกัน แต่คาดกันว่าเซดนาน่าจะเป็นดาวเคราะห์แคระ โดยเซดนาต้องอยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต เนื่องจากมีความสว่างพอ ดังนั้นดาวจึงมีขนาดใหญ่พอที่จะรักษาความเป็นทรงกลม และนักดาราศาสตร์หลายคนก็เรียกเซดนาว่าเป็นดาวเคราะห์แคระแล้ว

การสำรวจ

เซดนาจะอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดประมาณปี พ.ศ. 2618–2619 การเข้าใกล้ครั้งนี้จะเป็นโอกาสในการสำรวจดาว ซึ่งจะไม่มีโอกาสเช่นนี้อีกจนกระทั่ง 12,000 ปีข้างหน้า ถึงแม้เซดนาจะมีรายชื่อในเว็บไซต์การสำรวจระบบสุริยะของนาซา แต่ปัจจุบันยังไม่มีแผนการใด ๆ เพื่อสำรวจเซดนา มีการคำนวณออกมาว่าจะใช้เวลา 24.48 ปี ในการเดินทางจากโลกถึงเซดนา โดยใช้แรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีช่วยเหวี่ยง คาดว่าวันปล่อยยานอาจจะเป็น 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2576 หรือ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2589 เมื่อยานไปถึงแล้วเซดนาจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 77.27 และ 76.43 AU ตามลำดับ

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 อีธาน ซีเกล นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ สนับสนุนยานอวกาศสำหรับศึกษาเซดนาที่ตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอย่างเปิดเผย ซีเกลกล่าวว่าเซดนาเป็นเป้าหมายที่น่าดึงดูด เนื่องจากเป็นไปได้ที่เซดนาจะเป็นวัตถุเมฆออร์ตชั้นใน และด้วยคาบการโคจรอันยาวนานของเซดนาซึ่งอาจเป็นเพียงโอกาสเดียวในหลายสหัสวรรษที่จะได้ศึกษาเซดนาที่ระยะใกล้จากดวงอาทิตย์ขนาดนั้น ภารกิจเช่นนี้สามารถทำให้สะดวกขึ้นได้ด้วยเครื่องพ่นไอออน Dual-Stage 4-Grid ที่สามารถย่นเวลาการเดินทางได้อย่างมาก ถ้าให้พลังงานด้วยบางอย่าง เช่น เตาปฏิกรณ์

เชิงอรรถ

  1. เมื่อทราบความเยื้องศูนย์กลางของวงโคจรของวัตถุนี้ จุดเริ่มยุคที่แตกต่างกันให้วิธีแก้ปัญหาที่มีศูนย์กลางที่ดวงอาทิตย์ ไร้การรบกวน และเหมาะสมที่สุดกับปัญหาสองวัตถุของคาบการโคจรที่แตกต่างกัน โดยใช้จุดเริ่มยุค 1990 เซดนามีคาบการโคจรอยู่ที่ 12,100 ปี แต่เมื่อใช้จุดเริ่มยุค 2017 เซดนามีคาบการโคจรอยู่ที่ 10,900 ปี สำหรับวัตถุที่วงโคจรเยื้องมาก พิกัดแบรีเซนเตอร์ของดวงอาทิตย์จะเสถียรมากกว่าพิกัดที่ศูนย์กลางดวงอาทิตย์ โดยใช้ JPL Horizons คาบการโคจรอิงตามแบรีเซนเตอร์อยู่ที่ประมาณ 11,400 ปี
  2. ข้อมูลเมื่อ 2014 เซดนาอยู่ที่ประมาณ 86.3 AU จากดวงอาทิตย์ อีริส ดาวเคราะห์แคระที่มีมวลมากที่สุด และ 2007 OR10 วัตถุที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะที่ไม่มีชื่อ ขณะนี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าเซดนาที่ 96.4 AU และ 87.0 AU ตามลำดับ อีริสอยู่ใกล้กับจุดที่ไกลที่สุด (อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด) ขณะที่เซดนากำลังเข้าใกล้จุดที่ใกล้ที่สุดในปี 2619 (อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด) เซดนาจะแซงอีริส กลายเป็นวัตถุที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะในปี 2657 แต่วัตถุที่อาจเป็นดาวเคราะห์แคระอย่าง 2007 OR10 แซงเซดนาไปได้ไม่นาน และจะแซงอีริสในปี พ.ศ. 2588
  3. ดาวเคราะห์แคระที่เป็นไปได้อย่าง 2014 FE72 มีคาบการโคจรอยู่ที่ ~90,000 ปี และวัตถุระบบสุริยะขนาดเล็ก เช่น (308933) 2006 SQ372, 2005 VX3, (87269) 2000 OO67, 2002 RN109, 2007 TG422 และดาวหางหลายดวง (เช่น ดาวหางใหญ่แห่งปี พ.ศ. 2120) มีวงโคจรที่ใหญ่กว่าเช่นกัน สำหรับประเภทหลัง เฉพาะ (308933) 2006 SQ372, (87269) 2000 OO67, และ 2007 TG422 มีจุดใกล้ที่สุดอยู่ไกลกว่าวงโคจรดาวพฤหัสบดี จึงกลายเป็นข้อถกเถียงกันว่าวัตถุเหล่านี้อาจเป็นดาวหางที่ถูกจัดผิดหมวดหมู่
  4. โปรแกรมที่ระบบการทำงานแตกต่างกัน ก็อาจทำให้ได้ข้อมูลที่แตกต่างกันด้วย โดยใช้ตำแหน่งในปี พ.ศ 2557 ได้ข้อมูลเป็นปี พ.ศ. 2619 ถ้าใช้ตำแหน่งในปี พ.ศ. 2533 ได้ข้อมูลเป็น 2479282.9591 (2075-12-11) ข้อมูลเมื่อ 2010 หรือประมาณวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2619
  5. การสำรวจของกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลพบว่าไม่มีดาวดวงใดที่มัวน้อยกว่า 500 เท่าของเซดนาเลย (บราวน์และซูเอร์ 2007).
  6. วัตถุที่มาเปรียบเทียบกับเซดนา ได้แก่ 2015 DB216 (วงโคจรผิด), 2000 OO67, 2004 VN112, 2005 VX3, 2006 SQ372, 2007 TG422, 2007 DA61, 2009 MS9, 2010 GB174, 2010 NV1, 2010 BK118, 2012 DR30, 2012 VP113, 2013 BL76, 2013 AZ60, 2013 RF98, 2015 ER61
  7. ค่าสเติร์น–เลวิสัน (Λ) นิยามขึ้นโดยแอลัน สเติร์นและแฮโรลด์ เอฟ. เลวิสันในปี พ.ศ. 2545 ใช้ตัดสินว่าวัตถุใดมีวงโคจรที่โล่งจากวัตถุขนาดเล็กโดยรอบอื่น ๆ นิยามโดยอัตราส่วนของมวลดวงอาทิตย์ (คือมวลของวัตถุหารด้วยมวลของดวงอาทิตย์) ยกกำลังสองกับกึ่งแกนเอกของวัตถุนั้นยกกำลัง 3/2 คูณด้วยค่าคงตัว 1.7×1016.(see equation 4) ถ้าวัตถุนั้นมีค่า Λ มากกว่า 1, แสดงว่าวัตถุนั้นมีวงโคจรที่โล่งจากวัตถุอื่น และอาจถูกพิจารณาถึงความเป็นดาวเคราะห์ โดยใช้มวลโดยประมาณที่สูงเกินจริงของเซดนาที่ 2×1021 กก. ค่า Λ ของเซดนา คือ (2×1021/1.9891×1030)2 / 5193/2 × 1.7×1016 = 1.44×10−6. ซึ่งน้อยกว่า 1 มาก ดังนั้นเซดนาไม่ใช่ดาวเคราะห์ตามนิยามนี้

อ้างอิง

  1. "Discovery Circumstances: Numbered Minor Planets (90001)–(95000)". IAU: Minor Planet Center. สืบค้นเมื่อ 2008-07-23.
  2. "JPL Small-Body Database Browser: 90377 Sedna (2003 VB12)" (2012-10-16 last obs). คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 25 March 2016. สืบค้นเมื่อ 12 April 2016. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  3. Marc W. Buie (2009-11-22). "Orbit Fit and Astrometric record for 90377". Deep Ecliptic Survey. สืบค้นเมื่อ 2006-01-17.
  4. Horizons output. "Barycentric Osculating Orbital Elements for 90377 Sedna (2003 VB12)". สืบค้นเมื่อ 2011-04-30. (Solution using the Solar System Barycenter and barycentric coordinates. Select Ephemeris Type:Elements and Center:@0) (Saved Horizons output file 2011-Feb-04 . คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2012-11-19. สืบค้นเมื่อ 2012-01-16. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)CS1 maint: archived copy as title (link)) In the second pane "PR=" can be found, which gives the orbital period in days (4.15E+06, which is ~11400 Julian years).
  5. Malhotra, Renu; Volk, Kathryn; Wang, Xianyu (2016). "Corralling a distant planet with extreme resonant Kuiper belt objects". The Astrophysical Journal Letters. 824 (2): L22. arXiv:1603.02196. Bibcode:2016ApJ...824L..22M. doi:10.3847/2041-8205/824/2/L22.
  6. Kaib, Nathan A.; Becker, Andrew C.; Jones, R. Lynne; Puckett, Andrew W.; Bizyaev, Dmitry; Dilday, Benjamin; Frieman, Joshua A.; Oravetz, Daniel J.; Pan, Kaike; Quinn, Thomas; Schneider, Donald P.; Watters, Shannon (2009). "2006 SQ372: A Likely Long-Period Comet from the Inner Oort Cloud". The Astrophysical Journal. 695 (1): 268–275. arXiv:0901.1690. Bibcode:2009ApJ...695..268K. doi:10.1088/0004-637X/695/1/268.
  7. Pál, A.; Kiss, C.; Müller, T. G.; Santos-Sanz, P.; Vilenius, E.; Szalai, N.; Mommert, M.; Lellouch, E.; Rengel, M.; Hartogh, P.; Protopapa, S.; Stansberry, J.; Ortiz, J. -L.; Duffard, R.; Thirouin, A.; Henry, F.; Delsanti, A. (2012). ""TNOs are Cool": A survey of the trans-Neptunian region. VII. Size and surface characteristics of (90377) Sedna and 2010 EK139". Astronomy & Astrophysics. 541: L6. arXiv:1204.0899. Bibcode:2012A&A...541L...6P. doi:10.1051/0004-6361/201218874.
  8. "Case of Sedna's Missing Moon Solved". Harvard-Smithsonian Center for Astrophysics. 2005-04-05. สืบค้นเมื่อ 2005-04-07.
  9. Stephen C. Tegler (2006-01-26). . Northern Arizona University. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2006-09-01. สืบค้นเมื่อ 2006-11-05. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  10. "AstDys (90377) Sedna Ephemerides". Department of Mathematics, University of Pisa, Italy. สืบค้นเมื่อ 2011-05-05.
  11. JPL Horizons On-Line Ephemeris System (2010-07-18). . คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2012-02-25. สืบค้นเมื่อ 2010-07-18. Unknown parameter |deadurl= ignored (help) Horizons
  12. Porter, Simon (2018-03-27). "#TNO2018". Twitter. สืบค้นเมื่อ 2018-03-27.
  13. Lakdawalla, E. (19 October 2016). "DPS/EPSC update: 2007 OR10 has a moon!". The Planetary Society. สืบค้นเมื่อ 2016-10-19.
  14. . Department of Mathematics, University of Pisa, Italy. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 4 June 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-05-05. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  15. Mike Brown; David Rabinowitz; Chad Trujillo (2004). "Discovery of a Candidate Inner Oort Cloud Planetoid". Astrophysical Journal. 617 (1): 645–649. arXiv:astro-ph/0404456. Bibcode:2004ApJ...617..645B. doi:10.1086/422095.
  16. Cal Fussman (2006). . Discover. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 16 June 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-05-22. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  17. Chang, Kenneth, Ninth Planet May Exist Beyond Pluto, Scientists Report, New York Times, 21 January 2016, page A1
  18. "MPEC 2004-E45 : 2003 VB12". IAU: Minor Planet Center. 2004-03-15. สืบค้นเมื่อ 2018-03-27.
  19. Michael E. Brown (2012). How I Killed Pluto And Why It Had It Coming. New York: Spiegel & Grau. p. 96. ISBN 978-0-385-53110-8.
  20. Michael E. Brown (2012). How I Killed Pluto And Why It Had It Coming. New York: Spiegel & Grau. p. 103. ISBN 978-0-385-53110-8.
  21. Brown, Mike. . Caltech. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 25 July 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-07-20. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  22. "MPEC 2004-S73 : Editorial Notice". IAU Minor Planet Center. 2004. สืบค้นเมื่อ 2010-07-18.
  23. Walker, Duncan (2004-03-16). "How do planets get their names?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2010-05-22.
  24. "MPC 52733" (PDF). Minor Planet Center. 2004. สืบค้นเมื่อ 2010-08-30.
  25. Chadwick A. Trujillo; M. E. Brown; D. L. Rabinowitz (2007). "The Surface of Sedna in the Near-infrared". Bulletin of the American Astronomical Society. 39: 510. Bibcode:2007DPS....39.4906T.
  26. Trujillo, Chadwick A.; S. S. Sheppard (2014). "A Sedna-like body with a perihelion of 80 astronomical units". Nature. 507 (7493): 471–474. Bibcode:2014Natur.507..471T. doi:10.1038/nature13156. PMID 24670765.
  27. "AstDys (90377) Sedna Ephemerides 2003-11-14". Department of Mathematics, University of Pisa, Italy. สืบค้นเมื่อ 2008-05-05.
  28. "Long View from a Lonely Planet". Hubblesite, STScI-2004-14. 2004. สืบค้นเมื่อ 2010-07-21.
  29. "Hubble Observes Planetoid Sedna, Mystery Deepens". Hubblesite, STScI-2004-14. 2004. สืบค้นเมื่อ 2010-08-30.
  30. Michael E. Brown (2008). "The largest Kuiper belt objects". ใน M. Antonietta Barucci; Hermann Boehnhardt; Dale P. Cruikshank (บ.ก.). The Solar System Beyond Neptune (pdf). University of Arizona Press. pp. 335–345. ISBN 978-0-8165-2755-7.
  31. B. Scott Gaudi; Krzysztof Z. Stanek; Joel D. Hartman; Matthew J. Holman; Brian A. McLeod (2005). "On the Rotation Period of (90377) Sedna". The Astrophysical Journal. 629 (1): L49–L52. arXiv:astro-ph/0503673. Bibcode:2005ApJ...629L..49G. doi:10.1086/444355.
  32. "AstDyS-2, Asteroids - Dynamic Site". สืบค้นเมื่อ 2018-12-26. Objects with distance from Sun over 59 AU
  33. W. M. Grundy; K. S. Noll; D. C. Stephens (2005). "Diverse Albedos of Small Trans-Neptunian Objects" (Submitted manuscript). Icarus. Lowell Observatory, Space Telescope Science Institute. 176 (1): 184–191. arXiv:astro-ph/0502229. Bibcode:2005Icar..176..184G. doi:10.1016/j.icarus.2005.01.007.
  34. John Stansberry; Will Grundy; Mike Brown; Dale Cruikshank; John Spencer; David Trilling; Jean-Luc Margot (2008). "Physical Properties of Kuiper Belt and Centaur Objects: Constraints from Spitzer Space Telescope". ใน M. Antonietta Barucci; Hermann Boehnhardt; Dale P. Cruikshank (บ.ก.). The Solar System Beyond Neptune (pdf). University of Arizona Press. pp. 161–179. arXiv:astro-ph/0702538v2. Bibcode:2008ssbn.book..161S. ISBN 978-0-8165-2755-7.
  35. Brown, Michael E. (2004-03-16). "Characterization of a planetary-sized body in the inner Oort cloud - HST Proposal 10041". สืบค้นเมื่อ 2018-03-27.
  36. "Hubble Observes Planetoid Sedna, Mystery Deepens". Space Telescope Science Institute. 2004-04-14. สืบค้นเมื่อ 2018-03-27.
  37. Bannister, Michelle (2018-03-27). "#TNO2018". Twitter. สืบค้นเมื่อ 2018-03-27.
  38. Trujillo, Chadwick A.; Brown, Michael E.; Rabinowitz, David L.; Geballe, Thomas R. (2005). "Near‐Infrared Surface Properties of the Two Intrinsically Brightest Minor Planets: (90377) Sedna and (90482) Orcus". The Astrophysical Journal. 627 (2): 1057–1065. arXiv:astro-ph/0504280. Bibcode:2005ApJ...627.1057T. doi:10.1086/430337.CS1 maint: ref=harv (link)
  39. Sheppard, Scott S. (2010). "The colors of extreme outer Solar System objects". The Astronomical Journal. 139 (4): 1394–1405. arXiv:1001.3674. Bibcode:2010AJ....139.1394S. doi:10.1088/0004-6256/139/4/1394.
  40. J. P. Emery; C. M. Dalle Ore; D. P. Cruikshank; Fernández, Y. R.; Trilling, D. E.; Stansberry, J. A. (2007). (PDF). Astronomy and Astrophysics. 406 (1): 395–398. Bibcode:2007A&A...466..395E. doi:10.1051/0004-6361:20067021. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (pdf) เมื่อ 2010-06-09. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  41. M. A. Barucci; D. P. Cruikshank; E. Dotto; Merlin, F.; Poulet, F.; Dalle Ore, C.; Fornasier, S.; De Bergh, C. (2005). "Is Sedna another Triton?". Astronomy & Astrophysics. 439 (2): L1–L4. Bibcode:2005A&A...439L...1B. doi:10.1051/0004-6361:200500144.
  42. Hussmann, Hauke; Sohl, Frank; Spohn, Tilman (November 2006). "Subsurface oceans and deep interiors of medium-sized outer planet satellites and large trans-neptunian objects" (PDF). Icarus. 185 (1): 258–273. Bibcode:2006Icar..185..258H. doi:10.1016/j.icarus.2006.06.005.
  43. Jewitt, David; Morbidelli, Alessandro; Rauer, Heike (2007). Trans-Neptunian Objects and Comets: Saas-Fee Advanced Course 35. Swiss Society for Astrophysics and Astronomy. Berlin: Springer. p. 86. arXiv:astro-ph/0512256v1. Bibcode:2005astro.ph.12256M. ISBN 978-3-540-71957-1.
  44. Lykawka, Patryk Sofia; Mukai, Tadashi (2007). "Dynamical classification of trans-neptunian objects: Probing their origin, evolution, and interrelation". Icarus. 189 (1): 213–232. Bibcode:2007Icar..189..213L. doi:10.1016/j.icarus.2007.01.001.
  45. S. Alan Stern (2005). "Regarding the accretion of 2003 VB12 (Sedna) and like bodies in distant heliocentric orbits". The Astronomical Journal. 129 (1): 526–529. arXiv:astro-ph/0404525. Bibcode:2005AJ....129..526S. doi:10.1086/426558. สืบค้นเมื่อ 2010-08-05.
  46. Sheppard, Scott S.; Jewitt, David C. (2005). "Small Bodies in the Outer Solar System" (PDF). Frank N. Bash Symposium. The University of Texas at Austin. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2009-08-04. สืบค้นเมื่อ 2008-03-25. Unknown parameter |dead-url= ignored (help)
  47. Brown, Michael E. (2004). "Sedna and the birth of the solar system". Bulletin of the American Astronomical Society. 36 (127.04): 1553. Bibcode:2004AAS...20512704B.
  48. . The Planetary Society. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 25 November 2009. สืบค้นเมื่อ 2010-01-03. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  49. Morbidelli, Alessandro; Levison, Harold F. (2004). "Scenarios for the Origin of the Orbits of the Trans-Neptunian Objects 2000 CR105 and 2003 VB12 (Sedna)". The Astronomical Journal. 128 (5): 2564–2576. arXiv:astro-ph/0403358. Bibcode:2004AJ....128.2564M. doi:10.1086/424617.
  50. Kenyon, Scott J.; Bromley, Benjamin C. (2 December 2004). "Stellar encounters as the origin of distant Solar System objects in highly eccentric orbits" (Submitted manuscript). Nature. 432 (7017): 598–602. arXiv:astro-ph/0412030. Bibcode:2004Natur.432..598K. doi:10.1038/nature03136. PMID 15577903.
  51. "The Challenge of Sedna". Harvard-Smithsonian Center for Astrophysics. สืบค้นเมื่อ 2009-03-26.
  52. Gomes, Rodney S.; Matese, John J. & Lissauer, Jack J. (2006). "A distant planetary-mass solar companion may have produced distant detached objects". Icarus. 184 (2): 589–601. Bibcode:2006Icar..184..589G. doi:10.1016/j.icarus.2006.05.026.
  53. Lykawka, P. S.; Mukai, T. (2008). "An Outer Planet Beyond Pluto and the Origin of the Trans-Neptunian Belt Architecture". Astronomical Journal. 135 (4): 1161. arXiv:0712.2198. Bibcode:2008AJ....135.1161L. doi:10.1088/0004-6256/135/4/1161.
  54. Schwamb, Megan E. (2007). (PDF). Caltech. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2013-05-12. สืบค้นเมื่อ 2010-08-06. Unknown parameter |deadurl= ignored (help); Cite journal requires |journal= (help)
  55. Batygin, Konstantin; Brown, Michael E. (2016). "Evidence for a Distant Giant Planet in the Solar System". The Astronomical Journal. 151 (2): 22. arXiv:1601.05438. Bibcode:2016AJ....151...22B. doi:10.3847/0004-6256/151/2/22.
  56. Fesenmaier, Kimm. "Caltech Researchers Find Evidence of a Real Ninth Planet". สืบค้นเมื่อ 13 September 2017.
  57. Staff (25 April 2006). "Evidence Mounts For Companion Star To Our Sun". SpaceDaily. สืบค้นเมื่อ 27 November 2009.
  58. Hills, J. G. (1984). "Dynamical constraints on the mass and perihelion distance of Nemesis and the stability of its orbit". Nature. 311 (5987): 636–638. Bibcode:1984Natur.311..636H. doi:10.1038/311636a0.
  59. "Nemesis is a myth". Max Planck Institute. 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-08-11.
  60. Matese, John J.; Whitmire, Daniel P. & Lissauer, Jack J. (2006). "A Widebinary Solar Companion as a Possible Origin of Sedna-like Objects". Earth, Moon, and Planets. 97 (3–4): 459–470. Bibcode:2005EM&P...97..459M. doi:10.1007/s11038-006-9078-6. สืบค้นเมื่อ 2010-08-17.
  61. Ken Croswell. "Sun Accused of Stealing Planetary Objects from Another Star". Scientific American.
  62. Govert Schilling. "Grand Theft Sedna: how the sun might have stolen a mini-planet". New Scientist.
  63. Schwamb, Megan E.; Brown, Michael E.; Rabinowitz, David L. (2009). "A Search for Distant Solar System Bodies in the Region of Sedna". The Astrophysical Journal Letters. 694 (1): L45–L48. arXiv:0901.4173. Bibcode:2009ApJ...694L..45S. doi:10.1088/0004-637X/694/1/L45.
  64. "JPL Small-Body Database Browser: (2012 VP113)" (2013-10-30 last obs). Jet Propulsion Laboratory. สืบค้นเมื่อ 2014-03-26.
  65. "A new object at the edge of our Solar System discovered". Physorg.com. 26 March 2014.
  66. IAU: Minor Planet Center (2008-07-02). "List of Centaurs and Scattered-Disk Objects". Central Bureau for Astronomical Telegrams, Harvard-Smithsonian Center for Astrophysics. สืบค้นเมื่อ 2008-07-02.
  67. Gladman, Brett J. (2001). "Evidence for an Extended Scattered Disk?". Observatoire de la Cote d'Azur. สืบค้นเมื่อ 2010-07-22.
  68. "The Solar System Beyond The Planets". Solar System Update : Topical and Timely Reviews in Solar System Sciences. Springer-Praxis Ed. 2006. ISBN 978-3-540-26056-1.
  69. Elliot, J. L.; Kern, S. D.; Clancy, K. B.; Gulbis, A. A. S.; Millis, R. L.; Buie, M. W.; Wasserman, L. H.; Chiang, E. I.; Jordan, A. B.; และคณะ (2006). "The Deep Ecliptic Survey: A Search for Kuiper Belt Objects and Centaurs. II. Dynamical Classification, the Kuiper Belt Plane, and the Core Population". The Astronomical Journal. 129 (2): 1117. Bibcode:2005AJ....129.1117E. doi:10.1086/427395.
  70. Stern, S. Alan & Levison, Harold F. (2002). "Regarding the criteria for planethood and proposed planetary classification schemes" (PDF). Highlights of Astronomy. 12: 205–213, as presented at the XXIVth General Assembly of the IAU–2000 [Manchester, UK, 7–18 August 2000]. Bibcode:2002HiA....12..205S.
  71. Brown, Michael E. . California Institute of Technology, Department of Geological Sciences. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 29 February 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-02-16. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  72. Barucci, M.; Morea Dalle Ore, C.; Alvarez-Candal, A.; De Bergh, C.; Merlin, F.; Dumas, C.; Cruikshank, D. (2010). "(90377) Sedna: Investigation of surface compositional variation". The Astronomical Journal. 140 (6): 6. Bibcode:2010AJ....140.2095B. doi:10.1088/0004-6256/140/6/2095.
  73. Rabinowitz, Schaefer, Tourtellotte, 2011. "SMARTS Studies of the Composition and Structure of Dwarf Planets". Bulletin of the American Astronomical Society, Vol. 43
  74. Malhotra, 2010. "On the Importance of a Few Dwarf Planets". Bulletin of the American Astronomical Society, Vol. 41
  75. Tancredi, G.; Favre, S. (2008). "Which are the dwarfs in the solar system?" (PDF). Asteroids, Comets, Meteors. สืบค้นเมื่อ 2011-01-05.
  76. Michael E. Brown (Sep 23, 2011). . California Institute of Technology. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2011-10-18. สืบค้นเมื่อ 2011-09-23. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  77. "Solar System Exploration: Multimedia: Gallery". NASA. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2012-08-09. สืบค้นเมื่อ 2010-01-03. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  78. "Solar System Exploration: Missions to Dwarf Planets". NASA. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 9 August 2012. สืบค้นเมื่อ 11 November 2010. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  79. McGranaghan, R.; Sagan, B.; Dove, G.; Tullos, A.; Lyne, J. E.; Emery, J. P. (2011). "A Survey of Mission Opportunities to Trans-Neptunian Objects". Journal of the British Interplanetary Society. 64: 296–303. Bibcode:2011JBIS...64..296M.
  80. Siegel, Ethan. "Is Humanity Ignoring Our First Chance For A Mission To An Oort Cloud Object?". Forbes (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-07-13.
  81. Bramanti, C; Izzo, D; Samaraee, T; Walker, R; Fearn, D (2009-04-01). "Very high delta-V missions to the edge of the solar system and beyond enabled by the dual-stage 4-grid ion thruster concept". Acta Astronautica (ภาษาอังกฤษ). 64 (7–8): 735–744. Bibcode:2009AcAau..64..735B. doi:10.1016/j.actaastro.2008.11.013. ISSN 0094-5765.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • "How Sedna and family were captured in a close encounter with a solar sibling" (9 มิถุนายน 2558)
  • NASA's Sedna page (ค้นพบภาพถ่าย)
  • Mike Brown's Sedna page
  • 90377 เซดนา ที่ฐานข้อมูลวัตถุขนาดเล็กของ JPL
    • โคจรผ่านใกล้ · การค้นพบ · Ephemeris · แผนภาพวงโคจร · องค์ประกอบวงโคจร · ค่ากายภาพ

90377, เซดนา, งกฤษ, sedna, เป, นดาวเคราะห, อยขนาดใหญ, ในบร, เวณส, วนนอกของระบบส, ยะซ, งในป, 2558, อย, างจากดวงอาท, ตย, หน, วยดาราศาสตร, หร, 1010, โลเมตร, อย, างออกไปมากกว, าดาวเนปจ, นเก, อบสามเท, กระบวนการสเปกโทรสโกป, เป, ดเผยว, าพ, นผ, วของเซดนาม, องค, ประกอบ. 90377 esdna xngkvs Sedna epndawekhraahnxykhnadihyinbriewnswnnxkkhxngrabbsuriyasunginpi ph s 2558 xyuhangcakdwngxathity 86 hnwydarasastr AU hrux 1 29 1010 kiolemtr xyuhangxxkipmakkwadawenpcunekuxbsametha krabwnkarsepkothrsokpiepidephywaphunphiwkhxngesdnamixngkhprakxbkhlaykbwtthuphndawenpcunxun bangchin odyepnswnphsmkhxngna miethn aelainotrecnaekhngkbothlincanwnmak phiwkhxngesdnaepnhnunginphiwdawthimisiaedngmakthisudthamklangwtthuxuninrabbsuriya esdnaxacepndawekhraahaekhra inbrrdawtthuphndawenpcunthngaepdthiihythisud esdnaepnwtthuediywthiimphbdawbriwar 12 13 esdnaesdnathaycakklxngothrthrrsnxwkashbebilkarkhnphb 1 khnphbody imekhil brawnaechd thrucioldawid rabionwitskhnphbemux 14 phvscikayn ph s 2546chuxtamrabb MPC 90377 esdnachuxxun 2003 VB12chnidkhxngdawekhraahnxy TNO 2 iklxxkipesdnxyd 3 lksnakhxngwngokhcr 2 cuderimyukh 13 mkrakhm ph s 2559 JD 2457400 5 rayacudikldwngxathitythisud 936 AU Q 4 1 4 1011 km 5 4 wnaesngrayacudikldwngxathitythisud 76 0917 0 0087 AU q 1 1423 1010 kmkungaeknexk 506 8 AU 5 4 7 573 1010 kmkhwameyuxngsunyklang 0 85491 0 00029khabdarakhti 11400 yr 4 a xtraerwechliyinwngokhcr 1 04 kiolemtr winathixnxmlliechliy 358 163 0 0054 khwamexiyng 11 92872 i lxngcicudkhxngcudohndkhun 144 546 W rayamumcudikldwngxathitythisud 311 29 0 014 w lksnathangkayphaphmiti 995 80 km aebbcalxngethxromfisiks 1060 100 km std thermal model 7 khabkarhmunrxbtwexng 10 273 chm 0 4280 wn 10 3 h 30 2 8 siedxeriyl xtraswnsathxn 0 32 0 06 7 xunhphumi 12 K see note chnidsepktrm aedng B V 1 24 V R 0 78 9 ochtimatrprakt 21 1 10 20 5 cudthiiklthisud 11 ochtimatrsmburn 1 83 0 05 7 1 6 2 wngokhcrswnihykhxngesdnaxyuiklxxkcakdwngxathityipmakkwataaehnngpccubn sungkhadwataaehnngthiiklcakdwngxathitymakthisudcaxyuhangxxkipthung 937 AU 4 31 ethakhxngrayakhxngdawenpcun thaihesdnaepnwtthuhnungthiiklthisudinrabbsuriya nxkehnuxcakdawhangkhabyaw b c esdnamiwngokhcrthiyawaelayudepnphiess odyichewlaokhcrhnungrxbpraman 11 400 pi aelamicudikldwngxathitymakthisudthi 76 AU singninamasukhwamkhidekiywkbtnkaenidkhxngesdna sunydawekhraahnxycdesdnaihxyuinaethbhinkracay sungepnklumkhxngwtthuthimiwngokhcryudyawxxkipiklenuxngdwyaerngonmthwngcakdawenpcun karcdihesdnaxyuinaethbhinkracayniklayepnkhxthkethiyng ephraaesdnaimekhyekhamaikldawenpcunmakphxthicaehwiyngkracayesdnaxxkipdwyaerngonmthwngcakdawenpcun thaihnkdarasastrbangkhnechuxwaesdnaepnwtthuhnunginemkhxxrtchnin aetbangkhnkechuxwaesdnamiwngokhcrthiyudyawaebbnienuxngdwydawvksthiechiydphanekhamaikl odyxacepnhnungindawkhxngkracukdawkhxngdwngxathitytxnekid kracukdawepid hruxrabbdawekhraahxunxaccbyudiw smmtithanxikxyanghnungesnxwawngokhcrkhxngesdnaidrbphlkrathbcakdawekhraahkhnadihydwnghnungthiphnwngokhcrdawenpcun 15 imekhil brawn nkdarasastrphukhnphbesdnaaeladawekhraahaekhraxiris ehaemxa aelamakhimakhi khidwaesdnaepnwtthuphndawenpcuninpccubnthisakhythisudinthangwithyasastr ephraawakarthakhwamekhaicinwngokhcrthiimesthiyrniepnipidthicaihkhxmulxnmikhaekiywkbtnkaenidaelawiwthnakarkhxngrabbsuriyainchwngaerk 16 17 enuxha 1 prawti 1 1 karkhnphb 1 2 kartngchux 2 wngokhcraelakarokhcr 3 lksnathangkayphaph 4 tnkaenid 5 prachakr 6 karcdrabb 7 karsarwc 8 echingxrrth 9 xangxing 10 aehlngkhxmulxunprawti aekikhkarkhnphb aekikh esdna hruxinchuxeka khux 2003 VB12 khnphbody imekhil xi brawn sthabnethkhonolyiaekhlifxreniy aechd thruciol hxdudawecmini aela edwid aerbionwits mhawithyalyeyl emuxwnthi 14 phvscikayn ph s 2546 karkhnphbepnswnhnungkhxngkarsarwcsungerimkhunemuxpi ph s 2544 dwyklxngothrthrrsnsamuexlxxschinthihxdudawphaolmar iklkbaesndiexok rthaekhlifxreniy ichklxngkhwamchd 160 emkaphikeslkhxngmhawithyalyeyl inwnnnphbwawtthuekhluxnthiip 4 6 lipda odyichewla 3 1 chwomngemuxethiybkbdawvks sungthaihpramanidwawtthunnxyuhangxxkippraman 100 AU karsarwctxmamikhuninchwngeduxnphvscikayn thnwakhm ph s 2546 odyichklxngothrthrrsnsmarththihxdudawnanachati xemriknesrorotolol inpraethschili klxngothrthrrsnethenkra 4 inonkaels rthaexriosna aelaklxngkhxnghxdudawekhkbnphuekhaifemanaekhxathihaway prakxbkbkartrwcsxbphanphapheka thithaycakklxngothrthrrsnsamuexlxxschinineduxnsinghakhm ph s 2546 aelaphaphcakpharkictamhadawekhraahnxyiklolkinpi ph s 2544 2545 thaihkarkhnhawngokhcrmikhwamaemnyamakkhun karkhanwnaesdngihehnwawtthunnekhluxniptamwngokhcrthieyuxngmak thirayathang 90 3 AU cakdwngxathity 18 15 sungkarkhnphbphaphkxnkarkhnphbniekidkhunphayhlnginbrrdaphaphkarsarwcthxngfakhxngpaolmaryxnklbipthungwnthi 25 knyayn ph s 2533 2 kartngchux aekikh inrayaaerk imk brawn tngchuxelnihkbesdnawa edxaflayxingdtchaemn hruxaekh dtch tamchuxeruxphisingintanan enuxngdwykarekhluxnthithichathithaihthimnganruwadawnnmitwtnxyu 19 sahrbchuxxyangepnthangkar imk brawn eluxkchuxesdna chuxcakethphpkrnmxinut sungbrawneluxkdwyehtuphlswnhnungwaxinutepnklumchnkhwolkthixyuiklbankhxngekhathisudthipasaedna aelaehtuphlxikswnhnungwachuxnnsakdngay imehmuxnkbkhwaxwr 20 bnewbistkhxngekha ekhaekhiynwa wtthuthikhnphbihmkhxngerannhnawthisud xyuiklthisudinrabbsuriya dngnneracungrusukwamnehmaasmthicatngchuxephuxepnekiyrtiaekesdna ethphixinutaehngthxngthael phusungechuxknwaxasyxyu n knkhxngmhasmuthrxarktikxneyuxkeyn 21 imekhil brawnyngesnxtxsunydawekhraahnxykhxngshphnthdarasastrsaklwawtthuid thicakhnphbinxnakht thaxyuinbriewnediywkbesdna khwrtngchuxtamsingthixyuinethphpkrnmxarktik 21 thimphukhnphbtiphimphchux esdna kxnkartngchuxxyangepnthangkar 22 ibrxn marsedn phuxanwykarsunydawekhraahnxy klawwakarthaechnniepnkarlaemidphithisaraelaxacminkdarasastrkhxngshphnthdarasastrsaklotaeyng 23 thungkrann immikhxkhdkhanid txchuxniely aelaimmichuxxunidesnxekhama karprachumkhxngkhnakrrmkarrangchuxwtthukhnadelkcungyxmrbchux esdna ineduxnknyayn ph s 2547 24 aelaxnuyatihmikartngchuxkxnthicaidrbchuxxyangepnthangkar sahrbkrnithinasnicepnphiessthikhlaykn 22 wngokhcraelakarokhcr aekikh wngokhcrkhxngesdnaemuxethiybkbwngokhcrkhxngwtthurabbsuriyachnnxk phaphcakdanbnaeladankhang wngokhcrdawphluotepnsimwngaelawngokhcrdawenpcunepnsinaengin esdnaepnwtthuthimikhabkarokhcrnanthisudepnladbthisxngkhxngrabbsuriya c sungkhanwnaelwxyuthi 11 400 pi 4 a wngokhcrkhxngesdnamikhwameyuxngsungmak dwycudiklthisudcakdwngxathityxyuthi 937 AU 4 aelacudikldwngxathitythisudxyuthi 76 AU odytaaehnngthiiklthisudkhxngesdnaxyuiklkwakhxngwtthuxun inrabbsuriyacnkrathngkhnphb 2012 VP113 25 26 n cudiklthisudnn esdnaokhcrdwykhwamerwephiyngaekh 1 3 khxngkhwamerwthiolkokhcr emuxmikarkhnphbesdnathirayahangcakdwngxathity 89 6 AU 27 khnaekhluxnthiekhaiklcudiklthisud esdnaklayepnwtthuthiiklthisudinrabbsuriya phayhlngxirisaesngesdnaemuxtrwcphbxirisodywithiediywknthirayahang 97 AU cakdwngxathity miephiyngdawhangkhabyawbangdwngethannthimikhabokhcrmakkwakhabkhxngesdna dawhangehlanicangekinipthicasamarthkhnphbid ewnaetcaphanekhamainrabbsuriyachnin thungaemwaesdnacaxyu n cudikldwngxathitythisudinchwngklangpi ph s 2619 11 d dwngxathitythipraktbnesdnannxacmikhnadethaplayekhmsungswangkwadwngcnthrtxnetmdwng 100 etha emuxethiybkbolkaelw dwngxathitythiehnbnolkswangkwatxndwngcnthretmdwng 400 000 etha aeladwngxathityxyuiklekinkwathicaehnepnruprang 28 emuxkhnphbkhrngaerknn khadwaesdnamikhabhmunrxbtwexngthinanmak 20 thung 50 wn 28 rayaaerkechuxknwakarhmunrxbtwexngkhxngesdnathichaepnphlmacakaerngonmthwngcakdawbriwarkhnadihy khlaykbaekhrxn dawbriwarkhxngdawphluot 21 karkhnhadawbriwardwngnndwyklxngothrthrrsnxwkashbebilineduxnminakhm ph s 2547 imphbxairely 29 e aelacakphlkarkhanwncakklxngothrthrrsnexmexminewlatxmaphbwaesdnahmunodyichrayaewlasnkwathikhadiwmak praman 10 chwomng sungkhxnkhangpktisahrbdawkhnadxyangesdna 31 wtthuthiiklthisudthisngektidinrabbsuriyakhxmulemux 26 thnwakhm kh s 2018 2018 12 26 update 32 chuxwtthu rayathangcakdwngxathity AU khwamsxngswangprakt khwamsxngswangsmburn H cudpccubn cudiklthisud cudiklthisud kungaeknexkwxyexcecxr 1 sahrbepriybethiyb 144 15 8 90 N A N A 50 28 FarFarOut 140 140 Unknown Unknown Unknown Unknown Unknown2018 VG18 FarOut 125 21 7 168 7 95 2 24 6 3 2 0 5iphoxeniyr 10 sahrbepriybethiyb 122 44 4 94 N A N A 49 29wxyexcecxr 2 sahrbepriybethiyb 119 31 21 2 N A N A 48 28V774104 may be 2015 TG387 103 103 Unknown Unknown Unknown 24 4iphoxeniyr 11 sahrbepriybethiyb 101 13 9 45 N A N A 48 29xiris 96 08 37 9 97 5 67 7 18 7 1 12014 UZ224 90 57 38 0 178 6 108 3 23 2 3 52015 TH367 89 44 29 0 131 0 80 0 26 2 6 62007 OR10 88 15 33 4 101 2 67 3 21 7 1 92014 FC69 84 95 40 4 106 4 73 4 24 1 4 7esdna 84 91 76 1 884 5 480 3 21 1 52013 FS28 84 37 34 5 355 5 195 0 24 5 52006 QH181 84 05 37 4 96 8 67 1 23 6 4 32012 VP113 83 77 80 5 432 3 256 4 23 4 4 12015 VO166 83 51 38 1 112 6 75 4 25 2 6 12015 UH87 81 75 34 1 87 2 62 4 25 3 62017 SN132 81 03 40 9 118 8 79 9 25 0 5 82013 FY27 79 99 35 6 82 1 58 8 22 1 32015 TG387 78 58 65 0 1921 2 993 1 24 3 5 62017 FO161 78 51 33 9 87 7 60 8 24 2 5 32015 TJ367 78 38 33 4 130 1 81 8 25 7 6 72015 VJ168 72 95 37 4 81 3 59 3 24 6 62010 GB174 72 32 48 8 660 7 354 8 25 1 6 62014 FJ72 71 54 38 6 150 2 94 4 24 2 5 72015 GN55 71 51 32 8 78 4 55 6 24 5 62016 TS97 71 34 36 2 71 7 54 0 24 8 6 22015 VL168 70 75 37 5 136 4 87 0 25 3 6 42012 FH84 68 83 41 9 71 5 56 7 25 7 7 32015 RZ277 68 52 34 4 90 2 62 3 25 5 72015 GR50 68 43 38 3 69 5 53 9 25 1 6 72013 FQ28 67 91 45 9 80 2 63 0 24 4 62015 GP50 67 84 40 3 70 4 55 3 24 8 6 62016 CD289 66 71 37 2 73 2 55 2 25 6 7 42014 UD228 66 29 36 4 73 1 54 8 24 4 6 22018 VO35 66 12 33 4 222 2 127 8 24 9 6 62015 KV167 65 15 38 2 65 2 51 7 25 4 7 32013 UJ15 65 09 37 0 67 5 52 2 25 2 7 12014 FL72 64 83 38 2 168 1 103 1 25 6 82014 FD70 64 59 35 8 78 2 57 0 25 6 92015 KG172 64 08 42 5 67 7 55 1 24 1 6 12014 SU349 63 42 26 0 343 5 184 8 25 7 12017 DO121 63 32 35 6 81 2 58 4 25 6 7 72015 RL258 63 30 34 8 67 7 51 3 24 7 6 52015 KF172 63 23 39 1 95 6 67 4 23 6 5 62015 RR245 62 88 33 9 128 7 81 3 22 1 4 22013 AT183 62 87 35 7 87 6 61 7 22 4 82014 FE72 62 82 37 2 925 4 481 3 24 1 6 22011 GM89 62 63 24 3 745 7 385 0 25 6 7 22015 RH278 62 39 34 0 76 5 55 3 25 5 7 42018 AX18 62 37 37 7 64 4 51 0 24 6 6 52000 CR105 62 00 44 2 394 6 219 4 23 9 6 12015 VG157 61 85 38 8 69 1 54 0 25 5 7 42014 SV349 61 46 34 7 88 0 61 4 23 5 22008 ST291 61 09 42 3 157 1 99 7 22 2 4 32017 DP121 60 99 33 0 93 7 63 4 25 1 7 32014 FM72 60 64 33 9 78 3 56 1 24 1 6 22015 RX245 60 60 45 5 789 4 417 4 24 2 6 22014 FF72 60 29 36 6 63 9 50 2 24 8 72003 QX113 60 19 37 1 62 3 49 7 22 5 4 72015 FU403 59 85 34 4 85 2 59 8 25 3 7 62015 KH162 59 84 41 7 82 9 62 3 21 6 4 12015 GW55 59 77 34 1 138 1 86 1 24 5 6 92013 JQ64 59 51 22 9 75 9 49 2 24 4 6 32017 WH30 59 40 33 2 132 5 82 9 24 6 6 72015 RK258 59 16 35 9 111 9 73 9 24 9 7 2tarangnirwmipthungthukwtthuthisngektidthixyuhangxxkipxyangnxysxngethakhxngdawenpcun 32 dawhangthimiwngokhcrekuxbepnpharaoblacanwnmak echn C 1858 L1 khnanixyuiklcakdwngxathityxxkipxik dukhuyaeklksnathangkayphaph aekikhesdnamikhwamsxngswangsmburnxyuthipraman 1 8 aelaxtraswnsathxnxyuthipraman 0 32 cungpramanesnphansunyklangiwthi 1 000 kiolemtr 7 n ewlathikhnphbesdnann idcdihesdnaepnwtthuthisxngswangphayinmakthisudinrabbsuriyatngaetkhnphbdawphluotinpi ph s 2473 inpi ph s 2547 ehlaphukhnphbwangkhasungsudkhxngesnphansunyklangxyuthi 1 800 kiolemtr 33 aetinpi ph s 2550 kldlngmatakwa 1 600 kiolemtr hlngcakthisngektphanklxngothrthrrsnxwkasspitesxr 34 inpi ph s 2555 karkhanwncakhxdudawxwkasehxrechlesnxwaesdnamiesnphansunyklang 995 80 kiolemtr sungcathaihmikhnadelkkwaaekhrxn dawbriwarkhxngdawphluot 7 enuxngcakesdnaimmidawbriwar karhamwlodyimsngyanxwkasipcungepnipimidaelaesdnakepnwtthuphndawenpcunthiihythisudthiimmidawbriwarinpccubn 13 mikhwamphyayaminkarhadawbriwarnnephiyngkhrngediyw 35 36 aelakhadkarnknwamioxkasthiimphbdawbriwarnnxyu 25 12 37 karsngektcakklxngothrthrrsn SMARTS aesdngihehnwainrayaaesngthimxngehnid esdnaepnhnunginwtthuthisiaedngthisudinrabbsuriya ekuxbmisiaedngethadawxngkhar 21 aechd thruciolaelaephuxnrwmngankhxngekhaesnxwasiaedngekhmkhxngesdnannekidcakphiwkhxngdawnnpkkhlumipdwytakxnihodrkharbxn hruxothlin sungekidcaksarprakxbxinthriykhnadelkkwathismphskbrngsixltraiwoxeltyawnan 38 phiwkhxngesdnaehmuxnknthngsiaelasepktrmthwthngdaw sungxacekidcakkarthiesdnaimkhxypathakbwtthuxunid imehmuxnkbwtthuxun thiikldwngxathitykwathimkcapathakbwtthuxun sungaesdngihehnaethbnaaekhngswangthimiehmuxnkbbn 8405 aexsobls 38 esdnaaelawtthuthixyuiklmaksxngchin idaek 2006 SQ372 aela 87269 2000 OO67 misiediywknkbwtthudngediminaethbikhepxrchnnxkaelaesnthxr 5145 ofbs wtthuehlanixacmitnkaenidinbriewnediywkn 39 thruciolaelaephuxnrwmnganyngwangkhasungsudkhxngxngkhprakxbphunphiwkhxngesdnaxyuthimiethnaekhng 60 aelanaaekhng 70 38 karmixyukhxngmiethnaekhngyngchwysnbsnunthungkarmixyukhxngothlinbnphiwesdna enuxngdwyothlinehlaniekidcakkarchayrngsikhxngmiethn 40 baruchchiaelaephuxnrwmngankhxngekhaepriybethiybsepktrmkhxngesdnakbithrthn aelatrwcphbaethbdudsumxyangxxnkhxngmiethnaelainotrecnaekhng cakkarsngektehlani phwkekhacungesnxxngkhprakxbphiwdawepnothlinchnidithrthn 24 kharbxnxsnthan 7 inotrecnaekhng 10 emthanxl 26 aelamiethn 33 41 aelaidyunynkartrwcphbmiethnaelanaaekhnginpi ph s 2549 odyklxngothrthrrsnxwkasspitesxr 40 karmixyukhxnginotrecnbnphiwdawesnxwaesdnaxacmichnbrryakasbang aemephiyngrayaewlasn rahwang 200 piiklkbcudiklthisud xunhphumisungsudbnesdnakhwrekin 35 6 ekhlwin 237 6 xngsaeslesiys karepliynaeplngxunhphumirahwanginotrecnaekhngrayaaexlfakbrayabitabnithrthn thi 38 ekhlwin khwamdnixkhxng N2 xacxyuthi 14 imokhrbar 1 4 paskal 41 khwamchnsepktrmsiaedngekhmkhxngesdnaaesdngihehnthungkarmixyukhxngsarprakxbxinthriycanwnmakbnphiwdaw aelaaethbkardudklunmiethncang chiwamiethnbnphiwdawnnmixayumak singnihmaykhwamwaesdnannhnawekinkwathimiethncaraehyipcakphiwdawaelatkklbmainrupkhxnghima sungekidkhunbnithrthnaelaxaccabndawphluotdwy 40 aebbcalxngkhxngkhwamrxnphayindawdwykarslaytwkmmntrngsiesnxwaesdnaxacmimhasmuthrepnnaehlwxyuitphiwdaw 42 tnkaenid aekikhinrayngankarkhnphbesdna imk brawn aelaephuxnrwmngankhxngekhabrryayiwwaesdnaepnwtthuaerkthixyuinbriewnemkhxxrt sungepnemkhsmmtikhxngdawhangthiechuxknwamixyuipiklthungekuxbhnungpiaesngcakdwngxathity phwkekhasngektwacudiklthisudkhxngesdna 76 AU nniklekinkwathixiththiphlkhwamonmthwngcakdawenpcuncakracayestnaid aetktangcakwtthuaethbhinkracay echn xiris 15 enuxngcakesdnaxyuikldwngxathityekinkwathikhadiwsahrbwtthuemkhxxrt prakxbkbmiwngokhcrthiexiynginranabiklekhiyngkbwtthuxuninaethbikhepxraeladawekhraah phwkekhacungbrryaywtthukhnphbihmchinniepn wtthuemkhxxrtchnin sungerimtngaetbriewnaethbhinkracayinaethbikhepxripcnthungbriewnthiepnthrngklmkhxngemkhxxrt 43 44 thaesdnakaenidkhunintaaehnngpccubn candawekhraahkxnekiddngedimkhxngdwngxathitytxngaephxxkipiklthung 75 hnwydarasastr AU inxwkas 45 wngokhcrdngedimkhxngesdnaktxngekuxbepnwngklmechnkn miechnnnkarkaenidodykarchnkncakwtthukhnadelkkwacaepnipimid ephraawacarbkwnkhwamerwsmphthththimakrahwangchinswnelk makekinip dngnncatxngehwiyngesdnamayngwngokhcrpccubndwyaerngonmthwngkhxngwtthubangxyang 46 inraynganaerkkhxngphwkekhann brawn rabionwits aelaephuxnrwmnganesnxwamisamtweluxkthiepnipidthicaepnwtthuthimarbkwnni idaek dawekhraahthiyngimkhnphbthixyuthdxxkipcakaethbikhepxr dawvksthiokhcrphanma hruxhnungindawvksaerkekidthitrungxyukbdwngxathityinkracukdawvkskhrngthidwngxathitykaenidkhun 15 imk brawn aelathimngankhxngekhasnbsnunsmmtithanthiwa karehwiyngesdnamaihxyuinwngokhcrpccubnthaiddwydawvkscakkracukdawepidkhxngdwngxathity ihehtuphldwywacudthiiklthisudkhxngesdnathipraman 1 000 AU sungiklmakemuxethiybkbcudthiiklthisudkhxngdawhangkhabyawthnghlay imiklephiyngphxthicaidrbphlkrathbcakdawvksthiokhcrphanma n taaehnngpccubncakdwngxathity phwkekhaesnxwawngokhcrkhxngesdnasamarthxthibayiddithisuddwykarthidwngxathitykaenidinkracukdawepidkhxngdawvkscanwnmakthikhxy aeykcakkniptamewla 15 47 48 smmtithannnphthnatxipodythngxaelssanodr mxrbiedlli aelaskxtt ecy ekhnyxn 49 50 aebbcalxngkhxmphiwetxrodyhuliox ex efrnnedsaelaexedriyn brunini esnxwakarokhcrphankhxngdawvksaerkekidhlaykhrnginkracukdawepidaebbnnxacdungwtthutang cnmiwngokhcraebbesdna 15 karsuksakhxngmxrbiedlli aelaelwisnesnxwakhaxthibaythiepnipidmakthisudekiywkbwngokhcrkhxngesdna khux dawvksxikdwnghnungtxngekhyrbkwnestnacakinrayaikl praman 800 AU in 100 rxylanpiaerkhruxmakkwanncaktxnthirabbsuriyakaenidkhun 49 51 phaphkarepriybethiyb dawphluot xiris makhimakhi ehaemxa esdna 2007 OR10 khwaxwr xxrkhs aela olk klxngni dukhuyaek smmtithanwtthuphndawenpcunnnkawhnaipinhlakhlayrupaebbodynkdarasastrcanwnhnung rwmthng rxdniy okems aelapathruk luxkawka smmtithanrupaebbhnungmikarrbkwnkhxngwngokhcresdnaodywtthusmmtikhnadethadawekhraahinemkhhillekhamaekiywkhxng aebbcalxnglasudaesdngihehnwalksnakarokhcrkhxngesdnasamarthxthibaydwykarrbkwncakwtthumwlethadawenpcun n taaehnng 2 000 AU hruxnxykwa wtthumwlethadawphvhsbdi n taaehnng 5 000 AU hruxaemkrathngwtthumwlethaolk n taaehnng 1 000 AU 48 52 aebbcalxngkhxmphiwetxrodypathruk luxkawka esnxwawngokhcrkhxngesdnaxacepnphlmacakwtthukhnadpramaniklekhiyngkbolkthithukehwiyngxxkmakhangnxkodydawenpcuninchwngerimaerkkhxngrabbsuriya aelakhnanikxyuinwngokhcrthiyudxxkipinchwngrahwang 80 aela 170 AU cakdwngxathity 53 karsarwcthxngfahlaykhrngkhxngimk brawntrwcimphbwtthukhnadethaolkid inchwngrayathangthungpraman 100 AU epnipidwawtthunnxachludxxkipnxkrabbsuriyahlngcakkarkxtwkhxngemkhxxrtchnin 54 khxnsaetntin batikin nkwicycaksthabnethkhonolyiaekhlifxreniy aelaimk brawntngsmmtithaniwekiywkbkarmitwtnkhxngdawekhraahyksinrabbsuriyachnnxk phwkekhaihchuxelnwa dawekhraaheka dawekhraahdwngnixacmimwlmakkwaolk 10 etha miwngokhcrthieyuxngmak aelamirayathangechliycakdwngxathitypraman 20 ethakhxngdawenpcun sungokhcrthirayathangechliythi 30 1 AU 4 50 109 kiolemtr khabkarokhcrxacxyuthi 10 000 thung 20 000 pi karmitwtnkhxngdawekhraahdwngnismmtikhuncakaebbcalxngthangkhnitsastraelaaebbcalxngkhxmphiwetxraetyngimekhysngektodytrng dawekhraahdwngnixacxthibaylksnawngokhcrkhxngklumkhxngwtthuthirwmipthungesdna 55 56 mikaresnxwawngokhcrkhxngesdnannepnphlmacakxiththiphlkhxngdawkhukhnadihykhxngdwngxathitythixyuhangxxkiphlayphnhnwydarasastr dawkhusmmtihnung khux enemsis dawkhumudkhxngdwngxathitythiechuxknwamiswnekiywkhxngkbkhabkarekidkarsuyphnthukhrngihybnolkxnekidmacakkarphungchnkhxngdawhang rxngrxykarphungchnbndwngcnthr aelaxngkhprakxbwngokhcrthikhlay knkhxngdawhangkhabyawcanwnmak 52 57 immihlkthanodytrngekiywkbenemsisely aelahlkthanhlayxyang echn canwnhlumxukkabat thaihkarmitwtnkhxngdawdwngnnklayepnkhxkngkha 58 59 cxhn ec mlthis aeladaeniyl phi withimr phuthiesnxkhwamepnipidkhxngdawkhudwngxathitymaxyangyawnan esnxwawtthumwl 5 ethakhxngdawphvhsbdithixyuxxkippraman 7 850 AU cakdwngxathity xacthaihwtthuhnungmiwngokhcraebbesdna 60 mxrbiedlli aelaekhnyxnyngesnxxikwaesdnaxacimidkaenidinrabbsuriya aetmacakrabbdawekhraahxunthiokhcrphanmaaelwodndwngxathitycbiw odyechphaaxyangyinginrabbkhxngdawaekhranatalthimimwl 1 20 ethakhxngdwngxathity 49 50 61 62 prachakr aekikhdubthkhwamhlkthi esdnxyd aenwkhidekiywkbphiwdawesdnakhxngsilpin mithangchangephuxk aexnthaers dwngxathity aelasipkaxyudanbn wngokhcrthieyuxngxyangmakkhxngesdnahmaykhwamwa mioxkastrwcphbephiyngaekh 1 in 80 sungaesdngihehnwaxacmiwtthukhnadethaesdna 40 120 chinxyuinbriewnediywkn ewnesiyaetwakarkhnphbesdnaepneruxngbngexiy 15 30 2000 CR105 wtthuxikchinhnungmiwngokhcrthikhlayknkbesdnaaeteyuxngnxykwa odymicudthiiklthisudxyuthi 44 3 AU cudiklthisudxyuthi 394 AU aelamirayaewlakarokhcrxyuthi 3 240 pi sungxaccaidrbphlkrathbinaebbediywknkbesdna 49 aetlaklikthiesnxmasahrbwngokhcrsudkhwkhxngesdnanixacthingrxngrxythiaetktangknbnokhrngsrangaelaphlwtkhxngklumprachakrid thikwangkwa thawtthuphndawenpcunmiswnekiywkhxng wtthuehlanikhwrmicudthiiklthisudinbriewnediywkn praman 80 AU tharabbdawekhraahxunthihmunrxbinthisthangediywknkbrabbsuriyacbesdnaid prachakrthnghmdkcatxngmiwngokhcrthiexiyngnxy aelamikungaeknexkxyuinchwng 100 500 AU thadawhmunrxbinthisthangtrngkham prachakrsxngklumcaekidkhun idaekklumthiwngokhcrexiyngnxyaelaexiyngmak karrbkwncakdawvksthiokhcrphanmaxacthaihekidkhwamhlakhlayinthngcudthiiklthisudaelakhwamexiyngkhxngwngokhcr khunxyukbcanwnkhrngaelamumthidawdwngnnekhama 54 karidrbtwxyangthiihykwakhxngwtthuehlanixacchwyihtdsinicwasthankarnaebbidthiepnipidmakthisud 63 phmeriykesdnawaepnfxssilaehngrabbsuriyayukhaerkerim klawodybrawninpi ph s 2549 inthisud emuxkhnphbfxssilxun esdnachwybxkthungwithikarekidkhxngdwngxathityaelacanwndawthixyuiklkbdwngxathitykhrngtxnekid 16 karsarwcodybrawn rabionwits aelaemaekn chwambinpi ph s 2550 2551 phyayamthicarabutaaehnngkhxngwtthuklumsmmtikhxngesdnachinxun aemwakarsarwcnncacbidthungkarekhluxnthithihangxxkipthung 1 000 AU aelakhnphbdawekhraahaekhrathiepnipidxyang 2007 OR10 aetkimphbwtthuesdnxydihmely 63 aebbcalxngtxmathirwbrwmkhxmulihm ekhadwyaelwesnxwaxacmiwtthukhnadethaesdnaxyupraman 40 chininbriewnnn odywtthuthimikhwamsxngswangthisudxacpramankhwamsxngswangkhxngxiris 1 0 63 inpi ph s 2557 nkdarasastrprakaskarkhnphb 2012 VP113 26 wtthukhnadpramankhrunghnungkhxngesdnainwngokhcrkwa 4 200 pikhlaykbwngokhcrkhxngesdna aelamicudthiiklthisudxyuphayinrayakhxngesdnathipraman 80 AU 64 sungthaihmikarkhadkarnwawtthunixacepnhlkthankhxngdawekhraahphndawenpcun 65 karcdrabb aekikh esdnaemuxethiybkbwtthuokhcrrayaiklxun f sunydawekhraahnxysungepnhnwynganthicdrabbwtthutang inrabbsuriya cdihesdnaepnwtthuaethbhinkracay 66 karcdniepnkhxsngsyxyangmak odynkdarasastrcanwnmakesnxwaesdnakhwrcdxyuinhmwdhmuihmkhxngwtthuiklophnthieriykwa wtthuaethbhinkracaykhyay Extended scattered disc objects 67 wtthuthiiklxxkip 68 wtthuaeykxxkrayaikl 52 hrux wtthukracay khyay inkarcdrabbxyangepnthangkarody Deep Ecliptic Survey 69 karkhnphbesdnannruxfunkhathamthiwaethhfaidkhwrhruximkhwrepndawekhraah inwnthi 15 minakhm ph s 2547 bthkhwamekiywkbesdnakhxngsankphimphthimichuxesiyngraynganwakhnphbdawekhraahdwngthisibaelw khathamnisamarthtxbidodyichniyamdawekhraahkhxngshphnthdarasastrsaklthinamaichinwnthi 24 singhakhm ph s 2549 sungbxkwadawekhraahtxngimmiethhfaxun okhcrinbriewnediywkn esdnamikhasetirn elwisntakwa 1 odypraman g dngnncungimcdwaesdnairsungethhfaodyrxb aemwayngimkhnphbwtthuxuninbriewnediywkn aetkhadknwaesdnanacaepndawekhraahaekhra odyesdnatxngxyuinsphawasmdulxuthksthit enuxngcakmikhwamswangphx dngnndawcungmikhnadihyphxthicarksakhwamepnthrngklm 71 aelankdarasastrhlaykhnkeriykesdnawaepndawekhraahaekhraaelw 72 73 74 75 76 karsarwc aekikhesdnacaxyuintaaehnngthiikldwngxathitythisudpramanpi ph s 2618 2619 karekhaiklkhrngnicaepnoxkasinkarsarwcdaw sungcaimmioxkasechnnixikcnkrathng 12 000 pikhanghna thungaemesdnacamiraychuxinewbistkarsarwcrabbsuriyakhxngnasa 77 aetpccubnyngimmiaephnkarid ephuxsarwcesdna 78 mikarkhanwnxxkmawacaichewla 24 48 pi inkaredinthangcakolkthungesdna odyichaerngonmthwngkhxngdawphvhsbdichwyehwiyng khadwawnplxyyanxaccaepn 6 phvsphakhm ph s 2576 hrux 23 mithunayn ph s 2589 emuxyanipthungaelwesdnacaxyuhangcakdwngxathity 77 27 aela 76 43 AU tamladb 79 ineduxnphvsphakhm ph s 2561 xithan siekl nkdarasastrfisiks snbsnunyanxwkassahrbsuksaesdnathitaaehnngikldwngxathitythisudxyangepidephy sieklklawwaesdnaepnepahmaythinadungdud enuxngcakepnipidthiesdnacaepnwtthuemkhxxrtchnin aeladwykhabkarokhcrxnyawnankhxngesdnasungxacepnephiyngoxkasediywinhlayshswrrsthicaidsuksaesdnathirayaiklcakdwngxathitykhnadnn 80 pharkicechnnisamarththaihsadwkkhuniddwyekhruxngphnixxxn Dual Stage 4 Grid thisamarthynewlakaredinthangidxyangmak thaihphlngngandwybangxyang echn etaptikrn 81 echingxrrth aekikh 1 0 1 1 emuxthrabkhwameyuxngsunyklangkhxngwngokhcrkhxngwtthuni cuderimyukhthiaetktangknihwithiaekpyhathimisunyklangthidwngxathity irkarrbkwn aelaehmaasmthisudkbpyhasxngwtthukhxngkhabkarokhcrthiaetktangkn odyichcuderimyukh 1990 esdnamikhabkarokhcrxyuthi 12 100 pi 3 aetemuxichcuderimyukh 2017 esdnamikhabkarokhcrxyuthi 10 900 pi 2 sahrbwtthuthiwngokhcreyuxngmak phikdaebriesnetxrkhxngdwngxathitycaesthiyrmakkwaphikdthisunyklangdwngxathity 6 odyich JPL Horizons khabkarokhcrxingtamaebriesnetxrxyuthipraman 11 400 pi 4 khxmulemux 2014 update esdnaxyuthipraman 86 3 AU cakdwngxathity 10 xiris dawekhraahaekhrathimimwlmakthisud aela 2007 OR10 wtthuthiihythisudinrabbsuriyathiimmichux khnanixyuhangcakdwngxathitymakkwaesdnathi 96 4 AU aela 87 0 AU tamladb 14 xirisxyuiklkbcudthiiklthisud xyuhangcakdwngxathitymakthisud khnathiesdnakalngekhaiklcudthiiklthisudinpi 2619 xyuikldwngxathitymakthisud 11 esdnacaaesngxiris klayepnwtthuthiiklthisudinrabbsuriyainpi 2657 aetwtthuthixacepndawekhraahaekhraxyang 2007 OR10 aesngesdnaipidimnan aelacaaesngxirisinpi ph s 2588 11 3 0 3 1 dawekhraahaekhrathiepnipidxyang 2014 FE72 mikhabkarokhcrxyuthi 90 000 pi aelawtthurabbsuriyakhnadelk echn 308933 2006 SQ372 2005 VX3 87269 2000 OO67 2002 RN109 2007 TG422 aeladawhanghlaydwng echn dawhangihyaehngpi ph s 2120 miwngokhcrthiihykwaechnkn sahrbpraephthhlng echphaa 308933 2006 SQ372 87269 2000 OO67 aela 2007 TG422 micudiklthisudxyuiklkwawngokhcrdawphvhsbdi cungklayepnkhxthkethiyngknwawtthuehlanixacepndawhangthithukcdphidhmwdhmu opraekrmthirabbkarthanganaetktangkn kxacthaihidkhxmulthiaetktangkndwy odyichtaaehnnginpi ph s 2557 idkhxmulepnpi ph s 2619 2 thaichtaaehnnginpi ph s 2533 idkhxmulepn 2479282 9591 2075 12 11 khxmulemux 2010 update hruxpramanwnthi 16 krkdakhm ph s 2619 11 karsarwckhxngklxngothrthrrsnxwkashbebilphbwaimmidawdwngidthimwnxykwa 500 ethakhxngesdnaely brawnaelasuexr 2007 30 wtthuthimaepriybethiybkbesdna idaek 2015 DB216 wngokhcrphid 2000 OO67 2004 VN112 2005 VX3 2006 SQ372 2007 TG422 2007 DA61 2009 MS9 2010 GB174 2010 NV1 2010 BK118 2012 DR30 2012 VP113 2013 BL76 2013 AZ60 2013 RF98 2015 ER61 khasetirn elwisn L niyamkhunodyaexln setirnaelaaehorld exf elwisninpi ph s 2545 ichtdsinwawtthuidmiwngokhcrthiolngcakwtthukhnadelkodyrxbxun niyamodyxtraswnkhxngmwldwngxathity khuxmwlkhxngwtthuhardwymwlkhxngdwngxathity ykkalngsxngkbkungaeknexkkhxngwtthunnykkalng 3 2 khundwykhakhngtw 1 7 1016 70 see equation 4 thawtthunnmikha L makkwa 1 aesdngwawtthunnmiwngokhcrthiolngcakwtthuxun aelaxacthukphicarnathungkhwamepndawekhraah odyichmwlodypramanthisungekincringkhxngesdnathi 2 1021 kk kha L khxngesdna khux 2 1021 1 9891 1030 2 5193 2 1 7 1016 1 44 10 6 sungnxykwa 1 mak dngnnesdnaimichdawekhraahtamniyamnixangxing aekikh Discovery Circumstances Numbered Minor Planets 90001 95000 IAU Minor Planet Center subkhnemux 2008 07 23 2 0 2 1 2 2 2 3 2 4 2 5 2 6 JPL Small Body Database Browser 90377 Sedna 2003 VB12 2012 10 16 last obs khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 25 March 2016 subkhnemux 12 April 2016 Unknown parameter deadurl ignored help 3 0 3 1 Marc W Buie 2009 11 22 Orbit Fit and Astrometric record for 90377 Deep Ecliptic Survey subkhnemux 2006 01 17 4 0 4 1 4 2 4 3 4 4 4 5 4 6 Horizons output Barycentric Osculating Orbital Elements for 90377 Sedna 2003 VB12 subkhnemux 2011 04 30 Solution using the Solar System Barycenter and barycentric coordinates Select Ephemeris Type Elements and Center 0 Saved Horizons output file 2011 Feb 04 Archived copy khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2012 11 19 subkhnemux 2012 01 16 Unknown parameter deadurl ignored help CS1 maint archived copy as title link In the second pane PR can be found which gives the orbital period in days 4 15E 06 which is 11400 Julian years Malhotra Renu Volk Kathryn Wang Xianyu 2016 Corralling a distant planet with extreme resonant Kuiper belt objects The Astrophysical Journal Letters 824 2 L22 arXiv 1603 02196 Bibcode 2016ApJ 824L 22M doi 10 3847 2041 8205 824 2 L22 Kaib Nathan A Becker Andrew C Jones R Lynne Puckett Andrew W Bizyaev Dmitry Dilday Benjamin Frieman Joshua A Oravetz Daniel J Pan Kaike Quinn Thomas Schneider Donald P Watters Shannon 2009 2006 SQ372 A Likely Long Period Comet from the Inner Oort Cloud The Astrophysical Journal 695 1 268 275 arXiv 0901 1690 Bibcode 2009ApJ 695 268K doi 10 1088 0004 637X 695 1 268 7 0 7 1 7 2 7 3 7 4 Pal A Kiss C Muller T G Santos Sanz P Vilenius E Szalai N Mommert M Lellouch E Rengel M Hartogh P Protopapa S Stansberry J Ortiz J L Duffard R Thirouin A Henry F Delsanti A 2012 TNOs are Cool A survey of the trans Neptunian region VII Size and surface characteristics of 90377 Sedna and 2010 EK139 Astronomy amp Astrophysics 541 L6 arXiv 1204 0899 Bibcode 2012A amp A 541L 6P doi 10 1051 0004 6361 201218874 Case of Sedna s Missing Moon Solved Harvard Smithsonian Center for Astrophysics 2005 04 05 subkhnemux 2005 04 07 Stephen C Tegler 2006 01 26 Kuiper Belt Object Magnitudes and Surface Colors Northern Arizona University khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2006 09 01 subkhnemux 2006 11 05 Unknown parameter deadurl ignored help 10 0 10 1 AstDys 90377 Sedna Ephemerides Department of Mathematics University of Pisa Italy subkhnemux 2011 05 05 11 0 11 1 11 2 11 3 11 4 JPL Horizons On Line Ephemeris System 2010 07 18 Horizons Output for Sedna 2076 2114 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2012 02 25 subkhnemux 2010 07 18 Unknown parameter deadurl ignored help Horizons 12 0 12 1 Porter Simon 2018 03 27 TNO2018 Twitter subkhnemux 2018 03 27 13 0 13 1 Lakdawalla E 19 October 2016 DPS EPSC update 2007 OR10 has a moon The Planetary Society subkhnemux 2016 10 19 AstDys 136199 Eris Ephemerides Department of Mathematics University of Pisa Italy khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 4 June 2011 subkhnemux 2011 05 05 Unknown parameter deadurl ignored help 15 0 15 1 15 2 15 3 15 4 15 5 15 6 Mike Brown David Rabinowitz Chad Trujillo 2004 Discovery of a Candidate Inner Oort Cloud Planetoid Astrophysical Journal 617 1 645 649 arXiv astro ph 0404456 Bibcode 2004ApJ 617 645B doi 10 1086 422095 16 0 16 1 Cal Fussman 2006 The Man Who Finds Planets Discover khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 16 June 2010 subkhnemux 2010 05 22 Unknown parameter deadurl ignored help Chang Kenneth Ninth Planet May Exist Beyond Pluto Scientists Report New York Times 21 January 2016 page A1 MPEC 2004 E45 2003 VB12 IAU Minor Planet Center 2004 03 15 subkhnemux 2018 03 27 Michael E Brown 2012 How I Killed Pluto And Why It Had It Coming New York Spiegel amp Grau p 96 ISBN 978 0 385 53110 8 Michael E Brown 2012 How I Killed Pluto And Why It Had It Coming New York Spiegel amp Grau p 103 ISBN 978 0 385 53110 8 21 0 21 1 21 2 21 3 Brown Mike Sedna Caltech khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 25 July 2010 subkhnemux 2010 07 20 Unknown parameter deadurl ignored help 22 0 22 1 MPEC 2004 S73 Editorial Notice IAU Minor Planet Center 2004 subkhnemux 2010 07 18 Walker Duncan 2004 03 16 How do planets get their names BBC News subkhnemux 2010 05 22 MPC 52733 PDF Minor Planet Center 2004 subkhnemux 2010 08 30 Chadwick A Trujillo M E Brown D L Rabinowitz 2007 The Surface of Sedna in the Near infrared Bulletin of the American Astronomical Society 39 510 Bibcode 2007DPS 39 4906T 26 0 26 1 Trujillo Chadwick A S S Sheppard 2014 A Sedna like body with a perihelion of 80 astronomical units Nature 507 7493 471 474 Bibcode 2014Natur 507 471T doi 10 1038 nature13156 PMID 24670765 AstDys 90377 Sedna Ephemerides 2003 11 14 Department of Mathematics University of Pisa Italy subkhnemux 2008 05 05 28 0 28 1 Long View from a Lonely Planet Hubblesite STScI 2004 14 2004 subkhnemux 2010 07 21 Hubble Observes Planetoid Sedna Mystery Deepens Hubblesite STScI 2004 14 2004 subkhnemux 2010 08 30 30 0 30 1 Michael E Brown 2008 The largest Kuiper belt objects in M Antonietta Barucci Hermann Boehnhardt Dale P Cruikshank b k The Solar System Beyond Neptune pdf University of Arizona Press pp 335 345 ISBN 978 0 8165 2755 7 B Scott Gaudi Krzysztof Z Stanek Joel D Hartman Matthew J Holman Brian A McLeod 2005 On the Rotation Period of 90377 Sedna The Astrophysical Journal 629 1 L49 L52 arXiv astro ph 0503673 Bibcode 2005ApJ 629L 49G doi 10 1086 444355 32 0 32 1 AstDyS 2 Asteroids Dynamic Site subkhnemux 2018 12 26 Objects with distance from Sun over 59 AU W M Grundy K S Noll D C Stephens 2005 Diverse Albedos of Small Trans Neptunian Objects Submitted manuscript Icarus Lowell Observatory Space Telescope Science Institute 176 1 184 191 arXiv astro ph 0502229 Bibcode 2005Icar 176 184G doi 10 1016 j icarus 2005 01 007 John Stansberry Will Grundy Mike Brown Dale Cruikshank John Spencer David Trilling Jean Luc Margot 2008 Physical Properties of Kuiper Belt and Centaur Objects Constraints from Spitzer Space Telescope in M Antonietta Barucci Hermann Boehnhardt Dale P Cruikshank b k The Solar System Beyond Neptune pdf University of Arizona Press pp 161 179 arXiv astro ph 0702538v2 Bibcode 2008ssbn book 161S ISBN 978 0 8165 2755 7 Brown Michael E 2004 03 16 Characterization of a planetary sized body in the inner Oort cloud HST Proposal 10041 subkhnemux 2018 03 27 Hubble Observes Planetoid Sedna Mystery Deepens Space Telescope Science Institute 2004 04 14 subkhnemux 2018 03 27 Bannister Michelle 2018 03 27 TNO2018 Twitter subkhnemux 2018 03 27 38 0 38 1 38 2 Trujillo Chadwick A Brown Michael E Rabinowitz David L Geballe Thomas R 2005 Near Infrared Surface Properties of the Two Intrinsically Brightest Minor Planets 90377 Sedna and 90482 Orcus The Astrophysical Journal 627 2 1057 1065 arXiv astro ph 0504280 Bibcode 2005ApJ 627 1057T doi 10 1086 430337 CS1 maint ref harv link Sheppard Scott S 2010 The colors of extreme outer Solar System objects The Astronomical Journal 139 4 1394 1405 arXiv 1001 3674 Bibcode 2010AJ 139 1394S doi 10 1088 0004 6256 139 4 1394 40 0 40 1 40 2 J P Emery C M Dalle Ore D P Cruikshank Fernandez Y R Trilling D E Stansberry J A 2007 Ices on 90377 Sedna Conformation and compositional constraints PDF Astronomy and Astrophysics 406 1 395 398 Bibcode 2007A amp A 466 395E doi 10 1051 0004 6361 20067021 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim pdf emux 2010 06 09 Unknown parameter deadurl ignored help 41 0 41 1 M A Barucci D P Cruikshank E Dotto Merlin F Poulet F Dalle Ore C Fornasier S De Bergh C 2005 Is Sedna another Triton Astronomy amp Astrophysics 439 2 L1 L4 Bibcode 2005A amp A 439L 1B doi 10 1051 0004 6361 200500144 Hussmann Hauke Sohl Frank Spohn Tilman November 2006 Subsurface oceans and deep interiors of medium sized outer planet satellites and large trans neptunian objects PDF Icarus 185 1 258 273 Bibcode 2006Icar 185 258H doi 10 1016 j icarus 2006 06 005 Jewitt David Morbidelli Alessandro Rauer Heike 2007 Trans Neptunian Objects and Comets Saas Fee Advanced Course 35 Swiss Society for Astrophysics and Astronomy Berlin Springer p 86 arXiv astro ph 0512256v1 Bibcode 2005astro ph 12256M ISBN 978 3 540 71957 1 Lykawka Patryk Sofia Mukai Tadashi 2007 Dynamical classification of trans neptunian objects Probing their origin evolution and interrelation Icarus 189 1 213 232 Bibcode 2007Icar 189 213L doi 10 1016 j icarus 2007 01 001 S Alan Stern 2005 Regarding the accretion of 2003 VB12 Sedna and like bodies in distant heliocentric orbits The Astronomical Journal 129 1 526 529 arXiv astro ph 0404525 Bibcode 2005AJ 129 526S doi 10 1086 426558 subkhnemux 2010 08 05 Sheppard Scott S Jewitt David C 2005 Small Bodies in the Outer Solar System PDF Frank N Bash Symposium The University of Texas at Austin khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim PDF emux 2009 08 04 subkhnemux 2008 03 25 Unknown parameter dead url ignored help Brown Michael E 2004 Sedna and the birth of the solar system Bulletin of the American Astronomical Society 36 127 04 1553 Bibcode 2004AAS 20512704B 48 0 48 1 Transneptunian Object 90377 Sedna formerly known as 2003 VB12 The Planetary Society khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 25 November 2009 subkhnemux 2010 01 03 Unknown parameter deadurl ignored help 49 0 49 1 49 2 49 3 Morbidelli Alessandro Levison Harold F 2004 Scenarios for the Origin of the Orbits of the Trans Neptunian Objects 2000 CR105 and 2003 VB12 Sedna The Astronomical Journal 128 5 2564 2576 arXiv astro ph 0403358 Bibcode 2004AJ 128 2564M doi 10 1086 424617 50 0 50 1 Kenyon Scott J Bromley Benjamin C 2 December 2004 Stellar encounters as the origin of distant Solar System objects in highly eccentric orbits Submitted manuscript Nature 432 7017 598 602 arXiv astro ph 0412030 Bibcode 2004Natur 432 598K doi 10 1038 nature03136 PMID 15577903 The Challenge of Sedna Harvard Smithsonian Center for Astrophysics subkhnemux 2009 03 26 52 0 52 1 52 2 Gomes Rodney S Matese John J amp Lissauer Jack J 2006 A distant planetary mass solar companion may have produced distant detached objects Icarus 184 2 589 601 Bibcode 2006Icar 184 589G doi 10 1016 j icarus 2006 05 026 Lykawka P S Mukai T 2008 An Outer Planet Beyond Pluto and the Origin of the Trans Neptunian Belt Architecture Astronomical Journal 135 4 1161 arXiv 0712 2198 Bibcode 2008AJ 135 1161L doi 10 1088 0004 6256 135 4 1161 54 0 54 1 Schwamb Megan E 2007 Searching for Sedna s Sisters Exploring the inner Oort cloud PDF Caltech khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim PDF emux 2013 05 12 subkhnemux 2010 08 06 Unknown parameter deadurl ignored help Cite journal requires journal help Batygin Konstantin Brown Michael E 2016 Evidence for a Distant Giant Planet in the Solar System The Astronomical Journal 151 2 22 arXiv 1601 05438 Bibcode 2016AJ 151 22B doi 10 3847 0004 6256 151 2 22 Fesenmaier Kimm Caltech Researchers Find Evidence of a Real Ninth Planet subkhnemux 13 September 2017 Staff 25 April 2006 Evidence Mounts For Companion Star To Our Sun SpaceDaily subkhnemux 27 November 2009 Hills J G 1984 Dynamical constraints on the mass and perihelion distance of Nemesis and the stability of its orbit Nature 311 5987 636 638 Bibcode 1984Natur 311 636H doi 10 1038 311636a0 Nemesis is a myth Max Planck Institute 2011 subkhnemux 2011 08 11 Matese John J Whitmire Daniel P amp Lissauer Jack J 2006 A Widebinary Solar Companion as a Possible Origin of Sedna like Objects Earth Moon and Planets 97 3 4 459 470 Bibcode 2005EM amp P 97 459M doi 10 1007 s11038 006 9078 6 subkhnemux 2010 08 17 Ken Croswell Sun Accused of Stealing Planetary Objects from Another Star Scientific American Govert Schilling Grand Theft Sedna how the sun might have stolen a mini planet New Scientist 63 0 63 1 63 2 Schwamb Megan E Brown Michael E Rabinowitz David L 2009 A Search for Distant Solar System Bodies in the Region of Sedna The Astrophysical Journal Letters 694 1 L45 L48 arXiv 0901 4173 Bibcode 2009ApJ 694L 45S doi 10 1088 0004 637X 694 1 L45 JPL Small Body Database Browser 2012 VP113 2013 10 30 last obs Jet Propulsion Laboratory subkhnemux 2014 03 26 A new object at the edge of our Solar System discovered Physorg com 26 March 2014 IAU Minor Planet Center 2008 07 02 List of Centaurs and Scattered Disk Objects Central Bureau for Astronomical Telegrams Harvard Smithsonian Center for Astrophysics subkhnemux 2008 07 02 Gladman Brett J 2001 Evidence for an Extended Scattered Disk Observatoire de la Cote d Azur subkhnemux 2010 07 22 The Solar System Beyond The Planets Solar System Update Topical and Timely Reviews in Solar System Sciences Springer Praxis Ed 2006 ISBN 978 3 540 26056 1 Elliot J L Kern S D Clancy K B Gulbis A A S Millis R L Buie M W Wasserman L H Chiang E I Jordan A B aelakhna 2006 The Deep Ecliptic Survey A Search for Kuiper Belt Objects and Centaurs II Dynamical Classification the Kuiper Belt Plane and the Core Population The Astronomical Journal 129 2 1117 Bibcode 2005AJ 129 1117E doi 10 1086 427395 Stern S Alan amp Levison Harold F 2002 Regarding the criteria for planethood and proposed planetary classification schemes PDF Highlights of Astronomy 12 205 213 as presented at the XXIVth General Assembly of the IAU 2000 Manchester UK 7 18 August 2000 Bibcode 2002HiA 12 205S Brown Michael E The Dwarf Planets California Institute of Technology Department of Geological Sciences khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 29 February 2008 subkhnemux 2008 02 16 Unknown parameter deadurl ignored help Barucci M Morea Dalle Ore C Alvarez Candal A De Bergh C Merlin F Dumas C Cruikshank D 2010 90377 Sedna Investigation of surface compositional variation The Astronomical Journal 140 6 6 Bibcode 2010AJ 140 2095B doi 10 1088 0004 6256 140 6 2095 Rabinowitz Schaefer Tourtellotte 2011 SMARTS Studies of the Composition and Structure of Dwarf Planets Bulletin of the American Astronomical Society Vol 43 Malhotra 2010 On the Importance of a Few Dwarf Planets Bulletin of the American Astronomical Society Vol 41 Tancredi G Favre S 2008 Which are the dwarfs in the solar system PDF Asteroids Comets Meteors subkhnemux 2011 01 05 Michael E Brown Sep 23 2011 How many dwarf planets are there in the outer solar system updates daily California Institute of Technology khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2011 10 18 subkhnemux 2011 09 23 Unknown parameter deadurl ignored help Solar System Exploration Multimedia Gallery NASA khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2012 08 09 subkhnemux 2010 01 03 Unknown parameter deadurl ignored help Solar System Exploration Missions to Dwarf Planets NASA khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 9 August 2012 subkhnemux 11 November 2010 Unknown parameter deadurl ignored help McGranaghan R Sagan B Dove G Tullos A Lyne J E Emery J P 2011 A Survey of Mission Opportunities to Trans Neptunian Objects Journal of the British Interplanetary Society 64 296 303 Bibcode 2011JBIS 64 296M Siegel Ethan Is Humanity Ignoring Our First Chance For A Mission To An Oort Cloud Object Forbes phasaxngkvs subkhnemux 2018 07 13 Bramanti C Izzo D Samaraee T Walker R Fearn D 2009 04 01 Very high delta V missions to the edge of the solar system and beyond enabled by the dual stage 4 grid ion thruster concept Acta Astronautica phasaxngkvs 64 7 8 735 744 Bibcode 2009AcAau 64 735B doi 10 1016 j actaastro 2008 11 013 ISSN 0094 5765 aehlngkhxmulxun aekikhkhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb 90377 esdna How Sedna and family were captured in a close encounter with a solar sibling 9 mithunayn 2558 NASA s Sedna page khnphbphaphthay Mike Brown s Sedna page 90377 esdna thithankhxmulwtthukhnadelkkhxng JPL okhcrphanikl karkhnphb Ephemeris aephnphaphwngokhcr xngkhprakxbwngokhcr khakayphaphekhathungcak https th wikipedia org w index php title 90377 esdna amp oldid 8687932, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม