fbpx
วิกิพีเดีย

เซลล์รับแสง

เซลล์รับแสง (อังกฤษ: photoreceptor cell) เป็นเซลล์ประสาท (นิวรอน) พิเศษในจอประสาทตาที่มีสมรรถภาพในการถ่ายโอนแสงไปเป็นพลังประสาท ความสำคัญทางชีวภาพของเซลล์รับแสงก็คือความสามารถในการแปลงแสงที่เห็นได้ไปเป็นสัญญาณที่สามารถเร้ากระบวนการต่าง ๆ ทางชีวภาพ จะกล่าวให้ชัดเจนกว่านี้ก็คือ มีโปรตีนหน่วยรับแสงในเซลล์ที่ดูดซึมโฟตอน ซึ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงในความต่างศักย์ของเยื่อหุ้มเซลล์

เซลล์รับแสง
(Photoreceptor Cell)
ส่วนประกอบต่าง ๆ ของเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวย ซึ่งเป็นเซลล์ 2 ประเภทใน 3 ประเภทที่ไวแสงในจอประสาทตา
รายละเอียด
ที่ตั้งเรตินา
หน้าที่เซลล์ไวแสงที่เปลี่ยนพลังงานแสงไปเป็นพลังประสาทที่ส่งไปยังระบบประสาทกลางต่อไปเพื่อประมวลผล
ตัวระบุ
MeSHD010786
นิวโรเล็กซ์ IDsao226523927
ศัพท์กายวิภาคศาสตร์ของประสาทกายวิภาคศาสตร์
[แก้ไขบนวิกิสนเทศ]

เซลล์รับแสงแบบคลาสิกก็คือเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวย แต่ละอย่างล้วนแต่ให้ข้อมูลที่ใช้ในระบบการมองเห็นเพื่อสร้างแบบจำลองของโลกภายนอกที่เห็นทางตา เซลล์รูปแท่งนั้นบางกว่าเซลล์รูปกรวย และมีความกระจัดจายไปในจอประสาทตาที่แตกต่างกัน แม้ว่า กระบวนการเคมีที่ถ่ายโอนแสงไปเป็นพลังประสาทนั้นคล้ายคลึงกัน มีการค้นพบเซลล์รับแสงประเภทที่สามในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ซึ่งก็คือ photosensitive retinal ganglion cell เป็นเซลล์ที่ไม่ได้มีส่วนให้เกิดการเห็นโดยตรง แต่เชื่อกันว่า มีส่วนช่วยในระบบควบคุมจังหวะรอบวัน (circadian rhythms) และปฏิกิริยาปรับรูม่านตาแบบรีเฟล็กซ์

เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยมีหน้าที่แตกต่างกัน คือ เซลล์รูปแท่งไวแสงเป็นพิเศษ มีปฏิกิริยาต่อโฟตอนเพียงแค่ 6 อนุภาค ดังนั้น ในที่มีระดับแสงต่ำ การเห็นเกิดจากสัญญาณที่มาจากเซลล์รูปแท่งเท่านั้น ซึ่งอธิบายว่า ทำไมเราจึงไม่สามารถเห็นภาพสีได้ในที่สลัว ซึ่งก็คือเพราะมีแต่เซลล์รูปแท่งเท่านั้นที่ทำงานได้ในระดับแสงนั้น และเซลล์รูปกรวยเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเห็นภาพสี

ส่วนเซลล์รูปกรวยต้องใช้แสงระดับที่สูงกว่ามาก (คือต้องมีโฟตอนมากระทบมากกว่า) ก่อนที่จะเกิดการทำงาน ในมนุษย์ มีเซลล์รูปกรวยสามประเภท จำแนกโดยการตอบสนองต่อความยาวคลื่นแสงที่ต่าง ๆ กัน การเห็นสี (ในภาพ) เป็นการประมวลผลจากสัญญาณที่มาจากเซลล์รูปกรวยสามประเภทเหล่านี้ โดยน่าจะผ่านกระบวนการ opponent process เซลล์รูปกรวยสามอย่างนี้ตอบสนอง (โดยคร่าว ๆ) ต่อแสงที่มีความยาวคลื่นขนาดสั้น (S) ขนาดกลาง (M) และขนาดยาว (L) ให้สังเกตว่า การยิงสัญญาณของเซลล์รับแสงนั้นขึ้นอยู่เพียงกับจำนวนโฟตอนที่ได้รับเท่านั้น (กำหนดโดยทฤษฎี principle of univariance) ส่วนการตอบสนองที่ต่าง ๆ กันของเซลล์รูปกรวยขึ้นอยู่กับความเป็นไปได้ของโปรตีนรับแสงของเซลล์ที่จะดูดซึมแสงที่ความยาวคลื่นนั้น ๆ ยกตัวอย่างเช่น เซลล์รูปกรวยแบบ L มีโปรตีนรับแสงที่ดูดซึมแสงที่มีความยาวคลื่นขนาดยาว (หรือออกสีแดง ๆ) แม้ว่า แสงที่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าอาจจะทำให้เกิดการตอบสนองในระดับเดียวกัน แต่จะต้องเป็นแสงที่สว่างกว่ามาก

จอประสาทตามมนุษย์มีเซลล์รูปแท่งประมาณ 120 ล้านเซลล์ และมีเซลล์รูปกรวยประมาณ 6 ล้านเซลล์ สัตว์ต่าง ๆ สปีชีส์มีอัตราส่วนของเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่า เป็นสัตว์กลางวันหรือสัตว์กลางคืน นอกจากเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยแล้ว ยังมี retinal ganglion cell (ตัวย่อ RGC) ประมาณ 1.5 เซลล์ในมนุษย์ และมี 1-2% ที่ไวแสง

บทความนี้กล่าวถึงเซลล์รับแสงของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เซลล์รับแสงของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่นแมลงและมอลลัสกามีความแตกต่างจากสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งในโครงสร้างและในกระบวนการเคมีชีวภาพ

กายวิภาค

กายวิภาคของเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยนั้นแตกต่างกัน ซ้ายเป็นเซลล์รูปแท่ง ขวาเป็นเซลล์รูปกรวย

ในมนุษย์ เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยอยู่ที่ส่วนนอกสุดของจอประสาทตา (ด้านหลังสุดของตา) และมีโครงสร้างโดยพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน ส่วนที่ไกลจากสมองที่สุด เป็นส่วนสุดของแอกซอน (axon terminal) ซึ่งปล่อยสารสื่อประสาท "กลูตาเมต" ไปสู่ bipolar cell ส่วนเถิบต่อไปทางสมองเป็นตัวเซลล์ ซึ่งมีออร์แกเนลล์ของเซลล์ ส่วนเถิบต่อไปเรียกว่า inner segment ซึ่งเป็นส่วนมีหน้าที่พิเศษเต็มไปด้วยไมโทคอนเดรีย หน้าที่หลักของส่วนนี้ก็คือผลิต ATP ใช้เป็นพลังงานสำหรับการปั้มโซเดียมโพแทสเซียมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ส่วนสุดท้ายที่ใกล้สมองที่สุดเรียกว่า outer segment ซึ่งเป็นส่วนที่ดูดซึมแสง ส่วนนี้จริง ๆ แล้วเป็นซีเลียดัดแปลง ประกอบด้วยจาน (disc) เต็มไปด้วยหน่วยรับความรู้สึกประเภท opsin ซึ่งเป็นโปรตีนที่ดูดซึมโฟตอน และเต็มไปด้วยประตูโซเดียมเปิดปิดโดยความต่างศักย์ (voltage-gated sodium channel)

โปรตีนรับแสงที่อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์ที่เรียกว่า opsin มีโมเลกุลรงควัตถุที่เรียกว่า retinal และในเซลล์รูปแท่ง โปรตีนนี้รวมกับรงควัตถุเรียกว่า rhodopsin ส่วนในเซลล์รูปรวย มี opsin หลายประเภทที่รวมตัวกับ retinal เป็นรงควัตถุที่เรียกว่า photopsin ซึ่งแบ่งออกเป็นสามประเภท และมีปฏิกิริยาต่อแสงความถี่ต่าง ๆ กัน เป็นความต่างที่ยังระบบการมองเห็นให้สามารถแยกแยะสีได้ หน้าที่ของเซลล์รับแสงก็คือการเปลี่ยนพลังงานแสงจากโฟตอนให้เป็นพลังงานที่ใช้สื่อสารได้ในระบบประสาท เป็นการแปลงถ่ายพลังงานที่เรียกว่า การถ่ายโอนสัญญาณ (signal transduction)

ส่วนโปรตีน opsin ที่อยู่ใน retinal ganglion cell ไวแสง มีบทบาทในการตอบสนองแบบรีเฟล็กซ์ของสมองและร่างกายต่อแสง เช่นการควบคุมจังหวะรอบวัน (circadian rhythm) รีเฟล็กซ์รูม่านตา (pupillary reflex) และการตอบสนองประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ได้ทำให้เกิดการเห็น เป็นโปรตีนที่เรียกว่า melanopsin ซึ่งมีน้อยในสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นโปรตีนที่มีหน้าที่คล้ายกับ opsin ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นประเภทหนึ่งของ opsin ซึ่งเป็นหน่วยรับความรู้สึกแบบ G-protein-coupled receptor ประเภท retinylidene protein

เมื่อแสงสว่างทำปฏิกิริยากับระบบส่งสัญญาณของ melanopsin, retinal ganglion cell (ตัวย่อ RGC) ที่ประกอบด้วย melanopsin ก็จะปล่อยพลังประสาทผ่านแอกซอนไปยังเป้าหมายเฉพาะต่าง ๆ ในสมอง รวมทั้งนิวเคลียส olivary pretectal nucleus (ศูนย์ที่มีหน้าที่ควบคุมรูม่านตา), lateral geniculate nucleus (ตัวย่อ LGN) และนิวเคลียส suprachiasmatic nucleus ของไฮโปทาลามัส (ซึ่งทำหน้าที่เป็นนาฬิกาหลักของระบบจังหวะรอบวัน) ตัว RGC ที่ประกอบด้วย melanopsin เชื่อกันว่ามีออกฤทธิ์ต่อนิวเคลียสเป้าหมาย โดยปล่อยสารสื่อประสาทกลูตาเมต และ pituitary adenylate cyclase activating polypeptide (PACAP) ที่ไซแนปส์

มนุษย์

 
ความยาวคลื่นแสงที่เซลล์รับแสงมนุษย์ดูดซึม เป็นค่าแจกแจงปกติ (normalized) เป็นค่าสำหรับเซลล์รูปกรวย 3 ชนิด และเซลล์รูปแท่ง
 
ภาพแสดงการกะจายของเซลล์รูปกรวยในรอยบุ๋มจอตาในจอประสาทตาของบุคคลที่เห็นสีเป็นปกติ (ซ้าย) และผู้ที่มีตาบอดสี (ขวา) ให้สังเกตว่าที่ตรงกลางของรอยบุ๋มมีเซลล์รูปกรวยไวแสงสีน้ำเงินน้อยมาก
 
การกระจายตัวของเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยในแนวที่ผ่านรอยบุ๋มจอตา (fovea) และจุดบอด (blind spot) ของตามนุษย์

จอประสาทตามนุษย์มีเซลล์รูปกรวยประมาณ 6 ล้านตัวและเซลล์รูปแท่ง 120 ล้านตัว ข้อมูลที่ส่งไปจากเซลล์ประสาททั้งสองไปรวมกันที่เซลล์ RGC และ bipolar cell เพื่อการแปลผลก่อนที่จะส่งต่อไปยัง lateral geniculate nucleus ในทาลามัส ส่วนตรงกลางขอจอประสาทตา (คือส่วนที่ตรงกับตรงกลางของเลนส์ตา) เป็นรอยบุ๋มจอตา (fovea) ซึ่งมีแต่เซลล์รูปกรวย และเป็นส่วนที่ทำให้เกิดการเห็นที่ชัดที่สุดที่ละเอียดที่สุด ส่วนที่เหลือของเรตินามีทั้งเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยอยู่ปนกันไป แต่ไม่มีเซลล์รับแสงอะไร ๆ ที่จุดบอด ซึ่งเป็นเขตที่ใยประสาทของ RGC รวมตัวเป็นเส้นประสาทตา (optic nerve) แล้วออกจากลูกตา

โปรตีนรับแสงของเซลล์รูปกรวยสามประเภทแตกต่างกันในความไวต่อโฟตอนของแสงมีความยาวคลื่นต่าง ๆ กัน (ดูรูป) เพราะว่า เซลล์รูปกรวยตอบสนองทั้งต่อความยาวคลื่น (wavelength) และทั้งต่อความเข้ม (intensity) ของแสง จึงต้องวัดความไวต่อความยาวคลื่นโดยอัตราการตอบสนองสัมพัทธ์ (relative rate) ของเซลล์ เมื่อค่าความเข้มแสงคงที่ และค่าความยาวคลื่นเป็นตัวแปร แล้วจึงจะได้ค่าอนุมานของ absorbance (การดูดกลืนแสง) กราฟที่เห็นแสดงค่าดูดกลืนแสงโดยแจกแจงทำให้เป็นบรรทัดฐานที่ 100 (normalized) ยกตัวอย่างเช่น เซลล์รูปกรวย S (ที่ดูดซึมแสงสั้น) ตอบสนองในระดับสูงสุดที่ความยาวคลื่น 420 นาโนเมตร ซึ่งบอกเราว่า เซลล์ชนิดนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะดูดกลืนโฟตอนที่ 420 นาโนเมตรสูงกว่าความยาวคลื่นอื่น ๆ แต่ว่า ถ้าแสงมีความยาวคลื่นต่างจากระดับนั้น เช่นที่ 480 นาโนเมตร แต่ว่ามีระดับแสงที่เข้มขึ้น เซลล์นั้นก็จะตอบสนองในระดับเดียวกัน ดังนั้น เส้นโค้งในกราฟอาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ เพราะว่า เซลล์รูปกรวยจริง ๆ ไม่สามารถตรวจจับสีโดยเพียงลำพัง แต่ว่า การเห็นสีจะต้องอาศัยการเปรียบเทียบสัญญาณจากเซลล์รูปกรวยประเภทต่าง ๆ

การถ่ายโอนแสง

กระบวนการถ่ายโอนแสง (phototransduction) นั้นเกิดขึ้นที่จอประสาทตา ซึ่งประกอบด้วยเซลล์ประสาทเป็นชั้น ๆ เซลล์รับแสง คือเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวย อยู่ในชั้นในสุด ส่วนชั้นกลาง ๆ มี bipolar cell ซึ่งรับสัญญาณประสาทมาจากเซลล์รับแสงแล้วส่งข้อมูลต่อไปยังชั้นนอกสุดของจอประสาทตา ซึ่งเป็นชั้นที่ retinal ganglion cell (ตัวย่อ RGC) ประมวลผลสัญญาณแล้วจึงส่งต่อไปให้สมอง โดยส่งผ่านแอกซอนของ RGC ที่รวมตัวกันเป็นเส้นประสาทตาแล้วออกจากตาผ่านช่องในเรตินาซึ่งอยู่ที่จุดบอด

การทำงานของเซลล์รับแสงเป็นแบบ hyperpolarization (ไม่เหมือนเซลล์ประสาททั่ว ๆ ไปซึ่งทำงานแบบ depolarization) คือในขณะที่ไม่มีสิ่งเร้า เซลล์จะอยู่ในภาวะ depolarization และจะปล่อยสารสื่อประสาท "กลูตาเมต" ออกมาอย่างต่อเนื่อง ในที่มืด เซลล์มี cyclic guanosine 3'-5' monophosphate (cGMP) ในระดับความเข้มข้นสูง มีผลเป็นการเปิดประตูไอออน (ion channel) ให้โซเดียม (และแคลเซียมแม้จะไม่เป็นตัวหลัก) เข้ามาในเซลล์ได้ ชาร์จไอออนขั้วบวกที่ไหลเข้ามาในเซลล์เปลี่ยนความต่างศักย์ของเซลล์ก่อให้เกิด depolarization ซึ่งส่งผลให้เกิดการหลั่งสารสื่อประสาทกลูตาเมต ซึ่งอาจจะมีผลเป็น hyperpolarization หรือ depolarization สำหรับเซลล์ที่รับสัญญาณสืบ ๆ ไป

เมื่อแสงวิ่งเข้ามากระทบสารรงควัตถุไวแสงที่อยู่ในเซลล์รับแสง สารรงควัตถุนั้นจะเปลี่ยนรูปร่าง สารรงควัตถุนั้นเรียกว่า iodopsin หรือ rhodopsin และประกอบด้วยโปรตีนขนาดใหญ่เรียกว่า opsin (ซึ่งอยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์) ซึ่งเชื่อมอยู่กับกลุ่มโมเลกุล prosthetic group ที่ยึดอยู่ด้วยกันผ่านพันธะโคเวเลนซ์ รวมกันเป็นโมเลกุลอินทรีย์ที่เรียกว่า retinal (ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของวิตามินเอ) retinal มีสภาพเป็น 11-cis-retinal เมื่ออยู่ในที่มืด และเมื่อมีการกระตุ้นจากแสงก็จะเปลี่ยนสภาพไปเป็น all-trans-retinal ความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างนี้จะเริ่มการทำงานของโปรตีนควบคุมเรียกว่า transducin ซึ่งเริ่มการทำงานของเอนไซม์ cGMP phosphodiesterase ซึ่งสลาย cGMP ออกเป็น 5'-GMP การริวดิวซ์ cGMP อย่างนี้ทำให้ประตูไอออนปิด ห้ามการไหลเข้าของไอออนบวก ซึ่งมีผลให้เซลล์เปลี่ยนสภาพเป็น hyperpolarization แล้วหยุดการปล่อยสารสื่อประสาท ขั้นตอนต่าง ๆ ทั้งหมดเริ่มต้นตั้งแต่แสงมากระทบที่เรตินา ซึ่งในที่สุดมีผลเป็นการตอบสนองของระบบรับรู้ เรียกว่า visual phototransduction

Dark current

เมื่อไม่มีสิ่งเร้า (ในที่มืด) ประตูไอออนที่เปิดปิดโดย cyclic-nucleotide ในส่วน outer segment ของเซลล์รับแสง จะเปิดอยู่เพราะว่า cyclic GMP (cGMP) ยึดอยู่กับประตูนั้น ดังนั้น ไอออนบวก (คือ ไอออนโซเดียม) ก็จะไหลเข้ามาในเซลล์รับแสง ทำให้เกิดภาวะ depolarization ในระดับ −40 mV (ในขณะที่ความต่างศักย์ในระดับพัก คือ resting potential ในเซลล์ประเภทอื่น ๆ อยู่ที่ −65 mV) กระแสไฟฟ้าที่มีผลเป็นสภาพ depolarization นี้เรียกว่า dark current (กระแสไฟฟ้าในที่มืด)

Signal transduction pathway

 
การดูดกลืนแสงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโมเลกุล retinal ไปเป็นอีกไอโซเมอร์หนึ่ง

กระบวนการถ่ายโอนสัญญาณ (signal transduction pathway) เป็นกลไกที่พลังงานของโฟตอนเริ่มการทำงานของเซลล์มีผลเป็นการเปลี่ยนความต่างศักย์ (hyperpolarization) โดยที่สุด ซึ่งก็จะมีผลเป็นการส่งหรือการห้ามการส่งสัญญาณประสาท ซึ่งส่งต่อไปยังสมองผ่านเส้นประสาทตา กระบวนการถ่ายโอนสัญญาณของเซลล์รับแสงในสัตว์มีกระดูกสันหลังมีดังนี้

  1. rhodopsin หรือ iodopsin ที่เยื่อหุ้ม disc ใน outer segment ของเซลล์ดูดกลืนโฟตอน มีผลให้ Schiff base cofactor ของ retinal เปลี่ยนแบบจาก cis-form เป็น trans-form ทำให้ retinal เปลี่ยนรูปร่างไป
  2. ผลที่ตามมาก็คือความเปลี่ยนรูปไปเป็นสารต่าง ๆ ที่ไม่มีเสถียรภาพไปตามลำดับ แต่ตัวสุดท้ายจะสร้างพันธะที่มีกำลังกับ G protein ที่เยื่อหุ้มที่มีชื่อว่า transducin และจะเริ่มปฏิกิริยาของโปรตีนนี้ นี้เป็นการขยายสัญญาณในระดับแรก เพราะว่า rhodopsin แต่ละหน่วยที่เกิดการทำงานเพราะแสงจะนำไปสู่การทำงานของ transducin 100 หน่วย
  3. transducin แต่ละหน่วยจะเริ่มการทำงานของเอนไซม์ cGMP-specific phosphodiesterase (PDE)
  4. PDE จะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการสลายตัวด้วยน้ำ (hydrolysis) ของ cGMP ไปเป็น 5' GMP ซึ่งเป็นการขยายสัญญาณในระดับที่สอง เพราะว่า PDE แต่ละหน่วยจะก่อให้เกิดการสลายตัวด้วยน้ำใน cGMP 1,000 โมเลกุล
  5. ระดับความเข้มข้นสุทธิของ cGMP ที่อยู่ในเซลล์จะลดลง (เพราะมีการแปลง cGMP ไปเป็น 5' GMP โดย PDE) มีผลเป็นการปิดประตูไอออน Na+ ที่เปิดปิดด้วย cyclic nucleotide (cyclic nucleotide-gated Na+ ion channel) ซึ่งอยู่ที่เยื่อหุ้มของ outer segment ของเซลล์รับแสง
  6. และดังนั้น ไอออนโซเดียมจะไม่สามารถไหลเข้ามาในเซลล์อีกต่อไป และเยื่อหุ้ม outer segment ของเซลล์รับแสงก็จะเปลี่ยนภาวะไปเป็น hyperpolarization เพราะว่าประจุไฟฟ้าภายในเยื่อหุ้มมีขั้วลบเพิ่มขึ้น
  7. ความเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ของเยื่อหุ้มเซลล์ก็จะมีผลเป็นการปิดประตูแคลเซียมซึ่งเปิดปิดโดยความต่างศักย์ และนำไปสู่การระงับการไหลเข้าของไอออนแคลเซียมเข้ามาในเซลล์ และดังนั้น ระดับความเข้มของไอออนแคลเซียมภายในเซลล์ก็จะลดลง
  8. เมื่อระดับความเข้มของไอออนแคลเซียมภายในเซลล์ลดลง เซลล์ก็จะปล่อยสารสื่อประสาทกลูตาเมตผ่านกระบวนการ exocytosis ไปยัง bipolar cell ลดลง (ซึ่งอาจจะมีผลเป็นการกระตุ้นหรือการยับยั้ง bipolar cell ที่อยู่หลังไซแนปส์)
  9. การลดระดับลงของการปล่อยกลูตาเมตจะทำให้ bipolar cell บางกลุ่มเปลี่ยนสภาพเป็น depolarization และบางกลุ่มจะเปลี่ยนสภาพเป็น hyperpolarization ขึ้นอยู่กับหน่วยรับความรู้สึกที่มีปฏิกิริยาต่อสารสื่อประสาทหลังไซแนปส์

ดังนั้น ให้สังเกตว่า ทั้งเซลล์รูปแท่งเซลล์รูปกรวยลดระดับการปล่อยสารสื่อประสาทเมื่อมีการกระตุ้นโดยแสง ซึ่งอาจจะกระตุ้น (มีผลเป็น depolarizatioin) หรือยับยั้ง (มีผลเป็น hyperpolarization) ใน bipolar cell ที่เซลล์รับแสงเชื่อมไซแนปส์ ขึ้นอยู่กับหน่วยรับความรู้สึกของ bipolar cell ความยืดหยุ่นได้อย่างนี้เป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในการสร้างโครงสร้างแบบ on-centre และ off-centre[ต้องการอ้างอิง]

เซลล์ส่วน inner segment ให้สาร ATP เพื่อเป็นพลังงานกับการปั้มโซเดียมโพแทสเซียม ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญเพื่อตั้งสภาพเริ่มต้นของ outer segment ขึ้นใหม่โดยสูบไอออนโซเดียมที่ไหลเข้ามาในเซลล์ออกไปนอกเซลล์

แม้ว่าเซลล์รับแสงจะเป็นเซลล์ประสาท แต่เป็นเซลล์ประสาทที่ไม่ส่งศักยะงาน (action potential) ยกเว้นแต่ RGC ไวแสง (photosensitive ganglion cell) ซึงมีหน้าที่หลักในการควบคุมจังหวะรอบวัน (circadian rhythms), melatonin, และการปรับรูม่านตา

ข้อได้เปรียบ

การถ่ายโอนแสงในเซลล์รับแสงไม่เหมือนใคร คือ ตัวกระตุ้น (ในที่นี่คือแสง) กลับลดระดับการตอบสนองของเซลล์ (คืออัตราการยิงสัญญาณ) ซึ่งเป็นการตอบสนองที่ไม่ทั่วไปในระบบรับความรู้สึก ซึ่งโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว ตัวกระตุ้นจะเพิ่มการตอบสนองของเซลล์ อย่างไรก็ดี กระบวนการเช่นนี้มีข้อได้เปรียบที่สำคัญหลายอย่าง

ข้อที่หนึ่ง เซลล์รับแสงมีสภาพ depolarization ในที่มืด ซึ่งก็หมายความว่า ไอออนโซเดียมมากมายจะไหลเข้ามาในเซลล์ ดังนั้น การเปิดปิดประตูโซเดียมที่เกิดขึ้นเองจะไม่มีผลต่อความต่างศักย์ของเยื่อหุ้มเซลล์ และการปิดประตูเป็นจำนวนมากที่เนื่องมาจากการดูดกลืนโฟตอนของแสงเท่านั้น ที่จะมีผลเป็นการส่งสัญญาณว่า มีแสงภายในลานสายตา ดังนั้น กระบวนการเช่นนี้จะปราศจากสัญญาณรบกวน

ข้อที่สอง มีการขยายสัญญาณในระดับสูงแบ่งเป็นสองขั้นในการถ่ายโอนแสง คือ สารรงควัตถุ (pigment) จะปลุกฤทธิ์ของ transducin เป็นจำนวนหลายโมเลกุล และ PDE แต่ละตัวจะก่อให้เกิดการสลายตัวของ cGMP หลายตัว เพราะมีการขยายสัญญาณอย่างนี้ การดูดกลืนโฟตอนเพียงแค่อนุภาคเดียวก็จะมีผลต่อความต่างศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้เกิดการส่งข้อมูลไปยังสมองว่า มีแสงอยู่ภายในลานสายตา นี่เป็นจุดแตกต่างที่สำคัญระหว่างเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยซึ่งล้วนแต่เป็นเซลล์รับแสง คือ เซลล์รูปแท่งไวแสงมากและสามารถรับรู้ถึงโฟตอนแม้เพียงอนุภาคเดียว ซึ่งไม่เหมือนกับเซลล์รูปกรวย ส่วนเซลล์รูปกรวยมีอัตราการขยายสัญญาณในระหว่างการถ่ายโอนสัญญาณที่รวดเร็วมาก ซึ่งไม่เหมือนเซลล์รูปแท่ง

ความต่างกันระหว่างเซลล์รูปกรวยและเซลล์รูปแท่ง

การเปรียบเทียบเซลล์รูปกรวยและเซลล์รูปแท่งต่อไปนี้ มาจากหนังสือ Principles of Neural Science (หลักประสาทวิทยาศาสตร์) ของ ศ. อีริก แคนเดิล ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์ในงานวิจัยเกี่ยวกับพื้นฐานทางสรีรภาพในการบันทึกความจำในนิวรอน

เซลล์รูปแท่ง เซลล์รูปกรวย
ให้เกิดการเห็นใต้แสงสลัว (scotopic vision) ให้เกิดการเห็นใต้ใต้แสงเข้ม (photopic vision)
ไวแสงมาก แม้แต่ต่อแสงที่กระจัดกระจาย ไม่ไวแสงมาก ไวต่อแสงตรง ๆ เท่านั้น
ถ้าเสียจะทำให้ตาบอดมืด ถ้าเสียจะทำให้ตาบอดตามกฎหมาย
มองเห็นได้ไม่ชัด มองเห็นได้ชัด มีรายละเอียดสูง
ไม่มีในรอยบุ๋มจอตา หนาแน่นที่สุดในรอยบุ๋มจอตา
ตอบสนองต่อแสงช้าโดยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ตอบสนองต่อแสงได้เร็ว สามารถเห็นภาพที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
มีสารรงควัตถุมากกว่า จึงสามารถเห็นในที่สลัว มีสารรงควัตถุน้อยกว่า จึงต้องใช้แสงมากกว่าเพื่อจะเห็น
จาน (disk) ตั้งอยู่ภายในเยื่อหุ้ม ไม่ได้ยึดอยู่กับเยื่อหุ้มเซลล์โดยตรง จานยึดไว้กับเยื่อหุ้มเซลล์
มีประมาณ 120 ล้านเซลล์ในจอประสาทตาแต่ละข้าง มีประมาณ 6 ล้านเซลล์ในจอประสาทตา
มีสารรงควัตถุประเภทเดียว มีสารรงควัตถุ 3 ประเภทในมนุษย์
ทำให้เกิดการเห็นปราศจากสี ทำให้เกิดการเห็นภาพสี

หน้าที่

เซลล์รับแสงไม่ได้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับสีโดยตรง แต่ส่งสัญญาณว่ามีแสงอยู่ในลานสายตา

เซลล์รับแสงหนึ่ง ๆ จะตอบสนองต่อทั้งความยาวคลื่นและความเข้มของแสง ยกตัวอย่างเช่น การตอบสนองของเซลล์รับแสงหนึ่งต่อแสงสีแดงที่มีความเข้มระดับหนึ่ง อาจจะเหมือนกันกับการตอบสนองต่อแสงสีเขียวที่มีความเข้มอีกระดับหนึ่ง ดังนั้น การตอบสนองของเซลล์รับแสงหนึ่ง ๆ ไม่ได้บอกอย่างชัดเจนว่าเห็นสีอะไร

ดังนั้น เพื่อจะระบุสี ระบบการมองเห็นต้องเปรียบเทียบการตอบสนองของกลุ่มเซลล์รับแสงต่าง ๆ คือโดยเฉพาะแล้ว จากกลุ่มเซลล์รูปกรวย 3 ประเภทที่ดูดกลืนแสงที่มีความยาวคลื่นต่าง ๆ กัน และเพื่อที่จะระบุความเข้มแสง ระบบการมองเห็นต้องคำนวณว่ามีเซลล์รับแสงกี่ตัวที่กำลังทำการตอบสนอง นี้เป็นกลไกที่ทำให้เกิดการเห็นโดย 3 สีหลัก (trichromacy) ในทั้งมนุษย์และในสัตว์อื่น ๆ บางชนิด

พัฒนาการ

กระบวนการพัฒนาการเป็นเซลล์รูปแท่ง เซลล์รูปกรวยแบบ S และเซลล์รูปกรวยแบบ M เริ่มจากแฟกเตอร์การถอดรหัส (transcription factor) หลายอย่าง รวมทั้ง RORbeta, OTX2, NRL, CRX, NR2E3 และ TRbeta2. โดยทั่วไปแล้ว เซลล์เบื้องต้นจะเจริญเป็นเซลล์รูปกรวยแบบ S โดยปริยาย แต่เหตุการณ์การถอดรหัสต่าง ๆ สามารถทำให้เจริญเป็นเซลล์รูปแท่งหรือเซลล์รูปกรวยแบบ M แม้ว่า เซลล์รูปกรวยแบบ L จะมีอยู่ในสัตว์อันดับวานร แต่ว่า การพัฒนาการของเซลล์ไม่เป็นที่รู้จักกันดีเนื่องจากว่าสัตว์ทดลองที่ใช้เป็นสัตว์อันดับสัตว์ฟันแทะที่ไม่มีเซลล์ชนิดนี้ มี 5 ขั้นตอนในการพัฒนาเป็นเซลล์รับแสง คือ

  1. การแพร่ขยายของ retinal progenitor cell (เซลล์บรรพบุรุษ, เซลล์เบื้องต้น, ตัวย่อ RPC) ที่สามารถพัฒนาเป็นเซลล์ได้หลายชนิด
  2. restriction of competence of RPCs;
  3. การกำหนดชะตาของเซลล์ (cell fate specification)
  4. การแสดงออกของยีนเป็นเซลล์รับแสง
  5. และขั้นสุดท้ายคือการงอกออกของแอกซอน การตั้งไซแนปส์ และการเจริญของส่วน outer segment

ในส่วนเบื้องต้น Notch signaling pathway จะทำให้เกิดการหมุนเวียนของเซลล์บรรพบุรุษ (progenitor cycling) เพราะฉะนั้น เซลล์รับแสงตั้งต้น (Photoreceptor precursor) จะเกิดขึ้นได้ก็เมื่อเกิดการยับยั้ง Notch signaling pathway และมีการทำงานในระดับที่สูงขึ้นของกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้งกลุ่มยีน achaete-scute complex (หรือ achaete-scute homologue) ส่วน แฟกเตอร์ OTX2 กำหนดชะตาเซลล์ให้เป็นเซลล์รับแสง ส่วน CRX กำหนดยีนของเซลล์รับแสงที่จะเกิดการแสดงออก ส่วนการแสดงออกของ NRL กำหนดชะตาของเซลล์ให้เป็นเซลล์รูปแท่ง ส่วน NR2E3 ทำการกำหนดชะตาเป็นเซลล์รูปแท่งให้มั่นคงยิ่งขึ้นโดยห้ามการแสดงออกของยีนเซลล์รูปกรวย ส่วนแฟกเตอร์ RORbeta ใช้ในการพัฒนาทั้งของเซลล์รูปแท่งและทั้งของเซลล์รูปกรวย ส่วน TRbeta2 กำหนดชะตาให้เป็นเซลล์รูปกรวยแบบ M ถ้าเอาออกแฟกเตอร์ใดแฟกเตอร์หนึ่งที่กล่าวมาแล้ว ชะตาโดยปริยายของเซลล์ก็คือเซลล์รูปกรวยแบบ S ให้สังเกตว่าขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่าง ๆ กันสำหรับสัตว์สปีชีส์ต่าง ๆ กัน ผ่านกระบวนการซับซ้อนต่าง ๆ ที่มีผลเป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน ถ้าตัวควบคุมกระบวนการเหล่านี้เกิดความเสียหาย โรค retinitis pigmentosa จอตาเสื่อมที่จุดภาพชัด (macular degeneration) และความผิดปกติทางตาอย่างอื่นอาจเกิดขึ้น

การส่งสัญญาณ

เซลล์รับแสงส่งข้อมูลเกี่ยวกับการดูดกลืนโฟตอนโดยลดระดับการปล่อยสารสื่อประสาทกลูตาเมตที่ไซแนปส์ที่เชื่อมกับ bipolar cell เพราะว่ามีสภาพเป็น depolarization ในที่มืด คือจะมีการปล่อยกลูตาเมตเป็นจำนวนมากไปยัง bipolar cell ในที่มืด การดูดกลืนโฟตอนหนึ่ง ๆ จะมีผลให้เกิดสภาพ hyperpolarization ในเซลล์รับแสง และดังนั้นจึงมีผลเป็นการลดระดับการปล่อยกลูตาเมตเข้าไปยังไซแนปส์ที่เชื่อมต่อกับ bipolar cell

แม้ว่า เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยทุก ๆ ตัวจะปล่อยสารสื่อประสาทประเภทเดียวกันคือกลูตาเมต แต่ว่าผลที่เกิดขึ้นจากสารสื่อประสาทเดียวกันมีผลต่าง ๆ กันต่อ bipolar cell ต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับหน่วยรับความรู้สึก (receptor) ที่อยู่ที่เยื่อหุ้มเซลล์ของ bipolar cell ถ้ากลูตาเมตเกิดพันธะขึ้นกับ ionotropic receptor เซลล์นี้ก็จะมีสภาพเป็น depolarization ในที่มืดและดังนั้น จะมีสภาพเป็น hyperpolarization เมื่อมีแสงเพราะมีกลูตาเมตในระดับที่ลดลง ในนัยตรงกันข้าม ถ้ากลูตาเมตเกิดพันธะขึ้นกับ metabotropic receptor เซลล์นี้ก็จะมีสภาพเป็น hyperpolarization ในที่มืด และมีสภาพเป็น depolarization เมื่อมีแสงเพราะว่าระดับของกลูตาเมตลดลง

โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว คุณสมบัติเช่นนี้จึงยังให้เซลล์กลุ่มหนึ่งเกิดการเร้าและอีกกลุ่มหนึ่งเกิดการยับยั้งเพราะแสง แม้ว่า เซลล์รับแสงทั้งหมดจะตอบสนองในลักษณะเดียวกันต่อแสง ความเป็นไปอันซับซ้อนเช่นนี้สำคัญและขาดไม่ได้ในการตรวจจับสี (color) ความเปรียบต่าง (contrast) และขอบ (edge)

ความซับซ้อนอื่น ๆ เกิดจากการเชื่อมต่อต่าง ๆ กันระหว่าง bipolar cell, horizontal cell, และ amacrine cell ในจอประสาทตา เป้าหมายที่สุดของการส่งสัญญาณซับซ้อนเช่นนี้ก็คือ กลุ่ม RGC ต่าง ๆ ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเซลล์ไวแสงเอง แต่ว่าจะใช้สารรงควัตถุไวแสง (photopigment) ประเภท melanopsin

RGC ไวแสง

ในปี ค.ศ. 1991 ฟอสเตอร์และคณะได้ค้นพบเซลล์รับแสงที่ไม่ใช่เซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยในตาหนู ที่สื่อการควบคุมจังหวะรอบวัน (circadian rhythm) เซลล์รับแสงที่เรียกว่า intrinsically photosensitive retinal ganglion cells (ตัวย่อ ipRGC แปลว่า RGC ไวแสงโดยธรรมชาติ) เหล่านี้ เป็นส่วนย่อย ๆ (~1–3%) ของ RGC ที่อยู่ในเรตินาชั้นด้านใน ซึ่งก็คืออยู่ด้านหน้า (ดูโครงสร้างในจอประสาทตา) ของเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยซึ่งอยู่ด้านนอกของเรตินา เซลล์ประสาทไวแสงเหล่านี้มีสารรงควัตถุไวแสงที่เรียกว่า melanopsin ที่ดูดกลืนแสงที่มีความยาวคลื่นในระดับสูงสุดที่ ~480 นาโนเมตร ซึ่งต่างจากเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวย นอกจากหน้าที่เกี่ยวกับจังหวะรอบวันและพฤติกรรมอย่างอื่น ๆ แล้ว ipRGCs ยังมีบทบาทในการเริ่มรีเฟล็กซ์ปรับรูม่านตา (pupillary light reflex) อีกด้วย

ในปี ค.ศ. 2005 เด็นนิส เดซีย์และคณะได้แสดงในวงศ์ลิงโลกเก่าว่า RGC แบบยักษ์ (giant ganglion cell) ที่มีการแสดงออกของ melanopsin นั้น ส่งแอกซอนไปยัง lateral geniculate nucleus ในทาลามัส คือ ก่อนหน้านี้ ได้มีการค้นพบแต่แอกซอนที่ส่งไปยัง pre-tectal nucleus ในสมองส่วนกลาง และไปยัง suprachiasmatic nucleus ในไฮโปทาลามัสเท่านั้น ถึงกระนั้น หน้าที่เกี่ยวกับการเห็นของเซลล์นี้ยังไม่ชัดเจน (ถ้ามี)

ในปี ค.ศ. 2007 ฟาร์ฮาน ไซดี และคณะได้ตีพิมพ์งานวิจัยต้นฉบับที่ทำการทดลองในมนุษย์ที่ไม่มีเซลล์รูปแท่งไม่มีเซลล์รูปกรวย ต่อมา วารสาร Current Biology ได้ประกาศในปี ค.ศ. 2008 ในบทบรรณาธิการว่า มีการค้นพบเซลล์รับแสงในมนุษย์ที่ไม่ใช่เซลล์รูปแท่งไม่ใช่เซลล์รูปกรวยโดยมีหลักฐานเป็นข้อยุติจากการทดลองสำคัญในมนุษย์โดยไซดีและคณะ คือโดยเหมือนกับที่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่น ๆ เซลล์ที่ไม่ใช่เซลล์รูปแท่งไม่ใช่เซลล์รูปกรวยที่ไวแสงในมนุษย์ก็คือ RGC ในเรตินาด้านใน ในงานวิจัยนี้ นักวิจัยได้ตามหาคนไข้ที่หายากที่โรคได้ทำลายเซลล์รูปกรวยและเซลล์รูปแท่งแล้วอย่างสิ้นเชิง แต่ไม่ได้ทำอะไรต่อ RGC แม้ว่าจะไม่มีเซลล์รูปแท่งหรือเซลล์รูปกรวย คนไข้ก็ยังมียังมีพฤติกรรมเกี่ยวกับจังหวะรอบวัน, melanopsin suppression, และรีเฟล็กซ์ปรับรูม่านตาที่เหลืออยู่ โดยมีระดับความไวแสงสอดคล้องกับการมีสารรงควัตถุไวแสง melanopsin และสมองก็ยังมีการเห็นแสงที่มีความถี่เท่านี้อีกด้วย

ในมนุษย์ RGC ไวแสงมีส่วนในการเห็น (conscious sight) และในหน้าที่อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการเห็นรวมทั้งที่เกี่ยวกับจังหวะรอบวัน พฤติกรรม และการปรับรูม่านตา เพราะว่า เซลล์เหล่านี้ตอบสนองโดยมากกับแสงสีน้ำเงิน จึงมีข้อเสนอว่าเซลล์เหล่านี้มีบทบาทใน mesopic vision (การเห็นในที่สลัวไม่ถึงกับมืด)[ต้องการอ้างอิง] งานของไซดีและคณะในมนุษย์ที่ไม่มีเซลล์รูปแท่งไม่มีเซลล์รูปกรวยยังเปิดทางให้กับงานทดลองเกี่ยวกับบทบาทของ RGC ไวแสงต่อการเห็นอีกด้วย คือ เกิดการพบว่า มีวิถีประสาทขนานกันที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการเห็น วิถีหนึ่งเป็นวิถีคลาสสิกไปจากเซลล์รูปแท่งและเซลล์รูปกรวยที่อยู่ทางด้านนอกของเรตินา และอีกวิถีหนึ่งเป็นการตรวจจับระดับแสงสว่างแบบคร่าว ๆ ที่เกิดจากเรตินาด้านใน ซึ่งดูเหมือนจะเกิดการทำงานก่อนด้านนอก นอกจากนั้นแล้ว ระบบคลาสสิกยังป้อนข้อมูลให้กับระบบที่ค้นพบใหม่อีกด้วย และนักวิจัยฟอสตอร์ได้เสนอว่า ความสม่ำเสมอของสี (colour constancy) อาจจะเป็นหน้าที่สำคัญของระบบใหม่

เซลล์รับแสงนี้อาจสำคัญต่อการเข้าใจโรคต่าง ๆ รวมทั้งโรคที่ทำให้เกิดตาบอดทั่วโลกรวมทั้งต้อหิน ซึ่งเป็นโรคที่มีผลต่อ RGC และการศึกษาเซลล์รับแสงนี้ อาจทำให้สามารถค้นหาแนวทางใหม่ ๆ ในการบำบัดรักษาโรคที่ให้เกิดตาบอด การค้นพบเซลล์รับแสงใหม่ ๆ ในมนุษย์ และการศึกษาว่า เซลล์เหล่านี้มีบทบาทในการเห็นอย่างไร (ไม่ใช่บทบาทในพฤติกรรมที่ไม่เกี่ยวกับการเห็นอย่างอื่น ๆ) นี่แหละ จะมีผลกว้างขวางที่สุดในสังคมมนุษย์ แม้ว่า ความบกพร่องเกี่ยวกับจังหวะรอบวันก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจในการแพทย์รักษาอีกอย่างหนึ่ง

ในปี ค.ศ. 2003 สตีเว็น ล็อกลีย์และคณะแสดงว่า แสงมีความยาวคลื่นที่ 460 นาโนเมตรสามารถลดระดับ melatonin (ซึ่งเป็นฮอร์โมนในเลือดที่สื่อจังหวะรอบวัน) เป็นระยะเวลายาวถึงสองเท่านานกว่าที่ความยาวคลื่น 555 นาโนเมตร งานวิจัยโดยมากบอกเป็นนัยว่า ระดับความยาวคลื่นที่ RGC ไวแสงตอบสนองมากที่สุดอยู่ระหว่าง 460-482 นาโนเมตร แต่ว่า งานวิจัยหลังจากนั้นโดยฟาร์ฮาน ไซดีและคณะในมนุษย์ที่ไม่มีเซลล์รูปแท่งไม่มีเซลล์รูปกรวยพบว่า แสงความเข้มสูงที่นำไปสู่การรับรู้อยู่ที่ความยาวคลื่น 481 นาโนเมตร ซึ่งก็หมายความว่า RGC ไวแสงนี้ ยังให้การเห็นขั้นพื้นฐานเกิดขึ้นได้ดีที่สุดในแสงสีน้ำเงิน

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. "Photoreceptor Cells". สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2557. Check date values in: |accessdate= (help)
  2. "อังกฤษเห็นแสงสว่างรักษาตาบอดด้วยสเต็มเซลล์". สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2557. Check date values in: |accessdate= (help)
  3. "ต่อมไพเนียล ( Pineal gland )". สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2557. Check date values in: |accessdate= (help)
  4. "ชีววิทยา ม.5 - อวัยวะรับสัมผัสต่าง ๆ". สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2557. Check date values in: |accessdate= (help)
  5. "แสงเดินทางเข้าสู่ตาของเราอย่างไร (How Light Enters the Eye)". สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน 2557. Check date values in: |accessdate= (help)
  6. "eye, human." Encyclopædia Britannica. Encyclopaedia Britannica Ultimate Reference Suite. Chicago: Encyclopædia Britannica, 2010.
  7. Foster, R.G.; Provencio, I.; Hudson, D.; Fiske, S.; Grip, W.; Menaker, M. (1991). "Circadian photoreception in the retinally degenerate mouse (rd/rd)". Journal of Comparative Physiology A. 169 (1). doi:10.1007/BF00198171.
  8. Hecht, S.; Shlar, S.; Pirenne, M.H. (1942). "Energy, Quanta, and Vision". Journal of General Physiology. 25: 819–840. doi:10.1085/jgp.25.6.819. PMC 2142545. PMID 19873316.
  9. Hurvich, Leo (1981). Color Vision. Sinauer.
  10. Human Physiology and Mechanisms of Disease by Arthur C. Guyton (1992) ISBN 0-7216-3299-8 p. 373
  11. Richardson, T.M. (1969). "Cytoplasmic and ciliary connections between the inner and outer segments of mammalian visual receptors". Vision Research. 9: 727–731. PMID 4979023.
  12. Louvi, A.; Grove, E. A. (2011). "Cilia in the CNS: The quiet organelle claims center stage". Neuron. 69: 1046–1060. doi:10.1016/j.neuron.2011.03.002.
  13. retinal เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า retinaldehyde หรือ vitamin A aldehyde เป็นรูปแบบหนึ่งในหลายรูปแบบของวิตามินเอซึ่งในแต่ละสปีชีส์จะมีจำนวนไม่เท่ากัน เป็น polyene chromophore (คือส่วนกำเนิดสีมีพันธะแบบคู่เป็นจำนวนมาก) รวมอยู่ในโปรตีน opsin เป็นโครงสร้างเคมีพื้นฐานในการเห็นของสัตว์
  14. Bowmaker J.K. and Dartnall H.J.A. (1980). "Visual pigments of rods and cones in a human retina". J. Physiol. 298: 501–511. PMC 1279132. PMID 7359434.
  15. Foundations of Vision 2013-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Brian A. Wandell
  16. Schacter, Daniel L. (2011). Psychology Second Edition. 41 Madison Avenue, New York, NY 10010: Worth Publishers. pp. 136–137. ISBN 978-1-4292-3719-2.CS1 maint: location (link)
  17. Goldstein, E. Bruce (2007). Sensation and Perception (7 ed.). Thomson and Wadswoth.
  18. Wandell, Brian A. (1995). Foundations of Vision. Sunderland, MA: Sinauer.
  19. Kandel, E. R. (2000). Principles of Neural Science (4th ed.). New York: McGraw-Hill. pp. 507–513. ISBN 0-8385-7701-6. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  20. "Eric R. Kandel: The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2000". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ September 20, 2007.
  21. Swaroop, Anand (August 2010). "Transcriptional Regulation of Photoreceptor Development and Homeostasis in the Mammalian Retina". Nature Reviews Neuroscience. 11: 563–576. doi:10.1038/nrn2880. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  22. horizontal cell เป็นนิวรอนที่มีการเชื่อมต่อกันและกันในชั้น Inner nuclear layer ของเรตินาในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีหน้าที่ประสานและควบคุมข้อมูลที่มาจากเซลล์รับแสงหลายตัว ช่วยให้ตาสามารถเห็นได้ทั้งในที่สว่างและที่สลัว
  23. amacrine cell เป็น interneuron ในเรตินา retinal ganglion cell (ตัวย่อ RGC) รับข้อมูลถึง 70% จาก amacrine cell และ bipolar cell ซึ่งส่งข้อมูล 30% ที่เหลือผ่านการควบคุมโดย amacrine cell
  24. Provencio, I.; และคณะ (2000-01-15). "A human opsin in the inner retina". The Journal of Neuroscience. 20 (2): 600–605. PMID 10632589. Explicit use of et al. in: |author= (help)
  25. Hattar, S.; Liao, HW; Takao, M; Berson, DM; Yau, KW (2002). "Melanopsin-Containing Retinal Ganglion Cells: Architecture, Projections, and Intrinsic Photosensitivity". Science. 295 (5557): 1065–70. Bibcode:2002Sci...295.1065H. doi:10.1126/science.1069609. PMC 2885915. PMID 11834834.
  26. Melyan, Z.; Tarttelin, E. E.; Bellingham, J.; Lucas, R. J.; Hankins, M. W. (2005). "Addition of human melanopsin renders mammalian cells photoresponsive". Nature. 433 (7027): 741–5. Bibcode:2005Natur.433..741M. doi:10.1038/nature03344. PMID 15674244.
  27. Qiu, Xudong; Kumbalasiri, Tida; Carlson, Stephanie M.; Wong, Kwoon Y.; Krishna, Vanitha; Provencio, Ignacio; Berson, David M. (2005). "Induction of photosensitivity by heterologous expression of melanopsin". Nature. 433 (7027): 745–9. Bibcode:2005Natur.433..745Q. doi:10.1038/nature03345. PMID 15674243.
  28. Vangelder, R (2008). "Non-Visual Photoreception: Sensing Light without Sight". Current Biology. 18 (1): R38. doi:10.1016/j.cub.2007.11.027. PMID 18177714.
  29. Berson, David M. (2007). "Phototransduction in ganglion-cell photoreceptors". Pflügers Archiv - European Journal of Physiology. 454 (5): 849–55. doi:10.1007/s00424-007-0242-2. PMID 17351786.
  30. Lucas, Robert J.; Douglas, Ronald H.; Foster, Russell G. (2001). "Characterization of an ocular photopigment capable of driving pupillary constriction in mice". Nature Neuroscience. 4 (6): 621–6. doi:10.1038/88443. PMID 11369943.
  31. Dacey, Dennis M.; Liao, Hsi-Wen; Peterson, Beth B.; Robinson, Farrel R.; Smith, Vivianne C.; Pokorny, Joel; Yau, King-Wai; Gamlin, Paul D. (2005). "Melanopsin-expressing ganglion cells in primate retina signal colour and irradiance and project to the LGN". Nature. 433 (7027): 749–54. Bibcode:2005Natur.433..749D. doi:10.1038/nature03387. PMID 15716953.
  32. Genova, Cathleen, Blind humans lacking rods and cones retain normal responses to nonvisual effects of light. Cell Press, December 13, 2007.
  33. Coghlan A. Blind people 'see' sunrise and sunset. New Scientist, 26 December 2007, issue 2635.
  34. Medical News Today. Normal Responses To Non-visual Effects Of Light Retained By Blind Humans Lacking Rods And Cones. 14 December 2007.
  35. Zaidi FH; และคณะ (2007). "Short-wavelength light sensitivity of circadian, pupillary, and visual awareness in humans lacking an outer retina". Current biology : CB. 17 (24): 2122–8. doi:10.1016/j.cub.2007.11.034. PMC 2151130. PMID 18082405. Explicit use of et al. in: |author= (help)
  36. ความสม่ำเสมอของสี (colour constancy) เป็นตัวอย่างของความสม่ำเสมอของสิ่งที่รับรู้โดยอัตนัย เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของระบบการมองเห็นของมนุษย์ ที่ก่อให้เกิดการเห็นสีที่สม่ำเสมอคือคล้ายกัน ภายใต้แสงสว่างที่มีความแตกต่างกัน

แหล่งอ้างอิงอื่น ๆ

  • Campbell, Neil A., and Reece, Jane B. (2002). Biology. San Francisco: Benjamin Cummings. pp. 1064–1067. ISBN 0-8053-6624-5.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  • Freeman, Scott (2002). Biological Science (2nd Edition). Englewood Cliffs, N.J: Prentice Hall. pp. 835–837. ISBN 0-13-140941-7.
  • NIF Search – Photoreceptor Cell via the Neuroscience Information Framework

เซลล, บแสง, งกฤษ, photoreceptor, cell, เป, นเซลล, ประสาท, วรอน, เศษในจอประสาทตาท, สมรรถภาพในการถ, ายโอนแสงไปเป, นพล, งประสาท, ความสำค, ญทางช, วภาพของก, อความสามารถในการแปลงแสงท, เห, นได, ไปเป, นส, ญญาณท, สามารถเร, ากระบวนการต, าง, ทางช, วภาพ, จะกล, าวให, ดเจนก. esllrbaesng 1 2 3 4 5 xngkvs photoreceptor cell epnesllprasath niwrxn phiessincxprasathtathimismrrthphaphinkarthayoxnaesngipepnphlngprasath khwamsakhythangchiwphaphkhxngesllrbaesngkkhuxkhwamsamarthinkaraeplngaesngthiehnidipepnsyyanthisamartherakrabwnkartang thangchiwphaph caklawihchdecnkwanikkhux mioprtinhnwyrbaesnginesllthidudsumoftxn sungnaipsukhwamepliynaeplnginkhwamtangskykhxngeyuxhumesllesllrbaesng Photoreceptor Cell swnprakxbtang khxngesllrupaethngaelaesllrupkrwy sungepnesll 2 praephthin 3 praephththiiwaesngincxprasathtaraylaexiydthitngertinahnathieslliwaesngthiepliynphlngnganaesngipepnphlngprasaththisngipyngrabbprasathklangtxipephuxpramwlphltwrabuMeSHD010786niworelks IDsao226523927sphthkaywiphakhsastrkhxngprasathkaywiphakhsastr aekikhbnwikisneths esllrbaesngaebbkhlasikkkhuxesllrupaethngaelaesllrupkrwy aetlaxyanglwnaetihkhxmulthiichinrabbkarmxngehnephuxsrangaebbcalxngkhxngolkphaynxkthiehnthangta esllrupaethngnnbangkwaesllrupkrwy aelamikhwamkracdcayipincxprasathtathiaetktangkn aemwa krabwnkarekhmithithayoxnaesngipepnphlngprasathnnkhlaykhlungkn 6 mikarkhnphbesllrbaesngpraephththisaminchwngkhristthswrrs 1990 7 sungkkhux photosensitive retinal ganglion cell epnesllthiimidmiswnihekidkarehnodytrng aetechuxknwa miswnchwyinrabbkhwbkhumcnghwarxbwn circadian rhythms aelaptikiriyaprbrumantaaebbrieflksesllrupaethngaelaesllrupkrwymihnathiaetktangkn khux esllrupaethngiwaesngepnphiess miptikiriyatxoftxnephiyngaekh 6 xnuphakh 8 dngnn inthimiradbaesngta karehnekidcaksyyanthimacakesllrupaethngethann sungxthibaywa thaimeracungimsamarthehnphaphsiidinthislw sungkkhuxephraamiaetesllrupaethngethannthithanganidinradbaesngnn aelaesllrupkrwyepnswnthithaihekidkarehnphaphsiswnesllrupkrwytxngichaesngradbthisungkwamak khuxtxngmioftxnmakrathbmakkwa kxnthicaekidkarthangan inmnusy miesllrupkrwysampraephth caaenkodykartxbsnxngtxkhwamyawkhlunaesngthitang kn karehnsi inphaph epnkarpramwlphlcaksyyanthimacakesllrupkrwysampraephthehlani odynacaphankrabwnkar opponent process 9 esllrupkrwysamxyangnitxbsnxng odykhraw txaesngthimikhwamyawkhlunkhnadsn S khnadklang M aelakhnadyaw L ihsngektwa karyingsyyankhxngesllrbaesngnnkhunxyuephiyngkbcanwnoftxnthiidrbethann kahndodythvsdi principle of univariance swnkartxbsnxngthitang knkhxngesllrupkrwykhunxyukbkhwamepnipidkhxngoprtinrbaesngkhxngesllthicadudsumaesngthikhwamyawkhlunnn yktwxyangechn esllrupkrwyaebb L mioprtinrbaesngthidudsumaesngthimikhwamyawkhlunkhnadyaw hruxxxksiaedng aemwa aesngthimikhwamyawkhlunsnkwaxaccathaihekidkartxbsnxnginradbediywkn aetcatxngepnaesngthiswangkwamakcxprasathtammnusymiesllrupaethngpraman 120 lanesll aelamiesllrupkrwypraman 6 lanesll stwtang spichismixtraswnkhxngesllrupaethngaelaesllrupkrwythiaetktangkn khunxyukbwa epnstwklangwnhruxstwklangkhun nxkcakesllrupaethngaelaesllrupkrwyaelw yngmi retinal ganglion cell twyx RGC praman 1 5 esllinmnusy aelami 1 2 thiiwaesngbthkhwamniklawthungesllrbaesngkhxngstwmikraduksnhlng esllrbaesngkhxngstwimmikraduksnhlng echnaemlngaelamxllskamikhwamaetktangcakstwmikraduksnhlngthnginokhrngsrangaelainkrabwnkarekhmichiwphaph enuxha 1 kaywiphakh 2 mnusy 3 karthayoxnaesng 3 1 Dark current 3 2 Signal transduction pathway 3 3 khxidepriyb 3 4 khwamtangknrahwangesllrupkrwyaelaesllrupaethng 4 hnathi 5 phthnakar 6 karsngsyyan 7 RGC iwaesng 8 duephim 9 echingxrrthaelaxangxing 10 aehlngxangxingxun kaywiphakh aekikh kaywiphakhkhxngesllrupaethngaelaesllrupkrwynnaetktangkn sayepnesllrupaethng khwaepnesllrupkrwy inmnusy esllrupaethngaelaesllrupkrwyxyuthiswnnxksudkhxngcxprasathta danhlngsudkhxngta aelamiokhrngsrangodyphunthanthikhlaykhlungkn swnthiiklcaksmxngthisud epnswnsudkhxngaexksxn axon terminal sungplxysarsuxprasath klutaemt ipsu bipolar cell swnethibtxipthangsmxngepntwesll sungmixxraekenllkhxngesll swnethibtxiperiykwa inner segment sungepnswnmihnathiphiessetmipdwyimothkhxnedriy hnathihlkkhxngswnnikkhuxphlit ATP ichepnphlngngansahrbkarpmosediymophaethsesiymphaneyuxhumesll swnsudthaythiiklsmxngthisuderiykwa outer segment sungepnswnthidudsumaesng swnnicring aelwepnsieliyddaeplng 11 12 prakxbdwycan disc etmipdwyhnwyrbkhwamrusukpraephth opsin sungepnoprtinthidudsumoftxn aelaetmipdwypratuosediymepidpidodykhwamtangsky voltage gated sodium channel oprtinrbaesngthixyuthieyuxhumesllthieriykwa opsin miomelkulrngkhwtthuthieriykwa retinal 13 aelainesllrupaethng oprtinnirwmkbrngkhwtthueriykwa rhodopsin swninesllruprwy mi opsin hlaypraephththirwmtwkb retinal epnrngkhwtthuthieriykwa photopsin sungaebngxxkepnsampraephth aelamiptikiriyatxaesngkhwamthitang kn epnkhwamtangthiyngrabbkarmxngehnihsamarthaeykaeyasiid hnathikhxngesllrbaesngkkhuxkarepliynphlngnganaesngcakoftxnihepnphlngnganthiichsuxsaridinrabbprasath epnkaraeplngthayphlngnganthieriykwa karthayoxnsyyan signal transduction swnoprtin opsin thixyuin retinal ganglion cell iwaesng mibthbathinkartxbsnxngaebbrieflkskhxngsmxngaelarangkaytxaesng echnkarkhwbkhumcnghwarxbwn circadian rhythm rieflksrumanta pupillary reflex aelakartxbsnxngpraephthxun thiimidthaihekidkarehn epnoprtinthieriykwa melanopsin sungminxyinstwmikraduksnhlng epnoprtinthimihnathikhlaykb opsin instwimmikraduksnhlng epnpraephthhnungkhxng opsin sungepnhnwyrbkhwamrusukaebb G protein coupled receptor praephth retinylidene proteinemuxaesngswangthaptikiriyakbrabbsngsyyankhxng melanopsin retinal ganglion cell twyx RGC thiprakxbdwy melanopsin kcaplxyphlngprasathphanaexksxnipyngepahmayechphaatang insmxng rwmthngniwekhliys olivary pretectal nucleus sunythimihnathikhwbkhumrumanta lateral geniculate nucleus twyx LGN aelaniwekhliys suprachiasmatic nucleus khxngihopthalams sungthahnathiepnnalikahlkkhxngrabbcnghwarxbwn tw RGC thiprakxbdwy melanopsin echuxknwamixxkvththitxniwekhliysepahmay odyplxysarsuxprasathklutaemt aela pituitary adenylate cyclase activating polypeptide PACAP thiisaenpsmnusy aekikh khwamyawkhlunaesngthiesllrbaesngmnusydudsum epnkhaaeckaecngpkti normalized epnkhasahrbesllrupkrwy 3 chnid aelaesllrupaethng 14 phaphaesdngkarkacaykhxngesllrupkrwyinrxybumcxtaincxprasathtakhxngbukhkhlthiehnsiepnpkti say aelaphuthimitabxdsi khwa ihsngektwathitrngklangkhxngrxybummiesllrupkrwyiwaesngsinaenginnxymak karkracaytwkhxngesllrupaethngaelaesllrupkrwyinaenwthiphanrxybumcxta fovea aelacudbxd blind spot khxngtamnusy 15 cxprasathtamnusymiesllrupkrwypraman 6 lantwaelaesllrupaethng 120 lantw 16 khxmulthisngipcakesllprasaththngsxngiprwmknthiesll RGC aela bipolar cell ephuxkaraeplphlkxnthicasngtxipyng lateral geniculate nucleus inthalams swntrngklangkhxcxprasathta khuxswnthitrngkbtrngklangkhxngelnsta epnrxybumcxta fovea sungmiaetesllrupkrwy aelaepnswnthithaihekidkarehnthichdthisudthilaexiydthisud swnthiehluxkhxngertinamithngesllrupaethngaelaesllrupkrwyxyupnknip aetimmiesllrbaesngxair thicudbxd sungepnekhtthiiyprasathkhxng RGC rwmtwepnesnprasathta optic nerve aelwxxkcaklukta 17 oprtinrbaesngkhxngesllrupkrwysampraephthaetktangkninkhwamiwtxoftxnkhxngaesngmikhwamyawkhluntang kn durup ephraawa esllrupkrwytxbsnxngthngtxkhwamyawkhlun wavelength aelathngtxkhwamekhm intensity khxngaesng cungtxngwdkhwamiwtxkhwamyawkhlunodyxtrakartxbsnxngsmphthth relative rate khxngesll emuxkhakhwamekhmaesngkhngthi aelakhakhwamyawkhlunepntwaepr aelwcungcaidkhaxnumankhxng absorbance kardudklunaesng 18 krafthiehnaesdngkhadudklunaesngodyaeckaecngthaihepnbrrthdthanthi 100 normalized yktwxyangechn esllrupkrwy S thidudsumaesngsn txbsnxnginradbsungsudthikhwamyawkhlun 420 naonemtr sungbxkerawa esllchnidnnmikhwamepnipidthicadudklunoftxnthi 420 naonemtrsungkwakhwamyawkhlunxun aetwa thaaesngmikhwamyawkhluntangcakradbnn echnthi 480 naonemtr aetwamiradbaesngthiekhmkhun esllnnkcatxbsnxnginradbediywkn dngnn esnokhnginkrafxaccathaihekhaicphidid ephraawa esllrupkrwycring imsamarthtrwccbsiodyephiynglaphng aetwa karehnsicatxngxasykarepriybethiybsyyancakesllrupkrwypraephthtang karthayoxnaesng aekikhkrabwnkarthayoxnaesng phototransduction nnekidkhunthicxprasathta 16 sungprakxbdwyesllprasathepnchn 16 esllrbaesng khuxesllrupaethngaelaesllrupkrwy xyuinchninsud 16 swnchnklang mi bipolar cell sungrbsyyanprasathmacakesllrbaesngaelwsngkhxmultxipyngchnnxksudkhxngcxprasathta 16 sungepnchnthi retinal ganglion cell twyx RGC pramwlphlsyyanaelwcungsngtxipihsmxng 16 odysngphanaexksxnkhxng RGC thirwmtwknepnesnprasathtaaelwxxkcaktaphanchxnginertinasungxyuthicudbxd 16 karthangankhxngesllrbaesngepnaebb hyperpolarization imehmuxnesllprasaththw ipsungthanganaebb depolarization khuxinkhnathiimmisingera esllcaxyuinphawa depolarization aelacaplxysarsuxprasath klutaemt xxkmaxyangtxenuxng inthimud esllmi cyclic guanosine 3 5 monophosphate cGMP inradbkhwamekhmkhnsung miphlepnkarepidpratuixxxn ion channel ihosediym aelaaekhlesiymaemcaimepntwhlk ekhamainesllid charcixxxnkhwbwkthiihlekhamainesllepliynkhwamtangskykhxngesllkxihekid depolarization sungsngphlihekidkarhlngsarsuxprasathklutaemt sungxaccamiphlepn hyperpolarization hrux depolarization sahrbesllthirbsyyansub ipemuxaesngwingekhamakrathbsarrngkhwtthuiwaesngthixyuinesllrbaesng sarrngkhwtthunncaepliynruprang sarrngkhwtthunneriykwa iodopsin hrux rhodopsin aelaprakxbdwyoprtinkhnadihyeriykwa opsin sungxyuthieyuxhumesll sungechuxmxyukbklumomelkul prosthetic group thiyudxyudwyknphanphnthaokhewelns rwmknepnomelkulxinthriythieriykwa retinal 13 sungepnrupaebbhnungkhxngwitaminex retinal misphaphepn 11 cis retinal emuxxyuinthimud aelaemuxmikarkratuncakaesngkcaepliynsphaphipepn all trans retinal khwamepliynaeplngthangokhrngsrangnicaerimkarthangankhxngoprtinkhwbkhumeriykwa transducin sungerimkarthangankhxngexnism cGMP phosphodiesterase sungslay cGMP xxkepn 5 GMP karriwdiws cGMP xyangnithaihpratuixxxnpid hamkarihlekhakhxngixxxnbwk sungmiphlihesllepliynsphaphepn hyperpolarization aelwhyudkarplxysarsuxprasath 19 khntxntang thnghmderimtntngaetaesngmakrathbthiertina sunginthisudmiphlepnkartxbsnxngkhxngrabbrbru eriykwa visual phototransduction Dark current aekikh emuximmisingera inthimud pratuixxxnthiepidpidody cyclic nucleotide inswn outer segment khxngesllrbaesng caepidxyuephraawa cyclic GMP cGMP yudxyukbpratunn dngnn ixxxnbwk khux ixxxnosediym kcaihlekhamainesllrbaesng thaihekidphawa depolarization inradb 40 mV inkhnathikhwamtangskyinradbphk khux resting potential inesllpraephthxun xyuthi 65 mV kraaesiffathimiphlepnsphaph depolarization nieriykwa dark current kraaesiffainthimud Signal transduction pathway aekikh kardudklunaesngnaipsukarepliynaeplngomelkul retinal ipepnxikixosemxrhnung krabwnkarthayoxnsyyan signal transduction pathway epnklikthiphlngngankhxngoftxnerimkarthangankhxngesllmiphlepnkarepliynkhwamtangsky hyperpolarization odythisud sungkcamiphlepnkarsnghruxkarhamkarsngsyyanprasath sungsngtxipyngsmxngphanesnprasathta krabwnkarthayoxnsyyankhxngesllrbaesnginstwmikraduksnhlngmidngni rhodopsin hrux iodopsin thieyuxhum disc in outer segment khxngeslldudklunoftxn miphlih Schiff base cofactor khxng retinal epliynaebbcak cis form epn trans form thaih retinal epliynruprangip phlthitammakkhuxkhwamepliynrupipepnsartang thiimmiesthiyrphaphiptamladb aettwsudthaycasrangphnthathimikalngkb G protein thieyuxhumthimichuxwa transducin aelacaerimptikiriyakhxngoprtinni niepnkarkhyaysyyaninradbaerk ephraawa rhodopsin aetlahnwythiekidkarthanganephraaaesngcanaipsukarthangankhxng transducin 100 hnwy transducin aetlahnwycaerimkarthangankhxngexnism cGMP specific phosphodiesterase PDE PDE caepntwerngptikiriyakarslaytwdwyna hydrolysis khxng cGMP ipepn 5 GMP sungepnkarkhyaysyyaninradbthisxng ephraawa PDE aetlahnwycakxihekidkarslaytwdwynain cGMP 1 000 omelkul radbkhwamekhmkhnsuththikhxng cGMP thixyuinesllcaldlng ephraamikaraeplng cGMP ipepn 5 GMP ody PDE miphlepnkarpidpratuixxxn Na thiepidpiddwy cyclic nucleotide cyclic nucleotide gated Na ion channel sungxyuthieyuxhumkhxng outer segment khxngesllrbaesng aeladngnn ixxxnosediymcaimsamarthihlekhamainesllxiktxip aelaeyuxhum outer segment khxngesllrbaesngkcaepliynphawaipepn hyperpolarization ephraawapracuiffaphayineyuxhummikhwlbephimkhun khwamepliynaeplngkhwamtangskykhxngeyuxhumesllkcamiphlepnkarpidpratuaekhlesiymsungepidpidodykhwamtangsky aelanaipsukarrangbkarihlekhakhxngixxxnaekhlesiymekhamainesll aeladngnn radbkhwamekhmkhxngixxxnaekhlesiymphayinesllkcaldlng emuxradbkhwamekhmkhxngixxxnaekhlesiymphayinesllldlng esllkcaplxysarsuxprasathklutaemtphankrabwnkar exocytosis ipyng bipolar cell ldlng sungxaccamiphlepnkarkratunhruxkarybyng bipolar cell thixyuhlngisaenps karldradblngkhxngkarplxyklutaemtcathaih bipolar cell bangklumepliynsphaphepn depolarization aelabangklumcaepliynsphaphepn hyperpolarization khunxyukbhnwyrbkhwamrusukthimiptikiriyatxsarsuxprasathhlngisaenpsdngnn ihsngektwa thngesllrupaethngesllrupkrwyldradbkarplxysarsuxprasathemuxmikarkratunodyaesng sungxaccakratun miphlepn depolarizatioin hruxybyng miphlepn hyperpolarization in bipolar cell thiesllrbaesngechuxmisaenps khunxyukbhnwyrbkhwamrusukkhxng bipolar cell khwamyudhyunidxyangniepnswnthikhadimidinkarsrangokhrngsrangaebb on centre aela off centre txngkarxangxing esllswn inner segment ihsar ATP ephuxepnphlngngankbkarpmosediymophaethsesiym sungepnkrabwnkarthisakhyephuxtngsphapherimtnkhxng outer segment khunihmodysubixxxnosediymthiihlekhamainesllxxkipnxkesllaemwaesllrbaesngcaepnesllprasath aetepnesllprasaththiimsngskyangan action potential ykewnaet RGC iwaesng photosensitive ganglion cell sungmihnathihlkinkarkhwbkhumcnghwarxbwn circadian rhythms melatonin aelakarprbrumanta khxidepriyb aekikh karthayoxnaesnginesllrbaesngimehmuxnikhr khux twkratun inthinikhuxaesng klbldradbkartxbsnxngkhxngesll khuxxtrakaryingsyyan sungepnkartxbsnxngthiimthwipinrabbrbkhwamrusuk sungodythw ipaelw twkratuncaephimkartxbsnxngkhxngesll xyangirkdi krabwnkarechnnimikhxidepriybthisakhyhlayxyangkhxthihnung esllrbaesngmisphaph depolarization inthimud sungkhmaykhwamwa ixxxnosediymmakmaycaihlekhamainesll dngnn karepidpidpratuosediymthiekidkhunexngcaimmiphltxkhwamtangskykhxngeyuxhumesll aelakarpidpratuepncanwnmakthienuxngmacakkardudklunoftxnkhxngaesngethann thicamiphlepnkarsngsyyanwa miaesngphayinlansayta dngnn krabwnkarechnnicaprascaksyyanrbkwnkhxthisxng mikarkhyaysyyaninradbsungaebngepnsxngkhninkarthayoxnaesng khux sarrngkhwtthu pigment caplukvththikhxng transducin epncanwnhlayomelkul aela PDE aetlatwcakxihekidkarslaytwkhxng cGMP hlaytw ephraamikarkhyaysyyanxyangni kardudklunoftxnephiyngaekhxnuphakhediywkcamiphltxkhwamtangskyeyuxhumesll thaihekidkarsngkhxmulipyngsmxngwa miaesngxyuphayinlansayta niepncudaetktangthisakhyrahwangesllrupaethngaelaesllrupkrwysunglwnaetepnesllrbaesng khux esllrupaethngiwaesngmakaelasamarthrbruthungoftxnaemephiyngxnuphakhediyw sungimehmuxnkbesllrupkrwy swnesllrupkrwymixtrakarkhyaysyyaninrahwangkarthayoxnsyyanthirwderwmak sungimehmuxnesllrupaethng khwamtangknrahwangesllrupkrwyaelaesllrupaethng aekikh karepriybethiybesllrupkrwyaelaesllrupaethngtxipni macakhnngsux Principles of Neural Science hlkprasathwithyasastr khxng s xirik aekhnedil 19 phuidrbrangwloneblsakhasrirwithyahruxkaraephthyinnganwicyekiywkbphunthanthangsrirphaphinkarbnthukkhwamcainniwrxn 20 esllrupaethng esllrupkrwyihekidkarehnitaesngslw scotopic vision ihekidkarehnititaesngekhm photopic vision iwaesngmak aemaettxaesngthikracdkracay imiwaesngmak iwtxaesngtrng ethannthaesiycathaihtabxdmud thaesiycathaihtabxdtamkdhmaymxngehnidimchd mxngehnidchd miraylaexiydsungimmiinrxybumcxta hnaaennthisudinrxybumcxtatxbsnxngtxaesngchaodyephimkhuneruxy txbsnxngtxaesngiderw samarthehnphaphthikalngepliynaeplngxyangrwderwmisarrngkhwtthumakkwa cungsamarthehninthislw misarrngkhwtthunxykwa cungtxngichaesngmakkwaephuxcaehncan disk tngxyuphayineyuxhum imidyudxyukbeyuxhumesllodytrng canyudiwkbeyuxhumesllmipraman 120 lanesllincxprasathtaaetlakhang 16 mipraman 6 lanesllincxprasathta 16 misarrngkhwtthupraephthediyw misarrngkhwtthu 3 praephthinmnusythaihekidkarehnprascaksi thaihekidkarehnphaphsihnathi aekikhesllrbaesngimidsngkhxmulekiywkbsiodytrng aetsngsyyanwamiaesngxyuinlansaytaesllrbaesnghnung catxbsnxngtxthngkhwamyawkhlunaelakhwamekhmkhxngaesng yktwxyangechn kartxbsnxngkhxngesllrbaesnghnungtxaesngsiaedngthimikhwamekhmradbhnung xaccaehmuxnknkbkartxbsnxngtxaesngsiekhiywthimikhwamekhmxikradbhnung dngnn kartxbsnxngkhxngesllrbaesnghnung imidbxkxyangchdecnwaehnsixairdngnn ephuxcarabusi rabbkarmxngehntxngepriybethiybkartxbsnxngkhxngklumesllrbaesngtang khuxodyechphaaaelw cakklumesllrupkrwy 3 praephththidudklunaesngthimikhwamyawkhluntang kn aelaephuxthicarabukhwamekhmaesng rabbkarmxngehntxngkhanwnwamiesllrbaesngkitwthikalngthakartxbsnxng niepnklikthithaihekidkarehnody 3 sihlk trichromacy inthngmnusyaelainstwxun bangchnidphthnakar aekikhkrabwnkarphthnakarepnesllrupaethng esllrupkrwyaebb S aelaesllrupkrwyaebb M erimcakaefketxrkarthxdrhs transcription factor hlayxyang rwmthng RORbeta OTX2 NRL CRX NR2E3 aela TRbeta2 odythwipaelw esllebuxngtncaecriyepnesllrupkrwyaebb S odypriyay aetehtukarnkarthxdrhstang samarththaihecriyepnesllrupaethnghruxesllrupkrwyaebb M aemwa esllrupkrwyaebb L camixyuinstwxndbwanr aetwa karphthnakarkhxngesllimepnthiruckkndienuxngcakwastwthdlxngthiichepnstwxndbstwfnaethathiimmiesllchnidni mi 5 khntxninkarphthnaepnesllrbaesng khux karaephrkhyaykhxng retinal progenitor cell esllbrrphburus esllebuxngtn twyx RPC thisamarthphthnaepnesllidhlaychnid restriction of competence of RPCs karkahndchatakhxngesll cell fate specification karaesdngxxkkhxngyinepnesllrbaesng aelakhnsudthaykhuxkarngxkxxkkhxngaexksxn kartngisaenps aelakarecriykhxngswn outer segmentinswnebuxngtn Notch signaling pathway cathaihekidkarhmunewiynkhxngesllbrrphburus progenitor cycling ephraachann esllrbaesngtngtn Photoreceptor precursor caekidkhunidkemuxekidkarybyng Notch signaling pathway aelamikarthanganinradbthisungkhunkhxngkrabwnkartang rwmthngklumyin achaete scute complex hrux achaete scute homologue swn aefketxr OTX2 kahndchataesllihepnesllrbaesng swn CRX kahndyinkhxngesllrbaesngthicaekidkaraesdngxxk swnkaraesdngxxkkhxng NRL kahndchatakhxngesllihepnesllrupaethng swn NR2E3 thakarkahndchataepnesllrupaethngihmnkhngyingkhunodyhamkaraesdngxxkkhxngyinesllrupkrwy swnaefketxr RORbeta ichinkarphthnathngkhxngesllrupaethngaelathngkhxngesllrupkrwy swn TRbeta2 kahndchataihepnesllrupkrwyaebb M thaexaxxkaefketxridaefketxrhnungthiklawmaaelw chataodypriyaykhxngesllkkhuxesllrupkrwyaebb S ihsngektwakhntxntang ehlaniekidkhuninchwngewlatang knsahrbstwspichistang kn phankrabwnkarsbsxntang thimiphlepnlksnathangphnthukrrmthiaetktangkn thatwkhwbkhumkrabwnkarehlaniekidkhwamesiyhay orkh retinitis pigmentosa cxtaesuxmthicudphaphchd macular degeneration aelakhwamphidpktithangtaxyangxunxacekidkhun 21 karsngsyyan aekikhesllrbaesngsngkhxmulekiywkbkardudklunoftxnodyldradbkarplxysarsuxprasathklutaemtthiisaenpsthiechuxmkb bipolar cell ephraawamisphaphepn depolarization inthimud khuxcamikarplxyklutaemtepncanwnmakipyng bipolar cell inthimud kardudklunoftxnhnung camiphlihekidsphaph hyperpolarization inesllrbaesng aeladngnncungmiphlepnkarldradbkarplxyklutaemtekhaipyngisaenpsthiechuxmtxkb bipolar cellaemwa esllrupaethngaelaesllrupkrwythuk twcaplxysarsuxprasathpraephthediywknkhuxklutaemt aetwaphlthiekidkhuncaksarsuxprasathediywknmiphltang kntx bipolar cell tang kn khunxyukbhnwyrbkhwamrusuk receptor thixyuthieyuxhumesllkhxng bipolar cell thaklutaemtekidphnthakhunkb ionotropic receptor esllnikcamisphaphepn depolarization inthimudaeladngnn camisphaphepn hyperpolarization emuxmiaesngephraamiklutaemtinradbthildlng innytrngknkham thaklutaemtekidphnthakhunkb metabotropic receptor esllnikcamisphaphepn hyperpolarization inthimud aelamisphaphepn depolarization emuxmiaesngephraawaradbkhxngklutaemtldlngodythw ipaelw khunsmbtiechnnicungyngihesllklumhnungekidkareraaelaxikklumhnungekidkarybyngephraaaesng aemwa esllrbaesngthnghmdcatxbsnxnginlksnaediywkntxaesng khwamepnipxnsbsxnechnnisakhyaelakhadimidinkartrwccbsi color khwamepriybtang contrast aelakhxb edge khwamsbsxnxun ekidcakkarechuxmtxtang knrahwang bipolar cell horizontal cell 22 aela amacrine cell 23 incxprasathta epahmaythisudkhxngkarsngsyyansbsxnechnnikkhux klum RGC tang sungswnhnungepneslliwaesngexng aetwacaichsarrngkhwtthuiwaesng photopigment praephth melanopsinRGC iwaesng aekikhinpi kh s 1991 fxsetxraelakhnaidkhnphbesllrbaesngthiimichesllrupaethngaelaesllrupkrwyintahnu thisuxkarkhwbkhumcnghwarxbwn circadian rhythm 7 esllrbaesngthieriykwa intrinsically photosensitive retinal ganglion cells twyx ipRGC aeplwa RGC iwaesngodythrrmchati ehlani epnswnyxy 1 3 khxng RGC thixyuinertinachndanin sungkkhuxxyudanhna duokhrngsrangincxprasathta khxngesllrupaethngaelaesllrupkrwysungxyudannxkkhxngertina esllprasathiwaesngehlanimisarrngkhwtthuiwaesngthieriykwa melanopsin 24 25 26 27 28 thidudklunaesngthimikhwamyawkhluninradbsungsudthi 480 naonemtr 29 sungtangcakesllrupaethngaelaesllrupkrwy nxkcakhnathiekiywkbcnghwarxbwnaelaphvtikrrmxyangxun aelw ipRGCs yngmibthbathinkarerimrieflksprbrumanta pupillary light reflex xikdwy 30 inpi kh s 2005 ednnis edsiyaelakhnaidaesdnginwngslingolkekawa RGC aebbyks giant ganglion cell thimikaraesdngxxkkhxng melanopsin nn sngaexksxnipyng lateral geniculate nucleus inthalams 31 khux kxnhnani idmikarkhnphbaetaexksxnthisngipyng pre tectal nucleus insmxngswnklang aelaipyng suprachiasmatic nucleus inihopthalamsethann thungkrann hnathiekiywkbkarehnkhxngesllniyngimchdecn thami inpi kh s 2007 farhan isdi aelakhnaidtiphimphnganwicytnchbbthithakarthdlxnginmnusythiimmiesllrupaethngimmiesllrupkrwy txma warsar Current Biology idprakasinpi kh s 2008 inbthbrrnathikarwa mikarkhnphbesllrbaesnginmnusythiimichesllrupaethngimichesllrupkrwyodymihlkthanepnkhxyuticakkarthdlxngsakhyinmnusyodyisdiaelakhna 28 32 33 34 khuxodyehmuxnkbthiphbinstweliynglukdwynmpraephthxun esllthiimichesllrupaethngimichesllrupkrwythiiwaesnginmnusykkhux RGC inertinadanin innganwicyni nkwicyidtamhakhnikhthihayakthiorkhidthalayesllrupkrwyaelaesllrupaethngaelwxyangsineching aetimidthaxairtx RGC 32 33 34 aemwacaimmiesllrupaethnghruxesllrupkrwy khnikhkyngmiyngmiphvtikrrmekiywkbcnghwarxbwn melanopsin suppression aelarieflksprbrumantathiehluxxyu odymiradbkhwamiwaesngsxdkhlxngkbkarmisarrngkhwtthuiwaesng melanopsin aelasmxngkyngmikarehnaesngthimikhwamthiethanixikdwyinmnusy RGC iwaesngmiswninkarehn conscious sight aelainhnathixun thiimekiywkbkarehnrwmthngthiekiywkbcnghwarxbwn phvtikrrm aelakarprbrumanta 35 ephraawa esllehlanitxbsnxngodymakkbaesngsinaengin cungmikhxesnxwaesllehlanimibthbathin mesopic vision karehninthislwimthungkbmud txngkarxangxing ngankhxngisdiaelakhnainmnusythiimmiesllrupaethngimmiesllrupkrwyyngepidthangihkbnganthdlxngekiywkbbthbathkhxng RGC iwaesngtxkarehnxikdwy khux ekidkarphbwa miwithiprasathkhnanknthimihnathiekiywkbkarehn withihnungepnwithikhlassikipcakesllrupaethngaelaesllrupkrwythixyuthangdannxkkhxngertina aelaxikwithihnungepnkartrwccbradbaesngswangaebbkhraw thiekidcakertinadanin sungduehmuxncaekidkarthangankxndannxk 35 nxkcaknnaelw rabbkhlassikyngpxnkhxmulihkbrabbthikhnphbihmxikdwy aelankwicyfxstxridesnxwa khwamsmaesmxkhxngsi colour constancy 36 xaccaepnhnathisakhykhxngrabbihmesllrbaesngnixacsakhytxkarekhaicorkhtang rwmthngorkhthithaihekidtabxdthwolkrwmthngtxhin sungepnorkhthimiphltx RGC aelakarsuksaesllrbaesngni xacthaihsamarthkhnhaaenwthangihm inkarbabdrksaorkhthiihekidtabxd karkhnphbesllrbaesngihm inmnusy aelakarsuksawa esllehlanimibthbathinkarehnxyangir imichbthbathinphvtikrrmthiimekiywkbkarehnxyangxun niaehla camiphlkwangkhwangthisudinsngkhmmnusy aemwa khwambkphrxngekiywkbcnghwarxbwnkepneruxngthinasnicinkaraephthyrksaxikxyanghnunginpi kh s 2003 stiewn lxkliyaelakhnaaesdngwa aesngmikhwamyawkhlunthi 460 naonemtrsamarthldradb melatonin sungepnhxromnineluxdthisuxcnghwarxbwn epnrayaewlayawthungsxngethanankwathikhwamyawkhlun 555 naonemtr nganwicyodymakbxkepnnywa radbkhwamyawkhlunthi RGC iwaesngtxbsnxngmakthisudxyurahwang 460 482 naonemtr aetwa nganwicyhlngcaknnodyfarhan isdiaelakhnainmnusythiimmiesllrupaethngimmiesllrupkrwyphbwa aesngkhwamekhmsungthinaipsukarrbruxyuthikhwamyawkhlun 481 naonemtr sungkhmaykhwamwa RGC iwaesngni yngihkarehnkhnphunthanekidkhuniddithisudinaesngsinaengin 35 duephim aekikhrabbrbkhwamrusukechingxrrthaelaxangxing aekikh Photoreceptor Cells subkhnemux 13 mithunayn 2557 Check date values in accessdate help xngkvsehnaesngswangrksatabxddwysetmesll subkhnemux 13 mithunayn 2557 Check date values in accessdate help txmipheniyl Pineal gland subkhnemux 13 mithunayn 2557 Check date values in accessdate help chiwwithya m 5 xwywarbsmphstang subkhnemux 13 mithunayn 2557 Check date values in accessdate help aesngedinthangekhasutakhxngeraxyangir How Light Enters the Eye subkhnemux 13 mithunayn 2557 Check date values in accessdate help eye human Encyclopaedia Britannica Encyclopaedia Britannica Ultimate Reference Suite Chicago Encyclopaedia Britannica 2010 7 0 7 1 Foster R G Provencio I Hudson D Fiske S Grip W Menaker M 1991 Circadian photoreception in the retinally degenerate mouse rd rd Journal of Comparative Physiology A 169 1 doi 10 1007 BF00198171 Hecht S Shlar S Pirenne M H 1942 Energy Quanta and Vision Journal of General Physiology 25 819 840 doi 10 1085 jgp 25 6 819 PMC 2142545 PMID 19873316 Hurvich Leo 1981 Color Vision Sinauer Human Physiology and Mechanisms of Disease by Arthur C Guyton 1992 ISBN 0 7216 3299 8 p 373 Richardson T M 1969 Cytoplasmic and ciliary connections between the inner and outer segments of mammalian visual receptors Vision Research 9 727 731 PMID 4979023 Louvi A Grove E A 2011 Cilia in the CNS The quiet organelle claims center stage Neuron 69 1046 1060 doi 10 1016 j neuron 2011 03 002 13 0 13 1 retinal eriykxikxyanghnungwa retinaldehyde hrux vitamin A aldehyde epnrupaebbhnunginhlayrupaebbkhxngwitaminexsunginaetlaspichiscamicanwnimethakn epn polyene chromophore khuxswnkaenidsimiphnthaaebbkhuepncanwnmak rwmxyuinoprtin opsin epnokhrngsrangekhmiphunthaninkarehnkhxngstw Bowmaker J K and Dartnall H J A 1980 Visual pigments of rods and cones in a human retina J Physiol 298 501 511 PMC 1279132 PMID 7359434 Foundations of Vision Archived 2013 12 03 thi ewyaebkaemchchin Brian A Wandell 16 0 16 1 16 2 16 3 16 4 16 5 16 6 16 7 16 8 Schacter Daniel L 2011 Psychology Second Edition 41 Madison Avenue New York NY 10010 Worth Publishers pp 136 137 ISBN 978 1 4292 3719 2 CS1 maint location link Goldstein E Bruce 2007 Sensation and Perception 7 ed Thomson and Wadswoth Wandell Brian A 1995 Foundations of Vision Sunderland MA Sinauer 19 0 19 1 Kandel E R 2000 Principles of Neural Science 4th ed New York McGraw Hill pp 507 513 ISBN 0 8385 7701 6 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help Eric R Kandel The Nobel Prize in Physiology or Medicine 2000 Nobel Foundation subkhnemux September 20 2007 Swaroop Anand August 2010 Transcriptional Regulation of Photoreceptor Development and Homeostasis in the Mammalian Retina Nature Reviews Neuroscience 11 563 576 doi 10 1038 nrn2880 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help horizontal cell epnniwrxnthimikarechuxmtxknaelakninchn Inner nuclear layer khxngertinainstweliynglukdwynm mihnathiprasanaelakhwbkhumkhxmulthimacakesllrbaesnghlaytw chwyihtasamarthehnidthnginthiswangaelathislw amacrine cell epn interneuron inertina retinal ganglion cell twyx RGC rbkhxmulthung 70 cak amacrine cell aela bipolar cell sungsngkhxmul 30 thiehluxphankarkhwbkhumody amacrine cell Provencio I aelakhna 2000 01 15 A human opsin in the inner retina The Journal of Neuroscience 20 2 600 605 PMID 10632589 Explicit use of et al in author help Hattar S Liao HW Takao M Berson DM Yau KW 2002 Melanopsin Containing Retinal Ganglion Cells Architecture Projections and Intrinsic Photosensitivity Science 295 5557 1065 70 Bibcode 2002Sci 295 1065H doi 10 1126 science 1069609 PMC 2885915 PMID 11834834 Melyan Z Tarttelin E E Bellingham J Lucas R J Hankins M W 2005 Addition of human melanopsin renders mammalian cells photoresponsive Nature 433 7027 741 5 Bibcode 2005Natur 433 741M doi 10 1038 nature03344 PMID 15674244 Qiu Xudong Kumbalasiri Tida Carlson Stephanie M Wong Kwoon Y Krishna Vanitha Provencio Ignacio Berson David M 2005 Induction of photosensitivity by heterologous expression of melanopsin Nature 433 7027 745 9 Bibcode 2005Natur 433 745Q doi 10 1038 nature03345 PMID 15674243 28 0 28 1 Vangelder R 2008 Non Visual Photoreception Sensing Light without Sight Current Biology 18 1 R38 doi 10 1016 j cub 2007 11 027 PMID 18177714 Berson David M 2007 Phototransduction in ganglion cell photoreceptors Pflugers Archiv European Journal of Physiology 454 5 849 55 doi 10 1007 s00424 007 0242 2 PMID 17351786 Lucas Robert J Douglas Ronald H Foster Russell G 2001 Characterization of an ocular photopigment capable of driving pupillary constriction in mice Nature Neuroscience 4 6 621 6 doi 10 1038 88443 PMID 11369943 Dacey Dennis M Liao Hsi Wen Peterson Beth B Robinson Farrel R Smith Vivianne C Pokorny Joel Yau King Wai Gamlin Paul D 2005 Melanopsin expressing ganglion cells in primate retina signal colour and irradiance and project to the LGN Nature 433 7027 749 54 Bibcode 2005Natur 433 749D doi 10 1038 nature03387 PMID 15716953 32 0 32 1 Genova Cathleen Blind humans lacking rods and cones retain normal responses to nonvisual effects of light Cell Press December 13 2007 33 0 33 1 Coghlan A Blind people see sunrise and sunset New Scientist 26 December 2007 issue 2635 34 0 34 1 Medical News Today Normal Responses To Non visual Effects Of Light Retained By Blind Humans Lacking Rods And Cones 14 December 2007 35 0 35 1 35 2 Zaidi FH aelakhna 2007 Short wavelength light sensitivity of circadian pupillary and visual awareness in humans lacking an outer retina Current biology CB 17 24 2122 8 doi 10 1016 j cub 2007 11 034 PMC 2151130 PMID 18082405 Explicit use of et al in author help khwamsmaesmxkhxngsi colour constancy epntwxyangkhxngkhwamsmaesmxkhxngsingthirbruodyxtny epnkhunsmbtixyanghnungkhxngrabbkarmxngehnkhxngmnusy thikxihekidkarehnsithismaesmxkhuxkhlaykn phayitaesngswangthimikhwamaetktangknaehlngxangxingxun aekikhCampbell Neil A and Reece Jane B 2002 Biology San Francisco Benjamin Cummings pp 1064 1067 ISBN 0 8053 6624 5 CS1 maint multiple names authors list link Freeman Scott 2002 Biological Science 2nd Edition Englewood Cliffs N J Prentice Hall pp 835 837 ISBN 0 13 140941 7 NIF Search Photoreceptor Cell via the Neuroscience Information Frameworkekhathungcak https th wikipedia org w index php title esllrbaesng amp oldid 9549083, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม