fbpx
วิกิพีเดีย

การประมวลผลให้เป็นความกลัวในสมอง

การประมวลผลให้เป็นความกลัวในสมอง (อังกฤษ: Fear processing in the brain) เป็นกระบวนการที่สมองแปลผลจากสิ่งเร้า ไปเป็นพฤติกรรมในสัตว์โดยเป็น "การตอบสนองประกอบด้วยความกลัว (fear response)"

มีการทดลองที่ได้ทำแล้วหลายอย่างเพื่อจะสืบหาว่า สมองแปลผลจากสิ่งเร้าได้อย่างไร และสัตว์มี การตอบสนองประกอบด้วยความกลัวที่เกิดขึ้นได้อย่างไร จริง ๆ แล้ว ความรู้สึกหวาดกลัว เป็นสิ่งที่กำหนดไว้กระทั่งในยีนของมนุษย์ เพราะความกลัวนั้นจำเป็นต่อการมีชีวิตรอดอยู่ได้ของแต่ละคน นอกจากนั้นแล้ว นักวิจัยยังพบว่า ความกลัวก่อร่างสร้างตัวอย่างไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ และเขตสมองชื่อว่า อะมิกดะลา มีบทบาทในการปรับสภาวะให้เกิดความกลัว (fear conditioning)

ถ้าเข้าใจว่า ความหวาดกลัวเกิดขึ้นได้อย่างไรในบุคคลหนึ่ง ๆ ก็อาจสามารถที่จะรักษาความผิดปกติทางจิตประเภทต่าง ๆ เช่น ความวิตกกังวล โรคกลัว และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจได้

วิถีประสาทแห่งความกลัว

ในกระบวนการปรับสภาวะให้เกิดความกลัว (fear conditioning) วงจรประสาทที่เกี่ยวข้องก็คือ

  • เขตรับความรู้สึกต่าง ๆ ที่แปลผลของตัวกระตุ้นทั้งมีเงื่อนไข (conditioned stimuli) และทั้งไม่มีเงื่อนไข (unconditioned stimuli)
  • บางส่วนของอะมิกดะลาที่มีความเปลี่ยนแปลงเมื่อผ่านการเรียนรู้ และ
  • เขตที่ให้เกิดการแสดงออกในการตอบสนองแบบมีเงื่อนไขบางอย่าง

เนื่องจากว่า วิถีประสาทเหล่านี้ ไปรวมตัวลงที่อะมิกดะลาด้านข้าง และเพราะว่า กระบวนการเสริมกำลังการส่งสัญญาณในระยะยาว (long-term potentiation, ตัวย่อ LTP) และสภาพพลาสติกของไซแนปส์ที่เพิ่มระดับการตอบสนองของนิวรอนที่อะมิกดะลาด้านข้างต่อตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข เกิดขึ้นที่อะมิกดะลาด้านข้าง ดังนั้น ข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นมีเงื่อนไขจึงสามารถจะเดินทางไปจากอะมิกดะลาด้านข้าง ไปถึงนิวเคลียสกลางของอะมิกดะลา คือ ส่วนฐาน (basal) และ Intercalated cells ของอะมิกดะลาเชื่อมอะมิกดะลาส่วนข้างไปยังนิวเคลียสกลางทั้งโดยตรงและโดยอ้อม วิถีประสาทจากนิวเคลียสกลางของอะมิกดะลาที่ดำเนินไปยังเขตต่อไปนั่นแหละ เป็นส่วนในสมองที่ควบคุมพฤติกรรมเพื่อป้องกันตน (เช่นการมีตัวแข็ง) ควบคุมการตอบสนองของระบบประสาทอัตโนวัติ (autonomic nervous system) และควบคุมการตอบสนองของระบบต่อมไร้ท่อ ซึ่งล้วนแต่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเนื่องด้วยความกลัว นอกจากนี้แล้ว งานวิจัยเร็ว ๆ นี้ยังแสดงว่า เขตคอร์เทกซ์ก่อนระบบลิมบิกมีบทบาทในการแสดงออกความกลัวเช่นเดียวกัน ซึ่งอาจจะเป็นเพราะมีการเชื่อมต่อกับส่วนฐานและนิวเคลียสกลางของอะมิกดะลา

มูลฐานทางพฤติกรรม

มีหลักฐานว่าความหวาดกลัวมีส่วนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม วิธีหนึ่งที่ปรากฏการณ์นี้ได้รับการวิจัยก็โดยใช้การทดลองแบบฉบับแบบสร้างความเครียดซ้ำ ๆ (repeated stress) เป็นฐาน เช่นในงานวิจัยของโรเบิรต์ แคมป์ งานวิจัยนี้ เป็นการสืบสวนทฤษฎีว่า การปรับสภาวะให้เกิดความกลัว (fear conditioning) อาจจะเป็นเหตุสำคัญยิ่งในการเปลี่ยนพฤติกรรมของสัตว์ที่เกิดความเครียดแบบซ้ำ ๆ

ส่วนความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมประเภทที่กล่าวถึงบ่อย ๆ ก็คือ พฤติกรรมเศร้าซึมที่เกิดจากวิธีการทดลองเช่นนี้ ่เช่น นักวิจัยชื่อว่า ฟิชเช่อร์ ได้ทำความเครียดให้เกิดขึ้นกับหนูทดลองโดยวิธีต่าง ๆ ทุก ๆ วัน ในสิ่งแวดล้อมที่ซับซ้อน และภายหลังจากให้หนูอยู่ในสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดอย่างนั้นเป็นเวลา 4 วัน จึงได้ทดสอบพฤติกรรมการสำรวจสถานที่และการอยู่ร่วมกับหนูอื่นในวันที่ 5 ภายในสิ่งแวดล้อมเดียวกันหรือในสิ่งแวดล้อมใหม่ หนูทดลองปรากฏว่ามีพฤติกรรมในระดับลดลงในสถานการณ์ต่าง ๆ เมื่อเทียบกับหนูกลุ่มควบคุม นอกจากนั้นแล้ว การฉีดยา propranolol ซึ่งเป็นสารต้าน beta-adrenergic receptor ให้หนูอย่างต่อเนื่อง ปรากฏว่ายับยั้งความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมที่กล่าวถึง (เพราะเข้าไปยับยั้ง LTP และดังนั้นจึงยับยั้งการปรับสภาวะให้เกิดความกลัว) แม้ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดเหมือนกัน ความเป็นไปอย่างนี้เป็นการแสดงสหสัมพันธ์ของระบบชีวเคมีของระบบประสาทกับกระบวนการ LTP ที่จะกล่าวถึงต่อไป

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีความเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพอย่างอื่น ๆ เกิดขึ้นอีกด้วยรวมทั้ง น้ำหนักเพิ่มและต่อมหมวกไตโต (adrenal hypertrophy) ในสัตว์ที่ประสบความเครียด โดยทั่วไป ๆ แล้ว การตอบสนองด้วยความกลัวแบบมีเงื่อนไข (conditioned fear responses) สามารถส่งผลเป็นความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมเพราะเหตุแห่งความเครียดซ้ำ ๆ สหสัมพันธ์เช่นนี้อาจจะมีอยู่ในสัตว์อื่น ๆ อีกด้วยแม้ว่าจะมีระดับการตอบสนองที่ต่าง ๆ กัน

มูลฐานระดับโมเลกุล

กลไกระดับโมเลกุลที่สัมพันธ์โดยตรงกับการแสดงออกทางพฤติกรรมของการปรับสภาวะ (conditioning) สามารถวิจัยได้ง่ายในการรักษาพยาบาล ง่ายกว่ากลไกของ LTP ซึ่งเป็นกรณีที่สภาพพลาสติกของไซแนปส์เกิดขึ้นเพราะการกระตุ้นเชิงไฟฟ้าหรือเชิงเคมีต่อวงจรประสาทของอะมิกดะลาด้านข้าง LTP มีความสำคัญต่อการแปลผลให้เป็นความกลัวเพราะว่าเป็นกระบวนการที่เพิ่มกำลังของไซแนปส์ (synaptic strength) ในวงจรประสาทไซแนปส์ที่เพิ่มกำลังอย่างนี้ เป็นวิธีการที่ความทรงจำระยะยาวและความหวาดกลัวเกิดขึ้น

สภาพพลาสติกของไซแนปส์แบบเฮ็บเบียน

กำลังของไซแนปส์ (synaptic strength) สามารถเพิ่มขึ้น เมื่อนิวรอนก่อนไซแนปส์ (presynaptic neuron) ยิงสัญญาณพร้อม ๆ กันกับการลดขั้ว (depolarization) ในนิวรอนหลังไซแนปส์ (postsynaptic neuron) ความเป็นไปอย่างนี้รู้จักกันว่า สภาพพลาสติกของไซแนปส์แบบเฮ็บเบียน (Hebbian synaptic plasticity)

สมมุติฐานนี้ให้คำอธิบายเป็นที่พอใจเกี่ยวกับความเป็นไปของกระบวนการของการเรียนรู้แบบสัมพันธ์ง่าย ๆ เช่นในการปรับสภาวะให้เกิดความกลัว (fear conditioning) คือ ทฤษฎีนี้สามารถใช้อธิบายการปรับสภาวะให้เกิดความกลัวว่า เมื่อมีการกระตุ้นวงจรประสาทด้วยตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข (conditioned stimuli) และตัวกระตุ้นไร้เงื่อนไข (unconditioned stimuli) พร้อม ๆ กัน และตัวกระตุ้นไร้เงื่อนไขนั้นมีผลให้เกิดความกลัวโดยธรรมชาติคือก่อให้เกิดการลดขั้ว (depolarization) ที่มีกำลังในอะมิกดะลาด้านข้าง ความเป็นไปอย่างนี้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในไซแนปส์ที่เชื่อมต่อกันระหว่างวงจรประสาทที่แปลผลตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข กับอะมิกดะลาด้านข้าง จนในที่สุด การกระตุ้นวงจรประสาทด้วยตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข ก็ส่งผลให้มีการตอบสนองในอะมิกดะลาด้านข้างซึ่งตอนแรกตอบสนองต่อตัวกระตุ้นไร้เงื่อนไขเท่านั้น ส่งผลให้เกิดความกลัวเนื่องมาจากตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข

NMDA-Type ionotropic glutamate receptors

เชื่อกันว่าสภาพพลาสติกแบบเฮ็บเบียนมีความเกี่ยวข้องกับหน่วยรับความรู้สึกที่มีปฏิกิริยากับสาร N-methyl-d-aspartate (คือหน่วยความรู้สึกที่มีตัวย่อว่า NMDARs) ซึ่งส่วนของนิวรอนหลังไซแนปส์ของอะมิกดะลาด้านข้าง NMDARs เป็นสิ่งที่รู้กันว่า เป็นตัวตรวจจับการบรรจวบ (coincidence detector) ของการทำงานก่อนไซแนปส์และการลดขั้วหลังไซแนปส์ คือ ได้พบว่า ตัวรับสัญญาณเข้าทางการได้ยินเป็น NMDARs ที่อยู่ในอะมิกดะลาด้านข้าง ซึ่งใช้กลูตาเมตเป็นสารสื่อประสาท และมีการทดสอบแล้วว่า เมื่อเขตในอะมิกดะลาที่ได้รับสัญญาณการได้ยิน รับข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้นไร้เงื่อนไข ในขณะที่มีการฉีดสารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อ NMDARs ที่อะมิกดะลาด้านข้าง ก็จะเกิดการขัดขวางต่อการเรียนรู้ที่ให้เกิดความกลัว ดังนั้น NMDARs จึงเป็นหน่วยรับความรู้สึกที่ขาดไม่ได้ในวิถีประสาทเพื่อการประมวลผลที่ทำให้เกิดความรู้สึกกลัว

กลไกควบคุมระบบประสาทโดย monoamine

เชื่อกันว่า สารสื่อประสาทประเภท monoamineที่หลั่งออกในสถานการณ์ที่เกิดความสะเทือนใจ เช่น norepinepherine และโดพามีน มีบทบาทในการควบคุมการสื่อประสาทแบบเร้าที่ใช้กลูตาเมต และในการควบคุมสภาพพลาสติกแบบเฮ็บเบียน ความแปรไปของสภาพพลาสติกทุก ๆ ประเภทเรียกว่า heterosynaptic plasticity ส่วน homosynaptic plasticity ก็ปรากฏแพร่หลายเหมือนกันแต่เป็นสภาพพลาสติกแบบเฮ็บเบียนเท่านั้น ในแบบจำลองต่าง ๆ ที่ใช้อธิบายสภาพพลาสติก ก็แสดง monoamine ว่า เป็นตัวควบคุมสภาพพลาสติกที่เป็นมูลฐานให้เกิดความทรงจำอย่างเช่นระดับความรู้สึกกลัวที่สูงขึ้น นอกจากนั้นแล้ว ยังพบว่า สารควบคุมประสาท (neuromodulator) ก็มีบทบาทในการปรับสภาวะให้เกิดความกลัว (fear conditioning) ด้วย คือ แม้ว่ากลไกเฮ็บเบียน จะมีบทบาทในสภาพพลาสติกของอะมิกดะลาด้านข้างและการเรียนรู้ให้เกิดความกลัว แต่ก็มีสารควบคุมประสาทอื่น ๆ ที่มีบทบาทในการเรียนรู้และความทรงจำเช่น เซโรโทนิน acetylcholine endocannabinoids และเพปไทด์หลายประเภทเช่น เพปไทด์ที่ทำให้เกิดการหลั่ง gastrin, NPY, สารฝิ่น, และ oxytocin แต่บทบาทของสารควบคุมประสาทอื่น ๆ เหล่านี้ ยังไม่ชัดเจน

Norepinephrine
โดพามีน

วงจรประสาทเกี่ยวกับความกลัว

การรู้จำความกลัว

งานวิจัยแสดงว่า ความเสียหายต่ออะมิกดะลาทั้งสองซีก มีผลต่อการรู้จำความกลัว (fear recognition) โดยหลัก ในงานวิจัยของแอนดรู แคลเดอร์ และแอนดรู ยัง พวกเขาให้ผู้รับการทดลองแบ่งประเภทรูปสีหน้าออกเป็น มีความสุข ตกใจ หวาดกลัว เศร้าใจ ขยะแขยง และโกรธ ในขณะที่กลุ่มควบคุมสามารถแบ่งประเภทรูปเหล่านี้ได้อย่างเหมาะสม ผู้รับการทดลองที่มีความเสียหายต่ออะมิกดะลาทั้งสองข้างมีปัญหาในการทำการแยกแยะ โดยเฉพาะกับสีหน้าที่แสดงความกลัว คือ พวกเขาไม่มีปัญหาแยกแยะใบหน้าที่มีความสุขจากที่มีความเศร้า แต่ไม่สามารถแยกแยะสีหน้าที่แสดงความโกรธจากที่แสดงความกลัว

ต่อจากนั้น งานทดลองที่ทำโดยราฟ อะดอลฟ์ส ได้แสดงกลไกของการรู้จำความกลัวที่เสียหาย อะดอลฟ์สพบว่า ผู้รับการทดลองคนหลักของเขาผู้มีความเสียหายต่ออะมิกดะลาทั้งสองซีก ไม่สามารถแยกแยะการแสดงออกของความกลัว เพราะเธอจะไม่มองดูเขตตาของใบหน้าด้วยตนเอง แต่เมื่อบอกให้เธอมองดูเขตตาของใบหน้าที่แสดงความกลัว เธอก็สามารถรู้จำอารมณ์ความรู้สึกนั้นได้

แม้ว่า อะมิกดะลาจะมีบทบาทสำคัญในการรู้จำความกลัว งานวิจัยต่อ ๆ มากลับแสดงว่า มีวิถีประสาทอื่น ๆ ที่สามารถรับรองการเรียนรู้ให้เกิดความกลัวแม้ว่าจะปราศจากอะมิกดะลาที่ใช้การได้ นอกจากนั้น งานวิจัยโดยแอนดี้ คาซามา ยังแสดงด้วยว่า แม้ว่าอะมิกดะลาจะมีความเสียหาย แต่เป็นไปได้ที่คนไข้จะสามารถแยกแยะตัวกระตุ้นที่เป็นตัวช่วยอย่างอื่น ๆ ที่บอกถึงความปลอดภัยหรืออันตราย

ตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข

มีงานวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข (conditioned stimuli) ที่มีการจับคู่ตัวกระตุ้นที่เป็นกลาง ๆ เช่นไฟที่โพลงวาบขึ้นมา กับตัวกระตุ้นไร้เงื่อนไข (unconditioned stimuli) ที่ทำให้เกิดความกลัว เช่นถูกไฟดูด ในการทดลองกับหนู ผลที่ต้องการในการจับคู่อย่างนี้ก็คือ เพื่อให้ตัวกระตุ้นที่เป็นกลาง ๆ (คือตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข) ก่อให้เกิดการตอบสนองไร้เงื่อนไข คือความกลัว หลังจากการปรับสภาวะโดยวิธีนี้ ก็จะให้ตัวกระตุ้นกลาง ๆ กับหนูอีกครั้งหนึ่งเพื่อที่จะดูว่า จะมีการตอบสนองด้วยความกลัวด้วยหรือไม่ แต่เพราะว่า การตอบสนองโดยความกลัวอาจจะรวมถึงพฤติกรรมหลาย ๆ อย่าง ดังนั้น จึงสำคัญที่จะสังเกตว่าหนูแสดงพฤติกรรมใดเมื่อให้ตัวกระตุ้นมีเงื่อนไขแก่หนู

ตัวกระตุ้นทางตาและทางหู

ในส่วนเบื้องต้น ทาลามัสเขตสายตารับตัวกระตุ้นทางตา แล้วส่งข้อมูลต่อไปยังอะมิกดะลาเพื่อให้ตรวจดูว่ามีอันตรายหรือไม่ นอกจากนั้นแล้ว ทาลามัสเขตสายตายังส่งข้อมูลไปยังคอร์เทกซ์สายตาเพื่อประมวลผลหาตัวกระตุ้นที่อาจจะก่อให้เกิดอันตราย ถ้ามี คอร์เทกซ์ก็จะส่งสัญญาณไปยังอะมิกดะลามีผลให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ เพิ่มระดับการเต้นของหัวใจ และเพิ่มความดันเลือด คือไปเริ่มการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic nervous system)

นอกจากนั้นแล้ว มีการพบว่า ตัวกระตุ้นกลาง ๆ ที่ปรากฏทางตา เพิ่มความรู้สึกกลัวหรือความรู้สึกไม่แน่ใจที่เกิดขึ้นก่อนเพราะข้อมูลทางประสาทอื่นเช่นทางหู จากงานวิจัยของเลอดูซ์ พบว่า ทาลามัสเขตได้ยินไม่ได้ส่งตัวกระตุ้นคือเสียงโดยตรงไปยังนิวเคลียสกลางของอะมิกดะลา

การรับรู้ความกลัว

ความกลัวเกิดขึ้นเนื่องจากตัวกระตุ้นต่าง ๆ กัน และมีกระบวนการทางชีวเคมีดังที่กล่าวไปแล้ว วิลเลียม อาร์เอ็ม และคณะ ศึกษาเรื่องสหสัมพันธ์ทางประสาท (Neural correlate) ของการทำงานร่วมกันระหว่างข้อมูลทางภาษาและข้อมูลทางตา งานวิจัยนั้นตรวจสอบดูว่า ข้อมูลทางภาษาและทางตาทำงานร่วมกันอย่างไรเพื่อก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก โดยใช้ปรากฏการณ์สามัญในการถ่ายหนังอย่างหนึ่งว่า การแสดงภาพทางตาที่เป็นกลาง ๆ ปรากฏว่า เพิ่มความรู้สึกกลัวหรือความไม่แน่ใจซึ่งเริ่มขึ้นจากข้อมูลทางประสาทอื่นเช่นทางภาษา ได้มีการใช้หลักการนี้เพื่อเพิ่มความกลัวโดยแสดงตัวกระตุ้นทางตาที่เป็นกลาง ๆ ไอเดียของหลักการก็คือ ข้อมูลทางตาเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับตัวกระตุ้น (ซึ่งในที่นี้คือภาษา) ที่ทำให้เกิดความกลัว โดยทำสิ่งที่เพียงกล่าวไว้ในประโยคคำพูดที่เป็นนามธรรมให้เกิดเป็นรูปธรรมขึ้นมา เชื่อกันว่า การทำงานที่เกิดขึ้นที่ temporal pole ด้านหน้าโดยเฉพาะ ทำหน้าที่เชื่อมข้อมูลความรู้สึกที่มาจากวิถีประสาทหลาย ๆ ทางเช่นข้อมูลทางตาและข้อมูลทางภาษา

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. ใน การปรับสภาวะแบบฉบับ (classical conditioning) ตัวกระตุ้นมีเงื่อนไข (conditioned stimulus) เป็นตัวกระตุ้นที่เกิดขึ้นก่อนตัวกระตุ้นไร้เงื่อนไข (unconditioned stimulus) ตัวกระตุ้นไร้เงื่อนไขมักจะเป็นตัวกระตุ้นที่มีความสำคัญทางชีวภาพเช่นอาหาร หรือความรู้สึกเจ็บปวด ที่สามารถก่อให้เกิดการตอบสนองทางพฤติกรรมโดยธรรมชาติมาตั้งแต่แรก การตอบสนองนี้เรียกว่า การตอบสนองไร้เงื่อนไข ส่วนตัวกระตุ้นมีเงื่อนไขเองตอนแรกไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง แต่หลังจากการปรับสภาวะ ก็จะก่อให้เกิดการตอบสนองคือการตอบสนองมีเงื่อนไข คือหลังจากการปรับสภาวะ ตัวกระตุ้นมีเงื่อนไขที่ตอนแรกไม่ก่อให้เกิดการตอบสนองทางพฤติกรรม กลายเป็นตัวกระตุ้นที่ก่อให้เกิดการตอบสนองเหมือนกับการตอบสนองต่อตัวกระตุ้นไร้เงื่อนไข
  2. การเสริมกำลังการส่งสัญญาณในระยะยาว (Long-term potentiation) เป็นการทำการส่งสัญญาณระหว่างนิวรอน 2 เซลล์ให้ดีขึ้นโดยกระตุ้นนิวรอนเหล่านั้นแบบสมวารคือพร้อม ๆ กัน นี่เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่เป็นเหตุของสภาพพลาสติกของไซแนปส์ (synaptic plasticity) ซึ่งก็คือความที่ระดับการเชื่อมต่อกันของไซแนปส์แบบเคมีสามารถเปลี่ยนไปได้ และเนื่องจากว่า ความทรงจำนั้นสันนิษฐานกันว่า มีการเข้ารหัสโดยการเปลี่ยนระดับการเชื่อมต่อกันของไซแนปส์ LTP จึงได้รับการพิจารณาว่า เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญในระดับเซลล์ของการเรียนรู้และความทรงจำ
  3. Intercalated cells of the amygdala เป็นกลุ่มนิวรอนที่สื่อสัญญาณโดยสารสื่อประสาท GABA (มีฤทธิ์ยับยั้ง) ระหว่าง basolateral nuclei และ central nuclei ของอะมิกดะลา มีความสำคัญต่อการควบคุมอะมิกดะลาแบบยับยั้ง
  4. Ledoux, Joseph (2003). "The Emotional Brain, Fear, and the Amygdala". Cellular and Molecular Neurobiology. 23 (4/5): 727–38. doi:10.1023/A:1025048802629. PMID 14514027.
  5. Davis, M (1992). "The Role of the Amygdala in Fear and Anxiety". Annual Review of Neuroscience. 15: 353–75. doi:10.1146/annurev.ne.15.030192.002033. PMID 1575447.
  6. Camp, Robert M.; Remus, Jennifer L.; Kalburgi, Sahana N.; Porterfield, Veronica M.; Johnson, John D. (2012). "Fear conditioning can contribute to behavioral changes observed in a repeated stress model". Behavioural Brain Research. 233 (2): 536–44. doi:10.1016/j.bbr.2012.05.040. PMID 22664265.
  7. propranolol เป็นยา beta-blocker ให้สำหรับความดันโลหิตสูง ความวิตกกังวล และความตื่นตระหนก
  8. คำนิยามของ กำลังของไซแนปส์ (synaptic strength) ก็คือ แอมพลิจูดของความเปลี่ยนแปลงของศักย์เยื่อหุ้มเซลล์ ที่เกิดจากศักยะงานก่อนไซแนปส์ ส่วนไซแนปส์ในที่นี้หมายถึงกลุ่มของไซแนปส์หรือแม้แต่ไซแนปส์เดียว ที่เชื่อมนิวรอนก่อนไซแนปส์กับนิวรอนหลังไซแนปส์ ความเปลี่ยนแปลงของศักย์นั้นเรียกว่า ศักย์หลังไซแนปส์ (postsynaptic potential ตัวย่อ PSP) ซึ่งมีค่าตั้งแต่ 0.4 มิลลิโวลต์ จนถึง 20 มิลลิโวลต์ PSP สามารถเปลี่ยนได้โดยสารควบคุมประสาท (neuromodulator) หรือความเป็นไปในไซแนปส์ในอดีต และกำลังของไซแนปส์อาจจะเปลี่ยนเป็นระยะสั้น ๆ ตั้งแต่หลายวินาทีจนถึงหลายนาที หรืออาจจะเป็นระยะยาว (เรียกว่า long-term potentiation) คือเป็นชั่วโมง เชื่อกันว่า การเรียนรู้และความทรงจำเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของกำลังไซแนปส์ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่าสภาพพลาสติกของไซแนปส์ (synaptic plasticity)
  9. Deandrade, Mark P.; Zhang, Li; Doroodchi, Atbin; Yokoi, Fumiaki; Cheetham, Chad C.; Chen, Huan-Xin; Roper, Steven N.; Sweatt, J. David; Li, Yuqing (2012). Di Cunto, Ferdinando (บ.ก.). "Enhanced Hippocampal Long-Term Potentiation and Fear Memory in Btbd9 Mutant Mice". PLoS ONE. 7 (4): e35518. Bibcode:2012PLoSO...7E5518D. doi:10.1371/journal.pone.0035518. PMC 3334925. PMID 22536397.
  10. Rogan, Michael T.; Stäubli, Ursula V.; Ledoux, Joseph E. (1997). "Fear conditioning induces associative long-term potentiation in the amygdala". Nature. 390 (6660): 604–7. Bibcode:1997Natur.390..604R. doi:10.1038/37601. PMID 9403688.
  11. ทฤษฎีเฮ็บเบียน (Hebbian theory) เป็นทฤษฎีในวิทยาศาสตร์ประสาทที่อธิบายการปรับตัว (หรือเปลี่ยนแปลง) ของนิวรอนในช่วงที่มีการเรียนรู้ เป็นทฤษฎีที่อธิบายกลไกพื้นฐานอย่างหนึ่งของสภาพพลาสติกของไซแนปส์ (synaptic plasticity) ที่ประสิทธิภาพ (หรือกำลัง) ของไซแนปส์เพิ่มขึ้นเพราะการที่เซลล์ก่อนไซแนปส์ (presynaptic cell) มีส่วนในการกระตุ้นเซลล์หลังไซแนปส์ (postsynaptic cell) ให้ยิงสัญญาณ อย่างซ้ำ ๆ และสม่ำเสมอ เป็นทฤษฎีที่เสนอโดยดอนัลด์ เฮ็บบ์ในปี ค.ศ. 1949 บางครั้งเรียกว่า กฎของเฮ็บบ์ (Hebb's Rule) หรือหลักของเฮ็บบ์ (Hebb's postulate) ทฤษฎีนี้สามารถกล่าวอย่างย่อ ๆ ว่า "เซลล์ที่ยิงสัญญาณด้วยกัน ก็จะเกิดการเชื่อมต่อกัน (Cells that fire together, wire together)" เป็นทฤษฎีที่อธิบายการเรียนรู้แบบสัมพันธ์ว่า การทำงานที่เกิดขึ้นพร้อมกันของเซลล์นำไปสู่การเพิ่มกำลังของไซแนปส์ (synaptic strength) ของเซลล์เหล่านั้น การเรียนรู้อย่างนี้เรียกว่า การเรียนรู้แบบเฮ็บเบียน (Hebbian learning)
  12. N-methyl-d-aspartate (ตัวย่อ NMDA) เป็นกรดอะมิโนที่เป็นตัวทำการ (agonist) ของหน่วยรับความรู้สึก NMDA มีกัมมันตภาพคล้ายกลูตาเมต ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทซึ่งมีฤทธิ์ต่อหน่วยรับความรู้สึกนั้นและหน่วยรับความรู้สึกประเภทกลูตาเมตอื่น ๆ
  13. การตรวจจับการบรรจวบ (coincidence detection) เป็นกระบวนการที่นิวรอนหรือวงจรประสาทตรวจจับการเกิดขึ้นของสัญญาณประสาทด้านเข้าที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันแต่อยู่ในคนละพื้นที่ แล้วเข้ารหัสข้อมูลที่แสดงความสัมพันธ์กันของสัญญาณประสาทเหล่านั้น
  14. Dobi, Alice; Sartori, Simone B.; Busti, Daniela; Van Der Putten, Herman; Singewald, Nicolas; Shigemoto, Ryuichi; Ferraguti, Francesco (2012). "Neural substrates for the distinct effects of presynaptic group III metabotropic glutamate receptors on extinction of contextual fear conditioning in mice". Neuropharmacology. 66: 274–89. doi:10.1016/j.neuropharm.2012.05.025. PMC 3557389. PMID 22643400.
  15. Falls, William A.; Miserendino, Mindy J. D.; Davis, Michael (1992). "Extinction of Fear-potentiated Startle: Blockade by Infusion of an NMDA Antagonist into the Amygdala". The Journal of Neuroscience. 12 (3): 854–63. PMID 1347562.
  16. monoamine เป็นสารสื่อประสาทและสารควบคุมประสาท (neuromodulator) ที่มีกรดอะมิโนเชื่อมกับ aromatic ring โดยลูกโซ่มีสองคาร์บอน (-CH2-CH2)
  17. ปรากฏการณ์แบบ heterosynaptic คือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นที่ไซแนปส์ (หรือเรียกว่า junctions) ที่เชื่อมต่อกันระหว่างนิวรอน เป็นปรากฏการณ์ที่ประกอบด้วยการทำงานร่วมกันระหว่างไซแนปส์ต่าง ๆ กันหรือกลุ่มของไซแนปส์ คำนี้มักใช้ร่วมกับทฤษฎีเกี่ยวกับการยิงสัญญาณของนิวรอนที่ทำให้เกิด long-term depression และ long-term potentiation ตัวอย่างเช่น long-term depression แบบ heterosynaptic เกิดขึ้นเมื่อการทำงานในไซแนปส์หนึ่งของนิวรอนหนึ่ง ลดระดับการส่งสัญญาณของไซแนปส์อีกไซแนปส์หนึ่งของนิวรอนนั้น
  18. การทำงานร่วมกันแบบ homosynaptic หมายถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นที่ไซแนปส์เดียวหรือกลุ่มของไซแนปส์ แต่ไม่ได้มีการทำงานร่วมกันกับไซแนปส์อื่น หรือกับกลุ่มไซแนปส์อื่น คำนี้มักใช้ร่วมกับทฤษฎีเกี่ยวกับการยิงสัญญาณของนิวรอนที่ทำให้เกิด long-term depression และ long-term potentiation ตัวอย่างเช่น long-term potentiation แบบ homosynaptic เกิดขึ้นที่ไซแนปส์อันเป็นที่เชื่อมต่อกันของนิวรอนสองตัว เป็นผลจากการที่การยิงสัญญาณของไซแนปส์มีสหสัมพันธ์ (correlation) ตามกาลต่อกันและกัน
  19. Flavell, C. R.; Lee, J. L. C. (2012). "Post-training unilateral amygdala lesions selectively impair contextual fear memories". Learning & Memory. 19 (6): 256–63. doi:10.1101/lm.025403.111. PMID 22615481.
  20. Sigurdsson, Torfi; Doyère, Valérie; Cain, Christopher K.; Ledoux, Joseph E. (2007). "Long-term potentiation in the amygdala: A cellular mechanism of fear learning and memory". Neuropharmacology. 52 (1): 215–27. doi:10.1016/j.neuropharm.2006.06.022. PMID 16919687.
  21. กลไกเฮ็บเบียน (Hebbian mechanism) คือการยิงสัญญาณพร้อม ๆ กันของนิวรอนก่อนไซแนปส์และนิวรอนหลังไซแนปส์
  22. Ledoux, Joseph E.; Cicchetti, Piera; Xagoraris, Andrew; Romanski, Lizabeth M. (1990). "The Lateral Amygdaloid in Fear Conditioning Nucleus: Sensory Interface Amygdala in Fear Conditioning". The Journal of Neuroscience. 10 (4): 1062–9. PMID 2329367.
  23. Calder, Andrew J. (1996). "Facial Emotion Recognition after Bilateral Amygdala Damage: Differentially Severe Impairment of Fear". Cognitive Neuropsychology. 13 (5): 699–745. doi:10.1080/026432996381890.
  24. Adolphs, Ralph; Gosselin, Frederic; Buchanan, Tony W.; Tranel, Daniel; Schyns, Philippe; Damasio, Antonio R. (2005). "A mechanism for impaired fear recognition after amygdala damage". Nature. 433 (7021): 68–72. Bibcode:2005Natur.433...68A. doi:10.1038/nature03086. PMID 15635411.
  25. Morris, J. S.; Ohman, A; Dolan, RJ (1999). "A Subcortical Pathway to the Right Amygdala Mediating 'Unseen' Fear". Proceedings of the National Academy of Sciences. 96 (4): 1680–5. Bibcode:1999PNAS...96.1680M. doi:10.1073/pnas.96.4.1680. JSTOR 47262. PMC 15559. PMID 9990084.
  26. Kazama, Andy M.; Heuer, Eric; Davis, Michael; Bachevalier, Jocelyne (2012). "Effects of neonatal amygdala lesions on fear learning, conditioned inhibition, and extinction in adult macaques". Behavioral Neuroscience. 126 (3): 392–403. doi:10.1037/a0028241. PMID 22642884.
  27. Scott, Sophie K.; Young, Andrew W.; Calder, Andrew J.; Hellawell, Deborah J.; Aggleton, John P.; Johnsons, Michael (1997). "Impaired auditory recognition of fear and anger following bilateral amygdala lesions". Nature. 385 (6613): 254–7. Bibcode:1997Natur.385..254S. doi:10.1038/385254a0. PMID 9000073.
  28. Willems, R. M.; Clevis, K.; Hagoort, P. (2010). "Add a picture for suspense: Neural correlates of the interaction between language and visual information in the perception of fear". Social Cognitive and Affective Neuroscience. 6 (4): 404–16. doi:10.1093/scan/nsq050. PMC 3150851. PMID 20530540.

การประมวลผลให, เป, นความกล, วในสมอง, งกฤษ, fear, processing, brain, เป, นกระบวนการท, สมองแปลผลจากส, งเร, ไปเป, นพฤต, กรรมในส, ตว, โดยเป, การตอบสนองประกอบด, วยความกล, fear, response, การทดลองท, ได, ทำแล, วหลายอย, างเพ, อจะส, บหาว, สมองแปลผลจากส, งเร, าได, อย, า. karpramwlphlihepnkhwamklwinsmxng xngkvs Fear processing in the brain epnkrabwnkarthismxngaeplphlcaksingera ipepnphvtikrrminstwodyepn kartxbsnxngprakxbdwykhwamklw fear response mikarthdlxngthiidthaaelwhlayxyangephuxcasubhawa smxngaeplphlcaksingeraidxyangir aelastwmi kartxbsnxngprakxbdwykhwamklwthiekidkhunidxyangir cring aelw khwamrusukhwadklw epnsingthikahndiwkrathnginyinkhxngmnusy ephraakhwamklwnncaepntxkarmichiwitrxdxyuidkhxngaetlakhn nxkcaknnaelw nkwicyyngphbwa khwamklwkxrangsrangtwxyangimidxyuitxanaccitic aelaekhtsmxngchuxwa xamikdala mibthbathinkarprbsphawaihekidkhwamklw fear conditioning thaekhaicwa khwamhwadklwekidkhunidxyangirinbukhkhlhnung kxacsamarththicarksakhwamphidpktithangcitpraephthtang echn khwamwitkkngwl orkhklw aelakhwamphidpktithiekidhlngkhwamekhriydthisaethuxnicid enuxha 1 withiprasathaehngkhwamklw 2 multhanthangphvtikrrm 3 multhanradbomelkul 3 1 sphaphphlastikkhxngisaenpsaebbehbebiyn 3 1 1 NMDA Type ionotropic glutamate receptors 3 1 2 klikkhwbkhumrabbprasathody monoamine 3 1 2 1 Norepinephrine 3 1 2 2 odphamin 4 wngcrprasathekiywkbkhwamklw 4 1 karrucakhwamklw 4 2 twkratunmienguxnikh 4 3 twkratunthangtaaelathanghu 5 karrbrukhwamklw 6 echingxrrthaelaxangxingwithiprasathaehngkhwamklw aekikhinkrabwnkarprbsphawaihekidkhwamklw fear conditioning wngcrprasaththiekiywkhxngkkhux ekhtrbkhwamrusuktang thiaeplphlkhxngtwkratunthngmienguxnikh conditioned stimuli 1 aelathngimmienguxnikh unconditioned stimuli 1 bangswnkhxngxamikdalathimikhwamepliynaeplngemuxphankareriynru aela ekhtthiihekidkaraesdngxxkinkartxbsnxngaebbmienguxnikhbangxyangenuxngcakwa withiprasathehlani iprwmtwlngthixamikdaladankhang aelaephraawa krabwnkaresrimkalngkarsngsyyaninrayayaw long term potentiation twyx LTP 2 aelasphaphphlastikkhxngisaenpsthiephimradbkartxbsnxngkhxngniwrxnthixamikdaladankhangtxtwkratunmienguxnikh ekidkhunthixamikdaladankhang dngnn khxmulekiywkbtwkratunmienguxnikhcungsamarthcaedinthangipcakxamikdaladankhang ipthungniwekhliysklangkhxngxamikdala khux swnthan basal aela Intercalated cells 3 khxngxamikdalaechuxmxamikdalaswnkhangipyngniwekhliysklangthngodytrngaelaodyxxm withiprasathcakniwekhliysklangkhxngxamikdalathidaeninipyngekhttxipnnaehla epnswninsmxngthikhwbkhumphvtikrrmephuxpxngkntn echnkarmitwaekhng khwbkhumkartxbsnxngkhxngrabbprasathxtonwti autonomic nervous system aelakhwbkhumkartxbsnxngkhxngrabbtxmirthx sunglwnaetmiswnekiywkhxngkbphvtikrrmenuxngdwykhwamklw nxkcakniaelw nganwicyerw niyngaesdngwa ekhtkhxrethkskxnrabblimbikmibthbathinkaraesdngxxkkhwamklwechnediywkn sungxaccaepnephraamikarechuxmtxkbswnthanaelaniwekhliysklangkhxngxamikdala 4 multhanthangphvtikrrm aekikhmihlkthanwakhwamhwadklwmiswnthaihekidkhwamepliynaeplngthangphvtikrrm 5 withihnungthipraktkarnniidrbkarwicykodyichkarthdlxngaebbchbbaebbsrangkhwamekhriydsa repeated stress epnthan echninnganwicykhxngorebirt aekhmp 6 nganwicyni epnkarsubswnthvsdiwa karprbsphawaihekidkhwamklw fear conditioning xaccaepnehtusakhyyinginkarepliynphvtikrrmkhxngstwthiekidkhwamekhriydaebbsa swnkhwamepliynaeplngthangphvtikrrmpraephththiklawthungbxy kkhux phvtikrrmesrasumthiekidcakwithikarthdlxngechnni echn nkwicychuxwa fichechxr idthakhwamekhriydihekidkhunkbhnuthdlxngodywithitang thuk wn insingaewdlxmthisbsxn aelaphayhlngcakihhnuxyuinsthankarnthikxihekidkhwamekhriydxyangnnepnewla 4 wn cungidthdsxbphvtikrrmkarsarwcsthanthiaelakarxyurwmkbhnuxuninwnthi 5 phayinsingaewdlxmediywknhruxinsingaewdlxmihm hnuthdlxngpraktwamiphvtikrrminradbldlnginsthankarntang emuxethiybkbhnuklumkhwbkhum nxkcaknnaelw karchidya propranolol 7 sungepnsartan beta adrenergic receptor ihhnuxyangtxenuxng praktwaybyngkhwamepliynaeplngthangphvtikrrmthiklawthung ephraaekhaipybyng LTP 2 aeladngnncungybyngkarprbsphawaihekidkhwamklw aemwacaxyuinsthankarnthikxihekidkhwamekhriydehmuxnkn khwamepnipxyangniepnkaraesdngshsmphnthkhxngrabbchiwekhmikhxngrabbprasathkbkrabwnkar LTP thicaklawthungtxipnxkcaknnaelw yngmikhwamepliynaeplngthangsrirphaphxyangxun ekidkhunxikdwyrwmthng nahnkephimaelatxmhmwkitot adrenal hypertrophy instwthiprasbkhwamekhriyd odythwip aelw kartxbsnxngdwykhwamklwaebbmienguxnikh conditioned fear responses samarthsngphlepnkhwamepliynaeplngthangphvtikrrmephraaehtuaehngkhwamekhriydsa shsmphnthechnnixaccamixyuinstwxun xikdwyaemwacamiradbkartxbsnxngthitang kn 6 multhanradbomelkul aekikhklikradbomelkulthismphnthodytrngkbkaraesdngxxkthangphvtikrrmkhxngkarprbsphawa conditioning samarthwicyidngayinkarrksaphyabal ngaykwaklikkhxng LTP 2 sungepnkrnithisphaphphlastikkhxngisaenpsekidkhunephraakarkratunechingiffahruxechingekhmitxwngcrprasathkhxngxamikdaladankhang LTP mikhwamsakhytxkaraeplphlihepnkhwamklwephraawaepnkrabwnkarthiephimkalngkhxngisaenps synaptic strength 8 inwngcrprasath 9 isaenpsthiephimkalngxyangni epnwithikarthikhwamthrngcarayayawaelakhwamhwadklwekidkhun 10 sphaphphlastikkhxngisaenpsaebbehbebiyn aekikh kalngkhxngisaenps synaptic strength 8 samarthephimkhun emuxniwrxnkxnisaenps presynaptic neuron yingsyyanphrxm knkbkarldkhw depolarization inniwrxnhlngisaenps postsynaptic neuron khwamepnipxyangniruckknwa sphaphphlastikkhxngisaenpsaebbehbebiyn Hebbian synaptic plasticity 11 smmutithanniihkhaxthibayepnthiphxicekiywkbkhwamepnipkhxngkrabwnkarkhxngkareriynruaebbsmphnthngay echninkarprbsphawaihekidkhwamklw fear conditioning khux thvsdinisamarthichxthibaykarprbsphawaihekidkhwamklwwa emuxmikarkratunwngcrprasathdwytwkratunmienguxnikh conditioned stimuli 1 aelatwkratunirenguxnikh unconditioned stimuli 1 phrxm kn aelatwkratunirenguxnikhnnmiphlihekidkhwamklwodythrrmchatikhuxkxihekidkarldkhw depolarization thimikalnginxamikdaladankhang khwamepnipxyangnithaihekidkhwamepliynaeplnginisaenpsthiechuxmtxknrahwangwngcrprasaththiaeplphltwkratunmienguxnikh kbxamikdaladankhang cninthisud karkratunwngcrprasathdwytwkratunmienguxnikh ksngphlihmikartxbsnxnginxamikdaladankhangsungtxnaerktxbsnxngtxtwkratunirenguxnikhethann sngphlihekidkhwamklwenuxngmacaktwkratunmienguxnikh 4 NMDA Type ionotropic glutamate receptors aekikh echuxknwasphaphphlastikaebbehbebiynmikhwamekiywkhxngkbhnwyrbkhwamrusukthimiptikiriyakbsar N methyl d aspartate 12 khuxhnwykhwamrusukthimitwyxwa NMDARs sungswnkhxngniwrxnhlngisaenpskhxngxamikdaladankhang NMDARs epnsingthiruknwa epntwtrwccbkarbrrcwb coincidence detector 13 khxngkarthangankxnisaenpsaelakarldkhwhlngisaenps khux idphbwa twrbsyyanekhathangkaridyinepn NMDARs thixyuinxamikdaladankhang sungichklutaemtepnsarsuxprasath 14 aelamikarthdsxbaelwwa emuxekhtinxamikdalathiidrbsyyankaridyin rbkhxmulekiywkbtwkratunirenguxnikh inkhnathimikarchidsarthiepnptipkstx NMDARs thixamikdaladankhang kcaekidkarkhdkhwangtxkareriynruthiihekidkhwamklw dngnn NMDARs cungepnhnwyrbkhwamrusukthikhadimidinwithiprasathephuxkarpramwlphlthithaihekidkhwamrusukklw 15 klikkhwbkhumrabbprasathody monoamine aekikh echuxknwa sarsuxprasathpraephth monoamine 16 thihlngxxkinsthankarnthiekidkhwamsaethuxnic echn norepinepherine aelaodphamin mibthbathinkarkhwbkhumkarsuxprasathaebberathiichklutaemt aelainkarkhwbkhumsphaphphlastikaebbehbebiyn khwamaepripkhxngsphaphphlastikthuk praephtheriykwa heterosynaptic 17 plasticity swn homosynaptic 18 plasticity kpraktaephrhlayehmuxnknaetepnsphaphphlastikaebbehbebiynethann inaebbcalxngtang thiichxthibaysphaphphlastik kaesdng monoamine wa 16 epntwkhwbkhumsphaphphlastikthiepnmulthanihekidkhwamthrngcaxyangechnradbkhwamrusukklwthisungkhun 19 nxkcaknnaelw yngphbwa sarkhwbkhumprasath neuromodulator kmibthbathinkarprbsphawaihekidkhwamklw fear conditioning dwy 20 khux aemwaklikehbebiyn 21 camibthbathinsphaphphlastikkhxngxamikdaladankhangaelakareriynruihekidkhwamklw aetkmisarkhwbkhumprasathxun thimibthbathinkareriynruaelakhwamthrngcaechn esorothnin acetylcholine endocannabinoids aelaephpithdhlaypraephthechn ephpithdthithaihekidkarhlng gastrin NPY sarfin aela oxytocin aetbthbathkhxngsarkhwbkhumprasathxun ehlani yngimchdecn Norepinephrine aekikh swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidodphamin aekikh swnnirxephimetimkhxmul khunsamarthchwyephimkhxmulswnniidwngcrprasathekiywkbkhwamklw aekikhkarrucakhwamklw aekikh nganwicyaesdngwa khwamesiyhaytxxamikdalathngsxngsik 22 miphltxkarrucakhwamklw fear recognition odyhlk innganwicykhxngaexndru aekhledxr aelaaexndru yng phwkekhaihphurbkarthdlxngaebngpraephthrupsihnaxxkepn mikhwamsukh tkic hwadklw esraic khyaaekhyng aelaokrth inkhnathiklumkhwbkhumsamarthaebngpraephthrupehlaniidxyangehmaasm phurbkarthdlxngthimikhwamesiyhaytxxamikdalathngsxngkhangmipyhainkarthakaraeykaeya odyechphaakbsihnathiaesdngkhwamklw khux phwkekhaimmipyhaaeykaeyaibhnathimikhwamsukhcakthimikhwamesra aetimsamarthaeykaeyasihnathiaesdngkhwamokrthcakthiaesdngkhwamklw 23 txcaknn nganthdlxngthithaodyraf xadxlfs idaesdngklikkhxngkarrucakhwamklwthiesiyhay xadxlfsphbwa phurbkarthdlxngkhnhlkkhxngekhaphumikhwamesiyhaytxxamikdalathngsxngsik imsamarthaeykaeyakaraesdngxxkkhxngkhwamklw ephraaethxcaimmxngduekhttakhxngibhnadwytnexng aetemuxbxkihethxmxngduekhttakhxngibhnathiaesdngkhwamklw ethxksamarthrucaxarmnkhwamrusuknnid 24 aemwa xamikdalacamibthbathsakhyinkarrucakhwamklw nganwicytx maklbaesdngwa miwithiprasathxun thisamarthrbrxngkareriynruihekidkhwamklwaemwacaprascakxamikdalathiichkarid 25 nxkcaknn nganwicyodyaexndi khasama yngaesdngdwywa aemwaxamikdalacamikhwamesiyhay aetepnipidthikhnikhcasamarthaeykaeyatwkratunthiepntwchwyxyangxun thibxkthungkhwamplxdphyhruxxntray 26 twkratunmienguxnikh aekikh minganwicycanwnmakekiywkbtwkratunmienguxnikh conditioned stimuli 1 thimikarcbkhutwkratunthiepnklang echnifthiophlngwabkhunma kbtwkratunirenguxnikh unconditioned stimuli 1 thithaihekidkhwamklw echnthukifdud inkarthdlxngkbhnu phlthitxngkarinkarcbkhuxyangnikkhux ephuxihtwkratunthiepnklang khuxtwkratunmienguxnikh kxihekidkartxbsnxngirenguxnikh khuxkhwamklw hlngcakkarprbsphawaodywithini kcaihtwkratunklang kbhnuxikkhrnghnungephuxthicaduwa camikartxbsnxngdwykhwamklwdwyhruxim aetephraawa kartxbsnxngodykhwamklwxaccarwmthungphvtikrrmhlay xyang dngnn cungsakhythicasngektwahnuaesdngphvtikrrmidemuxihtwkratunmienguxnikhaekhnu 5 twkratunthangtaaelathanghu aekikh inswnebuxngtn thalamsekhtsaytarbtwkratunthangta aelwsngkhxmultxipyngxamikdalaephuxihtrwcduwamixntrayhruxim nxkcaknnaelw thalamsekhtsaytayngsngkhxmulipyngkhxrethkssaytaephuxpramwlphlhatwkratunthixaccakxihekidxntray thami khxrethkskcasngsyyanipyngxamikdalamiphlihekidkarekrngtwkhxngklamenux ephimradbkaretnkhxnghwic aelaephimkhwamdneluxd khuxiperimkarthangankhxngrabbprasathsimphaethtik sympathetic nervous system nxkcaknnaelw mikarphbwa twkratunklang thipraktthangta ephimkhwamrusukklwhruxkhwamrusukimaenicthiekidkhunkxnephraakhxmulthangprasathxunechnthanghu 27 caknganwicykhxngelxdus phbwa thalamsekhtidyinimidsngtwkratunkhuxesiyngodytrngipyngniwekhliysklangkhxngxamikdala 22 karrbrukhwamklw aekikhkhwamklwekidkhunenuxngcaktwkratuntang kn aelamikrabwnkarthangchiwekhmidngthiklawipaelw wileliym xarexm aelakhna suksaeruxngshsmphnththangprasath Neural correlate khxngkarthanganrwmknrahwangkhxmulthangphasaaelakhxmulthangta nganwicynntrwcsxbduwa khxmulthangphasaaelathangtathanganrwmknxyangirephuxkxihekidxarmnkhwamrusuk odyichpraktkarnsamyinkarthayhnngxyanghnungwa karaesdngphaphthangtathiepnklang praktwa ephimkhwamrusukklwhruxkhwamimaenicsungerimkhuncakkhxmulthangprasathxunechnthangphasa idmikarichhlkkarniephuxephimkhwamklwodyaesdngtwkratunthangtathiepnklang ixediykhxnghlkkarkkhux khxmulthangtaephimkhxmulekiywkbtwkratun sunginthinikhuxphasa thithaihekidkhwamklw odythasingthiephiyngklawiwinpraoykhkhaphudthiepnnamthrrmihekidepnrupthrrmkhunma echuxknwa karthanganthiekidkhunthi temporal pole danhnaodyechphaa thahnathiechuxmkhxmulkhwamrusukthimacakwithiprasathhlay thangechnkhxmulthangtaaelakhxmulthangphasa 28 echingxrrthaelaxangxing aekikh 1 0 1 1 1 2 1 3 1 4 1 5 in karprbsphawaaebbchbb classical conditioning twkratunmienguxnikh conditioned stimulus epntwkratunthiekidkhunkxntwkratunirenguxnikh unconditioned stimulus twkratunirenguxnikhmkcaepntwkratunthimikhwamsakhythangchiwphaphechnxahar hruxkhwamrusukecbpwd thisamarthkxihekidkartxbsnxngthangphvtikrrmodythrrmchatimatngaetaerk kartxbsnxngnieriykwa kartxbsnxngirenguxnikh swntwkratunmienguxnikhexngtxnaerkimkxihekidkartxbsnxng aethlngcakkarprbsphawa kcakxihekidkartxbsnxngkhuxkartxbsnxngmienguxnikh khuxhlngcakkarprbsphawa twkratunmienguxnikhthitxnaerkimkxihekidkartxbsnxngthangphvtikrrm klayepntwkratunthikxihekidkartxbsnxngehmuxnkbkartxbsnxngtxtwkratunirenguxnikh 2 0 2 1 2 2 karesrimkalngkarsngsyyaninrayayaw Long term potentiation epnkarthakarsngsyyanrahwangniwrxn 2 esllihdikhunodykratunniwrxnehlannaebbsmwarkhuxphrxm kn niepnpraktkarnxyanghnungthiepnehtukhxngsphaphphlastikkhxngisaenps synaptic plasticity sungkkhuxkhwamthiradbkarechuxmtxknkhxngisaenpsaebbekhmisamarthepliynipid aelaenuxngcakwa khwamthrngcannsnnisthanknwa mikarekharhsodykarepliynradbkarechuxmtxknkhxngisaenps LTP cungidrbkarphicarnawa epnhnunginkliksakhyinradbesllkhxngkareriynruaelakhwamthrngca Intercalated cells of the amygdala epnklumniwrxnthisuxsyyanodysarsuxprasath GABA mivththiybyng rahwang basolateral nuclei aela central nuclei khxngxamikdala mikhwamsakhytxkarkhwbkhumxamikdalaaebbybyng 4 0 4 1 Ledoux Joseph 2003 The Emotional Brain Fear and the Amygdala Cellular and Molecular Neurobiology 23 4 5 727 38 doi 10 1023 A 1025048802629 PMID 14514027 5 0 5 1 Davis M 1992 The Role of the Amygdala in Fear and Anxiety Annual Review of Neuroscience 15 353 75 doi 10 1146 annurev ne 15 030192 002033 PMID 1575447 6 0 6 1 Camp Robert M Remus Jennifer L Kalburgi Sahana N Porterfield Veronica M Johnson John D 2012 Fear conditioning can contribute to behavioral changes observed in a repeated stress model Behavioural Brain Research 233 2 536 44 doi 10 1016 j bbr 2012 05 040 PMID 22664265 propranolol epnya beta blocker ihsahrbkhwamdnolhitsung khwamwitkkngwl aelakhwamtuntrahnk 8 0 8 1 khaniyamkhxng kalngkhxngisaenps synaptic strength kkhux aexmphlicudkhxngkhwamepliynaeplngkhxngskyeyuxhumesll thiekidcakskyangankxnisaenps swnisaenpsinthinihmaythungklumkhxngisaenpshruxaemaetisaenpsediyw thiechuxmniwrxnkxnisaenpskbniwrxnhlngisaenps khwamepliynaeplngkhxngskynneriykwa skyhlngisaenps postsynaptic potential twyx PSP sungmikhatngaet 0 4 milliowlt cnthung 20 milliowlt PSP samarthepliynidodysarkhwbkhumprasath neuromodulator hruxkhwamepnipinisaenpsinxdit aelakalngkhxngisaenpsxaccaepliynepnrayasn tngaethlaywinathicnthunghlaynathi hruxxaccaepnrayayaw eriykwa long term potentiation khuxepnchwomng echuxknwa kareriynruaelakhwamthrngcaepnphlcakkarepliynaeplngrayayawkhxngkalngisaenps odyphankrabwnkarthieriykwasphaphphlastikkhxngisaenps synaptic plasticity Deandrade Mark P Zhang Li Doroodchi Atbin Yokoi Fumiaki Cheetham Chad C Chen Huan Xin Roper Steven N Sweatt J David Li Yuqing 2012 Di Cunto Ferdinando b k Enhanced Hippocampal Long Term Potentiation and Fear Memory in Btbd9 Mutant Mice PLoS ONE 7 4 e35518 Bibcode 2012PLoSO 7E5518D doi 10 1371 journal pone 0035518 PMC 3334925 PMID 22536397 Rogan Michael T Staubli Ursula V Ledoux Joseph E 1997 Fear conditioning induces associative long term potentiation in the amygdala Nature 390 6660 604 7 Bibcode 1997Natur 390 604R doi 10 1038 37601 PMID 9403688 thvsdiehbebiyn Hebbian theory epnthvsdiinwithyasastrprasaththixthibaykarprbtw hruxepliynaeplng khxngniwrxninchwngthimikareriynru epnthvsdithixthibayklikphunthanxyanghnungkhxngsphaphphlastikkhxngisaenps synaptic plasticity thiprasiththiphaph hruxkalng khxngisaenpsephimkhunephraakarthiesllkxnisaenps presynaptic cell miswninkarkratunesllhlngisaenps postsynaptic cell ihyingsyyan xyangsa aelasmaesmx epnthvsdithiesnxodydxnld ehbbinpi kh s 1949 bangkhrngeriykwa kdkhxngehbb Hebb s Rule hruxhlkkhxngehbb Hebb s postulate thvsdinisamarthklawxyangyx wa esllthiyingsyyandwykn kcaekidkarechuxmtxkn Cells that fire together wire together epnthvsdithixthibaykareriynruaebbsmphnthwa karthanganthiekidkhunphrxmknkhxngesllnaipsukarephimkalngkhxngisaenps synaptic strength khxngesllehlann kareriynruxyangnieriykwa kareriynruaebbehbebiyn Hebbian learning N methyl d aspartate twyx NMDA epnkrdxamionthiepntwthakar agonist khxnghnwyrbkhwamrusuk NMDA mikmmntphaphkhlayklutaemt sungepnsarsuxprasathsungmivththitxhnwyrbkhwamrusuknnaelahnwyrbkhwamrusukpraephthklutaemtxun kartrwccbkarbrrcwb coincidence detection epnkrabwnkarthiniwrxnhruxwngcrprasathtrwccbkarekidkhunkhxngsyyanprasathdanekhathiekidkhunphrxm knaetxyuinkhnlaphunthi aelwekharhskhxmulthiaesdngkhwamsmphnthknkhxngsyyanprasathehlann Dobi Alice Sartori Simone B Busti Daniela Van Der Putten Herman Singewald Nicolas Shigemoto Ryuichi Ferraguti Francesco 2012 Neural substrates for the distinct effects of presynaptic group III metabotropic glutamate receptors on extinction of contextual fear conditioning in mice Neuropharmacology 66 274 89 doi 10 1016 j neuropharm 2012 05 025 PMC 3557389 PMID 22643400 Falls William A Miserendino Mindy J D Davis Michael 1992 Extinction of Fear potentiated Startle Blockade by Infusion of an NMDA Antagonist into the Amygdala The Journal of Neuroscience 12 3 854 63 PMID 1347562 16 0 16 1 monoamine epnsarsuxprasathaelasarkhwbkhumprasath neuromodulator thimikrdxamionechuxmkb aromatic ring odylukosmisxngkharbxn CH2 CH2 praktkarnaebb heterosynaptic khuxpraktkarnthiekidkhunthiisaenps hruxeriykwa junctions thiechuxmtxknrahwangniwrxn epnpraktkarnthiprakxbdwykarthanganrwmknrahwangisaenpstang knhruxklumkhxngisaenps khanimkichrwmkbthvsdiekiywkbkaryingsyyankhxngniwrxnthithaihekid long term depression aela long term potentiation twxyangechn long term depression aebb heterosynaptic ekidkhunemuxkarthanganinisaenpshnungkhxngniwrxnhnung ldradbkarsngsyyankhxngisaenpsxikisaenpshnungkhxngniwrxnnn karthanganrwmknaebb homosynaptic hmaythungpraktkarnthiekidkhunthiisaenpsediywhruxklumkhxngisaenps aetimidmikarthanganrwmknkbisaenpsxun hruxkbklumisaenpsxun khanimkichrwmkbthvsdiekiywkbkaryingsyyankhxngniwrxnthithaihekid long term depression aela long term potentiation twxyangechn long term potentiation aebb homosynaptic ekidkhunthiisaenpsxnepnthiechuxmtxknkhxngniwrxnsxngtw epnphlcakkarthikaryingsyyankhxngisaenpsmishsmphnth correlation tamkaltxknaelakn Flavell C R Lee J L C 2012 Post training unilateral amygdala lesions selectively impair contextual fear memories Learning amp Memory 19 6 256 63 doi 10 1101 lm 025403 111 PMID 22615481 Sigurdsson Torfi Doyere Valerie Cain Christopher K Ledoux Joseph E 2007 Long term potentiation in the amygdala A cellular mechanism of fear learning and memory Neuropharmacology 52 1 215 27 doi 10 1016 j neuropharm 2006 06 022 PMID 16919687 klikehbebiyn Hebbian mechanism khuxkaryingsyyanphrxm knkhxngniwrxnkxnisaenpsaelaniwrxnhlngisaenps 22 0 22 1 Ledoux Joseph E Cicchetti Piera Xagoraris Andrew Romanski Lizabeth M 1990 The Lateral Amygdaloid in Fear Conditioning Nucleus Sensory Interface Amygdala in Fear Conditioning The Journal of Neuroscience 10 4 1062 9 PMID 2329367 Calder Andrew J 1996 Facial Emotion Recognition after Bilateral Amygdala Damage Differentially Severe Impairment of Fear Cognitive Neuropsychology 13 5 699 745 doi 10 1080 026432996381890 Adolphs Ralph Gosselin Frederic Buchanan Tony W Tranel Daniel Schyns Philippe Damasio Antonio R 2005 A mechanism for impaired fear recognition after amygdala damage Nature 433 7021 68 72 Bibcode 2005Natur 433 68A doi 10 1038 nature03086 PMID 15635411 Morris J S Ohman A Dolan RJ 1999 A Subcortical Pathway to the Right Amygdala Mediating Unseen Fear Proceedings of the National Academy of Sciences 96 4 1680 5 Bibcode 1999PNAS 96 1680M doi 10 1073 pnas 96 4 1680 JSTOR 47262 PMC 15559 PMID 9990084 Kazama Andy M Heuer Eric Davis Michael Bachevalier Jocelyne 2012 Effects of neonatal amygdala lesions on fear learning conditioned inhibition and extinction in adult macaques Behavioral Neuroscience 126 3 392 403 doi 10 1037 a0028241 PMID 22642884 Scott Sophie K Young Andrew W Calder Andrew J Hellawell Deborah J Aggleton John P Johnsons Michael 1997 Impaired auditory recognition of fear and anger following bilateral amygdala lesions Nature 385 6613 254 7 Bibcode 1997Natur 385 254S doi 10 1038 385254a0 PMID 9000073 Willems R M Clevis K Hagoort P 2010 Add a picture for suspense Neural correlates of the interaction between language and visual information in the perception of fear Social Cognitive and Affective Neuroscience 6 4 404 16 doi 10 1093 scan nsq050 PMC 3150851 PMID 20530540 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title karpramwlphlihepnkhwamklwinsmxng amp oldid 7614121, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม