fbpx
วิกิพีเดีย

อาการหลงผิดคะกราส์

อาการหลงผิดคะกราส์ (อังกฤษ: Capgras delusion) หรือ กลุ่มอาการคะกราส์ (อังกฤษ: Capgras syndrome, /ka·'grɑ:/)เป็นความผิดปกติที่บุคคลหลงผิดว่า เพื่อน คู่สมรส บิดามารดา หรือสมาชิกสนิทในครอบครัว มีการทดแทนด้วยตัวปลอมที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนกัน อาการหลงผิดคะกราส์จัดว่าเป็นกลุ่มอาการระบุผิดเพราะหลงผิด (delusional misidentification syndrome) ซึ่งเป็นกลุ่มของความเชื่อแบบหลงผิด ที่คนไข้ระบุบุคคล สถานที่ หรือวัตถุ แบบผิด ๆ (โดยปกติไม่ร่วมกัน) ภาวะนี้สามารถเกิดเป็นแบบเฉียบพลัน แบบชั่วคราว หรือแบบเรื้อรังก็ได้ และมีแม้แต่กรณีที่คนไข้เชื่อว่า กาลเวลามีการบิดเบือนหรือมีการทดแทน

อาการหลงผิดคะกราส์
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
DiseasesDB32606
MeSHD002194

อาการนี้มักจะเกิดขึ้นในคนไข้โรคจิตเภทแบบหวาดระแวง (paranoid schizophrenia) แต่ก็เกิดขึ้นด้วยในคนไข้ที่มีความเสียหายในสมอง และที่มีภาวะสมองเสื่อม ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในบุคคลที่มีโรคประสาทเสื่อม (neurodegenerative disease) โดยเฉพาะในวัยชรา ภาวะนี้มีรายงานด้วยว่าเกิดขึ้นสัมพันธ์กับโรคเบาหวาน ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย และโรคไมเกรน ที่พิเศษในกรณีหนึ่งก็คือ อาการนี้เกิดขึ้นในคนปกติอย่างชั่วคราว เพราะยาระงับความรู้สึกเคตามีน ภาวะนี้เกิดขึ้นบ่อยกว่าในหญิง โดยอัตราส่วนผู้หญิงต่อผู้ชาย เป็น 3 ต่อ 2

ข้อมูลที่ได้รวบรวมจากผู้มีอาการหลงผิดคะกราส์ อาจจะมีผลต่อความเข้าใจเกี่ยวกับการรับรู้ใบหน้า และประสาทกายวิภาค ของทั้งบุคคลปกติและของคนไข้ผู้มีอาการนี้

ประวัติ

กลุ่มอาการคะกราส์มีชื่อตามโจเซ็ฟ คะกราส์ (ค.ศ. 1873–1950) แพทย์จิตเวชชาวฝรั่งเศส ผู้ได้พรรณนาถึงความผิดปกตินี้เป็นคนแรก ในปี ค.ศ. 1923 ในผลงานวิจัยที่เขียนร่วมกับชอน เรอโบล-ลาชอซ์ ที่กล่าวถึงกรณีของหญิงชาวฝรั่งเศสชื่อว่า นางเอ็ม (Mme M.) ผู้ที่บ่นว่า คนตัวปลอมได้เข้ามาแทนที่สามีของเธอและคนอื่น ๆ ที่เธอรู้จัก คะกราส์และเรอโบล-ลาชอซ์ได้เริ่มต้นเรียกอาการเหล่านี้ว่า "อาการหลอนเห็นตัวปลอม" (ฝรั่งเศส: l’illusion des sosies)

กลุ่มอาการคะกราส์ได้รับการพิจารณาในยุคต้น ๆ ว่า เป็นโรคทางจิตเวช คือ เป็นอาการของโรคจิตเภท และเป็นโรคในหญิงเท่านั้น (แม้ว่า ตอนนี้เรารู้แล้วว่า ไม่ใช่เป็นแบบนี้) โดยเป็นอาการของโรคฮิสทีเรีย คำอธิบายเกี่ยวกับกลุ่มอาการคะกราส์ที่ได้รับการเสนอหลังจากคำอธิบายของคะกราส์และเรอโบล-ลาชอซ์ เป็นคำอธิบายทางจิตเวชโดยมาก เมื่อมาถึงคริสต์ทศวรรษ 1980 เท่านั้น ที่ความสนใจในเหตุเกิดของกลุ่มอาการคะกราส์จึงเริ่มเปลี่ยนไปยังรอยโรคในสมอง ซึ่งความจริงปรากฏร่วมกับโรคมาตั้งแต่แรกแล้ว แต่ได้รับการพิจารณาว่า ไม่มีความสัมพันธ์ หรือเป็นความบังเอิญเท่านั้น ทุกวันนี้ เราเข้าใจกลุ่มอาการคะกราส์แล้วว่า เป็นความผิดปกติทางประสาท ซึ่งอาการหลงโดยหลักเกิดขึ้นจากรอยโรค หรือความเสื่อมในสมอง

อาการปรากฏ

กรณีศึกษา 2 กรณีเหล่านี้ เป็นตัวอย่างของอาการหลงผิดคะกราส์ในจิตเวชศาสตร์ ได้แก่

  • จากงานของพาซเซอร์และวอร์น็อค ปี ค.ศ. 1991

    นางดี ผู้เป็นแม่บ้านวัย 74 ปี ที่เร็ว ๆ นี้เพิ่งออกจากโรงพยาบาลในพื้นที่ หลังจากที่ได้การรับเข้าโรงพยาบาลเพราะเหตุจิตเวช ได้มาที่ศูนย์ของเราเพื่อหาความเห็นที่สอง หลังจากได้การรับเข้าโรงพยาบาลแรก เธอได้รับการวินิจฉัยว่า เป็นโรคจิตนอกแบบ เพราะความเชื่อของเธอว่า ชายอีกคนหนึ่งผู้ไม่มีความสัมพันธ์กันได้เข้ามาทดแทนสามีของเธอ เธอได้ปฏิเสธที่จะนอนร่วมกับชายตัวปลอมนั้น ได้ล็อกประตูห้องนอนของเธอในยามวิกาล ได้ขอปืนจากบุตรชายของเธอ และในที่สุด ได้ทำการต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้จะพาเธอไปเข้าโรงพยาบาล ในบางครั้งบางคราวเธอก็เชื่อว่า สามีของเธอเป็นบิดาของเธอที่สิ้นชีวิตไปนานแล้ว เธอสามารถรู้จำสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัวได้ ยกเว้นสามีของเธอเท่านั้น

  • จากงานของซิ๊งก์แมน ปี ค.ศ 2008

    ไดแอนเป็นหญิงวัย 28 ปี ผู้หมอพบเพื่อการประเมินเพื่อเตรียมตัวให้ออกจากโรงพยาบาลจิตเวช นี่เป็นการเข้าโรงพยาบาลเพราะเหตุจิตเวชของเธอเป็นครั้งที่ 3 ภายใน 5 ปี ไดแอนเป็นคนขี้อายและไม่สังสรรค์กับใคร และเพิ่งจะปรากฏอาการโรคจิตเมื่อมาถึงวัย 23 ปี หลังจากที่ได้รับการตรวจโดยแพทย์ประจำตัว เธอจึงเริ่มเกิดความวิตกกังวลว่า แพทย์ของเธออาจจะทำความเสียหายภายในแก่เธอ และเธออาจจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ อาการของเธอดีขึ้นเมื่อได้รับการเยียวยารักษาสำหรับโรคจิต แต่แย่ลงหลังจากออกจากโรงพยาบาลแล้วเพราะไม่ยอมทานยา เมื่อเธอเข้าโรงพยาบาลอีก 8 เดือนหลังจากนั้น เธอจึงเริ่มมีอาการหลงผิดว่า มีชายผู้หนึ่งกำลังก๊อปปี้ "จอหนัง" ของบุคคลต่าง ๆ และเขาได้ก๊อปปี้จอหนังสองจอที่เป็นของเธอ จอหนึ่งนิสัยชั่วร้าย และจอหนึ่งนิสัยดี เธอได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภทพร้อมทั้งอาการหลงผิดคะกราส์ เธออยู่ในสภาพแต่งตัวไม่เรียบร้อย และมีจุดบนหนังศีรษะของเธอที่ไม่มีผม เพราะเหตุแห่งการทำร้ายตัวเอง

ส่วนกรณีต่อมานี้เป็นตัวอย่างของอาการหลงผิดคะกราส์ที่เกิดจากโรคประสาทเสื่อม (neurodegenerative disease)

  • จากงานของลูค์เชลลีและสปินน์เลอร์ ปี ค.ศ 2007

    เฟร็ด ชายวัย 58 ปีผู้มีการศึกษาระดับมัธยมปลาย ได้มาเพื่อการตรวจสอบทางประสาทและทางประสาทจิตวิทยา เพราะมีความผิดปกติในการรับรู้และในพฤติกรรม เขาได้ทำงานเป็นหัวหน้าของหน่วยงานเล็ก ๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับการวิจัยด้านพลังงานจนกระทั่งถึงเมื่อ 2-3 เดือนที่แล้ว ประวัติทางเวชศาสตร์และจิตเวชของเขาไม่มีอะไรผิดปกติ ... ภรรยาขอเฟร็ดรายงานว่า ภายใน 15 เดือนจากที่เริ่มมีอาการผิดปกติ เฟร็ดเริ่มเห็นเธอเป็นตัวปลอม ปรากฏการณ์นี้ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อหลังจากที่กลับมาบ้าน เฟร็ดถามเธอว่า วิลมาอยู่ที่ไหน หลังจากการตอบของเธอว่า เธออยู่ที่นี่ไง ที่ทำให้เฟร็ดแปลกใจ เขาก็ปฏิเสธอย่างเป็นจริงเป็นจังว่า เธอไม่ใช่วิลมาภรรยาของเขา ผู้ที่เขารู้จักเป็นอย่างดีในฐานะมารดาของบุตรของเขา และยังกล่าววิจารต่อไปอย่างปกติธรรมดาว่า วิลมาคงจะออกไปข้างนอก และเดี๋ยวคงจะกลับมาภายหลัง ... เฟร็ดมีความเสื่อมลงของการรับรู้อย่างต่อเนื่อง ที่เป็นไปอย่างรุนแรงและรวดเร็ว และนอกจากความเสื่อมทางการรับรู้แล้ว ก็ยังปรากฏอาการทางประสาทจิตวิทยา ที่มีความปั่นป่วนของการใช้ภาษาเป็นอาการเด่น ซึ่งบอกเป็นนัยถึงความผิดปกติทางกิจบริหารของสมองกลีบหน้า ความบกพร่องทางการรับรู้ของเขาไปสุดด้วยกลุ่มอาการที่เกิดจากความเสียหายอย่างรุนแรงและกว้างขวางของสมองส่วนหน้า

เหตุ

มีการเห็นพ้องกันโดยทั่ว ๆ ไปว่า อาการหลงผิดคะกราส์มีมูลฐานที่ซับซ้อนในสมอง และจะสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่า โดยวิธีการตรวจสอบความเสียหายทางประสาทกายวิภาค ที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการ

หลักฐานแรก ๆ ที่อาจจะชี้เหตุที่ก่อให้เกิดอาการนี้ มาจากงานวิจัยของคนไข้บาดเจ็บทางสมองผู้เกิดมีภาวะไม่รู้ใบหน้า (prosopagnosia) ผู้ไม่มีการรับรู้ใบหน้าแบบเหนือสำนึก ถึงแม้ว่าจะสามารถรู้จำวัตถุทางตาประเภทอื่น ๆ ได้ แต่ว่า งานวิจัยปี ค.ศ. 1984 ของเบาเออร์กลับแสดงว่า ถึงแม้ว่าการรู้จำใบหน้าเหนือสำนึกจะบกพร่อง คนไข้ภาวะนี้กลับแสดงความเร้าทางประสาทที่เกิดขึ้นโดยไม่สมัครใจ (วัดโดยการนำไฟฟ้าของผิวหนัง) เมื่อเห็นใบหน้าของคนที่คุ้นเคย เป็นผลงานวิจัยที่บอกเป็นนัยว่า มีวิถีประสาทสองทางในการรู้จำใบหน้า คือวิถีเหนือสำนึกและวิถีใต้สำนึก

ในบทความปี ค.ศ. 1990 ที่พิมพ์ใน วารสารจิตเวชศาสตร์แห่งประเทศอังกฤษ (British Journal of Psychiatry) นักจิตวิทยาเฮเด็น เอ็ลลิส และแอนดี้ ยัง ได้ตั้งสมมุติฐานว่า คนไข้อาการหลงผิดคะกราส์อาจจะมีภาวะตรงกันข้ามกันกับภาวะไม่รู้ใบหน้า คือว่า ในอาการหลงผิดคะกราส์ ความสามารถเหนือสำนึกเพื่อรู้จำใบหน้าไม่มีความเสียหาย แต่อาจจะมีความเสียหายในระบบที่ก่อให้เกิดความเร้าความรู้สึกโดยอัตโนมัติ (คือไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจ) ต่อใบหน้าที่มีความคุ้นเคย ซึ่งอาจจะนำไปสู่ปรากฏการณ์ที่คนไข้สามารถรู้จำบุคคลได้ แต่กลับมีความรู้สึกว่า มีอะไรบางอย่างที่ผิดปกติในบุคคลนี้ ในปี ค.ศ. 1997 เฮเด็น เอ็ลลิสและคณะ ได้พิมพ์ผลงานวิจัยในคนไข้ 5 คนที่มีอาการหลงผิดคะกราส์ ผู้ล้วนแต่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภท เอ็ลลิสได้รับรองยืนยันสมมุติฐานของตนว่า ถึงแม้ว่า คนไข้จะสามารถรู้จำใบหน้าโดยจิตเหนือสำนึก แต่กลับไม่แสดงความเร้าทางความรู้สึกที่ควรแสดง คือ คนไข้แสดงความรู้สึกอัตโนมัติเหมือนกับเจอกับคนแปลกหน้า ส่วนงานวิจัยของยัง (ค.ศ. 2008) ได้ตั้งสมมุติฐานว่า คนไข้ที่มีโรคนี้สูญเสียความคุ้นเคย ไม่ใช่บกพร่องความคุ้นเคย

วิลเลียม เฮอร์สไตน์ และรามะจันทรัน รายงานการค้นพบที่คล้าย ๆ กัน ในบทความตีพิมพ์เกี่ยวกับคนไข้คนเดียว ที่มีอาการหลงผิดคะกราส์ หลังจากเกิดความบาดเจ็บในสมอง รามะจันทรันได้กล่าวถึงกรณีนี้ในหนังสือของเขาที่ชื่อว่า Phantoms in the Brain (แฟนตอมในสมอง) และบรรยายเรื่องนี้ไว้ในงานประชุม TED 2007 เนื่องจากว่า คนไข้สามารถรับรู้ความรู้สึกและสามารถรู้จำใบหน้าได้ แต่ไม่ปรากฏความรู้สึกเมื่อรู้จำใบหน้าที่คุ้นเคย รามะจันทรันจึงตั้งสมมุติฐานว่า เหตุของอาการหลงผิดคะกราส์ก็คือการตัดขาดออกจากกันของสมองกลีบขมับ ซึ่งเป็นเขตที่รู้จำใบหน้า และระบบลิมบิก ซึ่งเป็นเขตที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึก และถ้าจะกล่าวโดยเฉพาะเจาะจงแล้ว รามะจันทรันเน้นการตัดขาดออกจากกันระหว่างอะมิกดะลา กับรอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง (inferior temporal gyrus)

ในปี ค.ศ. 2010 วิลเลียม เฮอร์สไตน์ ได้ปรับปรุงทฤษฎีของเขาเพื่อที่จะอธิบายว่า ทำไมผู้มีอาการหลงผิดคะกราส์จึงมีปฏิกิริยาเช่นนั้น คือปฏิเสธบางคนว่าเป็นคนที่คุ้นเคย เฮอร์สไตน์ได้อธิบายทฤษฎีปรับปรุงนี้ว่า

...ทฤษฏีปัจจุบันของผมเกี่ยวกับอาการหลงผิดคะกราส์ มีความเฉพาะเจาะจงกว่ารุ่นที่แล้วที่ผมกล่าวถึงในบทความในปี ค.ศ. 1997 ที่เขียนร่วมกับรามะจันทรัน ตามทฤษฎีปัจจุบัน เรามีแผนที่สำหรับบุคคลที่เรารู้จักดี เป็นแผนที่แบบผสมมี 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นแผนที่ของรูปลักษณ์ภายนอกของบุคคล เป็นต้นว่า รูปร่างท่าทางและเสียง อีกส่วนหนึ่งเป็นแผนที่ของลักษณะภายในของบุคคล เป็นต้นว่า บุคคลิก ความเชื่อ อารมณ์ความรู้สึกที่เป็นเอกลักษณ์ และความชอบใจ อาการหลงผิดคะกราส์เกิดขึ้น เมื่อแผนที่ภายในมีความเสียหาย หรือไม่สามารถจะเข้าถึงได้ นี่ก่อให้เกิดความรู้สึกถึงบุคคลหนึ่งว่า มีรูปลักษณ์ภายนอกที่ถูกต้อง แต่เหมือนกับเป็นบุคคลอื่นโดยลักษณะภายใน คือเหมือนกับเป็นตัวปลอมนั่นเอง ทฤษฎีนี้ให้คำอธิบายที่เฉพาะเจาะจงกว่า และเข้ากันได้ดีกับสิ่งที่คนไข้พูด เป็นการแก้ปัญหาที่มีอย่างหนึ่งในสมมุติฐานก่อน ซึ่งก็คือ มีคำอธิบายได้หลายอย่าง เกี่ยวกับอาการไร้ความรู้สึกเมื่อเห็นใครคนหนึ่ง

ยิ่งไปกว่านี้ รามะจันทรันก็ยังเสนอว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มอาการคะกราส์ กับความยากลำบากโดยทั่ว ๆ ไปในการปะติดปะต่อความจำอาศัยเหตุการณ์ (episodic memory) ที่สืบต่อกัน เพราะอารมณ์ความรู้สึกมีบทบาทสำคัญในการสร้างความทรงจำ. เนื่องจากว่า คนไข้ไม่สามารถประสานความทรงจำกับอารมณ์ความรู้สึกเข้าด้วยกัน คนไข้จึงเชื่อว่า วัตถุในภาพที่เห็นเป็นวัตถุใหม่ในทุก ๆ ครั้งที่เห็น แม้ว่า วัตถุเหล่านั้นควรที่จะก่อให้เกิดอารมณ์ความรู้สึก (เช่นความรู้สึกว่า เป็นคนสนิท เป็นวัตถุที่คุ้นเคย หรือเป็นวัตถุเกี่ยวกับตน)

นักวิจัยอื่น ๆ เช่นเมอร์ริน และซิลเบอร์ฟาร์บ (ปี ค.ศ. 1976) ได้เสนอความเชื่อมต่อกันระหว่างกลุ่มอาการคะกราส์ กับความบกพร่องของระบบความทรงจำบางส่วน พวกเขาได้เสนอว่า บุคคลที่สำคัญและที่คุ้นเคย (ซึ่งก็คือบุคคลที่เป็นที่ตั้งของความหลงผิดคะกราส์) มีความเกี่ยวข้องกับความทรงจำหลายระดับทางตา หู การกระทบสัมผัส และประสบการณ์อื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับบุคคลเหล่านั้น ดังนั้น กลุ่มอาการคะกราส์สามารถเข้าใจได้ โดยเป็นความเป็นอย่างไม่สัมพันธ์ของวัตถุ (คือของบุคคลเหล่านั้น) ในการรับรู้ในสมองระดับสูง

เป็นไปได้มากว่า ต้องมีความบกพร่องอย่างอื่น นอกจากความเสียหายต่อการตอบสนองอัตโนมัติคือการเร้าความรู้สึก เพราะว่าคนไข้บางพวกมีความเสียหายอย่างนี้ แต่ไม่มีอาการของความหลงผิด เอ็ลลิสและคณะเสนอว่า มีองค์ประกอบที่สอง ที่อธิบายเหตุผลความที่ประสบการณ์ไม่ปกติอย่างนี้ กลับกลายเป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยความหลงผิด องค์ประกอบที่สองนี้มีการเสนอว่า เป็นความบกพร่องในการคิดโดยเหตุผล. แม้ว่า ยังไม่มีความบกพร่องที่เฉพาะเจาะจง ที่สามารถอธิบายอาการของความหลงผิดคะกราส์ในทุก ๆ กรณี แต่ก็มีนักวิจัยหลายท่านที่เสนอให้รวมความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย ในแบบอธิบายของกลุ่มอาการคะกราส์ เพื่อที่จะเข้าใจกลไกที่ยังการสร้างความเชื่อและการดำรงไว้ซึ่งความเชื่อที่ประกอบด้วยความหลงผิดนั้น ให้เป็นไปได้

กลุ่มอาการคะกราส์ยังมีความเกี่ยวข้องกับ reduplicative paramnesia ซึ่งเป็นความเชื่อแบบหลงผิดอีกอย่างหนึ่ง เนื่องจากกลุ่มอาการทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างสูง จึงมีทฤษฎีที่เสนอว่า เขตสมองเขตเดียวกันมีผลต่ออาการทั้งสอง และดังนั้น อาการทั้งสองจึงมีความเกี่ยวข้องทางประสาทที่เหมือนกัน เนื่องจากมีความเข้าใจว่า สมองกลีบหน้ามีผลต่อ reduplicative paramnesia ดังนั้นจึงเชื่อกันว่า กลุ่มอาการคะกราส์ก็มีความสัมพันธ์กับสมองกลีบหน้าเช่นกัน และถึงแม้ว่า อาจจะไม่มีความเสียหายโดยตรงต่อสมองกลีบหน้า แต่ว่า แม้แต่การเข้าไปขัดขวางสัญญาณที่เป็นไปในระหว่างสมองเขตอื่น ๆ กับสมองกลีบหน้า ก็ยังสามารถจะให้ผลเป็นกลุ่มอาการคะกราส์เช่นกัน

การรักษา

การบำบัดโรคเป็นรายบุคคลอาจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด ในการรักษาอาการหลงผิดของแต่ละคน ความอดทนบากบั่นของผู้รักษาเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อที่จะเห็นใจคนไข้ในขณะบำบัดโรค โดยที่ไม่เข้าไปรับรองระบบความคิดเห็นผิด ๆ ของคนไข้ หรือเข้าไปประจันหน้ากับความหลงผิดนั้นมากเกินไป เทคนิคปรับการรับรู้เช่นการตรวจสอบความจริง (reality testing) และการเปลี่ยนกรอบความจริง (reality reframing) เป็นเทคนิคที่ใช้ได้ นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการใช้ยารักษาโรคจิตและยารักษาอย่างอื่น ๆ ที่ให้ผลสำเร็จพอสมควร

ดู

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. MediLexicon
  2. ในภาพยนตร์สารคดี "Phantoms in the Brain" ตอน 2 ของ BBC นักวิชาการทั้งชาวอังกฤษและชาวอเมริกันออกเสียงว่า "แค็ปกราส์" โดยไม่ออกเสียง "ส์" ด้านหลัง
  3. Ellis, H. D., & Lewis, M. B. (2001) . Capgras delusion: A window into face recognition. Trends in Cognitive Science, 5 (4), 149-156. http://dx.doi.org/10.1016/S1364-6613 (00) 01620-X
  4. Ramachandran, V. S. (1998). "Consciousness and body image: Lessons from phantom limbs, Capgras syndrome and pain asymbolia" (PDF). Philosophical Transactions of the Royal Society B: Biological Sciences. 353 (1377): 1851–1859. doi:10.1098/rstb.1998.0337. PMC 1692421.
  5. Förstl, H; Almeida, O.P.; Owen, A.M.; Burns, A.; Howard, R. (1991). "Psychiatric, neurological and medical aspects of misidentification syndromes: a review of 260 cases". Psychol Med. 21 (4): 905–10. doi:10.1017/S0033291700029895. PMID 1780403. Unknown parameter |month= ignored (help)
  6. Josephs, K. A. (2007). "Capgras Syndrome and Its Relationship to Neurodegenerative Disease". Archives of Neurology. 64 (12): 1762–1766. doi:10.1001/archneur.64.12.1762. PMID 18071040. Unknown parameter |month= ignored (help)
  7. Bhatia, M.S (1990). "Capgras syndrome in a patient with migraine". British Journal of Psychiatry. 157 (6): 917–918. doi:10.1192/bjp.157.6.917.
  8. Corlett, P.R.; D'Souza, D.C.; Krystal, J.H. (2010). "Capgras Syndrome Induced by Ketamine in a Healthy Subject". Biological Psychiatry. 68 (1): e1–e2. doi:10.1016/j.biopsych.2010.02.015. Unknown parameter |month= ignored (help)
  9. Giannini AJ, Black HR. The Psychiatric, Psychogenic and Somatopsychic Disorders Handbook. Garden City, NY: Medical Examination. pp. 97–8. ISBN 0-87488-596-5.
  10. Capgras, J.; Reboul-Lachaux, J. (1923). "Illusion des " sosies " dans un délire systématisé chronique". Bulletin de la Société Clinique de Médicine Mentale. 2: 6–16.
  11. "Approche clinique du syndrome de Capgras ou « illusion des sosies » illustrée par un cas", Gaël Le Vacon, 2006; แปลอย่างคร่าว ๆ คือ "วิธีการรักษากลุ่มอาการคะกราส์ หรือ 'อาการหลอนเห็นตัวปลอม' ดังที่ปรากฏในกรณีหนึ่ง"
  12. Merrin, E. L., & Silberfarb, P. M. (1976) . The Capgras phenomenon. Archives of general psychiatry, 33 (8), 965.
  13. Draaisma D. Echos, doubles, and delusions: capgras syndrome in science and literature. Style 2009b;43:429-41.
  14. Passer, K.M.; Warnock, J.K. (1991). "Pimozide in the treatment of Capgras' syndrome. A case report". Psychosomatics. 32 (4): 446–8. doi:10.1016/S0033-3182(91)72049-5. PMID 1961860.
  15. ความเห็นที่สอง เป็นการไปหาแพทย์ที่เป็นคนละคนกับแพทย์ที่คนไข้ได้ไปหา เพื่อจะหาความเห็นที่สองที่อาจจะแตกต่างกันจากความเห็นแรก
  16. Sinkman, A. (2008) . The syndrome of capgras. Psychiatry, 71 (4), 371-378. Retrieved from http://search.proquest.com/docview/57274935?accountid=10673
  17. Lucchelli F and Spinnler H. The case of lost Wilma: a clinical report of Capgras delusion. Neurological Sciences, 28: 188–195, 2007. http://dx.doi.org/10.1007/s10072-007-0819-8
  18. Young, A. W., Reid, I., Wright, S. I. M. O. N., & Hellawell, D. J. (1993) . Face-processing impairments and the Capgras delusion. The British Journal of Psychiatry, 162 (5), 695-698.
  19. Bauer, R.M. (1984). "Autonomic recognition of names and faces in prosopagnosia: a neuropsychological application of the Guilty Knowledge Test". Neuropsychologia. 22 (4): 457–69. doi:10.1016/0028-3932(84)90040-X. PMID 6483172.
  20. Ellis, H.D.; Young, A.W. (1990). "Accounting for delusional misidentifications". The British Journal of Psychiatry. 157 (2): 239–48. doi:10.1192/bjp.157.2.239. PMID 2224375. Unknown parameter |month= ignored (help)
  21. Ellis, H.D.; Young, A.W.; Quayle, A.H.; De Pauw, K.W. (1997). "Reduced autonomic responses to faces in Capgras delusion". Proceedings of the Royal Society B: Biological Sciences. 264 (1384): 1085–92. doi:10.1098/rspb.1997.0150.
  22. Young, G. (2008). "Capgras delusion: An interactionist model". Consciousness and Cognition. 17 (3): 863–76. doi:10.1016/j.concog.2008.01.006. Unknown parameter |month= ignored (help)
  23. Hirstein, W.; Ramachandran, V.S. (1997). "Capgras syndrome: a novel probe for understanding the neural representation of the identity and familiarity of persons". Proceedings of the Royal Society B: Biological Sciences. 264 (1380): 437–444. doi:10.1098/rspb.1997.0062. PMC 1688258. PMID 9107057.
  24. Ramachandran, V.S. (1998). Phantoms in the Brain. Great Britain: Harper Perennial. ISBN 1-85702-895-3. Unknown parameter |coauthors= ignored (|author= suggested) (help)
  25. "VS Ramachandran: 3 clues to understanding your brain". TED. March 2007.
  26. Hirstein, William. "The misidentification syndromes as mindreading disorders." Cognitive Neuropsychiatry, 2010 Jan;15 (1) :233-60 Abstract @ PubMed
  27. Science Satire Serpent web site
  28. Hirstein, William and V.S. Ramachandran. "Capgras syndrome: a novel probe for understanding the neural representation of the identity and familiarity of persons." Proceedings of the Royal Society: Biological Sciences. Vol 264, No 1380/March 22, 1997.
  29. Tranel, D.; Damasio, H.; Damasio, A. (1995). "Double dissociation between overt and covert face recognition". Journal of Cognitive Neuroscience. 7 (4): 425–432. doi:10.1162/jocn.1995.7.4.425.
  30. Davies, M.; Coltheart, M.; Langdon, R.; Breen, N. (2001). "Monothematic delusions: Towards a two-factor account". Philosophy, Psychiatry, and Psychology. 8 (2): 133–158. doi:10.1353/ppp.2001.0007.
  31. Young, G. (2008) . Restating the role of phenomenal experience in the formation and maintenance of the capgras delusion. Phenomenology and the Cognitive Sciences, 7 (2), 177-189. Retrieved from www.scopus.com
  32. Ratcliffe, M. (2008) . The phenomenological role of affect in the Capgras delusion. Continental Philosophy Review, 41 (2), 195-216.
  33. reduplicative paramnesia เป็นความเชื่อแบบหลงผิดว่า สถานที่หรือหรือตำแหน่งสถานที่ได้ถูกก๊อปไปที่อื่น จึงมีอยู่ในสองที่พร้อม ๆ กัน หรือว่าสถานที่หรือตำแหน่งสถานที่นั้น ได้ถูกย้ายให้ไปอยู่อีกที่หนึ่ง เป็นกลุ่มอาการระบุผิดเพราะหลงผิด (delusional misidentification syndrome) และถึงแม้ว่า มีน้อย แต่โดยมากเกิดจากความบาดเจ็บเกี่ยวกับสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเสียหายที่มีร่วมกันในสมองซีกขวาและสมองกลีบหน้าทั้งสองข้าง
  34. Alexander, M. P., Stuss, D. T., & Benson, D. F. (1979) . Capgras syndrome A reduplicative phenomenon. Neurology, 29 (3), 334-334.
  35. "Capgras (Delusion) Syndrome". PsychNet-UK.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • วีดีโอของ TED.com เรื่อง "ร่องรอย ๓ อย่างเพื่อเข้าใจสมองของคุณ (3 Clues to Understanding Your Brain)" โดย ดร. รามะจันทรัน ค.ศ. 2007, เป็นภาษาอังกฤษแต่มีคำบรรยายแปลด้านล่าง, มีเรื่องของอาการหลงผิดคะกราส์
  • An Impostor in the Family on damninteresting.com
  • Trial of former SCTV/SNL comic Tony Rosato, with Capgras lit review
  • "Former Second City colleagues offer support at Rosato trial"
  • When a "Duplicate" Family Moves In—Article in The New York Times Magazine by Carol W. Berman, MD.

อาการหลงผ, ดคะกราส, งกฤษ, capgras, delusion, หร, กล, มอาการคะกราส, งกฤษ, capgras, syndrome, grɑ, เป, นความผ, ดปกต, คคลหลงผ, ดว, เพ, อน, สมรส, ดามารดา, หร, อสมาช, กสน, ทในครอบคร, การทดแทนด, วยต, วปลอมท, ปร, างหน, าตาเหม, อนก, ดว, าเป, นกล, มอาการระบ, ดเพราะหลงผ. xakarhlngphidkhakras xngkvs Capgras delusion hrux klumxakarkhakras xngkvs Capgras syndrome ka grɑ 1 2 epnkhwamphidpktithibukhkhlhlngphidwa ephuxn khusmrs bidamarda hruxsmachiksnithinkhrxbkhrw mikarthdaethndwytwplxmthimirupranghnataehmuxnkn xakarhlngphidkhakrascdwaepnklumxakarrabuphidephraahlngphid delusional misidentification syndrome sungepnklumkhxngkhwamechuxaebbhlngphid thikhnikhrabubukhkhl sthanthi hruxwtthu aebbphid odypktiimrwmkn 3 phawanisamarthekidepnaebbechiybphln aebbchwkhraw hruxaebberuxrngkid aelamiaemaetkrnithikhnikhechuxwa kalewlamikarbidebuxnhruxmikarthdaethnxakarhlngphidkhakrasbychicaaenkaelalingkipphaynxkDiseasesDB32606MeSHD002194xakarnimkcaekidkhuninkhnikhorkhcitephthaebbhwadraaewng paranoid schizophrenia aetkekidkhundwyinkhnikhthimikhwamesiyhayinsmxng 4 aelathimiphawasmxngesuxm 5 phawaniekidkhunbxy inbukhkhlthimiorkhprasathesuxm neurodegenerative disease odyechphaainwychra 6 phawanimirayngandwywaekidkhunsmphnthkborkhebahwan phawatxmithrxydthangannxy aelaorkhimekrn 7 thiphiessinkrnihnungkkhux xakarniekidkhuninkhnpktixyangchwkhraw ephraayarangbkhwamrusukekhtamin 8 phawaniekidkhunbxykwainhying odyxtraswnphuhyingtxphuchay epn 3 tx 2 9 khxmulthiidrwbrwmcakphumixakarhlngphidkhakras xaccamiphltxkhwamekhaicekiywkbkarrbruibhna aelaprasathkaywiphakh khxngthngbukhkhlpktiaelakhxngkhnikhphumixakarni 3 enuxha 1 prawti 2 xakarprakt 3 ehtu 4 karrksa 5 du 6 echingxrrthaelaxangxing 7 aehlngkhxmulxunprawti aekikhklumxakarkhakrasmichuxtamocesf khakras kh s 1873 1950 aephthycitewchchawfrngess phuidphrrnnathungkhwamphidpktiniepnkhnaerk inpi kh s 1923 inphlnganwicythiekhiynrwmkbchxn erxobl lachxs 10 thiklawthungkrnikhxnghyingchawfrngesschuxwa nangexm Mme M phuthibnwa khntwplxmidekhamaaethnthisamikhxngethxaelakhnxun thiethxruck 4 khakrasaelaerxobl lachxsiderimtneriykxakarehlaniwa xakarhlxnehntwplxm frngess l illusion des sosies 11 klumxakarkhakrasidrbkarphicarnainyukhtn wa epnorkhthangcitewch khux epnxakarkhxngorkhcitephth aelaepnorkhinhyingethann aemwa txnnieraruaelwwa imichepnaebbni 12 odyepnxakarkhxngorkhhisthieriy khaxthibayekiywkbklumxakarkhakrasthiidrbkaresnxhlngcakkhaxthibaykhxngkhakrasaelaerxobl lachxs epnkhaxthibaythangcitewchodymak emuxmathungkhristthswrrs 1980 ethann thikhwamsnicinehtuekidkhxngklumxakarkhakrascungerimepliynipyngrxyorkhinsmxng sungkhwamcringpraktrwmkborkhmatngaetaerkaelw aetidrbkarphicarnawa immikhwamsmphnth hruxepnkhwambngexiyethann thukwnni eraekhaicklumxakarkhakrasaelwwa epnkhwamphidpktithangprasath sungxakarhlngodyhlkekidkhuncakrxyorkh hruxkhwamesuxminsmxng 13 xakarprakt aekikhkrnisuksa 2 krniehlani epntwxyangkhxngxakarhlngphidkhakrasincitewchsastr idaek cakngankhxngphasesxraelawxrnxkh pi kh s 1991 14 nangdi phuepnaembanwy 74 pi thierw niephingxxkcakorngphyabalinphunthi hlngcakthiidkarrbekhaorngphyabalephraaehtucitewch idmathisunykhxngeraephuxhakhwamehnthisxng 15 hlngcakidkarrbekhaorngphyabalaerk ethxidrbkarwinicchywa epnorkhcitnxkaebb ephraakhwamechuxkhxngethxwa chayxikkhnhnungphuimmikhwamsmphnthknidekhamathdaethnsamikhxngethx ethxidptiesththicanxnrwmkbchaytwplxmnn idlxkpratuhxngnxnkhxngethxinyamwikal idkhxpuncakbutrchaykhxngethx aelainthisud idthakartxsukbecahnathitarwcphucaphaethxipekhaorngphyabal inbangkhrngbangkhrawethxkechuxwa samikhxngethxepnbidakhxngethxthisinchiwitipnanaelw ethxsamarthrucasmachikkhnxun inkhrxbkhrwid ykewnsamikhxngethxethanncakngankhxngsingkaemn pi kh s 2008 16 idaexnepnhyingwy 28 pi phuhmxphbephuxkarpraeminephuxetriymtwihxxkcakorngphyabalcitewch niepnkarekhaorngphyabalephraaehtucitewchkhxngethxepnkhrngthi 3 phayin 5 pi idaexnepnkhnkhixayaelaimsngsrrkhkbikhr aelaephingcapraktxakarorkhcitemuxmathungwy 23 pi hlngcakthiidrbkartrwcodyaephthypracatw ethxcungerimekidkhwamwitkkngwlwa aephthykhxngethxxaccathakhwamesiyhayphayinaekethx aelaethxxaccaimsamarthtngkhrrphid xakarkhxngethxdikhunemuxidrbkareyiywyarksasahrborkhcit aetaeylnghlngcakxxkcakorngphyabalaelwephraaimyxmthanya emuxethxekhaorngphyabalxik 8 eduxnhlngcaknn ethxcungerimmixakarhlngphidwa michayphuhnungkalngkxppi cxhnng khxngbukhkhltang aelaekhaidkxppicxhnngsxngcxthiepnkhxngethx cxhnungnisychwray aelacxhnungnisydi ethxidrbkarwinicchywaepnorkhcitephthphrxmthngxakarhlngphidkhakras ethxxyuinsphaphaetngtwimeriybrxy aelamicudbnhnngsirsakhxngethxthiimmiphm ephraaehtuaehngkartharaytwexngswnkrnitxmaniepntwxyangkhxngxakarhlngphidkhakrasthiekidcakorkhprasathesuxm neurodegenerative disease cakngankhxnglukhechlliaelaspinnelxr pi kh s 2007 17 efrd chaywy 58 piphumikarsuksaradbmthymplay idmaephuxkartrwcsxbthangprasathaelathangprasathcitwithya ephraamikhwamphidpktiinkarrbruaelainphvtikrrm ekhaidthanganepnhwhnakhxnghnwynganelk thithanganekiywkbkarwicydanphlngngancnkrathngthungemux 2 3 eduxnthiaelw prawtithangewchsastraelacitewchkhxngekhaimmixairphidpkti phrryakhxefrdraynganwa phayin 15 eduxncakthierimmixakarphidpkti efrderimehnethxepntwplxm praktkarnnikhrngaerkekidkhunemuxhlngcakthiklbmaban efrdthamethxwa wilmaxyuthiihn hlngcakkartxbkhxngethxwa ethxxyuthiniing thithaihefrdaeplkic ekhakptiesthxyangepncringepncngwa ethximichwilmaphrryakhxngekha phuthiekharuckepnxyangdiinthanamardakhxngbutrkhxngekha aelayngklawwicartxipxyangpktithrrmdawa wilmakhngcaxxkipkhangnxk aelaediywkhngcaklbmaphayhlng efrdmikhwamesuxmlngkhxngkarrbruxyangtxenuxng thiepnipxyangrunaerngaelarwderw aelanxkcakkhwamesuxmthangkarrbruaelw kyngpraktxakarthangprasathcitwithya thimikhwampnpwnkhxngkarichphasaepnxakaredn sungbxkepnnythungkhwamphidpktithangkicbriharkhxngsmxngklibhna khwambkphrxngthangkarrbrukhxngekhaipsuddwyklumxakarthiekidcakkhwamesiyhayxyangrunaerngaelakwangkhwangkhxngsmxngswnhnaehtu aekikhmikarehnphxngknodythw ipwa xakarhlngphidkhakrasmimulthanthisbsxninsmxng aelacasamarthekhaicidngaykwa odywithikartrwcsxbkhwamesiyhaythangprasathkaywiphakh thismphnthkbklumxakar 18 hlkthanaerk thixaccachiehtuthikxihekidxakarni macaknganwicykhxngkhnikhbadecbthangsmxngphuekidmiphawaimruibhna prosopagnosia phuimmikarrbruibhnaaebbehnuxsanuk thungaemwacasamarthrucawtthuthangtapraephthxun id aetwa nganwicypi kh s 1984 khxngebaexxrklbaesdngwa thungaemwakarrucaibhnaehnuxsanukcabkphrxng khnikhphawaniklbaesdngkhwamerathangprasaththiekidkhunodyimsmkhric wdodykarnaiffakhxngphiwhnng emuxehnibhnakhxngkhnthikhunekhy 19 epnphlnganwicythibxkepnnywa miwithiprasathsxngthanginkarrucaibhna khuxwithiehnuxsanukaelawithiitsanukinbthkhwampi kh s 1990 thiphimphin warsarcitewchsastraehngpraethsxngkvs British Journal of Psychiatry nkcitwithyaehedn exllis aelaaexndi yng idtngsmmutithanwa khnikhxakarhlngphidkhakrasxaccamiphawatrngknkhamknkbphawaimruibhna khuxwa inxakarhlngphidkhakras khwamsamarthehnuxsanukephuxrucaibhnaimmikhwamesiyhay aetxaccamikhwamesiyhayinrabbthikxihekidkhwamerakhwamrusukodyxtonmti khuximidxyuitxanaccitic txibhnathimikhwamkhunekhy 20 sungxaccanaipsupraktkarnthikhnikhsamarthrucabukhkhlid aetklbmikhwamrusukwa mixairbangxyangthiphidpktiinbukhkhlni inpi kh s 1997 ehedn exllisaelakhna idphimphphlnganwicyinkhnikh 5 khnthimixakarhlngphidkhakras phulwnaetidrbkarwinicchywaepnorkhcitephth exllisidrbrxngyunynsmmutithankhxngtnwa thungaemwa khnikhcasamarthrucaibhnaodycitehnuxsanuk aetklbimaesdngkhwamerathangkhwamrusukthikhwraesdng 21 khux khnikhaesdngkhwamrusukxtonmtiehmuxnkbecxkbkhnaeplkhna swnnganwicykhxngyng kh s 2008 idtngsmmutithanwa khnikhthimiorkhnisuyesiykhwamkhunekhy imichbkphrxngkhwamkhunekhy 22 wileliym ehxrsitn aelaramacnthrn rayngankarkhnphbthikhlay kn inbthkhwamtiphimphekiywkbkhnikhkhnediyw thimixakarhlngphidkhakras hlngcakekidkhwambadecbinsmxng 23 ramacnthrnidklawthungkrniniinhnngsuxkhxngekhathichuxwa Phantoms in the Brain aefntxminsmxng 24 aelabrryayeruxngniiwinnganprachum TED 2007 25 enuxngcakwa khnikhsamarthrbrukhwamrusukaelasamarthrucaibhnaid aetimpraktkhwamrusukemuxrucaibhnathikhunekhy ramacnthrncungtngsmmutithanwa ehtukhxngxakarhlngphidkhakraskkhuxkartdkhadxxkcakknkhxngsmxngklibkhmb sungepnekhtthirucaibhna aelarabblimbik sungepnekhtthiekiywkhxngkbxarmnkhwamrusuk aelathacaklawodyechphaaecaacngaelw ramacnthrnennkartdkhadxxkcakknrahwangxamikdala kbrxynunsmxngklibkhmbdanlang inferior temporal gyrus 4 inpi kh s 2010 wileliym ehxrsitn idprbprungthvsdikhxngekhaephuxthicaxthibaywa thaimphumixakarhlngphidkhakrascungmiptikiriyaechnnn khuxptiesthbangkhnwaepnkhnthikhunekhy 26 ehxrsitnidxthibaythvsdiprbprungniwa 27 thvstipccubnkhxngphmekiywkbxakarhlngphidkhakras mikhwamechphaaecaacngkwarunthiaelwthiphmklawthunginbthkhwaminpi kh s 1997 thiekhiynrwmkbramacnthrn tamthvsdipccubn eramiaephnthisahrbbukhkhlthieraruckdi epnaephnthiaebbphsmmi 2 swn swnaerkepnaephnthikhxngruplksnphaynxkkhxngbukhkhl epntnwa ruprangthathangaelaesiyng xikswnhnungepnaephnthikhxnglksnaphayinkhxngbukhkhl epntnwa bukhkhlik khwamechux xarmnkhwamrusukthiepnexklksn aelakhwamchxbic xakarhlngphidkhakrasekidkhun emuxaephnthiphayinmikhwamesiyhay hruximsamarthcaekhathungid nikxihekidkhwamrusukthungbukhkhlhnungwa miruplksnphaynxkthithuktxng aetehmuxnkbepnbukhkhlxunodylksnaphayin khuxehmuxnkbepntwplxmnnexng thvsdiniihkhaxthibaythiechphaaecaacngkwa aelaekhakniddikbsingthikhnikhphud epnkaraekpyhathimixyanghnunginsmmutithankxn sungkkhux mikhaxthibayidhlayxyang ekiywkbxakarirkhwamrusukemuxehnikhrkhnhnung yingipkwani ramacnthrnkyngesnxwa mikhwamsmphnthrahwangklumxakarkhakras kbkhwamyaklabakodythw ipinkarpatidpatxkhwamcaxasyehtukarn episodic memory thisubtxkn ephraaxarmnkhwamrusukmibthbathsakhyinkarsrangkhwamthrngca enuxngcakwa khnikhimsamarthprasankhwamthrngcakbxarmnkhwamrusukekhadwykn khnikhcungechuxwa wtthuinphaphthiehnepnwtthuihminthuk khrngthiehn aemwa wtthuehlannkhwrthicakxihekidxarmnkhwamrusuk echnkhwamrusukwa epnkhnsnith epnwtthuthikhunekhy hruxepnwtthuekiywkbtn 28 nkwicyxun echnemxrrin aelasilebxrfarb pi kh s 1976 12 idesnxkhwamechuxmtxknrahwangklumxakarkhakras kbkhwambkphrxngkhxngrabbkhwamthrngcabangswn phwkekhaidesnxwa bukhkhlthisakhyaelathikhunekhy sungkkhuxbukhkhlthiepnthitngkhxngkhwamhlngphidkhakras mikhwamekiywkhxngkbkhwamthrngcahlayradbthangta hu karkrathbsmphs aelaprasbkarnxun thismphnthkbbukhkhlehlann dngnn klumxakarkhakrassamarthekhaicid odyepnkhwamepnxyangimsmphnthkhxngwtthu khuxkhxngbukhkhlehlann inkarrbruinsmxngradbsungepnipidmakwa txngmikhwambkphrxngxyangxun nxkcakkhwamesiyhaytxkartxbsnxngxtonmtikhuxkarerakhwamrusuk ephraawakhnikhbangphwkmikhwamesiyhayxyangni aetimmixakarkhxngkhwamhlngphid 29 exllisaelakhnaesnxwa mixngkhprakxbthisxng thixthibayehtuphlkhwamthiprasbkarnimpktixyangni klbklayepnkhwamechuxthiprakxbdwykhwamhlngphid xngkhprakxbthisxngnimikaresnxwa epnkhwambkphrxnginkarkhidodyehtuphl aemwa yngimmikhwambkphrxngthiechphaaecaacng thisamarthxthibayxakarkhxngkhwamhlngphidkhakrasinthuk krni 30 aetkminkwicyhlaythanthiesnxihrwmkhwamrusukthiepnxtwisy inaebbxthibaykhxngklumxakarkhakras ephuxthicaekhaicklikthiyngkarsrangkhwamechuxaelakardarngiwsungkhwamechuxthiprakxbdwykhwamhlngphidnn ihepnipid 31 32 klumxakarkhakrasyngmikhwamekiywkhxngkb reduplicative paramnesia 33 sungepnkhwamechuxaebbhlngphidxikxyanghnung enuxngcakklumxakarthngsxngnimikhwamsmphnthknxyangsung cungmithvsdithiesnxwa ekhtsmxngekhtediywknmiphltxxakarthngsxng aeladngnn xakarthngsxngcungmikhwamekiywkhxngthangprasaththiehmuxnkn enuxngcakmikhwamekhaicwa smxngklibhnamiphltx reduplicative paramnesia dngnncungechuxknwa klumxakarkhakraskmikhwamsmphnthkbsmxngklibhnaechnkn 34 aelathungaemwa xaccaimmikhwamesiyhayodytrngtxsmxngklibhna aetwa aemaetkarekhaipkhdkhwangsyyanthiepnipinrahwangsmxngekhtxun kbsmxngklibhna kyngsamarthcaihphlepnklumxakarkhakrasechnkn 6 karrksa aekikhkarbabdorkhepnraybukhkhlxaccaepnwithithidithisud inkarrksaxakarhlngphidkhxngaetlakhn khwamxdthnbakbnkhxngphurksaepnsingthicaepnephuxthicaehnickhnikhinkhnababdorkh odythiimekhaiprbrxngrabbkhwamkhidehnphid khxngkhnikh hruxekhaippracnhnakbkhwamhlngphidnnmakekinip ethkhnikhprbkarrbruechnkartrwcsxbkhwamcring reality testing aelakarepliynkrxbkhwamcring reality reframing epnethkhnikhthiichid nxkcaknnaelw yngmikarichyarksaorkhcitaelayarksaxyangxun thiihphlsaercphxsmkhwr 35 du aekikhekhtrbruhnainrxynunrupkraswy karrbruibhna phawaimruibhnaechingxrrthaelaxangxing aekikh MediLexicon inphaphyntrsarkhdi Phantoms in the Brain txn 2 khxng BBC nkwichakarthngchawxngkvsaelachawxemriknxxkesiyngwa aekhpkras odyimxxkesiyng s danhlng 3 0 3 1 Ellis H D amp Lewis M B 2001 Capgras delusion A window into face recognition Trends in Cognitive Science 5 4 149 156 http dx doi org 10 1016 S1364 6613 00 01620 X 4 0 4 1 4 2 Ramachandran V S 1998 Consciousness and body image Lessons from phantom limbs Capgras syndrome and pain asymbolia PDF Philosophical Transactions of the Royal Society B Biological Sciences 353 1377 1851 1859 doi 10 1098 rstb 1998 0337 PMC 1692421 Forstl H Almeida O P Owen A M Burns A Howard R 1991 Psychiatric neurological and medical aspects of misidentification syndromes a review of 260 cases Psychol Med 21 4 905 10 doi 10 1017 S0033291700029895 PMID 1780403 Unknown parameter month ignored help 6 0 6 1 Josephs K A 2007 Capgras Syndrome and Its Relationship to Neurodegenerative Disease Archives of Neurology 64 12 1762 1766 doi 10 1001 archneur 64 12 1762 PMID 18071040 Unknown parameter month ignored help Bhatia M S 1990 Capgras syndrome in a patient with migraine British Journal of Psychiatry 157 6 917 918 doi 10 1192 bjp 157 6 917 Corlett P R D Souza D C Krystal J H 2010 Capgras Syndrome Induced by Ketamine in a Healthy Subject Biological Psychiatry 68 1 e1 e2 doi 10 1016 j biopsych 2010 02 015 Unknown parameter month ignored help Giannini AJ Black HR The Psychiatric Psychogenic and Somatopsychic Disorders Handbook Garden City NY Medical Examination pp 97 8 ISBN 0 87488 596 5 Capgras J Reboul Lachaux J 1923 Illusion des sosies dans un delire systematise chronique Bulletin de la Societe Clinique de Medicine Mentale 2 6 16 Approche clinique du syndrome de Capgras ou illusion des sosies illustree par un cas Gael Le Vacon 2006 aeplxyangkhraw khux withikarrksaklumxakarkhakras hrux xakarhlxnehntwplxm dngthipraktinkrnihnung 12 0 12 1 Merrin E L amp Silberfarb P M 1976 The Capgras phenomenon Archives of general psychiatry 33 8 965 Draaisma D Echos doubles and delusions capgras syndrome in science and literature Style 2009b 43 429 41 Passer K M Warnock J K 1991 Pimozide in the treatment of Capgras syndrome A case report Psychosomatics 32 4 446 8 doi 10 1016 S0033 3182 91 72049 5 PMID 1961860 khwamehnthisxng epnkariphaaephthythiepnkhnlakhnkbaephthythikhnikhidipha ephuxcahakhwamehnthisxngthixaccaaetktangkncakkhwamehnaerk Sinkman A 2008 The syndrome of capgras Psychiatry 71 4 371 378 Retrieved from http search proquest com docview 57274935 accountid 10673 Lucchelli F and Spinnler H The case of lost Wilma a clinical report of Capgras delusion Neurological Sciences 28 188 195 2007 http dx doi org 10 1007 s10072 007 0819 8 Young A W Reid I Wright S I M O N amp Hellawell D J 1993 Face processing impairments and the Capgras delusion The British Journal of Psychiatry 162 5 695 698 Bauer R M 1984 Autonomic recognition of names and faces in prosopagnosia a neuropsychological application of the Guilty Knowledge Test Neuropsychologia 22 4 457 69 doi 10 1016 0028 3932 84 90040 X PMID 6483172 Ellis H D Young A W 1990 Accounting for delusional misidentifications The British Journal of Psychiatry 157 2 239 48 doi 10 1192 bjp 157 2 239 PMID 2224375 Unknown parameter month ignored help Ellis H D Young A W Quayle A H De Pauw K W 1997 Reduced autonomic responses to faces in Capgras delusion Proceedings of the Royal Society B Biological Sciences 264 1384 1085 92 doi 10 1098 rspb 1997 0150 Young G 2008 Capgras delusion An interactionist model Consciousness and Cognition 17 3 863 76 doi 10 1016 j concog 2008 01 006 Unknown parameter month ignored help Hirstein W Ramachandran V S 1997 Capgras syndrome a novel probe for understanding the neural representation of the identity and familiarity of persons Proceedings of the Royal Society B Biological Sciences 264 1380 437 444 doi 10 1098 rspb 1997 0062 PMC 1688258 PMID 9107057 Ramachandran V S 1998 Phantoms in the Brain Great Britain Harper Perennial ISBN 1 85702 895 3 Unknown parameter coauthors ignored author suggested help VS Ramachandran 3 clues to understanding your brain TED March 2007 Hirstein William The misidentification syndromes as mindreading disorders Cognitive Neuropsychiatry 2010 Jan 15 1 233 60 Abstract PubMed Science Satire Serpent web site Hirstein William and V S Ramachandran Capgras syndrome a novel probe for understanding the neural representation of the identity and familiarity of persons Proceedings of the Royal Society Biological Sciences Vol 264 No 1380 March 22 1997 Tranel D Damasio H Damasio A 1995 Double dissociation between overt and covert face recognition Journal of Cognitive Neuroscience 7 4 425 432 doi 10 1162 jocn 1995 7 4 425 Davies M Coltheart M Langdon R Breen N 2001 Monothematic delusions Towards a two factor account Philosophy Psychiatry and Psychology 8 2 133 158 doi 10 1353 ppp 2001 0007 Young G 2008 Restating the role of phenomenal experience in the formation and maintenance of the capgras delusion Phenomenology and the Cognitive Sciences 7 2 177 189 Retrieved from www scopus com Ratcliffe M 2008 The phenomenological role of affect in the Capgras delusion Continental Philosophy Review 41 2 195 216 reduplicative paramnesia epnkhwamechuxaebbhlngphidwa sthanthihruxhruxtaaehnngsthanthiidthukkxpipthixun cungmixyuinsxngthiphrxm kn hruxwasthanthihruxtaaehnngsthanthinn idthukyayihipxyuxikthihnung epnklumxakarrabuphidephraahlngphid delusional misidentification syndrome aelathungaemwa minxy aetodymakekidcakkhwambadecbekiywkbsmxng odyechphaaxyangying khwamesiyhaythimirwmkninsmxngsikkhwaaelasmxngklibhnathngsxngkhang Alexander M P Stuss D T amp Benson D F 1979 Capgras syndrome A reduplicative phenomenon Neurology 29 3 334 334 Capgras Delusion Syndrome PsychNet UK aehlngkhxmulxun aekikhwidioxkhxng TED com eruxng rxngrxy 3 xyangephuxekhaicsmxngkhxngkhun 3 Clues to Understanding Your Brain ody dr ramacnthrn kh s 2007 epnphasaxngkvsaetmikhabrryayaepldanlang mieruxngkhxngxakarhlngphidkhakras An Impostor in the Family on damninteresting com Trial of former SCTV SNL comic Tony Rosato with Capgras lit review Former Second City colleagues offer support at Rosato trial When a Duplicate Family Moves In Article in The New York Times Magazine by Carol W Berman MD ekhathungcak https th wikipedia org w index php title xakarhlngphidkhakras amp oldid 6479844, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม