fbpx
วิกิพีเดีย

ความเครียด (จิตวิทยา)

บทความนี้กล่าวถึงความเครียดตามความหมายของสาขาจิตวิทยา สำหรับความเครียดในความหมายอื่น ๆ ดูที่ ความเครียด (แก้กำกวม)

ในสาขาจิตวิทยา ความเครียด เป็นความรู้สึกตึง/ล้าทางใจ หรือการเสียศูนย์/ความสมดุลทางใจที่มีมาก่อน เนื่องจากการได้รับสิ่งเร้า/ปัจจัยไม่ว่าทางกายหรือใจ ไม่ว่าจะภายนอกหรือภายใน ไม่ว่าจะเป็นอันตรายจริง ๆ หรือไม่ เช่น อากาศร้อน ถูกติเตียนต่อหน้าสาธารณชน หรือได้รับสิ่งเร้า/ประสบการณ์อื่น ๆ ที่ไม่น่าชอบใจ และโดยทั่วไปหมายถึงอารมณ์เชิงลบซึ่งบุคคลปกติพยายามจะหลีกเลี่ยง เป็นอารมณ์ที่เกิดพร้อมกับการปรับตัวทางสรีรภาพ ทางประชาน และทางพฤติกรรม เป็นความทุกข์ทางใจอย่างหนึ่ง ความเครียดเล็กน้อยอาจเป็นเรื่องที่น่าต้องการ มีประโยชน์ และแม้แต่ดีต่อสุขภาพ เช่น ความเครียด "เชิงบวก" ที่ช่วยให้นักกีฬาเล่นกีฬาได้ดีขึ้น มันยังเป็นปัจจัยสร้างแรงจูงใจ การปรับตัว และการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม แต่การเครียดมากอาจทำอันตรายต่อร่างกาย เพราะสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อเส้นเลือดอุดตันในสมอง กล้ามเนื้อหัวใจตายเหตุขาดเลือด แผลเปื่อย และโรคทางใจ เช่น โรคซึมเศร้า

ชายผู้มีกิริยาแสดงว่าเครียดคือจับศีรษะด้วยมือทั้งสอง

ความเครียดอาจมาจากปัจจัยภายนอกและเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม แต่ก็อาจมีเหตุจากการรับรู้ภายในที่ทำให้บุคคลรู้สึกวิตกกังวลหรือเกิดอารมณ์เชิงลบอื่น ๆ เกี่ยวกับสถานการณ์ เช่น รู้สึกถูกกดดัน ไม่สบายใจ เป็นต้น แล้วทำให้เครียด นักวิชาการจึงได้นิยามความเครียดไว้อีกอย่างหนึ่งว่า เป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมที่บุคคลจัดว่าสำคัญต่อตน และรู้สึกหนักเกินกว่าที่ตนจะรับมือได้

การรวมความเครียดแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

มุมมองเกี่ยวกับความเครียดที่ไม่ค่อยพิจารณาอย่างหนึ่งก็คือทำให้ปรับตัวได้ดี คือ ความเครียดแบบดีจะเป็นแรงจูงใจและสร้างความท้าทายแทนที่จะทำให้วิตกกังวล ความเครียดแบบดี (eustress) จะต่างกับความเครียดที่ไม่ดี (distress) อย่างสำคัญ แม้จะเรียกรวม ๆ ว่าความเครียดเหมือนกัน แต่ก็ควรมองเป็นแนวคิดที่ต่างกัน

รูปแบบต่าง ๆ

แพทย์ชาวออสเตรีย-แคนาดา แฮนส์ เซ็ลเย (Hans Selye ผู้บางคนเรียกว่า "บิดาเรื่องความเครียด") เสนอว่า มีความเครียด 4 รูปแบบ ในแนวหนึ่ง มีความเครียดแบบดี (eustress) และแบบไม่ดี (distress) ที่จุดมุ่งหมายก็เพื่อสร้างความเครียดแบบดีให้มากสุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในอีกแนวหนึ่ง มีความเครียดเกิน (hyperstress) และความเครียดน้อยเกิน (hypostress) ที่จุดมุ่งหมายก็เพื่อทำให้สมดุลเท่าที่จะเป็นไปได้ แนวคิดเช่นนี้มีผลดีกับการทำประโยชน์ในชีวิตอย่างมาก เพราะเป็นเหตุให้ทำงานอย่างสุขใจแทนที่จะเบื่อซึ่งเกิดเมื่อเครียดแบบไม่ดี

ความเครียดที่ดีและไม่ดี

คำว่า eustress มาจากรากภาษากรีก “eu” ซึ่งแปลว่าดี ดังที่ใช้ในคำว่า euphoria (ความเป็นสุขอย่างที่สุด) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลมองสิ่งที่ก่อความเครียด (stressor) ในแง่ดี ส่วนคำว่า distress มาจากรากคำภาษาละติน คือ “dis” ซึ่งเปลี่ยนคำให้มีความหมายตรงกันข้าม เช่นคำว่า dissonance (ความไม่กลมกลืน) และ disagreement (ข้อขัดแย้ง)

ความเครียดที่ไม่ดี/ความทุกข์มีผลไม่ดีต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งเกิดเมื่อความต้องการเหนือสมรรถภาพการรับมือของบุคคลอย่างมาก

ผลต่อสุขภาพ

 
หญิงเครียดกำลังรอพบแพทย์

ความเครียดน่าจะสัมพันธ์กับความเจ็บป่วย ทฤษฎีที่เชื่อมความเครียดกับความเจ็บป่วยเสนอว่า ทั้งความเครียดฉับพลันและเรื้อรังอาจทำให้ป่วย โดยมีงานศึกษาหลายงานที่พบเช่นนี้ ตามทฤษฎี ความเครียดทั้งสองแบบอาจเปลี่ยนทั้งพฤติกรรมและร่างกาย พฤติกรรมรวมทั้งการสูบบุหรี่ การกิน และการออกกำลัง ความเปลี่ยนแปลงทางสรีรภาพรวมทั้งการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติก/แกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัล และระบบภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ดี กำลังของความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับความเจ็บป่วยที่พบก็ต่าง ๆ กันมาก

ความเครียดอาจทำให้บุคคลเสี่ยงโรคกายต่าง ๆ เช่น เป็นหวัด เหตุการณ์เครียดในชีวิต เช่น การเปลี่ยนงาน อาจทำให้นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท หรือมีปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ

งานวิจัยแสดงว่า รูปแบบตัวก่อความเครียด (เช่น แบบฉับพลันหรือแบบเรื้อรัง) และลักษณะบุคคล เช่น อายุและสุขภาพ ที่มีอยู่แล้ว จะมีอิทธิพลต่อความเครียดที่เกิด บุคลิกภาพของบุคคล (เช่น ระดับ neuroticism) กรรมพันธุ์ และประสบการณ์ในวัยเด็ก เมื่อประกอบกับตัวก่อความเครียดหนักหรือความบาดเจ็บ อาจเป็นตัวกำหนดการตอบสนองต่อตัวก่อความเครียด

ความเครียดเรื้อรังและการไม่มีหรือไม่ใช้ทรัพยากรเพื่อรับมือกับความเครียดบ่อยครั้งจะสร้างปัญหาทางจิต เช่น โรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล ซึ่งเป็นจริงอย่างยิ่งสำหรับตัอก่อความเครียดแบบเรื้อรัง เป็นตัวก่อความเครียดที่อาจไม่หนักเท่ากับความเครียดฉับพลัน เช่น ภัยธรรมชาติหรืออุบัติเหตุ แต่จะคงยืนเป็นเวลานาน และมักจะมีผลลบต่อสุขภาพมากกว่า เพราะมันคงยืนและทำให้ต้องตอบสนองทุก ๆ วัน ซึ่งจะทำให้ร่างกายหมดกำลังได้เร็วกว่าและปกติจะเกิดเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะเมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ (เช่น ความเครียดเนื่องจากอยู่อาศัยในที่ไม่ปลอดภัย) ยกตัวอย่างเช่น งานศึกษาได้พบว่า ผู้ดูแลคนป่วยโดยเฉพาะคนป่วยโรคสมองเสื่อม มีระดับความซึมเศร้าที่สูงกว่า และมีสุขภาพแย่กว่าผู้ไม่ต้องดูแลผู้ป่วย

งานศึกษายังพบด้วยยว่า ความเครียดเรื้อรังและความดุที่สัมพันธ์กับบุคลิกภาพแบบ A (ช่างแข่งขัน ชอบเข้าสังคม ทะเยอทะยาน ใจร้อน ดุ) บ่อยครั้งสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่า ซึ่งมีเหตุจากระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอและระดับความตื่นตัวของระบบประสาทซิมพาเทติกซึ่งสูง โดยเป็นส่วนของการตอบสนองทางสรีรภาพต่อเหตุการณ์เครียด

อย่างไรก็ดี บางคนอาจมีใจแข็งแกร่ง (hardiness) ซึ่งหมายถึงสมรรถภาพในการมีสุขภาพทางจิตดีแม้จะเครียดอยู่เสมอ ๆ นักจิตวิทยาในปัจจุบันกำลังศึกษาปัจจัยที่ทำให้คนที่แข็งแกร่งสามารถรับมือกับความเครียดและหลีกเลี่ยงปัญหาทางร่างกายจิตใจที่สัมพันธ์กับการมีความเครียดสูง

ปัญหาเช่นอาการหลงผิด (delusion)โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ อาจสัมพันธ์กับความเครียด

ถึงกระนั้น ทุกคนก็จะเครียดบ้าง และแพทย์เท่านั้นที่จะวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคเครียด ตามงานทบทวนวรรณกรรมปี 2016 ความวิตกกังวลระดับเป็นโรคและความเครียดเรื้อรังจะทำให้เขตสมองคือฮิปโปแคมปัสเสื่อมและทำงานพิการ

มันเชื่อมานานแล้วว่า อารมณ์เชิงลบ เช่น ความวิตกกังวลและความซึมเศร้า อาจมีอิทธิพลต่อโรคกาย ซึ่งก็จะมีผลต่อกระบวนการทางชีวภาพอันอาจทำให้เสี่ยงโรคเพิ่มขึ้นในที่สุด แต่งานศึกษาต่าง ๆ ก็ได้แสดงว่า นี่ไม่จริงเป็นบางส่วน คือแม้ความเครียดดูเหมือนจะเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ไม่ดี แต่ความรู้สึกว่า ความเครียดเป็นอันตรายก็จะเพิ่มความเสี่ยงขึ้นอีก ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเครียดอย่างเรื้อรัง ก็จะเสี่ยงเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรทางสรีรภาพ ทางอารมณ์ และทางพฤติกรรม ซึ่งอาจก่อโรค ความเครียดเรื้อรังเป็นผลของเหตุการณ์เครียดเป็นระยะเวลานาน เช่น การดูแลคู่ชีวิตที่สมองเสื่อม หรือเป็นผลของเหตุการณ์เครียดชั่วคราวแต่รู้สึกเครียดเป็นระยะเวลานาน เช่น การถูกทำร้ายทางเพศ แม้ความเครียดบ่อยครั้งจะเชื่อมกับความเจ็บป่วยหรือโรค แต่คนปกติโดยมากก็ยังไร้โรคแม้หลังจากประสบกับเหตุการณ์เครียดแบบเรื้อรัง อนึ่ง บุคคลที่ไม่เชื่อว่าความเครียดจะมีผลต่อสุขภาพของตน ก็ไม่เสี่ยงเพิ่มต่อความเจ็บป่วย โรค หรือความตาย ซึ่งแสดงว่า ความเครียดมีอิทธิพลการก่อโรคในแต่ละบุคคลไม่เท่ากัน เป็นความต่างเนื่องกับปัจจัยทางกรรมพันธุ์และทางจิตใจ อนึ่ง อายุที่ประสบกับความเครียดจะเป็นตัวกำหนดผลต่อสุขภาพด้วย งานวิจัยแสดงว่า ความเครียดเรื้อรังในวัยเด็กจะมีผลต่อการตอบสนองทางชีวภาพ ทางจิตใจ และทางพฤติกรรมต่อความเครียดที่ได้รับต่อ ๆ มาตลอดชีวิต

เพราะความเครียดมีผลต่อกาย บางคนก็อาจไม่แยกแยะปัญหานี้กับโรคอื่น ๆ ถ้าอาการชัดเจน (เช่น มีก้อนที่หน้าอก) บุคคลจะไปหาหมอไม่ว่าจะเครียดอยู่หรือไม่ แต่ถ้าอาการไม่ชัดเจน (เช่น ปวดหัว) ก็จะไม่ไปหาหมอเพราะเข้าใจว่าอาการมาจากความเครียดเมื่อสิ่งที่ทำให้เครียดเริ่มเกิดเร็ว ๆ นี้คือไม่เกิน 3 อาทิตย์ และจะไปหาหมอถ้าสิ่งที่ทำให้เครียดมีมานานกว่านั้น

มะเร็ง

ในสัตว์ ความเครียดมีผลต่อการเกิด การเติบโต และการแพร่กระจายของเนื้องอกที่ตรวจดู แต่งานศึกษาซึ่งพยายามเชื่อมความเครียดกับความชุกโรคมะเร็งในมนุษย์ก็มีผลไม่ชัดเจน ซึ่งอาจเป็นเพราะออกแบบและทำงานศึกษาที่เหมาะสมได้ยาก ในงานศึกษาในสหราชอาณาจักรงานหนึ่ง ความเชื่อว่าความเครียดเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งเป็นเรื่องสามัญ แต่ความสำนึกถึงปัจจัยเสี่ยงมะเร็งโดยทั่วไปก็จัดว่าน้อย

ตัวก่อความเครียดที่เป็นกลาง

ความเครียดเป็นการตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่เฉพาะเจาะจง คือเป็นกลาง แต่ก็จะต่าง ๆ กันในระดับการตอบสนอง มันเกี่ยวกับบริบทของบุคคลและว่า บุคคลมองสถานการณ์นั้นอย่างไร นพ. เซ็ลเยได้นิยามความเครียดว่า "ผลที่ไม่เฉพาะเจาะจง (คือ สามัญ) ต่อความจำเป็นที่เกิดต่อร่างกาย ไม่ว่าจะทางจิตใจหรือทางกาย" นิยามนี้ครอบคลุมนิยามทางการแพทย์ที่กำหนดว่าเป็นความจำเป็นทางกาย และครอบคลุมนิยามของภาษาพูดโดยทั่วไปว่า เป็นความจำเป็นทางจิตใจ

แม้ตัวก่อความเครียดก็เป็นกลางโดยธรรมชาติเหมือนกัน คือ อาจทำให้ตอบสนองเป็นความเครียดที่ดีหรือไม่ดีก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับบุคคลว่าจะทำให้เป็นความเครียดที่ดีหรือไม่ดี

รูปแบบตัวก่อความเครียด

ตัวก่อความเครียด (stressor) เป็นเหตุการณ์ ประสบการณ์ หรือสิ่งเร้าใดก็ได้ในสิ่งแวดล้อมที่ทำให้บุคคลเครียด โดยบุคคลมองว่าเป็นภัยหรือเป็นข้อท้าทาย และอาจเป็นเรื่องทางกายหรือทางใจ นักวิจัยพบว่า ตัวก่อความเครียดสามารถทำให้เสี่ยงโรคทางกายและใจมากขึ้น เช่น โรคหัวใจและความวิตกกังวล

ตัวก่อความเครียดมีโอกาสมีผลต่อสุขภาพของบุคคลมากกว่าเมื่อมันเรื้อรัง ทำให้วุ่นวายมาก และมองว่าควบคุมไม่ได้ ในสาขาจิตวิทยา นักวิชาการปกติจะจัดตัวก่อความเครียดเป็นหมวด 4 หมวดคือ วิกฤติการณ์/หายนะ เหตุการณ์สำคัญในชีวิต ปัญหาในชีวิตประจำวัน และตัวก่อความเครียดพื้นหลัง

วิกฤติการณ์/หายนะ

ตัวก่อความเครียดเช่นนี้ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าหรือพยากรณ์ได้ และดังนั้น จึงควบคุมไม่ได้ ตัวอย่างรวมทั้งภัยพิบัติใหญ่ต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว และสงครามเป็นต้น แม้จะมีน้อย แต่ก็เป็นเหตุให้เครียดมาก งานวิจัยที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดพบว่า หลังภัยพิบัติทางธรรมชาติ ผู้ประสบภัยจะเครียดมากขึ้น

ส่วนความเครียดเนื่องจากการสู้รบเป็นทั้งแบบฉับพลันและแบบเรื้อรัง เพราะต้องทำการอย่างรวดเร็วและเพราะแรงกดดันให้โจมตีก่อน อุบัติเหตุฆ่าฝ่ายเดียวกันจึงอาจเกิดได้ วิธีการป้องกันต้องลดความเครียด เน้นการฝึกระบุยานพาหนะและตัวระบุฝ่ายชนิดอื่น ๆ เพิ่มสำนึกถึงยุทธวิธี และการวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องของผู้นำทุกระดับ

เหตุการณ์สำคัญในชีวิต

ตัวอย่างสามัญของเหตุการณ์สำคัญในชีวิตรวมทั้งการแต่งงาน การเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย การเสียชีวิตของบุคคลที่รัก การได้สมาชิกใหม่ในครอบครัว การย้ายที่อยู่เป็นต้น เหตุการณ์เหล่านี้ ไม่ว่าจะจัดว่าดีหรือไม่ดี อาจทำให้รู้สึกไม่แน่ใจหรือกลัว ซึ่งในที่สุดก็จะก่อความเครียด ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยพบระดับความเครียดที่สูงขึ้นสำหรับนักเรียนมัธยมที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย โดยนักศึกษาปี 1 มีโอกาสเครียดเป็น 2 เท่าของนักศึกษาปีสุดท้าย

แต่งานวิจัยก็พบว่า เหตุการณ์สำคัญในชีวิตไม่ค่อยเป็นตัวก่อความเครียดที่สำคัญ เพราะเกิดน้อยมาก ระยะเวลาหลังจากเริ่มเกิดและความเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี เป็นปัจจัยกำหนดว่า มันเป็นเหตุให้เครียดหรือไม่และเครียดแค่ไหน นักวิจัยได้พบว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเดือนที่ผ่านมาโดยทั่วไปจะไม่เชื่อมกับความเครียดหรือความเจ็บป่วย แต่เหตุการณ์เครียดเรื้อรังที่เกิดมากกว่า 2-3 เดือนก่อนจะเชื่อมกับทั้งความเครียด ความเจ็บป่วย และการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพ

อนึ่ง เหตุการณ์ดี ๆ ในชีวิตจะไม่เชื่อมกับความเครียด หรือว่าเชื่อมกับความเครียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ในขณะที่เหตุการณ์ไม่ดีอาจเชื่อมกับความเครียดและปัญหาสุขภาพที่มาด้วยกัน อย่างไรก้ดี ประสบการณ์ดี ๆ และการเปลี่ยนแปลงชีวิตในทางที่ดี อาจเป็นตัวพยากรณ์การลดระดับ neuroticism

ในชีวิตประจำวัน

หมู่นี้รวมความรำคาญและความยุ่งยากในชีวิตประจำวัน ตัวอย่างรวมการตัดสินใจ การทำงานให้เสร็จตามกำหนดเวลาไม่ว่าจะเป็นที่ทำงานหรือสถานศึกษา รถติด การประสบกับคนน่ารำคาญ ความขัดแย้งกับผู้อื่น เป็นต้น อย่างไรก็ดี แต่ละคนจะมีตัวก่อความเครียดในชีวิตประจำวันที่ไม่เหมือนกัน เพราะทุกคนไม่ได้รู้สึกเหมือนกันว่า เหตุการณ์หนึ่ง ๆ ก่อความเครียด ยกตัวอย่างเช่น คนโดยมากอาจจะรู้สึกเครียดกับการกล่าวปาฐกถา แต่นักการเมืองมืออาชีพอาจไม่รู้สึกเช่นนี้

ความยุ่งยากในชีวิตประจำวันเป็นตัวก่อความเครียดที่มีบ่อยที่สุดสำหรับผู้ใหญ่โดยมาก จึงทำให้มีผลทางสรีรภาพมากที่สุดต่อบุคคล นักวิชาการได้ตรวจระดับความเครียดเพราะความยุ่งยากในชีวิตเทียบกับอัตราการตาย แล้วสรุปว่า มีสหสัมพันธ์อย่างมีกำลังระหว่างบุคคลที่จัดความยุ่งยากในชีวิตประจำวันว่าเครียดมากกับอัตราการตายที่สูง ดังนั้น ความรู้สึกว่า ความยุ่งยากทำให้เครียดแค่ไหน อาจบรรเทาผลทางสรีรภาพของตัวก่อความเครียดในชีวิตประจำวัน

ตามจิตวิทยา มีความขัดแย้ง 3 อย่างที่ก่อความเครียด

  • ความขัดแย้งแบบสู้-สู้ (approach-approach conflict) ซึ่งเกิดเมื่อเลือกทางเลือกที่ดูดีเท่า ๆ กัน เช่น จะไปดูภาพยนตร์หรือคอนเสิร์ตดี
  • ความขัดแย้งแบบหลีก-หลีก (avoidance-avoidance conflict) ซึ่งเกิดเมื่อเลือกทางเลือกที่ไม่ดีเท่า ๆ กัน เช่น การต้องกู้ธนาคารเพิ่มโดยมีข้อตกลงที่ไม่ดีเพื่อจ่ายหนี้การจำนอง หรือบ้านที่อยู่ถูกบังคับจำนอง
  • ความขัดแย้งแบบสู้-หลีก (approach-avoidance conflict) เกิดเมื่อต้องเลือกทำสิ่งหนึ่ง ๆ ที่มีทั้งข้อดีข้อเสีย เช่น เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยราคาแพง (เช่น ต้องกู้หนี้ยืมสิน แต่ได้การศึกษาที่ดีกว่าและได้โอกาสการบรรจุงานที่ดีกว่าเมื่อจบการศึกษา)

ส่วนความเครียดเนื่องกับการเดินทางมีอยู่ 3 หมู่ คือ เสียเวลา เรื่องไม่คาดฝัน (เหตุการณ์ที่ไม่รู้ล่วงหน้า เช่น กระเป๋าเดินทางหายหรือมาช้า) และการไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน

พื้นหลัง

ตัวก่อความเครียดพื้นหลัง (ambient stressors) เป็นตัวก่อความเครียดทั่ว ๆ ไป (เทียบกับตัวก่อความเครียดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ) ในระดับต่ำ ที่เป็นส่วนของพื้นหลังสิ่งแวดล้อม และนิยามว่า "เรื้อรัง มีค่าเชิงลบ ไม่เร่งด่วน รู้สึกได้ และพยายามเปลี่ยนพวกมันไม่ได้" ตัวอย่าง เช่น มลภาวะ เสียง ประชากรแออัด และรถติด ไม่เหมือนกับตัวก่อความเครียด 3 อย่างอื่น ๆ ตัวนี้อาจ (แต่ไม่จำเป็นต้อง) มีผลลบต่อความเครียดโดยไม่รู้สึกตัว

ในองค์กร

งานศึกษาในกองทัพทหารและสนามรบแสดงว่า ตัวก่อความเครียดที่มีกำลังมากที่สุดอาจเกิดจากปัญหาการจัดระบบองค์กร/หน่วย ความเครียดเช่นนี้สามารถเกิดทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

การแก้

การแก้ความเครียด (stress management) หมายถึงเทคนิกและจิตบำบัดมากมายหลายอย่างที่มุ่งควบคุมระดับความเครียด โดยเฉพาะแบบเรื้อรัง ปกติเพื่อให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น โดยควบคุมและลดความรู้สึกตึง ๆ ที่เกิดในสถานการณ์เครียดโดยเปลี่ยนอารมณ์หรือเปลี่ยนสถานการณ์

การป้องกันและการสร้างความยืดหยุ่น

แม้จะมีเทคนิกที่ได้พัฒนาขึ้นเพื่อรับมือกับผลของความเครียด แต่ก็มีงานศึกษาเรื่องการป้องกันความเครียดด้วย ซึ่งเป็นประเด็นใกล้เคียงกับเรื่อง "psychological resilience" (ความยืดหยุ่นได้ทางใจ) ในจิตวิทยา และมีวิธีที่ทำเองได้เพื่อป้องกันความเครียดและเพิ่มความยืดหยุ่นทางจิตใจ ที่ได้แนวคิดมาจากการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (CBT)

biofeedback (คือการวัดการตอบสนองทางสรีรภาพด้วยเครื่องมือโดยมีจุดประสงค์เพื่อจะควบคุมการตอบสนองเช่นนั้น ๆ) อาจช่วยแก้ความเครียด งานศึกษาปี 2015 ประเมินผลของ resonant breathing biofeedback (เป็นการสำนึกและควบคุมความต่าง ๆ กันของอัตราการเต้นหัวใจ) ในกลุ่มพนักงานควบคุมการผลิต แล้วพบว่า เทคนิกช่วยลดความซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความเครียดอย่างสำคัญ

กลไกการรับมือ

ดูบทความหลักที่: การรับมือ (จิตวิทยา)

แบบจำลองหนึ่งแสดงว่า เหตุการณ์ภายนอกสร้างแรงกดดันให้ทำกิจให้เกิด ให้มีส่วนร่วมกับ หรือให้ประสบกับเหตุการณ์เครียด ความเครียดไม่ใช่เหตุการณ์ภายนอกเอง แต่เป็นการตีความและตอบสนองต่อภัยที่อาจมี ดังนั้น จึงสามารถใช้วิธีการรับมือกับความเครียดได้

มีวิธีการหลายอย่างที่สามารถรับมือกับภัยที่อาจทำให้เครียด แต่บุคคลก็มักจะตอบสนองด้วยรูปแบบการรับมืออย่างใดอย่างหนึ่งโดยมาก เช่น โดยไม่สนใจความรู้สึก หรือเปลี่ยนสถานการณ์ที่ทำให้เครียด มีหมวดหมู่การรับมือ/กลไกป้องกันตัวหลายอย่างโดยเป็นไปตามแนวคิดทั่วไปที่เหมือนกัน คือมีวิธีการรับมือกับความเครียดที่ดี/ให้ประโยชน์ และที่ไม่ดี/ไม่มีประโยชน์ เพราะความเครียดเป็นความรู้สึก วิธีการที่จะกล่าวดังต่อไปนี้บางอย่างอาจไม่ได้เปลี่ยนสถานการณ์ที่ทำให้เครียด แต่จัดว่าเป็นวิธีการรับมือก็เพราะช่วยให้บุคคลแก้ความรู้สึกเชิงลบและความวิตกกังวลได้ดีกว่า ไม่ใช่แก้ปัญหาที่เป็นเหตุ กลไกเหล่านี้ปรับมาจาก DSM-IV Adaptive Functioning Scale (1994) ของสมาคมจิตเวชอเมริกัน (APA)

กลไกที่ปรับตัวได้ดี ต้องทำการ มุ่งแก้ปัญหา

ทักษะเหล่านี้ช่วยเผชิญหน้ากับปัญหาโดยตรง หรืออย่างน้อยก็จัดการอารมณ์เชิงลบอย่างเป็นประโยชน์ คือ โดยทั่วไปเป็นการปรับตัวได้ดี (generally adaptive)

  • การผูกพัน (affiliation) เช่น การดูแลและหาเพื่อน ซึ่งจัดการความเครียดโดยหาความช่วยเหลือ/หาการสนับสนุนจากผู้อื่น/เครือข่ายสังคม แต่ไม่ใช่โดยไม่รับผิดชอบหรือทำให้เป็นหน้าที่ของผู้อื่น
  • อารมณ์ขัน (humor) คือมองออกนอกสถานการณ์เพื่อให้ได้มุมมองกว้าง ๆ และเพื่อเน้นจุดขำ ๆ ที่พบในสถานการณ์นั้น ๆ ด้วย
 
การรับมือผ่านอารมณ์ขัน
สมาคมอารมณ์ขันประยุกต์และเพื่อบำบัดโรค (Association for Applied and Therapeutic Humor) นิยามอารมณ์ขันบำบัดว่าเป็น "วิธีการรักษาที่โปรโหมตสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีโดยกระตุ้นการค้นพบ การแสดงออก หรือการเห็นคุณค่าแบบเล่น ๆ ของความน่าขันหรือความไม่กลมเกลียวกันของชีวิตตนเอง การรักษานี้อาจปรับปรุงสุขภาพหรือใช้รักษาความเจ็บป่วยแบบเสริม เพื่ออำนวยให้หายหรือให้รับมือกับสถานการณ์ได้ ไม่ว่าจะทางกาย ทางอารมณ์ ทางประชาน หรือทางจิตวิญญาณ"
ประสาทแพทย์ผู้มีชื่อเสียง คือ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ ได้เสนอว่า อารมณ์ขันเป็นกลยุทธ์ป้องกันตัวที่ดีในสถานการณ์ที่ทำให้อารมณ์เสีย เพราะเมื่อหัวเราะในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ก็จะทำให้หายวิตกกังวลแล้วคิดได้ดีขึ้น เมื่อสามารถมองสถานการณ์ในแง่มุมอื่น ๆ ก็จะรู้สึกว่าสามารถควบคุมปฏิกิริยา/การตอบสนองของตนได้ แล้วแก้ปัญหาที่เป็นเหตุให้เครียดได้
นักจิตวิทยาผู้หนึ่ง (HM Lefcourt) เสนอว่า อารมณ์ขันซึ่งเปลี่ยนมุมมองเช่นนี้มีประสิทธิผลดีเพราะแยกตนเองออกจากสถานการณ์และความเครียด งานศึกษาได้แสดงว่า การหัวเราะและอารมณ์ขันจะบรรเทาความเครียดโดยผลอาจคงยืนถึง 45 นาทีหลังหัวเราะ.
อนึ่งพบว่า เด็กที่เข้า รพ. หัวเราะและเล่นเพื่อบรรเทาความกลัว ความเจ็บปวด และความเครียด การหัวเราะและอารมณ์ขันจึงสำคัญมากเพื่อรับมือกับความเครียด มนุษย์ควรใช้อารมณ์ขันเป็นวิธีข้ามความเข้าใจเบื้องต้นของตนเกี่ยวกับสถานการณ์ภายนอก เพื่อให้ได้มุมมองอื่น ๆ เพื่อลดความวิตกกังวล
  • การเปลี่ยนความคิดที่ไม่ดีให้เป็นการกระทำที่ยอมรับได้ (sublimation) ช่วยให้แก้ปัญหาโดยอ้อมโดยไม่มีผลลบหรือเสียความสุขที่พึงได้ วิธีนี้ช่วยให้เปลี่ยนอารมณ์หรือแรงดลใจที่เป็นปัญหาให้เป็นพฤติกรรมที่สังคมยอมรับได้
  • การคิดเรื่องดี ๆ (positive reappraisal) คือเปลี่ยนความคิดไปในสิ่งที่ดี ๆ ที่กำลังเกิดหรือยังไม่เกิด ซึ่งอาจช่วยให้พัฒนาตนเอง (personal growth) ให้สำนึกรู้จักตนเอง (self-reflection) และให้สำนึกถึงอำนาจและประโยชน์ของความพยายามของตน ยกตัวอย่างเช่น งานศึกษาในทหารผ่านศึก ไม่ว่าจะเป็นผู้ผ่านสงครามหรือการรักษาสันติภาพพบว่า ผู้ที่ตีความประสบการณ์การต่อสู้หรืออันตรายในเชิงบวกมักจะปรับตัวได้ดีกว่าผู้ที่ไม่ทำเช่นนี้

วิธีการรับมือแบบปรับตัวได้ดีอย่างอื่น ๆ รวมทั้งความหวัง (anticipation) ความเอื้ออาทร (altruism) และการสังเกตตนเอง (self-observation)

วิธียับยั้งใจ/ปฏิเสธไม่ยอมรับ

วิธีเหล่านี้ทำให้สำนึกน้อยลง (ในบางกรณีไม่มีเลย) ถึงความวิตกกังวล ภัยต่าง ๆ ความหวาดกลัวเป็นต้น ที่มาจากความรู้สึกว่ามีภัย

  • การเปลี่ยนความคิด (displacement) เป็นการเปลี่ยนความรู้สึกเดือดร้อนไปยังสถานการณ์อื่นที่เป็นภัยน้อยกว่า
  • การเก็บกดความคิด (repression) - เป็นวิธีที่บุคคลพยามยามกำจัดความคิด ความรู้สึก และอารมณ์อื่น ๆ เกี่ยวกับสถานการณ์ที่รู้สึกว่าเป็นภัยหรือทำให้กลุ้มใจ ไม่ไปเกี่ยวข้องกับเรื่องนั้น ๆ ถ้าทำอย่างนี้ได้นาน ๆ นี่ยิ่งกว่า "การปฏิเสธว่าไม่จริง" (denial) ที่เสนอโดยซิกมุนด์ ฟรอยด์
  • ปฏิกิริยาตรงกันข้าม (reaction formation) - เปลี่ยนความรู้สึก ความคิด หรือพฤติกรรมไปในทางตรงกันข้าม เช่น แทนความคิดที่ไม่ต้องการด้วยความคิดตรงกันข้าม (เช่นอาจระงับความรู้สึกรักร่วมเพศโดยเปลี่ยนเป็นเกลียดคนรักร่วมเพศทั้งหมด)

วิธีอื่น ๆ รวมทั้งการแก้คืน (undoing) การแยกตัวออกจากสถานการณ์ (dissociation) การปฏิเสธว่าไม่จริง (denial) การปฏิเสธว่าตัวเองไม่เป็นโดยโทษคนอื่น (projection) และการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (rationalization) แม้นักวิชาการบางพวกจะอ้างว่า วิธีการรับมือโดยยับยั้งอาจจะเพิ่มระดับความเครียดในที่สุดเพราะไม่ได้แก้ปัญหาอะไร แต่การแยกตนเองออกจากตัวก่อความเครียดบางครั้งช่วยบรรเทาความเครียดอย่างชั่วคราว แล้วเพิ่มความพร้อมรับมือกับปัญหาในภายหลัง

วิธีที่ต้องทำการ

วิธีเหล่านี้ใช้รับมือกับความเครียดเมื่อต้องทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือถอยตัวออก

  • แสดงออกสิ่งที่ไม่ควร (acting out) คือทำสิ่งที่ไม่สมควรซึ่งสังคมพิจารณาว่าเป็นปัญหา คือ แทนที่จะพิจารณาหรือแก้ปัญหา บุคคลจะทำสิ่งที่จัดว่า เป็นการปรับตัวที่ไม่ดี
  • งอน (passive aggression) คือบุคคลรับมือโดยอ้อมกับความวิตกกังวลหรือความคิด/ความรู้สึกที่ไม่ดีซึ่งมาจากความเครียด โดยทำกระฟัดกระเฟียดหรือไม่พอใจต่อผู้อื่น การบ่นแต่ปฏิเสธความช่วยเหลือก็รวมอยู่ในหมวดนี้

การเสริมสุขภาพ

มีวิธีการอื่นเพื่อรับมือกับความเครียด ทำโดยป้องกันความวิตกกังวลและความเครียด ถ้าฝึกรับมือกับความเครียดทุกวัน ความรู้สึกเครียดและการรับมือกับมันโดยจัดเป็นเหตุการณ์ภายนอกก็จะรู้สึกว่าเป็นภาระน้อยลง

กลยุทธ์ที่แนะนำเพื่อปรับปรุงการแก้ความเครียดรวมทั้ง

  1. ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ คือวางแผนการออกกำลังกาย 3-4 ครั้งต่ออาทิตย์
  2. หาผู้ช่วยสนับสนุน เพื่อฟัง ให้คำแนะนำ และให้การสนับสนุนแก่กันและกัน
  3. บริหารเวลาที่มี - ตั้งระเบียบการใช้เวลา
  4. จินตนาการภาพตามแนะนำ เพื่อผ่อนคลายจิตใจ
  5. ผ่อนคลายกล้ามเนื้อตามลำดับ
  6. ฝึกเพื่อสื่อสารความต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ (assertiveness training)
  7. เขียนบันทึกประจำวัน เพื่อแสดงออกอารมณ์ที่แท้จริง เป็นการพิจารณาตนเอง
  8. ลดความเครียดในที่ทำงาน คือเปลี่ยนระบบการทำงาน เปลี่ยนสิ่งที่ต้องทำเพื่อลดความเครียด

วิธีเหล่านี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ คือจัดว่าเป็นการปรับตัวที่ดีหรือไม่ดีก็ได้

การตอบสนองทางสรีรภาพ

ความเครียดที่มีผลต่อการสื่อสาร

ร่างกายตอบสนองต่อความเครียดโดยประการต่าง ๆ การปรับระดับสารเคมีในร่างกายเป็นวิธีอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของการปรับเปลี่ยนในร่างกายที่มีผลต่อการสื่อสาร

general adaptation syndrome

เมื่อวัดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียด นักจิตวิทยามักจะใช้แบบจำลอง general adaptation syndrome ของ นพ. แฮนส์ เซ็ลเย ซึ่งบ่อยครั้งเรียกว่าการตอบสนองต่อความเครียดแบบคลาสสิก เป็นเรื่องเกี่ยวกับภาวะธำรงดุล และมีระยะสามขั้นตอนคือ

  1. ปฏิกิริยาตกใจ (alarm reaction) เป็นระยะที่เกิดเมื่อตัวก่อความเครียดปรากฏ ซึ่งร่างกายก็จะเตรียมตัวรับมือ ส่วนสมอง คือ แกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัลและระบบประสาทซิมพาเทติกจะเริ่มทำงาน มีผลให้หลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต เช่น cortisol, เอพิเนฟรีน และ norepinephrine เข้าไปในเลือดเพื่อปรับการทำงานของร่างกาย คือ เพิ่มพลังงาน เพิ่มแรงกล้ามเนื้อ ลดความไวเจ็บ หน่วงระบบย่อยอาหาร และเพิ่มความดันโลหิต อนึ่ง กลุ่มนิวรอน locus coeruleus ภายในพอนส์ของก้านสมอง ซึ่งส่งแอกซอนไปยังส่วนต่าง ๆ ของสมอง ก็หลั่ง norepinephrine ไปที่นิวรอนอื่น ๆ โดยตรงด้วย norepinephrine ในระดับสูงซึ่งทำงานเป็นสารสื่อประสาทโดยออกฤทธิ์ที่หน่วยรับของมันในเขตสมองต่าง ๆ เช่นที่คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex) เชื่อว่ามีผลต่อ executive functions เช่น ความจำใช้งาน (working memory) ที่ทำงานไม่สมบูรณ์เนื่องจากความเครียด
  2. ระยะต่อต้าน/ขัดขืน (resistance) - ร่างกายจะต่อต้านความเครียดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะนี้ จนกระทั่งหมดทรัพยากร ซึ่งนำไปสู่ระยะหมดแรง หรือจนกระทั่งหมดสิ่งเร้าที่ทำให้เครียด เมื่อร่างกายใช้ทรัพยากรหมดไปเรื่อย ๆ บุคคลก็จะรู้สึกเหนื่อยขึ้น ๆ และเสี่ยงต่อโรค นี่เป็นระยะที่โรคกายเหตุจิต (psychosomatic disorder) เริ่มปรากฏ
  3. ระยะเหนื่อย/หมดทรัพยากร (exhaustion) - ร่างกายได้หมดฮอร์โมนและทรัพยากรอื่น ๆ ที่ต้องใช้เพื่อจัดการตัวก่อความเครียด บุคคลจะเริ่มแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น วิตกกังวล หงุดหงิด เลี่ยงความรับผิดชอบและความสัมพันธ์กับผู้อื่น มีพฤติกรรมทำลายตนเอง และตัดสินใจไม่ดี เมื่อมีอาการเหล่านี้ ก็จะมีโอกาสกระทบกระทั่งกับผู้อื่นสูงขึ้น ทำลายความสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือหลีกเลี่ยงการเข้าสังคมโดยสิ้นเชิง การตอบสนองที่ระบบประสาทซิมพาเทติกทำงานมากเช่นนี้ บ่อยครั้งเรียกว่าการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight or flight response) ซึ่งรวมการขยายม่านตา หลั่งเอ็นดอร์ฟิน เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ ระงับกระบวนการย่อยอาหาร หลั่งเอพิเนฟรีน ขยายหลอดเลือดแดงเล็ก และยุบหลอดเลือดดำ การตอบสนองในระดับสูงเช่นนี้บ่อยครั้งไม่จำเป็นเพื่อรับมือต่อตัวก่อความเครียดและอุปสรรคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่ก็เป็นรูปแบบการตอบสนองที่พบในมนุษย์ และบ่อยครั้งนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพซึ่งปกติสัมพันธ์กับความเครียดในะระดับสูง

คุณภาพการนอน

การนอนหลับเป็นการพักผ่อนและฟื้นกำลังหลังจากทำงานทั้งวัน ดังนั้น การนอนให้พอจึงสำคัญมากสำหรับคนเครียดเพราะช่วยให้คิดได้ดีขึ้น แต่โชคไม่ดีว่า ความเครียดเปลี่ยนแปลงสภาพทางเคมีของร่างกายแล้วทำให้นอนยาก เช่น ฮอร์โมนสเตอรอยด์ที่หลั่งตอบสนองความเครียดคือ glucocorticoid สามารถขัดการนอน การนอนหลับมี 4 ระยะและระยะที่ลึกสุดและทำให้พักผ่อนได้มากสุด จะได้ก็ต่อเมื่อหลับแล้ว 1 ชม.[ต้องการอ้างอิง] ถ้าการนอนถูกขัดเรื่อย ๆ ก็จะไม่สามารถพักผ่อนได้เพียงพอ ซึ่งทำให้หงุดหงิดและไม่สามารถสื่อสารกับคนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประสบการณ์เครียดทางสังคมที่มีผลต่อการสื่อสาร

ความเครียดอาจก่อปัญหาหลายอย่าง อย่างหนึ่งที่รู้ก็คือสื่อสารได้ไม่ดี ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ความเครียดมีผลต่อการสื่อสาร

ความแตกต่างทางวัฒนธรรม

วัฒนธรรมต่าง ๆ ของโลกสามารถจัดเป็น 2 หมู่ คือสังคมแบบปัจเจกบุคคล และสังคมแบบชุมชนนิยม

  • สังคมแบบปัจเจกบุคคล เช่นที่พบในสหรัฐ ทุกคนเป็นอิสระจากกันและกัน มีความสำเร็จและเป้าหมายเป็นของตนเอง
  • สังคมแบบชุมชนนิยม เช่นที่พบในประเทศเอเชียต่าง ๆ มองสังคมว่าต้องพึ่งซึ่งกันและกัน และให้ค่านิยมแก่ความถ่อมตัวและครอบครัว

ความแตกต่างทางวัฒนธรรมเช่นนี้อาจมีผลต่อการสื่อสารระหว่างบุคคลเมื่อเครียด ยกตัวอย่างเช่น สมาชิกของวัฒนธรรมแบบปัจเจกบุคคลอาจลังเลในการขอยาแก้ปวดเพราะไม่ต้องการถูกดูถูกว่าอ่อนแอ แต่สมาชิกของสังคมแบบชุมชนนิยมไม่จำเป็นต้องลังเล เพราะเป็นสังคมที่ทุกคนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

การเปลี่ยนแปลงภายในครอบครัว

การหย่าร้าง ความตาย และการแต่งงานใหม่ล้วนแต่เป็นเหตุการณ์สร้างความยุ่งเหยิงในครอบครัว แม้ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะได้รับผล แต่ก็อาจมีผลแก่เด็กมากที่สุด เพราะอายุน้อยจึงยังไม่มีทักษะรับมือกับสถานการณ์ใหม่ ๆ[ต้องการอ้างอิง] เพราะเหตุนี้ เหตุการณ์เครียดอาจเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก การคบเพื่อนกลุ่มใหม่ หรือการเกิดนิสัยใหม่ที่ไม่ดี เป็นความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่ความเครียดอาจเป็นตัวจุดชนวน

การตอบสนองต่อความเครียดที่น่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือการคุยกับเพื่อนจินตนาการ เด็กอาจจะรู้สึกโกรธพ่อแม่หรือเพื่อนซึ่งตนรู้สึกว่าทำให้ชีวิตของตนต้องเปลี่ยนไป และต้องการหาคนคุยด้วยแต่ต้องไม่ใช่คนที่โกรธ ดังนั้น จึงคุยกับเพื่อนที่ไม่มี แต่นี่เท่ากับไม่คุยกับบุคคลรอบ ๆ ตัว

การช่วยเหลือทางสังคมและผลต่อสุขภาพ

นักวิจัยได้สนใจว่า รูปแบบและระดับความช่วยเหลือทางสังคมที่บุคคลหนึ่ง ๆ ได้รับจะมีผลต่อความเครียดและสุขภาพของบุคคลนั้นเท่าไร งานศึกษาต่าง ๆ ได้พบอย่างสม่ำเสมอว่า ความช่วยเหลือทางสังคมสามารถป้องกันผลความเครียดต่อร่างกายและจิตใจ โดยมีกลไกหลายอย่าง

แบบจำลองแบบ "ผลโดยตรง" (direct effect) แสดงว่า ความช่วยเหลือทางสังคมมีผลดีโดยตรงต่อสุขภาพเพราะเพิ่มอารมณ์ดี เพิ่มการปรับตัวได้ดี เพิ่มเสถียรภาพพร้อมความแน่นอนของอนาคต และช่วยกันปัญหาทางสังคม ทางกฎหมาย และทางเศรษฐกิจที่อาจมีผลลบต่อสุขภาพ ส่วนแบบจำลองแบบ "ผลกันชน" (buffering effect) แสดงว่า ความช่วยเหลือทางสังคมมีอิทธิพลสูงสุดต่อสุขภาพเมื่อเครียด ไม่ว่าจะช่วยให้มองสถานการณ์อย่างมีภัยน้อยลงหรือช่วยรับมือกับความเครียด และนักวิชาการก็ได้พบหลักฐานสนับสนุนแบบจำลองทั้งสองนี้

การช่วยเหลือทางสังคมนิยามโดยเฉพาะว่า เป็นการช่วยเหลือทางจิตใจหรือทางสิ่งของที่เครือข่ายสังคมให้ โดยมุ่งช่วยบุคคลให้รับมือกับความเครียด นักวิชาการโดยทั่วไปจะแยกแยะรูปแบบต่าง ๆ ของการช่วยเหลือทางสังคมรวมทั้ง การช่วยเหลือทางสิ่งของ (instrumental support) เช่น ทางการเงิน หรือการช่วยไปส่งหาหมอ, ทางข้อมูล (informational support) เช่น ให้ความรู้ ช่วยเรื่องการศึกษา หรือคำแนะนำเพื่อแก้ปัญหา, และทางอารมณ์ (emotional support) เช่น ให้ความเห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจ เป็นต้น

การช่วยเหลือทางสังคมสามารถลดความเครียดที่เกิดช่วงตั้งครรภ์

การสื่อสารกับคนเครียด

การช่วยเหลือของเพื่อนและชุมชนจะช่วยให้บุคคลสามารถสื่อสารได้เมื่อเครียด เพราะจะรู้สึกว่าเป็นสมาชิกของเครือข่ายสังคมที่ห่วงใยและสนใจกันและกัน ช่วยลดความเครียดและให้รับมือกับมันได้ดีกว่า การช่วยเหลือทางสังคมและทางจิตใจแก่กันและกันบ่งว่า สมาชิกสำคัญและมีคุณค่า

ความเครียดของบุคคลจะมีผลต่อคนรอบ ๆ ข้างโดยเฉพาะครอบครัว สมาชิกครอบครัวอาจประสบกับอารมณ์ที่ขัดแย้งกันหลายอย่างเมื่อต้องดูแลบุคคลที่รัก คือ ความกรุณา ความต้องการป้องกันภัย และความห่วงใยอาจผสมรวมกับความรู้สึกว่าหมดหนทางและเหมือนกับถูกติดกับ การให้ความช่วยเหลือทางจิตใจเป็นเรื่องสำคัญเมื่อช่วยสมาชิกครอบครัวให้รับมือกับปัญหาเมื่อต้องดูแลบุคคลที่รัก (ผู้เป็นคนเครียด)

การวัด

ความเครียดที่บุคคลกำลังประสบในชีวิตสามารถประเมินโดยเทียบกับค่าวัดเหตุการณ์ชีวิต ตัวอย่างเช่น มาตราที่จิตแพทย์พัฒนาขึ้นในปี 1967 และกำหนดเหตุการณ์เครียด 43 อย่างในชีวิต คือ Holmes and Rahe stress scale หรือ Social Readjustment Rating Scale (SRRS)

เพื่อคำนวณคะแนนรวม ให้บวกค่าการเปลี่ยนแปลงในชีวิตที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา คะแนนเกิน 300 แสดงว่ามีโอกาสป่วย คะแนนระหว่าง 150-299 หมายถึงโอกาสเสี่ยงที่รองลงมา และคะแนนน้อยกว่า 150 คือมีโอกาสเสี่ยงป่วยเพียงเล็กน้อย

เหตุการณ์ชีวิต ค่า
คู่ครองเสียชีวิต 100
หย่ากับคู่ครอง 73
แยกอยู่กับคู่ครอง 65
ถูกจำคุก 63
สมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิดเสียชีวิต 63
บาดเจ็บหรือป่วย 53
แต่งงาน 50
ถูกไล่ออกจากงาน 47
กลับดีกับคู่ครอง 45
เกษียณ 45
สุขภาพของสมาชิกครอบครัวไม่ดี 44
ตั้งครรภ์ 40
ปัญหาทางเพศ 39
ได้สมาชิกใหม่ในครอบครัว 39
การเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ 39
การเงินเปลี่ยน 38
เพื่อนสนิทเสียชีวิต 37
เปลี่ยนอาชีพใหม่ 36
ทะเลาะกันมากขึ้น 35
การจำนอง/หนี้สินสำคัญ 32
การถูกบังคับเอาทรัพย์จำนอง 30
หน้าที่รับผิดชอบในการงานเปลี่ยน 29
บุตรแยกไปอยู่ต่างหาก 29
ปัญหากับญาติของสามีภรรยา 29
ประสบความสำเร็จที่ดีเยี่ยม 28
คู่ครองเริ่มหรือเลิกทำงาน 26
เริ่มหรือหยุดเรียน 26
สถานะความเป็นอยู่เปลี่ยนไป 25
การเปลี่ยนนิสัยตนเอง 24
ปัญหากับเจ้านาย 23
เวลาหรือสภาพการทำงานเปลี่ยนไป 20
เปลี่ยนที่อยู่ 20
เปลี่ยนสถานศึกษา 20
เปลี่ยนการพักผ่อนหย่อนใจ 19
เปลี่ยนกิจกรรมทางศาสนา 19
เปลี่ยนกิจกรรมทางสังคม 18
การจำนอง/หนี้สินย่อย ๆ 17
เปลี่ยนนิสัยการนอน 16
เปลี่ยนจำนวนการนัดพบกันของครอบครัว 15
เปลี่ยนนิสัยการกิน 14
พักร้อน 13
ทำผิดกฎหมายย่อย ๆ 10

มีมาตราอีกรุ่นหนึ่งสำหรับเด็ก ดังต่อไปนี้

เหตุการณ์ชีวิต ค่า
ตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจ 100
พ่อแม่เสียชีวิต 100
แต่งงาน 95
พ่อแม่หย่ากัน 90
เสียรูปโฉมอย่างมองเห็นได้ 80
เป็นพ่อโดยไม่ได้แต่งงาน 70
พ่อแม่ถูกจำคุกมากกว่า 1 ปี 70
พ่อแม่แยกกันอยู่ 69
พี่น้องเสียชีวิต 68
เพื่อน ๆ เปลี่ยนการยอมรับ 67
พี่หรือน้องสาวตั้งครรภ์โดยไม่ได้แต่งงาน 64
พบว่าตนเป็นลูกเลี้ยง 63
พ่อแม่แต่งงานใหม่กับพ่อ/แม่เลี้ยง 63
เพื่อนสนิทเสียชีวิต 63
มีความพิการแต่กำเนิดที่มองเห็นได้ 62
ป่วยหนักต้องเข้า รพ. 58
ตกวิชา 56
ไม่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมกิจกรรมนอกชั้นเรียน 55
พ่อหรือแม่เข้า รพ. 55
พ่อแม่ถูกจำคุกเกิน 30 วัน 53
เลิกกับแฟน 53
เริ่มออกเดต 51
ถูกพักเรียน 50
เริ่มใช้ยาเสพติดหรือเหล้า 50
ได้น้องใหม่ 50
พ่อแม่ทะเลาะกันเพิ่มขึ้น 47
พ่อแม่เสียงาน 46
ประสบความสำเร็จที่ดีเยี่ยม 46
ฐานะทางการเงินของพ่อแม่เปลี่ยนไป 45
เข้ามหาวิทยาลัยที่ต้องการได้ 43
เป็นนักเรียนปีสุดท้ายในไฮสกูล 42
พี่น้องเข้า รพ. 41
พ่อแม่ไม่อยู่บ้านเพิ่มขึ้น 38
พี่น้องแยกออกไปอยู่เอง 37
มีผู้ใหญ่คนที่สามเพิ่มขึ้นในบ้าน 34
เป็นสมาชิกของโบสถ์อย่างสมบูรณ์ 31
พ่อแม่ทะเลาะกันน้อยลง 27
ทะเลาะกับพ่อแม่น้อยลง 26
พ่อแม่เริ่มทำงาน 26

เกณฑ์นี้ใช้ในจิตเวชเพื่อกำหนดผลของเหตุการณ์ชีวิต

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

    • "stress", Physicians' Desk Reference, 2006, In psychology, a physical or psychological stimulus such as very high heat, public criticism, or another noxious agent or experience which, when impinging upon certain individuals, produces psychological strain or disequilibrium.
    • "stress", Britannica Concise Encyclopedia, UK: Encyclopædia Britannica, 2003, In psychology, a state of bodily or mental tension resulting from factors that tend to alter an existent equilibrium.
    • Stress. Dorland's Illustrated Medical Dictionary (32nd ed.). USA: Elsevier Saunders. 2012. p. 1784. ISBN 978-1-4160-6257-8. A state of physiological or psychological strain caused by adverse stimuli, physical, mental, or emotional, internal or external, that tend to disturb the functioning of an organism and which the organism naturally desires to avoid.
    • Wilson, Robert A; Keil, Frank C, บ.ก. (1999). Stress. The MIT Encyclopedia of the Cognitive Sciences. USA: The MIT Press. p. 806. ISBN 0-262-73124-X. Stress may be defined as a threat, real or implied, to the psychological or physiological integrity of an individual.CS1 maint: uses editors parameter (link)
    • Ewigman, Nate (2011). Kreutzer, Jeffrey S; DeLuca, John; Caplan, Bruce (บ.ก.). Stress. Encyclopedia of Clinical Neuropsychology. Springer. p. 2390. doi:10.1007/978-0-387-79948-3. ISBN 978-0-387-79947-6. Stress can be defined as the process and response subsequent to the demands of a hostile environment. It generally refers to a negative emotional experience accompanied by physiological, cognitive, and behavior adaptation.CS1 maint: uses editors parameter (link)
  1. Simandan, Dragos (2010). "On how much one can take: Relocating exploitation and exclusion within the broader framework of allostatic load theory". Health & Place. 16 (6): 1291–3. doi:10.1016/j.healthplace.2010.08.009. PMID 20813575.
  2. Sapolsky, Robert M. (2004). Why Zebras Don't Get Ulcers. 175 Fifth Ave, New York, N.Y.: St. Martins Press. pp. 37, 71, 92, 271. ISBN 978-0-8050-7369-0.CS1 maint: location (link)
  3. Jones, Fiona; Bright, Jim; Clow, Angela (2001). . Pearson Education. p. 4. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2018-05-08.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  4. Folkman, S (2013). Stress: appraisal and coping. Encyclopedia of behavioral medicine. New York: Springer. pp. 1913–1915. ISBN 978-1-4419-1005-9. In his 1966 book, Psychological Stress and the Coping Process (Lazarus, 1966), Richard Lazarus defined stress as a relationship between the person and the environment that is appraised as personally significant and as taxing or exceeding resources for coping.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  5. Gibbons, C. (2012). "Stress, positive psychology and the National Student Survey". Psychology Teaching Review. 18 (2): 22–30.
  6. Selye, Hans (1974). Stress without distress. Philadelphia: J.B. Lippincott Company. p. 171.
  7. Selye, Hans (1983). "The Stress Concept: Past, Present and Future". ใน Cooper, C. L. (บ.ก.). Stress Research Issues for the Eighties. New York, NY: John Wiley & Sons. pp. 1–20.
  8. Selye, Hans (1975). "Implications of Stress Concept". New York State Journal of Medicine. 75: 2139–2145.
  9. Fevre, Mark Le; Kolt, Gregory S.; Matheny, Jonathan (2006-01-01). "Eustress, distress and their interpretation in primary and secondary occupational stress management interventions: which way first?". Journal of Managerial Psychology. 21 (6): 547–565. doi:10.1108/02683940610684391.
  10. Schneiderman, N.; Ironson, G.; Siegel, S. D. (2005). "Stress and health: psychological, behavioral, and biological determinants". Annual Review of Clinical Psychology. 1: 607–628. doi:10.1146/annurev.clinpsy.1.102803.144141. PMC 2568977. PMID 17716101.
  11. Herbert, T. B.; Cohen, S. (1993). "Stress and immunity in humans: a meta-analytic review". Psychosomatic Medicine. 55 (4): 364–379. doi:10.1097/00006842-199307000-00004.
  12. Ogden, J (2007). Health Psychology: a textbook (4th ed.). McGraw-Hill. pp. 281–282.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  13. Edmunds, W. John (1997). "Social Ties and Susceptibility to the Common Cold". JAMA: the Journal of the American Medical Association. 278 (15): 1231, author reply 1232. doi:10.1001/jama.1997.03550150035018. PMID 9333253.
  14. Greubel, Jana and Kecklund, Göran. The Impact of Organizational Changes on Work Stress, Sleep, Recovery and Health. Industrial Health. Department for Psychology, University of Fribourg.
  15. Jeronimus, Bertus F; Riese, Harriëtte; Sanderman, Robbert; Ormel, Johan (2014). "Mutual reinforcement between neuroticism and life experiences: A five-wave, 16-year study to test reciprocal causation". Journal of Personality and Social Psychology. 107 (4): 751–64. doi:10.1037/a0037009. PMID 25111305.
  16. Jeronimus, B. F; Ormel, J; Aleman, A; Penninx, B. W. J. H; Riese, H (2013). "Negative and positive life events are associated with small but lasting change in neuroticism". Psychological Medicine. 43 (11): 2403–15. doi:10.1017/S0033291713000159. PMID 23410535.
  17. Schlotz, W; Yim, IS; Zoccola, PM; Jansen, L; Schulz, P (2011). "The perceived stress reactivity scale: Measurement invariance, stability, and validity in three countries". Psychol Assess: 80–94.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  18. Pinquart, Martin; Sörensen, Silvia (2003). "Differences between caregivers and noncaregivers in psychological health and physical health: A meta-analysis". Psychology and Aging. 18 (2): 250–67. doi:10.1037/0882-7974.18.2.250. PMID 12825775.
  19. Kemeny, Margaret E (2003-08). "The Psychobiology of Stress". Current Directions in Psychological Science. 12 (4): 124–129. Check date values in: |date= (help)CS1 maint: uses authors parameter (link)
  20. Kobasa, S. C (1982). Sanders, GS; Suls, J (บ.ก.). The Hardy Personality: Toward a Social Psychology of Stress and Health. Social Psychology of Health and Illness. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Assoc. pp. 1–25.CS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)
  21. "Life hassles and delusional ideation: Scoping the potential role of cognitive and affective mediators". 2016. doi:10.1111/papt.12089. Cite journal requires |journal= (help)
  22. . Verywell Mind. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2018-03-18. สืบค้นเมื่อ 2018-03-18. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  23. Mah, L; Szabuniewicz, C; Fiocco, AJ (2016). "Can anxiety damage the brain?". Current Opinion in Psychiatry (Review). 29 (1): 56–63. doi:10.1097/YCO.0000000000000223. PMID 26651008.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  24. Keller, Abiola; Litzelman, Kristin; Wisk, Lauren E; Maddox, Torsheika; Cheng, Erika Rose; Creswell, Paul D; Witt, Whitney P (2012). "Does the perception that stress affects health matter? The association with health and mortality". Health Psychology. 31 (5): 677–84. doi:10.1037/a0026743. PMC 3374921. PMID 22201278.
  25. . 2013-09-04. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2016-09-11. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  26. Cohen, Sheldon; Janicki-Deverts, Denise; Miller, Gregory E (2007). "Psychological Stress and Disease". JAMA. 298 (14): 1685–7. doi:10.1001/jama.298.14.1685. PMID 17925521.
  27. Miller, Gregory; Chen, Edith; Cole, Steve W (2009). "Health Psychology: Developing Biologically Plausible Models Linking the Social World and Physical Health". Annual Review of Psychology. 60: 501–24. doi:10.1146/annurev.psych.60.110707.163551. PMID 19035829.
  28. Cameron, L; Leventhal, E. A; Leventhal, H (1995). "Seeking medical care in response to symptoms and life stress". Psychosomatic medicine. 57 (1): 37–47. PMID 7732157.
  29. Shahab, Lion; McGowan, Jennifer A.; Waller, Jo; Smith, Samuel G. (2018-04). "Prevalence of beliefs about actual and mythical causes of cancer and their association with socio-demographic and health-related characteristics: Findings from a cross-sectional survey in England". European Journal of Cancer. doi:10.1016/j.ejca.2018.03.029. Check date values in: |date= (help)
  30. Hargrove, M. B.; Nelson, D. L.; Cooper, C. L. (2013). "Generating eustress by challenging employees: Helping people savor their work". Organizational Dynamics. 42: 61–69. doi:10.1016/j.orgdyn.2012.12.008.
  31. . Collins English Dictionary  – Complete & Unabridged 11th Edition. Retrieved September 20, 2012, from CollinsDictionary.com. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2012-06-20. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  32. Pastorino, E; Doyle-Portillo, S (2009). What is Psychology? (2nd ed.). Belmont, CA: Thompson Higher Education.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  33. Headquarters, Department of the Army (1994). Leader’s Manual for Combat Stress Control, FM 22-51, Washington DC.
  34. Teo, Loo Yee; Fam, Jia Yuin (2018). "Prevalence and determinants of perceived stress among undergraduate students in a Malaysian University". Journal of Health and Translational Medicine. 21 (1): 1–5.
  35. Cohen, Sheldon; Frank, Ellen; Doyle, William J; Skoner, David P; Rabin, Bruce S; Gwaltney, Jack M (1998). "Types of stressors that increase susceptibility to the common cold in healthy adults". Health Psychology. 17 (3): 214–23. doi:10.1037/0278-6133.17.3.214. PMID 9619470.
  36. Aldwin, Carolyn M; Jeong, Yu-Jin; Igarashi, Heidi; Choun, Soyoung; Spiro, Avron (2014). "Do hassles mediate between life events and mortality in older men?". Experimental Gerontology. 59: 74–80. doi:10.1016/j.exger.2014.06.019. PMC 4253863. PMID 24995936.
  37. . TTGmice. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2013-11-10. สืบค้นเมื่อ 2013-04-29. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  38. Campbell, Joan M (2016). "Ambient Stressors". Environment and Behavior. 15 (3): 355–80. doi:10.1177/0013916583153005. chronic, negatively valued, non-urgent, physically perceptible, and intractable to the efforts of individuals to change them
  39. Combat and Operational Stress Control, FM 4-02.51. Washington, DC: Department of the Army. 2006. p. 9.
  40. Whicker, Marcia Lynn (1996). Toxic leaders: When organizations go bad. Westport, CT: Quorum Books.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  41. Robertson, D (2012). Build your Resilience. London: Hodder. ISBN 978-1-4441-6871-6.
  42. Purwandini Sutarto, Auditya; Abdul Wahab, Muhammad Nubli; Mat Zin, Nora (2015). "Resonant Breathing Biofeedback Training for Stress Reduction Among Manufacturing Operators". International Journal of Occupational Safety and Ergonomics. 18 (4): 549–61. doi:10.1080/10803548.2012.11076959. PMID 23294659.
  43. Snyder, C.R.; Lefcourt, Herbert M. (2001). Coping With Stress. New York: Oxford University. pp. 68–88.
  44. Levo, Lynn M (2003-09). "Understanding Defense Mechanisms". Lukenotes. MD: Saint Luke Institute. 7 (4). Check date values in: |date= (help)CS1 maint: uses authors parameter (link)
  45. Adapted from DSM-IV Adaptive Functioning Scale, APA, 1994.
  46. Riley, Julia (2012). Communication in Nursing (7 ed.). Missouri: Mosby/Elsevier. pp. 160–173. The Association for Applied and Therapeutic Humor defines therapeutic humor as ‘any intervention that promotes health and wellness by stimulating a playful discovery, expression or appreciation of the absurdity of or incongruity of life’s situations. This intervention may enhance health or be used as a complementary treatment of illness to facilitate healing or coping whether physical, emotional, cognitive, or spiritual.
  47. Lefcourt, H. M. (2001). "The Humor Solution". ใน Snyder, C. R. (บ.ก.). Coping with Stress: Effective People and Processes. New York: Oxford University Press. pp. 68–92. ISBN 0198029950.
  48. Valliant, George E. (2000). "Adaptive Mental Mechanisms". American Psychologist. 55 (1): 89–98. doi:10.1037/0003-066x.55.1.89. PMID 11392869.
  49. Folkman, S.; Moskowitz, J. (2000). "Stress, Positive Emotion, and Coping". Current Directions in Psychological Science. 9 (4): 115–118. doi:10.1111/1467-8721.00073.
  50. Schok, ML; Kleber, RJ; Elands, M; Weerts, JM (2008). "Meaning as a mission: a review of empirical studies on appraisals of war and peacekeeping experiences". Clinical Psychology Review (Review). 28 (3): 357–65. doi:10.1016/j.cpr.2007.04.005. PMID 17532104.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  51. Colman, Andrew M (2009). displacement. A Dictionary of Psychology. Oxford Reference Online, Oxford University Press.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  52. "REACTION-FORMATION". Purdue University. จากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-27. สืบค้นเมื่อ 2018-10-13. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  53. Potter, Patricia (2014). Canadian Fundamentals of Nursing (5 ed.). Toronto: Elsevier. pp. 472–488.
  54. Gottlieb, Benjamin (1997). Coping with Chronic Stress. Plenum Press.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  55. Mitterer, Jon; Coon, Dennis (2013). Introduction to Psychology. Jon-David Hague. pp. 446–447.
  56. . คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2012-10-10. Unknown parameter |deadurl= ignored (help)
  57. Craven, Ruth; Hirnle, Constance; Jensen, Sharon (2013). Fundatmentals of Nursing: Human and Health Function (7 ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. p. 1319.
  58. Uchino, B. N. (2009). "Understanding the links between social support and physical health: A life-span perspective with emphasis on the separability of perceived and received support". Perspectives on Psychological Science. 4 (3): 236–255. doi:10.1111/j.1745-6924.2009.01122.x.
  59. Berkman, L. F.; Glass, T.; Brissette, I.; Seeman, T. E. (2000). "From social integration to health: Durkheim in the new millennium". Social Science & Medicine. 51 (6): 843–857. doi:10.1016/s0277-9536(00)00065-4.
  60. Cohen, S.; Wills, T. A. (1985). "Stress, social support, and the buffering hypothesis". Psychological Bulletin. 98 (2): 310–357. doi:10.1037/0033-2909.98.2.310. PMID 3901065.
  61. Cohen, S (2004). "Social relationships and health". American Psychologist. 59 (8): 676–684. doi:10.1037/0003-066x.59.8.676. PMID 15554821.
  62. Shishehgar, Sara; Mahmoodi, Abolfazl; Dolatian, Mahrokh; Mahmoodi, Zohreh; Bakhtiary, Maryam; Majd, Hamid Alavi (2013). "The Relationship of Social Support and Quality of Life with the Level of Stress in Pregnant Women Using the PATH Model". Iranian Red Crescent Medical Journal. 15 (7): 560–5. doi:10.5812/ircmj.12174. PMC 3871742. PMID 24396574.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  63. Feldman, Robert S; Dinardo, Andrea (2009). Essentials of understanding psychology (3rd ed.). Toronto: McGraw-Hill Ryerson. ISBN 9780070974111.
  64. Arnold, Elizabeth; Underman, Kathleen (2011). Interpersonal Relationships : Professional Communication Skills For Nurses (6th ed.). St. Louis, Mo.: Elsevier/Saunders. ISBN 9781437709445.
  65. Holmes, TH; Rahe, RH (1967). "The Social Readjustment Rating Scale". J Psychosom Res. 11 (2): 213–8. doi:10.1016/0022-3999(67)90010-4. PMID 6059863.
  66. Riese, Harriëtte; Snieder, Harold; Jeronimus, Bertus F; Korhonen, Tellervo; Rose, Richard J; Kaprio, Jaakko; Ormel, Johan (2014). "Timing of Stressful Life Events Affects Stability and Change of Neuroticism". European Journal of Personality. 28 (2): 193–200. doi:10.1002/per.1929.

ความเคร, ยด, ตว, ทยา, บทความน, กล, าวถ, งความเคร, ยดตามความหมายของสาขาจ, ตว, ทยา, สำหร, บความเคร, ยดในความหมายอ, ความเคร, ยด, แก, กำกวม, ในสาขาจ, ตว, ทยา, ความเคร, ยด, เป, นความร, กต, าทางใจ, หร, อการเส, ยศ, นย, ความสมด, ลทางใจท, มาก, อน, เน, องจากการได, บส, ง. bthkhwamniklawthungkhwamekhriydtamkhwamhmaykhxngsakhacitwithya sahrbkhwamekhriydinkhwamhmayxun duthi khwamekhriyd aekkakwm insakhacitwithya khwamekhriyd epnkhwamrusuktung lathangic hruxkaresiysuny khwamsmdulthangicthimimakxn enuxngcakkaridrbsingera pccyimwathangkayhruxic imwacaphaynxkhruxphayin imwacaepnxntraycring hruxim echn xakasrxn thuktietiyntxhnasatharnchn hruxidrbsingera prasbkarnxun thiimnachxbic aelaodythwiphmaythungxarmnechinglbsungbukhkhlpktiphyayamcahlikeliyng epnxarmnthiekidphrxmkbkarprbtwthangsrirphaph thangprachan aelathangphvtikrrm 1 epnkhwamthukkhthangicxyanghnung 2 khwamekhriydelknxyxacepneruxngthinatxngkar mipraoychn aelaaemaetditxsukhphaph echn khwamekhriyd echingbwk thichwyihnkkilaelnkilaiddikhun mnyngepnpccysrangaerngcungic karprbtw aelakartxbsnxngtxsingaewdlxm aetkarekhriydmakxacthaxntraytxrangkay ephraasamarthephimkhwamesiyngtxesneluxdxudtninsmxng klamenuxhwictayehtukhadeluxd aephlepuxy aelaorkhthangic echn orkhsumesra 3 chayphumikiriyaaesdngwaekhriydkhuxcbsirsadwymuxthngsxng khwamekhriydxacmacakpccyphaynxkaelaekiywkbsingaewdlxm 4 aetkxacmiehtucakkarrbruphayinthithaihbukhkhlrusukwitkkngwlhruxekidxarmnechinglbxun ekiywkbsthankarn echn rusukthukkddn imsbayic epntn aelwthaihekhriyd 2 nkwichakarcungidniyamkhwamekhriydiwxikxyanghnungwa epnkhwamsmphnthrahwangbukhkhlkbsingaewdlxmthibukhkhlcdwasakhytxtn aelarusukhnkekinkwathitncarbmuxid 5 enuxha 1 karrwmkhwamekhriydaebbtang ekhadwykn 2 rupaebbtang 3 khwamekhriydthidiaelaimdi 4 phltxsukhphaph 4 1 maerng 5 twkxkhwamekhriydthiepnklang 6 rupaebbtwkxkhwamekhriyd 6 1 wikvtikarn hayna 6 2 ehtukarnsakhyinchiwit 6 3 inchiwitpracawn 6 4 phunhlng 6 5 inxngkhkr 7 karaek 7 1 karpxngknaelakarsrangkhwamyudhyun 7 2 klikkarrbmux 7 2 1 klikthiprbtwiddi txngthakar mungaekpyha 7 2 2 withiybyngic ptiesthimyxmrb 7 2 3 withithitxngthakar 7 2 4 karesrimsukhphaph 8 kartxbsnxngthangsrirphaph 8 1 khwamekhriydthimiphltxkarsuxsar 8 1 1 general adaptation syndrome 8 1 2 khunphaphkarnxn 8 2 prasbkarnekhriydthangsngkhmthimiphltxkarsuxsar 8 2 1 khwamaetktangthangwthnthrrm 8 2 2 karepliynaeplngphayinkhrxbkhrw 9 karchwyehluxthangsngkhmaelaphltxsukhphaph 10 karsuxsarkbkhnekhriyd 11 karwd 12 duephim 13 echingxrrthaelaxangxingkarrwmkhwamekhriydaebbtang ekhadwykn aekikhmummxngekiywkbkhwamekhriydthiimkhxyphicarnaxyanghnungkkhuxthaihprbtwiddi 6 khux khwamekhriydaebbdicaepnaerngcungicaelasrangkhwamthathayaethnthicathaihwitkkngwl khwamekhriydaebbdi eustress catangkbkhwamekhriydthiimdi distress xyangsakhy aemcaeriykrwm wakhwamekhriydehmuxnkn aetkkhwrmxngepnaenwkhidthitangknrupaebbtang aekikhaephthychawxxsetriy aekhnada aehns esley Hans Selye phubangkhneriykwa bidaeruxngkhwamekhriyd esnxwa mikhwamekhriyd 4 rupaebb 7 inaenwhnung mikhwamekhriydaebbdi eustress aelaaebbimdi distress thicudmunghmaykephuxsrangkhwamekhriydaebbdiihmaksudethathicaepnipid inxikaenwhnung mikhwamekhriydekin hyperstress aelakhwamekhriydnxyekin hypostress thicudmunghmaykephuxthaihsmdulethathicaepnipid 8 aenwkhidechnnimiphldikbkarthapraoychninchiwitxyangmak ephraaepnehtuihthanganxyangsukhicaethnthicaebuxsungekidemuxekhriydaebbimdikhwamekhriydthidiaelaimdi aekikhkhawa eustress macakrakphasakrik eu sungaeplwadi dngthiichinkhawa euphoria khwamepnsukhxyangthisud 9 epnphawathiekidkhunemuxbukhkhlmxngsingthikxkhwamekhriyd stressor inaengdi 10 swnkhawa distress macakrakkhaphasalatin khux dis sungepliynkhaihmikhwamhmaytrngknkham echnkhawa dissonance khwamimklmklun aela disagreement khxkhdaeyng 9 khwamekhriydthiimdi khwamthukkhmiphlimditxkhunphaphchiwit sungekidemuxkhwamtxngkarehnuxsmrrthphaphkarrbmuxkhxngbukhkhlxyangmak 10 phltxsukhphaph aekikh hyingekhriydkalngrxphbaephthy khwamekhriydnacasmphnthkbkhwamecbpwy 5 2 thvsdithiechuxmkhwamekhriydkbkhwamecbpwyesnxwa thngkhwamekhriydchbphlnaelaeruxrngxacthaihpwy odymingansuksahlaynganthiphbechnni 11 tamthvsdi khwamekhriydthngsxngaebbxacepliynthngphvtikrrmaelarangkay phvtikrrmrwmthngkarsubbuhri karkin aelakarxxkkalng khwamepliynaeplngthangsrirphaphrwmthngkarthangankhxngrabbprasathsimphaethtik aeknihopthalams phithuxithari xadrinl aelarabbphumikhumkn 12 xyangirkdi kalngkhxngkhwamsmphnthrahwangkhwamekhriydkbkhwamecbpwythiphbktang knmak 13 khwamekhriydxacthaihbukhkhlesiyngorkhkaytang echn epnhwd 14 ehtukarnekhriydinchiwit echn karepliynngan xacthaihnxnimhlb nxnhlbimsnith hruxmipyhathangsukhphaphxun 15 nganwicyaesdngwa rupaebbtwkxkhwamekhriyd echn aebbchbphlnhruxaebberuxrng aelalksnabukhkhl echn xayuaelasukhphaph thimixyuaelw camixiththiphltxkhwamekhriydthiekid 11 bukhlikphaphkhxngbukhkhl echn radb neuroticism 16 krrmphnthu aelaprasbkarninwyedk emuxprakxbkbtwkxkhwamekhriydhnkhruxkhwambadecb 17 xacepntwkahndkartxbsnxngtxtwkxkhwamekhriyd 11 khwamekhriyderuxrngaelakarimmihruximichthrphyakrephuxrbmuxkbkhwamekhriydbxykhrngcasrangpyhathangcit echn orkhsumesraaelaorkhwitkkngwl 18 sungepncringxyangyingsahrbtxkxkhwamekhriydaebberuxrng epntwkxkhwamekhriydthixacimhnkethakbkhwamekhriydchbphln echn phythrrmchatihruxxubtiehtu aetcakhngyunepnewlanan aelamkcamiphllbtxsukhphaphmakkwa ephraamnkhngyunaelathaihtxngtxbsnxngthuk wn sungcathaihrangkayhmdkalngiderwkwaaelapkticaekidepnrayaewlanan odyechphaaemuxhlikeliyngimid echn khwamekhriydenuxngcakxyuxasyinthiimplxdphy yktwxyangechn ngansuksaidphbwa phuduaelkhnpwyodyechphaakhnpwyorkhsmxngesuxm miradbkhwamsumesrathisungkwa aelamisukhphaphaeykwaphuimtxngduaelphupwy 19 ngansuksayngphbdwyywa khwamekhriyderuxrngaelakhwamduthismphnthkbbukhlikphaphaebb A changaekhngkhn chxbekhasngkhm thaeyxthayan icrxn du bxykhrngsmphnthkbkhwamesiyngorkhhlxdeluxdhwicmakkwa sungmiehtucakrabbphumikhumknthixxnaexaelaradbkhwamtuntwkhxngrabbprasathsimphaethtiksungsung odyepnswnkhxngkartxbsnxngthangsrirphaphtxehtukarnekhriyd 20 xyangirkdi bangkhnxacmiicaekhngaekrng hardiness sunghmaythungsmrrthphaphinkarmisukhphaphthangcitdiaemcaekhriydxyuesmx 21 nkcitwithyainpccubnkalngsuksapccythithaihkhnthiaekhngaekrngsamarthrbmuxkbkhwamekhriydaelahlikeliyngpyhathangrangkayciticthismphnthkbkarmikhwamekhriydsungpyhaechnxakarhlngphid delusion 22 orkhwitkkngwl orkhsumesra aelakhwamphidpktithiekidhlngkhwamekhriydthisaethuxnic xacsmphnthkbkhwamekhriydthungkrann thukkhnkcaekhriydbang aelaaephthyethannthicawinicchyidwaepnorkhekhriyd 23 tamnganthbthwnwrrnkrrmpi 2016 khwamwitkkngwlradbepnorkhaelakhwamekhriyderuxrngcathaihekhtsmxngkhuxhipopaekhmpsesuxmaelathanganphikar 24 mnechuxmananaelwwa xarmnechinglb echn khwamwitkkngwlaelakhwamsumesra xacmixiththiphltxorkhkay sungkcamiphltxkrabwnkarthangchiwphaphxnxacthaihesiyngorkhephimkhuninthisud aetngansuksatang kidaesdngwa niimcringepnbangswn khuxaemkhwamekhriydduehmuxncaephimkhwamesiyngtxsukhphaphthiimdi aetkhwamrusukwa khwamekhriydepnxntraykcaephimkhwamesiyngkhunxik 25 26 yktwxyangechn emuxekhriydxyangeruxrng kcaesiyngekidkhwamepliynaeplngxyangthawrthangsrirphaph thangxarmn aelathangphvtikrrm 16 27 sungxackxorkh khwamekhriyderuxrngepnphlkhxngehtukarnekhriydepnrayaewlanan echn karduaelkhuchiwitthismxngesuxm hruxepnphlkhxngehtukarnekhriydchwkhrawaetrusukekhriydepnrayaewlanan echn karthuktharaythangephs aemkhwamekhriydbxykhrngcaechuxmkbkhwamecbpwyhruxorkh aetkhnpktiodymakkyngirorkhaemhlngcakprasbkbehtukarnekhriydaebberuxrng xnung bukhkhlthiimechuxwakhwamekhriydcamiphltxsukhphaphkhxngtn kimesiyngephimtxkhwamecbpwy orkh hruxkhwamtay 26 sungaesdngwa khwamekhriydmixiththiphlkarkxorkhinaetlabukhkhlimethakn epnkhwamtangenuxngkbpccythangkrrmphnthuaelathangcitic xnung xayuthiprasbkbkhwamekhriydcaepntwkahndphltxsukhphaphdwy nganwicyaesdngwa khwamekhriyderuxrnginwyedkcamiphltxkartxbsnxngthangchiwphaph thangcitic aelathangphvtikrrmtxkhwamekhriydthiidrbtx matlxdchiwit 28 ephraakhwamekhriydmiphltxkay bangkhnkxacimaeykaeyapyhanikborkhxun thaxakarchdecn echn mikxnthihnaxk bukhkhlcaiphahmximwacaekhriydxyuhruxim aetthaxakarimchdecn echn pwdhw kcaimiphahmxephraaekhaicwaxakarmacakkhwamekhriydemuxsingthithaihekhriyderimekiderw nikhuximekin 3 xathity aelacaiphahmxthasingthithaihekhriydmimanankwann 29 maerng aekikh instw khwamekhriydmiphltxkarekid karetibot aelakaraephrkracaykhxngenuxngxkthitrwcdu aetngansuksasungphyayamechuxmkhwamekhriydkbkhwamchukorkhmaernginmnusykmiphlimchdecn sungxacepnephraaxxkaebbaelathangansuksathiehmaasmidyak 27 inngansuksainshrachxanackrnganhnung khwamechuxwakhwamekhriydepnpccyesiyngkhxngorkhmaerngepneruxngsamy aetkhwamsanukthungpccyesiyngmaerngodythwipkcdwanxy 30 twkxkhwamekhriydthiepnklang aekikhkhwamekhriydepnkartxbsnxngtxsingtang thiimechphaaecaacng 8 khuxepnklang aetkcatang kninradbkartxbsnxng mnekiywkbbribthkhxngbukhkhlaelawa bukhkhlmxngsthankarnnnxyangir nph esleyidniyamkhwamekhriydwa phlthiimechphaaecaacng khux samy txkhwamcaepnthiekidtxrangkay imwacathangcitichruxthangkay 8 niyamnikhrxbkhlumniyamthangkaraephthythikahndwaepnkhwamcaepnthangkay aelakhrxbkhlumniyamkhxngphasaphudodythwipwa epnkhwamcaepnthangciticaemtwkxkhwamekhriydkepnklangodythrrmchatiehmuxnkn khux xacthaihtxbsnxngepnkhwamekhriydthidihruximdikid odykhunxyukbbukhkhlwacathaihepnkhwamekhriydthidihruximdi 31 rupaebbtwkxkhwamekhriyd aekikhtwkxkhwamekhriyd stressor epnehtukarn prasbkarn hruxsingeraidkidinsingaewdlxmthithaihbukhkhlekhriyd 32 odybukhkhlmxngwaepnphyhruxepnkhxthathay aelaxacepneruxngthangkayhruxthangic nkwicyphbwa twkxkhwamekhriydsamarththaihesiyngorkhthangkayaelaicmakkhun echn orkhhwicaelakhwamwitkkngwl 33 twkxkhwamekhriydmioxkasmiphltxsukhphaphkhxngbukhkhlmakkwaemuxmneruxrng thaihwunwaymak aelamxngwakhwbkhumimid 33 insakhacitwithya nkwichakarpkticacdtwkxkhwamekhriydepnhmwd 4 hmwdkhux wikvtikarn hayna ehtukarnsakhyinchiwit pyhainchiwitpracawn aelatwkxkhwamekhriydphunhlng wikvtikarn hayna aekikh twkxkhwamekhriydechnniimsamarthrulwnghnahruxphyakrnid aeladngnn cungkhwbkhumimid 33 twxyangrwmthngphyphibtiihytang echn nathwm aephndinihw aelasngkhramepntn aemcaminxy aetkepnehtuihekhriydmak nganwicythimhawithyalysaetnfxrdphbwa hlngphyphibtithangthrrmchati phuprasbphycaekhriydmakkhun 33 swnkhwamekhriydenuxngcakkarsurbepnthngaebbchbphlnaelaaebberuxrng ephraatxngthakarxyangrwderwaelaephraaaerngkddnihocmtikxn xubtiehtukhafayediywkncungxacekidid withikarpxngkntxngldkhwamekhriyd ennkarfukrabuyanphahnaaelatwrabufaychnidxun ephimsanukthungyuththwithi aelakarwiekhraahkhwamesiyngxyangtxenuxngkhxngphunathukradb 34 ehtukarnsakhyinchiwit aekikh twxyangsamykhxngehtukarnsakhyinchiwitrwmthngkaraetngngan karekhaeriyninmhawithyaly karesiychiwitkhxngbukhkhlthirk karidsmachikihminkhrxbkhrw karyaythixyuepntn ehtukarnehlani imwacacdwadihruximdi xacthaihrusukimaenichruxklw sunginthisudkcakxkhwamekhriyd yktwxyangechn nganwicyphbradbkhwamekhriydthisungkhunsahrbnkeriynmthymthiekhaeriyninmhawithyaly odynksuksapi 1 mioxkasekhriydepn 2 ethakhxngnksuksapisudthay 35 aetnganwicykphbwa ehtukarnsakhyinchiwitimkhxyepntwkxkhwamekhriydthisakhy ephraaekidnxymak 33 rayaewlahlngcakerimekidaelakhwamepneruxngdihruximdi epnpccykahndwa mnepnehtuihekhriydhruximaelaekhriydaekhihn nkwicyidphbwa ehtukarnthiekidkhunphayineduxnthiphanmaodythwipcaimechuxmkbkhwamekhriydhruxkhwamecbpwy aetehtukarnekhriyderuxrngthiekidmakkwa 2 3 eduxnkxncaechuxmkbthngkhwamekhriyd khwamecbpwy 36 aelakarepliynaeplngthangbukhlikphaph 16 xnung ehtukarndi inchiwitcaimechuxmkbkhwamekhriyd hruxwaechuxmkbkhwamekhriydelk nxy ethann inkhnathiehtukarnimdixacechuxmkbkhwamekhriydaelapyhasukhphaphthimadwykn 33 xyangirkdi prasbkarndi aelakarepliynaeplngchiwitinthangthidi xacepntwphyakrnkarldradb neuroticism 16 17 inchiwitpracawn aekikh hmunirwmkhwamrakhayaelakhwamyungyakinchiwitpracawn 33 twxyangrwmkartdsinic karthanganihesrctamkahndewlaimwacaepnthithanganhruxsthansuksa rthtid karprasbkbkhnnarakhay khwamkhdaeyngkbphuxun epntn xyangirkdi aetlakhncamitwkxkhwamekhriydinchiwitpracawnthiimehmuxnkn ephraathukkhnimidrusukehmuxnknwa ehtukarnhnung kxkhwamekhriyd yktwxyangechn khnodymakxaccarusukekhriydkbkarklawpathktha aetnkkaremuxngmuxxachiphxacimrusukechnnikhwamyungyakinchiwitpracawnepntwkxkhwamekhriydthimibxythisudsahrbphuihyodymak cungthaihmiphlthangsrirphaphmakthisudtxbukhkhl nkwichakaridtrwcradbkhwamekhriydephraakhwamyungyakinchiwitethiybkbxtrakartay aelwsrupwa mishsmphnthxyangmikalngrahwangbukhkhlthicdkhwamyungyakinchiwitpracawnwaekhriydmakkbxtrakartaythisung dngnn khwamrusukwa khwamyungyakthaihekhriydaekhihn xacbrrethaphlthangsrirphaphkhxngtwkxkhwamekhriydinchiwitpracawn 37 tamcitwithya mikhwamkhdaeyng 3 xyangthikxkhwamekhriyd khwamkhdaeyngaebbsu su approach approach conflict sungekidemuxeluxkthangeluxkthidudietha kn echn caipduphaphyntrhruxkhxnesirtdi 33 khwamkhdaeyngaebbhlik hlik avoidance avoidance conflict sungekidemuxeluxkthangeluxkthiimdietha kn echn kartxngkuthnakharephimodymikhxtklngthiimdiephuxcayhnikarcanxng hruxbanthixyuthukbngkhbcanxng 33 khwamkhdaeyngaebbsu hlik approach avoidance conflict 33 ekidemuxtxngeluxkthasinghnung thimithngkhxdikhxesiy echn ekhaeriyninmhawithyalyrakhaaephng echn txngkuhniyumsin aetidkarsuksathidikwaaelaidoxkaskarbrrcunganthidikwaemuxcbkarsuksa swnkhwamekhriydenuxngkbkaredinthangmixyu 3 hmu khux esiyewla eruxngimkhadfn ehtukarnthiimrulwnghna echn kraepaedinthanghayhruxmacha aelakarimsamarththakicwtrpracawn 38 phunhlng aekikh twkxkhwamekhriydphunhlng ambient stressors epntwkxkhwamekhriydthw ip ethiybkbtwkxkhwamekhriydineruxngideruxnghnungodyechphaa inradbta thiepnswnkhxngphunhlngsingaewdlxm aelaniyamwa eruxrng mikhaechinglb imerngdwn rusukid aelaphyayamepliynphwkmnimid 39 twxyang echn mlphawa esiyng prachakraexxd aelarthtid imehmuxnkbtwkxkhwamekhriyd 3 xyangxun twnixac aetimcaepntxng miphllbtxkhwamekhriydodyimrusuktw 39 inxngkhkr aekikh ngansuksainkxngthphthharaelasnamrbaesdngwa twkxkhwamekhriydthimikalngmakthisudxacekidcakpyhakarcdrabbxngkhkr hnwy 40 khwamekhriydechnnisamarthekidthnginphakhrthaelaphakhexkchn 41 karaek aekikhkaraekkhwamekhriyd stress management hmaythungethkhnikaelacitbabdmakmayhlayxyangthimungkhwbkhumradbkhwamekhriyd odyechphaaaebberuxrng pktiephuxihichchiwitpracawniddikhun odykhwbkhumaelaldkhwamrusuktung thiekidinsthankarnekhriydodyepliynxarmnhruxepliynsthankarn karpxngknaelakarsrangkhwamyudhyun aekikh aemcamiethkhnikthiidphthnakhunephuxrbmuxkbphlkhxngkhwamekhriyd aetkmingansuksaeruxngkarpxngknkhwamekhriyddwy sungepnpraedniklekhiyngkberuxng psychological resilience khwamyudhyunidthangic incitwithya aelamiwithithithaexngidephuxpxngknkhwamekhriydaelaephimkhwamyudhyunthangcitic thiidaenwkhidmacakkarbabdthangkhwamkhidaelaphvtikrrm CBT 42 biofeedback khuxkarwdkartxbsnxngthangsrirphaphdwyekhruxngmuxodymicudprasngkhephuxcakhwbkhumkartxbsnxngechnnn xacchwyaekkhwamekhriyd ngansuksapi 2015 praeminphlkhxng resonant breathing biofeedback epnkarsanukaelakhwbkhumkhwamtang knkhxngxtrakaretnhwic inklumphnkngankhwbkhumkarphlit aelwphbwa ethkhnikchwyldkhwamsumesra khwamwitkkngwl aelakhwamekhriydxyangsakhy 43 klikkarrbmux aekikh dubthkhwamhlkthi karrbmux citwithya aebbcalxnghnungaesdngwa ehtukarnphaynxksrangaerngkddnihthakicihekid ihmiswnrwmkb hruxihprasbkbehtukarnekhriyd khwamekhriydimichehtukarnphaynxkexng aetepnkartikhwamaelatxbsnxngtxphythixacmi dngnn cungsamarthichwithikarrbmuxkbkhwamekhriydid 44 miwithikarhlayxyangthisamarthrbmuxkbphythixacthaihekhriyd aetbukhkhlkmkcatxbsnxngdwyrupaebbkarrbmuxxyangidxyanghnungodymak echn odyimsnickhwamrusuk hruxepliynsthankarnthithaihekhriyd 44 mihmwdhmukarrbmux klikpxngkntwhlayxyangodyepniptamaenwkhidthwipthiehmuxnkn khuxmiwithikarrbmuxkbkhwamekhriydthidi ihpraoychn aelathiimdi immipraoychn ephraakhwamekhriydepnkhwamrusuk withikarthicaklawdngtxipnibangxyangxacimidepliynsthankarnthithaihekhriyd aetcdwaepnwithikarrbmuxkephraachwyihbukhkhlaekkhwamrusukechinglbaelakhwamwitkkngwliddikwa imichaekpyhathiepnehtu klikehlaniprbmacak DSM IV Adaptive Functioning Scale 1994 khxngsmakhmcitewchxemrikn APA klikthiprbtwiddi txngthakar mungaekpyha aekikh thksaehlanichwyephchiyhnakbpyhaodytrng hruxxyangnxykcdkarxarmnechinglbxyangepnpraoychn khux odythwipepnkarprbtwiddi generally adaptive karphukphn affiliation echn karduaelaelahaephuxn sungcdkarkhwamekhriydodyhakhwamchwyehlux hakarsnbsnuncakphuxun ekhruxkhaysngkhm aetimichodyimrbphidchxbhruxthaihepnhnathikhxngphuxun 45 46 xarmnkhn humor khuxmxngxxknxksthankarnephuxihidmummxngkwang aelaephuxenncudkha thiphbinsthankarnnn dwy 45 karrbmuxphanxarmnkhn smakhmxarmnkhnprayuktaelaephuxbabdorkh Association for Applied and Therapeutic Humor niyamxarmnkhnbabdwaepn withikarrksathioprohmtsukhphaphaelakhwamepnxyuthidiodykratunkarkhnphb karaesdngxxk hruxkarehnkhunkhaaebbeln khxngkhwamnakhnhruxkhwamimklmekliywknkhxngchiwittnexng karrksanixacprbprungsukhphaphhruxichrksakhwamecbpwyaebbesrim ephuxxanwyihhayhruxihrbmuxkbsthankarnid imwacathangkay thangxarmn thangprachan hruxthangcitwiyyan 47 prasathaephthyphumichuxesiyng khux sikmund frxyd idesnxwa xarmnkhnepnklyuththpxngkntwthidiinsthankarnthithaihxarmnesiy 44 ephraaemuxhweraainsthankarnthiyaklabak kcathaihhaywitkkngwlaelwkhididdikhun 47 emuxsamarthmxngsthankarninaengmumxun kcarusukwasamarthkhwbkhumptikiriya kartxbsnxngkhxngtnid aelwaekpyhathiepnehtuihekhriydid nkcitwithyaphuhnung HM Lefcourt esnxwa xarmnkhnsungepliynmummxngechnnimiprasiththiphldiephraaaeyktnexngxxkcaksthankarnaelakhwamekhriyd 48 ngansuksaidaesdngwa karhweraaaelaxarmnkhncabrrethakhwamekhriydodyphlxackhngyunthung 45 nathihlnghweraa 47 xnungphbwa edkthiekha rph hweraaaelaelnephuxbrrethakhwamklw khwamecbpwd aelakhwamekhriyd karhweraaaelaxarmnkhncungsakhymakephuxrbmuxkbkhwamekhriyd 47 mnusykhwrichxarmnkhnepnwithikhamkhwamekhaicebuxngtnkhxngtnekiywkbsthankarnphaynxk ephuxihidmummxngxun ephuxldkhwamwitkkngwl dd karepliynkhwamkhidthiimdiihepnkarkrathathiyxmrbid sublimation chwyihaekpyhaodyxxmodyimmiphllbhruxesiykhwamsukhthiphungid 49 withinichwyihepliynxarmnhruxaerngdlicthiepnpyhaihepnphvtikrrmthisngkhmyxmrbid karkhideruxngdi positive reappraisal khuxepliynkhwamkhidipinsingthidi thikalngekidhruxyngimekid sungxacchwyihphthnatnexng personal growth ihsanukrucktnexng self reflection aelaihsanukthungxanacaelapraoychnkhxngkhwamphyayamkhxngtn 50 yktwxyangechn ngansuksainthharphansuk imwacaepnphuphansngkhramhruxkarrksasntiphaphphbwa phuthitikhwamprasbkarnkartxsuhruxxntrayinechingbwkmkcaprbtwiddikwaphuthiimthaechnni 51 withikarrbmuxaebbprbtwiddixyangxun rwmthngkhwamhwng anticipation khwamexuxxathr altruism aelakarsngekttnexng self observation withiybyngic ptiesthimyxmrb aekikh withiehlanithaihsanuknxylng inbangkrniimmiely thungkhwamwitkkngwl phytang khwamhwadklwepntn thimacakkhwamrusukwamiphy karepliynkhwamkhid displacement epnkarepliynkhwamrusukeduxdrxnipyngsthankarnxunthiepnphynxykwa 52 karekbkdkhwamkhid repression epnwithithibukhkhlphyamyamkacdkhwamkhid khwamrusuk aelaxarmnxun ekiywkbsthankarnthirusukwaepnphyhruxthaihklumic imipekiywkhxngkberuxngnn thathaxyangniidnan niyingkwa karptiesthwaimcring denial thiesnxodysikmund frxyd ptikiriyatrngknkham reaction formation epliynkhwamrusuk khwamkhid hruxphvtikrrmipinthangtrngknkham echn aethnkhwamkhidthiimtxngkardwykhwamkhidtrngknkham echnxacrangbkhwamrusukrkrwmephsodyepliynepnekliydkhnrkrwmephsthnghmd 53 withixun rwmthngkaraekkhun undoing karaeyktwxxkcaksthankarn dissociation karptiesthwaimcring denial karptiesthwatwexngimepnodyothskhnxun projection aelakarhaehtuphlekhakhangtnexng rationalization aemnkwichakarbangphwkcaxangwa withikarrbmuxodyybyngxaccaephimradbkhwamekhriydinthisudephraaimidaekpyhaxair aetkaraeyktnexngxxkcaktwkxkhwamekhriydbangkhrngchwybrrethakhwamekhriydxyangchwkhraw aelwephimkhwamphrxmrbmuxkbpyhainphayhlng withithitxngthakar aekikh withiehlaniichrbmuxkbkhwamekhriydemuxtxngthakarxyangidxyanghnung hruxthxytwxxk aesdngxxksingthiimkhwr acting out khuxthasingthiimsmkhwrsungsngkhmphicarnawaepnpyha khux aethnthicaphicarnahruxaekpyha bukhkhlcathasingthicdwa epnkarprbtwthiimdi 46 ngxn passive aggression khuxbukhkhlrbmuxodyxxmkbkhwamwitkkngwlhruxkhwamkhid khwamrusukthiimdisungmacakkhwamekhriyd odythakrafdkraefiydhruximphxictxphuxun karbnaetptiesthkhwamchwyehluxkrwmxyuinhmwdnikaresrimsukhphaph aekikh miwithikarxunephuxrbmuxkbkhwamekhriyd thaodypxngknkhwamwitkkngwlaelakhwamekhriyd thafukrbmuxkbkhwamekhriydthukwn khwamrusukekhriydaelakarrbmuxkbmnodycdepnehtukarnphaynxkkcarusukwaepnpharanxylngklyuthththiaenanaephuxprbprungkaraekkhwamekhriydrwmthng 54 xxkkalngkayihsmaesmx khuxwangaephnkarxxkkalngkay 3 4 khrngtxxathity haphuchwysnbsnun ephuxfng ihkhaaenana aelaihkarsnbsnunaekknaelakn briharewlathimi tngraebiybkarichewla cintnakarphaphtamaenana ephuxphxnkhlaycitic phxnkhlayklamenuxtamladb fukephuxsuxsarkhwamtxngkarxyangmiprasiththiphaph assertiveness training ekhiynbnthukpracawn ephuxaesdngxxkxarmnthiaethcring epnkarphicarnatnexng ldkhwamekhriydinthithangan khuxepliynrabbkarthangan epliynsingthitxngthaephuxldkhwamekhriydwithiehlanikhunxyukbsthankarn khuxcdwaepnkarprbtwthidihruximdikidkartxbsnxngthangsrirphaph aekikhkhwamekhriydthimiphltxkarsuxsar aekikh rangkaytxbsnxngtxkhwamekhriydodyprakartang karprbradbsarekhmiinrangkayepnwithixyanghnung txipniepntwxyangkhxngkarprbepliyninrangkaythimiphltxkarsuxsar general adaptation syndrome aekikh emuxwdkartxbsnxngkhxngrangkaytxkhwamekhriyd nkcitwithyamkcaichaebbcalxng general adaptation syndrome khxng nph aehns esley sungbxykhrngeriykwakartxbsnxngtxkhwamekhriydaebbkhlassik epneruxngekiywkbphawatharngdul aelamirayasamkhntxnkhux ptikiriyatkic alarm reaction epnrayathiekidemuxtwkxkhwamekhriydprakt sungrangkaykcaetriymtwrbmux swnsmxng khux aeknihopthalams phithuxithari xadrinlaelarabbprasathsimphaethtikcaerimthangan miphlihhlnghxromncaktxmhmwkit echn cortisol exphienfrin aela norepinephrine ekhaipineluxdephuxprbkarthangankhxngrangkay khux ephimphlngngan ephimaerngklamenux ldkhwamiwecb hnwngrabbyxyxahar aelaephimkhwamdnolhit 55 56 xnung klumniwrxn locus coeruleus phayinphxnskhxngkansmxng sungsngaexksxnipyngswntang khxngsmxng khlng norepinephrine ipthiniwrxnxun odytrngdwy norepinephrine inradbsungsungthanganepnsarsuxprasathodyxxkvththithihnwyrbkhxngmninekhtsmxngtang echnthikhxrethksklibhnaphakswnhna prefrontal cortex echuxwamiphltx executive functions echn khwamcaichngan working memory thithanganimsmburnenuxngcakkhwamekhriyd rayatxtan khdkhun resistance rangkaycatxtankhwamekhriydephimkhuneruxy inrayani cnkrathnghmdthrphyakr sungnaipsurayahmdaerng hruxcnkrathnghmdsingerathithaihekhriyd emuxrangkayichthrphyakrhmdiperuxy bukhkhlkcarusukehnuxykhun aelaesiyngtxorkh niepnrayathiorkhkayehtucit psychosomatic disorder erimprakt 56 rayaehnuxy hmdthrphyakr exhaustion rangkayidhmdhxromnaelathrphyakrxun thitxngichephuxcdkartwkxkhwamekhriyd bukhkhlcaerimaesdngphvtikrrmtang echn witkkngwl hngudhngid eliyngkhwamrbphidchxbaelakhwamsmphnthkbphuxun miphvtikrrmthalaytnexng aelatdsinicimdi emuxmixakarehlani kcamioxkaskrathbkrathngkbphuxunsungkhun thalaykhwamsmphnthkbphuxun hruxhlikeliyngkarekhasngkhmodysineching 56 kartxbsnxngthirabbprasathsimphaethtikthanganmakechnni bxykhrngeriykwakartxbsnxngodysuhruxhni fight or flight response sungrwmkarkhyaymanta hlngexndxrfin ephimxtrakaretnkhxnghwicaelakarhayic rangbkrabwnkaryxyxahar hlngexphienfrin khyayhlxdeluxdaedngelk aelayubhlxdeluxdda kartxbsnxnginradbsungechnnibxykhrngimcaepnephuxrbmuxtxtwkxkhwamekhriydaelaxupsrrkhelk nxy inchiwitpracawn aetkepnrupaebbkartxbsnxngthiphbinmnusy aelabxykhrngnaipsupyhathangsukhphaphsungpktismphnthkbkhwamekhriydinaradbsung 57 khunphaphkarnxn aekikh karnxnhlbepnkarphkphxnaelafunkalnghlngcakthanganthngwn dngnn karnxnihphxcungsakhymaksahrbkhnekhriydephraachwyihkhididdikhun aetochkhimdiwa khwamekhriydepliynaeplngsphaphthangekhmikhxngrangkayaelwthaihnxnyak echn hxromnsetxrxydthihlngtxbsnxngkhwamekhriydkhux glucocorticoid samarthkhdkarnxn karnxnhlbmi 4 rayaaelarayathiluksudaelathaihphkphxnidmaksud caidktxemuxhlbaelw 1 chm txngkarxangxing thakarnxnthukkhderuxy kcaimsamarthphkphxnidephiyngphx sungthaihhngudhngidaelaimsamarthsuxsarkbkhnxunidxyangmiprasiththiphaph 58 prasbkarnekhriydthangsngkhmthimiphltxkarsuxsar aekikh khwamekhriydxackxpyhahlayxyang xyanghnungthirukkhuxsuxsaridimdi txipniepntwxyangthikhwamekhriydmiphltxkarsuxsar khwamaetktangthangwthnthrrm aekikh wthnthrrmtang khxngolksamarthcdepn 2 hmu khuxsngkhmaebbpceckbukhkhl aelasngkhmaebbchumchnniym 58 sngkhmaebbpceckbukhkhl echnthiphbinshrth thukkhnepnxisracakknaelakn mikhwamsaercaelaepahmayepnkhxngtnexng sngkhmaebbchumchnniym echnthiphbinpraethsexechiytang mxngsngkhmwatxngphungsungknaelakn aelaihkhaniymaekkhwamthxmtwaelakhrxbkhrwkhwamaetktangthangwthnthrrmechnnixacmiphltxkarsuxsarrahwangbukhkhlemuxekhriyd yktwxyangechn smachikkhxngwthnthrrmaebbpceckbukhkhlxaclngelinkarkhxyaaekpwdephraaimtxngkarthukduthukwaxxnaex aetsmachikkhxngsngkhmaebbchumchnniymimcaepntxnglngel ephraaepnsngkhmthithukkhnchwyehluxsungknaelakn epnxnhnungxnediywkn 58 karepliynaeplngphayinkhrxbkhrw aekikh karhyarang khwamtay aelakaraetngnganihmlwnaetepnehtukarnsrangkhwamyungehyinginkhrxbkhrw 58 aemthukkhnthiekiywkhxngcaidrbphl aetkxacmiphlaekedkmakthisud ephraaxayunxycungyngimmithksarbmuxkbsthankarnihm txngkarxangxing ephraaehtuni ehtukarnekhriydxacepliynphvtikrrmkhxngedk karkhbephuxnklumihm hruxkarekidnisyihmthiimdi epnkhwamepliynaeplngxyanghnungthikhwamekhriydxacepntwcudchnwn 58 kartxbsnxngtxkhwamekhriydthinasnicxyanghnungkkhuxkarkhuykbephuxncintnakar edkxaccarusukokrthphxaemhruxephuxnsungtnrusukwathaihchiwitkhxngtntxngepliynip aelatxngkarhakhnkhuydwyaettxngimichkhnthiokrth dngnn cungkhuykbephuxnthiimmi aetniethakbimkhuykbbukhkhlrxb tw 58 karchwyehluxthangsngkhmaelaphltxsukhphaph aekikhnkwicyidsnicwa rupaebbaelaradbkhwamchwyehluxthangsngkhmthibukhkhlhnung idrbcamiphltxkhwamekhriydaelasukhphaphkhxngbukhkhlnnethair ngansuksatang idphbxyangsmaesmxwa khwamchwyehluxthangsngkhmsamarthpxngknphlkhwamekhriydtxrangkayaelacitic 59 60 odymiklikhlayxyangaebbcalxngaebb phlodytrng direct effect aesdngwa khwamchwyehluxthangsngkhmmiphldiodytrngtxsukhphaphephraaephimxarmndi ephimkarprbtwiddi ephimesthiyrphaphphrxmkhwamaennxnkhxngxnakht aelachwyknpyhathangsngkhm thangkdhmay aelathangesrsthkicthixacmiphllbtxsukhphaph swnaebbcalxngaebb phlknchn buffering effect aesdngwa khwamchwyehluxthangsngkhmmixiththiphlsungsudtxsukhphaphemuxekhriyd imwacachwyihmxngsthankarnxyangmiphynxylnghruxchwyrbmuxkbkhwamekhriyd aelankwichakarkidphbhlkthansnbsnunaebbcalxngthngsxngni 61 karchwyehluxthangsngkhmniyamodyechphaawa epnkarchwyehluxthangcitichruxthangsingkhxngthiekhruxkhaysngkhmih odymungchwybukhkhlihrbmuxkbkhwamekhriyd 62 nkwichakarodythwipcaaeykaeyarupaebbtang khxngkarchwyehluxthangsngkhmrwmthng karchwyehluxthangsingkhxng instrumental support echn thangkarengin hruxkarchwyipsnghahmx thangkhxmul informational support echn ihkhwamru chwyeruxngkarsuksa hruxkhaaenanaephuxaekpyha aelathangxarmn emotional support echn ihkhwamehnxkehnic ihkalngic epntn 62 karchwyehluxthangsngkhmsamarthldkhwamekhriydthiekidchwngtngkhrrph 63 karsuxsarkbkhnekhriyd aekikhkarchwyehluxkhxngephuxnaelachumchncachwyihbukhkhlsamarthsuxsaridemuxekhriyd ephraacarusukwaepnsmachikkhxngekhruxkhaysngkhmthihwngiyaelasnicknaelakn chwyldkhwamekhriydaelaihrbmuxkbmniddikwa 64 karchwyehluxthangsngkhmaelathangciticaekknaelaknbngwa smachiksakhyaelamikhunkha 64 khwamekhriydkhxngbukhkhlcamiphltxkhnrxb khangodyechphaakhrxbkhrw smachikkhrxbkhrwxacprasbkbxarmnthikhdaeyngknhlayxyangemuxtxngduaelbukhkhlthirk khux khwamkruna khwamtxngkarpxngknphy aelakhwamhwngiyxacphsmrwmkbkhwamrusukwahmdhnthangaelaehmuxnkbthuktidkb 65 karihkhwamchwyehluxthangciticepneruxngsakhyemuxchwysmachikkhrxbkhrwihrbmuxkbpyhaemuxtxngduaelbukhkhlthirk phuepnkhnekhriyd 65 karwd aekikhkhwamekhriydthibukhkhlkalngprasbinchiwitsamarthpraeminodyethiybkbkhawdehtukarnchiwit twxyangechn matrathicitaephthyphthnakhuninpi 1967 aelakahndehtukarnekhriyd 43 xyanginchiwit khux Holmes and Rahe stress scale hrux Social Readjustment Rating Scale SRRS 66 ephuxkhanwnkhaaennrwm ihbwkkhakarepliynaeplnginchiwitthiekidkhuninpithiphanma khaaennekin 300 aesdngwamioxkaspwy khaaennrahwang 150 299 hmaythungoxkasesiyngthirxnglngma aelakhaaennnxykwa 150 khuxmioxkasesiyngpwyephiyngelknxy 33 66 ehtukarnchiwit khakhukhrxngesiychiwit 100hyakbkhukhrxng 73aeykxyukbkhukhrxng 65thukcakhuk 63smachikkhrxbkhrwthiiklchidesiychiwit 63badecbhruxpwy 53aetngngan 50thukilxxkcakngan 47klbdikbkhukhrxng 45eksiyn 45sukhphaphkhxngsmachikkhrxbkhrwimdi 44tngkhrrph 40pyhathangephs 39idsmachikihminkhrxbkhrw 39karepliynaeplngthangthurkic 39karenginepliyn 38ephuxnsnithesiychiwit 37epliynxachiphihm 36thaelaaknmakkhun 35karcanxng hnisinsakhy 32karthukbngkhbexathrphycanxng 30hnathirbphidchxbinkarnganepliyn 29butraeykipxyutanghak 29pyhakbyatikhxngsamiphrrya 29prasbkhwamsaercthidieyiym 28khukhrxngerimhruxelikthangan 26erimhruxhyuderiyn 26sthanakhwamepnxyuepliynip 25karepliynnisytnexng 24pyhakbecanay 23ewlahruxsphaphkarthanganepliynip 20epliynthixyu 20epliynsthansuksa 20epliynkarphkphxnhyxnic 19epliynkickrrmthangsasna 19epliynkickrrmthangsngkhm 18karcanxng hnisinyxy 17epliynnisykarnxn 16epliyncanwnkarndphbknkhxngkhrxbkhrw 15epliynnisykarkin 14phkrxn 13thaphidkdhmayyxy 10mimatraxikrunhnungsahrbedk dngtxipni 33 ehtukarnchiwit khatngkhrrphodyimidtngic 100phxaemesiychiwit 100aetngngan 95phxaemhyakn 90esiyrupochmxyangmxngehnid 80epnphxodyimidaetngngan 70phxaemthukcakhukmakkwa 1 pi 70phxaemaeykknxyu 69phinxngesiychiwit 68ephuxn epliynkaryxmrb 67phihruxnxngsawtngkhrrphodyimidaetngngan 64phbwatnepnlukeliyng 63phxaemaetngnganihmkbphx aemeliyng 63ephuxnsnithesiychiwit 63mikhwamphikaraetkaenidthimxngehnid 62pwyhnktxngekha rph 58tkwicha 56imidrbeluxkihekharwmkickrrmnxkchneriyn 55phxhruxaemekha rph 55phxaemthukcakhukekin 30 wn 53elikkbaefn 53erimxxkedt 51thukphkeriyn 50erimichyaesphtidhruxehla 50idnxngihm 50phxaemthaelaaknephimkhun 47phxaemesiyngan 46prasbkhwamsaercthidieyiym 46thanathangkarenginkhxngphxaemepliynip 45ekhamhawithyalythitxngkarid 43epnnkeriynpisudthayinihskul 42phinxngekha rph 41phxaemimxyubanephimkhun 38phinxngaeykxxkipxyuexng 37miphuihykhnthisamephimkhuninban 34epnsmachikkhxngobsthxyangsmburn 31phxaemthaelaaknnxylng 27thaelaakbphxaemnxylng 26phxaemerimthangan 26eknthniichincitewchephuxkahndphlkhxngehtukarnchiwit 67 duephim aekikhptikiriyaechiybphlntxkhwamekhriyd karprbtw citwithya karcdkarkhwamekhriyd karbabdodykarprbepliynkhwamkhidaelaphvtikrrm khwamimlngrxyknthangprachan karprbtwimdi khwamecbpwythangxarmnaelacitic karldkhwamekhriydxingsti khwamphidpktithiekidhlngkhwamekhriydthisaethuxnic khwamyudhyunidthangdancitic khwamekhriyd chiwwithya echingxrrthaelaxangxing aekikh stress Physicians Desk Reference 2006 In psychology a physical or psychological stimulus such as very high heat public criticism or another noxious agent or experience which when impinging upon certain individuals produces psychological strain or disequilibrium stress Britannica Concise Encyclopedia UK Encyclopaedia Britannica 2003 In psychology a state of bodily or mental tension resulting from factors that tend to alter an existent equilibrium Stress Dorland s Illustrated Medical Dictionary 32nd ed USA Elsevier Saunders 2012 p 1784 ISBN 978 1 4160 6257 8 A state of physiological or psychological strain caused by adverse stimuli physical mental or emotional internal or external that tend to disturb the functioning of an organism and which the organism naturally desires to avoid Wilson Robert A Keil Frank C b k 1999 Stress The MIT Encyclopedia of the Cognitive Sciences USA The MIT Press p 806 ISBN 0 262 73124 X Stress may be defined as a threat real or implied to the psychological or physiological integrity of an individual CS1 maint uses editors parameter link Ewigman Nate 2011 Kreutzer Jeffrey S DeLuca John Caplan Bruce b k Stress Encyclopedia of Clinical Neuropsychology Springer p 2390 doi 10 1007 978 0 387 79948 3 ISBN 978 0 387 79947 6 Stress can be defined as the process and response subsequent to the demands of a hostile environment It generally refers to a negative emotional experience accompanied by physiological cognitive and behavior adaptation CS1 maint uses editors parameter link 2 0 2 1 2 2 Simandan Dragos 2010 On how much one can take Relocating exploitation and exclusion within the broader framework of allostatic load theory Health amp Place 16 6 1291 3 doi 10 1016 j healthplace 2010 08 009 PMID 20813575 Sapolsky Robert M 2004 Why Zebras Don t Get Ulcers 175 Fifth Ave New York N Y St Martins Press pp 37 71 92 271 ISBN 978 0 8050 7369 0 CS1 maint location link Jones Fiona Bright Jim Clow Angela 2001 Stress myth theory and research Pearson Education p 4 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2018 05 08 CS1 maint uses authors parameter link 5 0 5 1 Folkman S 2013 Stress appraisal and coping Encyclopedia of behavioral medicine New York Springer pp 1913 1915 ISBN 978 1 4419 1005 9 In his 1966 book Psychological Stress and the Coping Process Lazarus 1966 Richard Lazarus defined stress as a relationship between the person and the environment that is appraised as personally significant and as taxing or exceeding resources for coping CS1 maint uses authors parameter link Gibbons C 2012 Stress positive psychology and the National Student Survey Psychology Teaching Review 18 2 22 30 Selye Hans 1974 Stress without distress Philadelphia J B Lippincott Company p 171 8 0 8 1 8 2 Selye Hans 1983 The Stress Concept Past Present and Future in Cooper C L b k Stress Research Issues for the Eighties New York NY John Wiley amp Sons pp 1 20 9 0 9 1 Selye Hans 1975 Implications of Stress Concept New York State Journal of Medicine 75 2139 2145 10 0 10 1 Fevre Mark Le Kolt Gregory S Matheny Jonathan 2006 01 01 Eustress distress and their interpretation in primary and secondary occupational stress management interventions which way first Journal of Managerial Psychology 21 6 547 565 doi 10 1108 02683940610684391 11 0 11 1 11 2 Schneiderman N Ironson G Siegel S D 2005 Stress and health psychological behavioral and biological determinants Annual Review of Clinical Psychology 1 607 628 doi 10 1146 annurev clinpsy 1 102803 144141 PMC 2568977 PMID 17716101 Herbert T B Cohen S 1993 Stress and immunity in humans a meta analytic review Psychosomatic Medicine 55 4 364 379 doi 10 1097 00006842 199307000 00004 Ogden J 2007 Health Psychology a textbook 4th ed McGraw Hill pp 281 282 CS1 maint uses authors parameter link Edmunds W John 1997 Social Ties and Susceptibility to the Common Cold JAMA the Journal of the American Medical Association 278 15 1231 author reply 1232 doi 10 1001 jama 1997 03550150035018 PMID 9333253 Greubel Jana and Kecklund Goran The Impact of Organizational Changes on Work Stress Sleep Recovery and Health Industrial Health Department for Psychology University of Fribourg 16 0 16 1 16 2 16 3 Jeronimus Bertus F Riese Harriette Sanderman Robbert Ormel Johan 2014 Mutual reinforcement between neuroticism and life experiences A five wave 16 year study to test reciprocal causation Journal of Personality and Social Psychology 107 4 751 64 doi 10 1037 a0037009 PMID 25111305 17 0 17 1 Jeronimus B F Ormel J Aleman A Penninx B W J H Riese H 2013 Negative and positive life events are associated with small but lasting change in neuroticism Psychological Medicine 43 11 2403 15 doi 10 1017 S0033291713000159 PMID 23410535 Schlotz W Yim IS Zoccola PM Jansen L Schulz P 2011 The perceived stress reactivity scale Measurement invariance stability and validity in three countries Psychol Assess 80 94 CS1 maint uses authors parameter link Pinquart Martin Sorensen Silvia 2003 Differences between caregivers and noncaregivers in psychological health and physical health A meta analysis Psychology and Aging 18 2 250 67 doi 10 1037 0882 7974 18 2 250 PMID 12825775 Kemeny Margaret E 2003 08 The Psychobiology of Stress Current Directions in Psychological Science 12 4 124 129 Check date values in date help CS1 maint uses authors parameter link Kobasa S C 1982 Sanders GS Suls J b k The Hardy Personality Toward a Social Psychology of Stress and Health Social Psychology of Health and Illness Hillsdale NJ Lawrence Erlbaum Assoc pp 1 25 CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint uses editors parameter link Life hassles and delusional ideation Scoping the potential role of cognitive and affective mediators 2016 doi 10 1111 papt 12089 Cite journal requires journal help PTSD Test The Requirements for a Diagnosis Verywell Mind khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2018 03 18 subkhnemux 2018 03 18 Unknown parameter deadurl ignored help Mah L Szabuniewicz C Fiocco AJ 2016 Can anxiety damage the brain Current Opinion in Psychiatry Review 29 1 56 63 doi 10 1097 YCO 0000000000000223 PMID 26651008 CS1 maint uses authors parameter link Keller Abiola Litzelman Kristin Wisk Lauren E Maddox Torsheika Cheng Erika Rose Creswell Paul D Witt Whitney P 2012 Does the perception that stress affects health matter The association with health and mortality Health Psychology 31 5 677 84 doi 10 1037 a0026743 PMC 3374921 PMID 22201278 26 0 26 1 Stress as a positive Recent research that suggests it has benefits 2013 09 04 khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2016 09 11 Unknown parameter deadurl ignored help 27 0 27 1 Cohen Sheldon Janicki Deverts Denise Miller Gregory E 2007 Psychological Stress and Disease JAMA 298 14 1685 7 doi 10 1001 jama 298 14 1685 PMID 17925521 Miller Gregory Chen Edith Cole Steve W 2009 Health Psychology Developing Biologically Plausible Models Linking the Social World and Physical Health Annual Review of Psychology 60 501 24 doi 10 1146 annurev psych 60 110707 163551 PMID 19035829 Cameron L Leventhal E A Leventhal H 1995 Seeking medical care in response to symptoms and life stress Psychosomatic medicine 57 1 37 47 PMID 7732157 Shahab Lion McGowan Jennifer A Waller Jo Smith Samuel G 2018 04 Prevalence of beliefs about actual and mythical causes of cancer and their association with socio demographic and health related characteristics Findings from a cross sectional survey in England European Journal of Cancer doi 10 1016 j ejca 2018 03 029 Check date values in date help Hargrove M B Nelson D L Cooper C L 2013 Generating eustress by challenging employees Helping people savor their work Organizational Dynamics 42 61 69 doi 10 1016 j orgdyn 2012 12 008 stressor Collins English Dictionary Complete amp Unabridged 11th Edition Retrieved September 20 2012 from CollinsDictionary com khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2012 06 20 Unknown parameter deadurl ignored help 33 00 33 01 33 02 33 03 33 04 33 05 33 06 33 07 33 08 33 09 33 10 33 11 Pastorino E Doyle Portillo S 2009 What is Psychology 2nd ed Belmont CA Thompson Higher Education CS1 maint uses authors parameter link Headquarters Department of the Army 1994 Leader s Manual for Combat Stress Control FM 22 51 Washington DC Teo Loo Yee Fam Jia Yuin 2018 Prevalence and determinants of perceived stress among undergraduate students in a Malaysian University Journal of Health and Translational Medicine 21 1 1 5 Cohen Sheldon Frank Ellen Doyle William J Skoner David P Rabin Bruce S Gwaltney Jack M 1998 Types of stressors that increase susceptibility to the common cold in healthy adults Health Psychology 17 3 214 23 doi 10 1037 0278 6133 17 3 214 PMID 9619470 Aldwin Carolyn M Jeong Yu Jin Igarashi Heidi Choun Soyoung Spiro Avron 2014 Do hassles mediate between life events and mortality in older men Experimental Gerontology 59 74 80 doi 10 1016 j exger 2014 06 019 PMC 4253863 PMID 24995936 CWT rolls out solution to tackle cost of travel stress TTGmice khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2013 11 10 subkhnemux 2013 04 29 Unknown parameter deadurl ignored help 39 0 39 1 Campbell Joan M 2016 Ambient Stressors Environment and Behavior 15 3 355 80 doi 10 1177 0013916583153005 chronic negatively valued non urgent physically perceptible and intractable to the efforts of individuals to change them Combat and Operational Stress Control FM 4 02 51 Washington DC Department of the Army 2006 p 9 Whicker Marcia Lynn 1996 Toxic leaders When organizations go bad Westport CT Quorum Books CS1 maint uses authors parameter link Robertson D 2012 Build your Resilience London Hodder ISBN 978 1 4441 6871 6 Purwandini Sutarto Auditya Abdul Wahab Muhammad Nubli Mat Zin Nora 2015 Resonant Breathing Biofeedback Training for Stress Reduction Among Manufacturing Operators International Journal of Occupational Safety and Ergonomics 18 4 549 61 doi 10 1080 10803548 2012 11076959 PMID 23294659 44 0 44 1 44 2 Snyder C R Lefcourt Herbert M 2001 Coping With Stress New York Oxford University pp 68 88 45 0 45 1 Levo Lynn M 2003 09 Understanding Defense Mechanisms Lukenotes MD Saint Luke Institute 7 4 Check date values in date help CS1 maint uses authors parameter link 46 0 46 1 Adapted from DSM IV Adaptive Functioning Scale APA 1994 47 0 47 1 47 2 47 3 Riley Julia 2012 Communication in Nursing 7 ed Missouri Mosby Elsevier pp 160 173 The Association for Applied and Therapeutic Humor defines therapeutic humor as any intervention that promotes health and wellness by stimulating a playful discovery expression or appreciation of the absurdity of or incongruity of life s situations This intervention may enhance health or be used as a complementary treatment of illness to facilitate healing or coping whether physical emotional cognitive or spiritual Lefcourt H M 2001 The Humor Solution in Snyder C R b k Coping with Stress Effective People and Processes New York Oxford University Press pp 68 92 ISBN 0198029950 Valliant George E 2000 Adaptive Mental Mechanisms American Psychologist 55 1 89 98 doi 10 1037 0003 066x 55 1 89 PMID 11392869 Folkman S Moskowitz J 2000 Stress Positive Emotion and Coping Current Directions in Psychological Science 9 4 115 118 doi 10 1111 1467 8721 00073 Schok ML Kleber RJ Elands M Weerts JM 2008 Meaning as a mission a review of empirical studies on appraisals of war and peacekeeping experiences Clinical Psychology Review Review 28 3 357 65 doi 10 1016 j cpr 2007 04 005 PMID 17532104 CS1 maint uses authors parameter link Colman Andrew M 2009 displacement A Dictionary of Psychology Oxford Reference Online Oxford University Press CS1 maint uses authors parameter link REACTION FORMATION Purdue University ekb cakaehlngedimemux 2013 07 27 subkhnemux 2018 10 13 Unknown parameter deadurl ignored help Potter Patricia 2014 Canadian Fundamentals of Nursing 5 ed Toronto Elsevier pp 472 488 Gottlieb Benjamin 1997 Coping with Chronic Stress Plenum Press CS1 maint uses authors parameter link 56 0 56 1 56 2 Mitterer Jon Coon Dennis 2013 Introduction to Psychology Jon David Hague pp 446 447 HHS 231 Extended Campus Oregon State University khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2012 10 10 Unknown parameter deadurl ignored help 58 0 58 1 58 2 58 3 58 4 58 5 Craven Ruth Hirnle Constance Jensen Sharon 2013 Fundatmentals of Nursing Human and Health Function 7 ed Philadelphia Lippincott Williams amp Wilkins p 1319 Uchino B N 2009 Understanding the links between social support and physical health A life span perspective with emphasis on the separability of perceived and received support Perspectives on Psychological Science 4 3 236 255 doi 10 1111 j 1745 6924 2009 01122 x Berkman L F Glass T Brissette I Seeman T E 2000 From social integration to health Durkheim in the new millennium Social Science amp Medicine 51 6 843 857 doi 10 1016 s0277 9536 00 00065 4 Cohen S Wills T A 1985 Stress social support and the buffering hypothesis Psychological Bulletin 98 2 310 357 doi 10 1037 0033 2909 98 2 310 PMID 3901065 62 0 62 1 Cohen S 2004 Social relationships and health American Psychologist 59 8 676 684 doi 10 1037 0003 066x 59 8 676 PMID 15554821 Shishehgar Sara Mahmoodi Abolfazl Dolatian Mahrokh Mahmoodi Zohreh Bakhtiary Maryam Majd Hamid Alavi 2013 The Relationship of Social Support and Quality of Life with the Level of Stress in Pregnant Women Using the PATH Model Iranian Red Crescent Medical Journal 15 7 560 5 doi 10 5812 ircmj 12174 PMC 3871742 PMID 24396574 CS1 maint uses authors parameter link 64 0 64 1 Feldman Robert S Dinardo Andrea 2009 Essentials of understanding psychology 3rd ed Toronto McGraw Hill Ryerson ISBN 9780070974111 65 0 65 1 Arnold Elizabeth Underman Kathleen 2011 Interpersonal Relationships Professional Communication Skills For Nurses 6th ed St Louis Mo Elsevier Saunders ISBN 9781437709445 66 0 66 1 Holmes TH Rahe RH 1967 The Social Readjustment Rating Scale J Psychosom Res 11 2 213 8 doi 10 1016 0022 3999 67 90010 4 PMID 6059863 Riese Harriette Snieder Harold Jeronimus Bertus F Korhonen Tellervo Rose Richard J Kaprio Jaakko Ormel Johan 2014 Timing of Stressful Life Events Affects Stability and Change of Neuroticism European Journal of Personality 28 2 193 200 doi 10 1002 per 1929 ekhathungcak https th wikipedia org w index php title khwamekhriyd citwithya amp oldid 9561740, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม