fbpx
วิกิพีเดีย

ประวัติศาสตร์กัมพูชา

ประวัติศาสตร์กัมพูชา เริ่มตั้งแต่ยุคของอาณาจักรฟูนัน อาณาจักรเจนละ พัฒนามาสู่ยุคเมืองพระนคร ซึ่งมีความยิ่งใหญ่จนสามารถสร้างนครวัด นครธม เป็นศูนย์กลางของอาณาจักร จนกระทั่งพ่ายแพ้แก่อยุธยากลายเป็นรัฐบรรณาการของอยุธยา จนเมื่อฝรั่งเศสเข้ามามีอำนาจในอินโดจีน กัมพูชากลายเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส และเป็นรัฐในอารักขาของญี่ปุ่นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสิ้นสุดสงครามโลก กัมพูชาได้เป็นประเทศเอกราช แต่เกิดความสับสนวุ่นวายภายในประเทศเนื่องจากความขัดแย้งภายใน ประเทศตกอยู่ภายใต้การปกครองของเขมรแดงอยู่ระยะหนึ่ง จนกองกำลังของเฮงสัมรินที่มีเวียดนามหนุนหลังเข้ามาขับไล่เขมรแดงออกไป และการเข้ามาไกล่เกลี่ยของสหประชาชาติ เพื่อยุติสงครามกลางเมือง

ประวัติศาสตร์กัมพูชา
ประวัติศาสตร์ยุคแรก
อาณาจักรฟูนาน (611–1093)
อาณาจักรเจนละ (1093–1345)
จักรวรรดิเขมร (1345–1974)
ยุคมืด
สมัยจตุมุข (1974–2068)
สมัยละแวก (2068–2136)
สมัยศรีสันธร (2136–2162)
สมัยอุดง (2162–2406)
ยุครัฐในอารักขา
ไทยและเวียดนาม
อาณานิคมฝรั่งเศส (2406–2496)
ส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส
ยุคญี่ปุ่นยึดครอง (2484–2489)
หลังได้รับเอกราช
สงครามกลางเมืองกัมพูชา
(2510–2518)
รัฐประหาร พ.ศ. 2513
สาธารณรัฐเขมร
สงครามเวียดนาม พ.ศ. 2513
ยุคเขมรแดง
(2518–2519)
สงครามกัมพูชา–เวียดนาม (2518–2532)
สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา
(2522–2536)
การจัดการเลือกตั้งโดยสหประชาชาติ
ราชอาณาจักรกัมพูชา
(2536–ปัจจุบัน)
หลังการเลือกตั้ง พ.ศ. 2536

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของกัมพูชา

ความรู้เกี่ยวกับยุคก่อนประวัติศาสตร์ของกัมพูชานั้นมีอยู่น้อยมาก แหล่งโบราณคดีเก่าแก่ที่สุดของกัมพูชาที่ค้นพบในปัจจุบัน คือ ถ้ำ แลง สแปน (Laang Spean) ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ซึ่งเชื่อว่าผู้คนเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานกันเมื่อประมาณ 7,000 ปีก่อนคริสตกาล และแหล่งโบราณคดีสำโรง เซน (Samrong Sen) ซึ่งเชื่อว่าเริ่มมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานเมื่อราว 230 ถึง 500 ปีก่อนคริสตกาล

ชาวกัมพูชาเริ่มรู้จักการเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูกข้าวได้ตั้งแต่เมื่อราว 2,000 ก่อนคริสตกาล สามารถทำเครื่องมือจากเหล็กได้ตั้งแต่ราว 600 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนหน้าที่อิทธิพลจากวัฒนธรรมอินเดียจะแผ่นเข้ามาถึงดินแดนแถบนี้ ในราวปีที่ 100 ก่อนคริสตกาล

หลักฐานทางโบราณคดีบ่งชี้ว่าพื้นที่หลายส่วนของดินแดนประเทศกัมพูชาในปัจจุบันเริ่มมีผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่เมื่อราวสหัสวรรษแรกและสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสตกาล โดยจัดเป็นวัฒนธรรมยุคหินใหม่ ซึ่งผู้คนกลุ่มนี้อาจอพยพมาจากทางพื้นที่ตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ในก่อนช่วงคริสต์ศตวรรษแรก ผู้คนในแถบได้มีวิวัฒนาการสู่การตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง มีการจัดโครงสร้างของสังคมอย่างเป็นระบบ ซึ่งทำให้สามารถพัฒนาทักษะวิทยาการต่าง ๆ ได้ก้าวหน้ากว่ายุคก่อน ๆ เป็นอย่างมาก กลุ่มที่มีพัฒนาการก้าวหน้าที่สุดอาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่ง ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง และบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง สามารถเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงปศุสัตว์ได้ นักประวัติศาสตร์หลายคนมีความเห็นว่า ผู้คนกลุ่มนี้ได้ตั้งหลักแหล่งอาศัยก่อนหน้าผู้คนในประเทศเพื่อนบ้าน คือ เวียดนาม ไทย และลาว

ผู้คนกลุ่มนี้อาจจัดอยู่ในกลุ่มออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic) หรืออย่างน้อยก็มีความสัมพันธ์กับบรรพบุรุษของมนุษย์กลุ่มดังกล่าว ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ทั่วไปในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเกาะแก่งต่าง ๆ ของมหาสมุทรแปซิฟิกในปัจจุบัน ผู้คนเหล่านี้มีความรู้ในงานโลหะ เช่นเหล็กและสำริด โดยเป็นเป็นทักษะที่คิดค้นขึ้นเอง งานวิจัยในปัจจุบันได้ค้นว่า ชาวกัมพูชาในยุคนี้สามารถปรับปรุงสภาพภูมิประเทศมาตั้งแต่ยุคหินใหม่ โดยปรากฏรูปแบบเป็นพื้นที่รูปวงกลมขนาดใหญ่

อาณาจักรฟูนัน

ดูบทความหลักที่: อาณาจักรฟูนาน

อาณาจักรฟูนันเป็นรัฐที่รุ่งเรืองอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 1 – 6 ที่ตั้งของรัฐอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งประเทศกัมพูชา เวียดนามตอนใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย บางตอนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และภาคใต้ของไทย ลงมาถึงแหลมมลายู ฟูนานรวมตัวกันเป็นรัฐแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นรัฐชลประทานภายในแผ่นดินที่ประชาชนดำรงชีพด้วยการเกษตร โดยใช้น้ำจากระบบชลประทานที่พัฒนาเป็นอย่างดี นอกจากนั้น ฟูนานยังมีเมืองท่าสำหรับจอดเรือและค้าขายต่างประเทศ ฟูนาน จึงมีรายได้จากการค้าขาย การเดินเรืออีกด้วย

เรื่องราวของรัฐฟูนาน ทราบจากบันทึกของชาวจีนที่เดินทางมาแถบนี้ ได้เขียนเล่าถึงความมั่งคั่ง ความเป็นอยู่ในชุมชนที่มีระเบียบ มีคุณธรรม มีการปกครองระบอบกษัตริย์ มีเมืองต่าง ๆ มาขึ้นด้วยหลายเมือง มีวัฒนธรรมแท้ ๆ ของตนเอง มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศ ทั้งในทวีปเอเชียด้วยกัน และโลกตะวันตก ชนชั้นสูงเป็นพวกมาลาโยโพลีนีเซียน ชาวจีนว่าพวกชนชั้นพื้นเมืองของฟูนันหน้าตาหน้าเกลียด ตัวเล็ก ผมหยิก สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นพวกเนกริโตและเมลานีเซียน ฟูนานมีประวัติความเป็นมา เริ่มจากการรวมตัวกันของผู้คน เป็นชุมชนเล็กขนาดหมู่บ้าน จากหมู่บ้านพัฒนาขึ้นมาเป็นรัฐ วิธีการพัฒนาจากสังคมเผ่าเป็นสังคมรัฐมีปัจจัยและขั้นตอนหลายประการ

อาณาจักรเจนละ

ดูบทความหลักที่: อาณาจักรอิศานปุระ

ในระหว่าง พ.ศ. 1170-1250 นั้นอาณาจักรขอมมีกษัตริย์ครองราชย์คือ พระเจ้าภววรมันที่ 2 พระโอรสของพระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 โอรสของพระเจ้าภววรมันที่ 2 ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบไพรกเมง ขึ้นระหว่างพ.ศ. 1180-1250สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 นั้นอาณาจักรเจนฬา (เจนละ) นั้นได้แตกแยกเป็นพวกเจนละบกคืออยู่ลุ่มน้ำโขงตอนใต้ และพวกเจนละน้ำ อยู่ในดินแดนลาวตอนกลาง พ.ศ. 1250-1350 ยุคนี้ได้มีการสร้างศิลปขอมแบบกำพงพระขึ้น

อาณาจักรขอมนั้นล่มสลายมาจนถึงรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 หรือพระเจ้าปรเมศวรพ.ศ. 1345-1393 พระองค์ได้รวบรวมพวกเจนละบกและพวกเจนละน้ำเป็นอาณาจักรใหม่โดยรับเอาลัทธไศเลนทร์หรือ เทวราชาเข้ามาทำการสถานปนาอาณาจักรใหม่ขึ้น โดยทำการสร้างราชธานีขึ้นใหม่หลายแห่งและสร้างปราสาทหินหรือเทวาลัยเป็นการใหญ่ ซึ่งมีเหตุการณ์ย้ายราชธานีขึ้นหลายครั้งจนกว่าจะลงตัวที่เมืองหริหราลัยราชธานีแห่งแรกของอาณาจักรขอม ต่อมาคือ เมืองยโศธรปุระ และ เมืองนครธมในที่สุด ด้วยเหตุนี้อาณาจักรขอมสมัยนี้จึงรุ่งเรืองด้วยการสร้างราชธานีขึ้นหลายแห่งและมีปราสาทหินที่เป็นศิลปขอมเกิดขึ้นหลายแบบ กล่าวคือ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 นั้นพระองค์ได้ทำการสร้างเมืองอินทรปุระเป็นราชธานี ขึ้นที่บริเวณใกล้เมืองกำแพงจาม สร้างเมืองหริหราลัยหรือร่อลวย เป็นราชธานี สร้างเมืองอมเรนทรปุระ เป็นราชธานี และสร้างเมืองมเหนทรบรรพต หรือ พนมกุเลนเป็นราชธานี ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบกุเลนขึ้นระหว่างพ.ศ. 1370-1420

เมื่อสิ้นรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 พระโอรสได้ครองราชย์ทรงพระนามว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 3 หรือ พระเจ้าวิษณุโลก ครองราชย์ พ.ศ. 1393-1420 พระองค์ได้กลับมาใช้เมืองหริหราลัยหรือร่อลอย เป็นราชธานี ต่อมาจนถึงรัชกาลพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 หรือ พระเจ้าอิศวรโลก ครองราชย์พ.ศ. 1420-1432 ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบพระโคขึ้นในพ.ศ. 1420-1440

ในสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 หรือ พระเจ้าบรมศิวโลก พระโอรสของพระเจ้าอินทรวรมันที่ 1 ซึ่งครองราชย์เป็นกษัตริย์ขอมในพ.ศ. 1432-1443 นั้น พระองค์ได้สร้างเมืองยโศธรปุระหรือเมืองพระนครแห่งแรกขึ้นที่เขาพนมบาเค็ง เมื่อพ.ศ. 1436 ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือทะเลสาบเมืองเสียมราฐ เมืองนี้คนไทยเรียก เสียมราฐ การสร้างปราสาทหินขึ้นบนเขาพนมบาเค็งนั้น เป็นอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูที่แผ่อิทธิพลเข้ามายังดินแดนแถบนี้ ซึ่งถูกสมมติขึ้นเป็นศูนย์กลางของจักรวาลตามความเชื่อนั้น นับเป็นศิลปขอมแบบบาเค็ง

เมืองยโศธรปุระ ราชธานีแห่งนี้มีกษัตริย์ครองราชย์ต่อมาคือ พระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 หรือ พระเจ้ารุทรโลก พระโอรสของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ครองราชย์ พ.ศ. 1443-1456 และพระเจ้าอีศานวรมันที่ 2 หรือพระเจ้าบรมรุทรโลก พระอนุชาของพระเจ้าหรรษวรมันที่ 1 ครองราชย์ พ.ศ. 1 456-1468 จึงเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแผ่นดิน

ในที่สุดพระเจ้าชัยวรมันที่ 4 หรือพระเจ้าบรมศิวบท ซึ่งเป็นน้องเขยของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรขอมในพ.ศ. 1471-1485 พระองค์ได้สร้างราชธานีขึ้นที่เมืองโฉกการยกยาร์หรือเกาะแกร์ และพระเจ้าหรรษวรมันที่ 2หรือพระเจ้าพรหมโลก พระโอรสขององค์ได้ครองราชย์ต่อมาระหว่างพ.ศ. 1485-1487 ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบเกาะแกร์ พ.ศ. 1465-1490 ต่อมาพระเจ้าราเชนทรวรมัน หรือพระเจ้าศิวโลก พระนัดดาของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 ได้ครองราชย์ในพ.ศ. 1487-1511 ได้ย้ายราชธานีมาที่เมืองยโศธรปุระ หรือเมืองพระนครแห่งแรก ยุคนี้ได้สร้างศิลปขอมแบบแปรรูป พ.ศ. 1490-1510

เมืองยโศธรปุระ ราชธานีเก่าแห่งนี้มีกษัตริย์ครองราชย์ต่อมาหลายพระองค์ ได้แก่

- พระเจ้าชัยวรมันที่ 5 หรือพระบรมวีรโลก ซึ่งเป็นพระนัดดาของพระเจ้าราเชนทรวรมัน ครองราชย์พ.ศ. 1511-1544 สมัยนี้สร้างศิลปขอมแบบบันทายศรี พ.ศ. 1510-1550 ขึ้น

- พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 พระนัดดาของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5 ครองราชย์ พ.ศ. 1544 สร้างศิลปขอมแบบคลังขึ้นพ.ศ. 1510-1560

- พระเจ้าชัยวีรวรมัน ครองราชย์พ.ศ. 1545 (สวรรคตพ.ศ. 1553)

- พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ครองราชย์ พ.ศ. 1545-1593สมัยนี้พระองค์ได้ทำการสถาปนาราชวงศ์ขึ้นใหม่ และน่าจะมีการสร้างเมืองพระนครขึ้นใหม่เป็นแห่งที่สองเป็นยุคที่สร้างศิลปแบบปาบวนขึ้นใช้ในพ.ศ. 1560-1630 เมืองพระนครแห่งที่สองนี้ ยังไม่มีรายละเอียด จึงสรุปไม่ได้ว่าอยู่ที่ใด

ในดินแดนพายัพนั้น เดิมหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมดเป็นถิ่นที่อยู่ของชนชาติลาว ครั้นเมื่อขอมมีอำนาจขยายอาณาจักรมาสู่ดินแดนพายัพ จึงตั้งเมืองละโว้ให้เจ้านครขอมคอยดูแล และพระนางจามเทวีพระธิดาของเจ้าผู้ครองเมืองละโว้ได้ขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน) ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงของขอมละโว้ พระธิดาเจ้าผู้ครองเมืองนี้จึงได้ปกครองพวกลาวทั้งปวงในมณฑลพายัพ เมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน) จึงเป็นเมืองลูกหลวงของขอมละโว้ ที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้ดูแลดินแดนพายัพ ต่อมาได้ตั้งเมืองนครเขลางค์ (เมืองลำปาง) ขึ้นและปกครองร่วมกัน

จักรวรรดิเขมร

ดูบทความหลักที่: จักรวรรดิขแมร์

จักรวรรดิขแมร์ หรือ อาณาจักรเขมร หรือบางแหล่งเรียกว่า อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของ ประเทศไทย ลาว และบางส่วนของเวียดนามในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัยและแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา อาณาจักรขอมสืบทอดอำนาจจากอาณาจักรเจนฬา มีสงครามผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะกับอาณาจักรข้างเคียง เช่น อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรจามปา มรดกที่สำคัญที่สุดของอาณาจักรขอมคือ นครวัด และ นครธม ซึ่งเคยเป็นนครหลวงเมื่อครั้งอาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุด และยังมีลัทธิความเชื่อต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ศาสนาหลักของอาณาจักรนี้ได้แก่ ศาสนาฮินดู พุทธศาสนามหายาน และพุทธศาสนาเถรวาทซึ่งได้รับจากศรีลังกา เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13

ยุคมืดของกัมพูชา

ยุคมืดของกัมพูชา เริ่มตั้งแต่อาณาจักรอยุธยาได้โจมตีอาณาจักรเขมร และ ได้เผา พระนคร เมืองหลวงของอาณาจักรเขมร ราบเป็นหน้ากลอง ทำให้อาณาจักรเขมรเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศตั้งแต่บัดนั้นมา เขมรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในฐานะดินแดนประเทศราช อาณาจักรอยุธยาปกครองเขมรเป็นเวลาเกือบ 400 ปี ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เขมรตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิสยามอย่างเข้มงวด ในสมัยรัชกาลที่3 ได้เกิด สงครามอานามสยามยุทธทำให้กัมพูชาเป็นรัฐอารักขาระหว่างสยามกับญวณ ก่อนที่จะตกเป็นของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

กัมพูชาในฐานะอาณานิคมของฝรั่งเศส

กัมพูชาตกเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาอารักขาระหว่างฝรั่งเศส-กัมพูชาเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2406 ในสมัยพระนโรดม โดยสยามพยามยามคัดค้านแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ ในช่วงแรก ฝรั่งเศสปกครองกัมพูชาโดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจการภายในมากนัก และช่วยค้ำจุนราชบัลลังก์ของกัมพูชา โดยช่วยปราบกบฏต่าง ๆ จน พ.ศ. 2426 - 2427 หลังจากยึดครองเวียดนามได้ทั้งหมด โดยพยายามลิดรอนอำนาจของกษัตริย์และยกเลิกระบบไพร่ทาส ทำให้เกิดการต่อต้านจากประชาชนอย่างรุนแรง จนต้องเจรจากับพระนโรดม กษัตริย์ในขณะนั้น ให้ประกาศสันติภาพ และระงับการแทรกแซงกัมพูชา จนกระทั่งพระนโรดมสวรรคต ฝรั่งเศสได้สนับสนุนให้พระสีสุวัตถ์ขึ้นเป็นกษัตริย์ พร้อมทั้งมอบอำนาจการปกครองทั้งหมดให้ฝรั่งเศส หลังจากฝรั่งเศสเข้าปกครองกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2406 ฝรั่งเศสเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจในเวียดนาม โดยปรับปรุงการเก็บภาษี ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ชาวกัมพูชา และยังนำชาวเวียดนามเข้ามาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ในระบบราชการของฝรั่งเศส และเป็นแรงงานทางด้านเกษตรกรรม

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงกลางปี พ.ศ. 2484 กองทัพญี่ปุ่นเคลื่อนเข้าสู่กัมพูชาแต่ยอมให้รัฐบาลวิชีปกครองดังเดิม รัฐบาลไทยในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามได้เรียกร้องดินแดนบางส่วนในลาวและกัมพูชาคืนจากฝรั่งเศสจนนำไปสู่กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศสที่เริ่มขึ้นเมื่อ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2484 ในที่สุด ญี่ปุ่นเข้ามาไกล่เกลี่ยโดยที่ไทยได้จังหวัดพระตะบอง เสียมราฐและบางส่วนของจังหวัดสตึงแตรง ยกเว้นปราสาทนครวัดยังอยู่ในเขตแดนของฝรั่งเศส พระสีสุวัตถิ์ มุนีวงศ์กษัตริย์กัมพูชาสิ้นพระชนม์หลังกรณีพิพาทนี้ไม่นาน ฝรั่งเศสเลือกพระนโรดม สีหนุขึ้นเป็นกษัตริย์ทั้งที่ยังทรงพระเยาว์ ต่อมา ญี่ปุ่นได้สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2488 กัมพูชาได้ประกาศเอกราชภายใต้วงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพาของญี่ปุ่น โดยมีพระนโรดม สีหนุเป็นประมุขรัฐ หลังจากญี่ปุ่นยอมแพ้เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2488 กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรได้เข้ามาในพนมเปญ สถาปนาอำนาจของฝรั่งเศสในกัมพูชาอีก

รัฐบาลฝรั่งเศสอิสระได้ตัดสินใจที่จะรวมอินโดจีนเข้ากับสหภาพฝรั่งเศส ในพนมเปญ พระนโรดม สีหนุพยายามเจรจากับฝรั่งเศสเพื่อเรียกร้องเอกราชที่สมบูรณ์ ในขณะที่กลุ่มต่อต้านที่เรียกตนเองว่าเขมรอิสระ ได้ใช้การสู้รบแบบกองโจรตามแนวชายแดน โดยได้ร่วมมือกับกลุ่มฝ่ายซ้ายทั้งที่นิยมและไม่นิยมเวียดนาม รวมทั้งกลุ่มเขมรเสรีซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านราชวงศ์ของเซิง งอกทัญด้วย ใน พ.ศ. 2489 ฝรั่งเศสยอมให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองในกัมพูชา และให้มีการเลือกตั้งภายในประเทศ พระนโรดม สีหนุยังคงต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชให้กัมพูชาเป็นอิสระจากสหภาพฝรั่งเศส จนฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง จึงยอมมอบเอกราชให้แก่กัมพูชา

การปกครองยุคแรกของสีหนุ

หลังการประชุมเจนีวาได้มีการเลือกตั้งขึ้นในประเทศกัมพูชาใน พ.ศ. 2498 โดยมีคณะกรรมการควบคุมนานาชาติเป็นผู้สังเกตการณ์ ในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2498 พระนโรดม สีหนุได้ประกาศสละราชสมบัติให้พระบิดาของพระองค์คือพระบาทสมเด็จพระนโรดม สุรามฤต และทรงตั้งพรรคการเมืองขึ้นคือพรรคสังคมราษฎร์นิยมหรือระบอบสังคม สมาชิกส่วนใหญ่เป็นฝ่ายขวา ซึ่งต่อต้านคอมมิวนิสต์ด้วยความรุนแรง แต่ก็มีสมาชิกฝ่ายซ้ายภายในพรรค เช่น เขียว สัมพัน ฮู ยวน เพื่อถ่วงดุลกับฝ่ายขวา การเลือกตั้งในเดือนกันยายน พ.ศ. 2498 พรรคสังคมชนะการเลือกตั้งโดยได้ 83% ของที่นั่งทั้งหมดในสภา

นอกจากนั้น พระนโรดม สีหนุ ยังดำเนินนโยบายที่จะดึงฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวากลุ่มต่าง ๆ ให้เข้าร่วมกับระบอบสังคมของพระองค์ และกดดันผู้ที่ไม่ยอมเข้าร่วมกับพระองค์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 เป็นต้นไป องค์กรที่ต่อต้านระบอบของพระนโรดม สีหนุถูกผลักดันให้กลายเป็นองค์กรใต้ดิน พรรคที่เป็นเอกเทศของฝ่ายซ้าย เช่น กรมประชาชนกลายเป็นเป้าหมายของการโจมตี สถานีวิทยุแห่งชาติได้ออกประกาศว่ากรมประชาชนเป็นหุ่นเชิดของเวียดนาม มีการติดโปสเตอร์ต่อต้านกรมประชาชนโดยทั่วไป หนังสือพิมพ์ของฝ่ายต่อต้านพระองค์ เช่น หนังสือพิมพ์ l'Observateur และหนังสือพิมพ์อื่นที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันถูกสั่งปิดในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2506 พระนโรดม สีหนุได้ประกาศชื่อของฝ่ายซ้ายจำนวน 34 คน ว่าเป็นพวกขี้ขลาด หลอกลวง ก่อวินาศกรรม หัวหน้ากบฏ และเป็นคนทรยศ ผลที่ตามมาทำให้ขบวนการฝ่ายซ้ายต้องออกจากเมืองหลวงไปตั้งมั่นในชนบท

การดำเนินนโยบายต่างประเทศของพระนโรดม สีหนุ เป็นการดำเนินนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด แต่มีแนวโน้มเป็นปฏิปักษ์กับไทยและเวียดนามใต้ ในขณะที่เป็นมิตรกับจีนและสนับสนุนเวียดนามเหนือในสงครามเวียดนาม กัมพูชาในสมัยนี้มีกรณีพิพาทกับไทย ทั้งกรณีพิพาทเรื่องปราสาทเขาพระวิหาร และการกวาดล้างชาวไทยเกาะกงในจังหวัดเกาะกง การปกครองระบอบสังคมของพระองค์สิ้นสุดลงเมื่อถูกรัฐประหาร โดยลน นล เมื่อ พ.ศ. 2513 ซึ่งได้จัดตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรขึ้นแทน พระนโรดม สีหนุต้องลี้ภัยไปจัดตั้งรัฐบาลราชอาณาจักรกัมพูชาพลัดถิ่น ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

สาธารณรัฐเขมรและสงคราม

สงครามกลางเมืองกัมพูชา เป็นความขัดแย้งระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา (เขมรแดง) สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม (เวียดนามเหนือ) และเวียดกงฝ่ายหนึ่งกับรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) อีกฝ่ายหนึ่ง

สงครามนี้ซับซ้อนยิ่งขึ้นจากอิทธิพลและการกระทำของพันธมิตรคู่สงคราม การเข้ามีส่วนเกี่ยวข้องของกองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) เป็นไปเพื่อป้องกันฐานที่มั่นทางตะวันออกของกัมพูชา ซึ่งหากเสียไปการดำเนินความพยายามทางทหารในเวียดนามใต้จะยากขึ้น หรัฐประหาร 18 มีนาคม พ.ศ. 2513 ทำให้รัฐบาลนิยมอเมริกาและต่อต้านเวียดนามเถลิงอำนาจ และยุติความเป็นกลางในสงครามเวียดนาม กองทัพเวียดนามเหนือจึงถูกคุกคามจากทั้งรัฐบาลกัมพูชาใหม่ที่ไม่เป็นมิตรทางตะวันตก และกองกำลังสหรัฐและเวียดนามใต้ในเวียดนามทางตะวันออก

หลังจากการสู้รบผ่านไป 5 ปี รัฐบาลฝ่ายสาธารณรัฐเขมรพ่ายแพ้เมื่อ 17 เมษายน พ.ศ. 2518 และเขมรแดงได้ประกาศตั้งกัมพูชาประชาธิปไตย ความขัดแย้งนี้แม้จะเป็นการสู้รบในประเทศ แต่ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเวียดนาม (พ.ศ. 2502 – 2518) และมีความเกี่ยวข้องกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างราชอาณาจักรลาว เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ สงครามกลางเมืองนี้นำไปสู่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกัมพูชา

กัมพูชาประชาธิปไตยและเขมรแดง

ดูบทความหลักที่: กัมพูชาประชาธิปไตย

กัมพูชาประชาธิปไตย (ฝรั่งเศส: Kampuchea démocratique, เขมร: កម្ពុជាប្រជាធិបតេយ្យ ก็อมปูเจียประเจียทิปะเต็ย ) คือชื่อของประเทศกัมพูชาระหว่างปี พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2522 ซึ่งเกิดจากการโค่นล้มรัฐบาลสาธารณรัฐเขมรของนายพลลอลนอล และได้จัดปกครองในรูปแบบรัฐคอมมิวนิสต์โดยพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาหรือเขมรแดง ในสมัยนี้องค์กรของรัฐบาลจะถูกอ้างถึงในชื่อ "อังการ์เลอ" (องฺคการเลี - องค์การบน หรือ หน่วยเหนือ)[1] ส่วนพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชานั้น แกนนำของพรรคให้เรียกชื่อว่า "อังการ์ปะเดะวัด" (องฺคการปฏิวัตฺติ - องค์การปฏิวัติ)[2] โดยผู้นำสูงสุดของประเทศที่ครองอำนาจยาวนานที่สุดคือนายพล พต ซึ่งเป็นผู้นำสูงสุดของเขมรแดงด้วย

ในปี พ.ศ. 2522 กองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชาภายใต้การนำของเฮง สัมริน และกองทัพเวียดนามได้รุกเข้ามาทางชายแดนตอนใต้ของกัมพูชาและสามารถโค่นล้มรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยได้สำเร็จ พร้อมทั้งได้จัดการปกครองประเทศใหม่ในชื่อ สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา กองทัพเขมรแดงจึงได้ถอยร่นไปตั้งมั่นในทางภาคเหนือของประเทศและยังคงจัดรูปแบบการปกครองตามระบบของกัมพูชาประชาธิปไตยเดิมต่อไป

สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา

ดูบทความหลักที่: สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา

สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา (อังกฤษ: People's Republic of Kampuchea; PRK; ภาษาเขมร:សាធារណរដ្ឋប្រជាមានិតកម្ពុជា สาธารณรฏฺฐปฺรชามานิตฺกมฺพูชา) เป็นรัฐบาลที่จัดตั้งในกัมพูชาโดยแนวร่วมสามัคคีประชาชาติกู้ชาติกัมพูชา ซึ่งเป็นกลุ่มของกัมพูชาฝ่ายซ้ายที่อยู่ตรงข้ามกับกลุ่มของเขมรแดง ล้มล้างรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยของพล พต โดยร่วมมือกับกองทัพของเวียดนาม ทำให้เกิดการรุกรานเวียดนามของกัมพูชา เพื่อผลักดันกองทัพเขมรแดงออกไปจากพนมเปญ มีเวียดนามและสหภาพโซเวียตเป็นพันธมิตรที่สำคัญ

สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาไม่ได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติเพราะไม่ได้รับการสนับสนุนจากจีน อังกฤษและสหรัฐอเมริกา ที่นั่งในสหประชาชาติของประเทศกัมพูชาในขณะนั้นเป็นของแนวร่วมเขมรสามฝ่ายที่จัดตั้งรัฐบาลผสมกัมพูชาประชาธิปไตย ซึ่งกลุ่มเขมรแดงของพล พตเข้าร่วมกับกลุ่มที่ไม่ใช่คอมมิวนิสต์อีก 2 กลุ่ม คือ กลุ่มของนโรดม สีหนุ และซอน ซาน อย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาได้ประกาศเป็นรัฐบาลของกัมพูชาระหว่าง พ.ศ. 2522-2536 โดยมีความสัมพันธ์กับต่างประเทศที่จำกัด

สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐกัมพูชา (State of Cambodia; SOC; ภาษาเขมร:រដ្ឋកម្ពុជា) ในช่วงสี่ปีสุดท้าย เพื่อให้เกิดการยอมรับในระดับนานาชาติ ในขณะเดียวกันได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงระบบจากระบบรัฐเดียวไปสู่การฟื้นฟูราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ ในช่วง พ.ศ. 2522 - 2534 โดยนิยมลัทธิมากซ์-เลนินแบบสหภาพโซเวียต การก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศกำลังอ่อนแอ จากการทำลายล้างของระบอบเขมรแดง และเป็นรัฐหุ่นเชิดของเวียดนามที่เข้ามาแทรกแซงทางเศรษฐกิจ จนรัฐบาลของสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาเข้มแข็ง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเป็นรัฐที่ต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยวแต่ก็ฟื้นฟูและสร้างชาติกัมพูชาได้ใหม่

กัมพูชายุคใหม่

ดูบทความหลักที่: กัมพูชายุคใหม่

หลังการล่มสลายของกัมพูชาประชาธิปไตย กัมพูชาตกอยู่ภายใต้การรุกรานของเวียดนามและรัฐบาลที่นิยมฮานอยซึ่งก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา สงครามกลางเมืองหลัง พ.ศ. 2523 เป็นการสู้รบระหว่างกองทัพประชาชนปฏิวัติกัมพูชาของรัฐบาลกับแนวร่วมเขมรสามฝ่ายซึ่งถือเป็นรัฐบาลพลัดถิ่นของกลุ่มต่างๆสามกลุ่มคือ พรรคฟุนซินเปกของพระนโรดม สีหนุ พรรคกัมพูชาประชาธิปไตยหรือเขมรแดง และแนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติประชาชนเขมร มีการเจรจาสันติภาพตั้งแต่ พ.ศ. 2532 และนำไปสู่การประชุมสันติภาพที่ปารีสเพื่อสงบศึกใน พ.ศ. 2534 ในที่สุดมีการจัดการเลือกตั้งโดยสหประชาชาติใน พ.ศ. 2536 เพื่อเริ่มต้นฟื้นฟูประเทศ พระนโรดม สีหนุกลับมาเป็นกษัตริย์อีกครั้ง มีการจัดตั้งรัฐบาลผสม หลังจากมีการเลือกตั้งโดยปกติใน พ.ศ. 2541 การเมืองมีความมั่นคงขึ้น หลังการล่มสลายของเขมรแดง ใน พ.ศ. 2541

อ้างอิง

  1. ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. สยามประเทศไทยกับดินแดนกัมพูชาและลาว. กทม. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ฯ. 2552. หน้า 29-44
  2. นภดล ชาติประเสริฐ. เจ้านโรดม สีหนุกับนโยบายความเป็นกลางของกัมพูชา. สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย. 2540

ประว, ศาสตร, มพ, ชา, เร, มต, งแต, คของอาณาจ, กรฟ, อาณาจ, กรเจนละ, ฒนามาส, คเม, องพระนคร, งม, ความย, งใหญ, จนสามารถสร, างนครว, นครธม, เป, นศ, นย, กลางของอาณาจ, กร, จนกระท, งพ, ายแพ, แก, อย, ธยากลายเป, นร, ฐบรรณาการของอย, ธยา, จนเม, อฝร, งเศสเข, ามาม, อำนาจในอ, . prawtisastrkmphucha erimtngaetyukhkhxngxanackrfunn xanackrecnla phthnamasuyukhemuxngphrankhr sungmikhwamyingihycnsamarthsrangnkhrwd nkhrthm epnsunyklangkhxngxanackr cnkrathngphayaephaekxyuthyaklayepnrthbrrnakarkhxngxyuthya cnemuxfrngessekhamamixanacinxinodcin kmphuchaklayepnrthinxarkkhakhxngfrngess aelaepnrthinxarkkhakhxngyipunchwngsngkhramolkkhrngthi 2 emuxsinsudsngkhramolk kmphuchaidepnpraethsexkrach aetekidkhwamsbsnwunwayphayinpraethsenuxngcakkhwamkhdaeyngphayin praethstkxyuphayitkarpkkhrxngkhxngekhmraedngxyurayahnung cnkxngkalngkhxngehngsmrinthimiewiydnamhnunhlngekhamakhbilekhmraedngxxkip aelakarekhamaiklekliykhxngshprachachati ephuxyutisngkhramklangemuxngprawtisastrkmphuchaprawtisastryukhaerkxanackrfunan 611 1093 xanackrecnla 1093 1345 ckrwrrdiekhmr 1345 1974 yukhmudsmyctumukh 1974 2068 smylaaewk 2068 2136 smysrisnthr 2136 2162 smyxudng 2162 2406 yukhrthinxarkkhaithyaelaewiydnamxananikhmfrngess 2406 2496 swnhnungkhxngxinodcinfrngessyukhyipunyudkhrxng 2484 2489 hlngidrbexkrachsngkhramklangemuxngkmphucha 2510 2518 rthprahar ph s 2513satharnrthekhmrsngkhramewiydnam ph s 2513yukhekhmraedng 2518 2519 sngkhramkmphucha ewiydnam 2518 2532 satharnrthprachachnkmphucha 2522 2536 karcdkareluxktngodyshprachachatirachxanackrkmphucha 2536 pccubn hlngkareluxktng ph s 2536twelkhinwngelb hmaythung piphuththskrachdkhk enuxha 1 yukhkxnprawtisastrkhxngkmphucha 2 xanackrfunn 3 xanackrecnla 4 ckrwrrdiekhmr 5 yukhmudkhxngkmphucha 6 kmphuchainthanaxananikhmkhxngfrngess 7 karpkkhrxngyukhaerkkhxngsihnu 8 satharnrthekhmraelasngkhram 9 kmphuchaprachathipityaelaekhmraedng 10 satharnrthprachachnkmphucha 11 kmphuchayukhihm 12 xangxingyukhkxnprawtisastrkhxngkmphucha aekikhdubthkhwamhlkthi prawtisastryukhaerkkhxngkmphucha khwamruekiywkbyukhkxnprawtisastrkhxngkmphuchannmixyunxymak aehlngobrankhdiekaaekthisudkhxngkmphuchathikhnphbinpccubn khux tha aelng saepn Laang Spean thangtawnxxkechiyngehnuxkhxngpraeths sungechuxwaphukhnerimekhamatngthinthanknemuxpraman 7 000 pikxnkhristkal aelaaehlngobrankhdisaorng esn Samrong Sen sungechuxwaerimmiphukhnekhamatngthinthanemuxraw 230 thung 500 pikxnkhristkalchawkmphuchaerimruckkareliyngstwaelaephaaplukkhawidtngaetemuxraw 2 000 kxnkhristkal samarththaekhruxngmuxcakehlkidtngaetraw 600 pikxnkhristkal kxnhnathixiththiphlcakwthnthrrmxinediycaaephnekhamathungdinaednaethbni inrawpithi 100 kxnkhristkalhlkthanthangobrankhdibngchiwaphunthihlayswnkhxngdinaednpraethskmphuchainpccubnerimmiphukhnxasyxyutngaetemuxrawshswrrsaerkaelashswrrsthi 2 kxnkhristkal odycdepnwthnthrrmyukhhinihm sungphukhnklumnixacxphyphmacakthangphunthitawnxxkechiyngitkhxngcin inkxnchwngkhriststwrrsaerk phukhninaethbidmiwiwthnakarsukartngthinthanepnhlkaehlng mikarcdokhrngsrangkhxngsngkhmxyangepnrabb sungthaihsamarthphthnathksawithyakartang idkawhnakwayukhkxn epnxyangmak klumthimiphthnakarkawhnathisudxasyxyuinbriewnchayfng thirablumaemnaokhngtxnlang aelabriewnsamehliympakaemnaokhng samarthephaaplukkhawaelaeliyngpsustwid nkprawtisastrhlaykhnmikhwamehnwa phukhnklumniidtnghlkaehlngxasykxnhnaphukhninpraethsephuxnban khux ewiydnam ithy aelalawphukhnklumnixaccdxyuinklumxxsotrexechiytik Austroasiatic hruxxyangnxykmikhwamsmphnthkbbrrphburuskhxngmnusyklumdngklaw sungepnklumkhnthixasyxyuthwipindinaednexechiytawnxxkechiyngitaelaekaaaekngtang khxngmhasmuthraepsifikinpccubn phukhnehlanimikhwamruinnganolha echnehlkaelasarid odyepnepnthksathikhidkhnkhunexng nganwicyinpccubnidkhnwa chawkmphuchainyukhnisamarthprbprungsphaphphumipraethsmatngaetyukhhinihm odypraktrupaebbepnphunthirupwngklmkhnadihyxanackrfunn aekikhdubthkhwamhlkthi xanackrfunan xanackrfunnepnrththirungeruxngxyurahwangkhriststwrrsthi 1 6 thitngkhxngrthxyubriewnlumaemnaokhngtxnlang pccubnepnthitngpraethskmphucha ewiydnamtxnit phakhtawnxxkechiyngehnuxkhxngithy bangtxnkhxnglumaemnaecaphraya aelaphakhitkhxngithy lngmathungaehlmmlayu funanrwmtwknepnrthaerkkhxngexechiytawnxxkechiyngit epnrthchlprathanphayinaephndinthiprachachndarngchiphdwykarekstr odyichnacakrabbchlprathanthiphthnaepnxyangdi nxkcaknn funanyngmiemuxngthasahrbcxderuxaelakhakhaytangpraeths funan cungmirayidcakkarkhakhay karedineruxxikdwyeruxngrawkhxngrthfunan thrabcakbnthukkhxngchawcinthiedinthangmaaethbni idekhiynelathungkhwammngkhng khwamepnxyuinchumchnthimiraebiyb mikhunthrrm mikarpkkhrxngrabxbkstriy miemuxngtang makhundwyhlayemuxng miwthnthrrmaeth khxngtnexng mikartidtxkbchawtangpraeths thnginthwipexechiydwykn aelaolktawntk chnchnsungepnphwkmalaoyophliniesiyn chawcinwaphwkchnchnphunemuxngkhxngfunnhnatahnaekliyd twelk phmhyik snnisthanwanacaepnphwkenkriotaelaemlaniesiyn funanmiprawtikhwamepnma erimcakkarrwmtwknkhxngphukhn epnchumchnelkkhnadhmuban cakhmubanphthnakhunmaepnrth withikarphthnacaksngkhmephaepnsngkhmrthmipccyaelakhntxnhlayprakarxanackrecnla aekikhdubthkhwamhlkthi xanackrxisanpura inrahwang ph s 1170 1250 nnxanackrkhxmmikstriykhrxngrachykhux phraecaphwwrmnthi 2 phraoxrskhxngphraecaxisanwrmnthi 2 aelaphraecachywrmnthi 1 oxrskhxngphraecaphwwrmnthi 2 yukhniidsrangsilpkhxmaebbiphrkemng khunrahwangph s 1180 1250smyphraecachywrmnthi 1 nnxanackrecnla ecnla nnidaetkaeykepnphwkecnlabkkhuxxyulumnaokhngtxnit aelaphwkecnlana xyuindinaednlawtxnklang ph s 1250 1350 yukhniidmikarsrangsilpkhxmaebbkaphngphrakhunxanackrkhxmnnlmslaymacnthungrchsmyphraecachywrmnthi 2 hruxphraecapremswrph s 1345 1393 phraxngkhidrwbrwmphwkecnlabkaelaphwkecnlanaepnxanackrihmodyrbexalththiselnthrhrux ethwrachaekhamathakarsthanpnaxanackrihmkhun odythakarsrangrachthanikhunihmhlayaehngaelasrangprasathhinhruxethwalyepnkarihy sungmiehtukarnyayrachthanikhunhlaykhrngcnkwacalngtwthiemuxnghrihralyrachthaniaehngaerkkhxngxanackrkhxm txmakhux emuxngyosthrpura aela emuxngnkhrthminthisud dwyehtunixanackrkhxmsmynicungrungeruxngdwykarsrangrachthanikhunhlayaehngaelamiprasathhinthiepnsilpkhxmekidkhunhlayaebb klawkhux smyphraecachywrmnthi 2 nnphraxngkhidthakarsrangemuxngxinthrpuraepnrachthani khunthibriewniklemuxngkaaephngcam srangemuxnghrihralyhruxrxlwy epnrachthani srangemuxngxmernthrpura epnrachthani aelasrangemuxngmehnthrbrrpht hrux phnmkuelnepnrachthani yukhniidsrangsilpkhxmaebbkuelnkhunrahwangph s 1370 1420emuxsinrchkalphraecachywrmnthi 2 phraoxrsidkhrxngrachythrngphranamwaphraecachywrmnthi 3 hrux phraecawisnuolk khrxngrachy ph s 1393 1420 phraxngkhidklbmaichemuxnghrihralyhruxrxlxy epnrachthani txmacnthungrchkalphraecaxinthrwrmnthi 1 hrux phraecaxiswrolk khrxngrachyph s 1420 1432 yukhniidsrangsilpkhxmaebbphraokhkhuninph s 1420 1440insmyphraecayoswrmnthi 1 hrux phraecabrmsiwolk phraoxrskhxngphraecaxinthrwrmnthi 1 sungkhrxngrachyepnkstriykhxminph s 1432 1443 nn phraxngkhidsrangemuxngyosthrpurahruxemuxngphrankhraehngaerkkhunthiekhaphnmbaekhng emuxph s 1436 sungxyuthangtxnehnuxthaelsabemuxngesiymrath emuxngnikhnithyeriyk esiymrath karsrangprasathhinkhunbnekhaphnmbaekhngnn epnxiththiphlkhxngsasnaphrahmnhruxhinduthiaephxiththiphlekhamayngdinaednaethbni sungthuksmmtikhunepnsunyklangkhxngckrwaltamkhwamechuxnn nbepnsilpkhxmaebbbaekhngemuxngyosthrpura rachthaniaehngnimikstriykhrxngrachytxmakhux phraecahrrswrmnthi 1 hrux phraecaruthrolk phraoxrskhxngphraecayoswrmnthi 1 khrxngrachy ph s 1443 1456 aelaphraecaxisanwrmnthi 2 hruxphraecabrmruthrolk phraxnuchakhxngphraecahrrswrmnthi 1 khrxngrachy ph s 1 456 1468 cungekidehtukarnepliynaephndininthisudphraecachywrmnthi 4 hruxphraecabrmsiwbth sungepnnxngekhykhxngphraecayoswrmnthi 1 idkhunkhrxngrachyepnkstriyxanackrkhxminph s 1471 1485 phraxngkhidsrangrachthanikhunthiemuxngochkkarykyarhruxekaaaekr aelaphraecahrrswrmnthi 2hruxphraecaphrhmolk phraoxrskhxngxngkhidkhrxngrachytxmarahwangph s 1485 1487 yukhniidsrangsilpkhxmaebbekaaaekr ph s 1465 1490 txmaphraecaraechnthrwrmn hruxphraecasiwolk phranddakhxngphraecayoswrmnthi 1 idkhrxngrachyinph s 1487 1511 idyayrachthanimathiemuxngyosthrpura hruxemuxngphrankhraehngaerk yukhniidsrangsilpkhxmaebbaeprrup ph s 1490 1510emuxngyosthrpura rachthaniekaaehngnimikstriykhrxngrachytxmahlayphraxngkh idaek phraecachywrmnthi 5 hruxphrabrmwirolk sungepnphranddakhxngphraecaraechnthrwrmn khrxngrachyph s 1511 1544 smynisrangsilpkhxmaebbbnthaysri ph s 1510 1550 khun phraecaxuthythitywrmnthi 2 phranddakhxngphraecachywrmnthi 5 khrxngrachy ph s 1544 srangsilpkhxmaebbkhlngkhunph s 1510 1560 phraecachywirwrmn khrxngrachyph s 1545 swrrkhtph s 1553 phraecasuriywrmnthi 1 khrxngrachy ph s 1545 1593smyniphraxngkhidthakarsthapnarachwngskhunihm aelanacamikarsrangemuxngphrankhrkhunihmepnaehngthisxngepnyukhthisrangsilpaebbpabwnkhunichinph s 1560 1630 emuxngphrankhraehngthisxngni yngimmiraylaexiyd cungsrupimidwaxyuthiidindinaednphayphnn edimhwemuxngfayehnuxthnghmdepnthinthixyukhxngchnchatilaw khrnemuxkhxmmixanackhyayxanackrmasudinaednphayph cungtngemuxnglaowihecankhrkhxmkhxyduael aelaphranangcamethwiphrathidakhxngecaphukhrxngemuxnglaowidkhunipkhrxngemuxnghriphuychy emuxnglaphun sungepnemuxnglukhlwngkhxngkhxmlaow phrathidaecaphukhrxngemuxngnicungidpkkhrxngphwklawthngpwnginmnthlphayph emuxnghriphuychy emuxnglaphun cungepnemuxnglukhlwngkhxngkhxmlaow thitngkhunephuxichduaeldinaednphayph txmaidtngemuxngnkhrekhlangkh emuxnglapang khunaelapkkhrxngrwmknckrwrrdiekhmr aekikhdubthkhwamhlkthi ckrwrrdikhaemr ckrwrrdikhaemr hrux xanackrekhmr hruxbangaehlngeriykwa xanackrkhxm epnhnunginxanackrobran erimtnkhun rawphuththstwrrsthi 6 odyerimcakxanackrfunn mithitngxyuinbriewnpraethskmphucha odymixanaekhtkhrxbkhlumphunthibangswnkhxng praethsithy law aelabangswnkhxngewiydnaminpccubn nbepnxanackrthimiaesnyanuphaphmakthisudinexechiytawnxxkechiyngit txmaidxxnkalnglngcnesiydinaednbangswnihkbxanackrsuokhthyaelaaetkslayinthisudemuxtkepnemuxngkhunkhxngxanackrxyuthya xanackrkhxmsubthxdxanaccakxanackrecnla misngkhramphldknaephphldknchnakbxanackrkhangekhiyng echn xanackrlanchang xanackrxyuthya aelaxanackrcampa mrdkthisakhythisudkhxngxanackrkhxmkhux nkhrwd aela nkhrthm sungekhyepnnkhrhlwngemuxkhrngxanackraehngnimikhwamecriyrungeruxngthisud aelayngmilththikhwamechuxtang xyanghlakhlay sasnahlkkhxngxanackrniidaek sasnahindu phuththsasnamhayan aelaphuththsasnaethrwathsungidrbcaksrilngka emuxkhriststwrrsthi 13yukhmudkhxngkmphucha aekikhdubthkhwamhlkthi yukhmudkhxngkmphucha xanackrekhmrcturmukh xanackrekhmrlaaewk xanackrekhmrsrisunthr aela xanackrekhmrxudng yukhmudkhxngkmphucha erimtngaetxanackrxyuthyaidocmtixanackrekhmr aela idepha phrankhr emuxnghlwngkhxngxanackrekhmr rabepnhnaklxng thaihxanackrekhmrepnswnhnungkhxngsyampraethstngaetbdnnma ekhmrepnswnhnungkhxngxanackrxyuthyainthanadinaednpraethsrach xanackrxyuthyapkkhrxngekhmrepnewlaekuxb 400 pi txmainsmykrungthnburiaelakrungrtnoksinthrekhmrtkxyuphayitkarkhwbkhumkhxngckrwrrdisyamxyangekhmngwd insmyrchkalthi3 idekid sngkhramxanamsyamyuthththaihkmphuchaepnrthxarkkharahwangsyamkbywn kxnthicatkepnkhxngfrngessinewlatxmakmphuchainthanaxananikhmkhxngfrngess aekikhdubthkhwamhlkthi kmphuchainxarkkhakhxngfrngess xinodcinkhxngfrngess karyudkhrxngkmphuchakhxngyipun aela ekhmrxisra kmphuchatkepnrthinxarkkhakhxngfrngesstamsnthisyyaxarkkharahwangfrngess kmphuchaemux 11 singhakhm ph s 2406 insmyphranordm odysyamphyamyamkhdkhanaetimepnphlsaerc inchwngaerk frngesspkkhrxngkmphuchaodyimekhaipekiywkhxngkbkickarphayinmaknk aelachwykhacunrachbllngkkhxngkmphucha odychwyprabkbttang cn ph s 2426 2427 hlngcakyudkhrxngewiydnamidthnghmd odyphyayamlidrxnxanackhxngkstriyaelaykelikrabbiphrthas thaihekidkartxtancakprachachnxyangrunaerng cntxngecrcakbphranordm kstriyinkhnann ihprakassntiphaph aelarangbkaraethrkaesngkmphucha cnkrathngphranordmswrrkht frngessidsnbsnunihphrasisuwtthkhunepnkstriy phrxmthngmxbxanackarpkkhrxngthnghmdihfrngess 1 hlngcakfrngessekhapkkhrxngkmphuchaemux ph s 2406 frngessepliynaeplngrabbesrsthkicinewiydnam odyprbprungkarekbphasi sungthaihekidkhwamimphxicinhmuchawkmphucha aelayngnachawewiydnamekhamathanganepnecahnathiinrabbrachkarkhxngfrngess aelaepnaerngnganthangdanekstrkrrmrahwangsngkhramolkkhrngthisxng chwngklangpi ph s 2484 kxngthphyipunekhluxnekhasukmphuchaaetyxmihrthbalwichipkkhrxngdngedim rthbalithyinsmycxmphl p phibulsngkhramideriykrxngdinaednbangswninlawaelakmphuchakhuncakfrngesscnnaipsukrniphiphathxinodcinfrngessthierimkhunemux 19 thnwakhm ph s 2484 inthisud yipunekhamaiklekliyodythiithyidcnghwdphratabxng esiymrathaelabangswnkhxngcnghwdstungaetrng ykewnprasathnkhrwdyngxyuinekhtaednkhxngfrngess phrasisuwtthi muniwngskstriykmphuchasinphrachnmhlngkrniphiphathniimnan frngesseluxkphranordm sihnukhunepnkstriythngthiyngthrngphraeyaw txma yipunidsnbsnunkarcdtngrthbalhunechidinwnthi 9 minakhm ph s 2488 kmphuchaidprakasexkrachphayitwngiphbulyaehngmhaexechiyburphakhxngyipun odymiphranordm sihnuepnpramukhrth hlngcakyipunyxmaephemuxeduxnsinghakhm ph s 2488 kxngthphfaysmphnthmitridekhamainphnmepy sthapnaxanackhxngfrngessinkmphuchaxikrthbalfrngessxisraidtdsinicthicarwmxinodcinekhakbshphaphfrngess inphnmepy phranordm sihnuphyayamecrcakbfrngessephuxeriykrxngexkrachthismburn inkhnathiklumtxtanthieriyktnexngwaekhmrxisra idichkarsurbaebbkxngocrtamaenwchayaedn odyidrwmmuxkbklumfaysaythngthiniymaelaimniymewiydnam rwmthngklumekhmresrisungepnklumtxtanrachwngskhxngesing ngxkthydwy in ph s 2489 frngessyxmihmikarcdtngphrrkhkaremuxnginkmphucha aelaihmikareluxktngphayinpraeths phranordm sihnuyngkhngtxsuephuxeriykrxngexkrachihkmphuchaepnxisracakshphaphfrngess cnfrngessphayaephinsngkhramxinodcinkhrngthihnung cungyxmmxbexkrachihaekkmphuchakarpkkhrxngyukhaerkkhxngsihnu aekikhdubthkhwamhlkthi rachxanackrkmphucha ph s 2497 2513 hlngkarprachumecniwaidmikareluxktngkhuninpraethskmphuchain ph s 2498 odymikhnakrrmkarkhwbkhumnanachatiepnphusngektkarn inwnthi 2 minakhm ph s 2498 phranordm sihnuidprakasslarachsmbtiihphrabidakhxngphraxngkhkhuxphrabathsmedcphranordm suramvt aelathrngtngphrrkhkaremuxngkhunkhuxphrrkhsngkhmrasdrniymhruxrabxbsngkhm smachikswnihyepnfaykhwa sungtxtankhxmmiwnistdwykhwamrunaerng aetkmismachikfaysayphayinphrrkh echn ekhiyw smphn hu ywn ephuxthwngdulkbfaykhwa kareluxktngineduxnknyayn ph s 2498 phrrkhsngkhmchnakareluxktngodyid 83 khxngthinngthnghmdinsphanxkcaknn phranordm sihnu yngdaeninnoybaythicadungfaysayaelafaykhwaklumtang ihekharwmkbrabxbsngkhmkhxngphraxngkh aelakddnphuthiimyxmekharwmkbphraxngkh tngaet ph s 2503 epntnip xngkhkrthitxtanrabxbkhxngphranordm sihnuthukphlkdnihklayepnxngkhkritdin phrrkhthiepnexkethskhxngfaysay echn krmprachachnklayepnepahmaykhxngkarocmti sthaniwithyuaehngchatiidxxkprakaswakrmprachachnepnhunechidkhxngewiydnam mikartidopsetxrtxtankrmprachachnodythwip hnngsuxphimphkhxngfaytxtanphraxngkh echn hnngsuxphimph l Observateur aelahnngsuxphimphxunthimienuxhaiklekhiyngknthuksngpidineduxnminakhm ph s 2506 phranordm sihnuidprakaschuxkhxngfaysaycanwn 34 khn waepnphwkkhikhlad hlxklwng kxwinaskrrm hwhnakbt aelaepnkhnthrys phlthitammathaihkhbwnkarfaysaytxngxxkcakemuxnghlwngiptngmninchnbthkardaeninnoybaytangpraethskhxngphranordm sihnu epnkardaeninnoybayimfkiffayid aetmiaenwonmepnptipkskbithyaelaewiydnamit inkhnathiepnmitrkbcinaelasnbsnunewiydnamehnuxinsngkhramewiydnam 2 kmphuchainsmynimikrniphiphathkbithy thngkrniphiphatheruxngprasathekhaphrawihar aelakarkwadlangchawithyekaakngincnghwdekaakng karpkkhrxngrabxbsngkhmkhxngphraxngkhsinsudlngemuxthukrthprahar odyln nl emux ph s 2513 sungidcdtngrthbalsatharnrthekhmrkhunaethn phranordm sihnutxngliphyipcdtngrthbalrachxanackrkmphuchaphldthin thikrungpkking praethscinsatharnrthekhmraelasngkhram aekikhdubthkhwamhlkthi satharnrthekhmr aela sngkhramklangemuxngkmphucha sngkhramklangemuxngkmphucha epnkhwamkhdaeyngrahwangphrrkhkhxmmiwnistkmphucha ekhmraedng satharnrthprachathipityewiydnam ewiydnamehnux aelaewiydkngfayhnungkbrthbalsatharnrthekhmrthiidrbkarsnbsnuncakshrthxemrikaaelasatharnrthewiydnam ewiydnamit xikfayhnungsngkhramnisbsxnyingkhuncakxiththiphlaelakarkrathakhxngphnthmitrkhusngkhram karekhamiswnekiywkhxngkhxngkxngthphprachachnewiydnam kxngthphewiydnamehnux epnipephuxpxngknthanthimnthangtawnxxkkhxngkmphucha sunghakesiyipkardaeninkhwamphyayamthangthharinewiydnamitcayakkhun hrthprahar 18 minakhm ph s 2513 thaihrthbalniymxemrikaaelatxtanewiydnamethlingxanac aelayutikhwamepnklanginsngkhramewiydnam kxngthphewiydnamehnuxcungthukkhukkhamcakthngrthbalkmphuchaihmthiimepnmitrthangtawntk aelakxngkalngshrthaelaewiydnamitinewiydnamthangtawnxxkhlngcakkarsurbphanip 5 pi rthbalfaysatharnrthekhmrphayaephemux 17 emsayn ph s 2518 aelaekhmraedngidprakastngkmphuchaprachathipity khwamkhdaeyngniaemcaepnkarsurbinpraeths aetkthuxepnswnhnungkhxngsngkhramewiydnam ph s 2502 2518 aelamikhwamekiywkhxngkbpraethsephuxnbanxyangrachxanackrlaw ewiydnamehnuxaelaewiydnamit sngkhramklangemuxngninaipsukarkhalangephaphnthuchawkmphuchakmphuchaprachathipityaelaekhmraedng aekikhdubthkhwamhlkthi kmphuchaprachathipity kmphuchaprachathipity frngess Kampuchea democratique ekhmr កម ព ជ ប រជ ធ បត យ យ kxmpueciypraeciythipaety khuxchuxkhxngpraethskmphucharahwangpi ph s 2519 ph s 2522 sungekidcakkarokhnlmrthbalsatharnrthekhmrkhxngnayphllxlnxl aelaidcdpkkhrxnginrupaebbrthkhxmmiwnistodyphrrkhkhxmmiwnistkmphuchahruxekhmraedng insmynixngkhkrkhxngrthbalcathukxangthunginchux xngkarelx xng khkareli xngkhkarbn hrux hnwyehnux 1 swnphrrkhkhxmmiwnistkmphuchann aeknnakhxngphrrkhiheriykchuxwa xngkarpaedawd xng khkarptiwt ti xngkhkarptiwti 2 odyphunasungsudkhxngpraethsthikhrxngxanacyawnanthisudkhuxnayphl pht sungepnphunasungsudkhxngekhmraedngdwyinpi ph s 2522 kxngkalngphrrkhkhxmmiwnistkmphuchaphayitkarnakhxngehng smrin aelakxngthphewiydnamidrukekhamathangchayaedntxnitkhxngkmphuchaaelasamarthokhnlmrthbalkmphuchaprachathipityidsaerc phrxmthngidcdkarpkkhrxngpraethsihminchux satharnrthprachachnkmphucha kxngthphekhmraedngcungidthxyrniptngmninthangphakhehnuxkhxngpraethsaelayngkhngcdrupaebbkarpkkhrxngtamrabbkhxngkmphuchaprachathipityedimtxipsatharnrthprachachnkmphucha aekikhdubthkhwamhlkthi satharnrthprachachnkmphucha satharnrthprachachnkmphucha xngkvs People s Republic of Kampuchea PRK phasaekhmr ស ធ រណរដ ឋប រជ ម ន តកម ព ជ satharnrt thp rchamanit km phucha epnrthbalthicdtnginkmphuchaodyaenwrwmsamkhkhiprachachatikuchatikmphucha sungepnklumkhxngkmphuchafaysaythixyutrngkhamkbklumkhxngekhmraedng lmlangrthbalkmphuchaprachathipitykhxngphl pht odyrwmmuxkbkxngthphkhxngewiydnam thaihekidkarrukranewiydnamkhxngkmphucha ephuxphlkdnkxngthphekhmraedngxxkipcakphnmepy miewiydnamaelashphaphosewiytepnphnthmitrthisakhysatharnrthprachachnkmphuchaimidepnsmachikkhxngshprachachatiephraaimidrbkarsnbsnuncakcin xngkvsaelashrthxemrika thinnginshprachachatikhxngpraethskmphuchainkhnannepnkhxngaenwrwmekhmrsamfaythicdtngrthbalphsmkmphuchaprachathipity sungklumekhmraedngkhxngphl phtekharwmkbklumthiimichkhxmmiwnistxik 2 klum khux klumkhxngnordm sihnu aelasxn san xyangirktam satharnrthprachachnkmphuchaidprakasepnrthbalkhxngkmphucharahwang ph s 2522 2536 odymikhwamsmphnthkbtangpraethsthicakdsatharnrthprachachnkmphuchaepliynchuxepnrthkmphucha State of Cambodia SOC phasaekhmr រដ ឋកម ព ជ inchwngsipisudthay ephuxihekidkaryxmrbinradbnanachati inkhnaediywkniderimmikarepliynaeplngrabbcakrabbrthediywipsukarfunfurachxanackrkmphucha satharnrthprachachnkmphuchaepnrthkhxmmiwnist inchwng ph s 2522 2534 odyniymlththimaks elninaebbshphaphosewiyt karkxtngsatharnrthprachachnkmphuchaekidkhuninchwngthipraethskalngxxnaex cakkarthalaylangkhxngrabxbekhmraedng aelaepnrthhunechidkhxngewiydnamthiekhamaaethrkaesngthangesrsthkic cnrthbalkhxngsatharnrthprachachnkmphuchaekhmaekhng xyangirktam aemwaepnrththitxngxyuxyangoddediywaetkfunfuaelasrangchatikmphuchaidihmkmphuchayukhihm aekikhdubthkhwamhlkthi kmphuchayukhihm hlngkarlmslaykhxngkmphuchaprachathipity kmphuchatkxyuphayitkarrukrankhxngewiydnamaelarthbalthiniymhanxysungkxtngsatharnrthprachachnkmphucha sngkhramklangemuxnghlng ph s 2523 epnkarsurbrahwangkxngthphprachachnptiwtikmphuchakhxngrthbalkbaenwrwmekhmrsamfaysungthuxepnrthbalphldthinkhxngklumtangsamklumkhux phrrkhfunsinepkkhxngphranordm sihnu phrrkhkmphuchaprachathipityhruxekhmraedng aelaaenwrwmpldplxyaehngchatiprachachnekhmr mikarecrcasntiphaphtngaet ph s 2532 aelanaipsukarprachumsntiphaphthiparisephuxsngbsukin ph s 2534 inthisudmikarcdkareluxktngodyshprachachatiin ph s 2536 ephuxerimtnfunfupraeths phranordm sihnuklbmaepnkstriyxikkhrng mikarcdtngrthbalphsm hlngcakmikareluxktngodypktiin ph s 2541 karemuxngmikhwammnkhngkhun hlngkarlmslaykhxngekhmraedng in ph s 2541xangxing aekikh tharngskdi ephchrelisxnnt syampraethsithykbdinaednkmphuchaaelalaw kthm mulnithiokhrngkartarasngkhmsastr 2552 hna 29 44 nphdl chatipraesrith ecanordm sihnukbnoybaykhwamepnklangkhxngkmphucha sankngankxngthunsnbsnunnganwicy 2540ekhathungcak https th wikipedia org w index php title prawtisastrkmphucha amp oldid 9529886, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม