fbpx
วิกิพีเดีย

การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ

การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ หรือ การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ (อังกฤษ: falsifiability, refutability) ของประพจน์ (บทความ, ข้อเสนอ) ของสมมติฐาน หรือของทฤษฎี ก็คือความเป็นไปได้โดยธรรมชาติที่จะพิสูจน์ว่ามันเป็นเท็จได้ ประพจน์เรียกว่า "พิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้" ถ้าเป็นไปได้ที่จะทำการสังเกตการณ์หรือให้เหตุผลที่คัดค้านลบล้างประพจน์นั้นได้

สมมติฐานว่า "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" จะพิสูจน์ว่าจริงได้อย่างไร? พิสูจน์ว่าเท็จได้หรือไม่?

ยกตัวอย่างเช่น เพราะปัญหาของการอุปนัย (วิธีการใช้เหตุผลที่ดำเนินจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม) ไม่ว่าจะมีจำนวนการสังเกตการณ์เท่าไร ก็จะไม่สามารถพิสูจน์การกล่าวโดยทั่วไปได้ว่า "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" แต่ว่า มันเป็นไปได้โดยตรรกะหรือโดยเหตุผลที่จะพิสูจน์ว่าเท็จ เพียงโดยสังเกตเห็นหงส์ดำตัวเดียว ดังนั้น คำว่า "พิสูจน์ว่าเท็จได้" บางที่ใช้เป็นไวพจน์ของคำว่า "ตรวจสอบได้" (testability) แต่ว่าก็มีบางประพจน์ เช่น "ฝนมันจะตกที่นี่อีกล้านปี" ที่พิสูจน์ว่าเท็จได้โดยหลัก แต่ว่าทำไม่ได้โดยปฏิบัติ

เรื่องการพิสูจน์ว่าเท็จได้กลายเป็นจุดสนใจเพราะคตินิยมทางญาณวิทยาที่เรียกว่า "falsificationism" (คตินิยมพิสูจน์ว่าเท็จ) ของนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ-อเมริกัน ศ. ดร.คาร์ล ป็อปเปอร์ ที่โดยทั่วไปนับถือว่า เป็นนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในคริสต์ทศวรรษที่ 20 ผู้เน้นการแยกแยะระหว่างสิ่งที่เป็นวิทยาศาสตร์กับสิ่งที่ไม่ใช่ โดยใช้หลัก "การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้" เป็นกฎเกณฑ์ในการแยกแยะ คือ สิ่งที่พิสูจน์ว่าเป็นเท็จไม่ได้จัดว่าไม่ใช่วิทยาศาสตร์ และการอ้างทฤษฎีที่พิสูจน์ว่าเท็จไม่ได้ว่า เป็นเรื่องจริงทางวิทยาศาสตร์ จัดเป็นวิทยาศาสตร์เทียม (pseudoscience)

สาระสำคัญ

มุมมองคลาสสิกของปรัชญาวิทยาศาสตร์ก็คือ จุดมุ่งหมายของวิทยาศาสตร์ก็คือ เพื่อพิสูจน์สมมติฐาน เช่น สมมติฐานที่ว่า "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" หรือเพื่อจะอนุมานโดยหลักอุปนัย (induction) จากข้อมูลที่สังเกตได้ ดร.ป็อปเปอร์อ้างว่า นี่เป็นการอนุมานหลักทั่วไปจากกรณีย่อย ๆ จำนวนหนึ่ง ซึ่งใช้ไม่ได้ในตรรกะเชิงนิรนัย (deduction เป็นวิธีการใช้เหตุผลที่ดำเนินจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย) แต่ว่า ถ้าสามารถหาหงส์ที่ไม่ใช่สีขาวได้ แม้แต่ตัวเดียว ตรรกะเชิงนิรนัยย่อมยอมรับข้อสรุปว่า ประพจน์ "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" เป็นเท็จ ดังนั้น คตินิยมพิสูจน์ว่าเท็จ จึงพยายามตรวจสอบพิสูจน์สมมติฐานว่าเป็นเท็จ แทนที่จะพิสูจน์ว่าเป็นจริง

ถ้าจะตรวจสอบประพจน์หนึ่งโดยการสังเกตการณ์ ก็จำเป็นที่จะต้องเป็นไปได้อย่างน้อยโดยทฤษฎีที่จะได้การสังเกตการณ์ที่คัดค้านประพจน์ ดังนั้น ข้อสังเกตหลักของ falsificiationism ก็คือ ต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อใช้กำหนดแยกประพจน์ที่สามารถจะผิดไปจากสิ่งที่สังเกตได้ จากประพจน์ที่ไม่สามารถ ดร.ป็อปเปอร์เลือกคำว่า falsifiability (การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้) โดยเป็นชื่อของกฎเกณฑ์นั้น

ข้อเสนอของผลมีมูลฐานที่ "ความอสมมาตร" (asymmetry) ระหว่างการพิสูจน์ว่าเป็นจริงได้ (verifiability) กับการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ (falsifiability) เป็นอสมมาตรที่มีเหตุจากรูปแบบทางตรรกะของประพจน์สากล เพราะว่า ประพจน์เหล่านั้นไม่สามารถสืบมาจากประพจน์เดี่ยว ๆ ได้ แต่สามารถคัดค้านได้โดยประพจน์เดี่ยว ๆ

— The Logic of Scientific Discovery

แต่ ดร.ป็อปเปอร์เน้นว่า ประพจน์ที่พิสูจน์ว่าเท็จไม่ได้ก็ยังมีความสำคัญในวิทยาศาสตร์ คือแม้จะขัดกับความรู้สึกโดยสามัญ ประพจน์ที่พิสูจน์ว่าเท็จไม่ได้อาจจะอยู่ใน หรืออาจจะสืบกันโดยตรรกะกับ ทฤษฎีที่พิสูจน์ว่าเท็จได้ ยกตัวอย่างเช่น แม้ประพจน์ว่า "คนทุกคนต้องตาย" จะพิสูจน์ว่าเท็จไม่ได้ แต่มันเป็นผลโดยตรรกะของทฤษฎีที่พิสูจน์ว่าเท็จได้ คือ "คนทุกคนต้องตายก่อนที่จะถึงอายุ 150 ปี" และเช่นเดียวกัน แนวคิดอภิปรัชญาโบราณที่พิสูจน์ไม่ได้ ว่ามีอะตอม ในที่สุดก็กลายเป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์ปัจจุบันที่พิสูจน์ว่าเท็จได้ โดยเปรียบเทียบกับหลักปฏิฐานนิยม (Positivism) ซึ่งจัดว่า ประพจน์ไม่มีความหมายถ้าไม่สามารถพิสูจน์ว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จได้ ดร.ป็อปเปอร์อ้างว่า การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ เป็นกรณีพิเศษของแนวคิดที่ทั่วไปกว่าคือการจับผิดได้ (criticizability) ดังนั้น ตามแนวคิดนี้ประพจน์ยังมีความหมายอยู่ถ้ายังจับผิดได้แต่พิสูจน์ว่าเป็นเท็จไม่ได้ แม้ว่าเขาจะยอมรับว่า การปฏิเสธโดยหลักฐานเป็นวิธีที่ได้ผลที่สุดวิธีหนึ่งในการจับผิดทฤษฎี แต่ว่า เมื่อเทียบกับการพิสูจน์ว่าเท็จได้ การจับผิดได้และดังนั้นความมีเหตุผล (rationality) อาจจะเป็นเรื่องกว้าง ๆ คือไม่มีข้อจำกัดโดยตรรกะ แม้ว่า ข้ออ้างนี้จะยังเป็นเรื่องถกเถียงกันไม่จบแม้แต่ในกลุ่มคนสนับสนุนแนวทางปรัชญาของ ดร.ป็อปเปอร์

การพิสูจน์ว่าเท็จแบบสามัญ (Naive falsification)

ประพจน์บ่งว่ามีจริงและประพจน์สากล

ในงานเริ่มต้นในคริสต์ทศวรรษ 1930 ดร.ป็อปเปอร์เน้นการพิสูจน์ว่าเท็จได้ว่า เป็นกฎเกณฑ์ที่จำกัดประพจน์เชิงประสบการณ์ (empirical statemente) ในวิทยาศาสตร์ เขาเห็นประพจน์สองอย่าง ที่มีประโยชน์ต่อนักวิทยาศาสตร์ อย่างแรกเป็นแบบสังเกตการณ์ เช่น "มีหงส์ขาวอยู่ตัวหนึ่ง" นักตรรกศาสตร์เรียกประพจน์พวกนี้ว่า ประพจน์บ่งว่ามีจริงตัวหนึ่ง (singular existential statement) เพราะว่ายืนยันถึงความมีอยู่ของอะไรบางอย่าง ซึ่งเทียบเท่ากับประพจน์แคลคูลัสภาคแสดง (predicate calculus) ในรูปแบบ "มี ก อันหนึ่งโดยที่ ก เป็นหงส์ตัวหนึ่ง และ ก มีสีขาว"

อย่างที่สองเป็นประพจน์ที่รวบยอดอะไรอย่างหนึ่งทั้งหมด เช่น "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" นักตรรกศาสตร์เรียกประพจน์เหล่านี้ว่า ประพจน์สากล ซึ่งมักจะอยู่ในรูปแบบ "สำหรับ ก ทุกตัว ถ้า ก เป็นหงส์ตัวหนึ่ง ก ก็จะมีสีขาว" กฎวิทยาศาสตร์ปกติควรจะอยู่ในรูปแบบนี้ ปัญหาสำคัญของระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ก็คือ บุคคลจะระบุกฎจากสังเกตการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างไร คือ บุคคลจะอนุมานประพจน์สากล จากประพจน์ที่บ่งว่ามีจริงไม่ว่าจะมีจำนวนเท่าไร ได้อย่างไร

วิธีการให้เหตุผลโดยอุปนัย สมมุติว่า บุคคลสามารถเปลี่ยนประพจน์ที่บ่งว่ามีจริงจำนวนหนึ่ง ไปเป็นประพจน์สากล นั่นก็คือ บุคคลสามารเปลี่ยนจาก "นี่ก็หงส์ขาว" "นั่นก็หงส์ขาว" เป็นต้น ไปเป็นประพจน์สากลเช่น "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" วิธีการนี้ชัดเจนว่า ไม่สมเหตุสมผลโดยนิรนัย เพราะว่ามันเป็นไปได้เสมอว่า อาจจะมีหงส์สีอื่นที่ยังไม่พบในสังเกตการณ์ (และจริงอย่างนั้น การค้นพบหงส์ดำในประเทศออสเตรเลียแสดงถึงความไม่สมเหตุสมผลทางนิรนัยของประพจน์สากลนี้)

การอนุมานแบบเด็ดขาดโดยอุปนัย

ดร.ป็อปเปอร์ถือว่า วิทยาศาสตร์ไม่สามารถตั้งอยู่ในมูลฐานด้วยการอนุมานเช่นนี้ เขาจึงเสนอว่า การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ เป็นการแก้ปัญหาการอุปนัย โดยให้ข้อสังเกตว่า แม้ว่า ประพจน์บ่งว่ามีจริงตัวหนึ่งเช่น "มีหงส์ขาวตัวหนึ่ง" จะไม่สามารถใช้ยืนยันประพจน์สากล แต่ก็สามารถใช้แสดงว่า ประพจน์สากลไม่เป็นจริง คือ ประพจน์บ่งว่ามีหงส์ดำตัวหนึ่ง สามารถแสดงว่าประพจน์สากล "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" ว่าไม่จริง ในตรรกศาสตร์ รูปแบบการพิสูจน์เช่นนี้เรียกว่า modus tollens คือ "มีหงส์ดำตัวหนึ่ง" ให้นัยว่า "มีหงส์ที่ไม่ใช่สีขาว" ซึ่งก็ให้นัยว่า "มีอะไรอย่างหนึ่งที่เป็นหงส์ และไม่ใช่สีขาว" ซึ่งพิสูจน์ "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" ว่าเท็จ เพราะนั่นเท่ากับประพจน์ว่า "มีอะไรอย่างอื่นที่เป็นหงส์ และไม่ใช่สีขาว"

ดังนั้น ถ้าบุคคลเห็นหงส์ขาวตัวหนึ่ง ก็อาจจะสรุปได้ว่า

หงส์อย่างน้อยหนึ่งตัวมีสีขาว

และจากนั่น อาจจะคาดการณ์ว่า

หงส์ทั้งหมดมีสีขาว

เพราะว่า มันเป็นไปไม่ได้ที่จะสังเกตการณ์หงส์ทุกตัวในโลกเพื่อพิสูจน์ว่าทั้งหมดมีสีขาวจริง

ถึงกระนั้น ประพจน์ว่า "หงส์ทั้งหมดมีสีขาว" สามารถ "ตรวจสอบได้" เพราะว่าพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ คือ ถ้าในการตรวจสอบหงส์เป็นจำนวนมาก นักวิจัยพบหงส์ดำตัวหนึ่ง ประพจน์ว่า "หงส์ขาวทั้งหมดมีสีขาว" ก็พิสูจน์ว่าเท็จโดยให้ตัวอย่างหงส์ดำตัวหนึ่งเป็นข้อคัดค้าน

การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จโดยนิรนัย

การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จโดยนิรนัย ต่างจากการไม่มีการพิสูจน์ว่าเป็นจริง การพิสูจน์ประพจน์ว่าเป็นเท็จ ทำโดยใช้รูปแบบทางตรรกะที่เรียกว่า modus tollens ผ่านการสังเกตการณ์ เช่น ลองสมมุติว่าประพจน์สากล U ห้ามการสังเกตการณ์ว่ามี O คือ

 

แต่ว่า เกิดการสังเกตการณ์ว่ามี O

 

ดังนั้นโดยหลัก modus tollens

 

แม้ว่าตรรกะของการพิสูจน์ว่าเท็จแบบสามัญจะสมเหตุสมผล แต่ก็จำกัดมาก คือ ประพจน์เกือบทุกอย่างสามารถทำให้เข้ากับข้อมูล ตราบเท่าที่บุคคลยินดีที่จะแก้ต่าง คือเพื่อจะพิสูจน์ประพจน์สากลว่าเป็นเท็จตามตรรกะ ก็จะต้องหาประพจน์บ่งว่ามีจริงตัวหนึ่ง ที่เป็นตัวพิสูจน์ว่าเท็จได้จริง ๆ ดร.ป็อปเปอร์ชี้ว่า เป็นไปได้เสมอที่จะเปลี่ยนประพจน์สากลหรือประพจน์บ่งว่าจริง จนกระทั่งการพิสูจน์ว่าเท็จไม่เกิดขึ้น เช่น เมื่อได้ยินว่ามีการพบหงส์ดำในประเทศออสเตรเลีย บุคคลอาจจะสร้างสมมติฐานเฉพาะกิจ (ad hoc hypothesis) ว่า "หงส์ทั้งหมดมีสีขาวยกเว้นที่พบในออสเตรเลีย" หรืออาจจะดูถูกคนสังเกตการณ์บางคนว่า "นักปักษีวิทยาในออสเตรเลียไม่ค่อยเก่ง"

ดังนั้น แม้ว่าการพิสูจน์ว่าเท็จแบบสามัญ ควรจะเป็นวิธีลบล้างคำอธิบายที่ไม่ตรงกับความจริงในข้อถกเถียงต่าง ๆ ได้ (เช่นทฤษฎีสมคบคิด หรือตำนานพื้นบ้าน) แต่คนที่สนับสนุนทฤษฎีที่ไม่จริง อาจอ้างว่า "ไม่เห็นมีอะไร" หรือ "ปกติ" หรือ "ความแตกต่างหรือสิ่งที่พบน้อยเกินกว่าที่จัดว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ" แต่คนอีกฝ่ายหนึ่งจะยอมรับว่า มีสังเกตการณ์ที่พิสูจน์ประพจน์สากลว่าเป็นเท็จเกิดขึ้นแล้ว ดังนั้น การพิสูจน์ว่าเท็จแบบสามัญ ไม่ได้ทำให้นักวิทยาศาสตร์ที่ยืนหยัดอยู่ในกฎเกณฑ์ที่เป็นกลาง ๆ สามารถพิสูจน์ประพจน์สากลทุกอย่างว่าเป็นเท็จแบบตัดสินชี้ขาดโดยที่ทุกคนยอมรับได้

คตินิยมพิสูจน์ว่าเท็จ

การพิสูจน์ว่าเท็จแบบสามัญ เป็นการเสนอวิธีการทางเหตุผลที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับวิทยาศาสตร์ที่ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ว่า การพิสูจน์ว่าเท็จโดยเป็นระเบียบวิธีที่ฉลาดซับซ้อนกว่านั้น ควรจะเป็นวิธีที่นักวิทยาศาสตร์เลือกประพฤติ ซึ่งเป็นกระบวนการแบบค่อยเป็นค่อยไป ที่ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ จะ "แย่น้อยลง" เรื่อย ๆ

การพิสูจน์ว่าเท็จแบบสามัญพิจารณาประพจน์วิทยาศาสตร์แต่ละประพจน์ต่างหาก แต่ว่า ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์เกิดจากกลุ่มประพจน์เช่นนี้ ดังนั้น มันเป็นกลุ่มประพจน์ที่นักวิทยาศาสตร์จะยอมรับหรือปฏิเสธ ไม่ใช่ประพจน์แต่ละประพจน์ และดังนั้น ทฤษฎีวิทยาศาสตร์จึงสามารถป้องกันการพิสูจน์ว่าเท็จโดยการเติมสมมติฐานเฉพาะกิจ (ad hoc hypothesis) ได้ ดังที่ ดร.ป็อปเปอร์กล่าวไว้แล้ว นักวิทยาศาสตร์จะต้อง "ตัดสินใจ" เพื่อที่จะยอมรับหรือปฏิเสธประพจน์ต่าง ๆ ที่ใช้เป็นส่วนของทฤษฎี หรือที่จะพิสูจน์ทฤษฎีว่าเป็นเท็จ ดังนั้น เมื่อกาลผ่านไป เมื่อมีการเติมสมมติฐานเฉพาะกิจและการมองข้ามสังเกตการณ์ที่พิสูจน์ว่าเท็จมาก ๆ เข้า ในที่สุดก็จะไม่สมเหตุสมผลที่จะสนับสนุนทฤษฎีนั้นอีกต่อไป และจะเกิด "การตัดสินใจ" ที่ปฏิเสธทฤษฎีนั้น

ดังนั้น ดร.ป็อปเปอร์จึงพิจารณาว่า การก้าวหน้าของวิทยาศาสร์เป็นการปฏิเสธทฤษฎีว่าเท็จต่อ ๆ กัน แทนที่จะเป็นการปฏิเสธประพจน์ต่าง ๆ ทฤษฎีที่พิสูจน์แล้วว่าเท็จ จะทดแทนด้วยทฤษฎีใหม่ที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่เป็นตัวพิสูจน์ทฤษฎีก่อนว่าเท็จ คือ สามารถอธิบายได้มากกว่า มีกำลังในการอธิบายมากกว่า

ยกตัวอย่างเช่น ทฤษฎีกลศาสตร์ของอาริสโตเติลสามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่เห็นได้ในชีวิตประจำวัน จนกระทั่งถูกพิสูจน์ว่าเท็จโดยการทดลองของกาลิเลโอ แล้วจึงทดแทนด้วยทฤษฎีกลศาสตร์ของนิวตัน ที่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ที่สังเกตโดยกาลิเลอีและบุคคลอื่น ๆ ทฤษฎีของนิวตันสามารถอธิบายไปจนถึงโคจรดาวและกลศาสตร์ของแก๊ส ต่อมาทฤษฎีคลื่นแสงของยัง (ที่คลื่นแสงมีพาหะเป็น luminiferous aether) จึงทดแทนทฤษฎีของนิวตันเกี่ยวกับอนุภาคแสง แต่ในที่สุดก็พิสูจน์ว่าเท็จโดยการทดลองของมิเช็ลสัน-มอร์ลีย์ แล้วทดแทนด้วยทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้าของแมกซ์เวลล์ และทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษของไอน์สไตน์ ซึ่งสามารถอธิบายปรากกฎการณ์ใหม่ ๆ ที่สังเกตเห็นได้ แล้วในที่สุด ทฤษฎีของนิวตันในระดับอะตอมก็ทดแทนด้วยกลศาสตร์ควอนตัม เพราะทฤษฎีเก่าไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ ultraviolet catastrophe หรือ Gibbs paradox หรือว่าทำไมจึงสามารถมีออร์บิทัลเชิงอะตอม (atomic orbital) โดยที่อิเล็กตรอนไม่แผ่รังสีคือพลังงานของตนแล้วหมุนเข้าไปชนนิวเคลียสได้ ดังนั้น ทฤษฎีใหม่จึงต้องสมมุติแนวคิดต่าง ๆ ที่เข้าใจได้ยากเช่น ระดับพลังงาน ควอนตัม และหลักความไม่แน่นอนของไฮเซนเบิร์ก

ในแต่ละขั้น สังเกตการณ์ในการทดลองพิสูจน์ทฤษฎีหนึ่ง ๆ ว่าเป็นเท็จ แล้วจึงเกิดทฤษฎีใหม่ที่สามารถอธิบายได้มากกว่า (คือสามารถอธิบายสิ่งที่ทฤษฎีก่อนอธิบายไม่ได้) ซึ่งมีผลเป็นการให้ "โอกาสดีกว่าที่จะถูกพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ"

กฎเกณฑ์ในการแบ่งแยก

ดร. ป็อปเปอร์ใช้การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้เป็นกฎเกณฑ์ในการแบ่งอย่างชัดเจนซึ่งทฤษฎีที่เป็นวิทยาศาสตร์และทฤษฎีที่ไม่ใช่ อย่างไรก็ดี การรู้ว่าประพจน์หนึ่งหรือทฤษฎีหนึ่ง สามารถพิสูจน์ว่าเท็จได้หรือไม่ มีประโยชน์อย่างน้อยก็เพื่อให้สามารถเข้าใจวิธีการต่าง ๆ ที่อาจใช้ประเมินทฤษฎีนั้นได้ บุคคลอาจจะประหยัดเวลาโดยไม่ต้องไปพยายามพิสูจน์ความเท็จของทฤษฎีที่พิสูจน์ว่าเป็นเท็จไม่ได้ หรืออาจจะเห็นโดยที่สุดว่า ทฤษฎีที่พิสูจน์เป็นเท็จไม่ได้ เป็นเรื่องที่สนับสนุนไม่ได้ ดร.ป็อปเปอร์อ้างว่า ถ้าทฤษฎีพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ มันเป็นวิทยาศาสตร์

แต่ให้สังเกตว่า กฎเกณฑ์นี้ ไม่ใช่เป็นการห้าม "ประพจน์" ที่พิสูจน์เป็นเท็จไม่ได้จากวิทยาศาสตร์ แต่เป็นการห้าม "ทฤษฎี" ที่ไม่มีประพจน์ที่สามารถพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้เลยแม้แต่ประพจน์เดียว ดังนั้น ปัญหาที่ติดตามมาก็คือ การกำหนดว่า อะไรเป็น "ทฤษฎีทั้งหมด" และอะไรทำประพจน์หนึ่งให้ "มีความหมาย" (ดูการตัดสินว่าอะไรมีความหมายที่หัวข้อสาระสำคัญและหัวข้อต่อไป) ดังนั้น คตินิยมพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ของ ดร.ป็อปเปอร์ ไม่ใช่เป็นเพียงทางเลือกของคตินิยมพิสูจน์ว่าเป็นจริงได้เท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงแนวคิดหรือค็อนเส็ปต์ต่าง ๆ ที่ทฤษฎีปรัชญาเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ก่อน ๆ ไม่ได้ใส่ใจ

คตินิยมพิสูจน์ว่าเป็นจริงได้

ในปรัชญาวิทยาศาสตร์ คตินิยมพิสูจน์ว่าเป็นจริงได้ (verificationism) ถือว่า ประพจน์จะต้องสามารถพิสูจน์ว่าเป็นจริงได้โดยประสบการณ์เพื่อที่จะมีความหมายและเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของปรัชญาปฏิฐานนิยม (positivism) แต่ ดร. ป็อปเปอร์ให้ข้อสังเกตว่า นักปรัชญาในคตินิยมนี้ได้ผสมปัญหาสองอย่าง คือเรื่องของความหมายและเรื่องของการแยกแยะ และได้เสนอวิธีแก้ปัญหาอย่างเดียวสำหรับปัญหาทั้งสองอย่าง เขาคัดค้านมุมมองเช่นนี้ โดยเน้นว่า มีทฤษฎีที่มีความหมายแต่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ และดังนั้น กฎเกณฑ์ว่าอะไรมีความหมาย และว่าอะไรเป็นวิทยาศาสตร์ ไมใช่กฎเกณฑ์เดียวกัน

ดังนั้น ดร. ป็อปเปอร์จึงเสนอให้ใช้การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ แทนที่การพิสูจน์ว่าเป็นจริงได้ เป็นกฎเกณฑ์แยกแยะว่าอะไรเป็นวิทยาศาสตร์ แต่ให้สังเกตว่า เขาต่อต้านอย่างเด็ดขาดซึ่งความคิดว่า ประพจน์ที่ไม่สามารถพิสูจว่าเป็นเท็จได้ไม่มีความหมาย และไม่ดีโดยธรรมชาติ และกล่าวว่า คตินิยมพิสูจน์ว่าเท็จ ไม่ได้หมายเช่นนั้น

การใช้ในศาลสหรัฐ

ในปี 1982 ศาลชั้นต้นของรัฐบาลกลางสหรัฐใช้หลักพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ในคดี "นายแม็คลีนกับรัฐอาร์คันซอ" โดยเป็นกฎเกณฑ์หนึ่งที่ตัดสินว่า "creation science" (ซึ่งอธิบายประวัติศาสตร์โลก ความเป็นไปของจักรวาล และวิวัฒนาการ ตามหนังสือปฐมกาลของศาสนาคริสต์ โดยทำลายล้างหรือตีความบิดเบือนซึ่งความจริง ทฤษฎี และรูปแบบทางวิทยาศาสตร์) ไม่ใช่วิทยาศาสตร์และไม่ควรสอนเป็นวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนรัฐของอาร์คันซอ แต่สอนเป็นศาสนาได้ นักปรัชญาผู้หนึ่งได้ให้การในศาล และกำหนดลักษณะของวิทยาศาสตร์ว่าเป็นสิ่งที่ใช้อธิบาย ที่ตรวจสอบได้ และที่ยอมรับอย่างมีเงื่อนไข (tentative) ซึ่งคำสุดท้ายหมายความเดียวกับการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ ศาลสรุปเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ที่ใช้ว่า "แม้ว่าทุกคนจะมีอิสระที่จะทำการสอบสวนทางวิทยาศาสตร์ตามวิธีที่ตนเลือก แต่ตนจะไม่สามารถกล่าวถึงวิธีการเหล่านั้นว่าเป็นวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง ถ้าตนเริ่มที่ข้อสรุปก่อนแล้วปฏิเสธที่จะเปลี่ยนข้อสรุปนั้น ไม่ว่าจะมีหลักฐานอะไรใหม่ที่เกิดขึ้นในระหว่างการตรวจสอบ"

กระบวนการยุติธรรมของสหรัฐยังใช้การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จโดยเป็นส่วนของมาตรฐานดอเบิรต์ (Daubert Standard) ด้วย ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ตั้งขึ้นในปี 1993 โดยศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกา ในการตัดสินว่าหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่รับฟังได้หรือไม่ในคดีที่ตัดสินโดยคณะลูกขุน

ข้อวิจารณ์

โดยนักปรัชญาร่วมสมัย

ผู้สนับสนุน ดร.ป็อปเปอร์พูดถึง "ปรัชญามืออาชีพ" อย่างไม่เกรงใจ เป็นต้นว่า

เซอร์คาร์ล ป็อปเปอร์ จริง ๆ ไม่ใช่เป็นผู้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดกับนักปรัชญามืออาชีพร่วมสมัย แต่ตรงกันข้ามกันทีเดียว เขาได้ทำการแลกเปลี่ยนความคิดนั่นให้เสียหาย

ถ้าเขากำลังดำเนินไปในทางที่ถูกต้อง นักปรัชญามืออาชีพโดยมากในโลกก็ได้เสียเวลาหรือกำลังเสียเวลาไปกับอาชีพที่ใช้สติปัญญาของตน ช่องว่างระหว่างวิธีการทางปรัชญาของป็อปเปอร์กับของนักปรัชญามืออาชีพร่วมสมัยโดยมาก กว้างใหญ่เหมือนกับที่อยู่ระหว่างโหราศาสตร์กับดาราศาสตร์

หรือว่า

แนวคิดของป็อปเปอร์ไม่สามารถทำให้นักปรัชญามืออาชีพโดยมากเชื่อได้ เพราะว่า ทฤษฎีเรื่องความรู้แบบคาดคะเนของเขาไม่แม้แต่จะแกล้งให้เหตุผลเชิงบวกเกี่ยวกับความเชื่อ

คนอื่นก็ไม่ได้ทำได้ดีกว่า แต่พวกเขาก็พยายามกันต่อไป เหมือนกับพวกนักเคมีที่ยังพยายามหาศิลานักปราชญ์ หรือนักฟิสิกส์]ที่ยังพยายามสร้างเครื่องจักรที่สามารถเคลื่อนที่ได้ตลอดกาล (perpetual motion machine)

หรือ

"สิ่งที่แยกวิทยาศาสตร์ออกจากความพยายามอย่างอื่นของมนุษย์ทั้งหมดก็คือ

วิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดและพัฒนาแล้วให้คำอธิบายเรื่องโลก ที่สนับสนุนอย่างเข้มแข็งโดยหลักฐาน และหลักฐานนี่แหละเป็นเหตุผลหนักแน่นที่สุดที่ควรจะเชื่อคำอธิบายเหล่านั้น" นั่นเป็นคำที่กล่าวในเบื้องต้นของโฆษณาสำหรับงานประชุมเกี่ยวการอุปนัยเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ศูนย์กลางการเรียนรู้ในสหราชอาณาจักร ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนที่นิยมเหตุผลแบบคิดวิเคราะห์ ยังมีงานเหลือมากขนาดไหนที่จะเผยแพร่สาระสำคัญของ "ตรรกะของงานวิจัย" ว่าหลักฐานเชิงประสบการณ์นั้นสามารถทำอะไรได้และทำอะไร

อย่างไรก็ดี นักปรัชญาวิทยาศาสตร์และนักปรัชญาเชิงวิเคราะห์ร่วมสมัยเดียวกันเป็นจำนวนมาก พากันวิจารณ์ปรัชญาทางวิทยาศาสตร์ของป็อปเปอร์ และความไม่เชื่อการคิดหาเหตุผลโดยอุปนัยของเขาทำให้มีคนอ้างว่า ดร.ป็อปเปอร์บิดเบือนข้อปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์

คูนและลอกอโตช

เทียบกับ ดร.ป็อปเปอร์ที่สนใจเรื่อง "ตรรกะ" ของวิทยาศาสตร์เป็นหลัก หนังสือทรงอิทธิพลของ ดร.โทมัส คูน โครงสร้างของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (The Structure of Scientific Revolutions) ตรวจสอบประวัติวิทยาศาสตร์อย่างละเอียด ดร. คูนอ้างว่า นักวิทยาศาสตร์ทำงานภายในระบบเชิงแนวคิด (conceptual paradigm) ที่มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อการมองเห็นความจริง และนักวิทยาศาสตร์จะทำอะไรมากมายเพื่อที่จะป้องกันระบบไม่ให้ถูกพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ โดยเพิ่มสมมติฐานเฉพาะกิจเข้ากับทฤษฎีที่มีอยู่ ดังนั้น การเปลี่ยนระบบ (paradigm) จึงเป็นเรื่องยาก เพราะว่า มันบังคับให้นักวิทยาศาสตร์แต่ละคนต้องตีห่างจากเพื่อนแล้วป้องกันทฤษฎีใหม่ที่นอกคอก

ผู้สนับสนุนคตินิยมพิสูจน์ว่าเท็จบางท่าน เห็นงานของ ดร. คูนว่าเป็นเครื่องพิสูจน์ความเห็นของตน เพราะว่า ดร. คูน ให้หลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่าวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าโดยปฏิเสธทฤษฎีที่ไม่สมบูรณ์ และเป็น "การตัดสินใจ" ของนักวิทยาศาสตร์ ที่จะยอมรับหรือปฏิเสธทฤษฎี ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของคตินิยม คนเด่นที่สุดในกลุ่มนี้ก็คือ นักปรัชญาชาวฮังการี ดร.อีมเร ลอกอโตช

ดร.ลอกอโตชพยายามอธิบายงานของ ดร.คูน โดยอ้างว่า วิทยาศาสตร์ก้าวหน้าโดยพิสูจน์ว่า "โปรแกรมงานวิจัย" เป็นเท็จ แทนที่จะพิสูจน์ประพจน์สากลโดยเฉพาะ ๆ ดังที่พบในการพิสูจน์ว่าเท็จแบบสามัญ โดยวิธีของ ดร.ลอกอโตช นักวิทยาศาสตร์ทำงานภายในโปรแกรมการวิจัย ที่คล้าย ๆ กับระบบ (paradigm) ของ ดร.คูน และเปรียบเทียบกับ ดร.ป็อปเปอร์ ที่ปฏิเสธการใช้สมมติฐานเฉพาะกิจว่า ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ดร.ลอกอโตชยอมรับการใช้เมื่อกำลังพัฒนาทฤษฎีใหม่ ๆ

ฟายอาเบ็นด์

ส่วน ดร. พอล ฟายอาเบ็นด์ (Paul Feyerabend) ตรวจสอบประวัติวิทยาศาสตร์แบบวิเคราะห์ แล้วปฏิเสธระเบียบวิธีที่เป็นกฎทุกอย่าง เขาคัดค้านข้ออ้างของ ดร.ลอกอโตช เกี่ยวกับสมมติฐานเฉพาะกิจ โดยอ้างว่า วิทยาศาสตร์จะไม่สามารถก้าวหน้าโดยไม่ใช้กลวิธีทุกอย่างที่มีเพื่อสนับสนุนทฤษฎีใหม่ ๆ เขาปฏิเสธการอิงระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์ และการยกย่องเป็นพิเศษของวิทยาศาสตร์ที่อาจสืบมาจากการใช้ระเบียบวิธีเช่นนั้น เขาอ้างว่า ถ้าจะต้องมีกฎทางระเบียบวิธีที่สมเหตุสมผลอย่างสากล หลัก "epistemological anarchism (อนาธิปไตยทางญาณวิทยา)" หรือว่า "ทำอะไรก็ได้" ก็จะเป็นกฎเดียวที่มี สำหรับ ดร. ฟายอาเบ็นด์ ฐานะพิเศษที่วิทยาศาสตร์อาจจะมี สืบมาจากคุณค่าทางสังคมและทางกายภาพที่ได้จากผลงานของวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่จากระเบียบวิธี

โซกัลและบรีกมอนต์

ในหนังสือ เรื่องเหลวไหลที่เป็นแฟชั่น (Fashionable Nonsense) หรือที่พิมพ์ในสหราชอาณาจักรในชื่อ เรื่องหลอกลวงทางปัญญา (Intellectual Impostures) นักฟิสิกส์ อัลแลน โซกัล และชอน บรีกมอนต์ วิจารณ์การพิสูจน์ว่าเท็จว่า ไม่ได้บรรยายการทำงานของวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้อง พวกเขาอ้างว่า มีการใช้ทฤษฎีต่าง ๆ เพราะความสำเร็จของทฤษฎี ไม่ใช่เพราะความล้มเหลวของทฤษฎีอื่น การกล่าวถึง ดร.ป็อปเปอร์ การพิสูจน์ว่าเท็จ และปรัชญาวิทยาศาสตร์อยู่ในบทชื่อว่า "Intermezzo" ซึ่งแสดงจุดยืนของตนว่าอะไรเป็นความจริง เปรียบเทียบกับสัมพัทธนิยมทางญาณวิทยาแบบสุดโต่ง (extreme epistemological relativism)

พวกเขาได้กล่าวไว้ว่า

เมื่อทฤษฎีหนึ่งยืนหยัดความพยายามพิสูจน์ว่าเท็จได้สำเร็จ

นักวิทยาศาสตร์โดยธรรมชาติก็จะพิจารณาทฤษฎีนี้ว่ายืนยันแล้วในระดับหนึ่ง และจะให้คะแนนว่ามีโอกาสเป็นจริงที่สูงกว่า... แต่ว่าป็อปเปอร์ไม่เอาอย่างนี้ทั้งหมด ทั้งชีวิตของเขาเป็นคนต่อต้านอย่างดื้อรั้นแนวคิดทุกอย่างเกี่ยวกับการยืนยันทฤษฎี หรือแม้แต่ "ความน่าจะเป็น" (ที่ทฤษฎีจะเป็นจริง)... (แต่) ประวัติวิทยาศาสตร์สอนเราว่า ทฤษฎีวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ กลายเป็นเรื่องที่ยอมรับก่อนอื่นทั้งหมด ก็เพราะความสำเร็จของพวกมัน"

พวกเขาอ้างต่อไปว่า การพิสูจน์ว่าเท็จไม่สามารถแยกแยะระหว่างโหราศาสตร์กับดาราศาสตร์ เพราะว่า ทั้งสองล้วนแต่ทำการพยากรณ์ที่บางครั้งก็ผิดพลาด

นักปรัชญาร่วมสมัย ศ.ดร.เดวิด มิลเล่อร์ ผู้เคยทำงานเป็นผู้ช่วยงานวิจัยของ ดร.ป็อปเปอร์ ได้พยายามตอบโต้ต่อข้อวิจารณ์เหล่านี้ป้องกันแนวคิดของ ดร.ป็อปเปอร์ โดยอ้างว่า โหราศาสตร์ไม่ได้เปิดให้พิสูจน์ว่าเป็นเท็จเท่ากับดาราศาสตร์ และนี่เป็นการทดสอบแบบเฉียบขาด (litmus test) สำหรับความเป็นวิทยาศาสตร์

ตัวอย่าง

มีการใช้หลักการพิสูจน์ว่าจริงได้ และการพิสูจน์ว่าเท็จได้ เพื่อวิจารณ์เรื่องขัดแย้งต่าง ๆ การพิจารณาตัวอย่างดังต่อไปนี้ อาจแสดงประโยชน์ของหลักการพิสูจน์ว่าเท็จได้ เพื่อให้เห็นว่าควรจะพิจารณาเรื่องอะไรเมื่อจะวิจารณ์หรือจับผิดทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง

เศรษฐศาสตร์

ดร. คาร์ล ป็อปเปอร์อ้างว่าลัทธิมากซ์เปลี่ยนจากเป็นทฤษฎีที่พิสูจน์ว่าเท็จได้ เป็นไปไม่ได้ เพราะว่า ทฤษฎีเบื้องต้นนั้นทำการพยากรณ์ที่พิสูจน์ได้ แต่เมื่อคำพยากรณ์นั้นไม่ตรงกับความจริง จึงมีการเพิ่มสมมติฐานเฉพาะกิจเข้าเพื่อให้ตรงกับความจริง ซึ่งทำลายทฤษฎีที่เป็นวิทยาศาสตร์กลายไปเป็นเป็นสิทธานต์ (dogma) ที่เป็นวิทยาศาสตร์เทียมแทน

นักเศรษฐศาสตร์บางพวก เช่นพวกที่อยู่ในสำนักออสเตรีย (Austrian School) เชื่อว่า ทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์มหภาค เป็นเรื่องที่พิสูจน์ว่าเท็จไม่ได้โดยหลักฐานเชิงประสบการณ์ และดังนั้น วิธีเดียวที่สมควรที่จะเข้าใจเหตุการณ์ต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจ ก็คือการศึกษาเจตนาของผู้ตัดสินใจทางเศรษฐกิจแต่ละคนแบบนิรนัย โดยมีฐานอยู่ที่ความจริงพื้นฐานบางอย่าง นักเศรษฐศาสตร์เด่น ๆ ในสำนักออสเตรียบางคน เป็นผู้ร่วมงานของ ดร.ป็อปเปอร์ (เช่น Ludwig von Mises และ Friedrich Hayek)

วิวัฒนาการ

มีตัวอย่างของวิธีทางอ้อมมากมาย ที่สามารถพิสูจน์การมีบรรพบุรุษเดียวกันของทฤษฎีวิวัฒนาการว่าเป็นเท็จได้ มีนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษผู้หนึ่ง เมื่อถามถึงหลักฐานสมมุติที่จะสามารถหักล้างทฤษฎีวิวัฒนาการได้ ก็ตอบว่า "ซากดึกดำบรรพ์ของกระต่ายในมหายุคพรีแคมเบรียน" (ซึ่งเป็นยุคก่อนที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเช่นกระต่ายหรือฮิปโปจะเกิดขึ้น) ส่วน ดร.ริชาร์ด ดอว์กินส์เสริมว่า สัตว์ยุคปัจจุบันอะไรก็ได้ เช่น ฮิปโปโปเตมัส ก็ใช้ได้

ดร. ป็อปเปอร์ แรก ๆ คัดค้านการตรวจสอบได้ของการคัดเลือกโดยธรรมชาติ แต่ภายหลังถอนคำพูด โดยกล่าวว่า "ผมได้เปลี่ยนใจเกี่ยวกับการตรวจสอบได้และความสมเหตุสมผลของทฤษฎีการคัดเลือกโดยธรรมชาติ และผมดีใจที่มีโอกาสที่จะถอนคำพูด"

เนรมิตนิยม

คำวิพากษ์วิจารณ์ต่อลัทธิเนรมิตนิยมที่โลกเกิดขึ้นยังไม่นาน (young-earth creationism) อาศัยหลักฐานตามธรรมชาติว่าโลกนี้เก่าแก่กว่าที่คนลัทธินี้เชื่อ แต่เมื่อเผชิญกับหลักฐานเช่นนี้ สาวกลัทธินี้กลับสร้างสมมติฐานเฉพาะกิจที่เรียกว่า Omphalos hypothesis ว่า โลกนิรมิตขึ้นพร้อมกับความเก่าแก่เช่น การปรากฏอย่างฉับพลันของไก่ที่โตแล้วและสามารถวางไข่ได้ สมมติฐานเช่นนี้ ไม่สามารถพิสูจน์ให้เป็นเท็จได้ เพราะว่า อายุของโลกหรือแม้แต่ของวัตถุท้องฟ้าทุกอย่าง ไม่สามารถจะแสดงได้ว่า ไม่ได้ทำขึ้นเมื่อเกิดการเนรมิต

ประวัติศาสตร์นิยม (Historicism)

ทฤษฎีเกี่ยวกับประวัติศาสตร์หรือการเมือง ที่อ้างว่าสามารถพยากรณ์อนาคตได้ อยู่ในรูปแบบทางตรรกศาสตร์ที่ทำให้ไม่สามารถพิสูจน์ทั้งเป็นจริงหรือเป็นเท็จได้ มีการอ้างว่า สำหรับเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ทุก ๆ เหตุการณ์ มีกฎทางประวัติศาสตร์หรือเศรษฐศาสตร์ที่ "กำหนด" การดำเนินของเหตุการณ์ การไม่สามารถระบุกฎนั้นได้ไม่ได้หมายความว่ากฎไม่มี แต่ว่าถ้าเหตุการณ์เข้ากับกฎนั้นได้ กฎนั้นกลับไม่สามารถใช้โดยทั่วไปได้ (คือใช้ได้เฉพาะเรื่อง) ดังนั้น การตรวจสอบข้ออ้างเหล่านี้อย่างดีที่สุดก็เป็นเรื่องยาก ถ้าเป็นไปได้โดยประการทั้งปวง เพราะเหตุนี้ ดร.ป็อปเปอร์จึง "ไม่เห็นด้วยโดยพื้นฐานกับประวัติศาสตร์นิยม ในเรื่องของการพยากรณ์ประวัติศาสตร์ได้" และอ้างว่า ทั้งลัทธิมากซ์และจิตวิเคราะห์ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ แม้ว่าทั้งสองจะมีคำอ้างอิงประการเช่นนี้ แต่ว่า นี่ไม่ได้หมายความว่าทฤษฎีเช่นนี้ต้องไม่ถูกต้อง คือ ดร.ป็อปเปอร์เพียงแค่พิจารณาการพิสูจน์ว่าเป็นเท็จโดยเป็นเครื่องทดสอบว่า ทฤษฎีอะไรเป็นวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ทดสอบว่าสิ่งที่อ้างเป็นจริงหรือไม่

คณิตศาสตร์

นักปรัชญาเป็นจำนวนมากเชื่อว่า คณิตศาสตร์ไม่สามารถพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้โดยการทดลอง และดังนั้นก็จะไม่ใช่วิทยาศาสตร์ตามนิยามของ ดร.ป็อปเปอร์ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 ทฤษฎีบทความไม่สมบูรณ์ของเกอเดล (Gödel's incompleteness theorems) พิสูจน์ว่า มันไม่มีสัจพจน์เชิงคณิตสักเซต ที่สมบูรณ์ด้วย ที่สอดคล้องกันด้วย ดร. ป็อปเปอร์สรุปว่า "ทฤษฎีคณิตศาสตร์โดยมาก โดยเหมือนกับทฤษฎีทางฟิสิกส์และชีววิทยา เป็นเรื่องสมมุติบวกการนิรนัย (hypothetico-deductive) ดังนั้น ความรู้ทางคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ จึงใกล้กับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่สมมติฐานเป็นเรื่องการคาดคะเน มากกว่าที่มันดูเหมือนจะเป็นแม้กระทั่งในเร็ว ๆ นี้" นักปรัชญาท่านอื่น โดยเฉพาะ ดร.อีมเร ลอกอโตช ก็ได้ใช้หลักของคตินิยมพิสูจน์ว่าเท็จแบบหนึ่ง ต่อคณิตศาสตร์เหมือนกัน

เหมือนกับวิทยาศาสตร์รูปนัยอื่น ๆ คณิตศาสตร์ไม่ได้สนใจเรื่องความสมเหตุสมผลของทฤษฎีโดยอาศัยสังเกตการณ์ที่ได้จากประสบการณ์ แต่ว่า ไปใส่ใจอยู่ที่การศึกษาทางทฤษฎีที่เป็นนามธรรม ในประเด็นต่าง ๆ เช่น ปริมาณ โครงสร้าง ปริภูมิ และการเปลี่ยนแปลง แต่ว่า ระเบียบวิธีของคณิตศาสตร์ จะประยุกต์ใช้ในการสร้างและทดสอบแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับความเป็นจริงที่เป็นประสบการณ์ ดร.อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ได้เขียนไว้ว่า "เหตุผลอย่างหนึ่งที่คณิตศาสตร์ได้รับความเคารพยกย่องเป็นพิเศษเหนือวิทยาศาสตร์ทั้งหมดอื่นก็คือ กฎของมันแน่นอนอย่างสมบูรณ์และไม่สามารถหักล้างได้ ในขณะที่กฎของวิทยาศาสตร์อื่น ๆ สามารถโต้แย้งได้โดยระดับหนึ่ง และมีอันตรายตลอดกาลต่อการถูกล้มล้างโดยความจริงที่ค้นพบใหม่ ๆ"

คำพูดต่าง ๆ

  • มีการอ้าง ดร.อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ว่าพูดว่า (ถอดความ) "การทดลองไม่ว่าจำนวนเท่าไรก็ไม่สามารถพิสูจน์ว่าผมถูกได้ แต่การทดลองเดียวสามารถพิสูจน์ว่าผมผิดได้"
  • "กฎเกณฑ์ของความเป็นวิทยศาสตร์ของทฤษฎีหนึ่ง ๆ ก็คือ การพิสูจน์ว่าเป็นเท็จได้ (falsifiability) หรือการปฏิเสธได้ (refutability) หรือการทดสอบได้ (testability)" — ดร.คาร์ล ป็อปเปอร์

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. "falsifiability principle", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑, หลักพิสูจน์ว่าเป็นเท็จ (ปรัชญา)
  2. "อุปนัย", พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, [อุปะ-, อุบปะ-] น. วิธีการใช้เหตุผลที่ดำเนินจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม, คู่กับ นิรนัย. (อ. induction).
  3. Popper, K. R. (1994). "Zwei Bedeutungen von Falsifizierbarkeit" [Two meanings of falsifiability]. ใน Seiffert, H.; Radnitzky, G. (บ.ก.). Handlexikon der Wissenschaftstheorie (ภาษาเยอรมัน). München: Deutscher Taschenbuch Verlag. pp. 82–85. ISBN 3-423-04586-8.
  4. "Karl Popper is generally regarded as one of the greatest philosophers of science of the 20th century" ใน Thornton 2013
  5. Horgan, J (1992). "Profile: Karl R. Popper — The Intellectual Warrior". Scientific American. 267 (5): 38–44.
  6. Popper 1959, p. 4
  7. "นิรนัย", พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒, [-ระไน] น. วิธีการใช้เหตุผลที่ดำเนินจากส่วนรวมไปหาส่วนย่อย, คู่กับ อุปนัย. (อ. deduction)
  8. Popper 1959, p. 19
  9. Popper 1959, p. 16
  10. Keuth: The philosophy of Karl Popper, p. 45
  11. Popper, Karl (2005). The Logic of Scientific Discovery (Taylor & Francis e-Library ed.). London and New York: Routledge / Taylor & Francis e-Library. pp. 47–50. ISBN 0203994620.
  12. Thomas, Geoffrey. "Magic, Science, and Religion". http://www.bbk.ac.uk. สืบค้นเมื่อ 2015-03-25. External link in |website= (help)
  13. Popper 1959, section 6, footnote *3
  14. Ruse, Michael (2010). Science and Spirituality: Making Room for Faith in the Age of Science. New York: Cambridge University Press.
  15. "McLean v. Arkansas Board of Education (Decision dated January 5, 1982)". Talk.origins. 1996-01-30.
  16. Bartley, WW, III (1976). "Biology & evolutionary epistemology". Philosophia. 6 (3–4): 463–494.
  17. Champion, Rafe (1985-10). "Agreeing to Disagree: Bartley's Critique of Reason". Melbourne Age Monthly Review. Check date values in: |date= (help)
  18. David Miller: Some hard questions for critical rationalism
  19. Gardner, Martin (2001). "A Skeptical Look at Karl Popper". Skeptical Inquirer. 25 (4): 13–14, 72.
  20. Lakatos, Imre (1978). The methodology of scientific research programmes: Philosophical Papers Volume I. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-28031-1.
  21. Sokal & Bricmont 1998
  22. Miller, D (1997). "Sir Karl Raimund Popper, C. H., F. B. A. 28 July 1902--17 September 1994.: Elected F.R.S. 1976". Biographical Memoirs of Fellows of the Royal Society. 43: 369–310. doi:10.1098/rsbm.1997.0021.
  23. Miller, David (2006). "Chapter 6". Out of Error: further essays on critical rationalism. Aldershot, Hants, England: Ashgate. ISBN 0-7546-5068-5.
  24. Miller, David (2000). "Sokal and Bricmont: Back to the Frying Pan" (PDF). Pli. 9: 156–73.
  25. "For Marxism, Popper believed, had been initially scientific, in that Marx had postulated a theory which was genuinely predictive. However, when these predictions were not in fact borne out, the theory was saved from falsification by the addition of ad hoc hypotheses which made it compatible with the facts. By this means, Popper asserted, a theory which was initially genuinely scientific degenerated into pseudo-scientific dogma." ใน Thornton 2013
  26. "Austrian School of Economics: The Concise Encyclopedia of Economics". Library of Economics and Liberty.
  27. "Methodological Individualism at the Stanford Encyclopedia of Philosophy". Stanford Encyclopedia of Philosophy.
  28. Ludwig, von Mises (2010). Human Action. US: Ludwig von Mises Institute. p. 11 r. Purposeful Action and Animal Reaction. ISBN 9780865976313.
  29. Ridley, M (2003). Evolution, Third Edition. Blackwell Publishing Limited. ISBN 1-4051-0345-0.
  30. Wallis, C (2005-08-07). "The Evolution Wars". Time Magazine. p. 32. สืบค้นเมื่อ 2007-03-24.
  31. Dawkins, Richard (1995). River Out of Eden. Basic Books. ISBN 0-465-06990-8.
  32. Dawkins, Richard (1986). The Blind Watchmaker. W. W. Norton & Company, Inc. ISBN 0-393-31570-3.
  33. Lannes, Sophie; Alain, Boyer (1982-02-26). "Les chemins de la verite: L'Express va plus loin avec Karl Popper". L'Express.; online German translation "Die Wege der Wahrheit. Zum Tode von Karl Popper". Aufklärung und Kritik. 1994-02. p. 38. Check date values in: |date= (help)
  34. Popper, K (1985). Unended Quest: An Intellectual Autobiography. Open Court. ISBN 0-08-758343-7.
  35. Popper, K (1978). "Natural selection and the emergence of mind". Dialectica (32): 339–355.
  36. Burton, Dawn (2000). "1". Research training for social scientists: a handbook for postgraduate researchers. SAGE. pp. 12–13. ISBN 0-7619-6351-0.
  37. Shasha, Dennis Elliot; Lazere, Cathy A. (1998). Out of Their Minds: The Lives and Discoveries of 15 Great Computer Scientists. Springer. p. 228.CS1 maint: multiple names: authors list (link)
  38. Popper 1995, p. 56
  39. Einstein, Albert (1923). "Geometry and Experience". Sidelights on relativity. Courier Dover Publications. p. 27. Reprinted by Dover (2010), ISBN 978-0-486-24511-9.
  40. Calaprice, Alice (2005). The New Quotable Einstein. USA: Princeton University Press and Hebrew University of Jerusalem. p. 291. ISBN 0-691-12074-9. Calaprice denotes this not as an exact quotation, but as a paraphrase of a translation of A. Einstein's Einstein, Albert. Einstein, A; Janssen, M; Schulmann, R และคณะ (บ.ก.). Induction and Deduction. Collected Papers of Albert Einstein - The Berlin Years: Writings, 1918-1921. Vol. 7, Document 28. Explicit use of et al. in: |editors= (help)CS1 maint: uses editors parameter (link)
  41. Wynn, Charles M.; Wiggins, Arthur W.; Harris, Sidney (1997). The Five Biggest Ideas in Science. John Wiley and Sons. p. 107. ISBN 0-471-13812-6.
  42. Newton, Lynn D. (2000). Meeting the standards in primary science: a guide to the ITT NC. Routledge. p. 21. ISBN 0-7507-0991-X.
  43. Popper, Carl. "Conjectures and Refutations, 36".

เชิงอรรถและอ้างอิง

  • Angeles, Peter A (1992). Harper Collins Dictionary of Philosophy (2nd ed.). New York, NY: Harper Perennial. ISBN 0-06-461026-8.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  • Feyerabend, Paul K (1975). Against Method: Outline of an Anarchistic Theory of Knowledge. London, UK: Humanities Press.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  • Kuhn, Thomas S (1962). The Structure of Scientific Revolutions. Chicago, IL: University of Chicago Press.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  • Lakatos, Imre (1970). Lakatos, Imre; Musgrave, Alan (บ.ก.). Falsification and the Methodology of Scientific Research Programmes. Criticism and the Growth of Knowledge. 4. Cambridge: Cambridge University Press.CS1 maint: uses authors parameter (link) CS1 maint: uses editors parameter (link)
  • Lakatos, Imre (1978). The methodology of scientific research programmes: Philosophical papers. I. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 0-521-28031-1.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  • Peirce, C.S., "Lectures on Pragmatism", Cambridge, MA, March 26 - May 17, 1903. Reprinted in part, Collected Papers, CP 5.14-212. Published in full with editor's introduction and commentary, Patricia Ann Turisi (ed.), Pragmatism as a Principle and Method of Right Thinking: The 1903 Harvard "Lectures on Pragmatism", State University of New York Press, Albany, NY, 1997. Reprinted, pp. 133-241, Peirce Edition Project (eds.), The Essential Peirce, Selected Philosophical Writings, Volume 2 (1893-1913), Indiana University Press, Bloomington, IN, 1998.
  • Popper, Karl (1959). The Logic of Scientific Discovery. New York, NY: Basic Books.CS1 maint: ref=harv (link)
  • Popper, Karl (1963). Conjectures and Refutations: The Growth of Scientific Knowledge. London: Routledge. ISBN 0-415-04318-2.CS1 maint: ref=harv (link)
  • Runes, Dagobert D, บ.ก. (1962). Dictionary of Philosophy. Totowa, NJ: Littlefield, Adams, and Company.CS1 maint: uses editors parameter (link)
  • Sokal, Alan; Bricmont, Jean (1998). Fashionable Nonsense: Postmodern Intellectuals' Abuse of Science [เรื่องเหลวไหลที่เป็นแฟชั่น]. New York, NY: Picador.CS1 maint: ref=harv (link)
  • Theobald, D.L. (2006). "29+ Evidences for Macroevolution: The Scientific Case for Common Descent". 2.87. The Talk.Origins Archive.
  • Thornton, Stephen (2013). "Karl Popper". สืบค้นเมื่อ 2016-01-22.CS1 maint: ref=harv (link)

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Problems with Falsificationism at The Galilean Library

การพ, จน, าเป, นเท, หร, ได, งกฤษ, falsifiability, refutability, ของประพจน, บทความ, อเสนอ, ของสมมต, ฐาน, หร, อของทฤษฎ, อความเป, นไปได, โดยธรรมชาต, จะพ, จน, าม, นเป, นเท, จได, ประพจน, เร, ยกว, จน, าเป, นเท, จได, าเป, นไปได, จะทำการส, งเกตการณ, หร, อให, เหต, ผลท,. karphisucnwaepnethc 1 hrux karphisucnwaepnethcid xngkvs falsifiability refutability khxngpraphcn bthkhwam khxesnx khxngsmmtithan hruxkhxngthvsdi kkhuxkhwamepnipidodythrrmchatithicaphisucnwamnepnethcid praphcneriykwa phisucnwaepnethcid thaepnipidthicathakarsngektkarnhruxihehtuphlthikhdkhanlblangpraphcnnnidsmmtithanwa hngsthnghmdmisikhaw caphisucnwacringidxyangir phisucnwaethcidhruxim yktwxyangechn ephraapyhakhxngkarxupny withikarichehtuphlthidaenincakswnyxyiphaswnrwm 2 imwacamicanwnkarsngektkarnethair kcaimsamarthphisucnkarklawodythwipidwa hngsthnghmdmisikhaw aetwa mnepnipidodytrrkahruxodyehtuphlthicaphisucnwaethc ephiyngodysngektehnhngsdatwediyw dngnn khawa phisucnwaethcid bangthiichepniwphcnkhxngkhawa trwcsxbid testability aetwakmibangpraphcn echn fnmncatkthinixiklanpi thiphisucnwaethcidodyhlk aetwathaimidodyptibti 3 eruxngkarphisucnwaethcidklayepncudsnicephraakhtiniymthangyanwithyathieriykwa falsificationism khtiniymphisucnwaethc khxngnkprchyawithyasastrchawxngkvs xemrikn s dr kharl pxpepxr thiodythwipnbthuxwa epnnkprchyawithyasastrthiyingihythisudkhnhnunginkhristthswrrsthi 20 4 5 phuennkaraeykaeyarahwangsingthiepnwithyasastrkbsingthiimich odyichhlk karphisucnwaepnethcid epnkdeknthinkaraeykaeya khux singthiphisucnwaepnethcimidcdwaimichwithyasastr aelakarxangthvsdithiphisucnwaethcimidwa epneruxngcringthangwithyasastr cdepnwithyasastrethiym pseudoscience enuxha 1 sarasakhy 2 karphisucnwaethcaebbsamy Naive falsification 2 1 praphcnbngwamicringaelapraphcnsakl 2 2 karxnumanaebbeddkhadodyxupny 2 2 1 karphisucnwaepnethcodynirny 3 khtiniymphisucnwaethc 4 kdeknthinkaraebngaeyk 4 1 khtiniymphisucnwaepncringid 4 2 karichinsalshrth 5 khxwicarn 5 1 odynkprchyarwmsmy 5 2 khunaelalxkxotch 5 3 fayxaebnd 5 4 osklaelabrikmxnt 6 twxyang 6 1 esrsthsastr 6 2 wiwthnakar 6 3 enrmitniym 6 4 prawtisastrniym Historicism 6 5 khnitsastr 7 khaphudtang 8 duephim 9 echingxrrthaelaxangxing 10 echingxrrthaelaxangxing 11 aehlngkhxmulxunsarasakhy aekikhmummxngkhlassikkhxngprchyawithyasastrkkhux cudmunghmaykhxngwithyasastrkkhux ephuxphisucnsmmtithan echn smmtithanthiwa hngsthnghmdmisikhaw hruxephuxcaxnumanodyhlkxupny induction cakkhxmulthisngektid dr pxpepxrxangwa niepnkarxnumanhlkthwipcakkrniyxy canwnhnung sungichimidintrrkaechingnirny 6 deduction epnwithikarichehtuphlthidaenincakswnrwmiphaswnyxy 7 aetwa thasamarthhahngsthiimichsikhawid aemaettwediyw trrkaechingnirnyyxmyxmrbkhxsrupwa praphcn hngsthnghmdmisikhaw epnethc dngnn khtiniymphisucnwaethc cungphyayamtrwcsxbphisucnsmmtithanwaepnethc aethnthicaphisucnwaepncringthacatrwcsxbpraphcnhnungodykarsngektkarn kcaepnthicatxngepnipidxyangnxyodythvsdithicaidkarsngektkarnthikhdkhanpraphcn dngnn khxsngekthlkkhxng falsificiationism kkhux txngmikdeknthephuxichkahndaeykpraphcnthisamarthcaphidipcaksingthisngektid cakpraphcnthiimsamarth dr pxpepxreluxkkhawa falsifiability karphisucnwaepnethcid odyepnchuxkhxngkdeknthnn khxesnxkhxngphlmimulthanthi khwamxsmmatr asymmetry rahwangkarphisucnwaepncringid verifiability kbkarphisucnwaepnethcid falsifiability epnxsmmatrthimiehtucakrupaebbthangtrrkakhxngpraphcnsakl ephraawa praphcnehlannimsamarthsubmacakpraphcnediyw id aetsamarthkhdkhanidodypraphcnediyw The Logic of Scientific Discovery 8 aet dr pxpepxrennwa praphcnthiphisucnwaethcimidkyngmikhwamsakhyinwithyasastr 9 khuxaemcakhdkbkhwamrusukodysamy praphcnthiphisucnwaethcimidxaccaxyuin hruxxaccasubknodytrrkakb thvsdithiphisucnwaethcid yktwxyangechn aempraphcnwa khnthukkhntxngtay caphisucnwaethcimid aetmnepnphlodytrrkakhxngthvsdithiphisucnwaethcid khux khnthukkhntxngtaykxnthicathungxayu 150 pi 10 aelaechnediywkn aenwkhidxphiprchyaobranthiphisucnimid wamixatxm inthisudkklayepnthvsdiwithyasastrpccubnthiphisucnwaethcid odyepriybethiybkbhlkptithanniym Positivism sungcdwa praphcnimmikhwamhmaythaimsamarthphisucnwaepncringhruxepnethcid dr pxpepxrxangwa karphisucnwaepnethc epnkrniphiesskhxngaenwkhidthithwipkwakhuxkarcbphidid criticizability dngnn tamaenwkhidnipraphcnyngmikhwamhmayxyuthayngcbphididaetphisucnwaepnethcimid aemwaekhacayxmrbwa karptiesthodyhlkthanepnwithithiidphlthisudwithihnunginkarcbphidthvsdi aetwa emuxethiybkbkarphisucnwaethcid karcbphididaeladngnnkhwammiehtuphl rationality xaccaepneruxngkwang khuximmikhxcakdodytrrka aemwa khxxangnicayngepneruxngthkethiyngknimcbaemaetinklumkhnsnbsnunaenwthangprchyakhxng dr pxpepxrkarphisucnwaethcaebbsamy Naive falsification aekikhpraphcnbngwamicringaelapraphcnsakl aekikh innganerimtninkhristthswrrs 1930 dr pxpepxrennkarphisucnwaethcidwa epnkdeknththicakdpraphcnechingprasbkarn empirical statemente inwithyasastr ekhaehnpraphcnsxngxyang 11 thimipraoychntxnkwithyasastr xyangaerkepnaebbsngektkarn echn mihngskhawxyutwhnung nktrrksastreriykpraphcnphwkniwa praphcnbngwamicringtwhnung singular existential statement ephraawayunynthungkhwammixyukhxngxairbangxyang sungethiybethakbpraphcnaekhlkhulsphakhaesdng predicate calculus inrupaebb mi k xnhnungodythi k epnhngstwhnung aela k misikhaw xyangthisxngepnpraphcnthirwbyxdxairxyanghnungthnghmd echn hngsthnghmdmisikhaw nktrrksastreriykpraphcnehlaniwa praphcnsakl sungmkcaxyuinrupaebb sahrb k thuktw tha k epnhngstwhnung k kcamisikhaw kdwithyasastrpktikhwrcaxyuinrupaebbni pyhasakhykhxngraebiybwithithangwithyasastrkkhux bukhkhlcarabukdcaksngektkarntang idxyangir khux bukhkhlcaxnumanpraphcnsakl cakpraphcnthibngwamicringimwacamicanwnethair idxyangirwithikarihehtuphlodyxupny smmutiwa bukhkhlsamarthepliynpraphcnthibngwamicringcanwnhnung ipepnpraphcnsakl nnkkhux bukhkhlsamarepliyncak nikhngskhaw nnkhngskhaw epntn ipepnpraphcnsaklechn hngsthnghmdmisikhaw withikarnichdecnwa imsmehtusmphlodynirny ephraawamnepnipidesmxwa xaccamihngssixunthiyngimphbinsngektkarn aelacringxyangnn karkhnphbhngsdainpraethsxxsetreliyaesdngthungkhwamimsmehtusmphlthangnirnykhxngpraphcnsaklni karxnumanaebbeddkhadodyxupny aekikh dr pxpepxrthuxwa withyasastrimsamarthtngxyuinmulthandwykarxnumanechnni ekhacungesnxwa karphisucnwaepnethcid epnkaraekpyhakarxupny odyihkhxsngektwa aemwa praphcnbngwamicringtwhnungechn mihngskhawtwhnung caimsamarthichyunynpraphcnsakl aetksamarthichaesdngwa praphcnsaklimepncring khux praphcnbngwamihngsdatwhnung samarthaesdngwapraphcnsakl hngsthnghmdmisikhaw waimcring intrrksastr rupaebbkarphisucnechnnieriykwa modus tollens khux mihngsdatwhnung ihnywa mihngsthiimichsikhaw sungkihnywa mixairxyanghnungthiepnhngs aelaimichsikhaw sungphisucn hngsthnghmdmisikhaw waethc ephraannethakbpraphcnwa mixairxyangxunthiepnhngs aelaimichsikhaw dngnn thabukhkhlehnhngskhawtwhnung kxaccasrupidwa hngsxyangnxyhnungtwmisikhawaelacaknn xaccakhadkarnwa hngsthnghmdmisikhawephraawa mnepnipimidthicasngektkarnhngsthuktwinolkephuxphisucnwathnghmdmisikhawcringthungkrann praphcnwa hngsthnghmdmisikhaw samarth trwcsxbid ephraawaphisucnwaepnethcid khux thainkartrwcsxbhngsepncanwnmak nkwicyphbhngsdatwhnung praphcnwa hngskhawthnghmdmisikhaw kphisucnwaethcodyihtwxyanghngsdatwhnungepnkhxkhdkhan karphisucnwaepnethcodynirny aekikh karphisucnwaepnethcodynirny tangcakkarimmikarphisucnwaepncring karphisucnpraphcnwaepnethc thaodyichrupaebbthangtrrkathieriykwa modus tollens phankarsngektkarn echn lxngsmmutiwapraphcnsakl U hamkarsngektkarnwami O khux U O displaystyle U rightarrow neg O aetwa ekidkarsngektkarnwami O O displaystyle O dngnnodyhlk modus tollens U displaystyle neg U aemwatrrkakhxngkarphisucnwaethcaebbsamycasmehtusmphl aetkcakdmak khux praphcnekuxbthukxyangsamarththaihekhakbkhxmul trabethathibukhkhlyindithicaaektang khuxephuxcaphisucnpraphcnsaklwaepnethctamtrrka kcatxnghapraphcnbngwamicringtwhnung thiepntwphisucnwaethcidcring dr pxpepxrchiwa epnipidesmxthicaepliynpraphcnsaklhruxpraphcnbngwacring cnkrathngkarphisucnwaethcimekidkhun echn emuxidyinwamikarphbhngsdainpraethsxxsetreliy bukhkhlxaccasrangsmmtithanechphaakic ad hoc hypothesis wa hngsthnghmdmisikhawykewnthiphbinxxsetreliy hruxxaccaduthukkhnsngektkarnbangkhnwa nkpksiwithyainxxsetreliyimkhxyekng dngnn aemwakarphisucnwaethcaebbsamy khwrcaepnwithilblangkhaxthibaythiimtrngkbkhwamcringinkhxthkethiyngtang id echnthvsdismkhbkhid hruxtananphunban aetkhnthisnbsnunthvsdithiimcring xacxangwa imehnmixair hrux pkti hrux khwamaetktanghruxsingthiphbnxyekinkwathicdwaminysakhythangsthiti aetkhnxikfayhnungcayxmrbwa misngektkarnthiphisucnpraphcnsaklwaepnethcekidkhunaelw dngnn karphisucnwaethcaebbsamy imidthaihnkwithyasastrthiyunhydxyuinkdeknththiepnklang samarthphisucnpraphcnsaklthukxyangwaepnethcaebbtdsinchikhadodythithukkhnyxmrbidkhtiniymphisucnwaethc aekikhkarphisucnwaethcaebbsamy epnkaresnxwithikarthangehtuphlthihlikeliyngimidsahrbwithyasastrthiimprasbkhwamsaerc aetwa karphisucnwaethcodyepnraebiybwithithichladsbsxnkwann khwrcaepnwithithinkwithyasastreluxkpraphvti sungepnkrabwnkaraebbkhxyepnkhxyip thithvsdithangwithyasastrtang ca aeynxylng eruxy karphisucnwaethcaebbsamyphicarnapraphcnwithyasastraetlapraphcntanghak aetwa thvsdithangwithyasastrekidcakklumpraphcnechnni dngnn mnepnklumpraphcnthinkwithyasastrcayxmrbhruxptiesth imichpraphcnaetlapraphcn aeladngnn thvsdiwithyasastrcungsamarthpxngknkarphisucnwaethcodykaretimsmmtithanechphaakic ad hoc hypothesis id dngthi dr pxpepxrklawiwaelw nkwithyasastrcatxng tdsinic ephuxthicayxmrbhruxptiesthpraphcntang thiichepnswnkhxngthvsdi hruxthicaphisucnthvsdiwaepnethc dngnn emuxkalphanip emuxmikaretimsmmtithanechphaakicaelakarmxngkhamsngektkarnthiphisucnwaethcmak ekha inthisudkcaimsmehtusmphlthicasnbsnunthvsdinnxiktxip aelacaekid kartdsinic thiptiesththvsdinndngnn dr pxpepxrcungphicarnawa karkawhnakhxngwithyasasrepnkarptiesththvsdiwaethctx kn aethnthicaepnkarptiesthpraphcntang thvsdithiphisucnaelwwaethc cathdaethndwythvsdiihmthisamarthxthibaypraktkarnthiepntwphisucnthvsdikxnwaethc khux samarthxthibayidmakkwa mikalnginkarxthibaymakkwayktwxyangechn thvsdiklsastrkhxngxarisotetilsamarthxthibaypraktkarnthiehnidinchiwitpracawn cnkrathngthukphisucnwaethcodykarthdlxngkhxngkalielox 12 aelwcungthdaethndwythvsdiklsastrkhxngniwtn thisamarthxthibaypraktkarnthisngektodykalielxiaelabukhkhlxun thvsdikhxngniwtnsamarthxthibayipcnthungokhcrdawaelaklsastrkhxngaeks txmathvsdikhlunaesngkhxngyng thikhlunaesngmiphahaepn luminiferous aether cungthdaethnthvsdikhxngniwtnekiywkbxnuphakhaesng aetinthisudkphisucnwaethcodykarthdlxngkhxngmiechlsn mxrliy aelwthdaethndwythvsdiaemehlkiffakhxngaemksewll aelathvsdismphththphaphphiesskhxngixnsitn sungsamarthxthibayprakkdkarnihm thisngektehnid aelwinthisud thvsdikhxngniwtninradbxatxmkthdaethndwyklsastrkhwxntm ephraathvsdiekaimsamarthxthibaypraktkarn ultraviolet catastrophe hrux Gibbs paradox hruxwathaimcungsamarthmixxrbithlechingxatxm atomic orbital odythixielktrxnimaephrngsikhuxphlngngankhxngtnaelwhmunekhaipchnniwekhliysid dngnn thvsdiihmcungtxngsmmutiaenwkhidtang thiekhaicidyakechn radbphlngngan khwxntm aelahlkkhwamimaennxnkhxngihesnebirkinaetlakhn sngektkarninkarthdlxngphisucnthvsdihnung waepnethc aelwcungekidthvsdiihmthisamarthxthibayidmakkwa khuxsamarthxthibaysingthithvsdikxnxthibayimid sungmiphlepnkarih oxkasdikwathicathukphisucnwaepnethc kdeknthinkaraebngaeyk aekikhdr pxpepxrichkarphisucnwaepnethcidepnkdeknthinkaraebngxyangchdecnsungthvsdithiepnwithyasastraelathvsdithiimich xyangirkdi karruwapraphcnhnunghruxthvsdihnung samarthphisucnwaethcidhruxim mipraoychnxyangnxykephuxihsamarthekhaicwithikartang thixacichpraeminthvsdinnid bukhkhlxaccaprahydewlaodyimtxngipphyayamphisucnkhwamethckhxngthvsdithiphisucnwaepnethcimid hruxxaccaehnodythisudwa thvsdithiphisucnepnethcimid epneruxngthisnbsnunimid dr pxpepxrxangwa thathvsdiphisucnwaepnethcid mnepnwithyasastraetihsngektwa kdeknthni imichepnkarham praphcn thiphisucnepnethcimidcakwithyasastr aetepnkarham thvsdi thiimmipraphcnthisamarthphisucnwaepnethcidelyaemaetpraphcnediyw dngnn pyhathitidtammakkhux karkahndwa xairepn thvsdithnghmd aelaxairthapraphcnhnungih mikhwamhmay dukartdsinwaxairmikhwamhmaythihwkhxsarasakhyaelahwkhxtxip dngnn khtiniymphisucnwaepnethcidkhxng dr pxpepxr imichepnephiyngthangeluxkkhxngkhtiniymphisucnwaepncringidethann aetyngepnkaraesdngaenwkhidhruxkhxnespttang thithvsdiprchyaekiywkbwithyasastrkxn imidisic khtiniymphisucnwaepncringid aekikh inprchyawithyasastr khtiniymphisucnwaepncringid verificationism thuxwa praphcncatxngsamarthphisucnwaepncringidodyprasbkarnephuxthicamikhwamhmayaelaepnwithyasastr sungepnswnsakhykhxngprchyaptithanniym positivism aet dr pxpepxrihkhxsngektwa nkprchyainkhtiniymniidphsmpyhasxngxyang khuxeruxngkhxngkhwamhmayaelaeruxngkhxngkaraeykaeya aelaidesnxwithiaekpyhaxyangediywsahrbpyhathngsxngxyang ekhakhdkhanmummxngechnni odyennwa mithvsdithimikhwamhmayaetimepnwithyasastr aeladngnn kdeknthwaxairmikhwamhmay aelawaxairepnwithyasastr imichkdeknthediywkndngnn dr pxpepxrcungesnxihichkarphisucnwaepnethcid aethnthikarphisucnwaepncringid epnkdeknthaeykaeyawaxairepnwithyasastr aetihsngektwa ekhatxtanxyangeddkhadsungkhwamkhidwa praphcnthiimsamarthphisucwaepnethcidimmikhwamhmay aelaimdiodythrrmchati aelaklawwa khtiniymphisucnwaethc imidhmayechnnn 13 karichinsalshrth aekikh inpi 1982 salchntnkhxngrthbalklangshrthichhlkphisucnwaepnethcidinkhdi nayaemkhlinkbrthxarkhnsx odyepnkdeknthhnungthitdsinwa creation science sungxthibayprawtisastrolk khwamepnipkhxngckrwal aelawiwthnakar tamhnngsuxpthmkalkhxngsasnakhrist odythalaylanghruxtikhwambidebuxnsungkhwamcring thvsdi aelarupaebbthangwithyasastr imichwithyasastraelaimkhwrsxnepnwithyasastrinorngeriynrthkhxngxarkhnsx aetsxnepnsasnaid nkprchyaphuhnungidihkarinsal aelakahndlksnakhxngwithyasastrwaepnsingthiichxthibay thitrwcsxbid aelathiyxmrbxyangmienguxnikh tentative sungkhasudthayhmaykhwamediywkbkarphisucnwaepnethcid 14 salsrupekiywkbkdeknththiichwa aemwathukkhncamixisrathicathakarsxbswnthangwithyasastrtamwithithitneluxk aettncaimsamarthklawthungwithikarehlannwaepnwithyasastridxyangthuktxng thatnerimthikhxsrupkxnaelwptiesththicaepliynkhxsrupnn imwacamihlkthanxairihmthiekidkhuninrahwangkartrwcsxb 15 krabwnkaryutithrrmkhxngshrthyngichkarphisucnwaepnethcodyepnswnkhxngmatrthandxebirt Daubert Standard dwy sungepnmatrthanthitngkhuninpi 1993 odysalsungsudshrthxemrika inkartdsinwahlkthanthangwithyasastrepnsingthirbfngidhruximinkhdithitdsinodykhnalukkhunkhxwicarn aekikhodynkprchyarwmsmy aekikh phusnbsnun dr pxpepxrphudthung prchyamuxxachiph xyangimekrngic epntnwa esxrkharl pxpepxr cring imichepnphurwmaelkepliynkhwamkhidkbnkprchyamuxxachiphrwmsmy aettrngknkhamknthiediyw ekhaidthakaraelkepliynkhwamkhidnnihesiyhaythaekhakalngdaeninipinthangthithuktxng nkprchyamuxxachiphodymakinolkkidesiyewlahruxkalngesiyewlaipkbxachiphthiichstipyyakhxngtn chxngwangrahwangwithikarthangprchyakhxngpxpepxrkbkhxngnkprchyamuxxachiphrwmsmyodymak kwangihyehmuxnkbthixyurahwangohrasastrkbdarasastr 16 hruxwa aenwkhidkhxngpxpepxrimsamarththaihnkprchyamuxxachiphodymakechuxid ephraawa thvsdieruxngkhwamruaebbkhadkhaenkhxngekhaimaemaetcaaeklngihehtuphlechingbwkekiywkbkhwamechuxkhnxunkimidthaiddikwa aetphwkekhakphyayamkntxip ehmuxnkbphwknkekhmithiyngphyayamhasilankprachy hruxnkfisiks thiyngphyayamsrangekhruxngckrthisamarthekhluxnthiidtlxdkal perpetual motion machine 17 hrux singthiaeykwithyasastrxxkcakkhwamphyayamxyangxunkhxngmnusythnghmdkkhuxwithyasastrthidithisudaelaphthnaaelwihkhaxthibayeruxngolk thisnbsnunxyangekhmaekhngodyhlkthan aelahlkthanniaehlaepnehtuphlhnkaennthisudthikhwrcaechuxkhaxthibayehlann nnepnkhathiklawinebuxngtnkhxngokhsnasahrbnganprachumekiywkarxupnyemuxerw nithisunyklangkareriynruinshrachxanackr sungaesdngihehnwakhnthiniymehtuphlaebbkhidwiekhraah yngminganehluxmakkhnadihnthicaephyaephrsarasakhykhxng trrkakhxngnganwicy wahlkthanechingprasbkarnnnsamarththaxairidaelathaxair 18 xyangirkdi nkprchyawithyasastraelankprchyaechingwiekhraahrwmsmyediywknepncanwnmak phaknwicarnprchyathangwithyasastrkhxngpxpepxr 19 aelakhwamimechuxkarkhidhaehtuphlodyxupnykhxngekhathaihmikhnxangwa dr pxpepxrbidebuxnkhxptibtithangwithyasastr khunaelalxkxotch aekikh ethiybkb dr pxpepxrthisniceruxng trrka khxngwithyasastrepnhlk hnngsuxthrngxiththiphlkhxng dr othms khun okhrngsrangkhxngkarptiwtiwithyasastr The Structure of Scientific Revolutions trwcsxbprawtiwithyasastrxyanglaexiyd dr khunxangwa nkwithyasastrthanganphayinrabbechingaenwkhid conceptual paradigm thimixiththiphlxyangsakhytxkarmxngehnkhwamcring aelankwithyasastrcathaxairmakmayephuxthicapxngknrabbimihthukphisucnwaepnethc odyephimsmmtithanechphaakicekhakbthvsdithimixyu dngnn karepliynrabb paradigm cungepneruxngyak ephraawa mnbngkhbihnkwithyasastraetlakhntxngtihangcakephuxnaelwpxngknthvsdiihmthinxkkhxkphusnbsnunkhtiniymphisucnwaethcbangthan ehnngankhxng dr khunwaepnekhruxngphisucnkhwamehnkhxngtn ephraawa dr khun ihhlkthanthangprawtisastrwawithyasastrkawhnaodyptiesththvsdithiimsmburn aelaepn kartdsinic khxngnkwithyasastr thicayxmrbhruxptiesththvsdi sungepnaenwkhidhlkkhxngkhtiniym khnednthisudinklumnikkhux nkprchyachawhngkari dr ximer lxkxotchdr lxkxotchphyayamxthibayngankhxng dr khun odyxangwa withyasastrkawhnaodyphisucnwa opraekrmnganwicy epnethc aethnthicaphisucnpraphcnsaklodyechphaa dngthiphbinkarphisucnwaethcaebbsamy odywithikhxng dr lxkxotch nkwithyasastrthanganphayinopraekrmkarwicy thikhlay kbrabb paradigm khxng dr khun aelaepriybethiybkb dr pxpepxr thiptiesthkarichsmmtithanechphaakicwa imepnwithyasastr dr lxkxotchyxmrbkarichemuxkalngphthnathvsdiihm 20 fayxaebnd aekikh swn dr phxl fayxaebnd Paul Feyerabend trwcsxbprawtiwithyasastraebbwiekhraah aelwptiesthraebiybwithithiepnkdthukxyang ekhakhdkhankhxxangkhxng dr lxkxotch ekiywkbsmmtithanechphaakic odyxangwa withyasastrcaimsamarthkawhnaodyimichklwithithukxyangthimiephuxsnbsnunthvsdiihm ekhaptiesthkarxingraebiybwithithangwithyasastr aelakarykyxngepnphiesskhxngwithyasastrthixacsubmacakkarichraebiybwithiechnnn ekhaxangwa thacatxngmikdthangraebiybwithithismehtusmphlxyangsakl hlk epistemological anarchism xnathipitythangyanwithya hruxwa thaxairkid kcaepnkdediywthimi sahrb dr fayxaebnd thanaphiessthiwithyasastrxaccami submacakkhunkhathangsngkhmaelathangkayphaphthiidcakphlngankhxngwithyasastr imichcakraebiybwithi osklaelabrikmxnt aekikh inhnngsux eruxngehlwihlthiepnaefchn Fashionable Nonsense hruxthiphimphinshrachxanackrinchux eruxnghlxklwngthangpyya Intellectual Impostures nkfisiks xlaeln oskl aelachxn brikmxnt wicarnkarphisucnwaethcwa imidbrryaykarthangankhxngwithyasastridxyangthuktxng phwkekhaxangwa mikarichthvsditang ephraakhwamsaerckhxngthvsdi imichephraakhwamlmehlwkhxngthvsdixun karklawthung dr pxpepxr karphisucnwaethc aelaprchyawithyasastrxyuinbthchuxwa Intermezzo sungaesdngcudyunkhxngtnwaxairepnkhwamcring epriybethiybkbsmphththniymthangyanwithyaaebbsudotng extreme epistemological relativism phwkekhaidklawiwwa emuxthvsdihnungyunhydkhwamphyayamphisucnwaethcidsaercnkwithyasastrodythrrmchatikcaphicarnathvsdiniwayunynaelwinradbhnung aelacaihkhaaennwamioxkasepncringthisungkwa aetwapxpepxrimexaxyangnithnghmd thngchiwitkhxngekhaepnkhntxtanxyangduxrnaenwkhidthukxyangekiywkbkaryunynthvsdi hruxaemaet khwamnacaepn thithvsdicaepncring aet prawtiwithyasastrsxnerawa thvsdiwithyasastrtang klayepneruxngthiyxmrbkxnxunthnghmd kephraakhwamsaerckhxngphwkmn 21 phwkekhaxangtxipwa karphisucnwaethcimsamarthaeykaeyarahwangohrasastrkbdarasastr ephraawa thngsxnglwnaetthakarphyakrnthibangkhrngkphidphladnkprchyarwmsmy s dr edwid milelxr phuekhythanganepnphuchwynganwicykhxng dr pxpepxr 22 23 idphyayamtxbottxkhxwicarnehlanipxngknaenwkhidkhxng dr pxpepxr 24 23 odyxangwa ohrasastrimidepidihphisucnwaepnethcethakbdarasastr aelaniepnkarthdsxbaebbechiybkhad litmus test sahrbkhwamepnwithyasastrtwxyang aekikhmikarichhlkkarphisucnwacringid aelakarphisucnwaethcid ephuxwicarneruxngkhdaeyngtang karphicarnatwxyangdngtxipni xacaesdngpraoychnkhxnghlkkarphisucnwaethcid ephuxihehnwakhwrcaphicarnaeruxngxairemuxcawicarnhruxcbphidthvsdiidthvsdihnung esrsthsastr aekikh dr kharl pxpepxrxangwalththimaksepliyncakepnthvsdithiphisucnwaethcid epnipimid ephraawa thvsdiebuxngtnnnthakarphyakrnthiphisucnid aetemuxkhaphyakrnnnimtrngkbkhwamcring cungmikarephimsmmtithanechphaakicekhaephuxihtrngkbkhwamcring sungthalaythvsdithiepnwithyasastrklayipepnepnsiththant dogma thiepnwithyasastrethiymaethn 25 nkesrsthsastrbangphwk echnphwkthixyuinsankxxsetriy Austrian School echuxwa thvsdithangesrsthsastrmhphakh epneruxngthiphisucnwaethcimidodyhlkthanechingprasbkarn aeladngnn withiediywthismkhwrthicaekhaicehtukarntang thangesrsthkic kkhuxkarsuksaectnakhxngphutdsinicthangesrsthkicaetlakhnaebbnirny odymithanxyuthikhwamcringphunthanbangxyang 26 27 28 nkesrsthsastredn insankxxsetriybangkhn epnphurwmngankhxng dr pxpepxr echn Ludwig von Mises aela Friedrich Hayek wiwthnakar aekikh mitwxyangkhxngwithithangxxmmakmay thisamarthphisucnkarmibrrphburusediywknkhxngthvsdiwiwthnakarwaepnethcid minkwithyasastrchawxngkvsphuhnung emuxthamthunghlkthansmmutithicasamarthhklangthvsdiwiwthnakarid ktxbwa sakdukdabrrphkhxngkratayinmhayukhphriaekhmebriyn 29 sungepnyukhkxnthistweliynglukdwynmechnkratayhruxhipopcaekidkhun swn dr richard dxwkinsesrimwa stwyukhpccubnxairkid echn hipopopetms kichid 30 31 32 dr pxpepxr aerk khdkhankartrwcsxbidkhxngkarkhdeluxkodythrrmchati 33 34 aetphayhlngthxnkhaphud odyklawwa phmidepliynicekiywkbkartrwcsxbidaelakhwamsmehtusmphlkhxngthvsdikarkhdeluxkodythrrmchati aelaphmdiicthimioxkasthicathxnkhaphud 35 enrmitniym aekikh khawiphakswicarntxlththienrmitniymthiolkekidkhunyngimnan young earth creationism xasyhlkthantamthrrmchatiwaolkniekaaekkwathikhnlththiniechux aetemuxephchiykbhlkthanechnni sawklththiniklbsrangsmmtithanechphaakicthieriykwa Omphalos hypothesis wa olknirmitkhunphrxmkbkhwamekaaekechn karpraktxyangchbphlnkhxngikthiotaelwaelasamarthwangikhid smmtithanechnni imsamarthphisucnihepnethcid ephraawa xayukhxngolkhruxaemaetkhxngwtthuthxngfathukxyang imsamarthcaaesdngidwa imidthakhunemuxekidkarenrmit prawtisastrniym Historicism aekikh thvsdiekiywkbprawtisastrhruxkaremuxng thixangwasamarthphyakrnxnakhtid xyuinrupaebbthangtrrksastrthithaihimsamarthphisucnthngepncringhruxepnethcid mikarxangwa sahrbehtukarnsakhythangprawtisastrthuk ehtukarn mikdthangprawtisastrhruxesrsthsastrthi kahnd kardaeninkhxngehtukarn karimsamarthrabukdnnidimidhmaykhwamwakdimmi aetwathaehtukarnekhakbkdnnid kdnnklbimsamarthichodythwipid khuxichidechphaaeruxng dngnn kartrwcsxbkhxxangehlanixyangdithisudkepneruxngyak thaepnipidodyprakarthngpwng ephraaehtuni dr pxpepxrcung imehndwyodyphunthankbprawtisastrniym ineruxngkhxngkarphyakrnprawtisastrid 36 aelaxangwa thnglththimaksaelacitwiekhraahimichwithyasastr 36 aemwathngsxngcamikhaxangxingprakarechnni aetwa niimidhmaykhwamwathvsdiechnnitxngimthuktxng khux dr pxpepxrephiyngaekhphicarnakarphisucnwaepnethcodyepnekhruxngthdsxbwa thvsdixairepnwithyasastr imichthdsxbwasingthixangepncringhruxim khnitsastr aekikh nkprchyaepncanwnmakechuxwa khnitsastrimsamarthphisucnwaepnethcidodykarthdlxng aeladngnnkcaimichwithyasastrtamniyamkhxng dr pxpepxr 37 inchwngkhristthswrrs 1930 thvsdibthkhwamimsmburnkhxngekxedl Godel s incompleteness theorems phisucnwa mnimmiscphcnechingkhnitskest thismburndwy thisxdkhlxngkndwy dr pxpepxrsrupwa thvsdikhnitsastrodymak odyehmuxnkbthvsdithangfisiksaelachiwwithya epneruxngsmmutibwkkarnirny hypothetico deductive dngnn khwamruthangkhnitsastrbrisuththi cungiklkbwithyasastrthrrmchatithismmtithanepneruxngkarkhadkhaen makkwathimnduehmuxncaepnaemkrathnginerw ni 38 nkprchyathanxun odyechphaa dr ximer lxkxotch kidichhlkkhxngkhtiniymphisucnwaethcaebbhnung txkhnitsastrehmuxnknehmuxnkbwithyasastrrupnyxun khnitsastrimidsniceruxngkhwamsmehtusmphlkhxngthvsdiodyxasysngektkarnthiidcakprasbkarn aetwa ipisicxyuthikarsuksathangthvsdithiepnnamthrrm inpraedntang echn priman okhrngsrang priphumi aelakarepliynaeplng aetwa raebiybwithikhxngkhnitsastr caprayuktichinkarsrangaelathdsxbaebbcalxngthangwithyasastrthiekiywkbkhwamepncringthiepnprasbkarn dr xlebirt ixnsitnidekhiyniwwa ehtuphlxyanghnungthikhnitsastridrbkhwamekharphykyxngepnphiessehnuxwithyasastrthnghmdxunkkhux kdkhxngmnaennxnxyangsmburnaelaimsamarthhklangid inkhnathikdkhxngwithyasastrxun samarthotaeyngidodyradbhnung aelamixntraytlxdkaltxkarthuklmlangodykhwamcringthikhnphbihm 39 khaphudtang aekikhmikarxang dr xlebirt ixnsitnwaphudwa thxdkhwam karthdlxngimwacanwnethairkimsamarthphisucnwaphmthukid aetkarthdlxngediywsamarthphisucnwaphmphidid 40 41 42 kdeknthkhxngkhwamepnwithysastrkhxngthvsdihnung kkhux karphisucnwaepnethcid falsifiability hruxkarptiesthid refutability hruxkarthdsxbid testability dr kharl pxpepxr 43 duephim aekikhkhwamexnexiyngthangprachan ehtuphlwibti midoknxxkkhm raebiybwithithangwithyasastrechingxrrthaelaxangxing aekikh falsifiability principle sphthbyytixngkvs ithy ithy xngkvs chbbrachbnthitysthan khxmphiwetxr run 1 1 hlkphisucnwaepnethc prchya xupny phcnanukrmxielkthrxniks chbbrachbnthitysthan ph s 2542 xupa xubpa n withikarichehtuphlthidaenincakswnyxyiphaswnrwm khukb nirny x induction Popper K R 1994 Zwei Bedeutungen von Falsifizierbarkeit Two meanings of falsifiability in Seiffert H Radnitzky G b k Handlexikon der Wissenschaftstheorie phasaeyxrmn Munchen Deutscher Taschenbuch Verlag pp 82 85 ISBN 3 423 04586 8 Karl Popper is generally regarded as one of the greatest philosophers of science of the 20th century in Thornton 2013 Horgan J 1992 Profile Karl R Popper The Intellectual Warrior Scientific American 267 5 38 44 Popper 1959 p 4 nirny phcnanukrmxielkthrxniks chbbrachbnthitysthan ph s 2542 rain n withikarichehtuphlthidaenincakswnrwmiphaswnyxy khukb xupny x deduction Popper 1959 p 19 Popper 1959 p 16 Keuth The philosophy of Karl Popper p 45 Popper Karl 2005 The Logic of Scientific Discovery Taylor amp Francis e Library ed London and New York Routledge Taylor amp Francis e Library pp 47 50 ISBN 0203994620 Thomas Geoffrey Magic Science and Religion http www bbk ac uk subkhnemux 2015 03 25 External link in website help Popper 1959 section 6 footnote 3 Ruse Michael 2010 Science and Spirituality Making Room for Faith in the Age of Science New York Cambridge University Press McLean v Arkansas Board of Education Decision dated January 5 1982 Talk origins 1996 01 30 Bartley WW III 1976 Biology amp evolutionary epistemology Philosophia 6 3 4 463 494 Champion Rafe 1985 10 Agreeing to Disagree Bartley s Critique of Reason Melbourne Age Monthly Review Check date values in date help David Miller Some hard questions for critical rationalism Gardner Martin 2001 A Skeptical Look at Karl Popper Skeptical Inquirer 25 4 13 14 72 Lakatos Imre 1978 The methodology of scientific research programmes Philosophical Papers Volume I Cambridge Cambridge University Press ISBN 0 521 28031 1 Sokal amp Bricmont 1998 Miller D 1997 Sir Karl Raimund Popper C H F B A 28 July 1902 17 September 1994 Elected F R S 1976 Biographical Memoirs of Fellows of the Royal Society 43 369 310 doi 10 1098 rsbm 1997 0021 23 0 23 1 Miller David 2006 Chapter 6 Out of Error further essays on critical rationalism Aldershot Hants England Ashgate ISBN 0 7546 5068 5 Miller David 2000 Sokal and Bricmont Back to the Frying Pan PDF Pli 9 156 73 For Marxism Popper believed had been initially scientific in that Marx had postulated a theory which was genuinely predictive However when these predictions were not in fact borne out the theory was saved from falsification by the addition of ad hoc hypotheses which made it compatible with the facts By this means Popper asserted a theory which was initially genuinely scientific degenerated into pseudo scientific dogma in Thornton 2013 Austrian School of Economics The Concise Encyclopedia of Economics Library of Economics and Liberty Methodological Individualism at the Stanford Encyclopedia of Philosophy Stanford Encyclopedia of Philosophy Ludwig von Mises 2010 Human Action US Ludwig von Mises Institute p 11 r Purposeful Action and Animal Reaction ISBN 9780865976313 Ridley M 2003 Evolution Third Edition Blackwell Publishing Limited ISBN 1 4051 0345 0 Wallis C 2005 08 07 The Evolution Wars Time Magazine p 32 subkhnemux 2007 03 24 Dawkins Richard 1995 River Out of Eden Basic Books ISBN 0 465 06990 8 Dawkins Richard 1986 The Blind Watchmaker W W Norton amp Company Inc ISBN 0 393 31570 3 Lannes Sophie Alain Boyer 1982 02 26 Les chemins de la verite L Express va plus loin avec Karl Popper L Express online German translation Die Wege der Wahrheit Zum Tode von Karl Popper Aufklarung und Kritik 1994 02 p 38 Check date values in date help Popper K 1985 Unended Quest An Intellectual Autobiography Open Court ISBN 0 08 758343 7 Popper K 1978 Natural selection and the emergence of mind Dialectica 32 339 355 36 0 36 1 Burton Dawn 2000 1 Research training for social scientists a handbook for postgraduate researchers SAGE pp 12 13 ISBN 0 7619 6351 0 Shasha Dennis Elliot Lazere Cathy A 1998 Out of Their Minds The Lives and Discoveries of 15 Great Computer Scientists Springer p 228 CS1 maint multiple names authors list link Popper 1995 p 56 Einstein Albert 1923 Geometry and Experience Sidelights on relativity Courier Dover Publications p 27 Reprinted by Dover 2010 ISBN 978 0 486 24511 9 Calaprice Alice 2005 The New Quotable Einstein USA Princeton University Press and Hebrew University of Jerusalem p 291 ISBN 0 691 12074 9 Calaprice denotes this not as an exact quotation but as a paraphrase of a translation of A Einstein s Einstein Albert Einstein A Janssen M Schulmann R aelakhna b k Induction and Deduction Collected Papers of Albert Einstein The Berlin Years Writings 1918 1921 Vol 7 Document 28 Explicit use of et al in editors help CS1 maint uses editors parameter link Wynn Charles M Wiggins Arthur W Harris Sidney 1997 The Five Biggest Ideas in Science John Wiley and Sons p 107 ISBN 0 471 13812 6 Newton Lynn D 2000 Meeting the standards in primary science a guide to the ITT NC Routledge p 21 ISBN 0 7507 0991 X Popper Carl Conjectures and Refutations 36 echingxrrthaelaxangxing aekikhAngeles Peter A 1992 Harper Collins Dictionary of Philosophy 2nd ed New York NY Harper Perennial ISBN 0 06 461026 8 CS1 maint uses authors parameter link Feyerabend Paul K 1975 Against Method Outline of an Anarchistic Theory of Knowledge London UK Humanities Press CS1 maint uses authors parameter link Kuhn Thomas S 1962 The Structure of Scientific Revolutions Chicago IL University of Chicago Press CS1 maint uses authors parameter link Lakatos Imre 1970 Lakatos Imre Musgrave Alan b k Falsification and the Methodology of Scientific Research Programmes Criticism and the Growth of Knowledge 4 Cambridge Cambridge University Press CS1 maint uses authors parameter link CS1 maint uses editors parameter link Lakatos Imre 1978 The methodology of scientific research programmes Philosophical papers I Cambridge Cambridge University Press ISBN 0 521 28031 1 CS1 maint uses authors parameter link Peirce C S Lectures on Pragmatism Cambridge MA March 26 May 17 1903 Reprinted in part Collected Papers CP 5 14 212 Published in full with editor s introduction and commentary Patricia Ann Turisi ed Pragmatism as a Principle and Method of Right Thinking The 1903 Harvard Lectures on Pragmatism State University of New York Press Albany NY 1997 Reprinted pp 133 241 Peirce Edition Project eds The Essential Peirce Selected Philosophical Writings Volume 2 1893 1913 Indiana University Press Bloomington IN 1998 Popper Karl 1959 The Logic of Scientific Discovery New York NY Basic Books CS1 maint ref harv link Popper Karl 1963 Conjectures and Refutations The Growth of Scientific Knowledge London Routledge ISBN 0 415 04318 2 CS1 maint ref harv link Runes Dagobert D b k 1962 Dictionary of Philosophy Totowa NJ Littlefield Adams and Company CS1 maint uses editors parameter link Sokal Alan Bricmont Jean 1998 Fashionable Nonsense Postmodern Intellectuals Abuse of Science eruxngehlwihlthiepnaefchn New York NY Picador CS1 maint ref harv link Theobald D L 2006 29 Evidences for Macroevolution The Scientific Case for Common Descent 2 87 The Talk Origins Archive Thornton Stephen 2013 Karl Popper subkhnemux 2016 01 22 CS1 maint ref harv link aehlngkhxmulxun aekikhProblems with Falsificationism at The Galilean Libraryekhathungcak https th wikipedia org w index php title karphisucnwaepnethc amp oldid 7328863, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม