fbpx
วิกิพีเดีย

แบบสิ่งเร้า

แบบสิ่งเร้า หรือ แบบความรู้สึก (อังกฤษ: Stimulus modality, sensory modality) เป็นลักษณะอย่างหนึ่งของสิ่งเร้า หรือเป็นสิ่งที่เรารับรู้เนื่องจากสิ่งเร้า ยกตัวอย่างเช่น เราจะรู้สึกร้อนหรือเย็นหลังจากมีการเร้าตัวรับอุณหภูมิของระบบรับความรู้สึกทางกาย เช่น ด้วยวัตถุที่ร้อน แบบสิ่งเร้าบางอย่างรวมทั้งแสง เสียง อุณหภูมิ รสชาติ แรงดัน กลิ่น และสัมผัส ประเภทและตำแหน่งของเซลล์ประสาทรับความรู้สึกที่ทำงานเนื่องจากสิ่งเร้า จะเป็นตัวกำหนดการเข้ารหัสความรู้สึก แบบความรู้สึกต่าง ๆ อาจทำงานร่วมกันเพื่อเพิ่มความชัดเจนของสิ่งเร้าเมื่อจำเป็น

การรับรู้สิ่งเร้าหลายแบบ

 
สมองส่วน Superior colliculus ที่สามารถรับรู้ทางตา ทางหู และทางกาย ส่วนที่คาบเกี่ยวกันช่วยให้สามารถรับรู้จากประสาทสัมผัสหลายทาง

การรับรู้สิ่งเร้าหลายแบบ (Multimodal perception) เป็นสมรรถภาพของระบบประสาทในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ที่รวมเอาข้อมูลจากระบบรับความรู้สึกต่าง ๆ ซึ่งอาจเพื่อให้สามารถตรวจจับหรือระบุสิ่งเร้าเฉพาะหนึ่ง ๆ ได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่ความรู้สึกอย่างเดียว จะทำให้รับรู้ได้คลุมเครือหรือไม่สมบูรณ์

การรวมแบบความรู้สึกจะเกิดเมื่อเซลล์ประสาทที่รับสิ่งเร้าได้หลายแบบ (multimodal neuron) เช่นใน superior colliculus ได้รับข้อมูลแบบต่าง ๆ การตอบสนองของเซลล์ประสาทที่รับสิ่งเร้าได้หลายแบบพบว่า มีผลเปลี่ยนพฤติกรรม เช่นสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้แม่นยำขึ้น การรับรู้สิ่งเร้าได้หลายแบบไม่ได้จำกัดอยู่ที่สมองส่วนเดียว

การอ่านริมฝีปาก

การอ่านริมฝีปากต้องอาศัยแบบความรู้สึกหลายอย่างสำหรับมนุษย์ โดยการสังเกตการเคลื่อนไหวของริมฝีปากและใบหน้า ก็จะฝึกอ่านริมฝีปากได้ การอ่านริมฝีปากแม้ไม่ได้ยินเสียงจะเริ่มการทำงานของเปลือกสมองส่วนการได้ยิน (auditory cortex) และเมื่อได้ยินเสียงด้วย การเคลื่อนไหวของริมฝีปากที่เข้ากับเสียงหรือไม่เข้ากับเสียง ก็จะทำให้สมองซีกซ้ายส่วน temporal sulcus ทำงานมากขึ้น

ปรากฏการณ์รวมความรู้สึก

การรับรู้ความรู้สึกรวมหลายแบบ อาจเกิดเมื่อสิ่งเร้าแบบเดียวไม่สามารถทำให้เกิดการตอบสนอง ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การรวมความรู้สึกจะเกิดก็เมื่อสมองตรวจจับสัญญาณทางประสาทหลายอย่างที่มีกำลังน้อย แล้วรวมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างการรับรู้ที่รวมข้อมูลหลายแบบ การรวมสัญญาณจะเป็นไปได้ก็เมื่อสิ่งเร้ามากระทบประสาทสัมผัสพร้อม ๆ กัน แต่จะน้อยลงหรือไม่มี ถ้าข้อมูลจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ ไม่ได้เกิดพร้อม ๆ กัน

Polymodality

Polymodality หมายถึงสมรรถภาพของตัวรับความรู้สึกตัวเดียวในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าหลายรูปแบบ เช่น ปลายประสาทอิสระ ซึ่งสามารถตอบสนองต่ออุณหภูมิ แรงกล (สัมผัส แรงดัน แรงยืด) หรือความเจ็บปวด (โนซิเซ็ปชัน)

แสง

 
แผนภาพตามนุษย์

รายละเอียด

รูปแบบสิ่งเร้าสำหรับการเห็นก็คือแสง ตามนุษย์สามารถเห็นสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าในพิสัยจำกัด คือระหว่างความยาวคลื่น 380-760 นาโนเมตร การตอบสนองแบบยับยั้ง (inhibitory) โดยเฉพาะ ๆ ในเปลือกสมองส่วนการเห็น จะช่วยโฟกัสการเห็นที่จุดหนึ่ง ๆ ที่ควรมองแทนที่จะกวาดมองทัศนียภาพทั้งหมด

การรับรู้

เพื่อจะรับรู้สิ่งเร้า ตาจะต้องหักเหแสงให้ตกลงที่จอตา โดยอาศัยการทำงานร่วมกันของกระจกตา แก้วตา (เลนส์ตา) และรูม่านตา การถ่ายโอนแสงเป็นกระแสประสาทจะเกิดที่เซลล์รับแสงในจอตา ซึ่งตอนที่ไม่ได้รับแสง วิตามินเอจะเข้ายึดกับโมเลกุลอีกโมเลกุลหนึ่งแล้วกลายเป็นโปรตีน คือเป็นโครงสร้างโมเลกุลคู่ที่เรียกว่า photopigment (สารรงควัตถุไวแสง)

เมื่ออนุภาคของแสงวิ่งชนเซลล์รับแสงของตา โมเลกุลคู่นี่จะแยกออกแล้วก่อลูกโซ่ปฏิกิริยาเคมี เริ่มด้วยเซลล์รับแสงที่ส่งกระแสประสาทหรือศักยะงานไปยังเซลล์ประสาทที่เรียกว่า Retinal bipolar cell ในที่สุดก็จะมีกระแสประสาทส่งไปที่ ganglion cell แล้วต่อจากนั้นไปยังสมอง

การปรับตัว

ตาสามารถตรวจจับสิ่งเร้าทางตาเมื่อโฟตอนเป็นเหตุให้โมเลกุล photopigment โดยเฉพาะ rhodopsin สลายตัว Rhodopsin ซึ่งปกติเป็นสีชมพู จะซีดลงในกระบวนการนี้ ถ้าแสงจ้ามาก photopigment จะสลายตัวเร็วกว่าที่จะสามารถสร้างใหม่ เมื่อ photopigment สร้างใหม่ได้น้อย ตาก็จะไม่ไวแสง เช่น ถ้าเข้าไปในห้องมืดจากที่สว่าง ก็จะต้องใช้เวลาสักระยะเพื่อสร้าง rhodopsin จำนวนพอสมควรขึ้นมาใหม่ ซึ่งเมื่อถึงจุดนี้ photopigment ที่ยังไม่ซีดก็จะมีมากขึ้นเพื่อรับโฟตอนของแสง เพราะอัตราการสร้างใหม่สูงกว่าอัตราการซีดลง นี่เป็นกระบวนการที่เรียกว่า การปรับตัวของตา (eye adaptation)

สิ่งเร้าที่มีสี

ข้อมูลเพิ่มเติม: เซลล์รูปกรวย, การเห็นเป็นสี, และ วิวัฒนาการของการเห็นภาพสีในไพรเมต

แสงในพิสัยที่มนุษย์มองเห็นได้มีความยาวคลื่นต่าง ๆ ระหว่าง 380-760 นาโนเมตร [nm] เรามองเห็นได้ก็เพราะมีเซลล์รูปกรวย 3 ประเภทที่จอตา โดยเซลล์แต่ละประเภทมี photopigment ของตนต่างหาก ๆ เซลล์สามารถรับแสงได้ดีสุดที่ความยาวคลื่นซึ่งเฉพาะเจาะจง ๆ คือ 420, 530 และ 560 nm หรืออย่างคร่าว ๆ สีน้ำเงิน สีเขียว และสีแดง สมองสามารถแยกแยะความยาวคลื่นและสีในขอบเขตการเห็นโดยจับว่า เซลล์รูปกรวยประเภทไหนทำงาน ลักษณะทางกายภาพต่าง ๆ ของสี ๆ หนึ่งจะรวมความยาวคลื่น ความเข้ม และสเปรกตัมที่จำกัด ในขณะที่ลักษณะทางการรับรู้ต่าง ๆ จะรวมสีสัน (hue) ความสว่าง และความอิ่มตัวของสี (saturation)

ไพรเมตสามารถแยกแยะสีได้มากที่สุดในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ นพ. โทมัส ยัง ได้เสนอทฤษฎีการเห็นเป็น 3 สี (Trichromatic theory) ในปี พ.ศ. 2345 ตามหมอ ระบบการเห็นของมนุษย์สามารถสร้างสีอะไรก็ได้ที่เห็น ผ่านการประมวลข้อมูลจากเซลล์รูปกรวยทั้งสาม ซึ่งอาศัยว่าเซลล์แต่ละประเภท ๆ ได้ตรวจจับสีอะไรแค่ไหน

สิ่งเร้าทางตาที่น้อยกว่าจะมองเห็น (Subliminal visual stimuli)

 
(บน) แสงไม่รวมที่จุดเดียวบนจอตาเพราะสายตาสั้น (ล่าง) หลังจากใช้แว่นช่วยให้หักเหแสงได้ลงตัว

งานศึกษาบางงานแสดงว่า สิ่งเร้าทางตาที่ไม่พอจะมองเห็นก็ยังสามารถมีอิทธิพลต่อความรู้สึกได้ งานศึกษาปี 2535 ให้ผู้ร่วมการทดลองดูชุดภาพแสดงบุคคลที่กำลังทำกิจวัตรตามปกติในชีวิตประจำวัน (เช่น เดินไปที่รถ นั่งอยู่ในร้านอาหาร) แต่ก่อนจะแสดงภาพกิจวัตร จะแสดงภาพที่เร้าอารมณ์เชิงบวก (เช่น เจ้าบ่าวเจ้าสาว เด็กที่มีตุ๊กตามิกกี้ เมาส์) หรืออารมณ์เชิงลบ (เช่น ถังใส่งู ใบหน้าถูกไฟไหม้) เป็นเวลา 13 มิลลิวินาที โดยที่ผู้ร่วมการทดลองเห็นเป็นเพียงไฟแค่แว็บเดียว และไม่ได้บอกผู้ร่วมการทดลองถึงรูปที่มองไม่เห็นนี้ เมื่อถามต่อมา ผู้ร่วมการทดลองมีโอกาสบอกว่า คนที่อยู่ในภาพมีบุคลิกภาพดีถ้าภาพมาตามหลังรูปซึ่งมองไม่เห็นและสร้างอารมณ์เชิงบวก และคนที่อยู่ในภาพมีบุคลิกภาพไม่ดีถ้าภาพมาตามหลังรูปที่มองไม่เห็นและสร้างอารมณ์เชิงลบ

การทดสอบ

การทดสอบที่สามัญเพื่อตรวจสุขภาพสายตารวมทั้งการตรวจความชัด (visual acuity) การตรวจการหักเหแสง การตรวจลานสายตา และการตรวจการเห็นสี การตรวจความชัดเป็นการตรวจสายตาซึ่งสามัญที่สุด และใช้วัดสมรรถภาพการเห็นรายละเอียดที่ระยะใกล้ไกลต่าง ๆ และปกติจะทำโดยให้อ่านตัวอักษรหรือระบุสัญลักษณ์เมื่อปิดตาข้างหนึ่ง

การตรวจการหักเหแสงก็เพื่อดูว่าจำเป็นต้องใช้แว่นตาหรือไม่ การตรวจจะบอกได้ว่า บุคคลนั้น ๆ สายตาสั้นหรือยาวหรือไม่ ซึ่งเป็นภาวะที่แสงเข้าไปในตาแต่ไม่รวมลงที่จุดเดียวในจอตา ภาวะการหักเหแสงไม่ลงตัวทั้งสอง จะต้องใช้เลนส์ปรับแสงเพื่อช่วยให้เห็นชัดขึ้น

ส่วนการตรวจลานสายตาจะช่วยระบุส่วนที่มองไม่เห็นรอบ ๆ สายตา สำหรับสายตาปกติโดยใช้ตาทั้งสอง บุคคลจะสามารถรับรู้ถึงวัตถุที่อยู่ในเขตการเห็นทางซ้ายและทางขวาเป็นบางส่วน โดยส่วนที่อยู่ตรงกลางจะเห็นละเอียดที่สุด

การตรวจการเห็นสีจะวัดสมรรถภาพในการแยกแยะสี เพื่อวินิจฉัยว่าตาบอดสีหรือไม่ และเพื่อตรวจคัดเลือกในงานบางประเภทถ้าการแยกแยะสีได้สำคัญ ตัวอย่างรวมทั้งงานทางทหารและตำรวจ

เสียง

 
แผนภาพแสดงหูของมนุษย์

รายละเอียด

สิ่งเร้าของการได้ยินก็คือเสียง ซึ่งเกิดจากความดันที่เปลี่ยนไปในอากาศ ในช่วงที่วัตถุหนึ่ง ๆ สั่น มันจะบีบอัดโมเลกุลอากาศรอบ ๆ เมื่อมันเคลื่อนไปที่จุดหนึ่ง และจะปล่อยขยายโมเลกุลรอบ ๆ เมื่อมันเคลื่อนออกจากจุดนั้น คาบของคลื่นเสียงจะวัดเป็นเฮิรตซ์ โดยเฉลี่ยแล้ว มนุษย์จะได้ยินเสียงสูงต่ำที่เป็นคาบหรือคล้าย ๆ กับเป็นคาบ ในพิสัยระหว่าง 30-20,000 เฮิรตซ์

การรับรู้

แรงสั่นในอากาศจะกระตุ้นแก้วหู ซึ่งรับแรงสั่นเพื่อส่งต่อไปยังเซลล์รับเสียงคือเซลล์ขน กระดูกหูซึ่งเชื่อมต่อจากแก้วหูจะส่งแรงสั่นต่อไปยังหูชั้นในรูปหอยโข่ง (คอเคลีย) ที่เต็มไปด้วยน้ำ โดยกระดูกโกลนซึ่งเป็นส่วนท้ายของกระดูกหูจะส่งแรงดันไปที่ช่องรูปไข่ที่คอเคลีย ซึ่งเป็นช่องที่อำนวยให้แรงสั่นดำเนินต่อไปในน้ำภายในคอเคลีย ไปยังอวัยวะรับเสียงที่อยู่ภายใน

 
เส้นชั้นความดังเสียงเท่า (equal-loudness contours) ของ ISO โดยความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ - เป็นเส้นชั้นแสดงความถี่สัมพันธ์กับความดังของเสียงที่มนุษย์รู้สึกว่าดังเท่ากัน โดยเส้นที่ 0 phon (threshold) จะเป็นเส้นแสดงขีดเริ่มเปลี่ยนมาตรฐานของการได้ยินในมนุษย์

ลักษณะต่าง ๆ ของเสียง

มีลักษณะต่าง ๆ หลายอย่างเกี่ยวกับเสียงที่ได้ยิน รวมทั้งความดัง ระดับเสียง (ความสูงต่ำ) และ timbre หูมนุษย์สามารถตรวจจับความต่างระดับเสียง ด้วยเซลล์ขนที่เคลื่อนไหวเมื่อได้ยินซึ่งอยู่บนเยื่อกั้นหูชั้นใน (basilar membrane) เสียงความถี่สูงจะเร้าเซลล์ขนที่ฐาน (ส่วนนอกสุด) ของเยื่อกันหูชั้นใน ในขณะที่เสียงความถี่กลางจะทำเซลล์ขนที่อยู่ตรงกลางเยื่อให้สั่น สำหรับความถี่เสียงที่ต่ำกว่า 200 เฮิรตซ์ ปลายของเยื่อกั้นหูชั้นในจะสั่นที่ความถี่เดียวกันกับคลื่นเสียง โดยนิวรอนก็จะส่งกระแสประสาทในอัตราความถี่เดียวกันกับแรงสั่นด้วย สมองสามารถกำหนดอัตราการส่งสัญญาณ จึงสามารถรับรู้เสียงความถี่ต่ำได้

เสียงที่ดังจะเร้าเซลล์ขนจำนวนมากกว่า และแอกซอนที่อยู่ใน cochlear nerve (เส้นประสาทหู) ก็จะส่งสัญญาณในอัตราที่สูงขึ้น แต่เพราะอัตราการส่งสัญญาณก็ใช้บอกความสูงต่ำของเสียงที่มีความถี่ต่ำด้วย สมองจึงต้องเข้ารหัสความดังของเสียงความถี่ต่ำโดยอีกวิธีหนึ่ง จำนวนเซลล์ขนที่ส่งสัญญาณเพราะเสียงเชื่อว่า เป็นตัวบอกความดังของเสียงความถี่ต่ำ

นอกจากระดับเสียงและความดัง ลักษณะที่ทำให้เสียงแตกต่างอีกอย่างก็คือ timbre ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำให้ได้ยินความต่างระหว่างการเล่นเครื่องดนตรีสองอย่างในความถี่และความดังที่เท่ากัน เพราะเสียงที่ซับซ้อนจะเร้าและงอเยื่อกั้นหูชั้นในส่วนต่าง ๆ พร้อม ๆ กัน เราจึงสามารถได้ยิน timbre ที่ต่างกัน เพราะเสียงจากเครื่องดนตรีสองอย่างที่ความถี่และความดังเดียวกันจะทำให้เยื่อสั่นไม่เหมือนกัน

เสียงและทารกในครรภ์

งานศึกษาจำนวนหนึ่งได้แสดงว่า ทารกในครรภ์สามารถตอบสนองต่อเสียงที่เป็นสิ่งเร้าจากโลกภายนอก ในการทดลอง 214 ครั้งที่ทำกับหญิงมีครรภ์ 7 คน การเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้นที่สม่ำเสมอของทารกจะเกิดขึ้นภายในนาทีแรกหลังจากทำเสียงตรงท้องของมารดาที่ความถี่ 120 เฮิรตซ์

การตรวจ

 
Audiometer วินเทจรุ่น Tetra-Tone Model EB-46 พ.ศ. 2518

การตรวจการได้ยินจะทำเพื่อให้แน่ใจว่าหูทำงานได้ดีที่สุด และเพื่อสังเกตดูว่า สิ่งเร้าคือเสียงจะกระทบที่แก้วหูแล้วส่งไปยังสมองตามสมควรหรือไม่ คนไข้จะต้องส่งเสียตอบเมื่อทดสอบการได้ยินคำพูดหรือเสียงสูงต่ำ มีการตรวจการได้ยินต่าง ๆ รวมทั้ง whispered speech test (การทดสอบด้วยคำกระซิบ), pure tone audiometry (การทดสอบด้วยเสียงสูงต่ำ), การทดสอบด้วยส้อมเสียง (tuning fork test), การตรวจการได้ยินคำพูดหรือการเข้าใจคำพูด, การตรวจการปล่อยเสียงจากหู (OAE) และการตรวจการตอบสนองของก้านสมองต่อเสียง (ABE)

ในการทดสอบด้วยคำกระซิบ แพทย์จะให้คนไข้อุดหูข้างหนึ่งด้วยนิ้ว ผู้ตรวจก็จะไปอยู่ด้านหลังของคนไข้ห่าง 1-2 ฟุต แล้วกล่าวคำเป็นชุด ๆ โดยกระซิบค่อย ๆ แล้วให้คนไข้พูดซ้ำคำที่ได้ยิน ถ้าคนไข้ไม่สามารถแยกคำต่าง ๆ ผู้ตรวจก็จะกล่าวดังขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งคนไข้สามารถเข้าใจคำที่พูด แล้วก็จะตรวจหูอีกข้างหนึ่ง

ในการทดสอบเสียงสูงต่ำ (pure tone audiometry) แพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า audiometer เพื่อเล่นเสียงต่าง ๆ ผ่านหูฟัง โดยให้คนไข้คอยฟังเสียงสูงต่ำที่ดังต่าง ๆ กัน แล้วให้คนไข้ส่งสัญญาณเมื่อไม่สามารถได้ยินเสียงที่เล่น แพทย์จะตรวจหูแต่ละข้างต่างหาก ๆ

 
ส้อมเสียง

ในการทดสอบด้วยส้อมเสี้ยง แพทย์จะทำให้ส้อมสั่นเพื่อส่งเสียง แล้วย้ายส้อมไปรอบ ๆ คนไข้เพื่อตรวจว่าได้ยินเสียงหรือไม่ บางครั้ง คนไข้จะมีปัญหาได้ยินเสียงเป็นบางที่เช่นข้างหลังหู

ส่วนการตรวจโดยการพูดหรือโดยคำ จะวัดว่าคนไข้สามารถได้ยินการสนทนาในชีวิตประจำวันได้ดีแค่ไหน แพทย์จะให้คนไข้กล่าวซ้ำสิ่งที่พูดโดยสิ่งที่พูดจะดังต่าง ๆ กัน spondee threshold test เป็นการทดสอบคล้าย ๆ กันที่วัดการได้ยินเสียงที่เล่น โดยคนไข้จะกล่าวซ้ำรายการคำที่มีสองพยางค์

การตรวจการปล่อยเสียงจากหู (OAE) และการตรวจการตอบสนองของก้านสมองต่อเสียง (ABE) จะวัดการตอบสนองของสมองต่อเสียง โดย OAE อาจใชัวัดการได้ยินเสียงของทารกเกิดใหม่ด้วยการส่งเสียงเข้าหูด้วยเครื่องตรวจ และไมโครโฟนที่ใส่เข้าในช่องหู ก็จะตรวจจับการตอบสนองของหูชั้นในต่อสิ่งเร้าคือเสียง ส่วน ABR หรือเรียกอีกอย่างว่าการทดสอบ brainstem auditory evoked response (BAER) หรือ auditory brainstem evoked potential (ABEP) จะวัดการตอบสนองของสมองต่อเสียงกริ๊ก ๆ ที่ส่งผ่านหูฟัง โดยอิเล็กโทรดซึ่งติดที่หนังศีรษะและติ่งหู จะบันทึกของมูลแล้วแสดงเป็นกราฟการตอบสนอง

รสชาติ

รายละเอียด

ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สิ่งเร้าคือรสชาติจะรับรู้อาศัยเซลล์รับความรู้สึกที่ไม่มีแอกซอนซึ่งอยู่ในตุ่มรับรส (taste bud) ที่ลิ้นและคอหอยเป็นต้น เซลล์รับรสจะกระจายข้อมูลไปยังเซลล์ประสาทต่าง ๆ ซึ่งก็จะส่งข้อมูลเกี่ยวกับรสชาติหนึ่ง ๆ ไปยังนิวเคลียสประสาทเดียว คือ nucleus of the solitary tract ในเมดัลลา (medulla) ระบบการตรวจจับฟีโรโมนก็มีส่วนในการรับรสด้วย แต่เป็นระบบที่ต่างจากการรับรส โดยมีโครงสร้างเหมือนกับระบบการได้กลิ่น

ในแมลงวันทองและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

ในแมลงวันทองและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เซลล์รับรสอาจจัดเป็นแบบรับรสที่ชอบ (หวาน เค็ม และอุมะมิในมนุษย์) และไม่ชอบ (เปรี้ยว ขมในมนุษย์) เซลล์รับรสบนลิ้นของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและบนอวัยวะที่เรียกว่า กลีบปาก (labellum) ของแมลงวัน มีจำนวนคล้ายคลึงกัน และทั้งสองต่างก็มีเซลล์รับรสที่ไม่ชอบเป็นจำนวนมากกว่า

การรับรู้

การรับรู้รสชาติ (flavor perception) จะต้องอาศัยข้อมูลจากใยประสาทนำเข้าของระบบรับรส (gustatory) ระบบรับกลิ่น (olfactory) และระบบรับความรู้สึกทางกาย (somatosensory) เพราะการรับรสต้องรวมความรู้สึกหลายอย่างเข้าด้วยกัน แม้เราจะเกิดการรับรู้รสที่เป็นหนึ่งเดียว แต่ก็ยังสามารถรู้ลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ที่มีบทบาทต่อความรู้สึกหนึ่งเดียวนั้น โดยเฉพาะเมื่อใส่ใจไปที่ลักษณะโดยเฉพาะ ๆ จากประสาทสัมผัส

การรวมรสกับกลิ่น

ส่วนสมองที่รับข้อมูลเกี่ยวกับรสชาติและกลิ่น จะอยู่ที่เขตรับรู้ประสาทสัมผัสได้หลายแบบในระบบลิมบิกและเปลือกสมองรอบ ๆ ระบบลิมบิก โดยการรวมรสและกลิ่นจะเกิดตั้งแต่กระบวนการแปลผลต้น ๆ ปัจจัยต่าง ๆ เช่น ผลทางสรีรภาพของสิ่งเร้า จะมีผลต่อการรับรู้โดยอาศัยประสบการณ์ชีวิต เพราะสมองส่วนลิมบิกและรอบ ๆ มีกิจหลักในการเรียนรู้และการแปลผลทางอารมณ์ นอกจากนั้น การรับรสแทบทุกครั้งยังรวมเอาข้อมูลความรู้สึกทางกายในปาก บวกกับกลิ่นจากด้านหลังของโพรงจมูกด้วย

รสอร่อย

ความรู้สึกเกี่ยวกับรสมาจากการเร้าทั้งระบบรับความรู้สึกทางกายและระบบรับกลิ่น ดังนั้น ความรู้สึกอร่อยที่ได้จากการดื่มกินจะได้อิทธิพลจาก

  1. ลักษณะต่าง ๆ ที่กระทบกับประสาทสัมผัส เช่น รสชาติ
  2. ประสบการณ์ เช่น การเคยได้รับรส-กลิ่นเช่นนี้มาก่อน
  3. ภาวะภายในอื่น ๆ (internal state)
  4. บริบททางประชาน เช่นการรู้ยี่ห้อของอาหารเครื่องดื่มที่ได้
 
เซลล์ประสาทรับความรู้สึก 4 อย่างพร้อมกับตัวรับความรู้สึกที่คู่กัน ปลายประสาทรับร้อนเป็นปลายประสาทอิสระที่แสดงเป็นแบบ A

อุณหภูมิ

รายละเอียด

ความรู้สึกหรืออาการร้อนเย็นเป็นเรื่องเกี่ยวกับอุณหภูมิสปีชีส์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะรู้สึกร้อนเย็นต่าง ๆ กัน

การรับรู้

ระบบรับความรู้สึกทางกายที่ผิวหนังจะเป็นส่วนตรวจจับความเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิ ซึ่งจะเริ่มเมื่อสิ่งเร้าที่ถึงอุณหภูมิโดยเฉพาะ ๆ เร้าใยประสาทรับอุณหภูมิโดยเฉพาะ ๆ ที่ผิวหนัง ซึ่งทำให้มันเปลี่ยนอัตราการส่งศักยะงานไปสู่ระบบประสาทกลาง ให้สังเกตว่า ถ้าอุณหภูมิที่ผิวหนังสม่ำเสมอ ก็จะมีปลายประสาทรับเย็นและรับร้อนบางส่วนที่ส่งศักยะงานในอัตราที่สม่ำเสมอ

ใยประสาทรับอุณหภูมิ

ข้อมูลเพิ่มเติม: ปลายประสาทรับร้อน

ใยประสาทรับร้อนและรับเย็นมีโครงสร้างและหน้าที่ต่างจากใยประสาทรับความรู้สึกอื่น ๆ และเป็นใยประสาทที่อยู่ใต้ผิวหนัง ปลายของใยประสาทจะไม่แตกสาขาไปยังอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย แต่จะรวมสร้างจุดไวอุณหภูมิที่จุด ๆ หนึ่งต่างจากใยประสาทที่อยู่รอบ ๆ จุดไวอุณหภูมิจะมีขนาดค่อนข้างเล็ก ปากจะมีจุดไวความรู้สึกร้อนเย็นหนาแน่นถึง 20 จุดต่อ ซม2 นิ้วมี 4 จุด/ซม2 และลำตัวมี 1 จุด/ซม2 ร่างกายโดยทั่วไปจะมีปลายประสาทรับเย็นเป็น 5 เท่าของปลายประสายรับร้อน

แรงดัน

 
ตัวรับแรงกลที่ผิวหนังรวมทั้ง Pacinian corpuscle (ป้ายที่ตรงกลางล่าง) และ Meissner’s corpuscle (ป้ายที่บนขวา) ซึ่งช่วยให้รับรู้สัมผัสที่ผิวหนัง

รายละเอียด

การรับรู้สัมผัส ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถรู้สึกถึงโลกรอบ ๆ ตัว การรับรู้อาจเป็นแบบอยู่เฉย ๆ คือสิ่งแวดล้อมจะเป็นสิ่งเร้า และสิ่งมีชีวิตก็เพียงรับรู้สิ่งที่มาสัมผัส แต่เพื่อจะเข้าใจสิ่งเร้าได้ดีขึ้น สิ่งมีชีวิตอาจต้องตรวจสอบสิ่งเร้านั้นมากขึ้นอย่างแอคทีฟ คือแตะวัตถุด้วยมือหรือด้วยส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย (ที่เรียกว่า haptic perception) ซึ่งจะให้ข้อมูลว่าถูกอะไรอยู่ ข้อมูลเกี่ยวกับขนาด รูปร่าง น้ำหนัก อุณหภูมิ และวัสดุ

ข้อมูลทางสัมผัสสามารถเป็นแบบถูกต้องโดยตรง หรือว่ารู้สึกผ่านอุปกรณ์โดยอ้อม สัญญาณแบบโดยตรงและโดยอ้อมที่ส่งไปยังสมองจะต่างกัน แต่ทั้งสองต่างก็ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความหยาบละเอียด ความแข็งอ่อน และความลื่นเหนียว การใช้เครื่องมือจะทำรู้สึกแรงสั่นที่อุปกรณ์ ไม่ใช่ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง

ระบบรับความรู้สึกทางกายจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งเร้าที่ผิวหนัง (รวมทั้งแรงดัน แรงสั่น และอุณหภูมิ) ตำแหน่งของแขนขา (kinaesthetic) และอากัปกิริยา ความไวสัมผัสและขีดเริ่มเปลี่ยนการรู้สิ่งเร้าจะต่างกันทั้งในระหว่างบุคคลต่าง ๆ และในบุคคลคนเดียวกันในช่วงชีวิต และตัวบุคคลก็จะไวสัมผัสต่างกันระหว่างมือซ้ายและขวา ซึ่งอาจเป็นเพราะความด้านที่ผิวหนังของมือที่ถนัด ซึ่งกั้นสิ่งเร้าจากตัวรับความรู้สึก หรืออาจเป็นเพราะความแตกต่างของการทำงานหรือสมรรถภาพระหว่างสมองซีกซ้ายขวา

งานศึกษาได้แสดงแล้วว่า เด็กหูหนวกจะไวสัมผัสกว่าเด็กที่ได้ยินเป็นปกติ และเด็กหญิงจะไวสัมผัสกว่าเด็กชาย

ข้อมูลสัมผัสมักใช้แก้ความคลุมเครือของความรู้สึก ยกตัวอย่างเช่น แม้ผิววัสดุอาจจะดูหยาบ แต่จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อจับ ถ้าข้อมูลจากประสาทสัมผัสต่าง ๆ เข้ากัน ก็จะหมดความคลุมเครือ

ความรู้สึกทางกาย

ความรู้สึกทางกาย เมื่อเทียบกับประสาทสัมผัสอื่น ๆ จะต้องส่งไปยังสมองเป็นระยะทางไกล โดยเริ่มจากตัวรับแรงกลที่ผิวหนัง ซึ่งตรวจจับสิ่งเร้าที่เป็นรูปธรรม แรงดันที่ตัวรับแรงกลได้รับ อาจจะรู้สึกเป็นสัมผัส ความไม่สบาย หรือความเจ็บปวด

ตัวรับแรงกลจะอยู่ที่ผิวหนังซึ่งหล่อเลี้ยงด้วยเลือดเป็นอย่างดี และจะมีที่ผิวหนังทั้งเกลี้ยงและมีขน ตัวรับแรงแต่ละอย่างจะไวสิ่งเร้าในระดับต่าง ๆ กัน และจะส่งศักยะงานต่อเมื่อได้รับพลังงานที่ถึงขีดเริ่มเปลี่ยนของตน ๆแอกซอนของตัวรับความรู้สึกแต่ละตัว ๆ เหล่านี้ จะรวมกันเป็นเส้นประสาท ซึ่งส่งสัญญาณผ่านไขสันหลังไปยังระบบรับความรู้สึกทางกายในสมอง

ตัวรับแรงกล

ข้อมูลเพิ่มเติม: ตัวรับแรงกล และ โนซิเซ็ปเตอร์

ในระบบรับความรู้สึกทางกาย ตัวรับแรงกลทำให้รู้สัมผัสและอากัปกิริยาได้ (โดยมี Pacinian corpuscle เป็นตัวไวแรงกลมากที่สุดในระบบ) ในการรับรู้สัมผัส ผิวหนังที่ไม่มีขน/ผม (glabrous skin) ที่มือและเท้า ปกติจะมีตัวรับแรงกล 4 อย่างหลัก ๆ คือ Pacinian corpuscle, Meissner's corpuscle, Merkel nerve ending, และ Ruffini ending และผิวที่มีขนก็มีตัวรับแรงกล 3 อย่างเหมือนกันยกเว้น Meissner's corpuscle บวกเพิ่มกับตัวรับแรงกลอื่น ๆ รวมทั้งตัวรับความรู้สึกที่ปุ่มรากผม ในการรับรู้อากัปกิริยา ตัวรับแรงกลช่วยให้รู้ถึงแรงหดเกร็งของกล้ามเนื้อและตำแหน่งของข้อต่อ มีประเภทรวมทั้ง muscle spindle 2 ชนิด, Golgi tendon organ, และ Joint capsule

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีตัวรับแรงกลที่ตรวจจับแรงกลในระดับที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายโดยเฉพาะที่เรียกว่า โนซิเซ็ปเตอร์ อีกด้วย

การตรวจสอบ

การทดสอบสามัญที่ใช้วัดความไวสัมผัสก็คือค่าขีดเริ่มเปลี่ยนของ Two-point discrimination ซึ่งเป็นระยะห่างน้อยที่สุดระหว่างสิ่งเร้าที่สองจุดโดยสามารถรู้สึกว่าเป็นสองจุด ไม่ใช่สิ่งเร้าจุดเดียวได้ ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะมีขีดเริ่มเปลี่ยนต่าง ๆ กัน ส่วนที่ไวสุดคือนิ้วมือ ใบหน้า และนิ้วเท้าเป็นต้น เมื่อรู้สึกว่ามีสิ่งเร้าที่สองจุด นั่นหมายความว่าสมองได้รับกระแสประสาทต่างหาก ๆ จากจุดสองจุด ส่วนความไวที่ต่าง ๆ ในร่างกายมีเหตุจากการมีตัวรับความรู้สึกที่หนาแน่นต่างกัน

กลิ่น

การได้กลิ่น

วัตถุทุกอย่างมีโมเลกุลหลุดออกอยู่ตลอดเวลา ซึ่งสามารถลอยเข้าไปในจมูกหรือสูดเข้าไปเมื่อหายใจ ช่องจมูกด้านในจะมีเยื่อบุผิวรับกลิ่น (Olfactory epithelium) ที่มีเซลล์รับความรู้สึกซึ่งสามารถตรวจจับโมเลกุลซึ่งเล็กพอให้ได้กลิ่นได้ เป็นเซลล์ที่มีไซแนปส์กับเส้นประสาทรับกลิ่น (CN I) ซึ่งส่งข้อมูลไปยังป่องรับกลิ่น (olfactory bulb) ในสมองเพื่อแปลผลในขั้นเบื้องต้น แล้วก็จะส่งข้อมูลต่อไปยังเปลือกสมองส่วนการได้กลิ่น (olfactory cortex)

Head olfactory nerve - olfactory bulb en.png [[ไฟล์:Head olfactory nerve - olfactory bulb en.png|thumb|right|แผนภาพศีรษะมนุษย์ผ่าซ้ายขวา แสดงป่องรับกลิ่น (Olfactory bulb) ]]

กลิ่น

การได้กลิ่นเป็นปฏิกิริยาระหว่างเซลล์ประสาทรับกลิ่น (Olfactory receptor neuron) กับโมเลกุลสารเคมีคือกลิ่น โมเลกุลจะเริ่มการทำงานของเซลล์ได้ ก็ต่อเมื่อมีคุณสมบัติเฉพาะ ๆ บางอย่าง รวมทั้ง

  1. ระเหยได้ (คือสามารถลอยไปในอากาศได้)
  2. ขนาดเล็ก (น้อยกว่า 5.8 x 10-22 กรัม)
  3. ไม่ชอบน้ำ (hydrophobic)

ถึงกระนั้น มนุษย์ก็ไม่ได้กลิ่นโมเลกุลเล็ก ๆ ทุกอย่าง เช่น โมเลกุลของอากาศที่เราหายใจ สมรรถภาพการได้กลิ่นยังต่าง ๆ กันตามสถานการณ์ด้วย ยกตัวอย่างเช่น ขีดเริ่มเปลี่ยนของการได้กลิ่นอาจแปรไปเพราะโมเลกุลมีลูกโซ่คาร์บอนที่ยาวต่าง ๆ กัน โมลกุลที่มีลูกโซ่ยาวกว่าจะตรวจจับได้ง่ายกว่า และมีขีดเริ่มเปลี่ยนการได้กลิ่นที่น้อยกว่า นอกจากนั้น หญิงทั่วไปจะมีขีดเริ่มเปลี่ยนการได้กลิ่นน้อยกว่าชาย ซึ่งจะปรากฏชัดยิ่งขึ้นในช่วงตกไข่ บางครั้ง เราอาจมีประสาทหลอนเกี่ยวกับกลิ่นได้ด้วย เช่นที่เรียกว่า phantosmia

ปฏิสัมพันธ์กับแบบความรู้สึกอื่น ๆ

การได้กลิ่นมีปฏิสัมพันธ์กับแบบความรู้สึกอื่น ๆ อย่างสำคัญ ที่มากที่สุดก็คือกับการลิ้มรส งานศึกษาได้แสดงว่า กลิ่นโดยเฉพาะอย่างหนึ่งร่วมกับรสโดยเฉพาะอย่างหนึ่งจะเพิ่มรสชาติ และการไม่ได้กลิ่นเดียวกันก็จะลดการได้รสชาตินั้น ๆ เช่นเดียวกัน การได้กลิ่นที่มีผลสามารถเกิดก่อนหรือระหว่างการได้รสชาติ การรับรู้สิ่งเร้าทั้งสองแบบจะสร้างความสัมพันธ์ของประสบการณ์ผ่านกระบวนการตอบสนองทางประสาทพร้อม ๆ กัน และสร้างความทรงจำเกี่ยวกับสิ่งเร้า ความสัมพันธ์เช่นนี้ก็เกิดขึ้นระหว่างสิ่งเร้าที่เป็นกลิ่นกับสัมผัสเมื่อกำลังกลืนด้วย ในแต่ละกรณี การได้สิ่งเร้าพร้อม ๆ กันจะเป็นเรื่องสำคัญ

การทดสอบ

การทดสอบทาง psychophysics ของการได้กลิ่นที่สามัญก็คือ triangle test การตรวจสอบเช่นนี้ จะให้ผู้รับการทดสอบดมกลิ่นสามอย่าง ในบรรดากลิ่นเหล่านี้ กลิ่น 2 กลิ่นจะเหมือนกันและกลิ่น ๆ หนึ่งจะต่างจากกลิ่นอื่น ๆ ผู้รับการทดสอบจะต้องเลือกว่ากลิ่นไหนไม่เหมือนกลิ่นอื่น ๆ เพื่อทดสอบความไวกลิ่น จะมีการเพิ่มกลิ่นที่ละน้อย ๆ เหมือนขั้นบันได จนกระทั่งผู้ร่วมการทดลองสามารถได้กลิ่นนั้น แล้วก็จะลดกลิ่นลงอีกจนกระทั่งผู้ร่วมการทดลองไม่ได้กลิ่น

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. Small & Prescott 2005, Multisensory integration, pp. 345-346
  2. Ivry, Richard (2009). Cognitive Neuroscience: The biology of the mind. New York: W.W. Norton and Company. p. 199. ISBN 978-0-393-92795-5.
  3. Russell, J.P; Wolfe, S.L.; Hertz, P.E.; Starr, C.; Fenton, M. B.; Addy, H.; Denis, M.; Haffie, T.; Davey, K. (2010). Biology: Exploring the Diversity of Life, First Canadian Edition, Volume Three. Nelson Education. pp. 833–840. ISBN 0-17-650231-9.
  4. Yarbrough, Cathy. "Brains response to visual stimuli helps us to focus on what we should see, rather than all there is to see". EurekAlert!. สืบค้นเมื่อ 2012-07-29.
  5. Carlson, N. R.; และคณะ (2010). Psychology: The Science of Behaviour. Toronto, Ontario: Pearson Education Canada. ISBN 978-0-205-64524-4.
  6. Krosnick, J. A.; Betz, A. L.; Jussim, L. J.; Lynn, A. R. (1992). "Subliminal Conditioning of Attitudes". Personality and Social Psychology Bulletin. 18 (2): 152–162. doi:10.1177/0146167292182006.
  7. Healthwise Staff. "Vision Tests". WebMD. สืบค้นเมื่อ 2012-07-29.
  8. Sontag, L. W. (1936). "Changes in the Rate of the Human Fetal Heart in Response to Vibratory Stimuli". Archives of Pediatrics & Adolescent Medicine. 51 (3): 583–589. doi:10.1001/archpedi.1936.01970150087006.
  9. Forbes, H. S.; Forbes, H. B. (1927). "Fetal sense reaction: Hearing". Journal of Comparative Psychology. 7 (5): 353–355. doi:10.1037/h0071872.
  10. Healthwise Staff. "Hearing Tests". WebMD. สืบค้นเมื่อ 2012-07-29.
  11. Stocker, Reinhard F (2004-07-01). "Taste Perception: Drosophila - A Model of Good Taste" (PDF). Current Biology. 14 (14): R560–R561. doi:10.1016/j.cub.2004.07.011. PMID 15268874.
  12. Purves et al 2008a, The Organization of the Taste System, pp. 381-383
  13. Small & Prescott 2005, Abstract, 345
  14. Small & Prescott 2005, Odor/Taste integration, pp. 346-348
  15. SMALL, D. M.; BENDER, G.; VELDHUIZEN, M. G.; RUDENGA, K.; NACHTIGAL, D.; FELSTED, J. (2007-09-10). "The Role of the Human Orbitofrontal Cortex in Taste and Flavor Processing". Annals of the New York Academy of Sciences. 1121 (1): 136–151. doi:10.1196/annals.1401.002.
  16. "Temperature modality".
  17. Bodenheimer, F. S (1941-04). "Observations on Rodents in Herter's Temperature Gradient". Physiological Zoology. 14 (2): 186–192. JSTOR 30161738. Unknown parameter |subscription= ignored (help); Check date values in: |date= (help)
  18. McGlone, Francis; Reilly, David (2009). "The cutaneous sensory system". Neuroscience & Biobehavioral Reviews. 34 (2): 148–159. doi:10.1016/j.neubiorev.2009.08.004. Full Article PDF (831 KB) PDF
  19. Reuter, E; Voelcker-Rehage, C; Vieluf, S; Godde, B (2012). "Touch perception throughout working life: Effects of age and expertise". Experimental Brain Research. 216 (2): 287–297. doi:10.1007/s00221-011-2931-5.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  20. Yoshioka, T; Bensmaïa, S; Craig, J; Hsiao, S (2007). "Texture perception through direct and indirect touch: An analysis of perceptual space for tactile textures in two modes of exploration". Somatosensory & Motor Research. 24 (1–2): 53–70. doi:10.1080/08990220701318163.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  21. Bergmann, Tiest W (2010). "Tactual perception of material properties". Vision Research. 50 (24): 2775–2782. doi:10.1016/j.visres.2010.10.005.
  22. Angier, R (1912). "Tactual and kinæsthetic space". Psychological Bulletin. 9 (7): 255–257. doi:10.1037/h0073444.
  23. Weinstein, S; Sersen, E (1961). "Tactual sensitivity as a function of handedness and laterality". Journal of Comparative and Physiological Psychology. 54 (6): 665–669. doi:10.1037/h0044145.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  24. Chakravarty, A (1968). "Influence of tactual sensitivity on tactual localization, particularly of deaf children". Journal of General Psychology. 78 (2): 219–221. doi:10.1080/00221309.1968.9710435.
  25. Lovelace, C (2000). "Feature binding across sense modalities: Visual and tactual interactions". Dissertation Abstracts International. Section B: The Sciences and Engineering, 61(4-B), 2251.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  26. Xiong S.; Goonetilleke R.; Jiang Z. (2011). "Pressure thresholds of the human foot: Measurement reliability and effects of stimulus characteristics". Ergonomics. 54 (3): 282–293. doi:10.1080/00140139.2011.552736.
  27. Pawson, L; Pack, A; Checkosky, C; Bolanowski, S (2008). "Mesenteric and tactile pacinian corpuscles are anatomically and physiologically comparable". Somatosensory & Motor Research. 25 (3): 194–206. doi:10.1080/08990220802377571.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  28. Gardner & Johnson 2013b, p. 508
  29. Gardner & Johnson 2013a, p. 480, 482
  30. Huether et al 2014, Nociceptors, pp. 485-486
  31. Wolfe, J; Kluender, K; Levi, D (2009). Sensation and perception (2nd ed.). Sunderland: Sinauer Associates.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  32. Doty, R (2001). "Olfaction". Annual Review of Psychology. 52 (1): 423–452. doi:10.1146/annurev.psych.52.1.423.
  33. Labbe, D; Gilbert, F; Martin, N (2008). "Impact of olfaction on taste, trigeminal, and texture perceptions". Chemosensory Perception. 1 (4): 217–226. doi:10.1007/s12078-008-9029-x.CS1 maint: uses authors parameter (link)

อ้างอิงอื่น ๆ

  • Huether, Sue E; Rodway, George; DeFriez, Curtis (2014). "16 - Pain, Temperature Regulation, Sleep, and Sensory Function". ใน McCance, Kathryn L; Huether, Sue E; Brashers, Valentina L; Neal S, Rote. (บ.ก.). Pathophysiology: the biologic basis for disease in adults and children (7th ed.). Mosby. ISBN 978-0-323-08854-1.CS1 maint: uses authors parameter (link)
  • Small, Dana M.; Prescott, John (2005). "Odor/taste integration and the perception of flavor". Experimental Brain Research. 166 (3–4): 345–357. doi:10.1007/s00221-005-2376-9.CS1 maint: ref=harv (link)
Neuroscience (2008)
  • Purves, Dale; Augustine, George J; Fitzpatrick, David; Hall, William C; Lamantia, Anthony Samuel; McNamara, James O; White, Leonard E, บ.ก. (2008a). "15 - The Chemical Senses". Neuroscience (4th ed.). Sinauer Associates. pp. 363–393. ISBN 978-0-87893-697-7.
Principles of Neural Science (2013)
  • Gardner, Esther P; Johnson, Kenneth O (2013a). "22 - The Somatosensory System: Receptors and Central Pathway". ใน Kandel, Eric R; Schwartz, James H; Jessell, Thomas M; Siegelbaum, Steven A; Hudspeth, AJ (บ.ก.). Principles of Neural Science (5th ed.). United State of America: McGraw-Hill. pp. 475–497. ISBN 978-0-07-139011-8.CS1 maint: ref=harv (link)
  • Gardner, Esther P; Johnson, Kenneth O (2013b). "23 - Pain". ใน Kandel, Eric R; Schwartz, James H; Jessell, Thomas M; Siegelbaum, Steven A; Hudspeth, AJ (บ.ก.). Principles of Neural Science (5th ed.). United State of America: McGraw-Hill. pp. 498–529. ISBN 978-0-07-139011-8.CS1 maint: ref=harv (link)

แบบส, งเร, หร, แบบความร, งกฤษ, stimulus, modality, sensory, modality, เป, นล, กษณะอย, างหน, งของส, งเร, หร, อเป, นส, งท, เราร, บร, เน, องจากส, งเร, ยกต, วอย, างเช, เราจะร, กร, อนหร, อเย, นหล, งจากม, การเร, าต, วร, บอ, ณหภ, ของระบบร, บความร, กทางกาย, เช, วยว, ต. aebbsingera hrux aebbkhwamrusuk xngkvs Stimulus modality sensory modality epnlksnaxyanghnungkhxngsingera hruxepnsingthierarbruenuxngcaksingera yktwxyangechn eracarusukrxnhruxeynhlngcakmikareratwrbxunhphumikhxngrabbrbkhwamrusukthangkay echn dwywtthuthirxn aebbsingerabangxyangrwmthngaesng esiyng xunhphumi rschati aerngdn klin aelasmphs praephthaelataaehnngkhxngesllprasathrbkhwamrusukthithanganenuxngcaksingera caepntwkahndkarekharhskhwamrusuk aebbkhwamrusuktang xacthanganrwmknephuxephimkhwamchdecnkhxngsingeraemuxcaepn 1 enuxha 1 karrbrusingerahlayaebb 1 1 karxanrimfipak 1 2 praktkarnrwmkhwamrusuk 1 3 Polymodality 2 aesng 2 1 raylaexiyd 2 2 karrbru 2 3 karprbtw 2 4 singerathimisi 2 5 singerathangtathinxykwacamxngehn Subliminal visual stimuli 2 6 karthdsxb 3 esiyng 3 1 raylaexiyd 3 2 karrbru 3 3 lksnatang khxngesiyng 3 4 esiyngaelatharkinkhrrph 3 5 kartrwc 4 rschati 4 1 raylaexiyd 4 1 1 instweliynglukdwynm 4 1 2 inaemlngwnthxngaelastweliynglukdwynm 4 2 karrbru 4 3 karrwmrskbklin 4 4 rsxrxy 5 xunhphumi 5 1 raylaexiyd 5 2 karrbru 5 3 iyprasathrbxunhphumi 6 aerngdn 6 1 raylaexiyd 6 2 khwamrusukthangkay 6 2 1 twrbaerngkl 6 3 kartrwcsxb 7 klin 7 1 karidklin 7 2 klin 7 3 ptismphnthkbaebbkhwamrusukxun 7 4 karthdsxb 8 echingxrrthaelaxangxing 9 xangxingxun karrbrusingerahlayaebb aekikh smxngswn Superior colliculus thisamarthrbruthangta thanghu aelathangkay swnthikhabekiywknchwyihsamarthrbrucakprasathsmphshlaythang karrbrusingerahlayaebb Multimodal perception epnsmrrthphaphkhxngrabbprasathinstweliynglukdwynm thirwmexakhxmulcakrabbrbkhwamrusuktang sungxacephuxihsamarthtrwccbhruxrabusingeraechphaahnung iddikhun odyechphaainkrnithikhwamrusukxyangediyw cathaihrbruidkhlumekhruxhruximsmburn 1 karrwmaebbkhwamrusukcaekidemuxesllprasaththirbsingeraidhlayaebb multimodal neuron echnin superior colliculus idrbkhxmulaebbtang kartxbsnxngkhxngesllprasaththirbsingeraidhlayaebbphbwa miphlepliynphvtikrrm echnsamarthtxbsnxngtxsingeraidaemnyakhun 1 karrbrusingeraidhlayaebbimidcakdxyuthismxngswnediyw 2 karxanrimfipak aekikh karxanrimfipaktxngxasyaebbkhwamrusukhlayxyangsahrbmnusy 2 odykarsngektkarekhluxnihwkhxngrimfipakaelaibhna kcafukxanrimfipakid 2 karxanrimfipakaemimidyinesiyngcaerimkarthangankhxngepluxksmxngswnkaridyin auditory cortex aelaemuxidyinesiyngdwy karekhluxnihwkhxngrimfipakthiekhakbesiynghruximekhakbesiyng kcathaihsmxngsiksayswn temporal sulcus thanganmakkhun 2 praktkarnrwmkhwamrusuk aekikh karrbrukhwamrusukrwmhlayaebb xacekidemuxsingeraaebbediywimsamarththaihekidkartxbsnxng instweliynglukdwynm karrwmkhwamrusukcaekidkemuxsmxngtrwccbsyyanthangprasathhlayxyangthimikalngnxy aelwrwmekhadwyknephuxsrangkarrbruthirwmkhxmulhlayaebb karrwmsyyancaepnipidkemuxsingeramakrathbprasathsmphsphrxm kn aetcanxylnghruximmi thakhxmulcakprasathsmphstang imidekidphrxm kn 2 Polymodality aekikh Polymodality hmaythungsmrrthphaphkhxngtwrbkhwamrusuktwediywinkartxbsnxngtxsingerahlayrupaebb echn playprasathxisra sungsamarthtxbsnxngtxxunhphumi aerngkl smphs aerngdn aerngyud hruxkhwamecbpwd onsiespchn aesng aekikh aephnphaphtamnusy raylaexiyd aekikh rupaebbsingerasahrbkarehnkkhuxaesng tamnusysamarthehnsepktrmaemehlkiffainphisycakd khuxrahwangkhwamyawkhlun 380 760 naonemtr 3 kartxbsnxngaebbybyng inhibitory odyechphaa inepluxksmxngswnkarehn cachwyofkskarehnthicudhnung thikhwrmxngaethnthicakwadmxngthsniyphaphthnghmd 4 karrbru aekikh ephuxcarbrusingera tacatxnghkehaesngihtklngthicxta odyxasykarthanganrwmknkhxngkrackta aekwta elnsta aelarumanta karthayoxnaesngepnkraaesprasathcaekidthiesllrbaesngincxta sungtxnthiimidrbaesng witaminexcaekhayudkbomelkulxikomelkulhnungaelwklayepnoprtin khuxepnokhrngsrangomelkulkhuthieriykwa photopigment sarrngkhwtthuiwaesng emuxxnuphakhkhxngaesngwingchnesllrbaesngkhxngta omelkulkhunicaaeykxxkaelwkxlukosptikiriyaekhmi erimdwyesllrbaesngthisngkraaesprasathhruxskyanganipyngesllprasaththieriykwa Retinal bipolar cell inthisudkcamikraaesprasathsngipthi ganglion cell aelwtxcaknnipyngsmxng 5 karprbtw aekikh tasamarthtrwccbsingerathangtaemuxoftxnepnehtuihomelkul photopigment odyechphaa rhodopsin slaytw Rhodopsin sungpktiepnsichmphu casidlnginkrabwnkarni thaaesngcamak photopigment caslaytwerwkwathicasamarthsrangihm emux photopigment srangihmidnxy takcaimiwaesng echn thaekhaipinhxngmudcakthiswang kcatxngichewlaskrayaephuxsrang rhodopsin canwnphxsmkhwrkhunmaihm sungemuxthungcudni photopigment thiyngimsidkcamimakkhunephuxrboftxnkhxngaesng ephraaxtrakarsrangihmsungkwaxtrakarsidlng niepnkrabwnkarthieriykwa karprbtwkhxngta eye adaptation 5 singerathimisi aekikh khxmulephimetim esllrupkrwy karehnepnsi aela wiwthnakarkhxngkarehnphaphsiiniphremt aesnginphisythimnusymxngehnidmikhwamyawkhluntang rahwang 380 760 naonemtr nm eramxngehnidkephraamiesllrupkrwy 3 praephththicxta odyesllaetlapraephthmi photopigment khxngtntanghak esllsamarthrbaesngiddisudthikhwamyawkhlunsungechphaaecaacng khux 420 530 aela 560 nm hruxxyangkhraw sinaengin siekhiyw aelasiaedng smxngsamarthaeykaeyakhwamyawkhlunaelasiinkhxbekhtkarehnodycbwa esllrupkrwypraephthihnthangan lksnathangkayphaphtang khxngsi hnungcarwmkhwamyawkhlun khwamekhm aelaseprktmthicakd inkhnathilksnathangkarrbrutang carwmsisn hue khwamswang aelakhwamximtwkhxngsi saturation 5 iphremtsamarthaeykaeyasiidmakthisudinbrrdastweliynglukdwynm 5 nkwithyasastrchawxngkvs nph othms yng idesnxthvsdikarehnepn 3 si Trichromatic theory inpi ph s 2345 tamhmx rabbkarehnkhxngmnusysamarthsrangsixairkidthiehn phankarpramwlkhxmulcakesllrupkrwythngsam sungxasywaesllaetlapraephth idtrwccbsixairaekhihn 5 singerathangtathinxykwacamxngehn Subliminal visual stimuli aekikh bn aesngimrwmthicudediywbncxtaephraasaytasn lang hlngcakichaewnchwyihhkehaesngidlngtw ngansuksabangnganaesdngwa singerathangtathiimphxcamxngehnkyngsamarthmixiththiphltxkhwamrusukid ngansuksapi 2535 ihphurwmkarthdlxngduchudphaphaesdngbukhkhlthikalngthakicwtrtampktiinchiwitpracawn echn edinipthirth nngxyuinranxahar aetkxncaaesdngphaphkicwtr caaesdngphaphthieraxarmnechingbwk echn ecabawecasaw edkthimituktamikki emas hruxxarmnechinglb echn thngisngu ibhnathukifihm epnewla 13 milliwinathi odythiphurwmkarthdlxngehnepnephiyngifaekhaewbediyw aelaimidbxkphurwmkarthdlxngthungrupthimxngimehnni emuxthamtxma phurwmkarthdlxngmioxkasbxkwa khnthixyuinphaphmibukhlikphaphdithaphaphmatamhlngrupsungmxngimehnaelasrangxarmnechingbwk aelakhnthixyuinphaphmibukhlikphaphimdithaphaphmatamhlngrupthimxngimehnaelasrangxarmnechinglb 6 karthdsxb aekikh karthdsxbthisamyephuxtrwcsukhphaphsaytarwmthngkartrwckhwamchd visual acuity kartrwckarhkehaesng kartrwclansayta aelakartrwckarehnsi kartrwckhwamchdepnkartrwcsaytasungsamythisud aelaichwdsmrrthphaphkarehnraylaexiydthirayaiklikltang aelapkticathaodyihxantwxksrhruxrabusylksnemuxpidtakhanghnungkartrwckarhkehaesngkephuxduwacaepntxngichaewntahruxim kartrwccabxkidwa bukhkhlnn saytasnhruxyawhruxim sungepnphawathiaesngekhaipintaaetimrwmlngthicudediywincxta phawakarhkehaesngimlngtwthngsxng catxngichelnsprbaesngephuxchwyihehnchdkhunswnkartrwclansaytacachwyrabuswnthimxngimehnrxb sayta sahrbsaytapktiodyichtathngsxng bukhkhlcasamarthrbruthungwtthuthixyuinekhtkarehnthangsayaelathangkhwaepnbangswn odyswnthixyutrngklangcaehnlaexiydthisudkartrwckarehnsicawdsmrrthphaphinkaraeykaeyasi ephuxwinicchywatabxdsihruxim aelaephuxtrwckhdeluxkinnganbangpraephththakaraeykaeyasiidsakhy twxyangrwmthngnganthangthharaelatarwc 7 esiyng aekikh aephnphaphaesdnghukhxngmnusy raylaexiyd aekikh singerakhxngkaridyinkkhuxesiyng sungekidcakkhwamdnthiepliynipinxakas inchwngthiwtthuhnung sn mncabibxdomelkulxakasrxb emuxmnekhluxnipthicudhnung aelacaplxykhyayomelkulrxb emuxmnekhluxnxxkcakcudnn khabkhxngkhlunesiyngcawdepnehirts odyechliyaelw mnusycaidyinesiyngsungtathiepnkhabhruxkhlay kbepnkhab inphisyrahwang 30 20 000 ehirts 5 karrbru aekikh aerngsninxakascakratunaekwhu sungrbaerngsnephuxsngtxipyngesllrbesiyngkhuxesllkhn kradukhusungechuxmtxcakaekwhucasngaerngsntxipynghuchninruphxyokhng khxekhliy thietmipdwyna odykradukoklnsungepnswnthaykhxngkradukhucasngaerngdnipthichxngrupikhthikhxekhliy sungepnchxngthixanwyihaerngsndaenintxipinnaphayinkhxekhliy ipyngxwywarbesiyngthixyuphayin 5 esnchnkhwamdngesiyngetha equal loudness contours khxng ISO odykhwamthimihnwyepnehirts epnesnchnaesdngkhwamthismphnthkbkhwamdngkhxngesiyngthimnusyrusukwadngethakn odyesnthi 0 phon threshold caepnesnaesdngkhiderimepliynmatrthankhxngkaridyininmnusy lksnatang khxngesiyng aekikh milksnatang hlayxyangekiywkbesiyngthiidyin rwmthngkhwamdng radbesiyng khwamsungta aela timbre 5 humnusysamarthtrwccbkhwamtangradbesiyng dwyesllkhnthiekhluxnihwemuxidyinsungxyubneyuxknhuchnin basilar membrane esiyngkhwamthisungcaeraesllkhnthithan swnnxksud khxngeyuxknhuchnin inkhnathiesiyngkhwamthiklangcathaesllkhnthixyutrngklangeyuxihsn sahrbkhwamthiesiyngthitakwa 200 ehirts playkhxngeyuxknhuchnincasnthikhwamthiediywknkbkhlunesiyng odyniwrxnkcasngkraaesprasathinxtrakhwamthiediywknkbaerngsndwy smxngsamarthkahndxtrakarsngsyyan cungsamarthrbruesiyngkhwamthitaid 5 esiyngthidngcaeraesllkhncanwnmakkwa aelaaexksxnthixyuin cochlear nerve esnprasathhu kcasngsyyaninxtrathisungkhun aetephraaxtrakarsngsyyankichbxkkhwamsungtakhxngesiyngthimikhwamthitadwy smxngcungtxngekharhskhwamdngkhxngesiyngkhwamthitaodyxikwithihnung canwnesllkhnthisngsyyanephraaesiyngechuxwa epntwbxkkhwamdngkhxngesiyngkhwamthita 5 nxkcakradbesiyngaelakhwamdng lksnathithaihesiyngaetktangxikxyangkkhux timbre sungepnkhunsmbtithithaihidyinkhwamtangrahwangkarelnekhruxngdntrisxngxyanginkhwamthiaelakhwamdngthiethakn ephraaesiyngthisbsxncaeraaelangxeyuxknhuchninswntang phrxm kn eracungsamarthidyin timbre thitangkn ephraaesiyngcakekhruxngdntrisxngxyangthikhwamthiaelakhwamdngediywkncathaiheyuxsnimehmuxnkn 5 esiyngaelatharkinkhrrph aekikh ngansuksacanwnhnungidaesdngwa tharkinkhrrphsamarthtxbsnxngtxesiyngthiepnsingeracakolkphaynxk 8 9 inkarthdlxng 214 khrngthithakbhyingmikhrrph 7 khn karekhluxnihwephimkhunthismaesmxkhxngtharkcaekidkhunphayinnathiaerkhlngcakthaesiyngtrngthxngkhxngmardathikhwamthi 120 ehirts 8 kartrwc aekikh Audiometer winethcrun Tetra Tone Model EB 46 ph s 2518 kartrwckaridyincathaephuxihaenicwahuthanganiddithisud aelaephuxsngektduwa singerakhuxesiyngcakrathbthiaekwhuaelwsngipyngsmxngtamsmkhwrhruxim khnikhcatxngsngesiytxbemuxthdsxbkaridyinkhaphudhruxesiyngsungta mikartrwckaridyintang rwmthng whispered speech test karthdsxbdwykhakrasib pure tone audiometry karthdsxbdwyesiyngsungta karthdsxbdwysxmesiyng tuning fork test kartrwckaridyinkhaphudhruxkarekhaickhaphud kartrwckarplxyesiyngcakhu OAE aelakartrwckartxbsnxngkhxngkansmxngtxesiyng ABE 10 inkarthdsxbdwykhakrasib aephthycaihkhnikhxudhukhanghnungdwyniw phutrwckcaipxyudanhlngkhxngkhnikhhang 1 2 fut aelwklawkhaepnchud odykrasibkhxy aelwihkhnikhphudsakhathiidyin thakhnikhimsamarthaeykkhatang phutrwckcaklawdngkhuneruxy cnkrathngkhnikhsamarthekhaickhathiphud aelwkcatrwchuxikkhanghnung 10 inkarthdsxbesiyngsungta pure tone audiometry aephthycaichxupkrnthieriykwa audiometer ephuxelnesiyngtang phanhufng odyihkhnikhkhxyfngesiyngsungtathidngtang kn aelwihkhnikhsngsyyanemuximsamarthidyinesiyngthieln aephthycatrwchuaetlakhangtanghak 10 sxmesiyng inkarthdsxbdwysxmesiyng aephthycathaihsxmsnephuxsngesiyng aelwyaysxmiprxb khnikhephuxtrwcwaidyinesiynghruxim bangkhrng khnikhcamipyhaidyinesiyngepnbangthiechnkhanghlnghu 10 swnkartrwcodykarphudhruxodykha cawdwakhnikhsamarthidyinkarsnthnainchiwitpracawniddiaekhihn aephthycaihkhnikhklawsasingthiphudodysingthiphudcadngtang kn spondee threshold test epnkarthdsxbkhlay knthiwdkaridyinesiyngthieln odykhnikhcaklawsaraykarkhathimisxngphyangkh 10 kartrwckarplxyesiyngcakhu OAE aelakartrwckartxbsnxngkhxngkansmxngtxesiyng ABE cawdkartxbsnxngkhxngsmxngtxesiyng ody OAE xacichwdkaridyinesiyngkhxngtharkekidihmdwykarsngesiyngekhahudwyekhruxngtrwc aelaimokhrofnthiisekhainchxnghu kcatrwccbkartxbsnxngkhxnghuchnintxsingerakhuxesiyng swn ABR hruxeriykxikxyangwakarthdsxb brainstem auditory evoked response BAER hrux auditory brainstem evoked potential ABEP cawdkartxbsnxngkhxngsmxngtxesiyngkrik thisngphanhufng odyxielkothrdsungtidthihnngsirsaaelatinghu cabnthukkhxngmulaelwaesdngepnkrafkartxbsnxng 10 rschati aekikh tumrbrs raylaexiyd aekikh instweliynglukdwynm aekikh instweliynglukdwynm singerakhuxrschaticarbruxasyesllrbkhwamrusukthiimmiaexksxnsungxyuintumrbrs taste bud thilinaelakhxhxyepntn esllrbrscakracaykhxmulipyngesllprasathtang sungkcasngkhxmulekiywkbrschatihnung ipyngniwekhliysprasathediyw khux nucleus of the solitary tract inemdlla medulla rabbkartrwccbfioromnkmiswninkarrbrsdwy aetepnrabbthitangcakkarrbrs odymiokhrngsrangehmuxnkbrabbkaridklin 11 12 inaemlngwnthxngaelastweliynglukdwynm aekikh inaemlngwnthxngaelastweliynglukdwynm esllrbrsxaccdepnaebbrbrsthichxb hwan ekhm aelaxumamiinmnusy aelaimchxb epriyw khminmnusy esllrbrsbnlinkhxngstweliynglukdwynmaelabnxwywathieriykwa klibpak labellum khxngaemlngwn micanwnkhlaykhlungkn aelathngsxngtangkmiesllrbrsthiimchxbepncanwnmakkwa 11 karrbru aekikh karrbrurschati flavor perception catxngxasykhxmulcakiyprasathnaekhakhxngrabbrbrs gustatory rabbrbklin olfactory aelarabbrbkhwamrusukthangkay somatosensory ephraakarrbrstxngrwmkhwamrusukhlayxyangekhadwykn aemeracaekidkarrbrursthiepnhnungediyw aetkyngsamarthrulksnaechphaatang thimibthbathtxkhwamrusukhnungediywnn odyechphaaemuxisicipthilksnaodyechphaa cakprasathsmphs 13 karrwmrskbklin aekikh swnsmxngthirbkhxmulekiywkbrschatiaelaklin caxyuthiekhtrbruprasathsmphsidhlayaebbinrabblimbikaelaepluxksmxngrxb rabblimbik odykarrwmrsaelaklincaekidtngaetkrabwnkaraeplphltn pccytang echn phlthangsrirphaphkhxngsingera camiphltxkarrbruodyxasyprasbkarnchiwit ephraasmxngswnlimbikaelarxb mikichlkinkareriynruaelakaraeplphlthangxarmn nxkcaknn karrbrsaethbthukkhrngyngrwmexakhxmulkhwamrusukthangkayinpak bwkkbklincakdanhlngkhxngophrngcmukdwy 14 rsxrxy aekikh khwamrusukekiywkbrsmacakkarerathngrabbrbkhwamrusukthangkayaelarabbrbklin dngnn khwamrusukxrxythiidcakkardumkincaidxiththiphlcak lksnatang thikrathbkbprasathsmphs echn rschati prasbkarn echn karekhyidrbrs klinechnnimakxn phawaphayinxun internal state bribththangprachan echnkarruyihxkhxngxaharekhruxngdumthiid 15 esllprasathrbkhwamrusuk 4 xyangphrxmkbtwrbkhwamrusukthikhukn playprasathrbrxnepnplayprasathxisrathiaesdngepnaebb Axunhphumi aekikhraylaexiyd aekikh khwamrusukhruxxakarrxneynepneruxngekiywkbxunhphumi 16 spichisstweliynglukdwynmcarusukrxneyntang kn 17 karrbru aekikh rabbrbkhwamrusukthangkaythiphiwhnngcaepnswntrwccbkhwamepliynaeplngthangxunhphumi sungcaerimemuxsingerathithungxunhphumiodyechphaa eraiyprasathrbxunhphumiodyechphaa thiphiwhnng sungthaihmnepliynxtrakarsngskyanganipsurabbprasathklang ihsngektwa thaxunhphumithiphiwhnngsmaesmx kcamiplayprasathrbeynaelarbrxnbangswnthisngskyanganinxtrathismaesmx 18 iyprasathrbxunhphumi aekikh khxmulephimetim playprasathrbrxn iyprasathrbrxnaelarbeynmiokhrngsrangaelahnathitangcakiyprasathrbkhwamrusukxun aelaepniyprasaththixyuitphiwhnng playkhxngiyprasathcaimaetksakhaipyngxwywaxun inrangkay aetcarwmsrangcudiwxunhphumithicud hnungtangcakiyprasaththixyurxb cudiwxunhphumicamikhnadkhxnkhangelk pakcamicudiwkhwamrusukrxneynhnaaennthung 20 cudtx sm2 niwmi 4 cud sm2 aelalatwmi 1 cud sm2 rangkayodythwipcamiplayprasathrbeynepn 5 ethakhxngplayprasayrbrxn 18 aerngdn aekikhkhxmulephimetim rabbkhwamrusukthangkay aela twrbaerngkl twrbaerngklthiphiwhnngrwmthng Pacinian corpuscle paythitrngklanglang aela Meissner s corpuscle paythibnkhwa sungchwyihrbrusmphsthiphiwhnng raylaexiyd aekikh karrbrusmphs thaihsingmichiwitsamarthrusukthungolkrxb tw karrbruxacepnaebbxyuechy khuxsingaewdlxmcaepnsingera aelasingmichiwitkephiyngrbrusingthimasmphs aetephuxcaekhaicsingeraiddikhun singmichiwitxactxngtrwcsxbsingerannmakkhunxyangaexkhthif khuxaetawtthudwymuxhruxdwyswnxun khxngrangkay thieriykwa haptic perception 19 sungcaihkhxmulwathukxairxyu khxmulekiywkbkhnad ruprang nahnk xunhphumi aelawsdukhxmulthangsmphssamarthepnaebbthuktxngodytrng hruxwarusukphanxupkrnodyxxm syyanaebbodytrngaelaodyxxmthisngipyngsmxngcatangkn aetthngsxngtangkihkhxmulekiywkbkhwamhyablaexiyd khwamaekhngxxn aelakhwamlunehniyw karichekhruxngmuxcatharusukaerngsnthixupkrn imichkhxmulekiywkbsingaewdlxmodytrng 20 rabbrbkhwamrusukthangkaycaihkhxmulekiywkbsingerathiphiwhnng rwmthngaerngdn aerngsn aelaxunhphumi taaehnngkhxngaekhnkha kinaesthetic aelaxakpkiriya 21 khwamiwsmphsaelakhiderimepliynkarrusingeracatangknthnginrahwangbukhkhltang aelainbukhkhlkhnediywkninchwngchiwit 22 aelatwbukhkhlkcaiwsmphstangknrahwangmuxsayaelakhwa sungxacepnephraakhwamdanthiphiwhnngkhxngmuxthithnd sungknsingeracaktwrbkhwamrusuk hruxxacepnephraakhwamaetktangkhxngkarthanganhruxsmrrthphaphrahwangsmxngsiksaykhwa 23 ngansuksaidaesdngaelwwa edkhuhnwkcaiwsmphskwaedkthiidyinepnpkti aelaedkhyingcaiwsmphskwaedkchay 24 khxmulsmphsmkichaekkhwamkhlumekhruxkhxngkhwamrusuk yktwxyangechn aemphiwwsduxaccaduhyab aetcaruidktxemuxcb thakhxmulcakprasathsmphstang ekhakn kcahmdkhwamkhlumekhrux 25 khwamrusukthangkay aekikh khwamrusukthangkay emuxethiybkbprasathsmphsxun catxngsngipyngsmxngepnrayathangikl odyerimcaktwrbaerngklthiphiwhnng sungtrwccbsingerathiepnrupthrrm aerngdnthitwrbaerngklidrb xaccarusukepnsmphs khwamimsbay hruxkhwamecbpwd 26 twrbaerngklcaxyuthiphiwhnngsunghlxeliyngdwyeluxdepnxyangdi aelacamithiphiwhnngthngekliyngaelamikhn twrbaerngaetlaxyangcaiwsingerainradbtang kn aelacasngskyangantxemuxidrbphlngnganthithungkhiderimepliynkhxngtn 27 aexksxnkhxngtwrbkhwamrusukaetlatw ehlani carwmknepnesnprasath sungsngsyyanphanikhsnhlngipyngrabbrbkhwamrusukthangkayinsmxng twrbaerngkl aekikh khxmulephimetim twrbaerngkl aela onsiespetxr inrabbrbkhwamrusukthangkay twrbaerngklthaihrusmphsaelaxakpkiriyaid odymi Pacinian corpuscle epntwiwaerngklmakthisudinrabb 28 inkarrbrusmphs phiwhnngthiimmikhn phm glabrous skin thimuxaelaetha pkticamitwrbaerngkl 4 xyanghlk khux Pacinian corpuscle Meissner s corpuscle Merkel nerve ending aela Ruffini ending aelaphiwthimikhnkmitwrbaerngkl 3 xyangehmuxnknykewn Meissner s corpuscle bwkephimkbtwrbaerngklxun rwmthngtwrbkhwamrusukthipumrakphm inkarrbruxakpkiriya twrbaerngklchwyihruthungaernghdekrngkhxngklamenuxaelataaehnngkhxngkhxtx mipraephthrwmthng muscle spindle 2 chnid Golgi tendon organ aela Joint capsule 29 nxkcaknnaelw yngmitwrbaerngklthitrwccbaerngklinradbthixacepnxntraytxrangkayodyechphaathieriykwa onsiespetxr xikdwy 30 kartrwcsxb aekikh karthdsxbsamythiichwdkhwamiwsmphskkhuxkhakhiderimepliynkhxng Two point discrimination sungepnrayahangnxythisudrahwangsingerathisxngcudodysamarthrusukwaepnsxngcud imichsingeracudediywid swntang khxngrangkaycamikhiderimepliyntang kn swnthiiwsudkhuxniwmux ibhna aelaniwethaepntn emuxrusukwamisingerathisxngcud nnhmaykhwamwasmxngidrbkraaesprasathtanghak cakcudsxngcud swnkhwamiwthitang inrangkaymiehtucakkarmitwrbkhwamrusukthihnaaenntangkn 31 klin aekikhkaridklin aekikh wtthuthukxyangmiomelkulhludxxkxyutlxdewla sungsamarthlxyekhaipincmukhruxsudekhaipemuxhayic chxngcmukdanincamieyuxbuphiwrbklin Olfactory epithelium thimiesllrbkhwamrusuksungsamarthtrwccbomelkulsungelkphxihidklinid epnesllthimiisaenpskbesnprasathrbklin CN I sungsngkhxmulipyngpxngrbklin olfactory bulb insmxngephuxaeplphlinkhnebuxngtn aelwkcasngkhxmultxipyngepluxksmxngswnkaridklin olfactory cortex 32 Head olfactory nerve olfactory bulb en png ifl Head olfactory nerve olfactory bulb en png thumb right aephnphaphsirsamnusyphasaykhwa aesdngpxngrbklin Olfactory bulb klin aekikh karidklinepnptikiriyarahwangesllprasathrbklin Olfactory receptor neuron kbomelkulsarekhmikhuxklin omelkulcaerimkarthangankhxngesllid ktxemuxmikhunsmbtiechphaa bangxyang rwmthng raehyid khuxsamarthlxyipinxakasid khnadelk nxykwa 5 8 x 10 22 krm imchxbna hydrophobic thungkrann mnusykimidklinomelkulelk thukxyang echn omelkulkhxngxakasthierahayic smrrthphaphkaridklinyngtang kntamsthankarndwy yktwxyangechn khiderimepliynkhxngkaridklinxacaepripephraaomelkulmilukoskharbxnthiyawtang kn omlkulthimilukosyawkwacatrwccbidngaykwa aelamikhiderimepliynkaridklinthinxykwa nxkcaknn hyingthwipcamikhiderimepliynkaridklinnxykwachay sungcapraktchdyingkhuninchwngtkikh 31 bangkhrng eraxacmiprasathhlxnekiywkbkliniddwy echnthieriykwa phantosmia ptismphnthkbaebbkhwamrusukxun aekikh karidklinmiptismphnthkbaebbkhwamrusukxun xyangsakhy thimakthisudkkhuxkbkarlimrs ngansuksaidaesdngwa klinodyechphaaxyanghnungrwmkbrsodyechphaaxyanghnungcaephimrschati aelakarimidklinediywknkcaldkaridrschatinn echnediywkn karidklinthimiphlsamarthekidkxnhruxrahwangkaridrschati karrbrusingerathngsxngaebbcasrangkhwamsmphnthkhxngprasbkarnphankrabwnkartxbsnxngthangprasathphrxm kn aelasrangkhwamthrngcaekiywkbsingera khwamsmphnthechnnikekidkhunrahwangsingerathiepnklinkbsmphsemuxkalngklundwy inaetlakrni karidsingeraphrxm kncaepneruxngsakhy 33 karthdsxb aekikh karthdsxbthang psychophysics khxngkaridklinthisamykkhux triangle test kartrwcsxbechnni caihphurbkarthdsxbdmklinsamxyang inbrrdaklinehlani klin 2 klincaehmuxnknaelaklin hnungcatangcakklinxun phurbkarthdsxbcatxngeluxkwaklinihnimehmuxnklinxun ephuxthdsxbkhwamiwklin camikarephimklinthilanxy ehmuxnkhnbnid cnkrathngphurwmkarthdlxngsamarthidklinnn aelwkcaldklinlngxikcnkrathngphurwmkarthdlxngimidklin 31 echingxrrthaelaxangxing aekikh 1 0 1 1 1 2 Small amp Prescott 2005 Multisensory integration pp 345 346 2 0 2 1 2 2 2 3 2 4 Ivry Richard 2009 Cognitive Neuroscience The biology of the mind New York W W Norton and Company p 199 ISBN 978 0 393 92795 5 Russell J P Wolfe S L Hertz P E Starr C Fenton M B Addy H Denis M Haffie T Davey K 2010 Biology Exploring the Diversity of Life First Canadian Edition Volume Three Nelson Education pp 833 840 ISBN 0 17 650231 9 Yarbrough Cathy Brains response to visual stimuli helps us to focus on what we should see rather than all there is to see EurekAlert subkhnemux 2012 07 29 5 00 5 01 5 02 5 03 5 04 5 05 5 06 5 07 5 08 5 09 5 10 Carlson N R aelakhna 2010 Psychology The Science of Behaviour Toronto Ontario Pearson Education Canada ISBN 978 0 205 64524 4 Krosnick J A Betz A L Jussim L J Lynn A R 1992 Subliminal Conditioning of Attitudes Personality and Social Psychology Bulletin 18 2 152 162 doi 10 1177 0146167292182006 Healthwise Staff Vision Tests WebMD subkhnemux 2012 07 29 8 0 8 1 Sontag L W 1936 Changes in the Rate of the Human Fetal Heart in Response to Vibratory Stimuli Archives of Pediatrics amp Adolescent Medicine 51 3 583 589 doi 10 1001 archpedi 1936 01970150087006 Forbes H S Forbes H B 1927 Fetal sense reaction Hearing Journal of Comparative Psychology 7 5 353 355 doi 10 1037 h0071872 10 0 10 1 10 2 10 3 10 4 10 5 Healthwise Staff Hearing Tests WebMD subkhnemux 2012 07 29 11 0 11 1 Stocker Reinhard F 2004 07 01 Taste Perception Drosophila A Model of Good Taste PDF Current Biology 14 14 R560 R561 doi 10 1016 j cub 2004 07 011 PMID 15268874 Purves et al 2008a The Organization of the Taste System pp 381 383 Small amp Prescott 2005 Abstract 345 Small amp Prescott 2005 Odor Taste integration pp 346 348 SMALL D M BENDER G VELDHUIZEN M G RUDENGA K NACHTIGAL D FELSTED J 2007 09 10 The Role of the Human Orbitofrontal Cortex in Taste and Flavor Processing Annals of the New York Academy of Sciences 1121 1 136 151 doi 10 1196 annals 1401 002 Temperature modality Bodenheimer F S 1941 04 Observations on Rodents in Herter s Temperature Gradient Physiological Zoology 14 2 186 192 JSTOR 30161738 Unknown parameter subscription ignored help Check date values in date help 18 0 18 1 McGlone Francis Reilly David 2009 The cutaneous sensory system Neuroscience amp Biobehavioral Reviews 34 2 148 159 doi 10 1016 j neubiorev 2009 08 004 Full Article PDF 831 KB Archive PDF Reuter E Voelcker Rehage C Vieluf S Godde B 2012 Touch perception throughout working life Effects of age and expertise Experimental Brain Research 216 2 287 297 doi 10 1007 s00221 011 2931 5 CS1 maint uses authors parameter link Yoshioka T Bensmaia S Craig J Hsiao S 2007 Texture perception through direct and indirect touch An analysis of perceptual space for tactile textures in two modes of exploration Somatosensory amp Motor Research 24 1 2 53 70 doi 10 1080 08990220701318163 CS1 maint uses authors parameter link Bergmann Tiest W 2010 Tactual perception of material properties Vision Research 50 24 2775 2782 doi 10 1016 j visres 2010 10 005 Angier R 1912 Tactual and kinaesthetic space Psychological Bulletin 9 7 255 257 doi 10 1037 h0073444 Weinstein S Sersen E 1961 Tactual sensitivity as a function of handedness and laterality Journal of Comparative and Physiological Psychology 54 6 665 669 doi 10 1037 h0044145 CS1 maint uses authors parameter link Chakravarty A 1968 Influence of tactual sensitivity on tactual localization particularly of deaf children Journal of General Psychology 78 2 219 221 doi 10 1080 00221309 1968 9710435 Lovelace C 2000 Feature binding across sense modalities Visual and tactual interactions Dissertation Abstracts International Section B The Sciences and Engineering 61 4 B 2251 CS1 maint uses authors parameter link Xiong S Goonetilleke R Jiang Z 2011 Pressure thresholds of the human foot Measurement reliability and effects of stimulus characteristics Ergonomics 54 3 282 293 doi 10 1080 00140139 2011 552736 Pawson L Pack A Checkosky C Bolanowski S 2008 Mesenteric and tactile pacinian corpuscles are anatomically and physiologically comparable Somatosensory amp Motor Research 25 3 194 206 doi 10 1080 08990220802377571 CS1 maint uses authors parameter link Gardner amp Johnson 2013b p 508 Gardner amp Johnson 2013a p 480 482 Huether et al 2014 Nociceptors pp 485 486 31 0 31 1 31 2 Wolfe J Kluender K Levi D 2009 Sensation and perception 2nd ed Sunderland Sinauer Associates CS1 maint uses authors parameter link Doty R 2001 Olfaction Annual Review of Psychology 52 1 423 452 doi 10 1146 annurev psych 52 1 423 Labbe D Gilbert F Martin N 2008 Impact of olfaction on taste trigeminal and texture perceptions Chemosensory Perception 1 4 217 226 doi 10 1007 s12078 008 9029 x CS1 maint uses authors parameter link xangxingxun aekikhHuether Sue E Rodway George DeFriez Curtis 2014 16 Pain Temperature Regulation Sleep and Sensory Function in McCance Kathryn L Huether Sue E Brashers Valentina L Neal S Rote b k Pathophysiology the biologic basis for disease in adults and children 7th ed Mosby ISBN 978 0 323 08854 1 CS1 maint uses authors parameter link Small Dana M Prescott John 2005 Odor taste integration and the perception of flavor Experimental Brain Research 166 3 4 345 357 doi 10 1007 s00221 005 2376 9 CS1 maint ref harv link Neuroscience 2008 Purves Dale Augustine George J Fitzpatrick David Hall William C Lamantia Anthony Samuel McNamara James O White Leonard E b k 2008a 15 The Chemical Senses Neuroscience 4th ed Sinauer Associates pp 363 393 ISBN 978 0 87893 697 7 Principles of Neural Science 2013 Gardner Esther P Johnson Kenneth O 2013a 22 The Somatosensory System Receptors and Central Pathway in Kandel Eric R Schwartz James H Jessell Thomas M Siegelbaum Steven A Hudspeth AJ b k Principles of Neural Science 5th ed United State of America McGraw Hill pp 475 497 ISBN 978 0 07 139011 8 CS1 maint ref harv link Gardner Esther P Johnson Kenneth O 2013b 23 Pain in Kandel Eric R Schwartz James H Jessell Thomas M Siegelbaum Steven A Hudspeth AJ b k Principles of Neural Science 5th ed United State of America McGraw Hill pp 498 529 ISBN 978 0 07 139011 8 CS1 maint ref harv link ekhathungcak https th wikipedia org w index php title aebbsingera amp oldid 9396633, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม