fbpx
วิกิพีเดีย

ภาษาไทยถิ่นใต้

ภาษาไทยถิ่นใต้ (โดยย่อว่า ภาษาใต้) หรือ ภาษาตามโพร (อังกฤษ: Dambro) เป็นภาษาไทกลุ่มหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้ มีผู้ใช้ภาษาหนาแน่นบริเวณสิบสี่จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย มีบางส่วนกระจายตัวไปในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขตตะนาวศรีในประเทศพม่า และบริเวณรัฐเกอดะฮ์ รัฐปะลิส รัฐปีนัง และรัฐเปรัก ทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราวห้าล้านคน และอีกราว 1.5 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง ได้แก่กลุ่มชนเชื้อสายจีน เปอรานากัน มลายู อูรักลาโวยจ และมานิ

ภาษาไทยถิ่นใต้
ประเทศที่มีการพูดภาคใต้ของประเทศไทย, เขตตะนาวศรี (พม่า), รัฐเกอดะฮ์ (มาเลเซีย)
ชาติพันธุ์ไทย (ภาคใต้)
เปอรานากัน
ไทยเชื้อสายจีน
มาเลเซียเชื้อสายสยาม
ไทยเชื้อสายมลายู
จำนวนผู้พูด4.5 ล้านคน  (2006)
ตระกูลภาษา
ขร้า-ไท
ระบบการเขียนอักษรไทย
อักษรเบรลล์ไทย
สถานภาพทางการ
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองในประเทศไทย
รหัสภาษา
ISO 639-3sou

นอกจากนี้ในภาคใต้ยังมีกลุ่มภาษาไทที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มย่อยของภาษาไทยถิ่นใต้ ได้แก่ ภาษาตากใบ ภาษาสะกอม และภาษาพิเทน เพราะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองที่แตกต่างไปจากภาษาไทยถิ่นใต้หรือภาษามลายู

สัทอักษร

วรรณยุกต์

ภาษาไทยถิ่นใต้ส่วนใหญ่ในพยางค์เดียวมี 5 ระดับเสียง ซึ่งเป็นจริงสำหรับสำเนียงที่อยู่ในระดับละติจูดประมาณ 10° เหนือถึง 7° เหนือกับภาษาถิ่นในเมืองทั่วภาคใต้ ในบางพื้นที่มีวรรณยุกต์หกถึงเจ็ดเสียง โดยสำเนียงจังหวัดนครศรีธรรมราช (ประมาณละติจูด 8° เหนือ) มีวรรณยุกต์ 7 เสียง

ต้น

ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เสียง Sj เส้นเสียง
เสียงนาสิก [m]
[n]
ณ,น
[ɲ]
*
เสียงหยุด ไม่พ่นลม [p]
[t]
ฏ,ต
[c]
[k]
[ʔ]
**
พ่นลม [pʰ]
ผ,พ,ภ
[tʰ]
ฐ,ฑ,ฒ,ถ,ท,ธ
[cʰ]
ฉ,ช,ฌ
[kʰ]
ข,ฃ,ค,ฅ,ฆ
ก้อง [b]
[d]
ฎ,ด
เสียงเสียดแทรก [v]
ฝ,ฟ
[s]
ซ,ศ,ษ,ส
[ɧ]
[ɦ]
ห,ฮ
เสียงเปิด [l]
ล,ฬ
[j]
[w]
เสียงลิ้นรัว [r]
* พบในบางสำเนียง
** ตั้งก่อนหน้าสระใด ๆ โดยไม่มีตัวหน้าและหลังสระสั้นโดยไม่มีตัวท้าย
***ปัจจุบันไม่ใช้พยัญชนะ ฃ และ ฅ ทำให้เหลือพยัญชนะ 42 ตัว

กลุ่มคำ

ในภาษาไทยมีกลุ่มคำ 11 แบบ ดังนี้:

  • /kr/ (กร), /kl/ (กล), /kw/ (กว)
  • /kʰr/ (ขร,คร), /kʰl/ (ขล,คล), /kʰw/ (ขว,คว)
  • /pr/ (ปร), /pl/ (ปล)
  • /pʰr/ (พร), /pʰl/ (ผล,พล)
  • /tr/ (ตร)

นอกจากนี้ยังมีคำควบกล้ำที่ไม่ได้อยู่ในหลักภาษาไทยมาตรฐานด้วย เช่น

  • หมฺรฺ เช่น หมฺรับ อ่านว่า "หฺมฺรับ" (ห เป็นอักษรนำ ตามด้วย ม ควบกล้ำด้วย ร) แปลว่า สำรับ ไม่ได้ อ่านว่า หม-รับ หรือ หมับ ให้ออกเสียง "หมฺ" ควบ "ร") เช่น การจัดหฺมฺรับประเพณีสารทเดือนสิบ

ท้าย

เสียงหยุดทั้งหมดไม่มีการออกเสียง ดังนั้น เสียงท้ายของ /p/, /t/ และ /k/ ออกเสียงเป็น [p̚], [t̚] และ [k̚] ตามลำดับ

ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานแข็ง เพดานอ่อน เส้นเสียง
เสียงนาสิก [m]
[n]
ญ,ณ,น,ร,ล,ฬ
[ŋ]
เสียงหยุด [p]
บ,ป,พ,ฟ,ภ
[t]
จ,ช,ซ,ฌ,ฎ,ฏ,ฐ,ฑ,

ฒ,ด,ต,ถ,ท,ธ,ศ,ษ,ส

[k]
ก,ข,ค,ฆ
[ʔ]*
เสียงเปิด [w]
[j]
* ตรงท้ายออกเสียงเป็นเส้นเสียงหยุด (glottal stop) เมื่อไม่มีตัวท้ายหลังสระสั้น

สระ

สระในภาษาไทยถิ่นใต้มีความคล้ายกับภาษาไทยถิ่นกลาง โดยเป็นไปตามตารางนี้

หน้า หลัง
ปากเหยียด ปากห่อ
สั้น ยาว สั้น ยาว สั้น ยาว
สูง /i/
 -ิ 
/iː/
 -ี 
/ɯ/
 -ึ 
/ɯː/
 -ื- 
/u/
 -ุ 
/uː/
 -ู 
กลาง /e/
เ-ะ
/eː/
เ-
/ɤ/
เ-อะ
/ɤː/
เ-อ
/o/
โ-ะ
/oː/
โ-
ต่ำ /ɛ/
แ-ะ
/ɛː/
แ-
/a/
-ะ, -ั-
/aː/
-า
/ɔ/
เ-าะ
/ɔː/
-อ

สระมักมาเป็นคู่ยาว-สั้น โดยแบ่งไปตามนี้:

ยาว สั้น
ไทย IPA ไทย IPA
–า /aː/ –ะ /a/
–ี  /iː/ –ิ  /i/
–ู  /uː/ –ุ  /u/
เ– /eː/ เ–ะ /e/
แ– /ɛː/ แ–ะ /ɛ/
–ื-  /ɯː/ –ึ  /ɯ/
เ–อ /ɤː/ เ–อะ /ɤ/
โ– /oː/ โ–ะ /o/
–อ /ɔː/ เ–าะ /ɔ/

สระพื้นฐานสามารถรวมกันเป็นสระประสมสองเสียงที่ใช้ในการกำหนดเสียงวรรณยุกต์ สระที่มีสัญลักษณ์ดอกจันในบางครั้งอาจถือเป็นสระยาว:

ยาว สั้น
อักษรไทย IPA อักษรไทย IPA
–าย /aːj/ ไ–*, ใ–*, ไ–ย, -ัย /aj/
–าว /aːw/ เ–า* /aw/
เ–ีย /iːə/ เ–ียะ /iə/
–ิว /iw/
–ัว /uːə/ –ัวะ /uə/
–ูย /uːj/ –ุย /uj/
เ–ว /eːw/ เ–็ว /ew/
แ–ว /ɛːw/
เ–ือ /ɯːə/ เ–ือะ /ɯə/
เ–ย /ɤːj/
–อย /ɔːj/
โ–ย /oːj/

นอกจากนี้ ยังมีสระประสมสามเสียง 3 แบบที่ใช้ในการกำหนดเสียงวรรณยุกต์ สระที่มีสัญลักษณ์ดอกจันในบางครั้งอาจถือเป็นสระยาว:

อักษรไทย IPA
เ–ียว* /iəw/
–วย* /uəj/
เ–ือย* /ɯəj/

สำเนียง

  • ภาษาไทยถิ่นใต้
    • กลุ่มตะวันออก
      • สำเนียงสุราษฎร์ธานี
        • สำเนียงนครศรีธรรมราช
          • สำเนียงพัทลุง–สงขลา
    • กลุ่มตะวันตก
      • สำเนียงพังงา–ภูเก็ต
        • สำเนียงกระบี่–ตรัง
    • กลุ่มตอนล่าง
      • สำเนียงปัตตานี–ยะลา
        • สำเนียงนราธิวาส

ภาษาไทยถิ่นใต้มีภาษาย่อยแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่นต่าง ๆ บางแห่งมีการใช้คำศัพท์หรือมีการออกเสียงแตกต่างกันออกไป โดยแบ่งออกเป็นสามกลุ่มใหญ่ ดังนี้

คำยืม

ภาษาไทยถิ่นใต้มีความสัมพันธ์กับชาวต่างชาติอย่างหลากหลาย จนเกิดการยืมคำมาใช้ ทั้งนี้พบว่าภาษาไทยถิ่นใต้มีการยืมคำจากภาษาเขมรมากที่สุดถึง 1,320 คำ บางส่วนเป็นคำยืมที่พบได้เพียงแต่ในภาษาไทยถิ่นใต้เท่านั้น ไม่พบในภาษาไทยกลาง เข้าใจว่าคงยืมผ่านภาษาเขมรโบราณโดยตรง นอกจากนี้ยังมีคำยืมภาษาจีนโดยเฉพาะภาษาฮกเกี้ยนหนาแน่นในสำเนียงภูเก็ต (1,239 คำ) และภาษาจีนอื่น ๆ ในสำเนียงสงขลา (396 คำ) และคำยืมภาษามลายูหนาแน่นในสำเนียงปัตตานี ยะลา นราธิวาส (400 คำ) และสตูล (375 คำ) แต่อย่างไรก็ตามคำยืมเหล่านี้มีผู้ใช้น้อยลง และแทนที่ด้วยภาษาไทยมาตรฐาน

ระบบการเขียน

ในอดีตภาษาไทยถิ่นใต้จะใช้อักษรขอมไทยในการจดจารตำรับตำราสำคัญทางศาสนา นับถือว่าหนังสือและอักษรเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ถ้าใครเหยียบหรือข้ามหนังสือจะทำให้วิชาความรู้เสื่อมถอย อักษรขอมนี้พัฒนามาจากอักษรหลังปัลลาวะเริ่มใช้เขียนหลัง พ.ศ. 1726 เป็นต้นมา พบหลักฐานที่ฐานพระพุทธรูปวัดหัวเวียง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จนกระทั่ง พ.ศ. 1773 อักษรขอมนี้มีพัฒนาการในรูปแบบท้องถิ่นภาคใต้โดยเฉพาะ แต่ระยะหลังมีการรับอักษรขอมไทยอย่างภาคกลางมากขึ้นในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ส่วนอักษรไทยอยุธยา ปรากฏครั้งแรกในศิลาจารึกวัดแวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่มีอักขรวิธีอย่างคนเมืองเหนือ ในช่วงหลังมีการบันทึกวรรณกรรมเป็นอักษรไทยลงสมุดไทยและใบลานตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมา พ.ศ. 2357 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีการใช้อักษรไทยอยุธยาเขียนตามสำเนียงใต้โดยไม่คำนึงถึงรูปแบบที่ถูกต้อง หรือมีอักขรวิธีตามความพอใจของผู้เขียนเอง ครั้นเมื่อมีการพัฒนาด้านการศึกษาในประเทศไทย ภาษาไทยถิ่นใต้จึงพัฒนามาเขียนด้วยอักษรไทยอย่างกรุงเทพมหานครจนถึงปัจจุบัน

ภาษาทองแดง

 
ในการแสดงหนังตะลุง ตัวละครที่เป็นเจ้านายจะพากย์ด้วยการแหลงข้าหลวง ส่วนตัวละครที่เป็นชาวบ้านจะพากย์ด้วยภาษาถิ่นใต้

ภาษาทองแดง ใน พจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ พุทธศักราช 2525 ให้ความหมายไว้ว่า "การพูดภาษากลางปนภาษาใต้หรือพูดเพี้ยน" ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ใช้ภาษาไทยผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานกำหนด ไม่ได้จำกัดว่าเป็นคนภาคใดหรือจังหวัดใด ๆ อย่างเช่น เมื่อผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้เป็นภาษาแม่ไปพูดภาษาไทยมาตรฐาน ก็ย่อมจะนำลักษณะบางประการของภาษาถิ่นของตนปะปนเข้ากับภาษาไทยมาตรฐานจนผิดเพี้ยน เรียกว่า "ทองแดง" และชาวไทยเชื้อสายมลายูในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่พูดภาษาไทยมาตรฐานไม่ชัด เพราะติดสำเนียงมลายู ก็จะถูกเรียกว่า "ทองแดง" เช่นกัน

แต่เดิมชาวไทยในแถบภาคใต้จะไม่นิยมใช้ภาษาไทยมาตรฐาน เพราะเป็นภาษาของเจ้านายหรือราชสำนัก เมื่อมีชนชั้นนำหรือเจ้านายพูดภาษาไทยมาตรฐาน ชาวบ้านจึงต้องออกเสียงให้ตรงกับภาษาของนาย เรียกว่า "แหลงข้าหลวง" ซึ่งเป็นความพยายามอย่างหนึ่งของคนใต้ ที่ต้องการให้ส่วนกลางเข้าใจเนื้อหาคำพูดของตน แม้จะออกเสียงผิดเพี้ยนไปบ้าง และหากชาวใต้คนใดพูดภาษาไทยกลางหรือ "แหลงบางกอก" ก็จะถูกคนใต้ด้วยกันมองด้วยเชิงตำหนิว่า "ลืมถิ่น" หรือ "ดัดจริต" เพราะแม้จะพูดภาษาไทยมาตรฐานแต่ยังคงติดสำเนียงใต้อยู่ จึงถูกล้อเลียนว่า "พูดทองแดง" เพราะมีการออกเสียงพยัญชนะและสระต่างกัน มีการตัดคำหน้าของสระเสียงสั้นออกไป เพื่อความสะดวกในการออกเสียง เช่น "เงาะ" เป็น "เฮาะ", "ลอยกระทง" เป็น "ลอยกระตง", "สังขยา" เป็น "สังหยา" นอกจากนี้ยังมีการใช้คำต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน แต่มีความหมายเดียวกัน เช่น "ปวดท้อง" ว่า "เจ็บพุง", "ปวดหัว" ว่า "เจ็บเบ็ดหัว", "ชักช้า" ว่า "ลำลาบ"

ปัจจุบันภาษาไทยมาตรฐานมีอิทธิพลเหนือภาษาไทยถิ่นใต้มาขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะจากการศึกษาในระบบ และผ่านการสื่อสารมวลชน ทำให้ภาษาไทยถิ่นใต้เกิดความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกขณะ

อ้างอิง

  1. ภาษาไทยถิ่นใต้ at Ethnologue (18th ed., 2015)
  2. International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination; landforms a growing larger by the second Reports submitted by States parties under article 9 of the Convention: Thailand (PDF) (ภาษาอังกฤษ และ ไทย). United Nations Committee on the Elimination of Racial Discrimination. 28 July 2011. สืบค้นเมื่อ 8 October 2016.
  3. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (2559). ภาษา : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์. p. 62. Check date values in: |year= (help)
  4. ตามใจ อวิรุทธิโยธิน (2559). "ภาพรวมการศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้". วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ (13:1), หน้า 9
  5. Diller, Anthony (1979). Nguyen, Dang Liem (บ.ก.). "How Many Tones For Southern Thai?". South-east Asian Linguistic Studies. Pacific Linguistics, the Australian National University. 4: 122.
  6. ตามใจ อวิรุทธิโยธิน (2559). "ภาพรวมการศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้". วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ (13:1), หน้า 18
  7. ตามใจ อวิรุทธิโยธิน (2559). "ภาพรวมการศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้". วารสารมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร์ (13:1), หน้า 21
  8. เฉลิมชัย ส่งศรี (ตุลาคม 2541-มีนาคม 2542). "ภาษาไทยถิ่นใต้ในบริบททางวัฒนธรรม". วารสารปาริชาด (11:2). หน้า 48
  9. ชะเอม แก้วคล้าย (17 ตุลาคม 2561). "พัฒนาการอักษรที่ใช้บันทึกวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้". สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2564. Check date values in: |accessdate=, |date= (help)
  10. ปรีชา ทิชินพงศ์. "ลักษณะทางภาษาทองแดงของชาวไทยภาคใต้" (PDF). มหาวิทยาลัยทักษิณ. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2564. Check date values in: |accessdate= (help)
  11. นิยามาล อาแย (2552). ตัวตนคนมลายูมุสลิมในเขตเมืองยะลา (PDF). สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. p. 124. Check date values in: |year= (help)
  12. เล่าเรื่องเมืองใต้, หน้า 8
  13. เล่าเรื่องเมืองใต้, หน้า 9

ข้อมูล

  • Bradley, David. (1992). "Southwestern Dai as a lingua franca." Atlas of Languages of Intercultural Communication in the Pacific, Asia, and the Americas. Vol. II.I:13, pp. 780–781.
  • Levinson, David. Ethnic Groups Worldwide: A Ready Reference Handbook. Greenwood Publishing Group. ISPN: 1573560197.
  • Miyaoka, Osahito. (2007). The Vanishing Languages of the Pacific Rim. Oxford University Press. ISBN 0-19-926662-X.
  • Taher, Mohamed. (1998). Encylopaedic Survey of Islamic Culture. Anmol Publications Pvt. Ltd. ISBN 81-261-0403-1.
  • Yegar, Moshe. Between Integration and Secession: The Muslim Communities of the Southern Philippines, Southern Thailand, and Western Burma/Myanmar. Lexington Books. ISBN 0-7391-0356-3.
  • Diller, A. Van Nostrand. (1976). Toward a Model of Southern Thai Diglossic Speech Variation. Cornell University Publishers.
  • Li, Fang Kuei. (1977). A Handbook of Comparative Tai. University of Hawaii Press. ISBN 0-8248-0540-2.
  • พจนานุกรมภาษาไทยท้องถิ่นภาคใต้
  • หนังสือพจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ สำนักพิมพ์สถาบันทักษิณคดีศึกษา

แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาไทยถ, นใต, บทความน, งต, องการเพ, มแหล, งอ, างอ, งเพ, อพ, จน, ความถ, กต, อง, ณสามารถพ, ฒนาบทความน, ได, โดยเพ, มแหล, งอ, างอ, งตามสมควร, เน, อหาท, ขาดแหล, งอ, างอ, งอาจถ, กลบออก, โดยย, อว, ภาษาใต, หร, ภาษาตามโพร, งกฤษ, dambro, เป, นภาษาไทกล, มหน, ดอย, ในกล, . bthkhwamniyngtxngkarephimaehlngxangxingephuxphisucnkhwamthuktxng khunsamarthphthnabthkhwamniidodyephimaehlngxangxingtamsmkhwr enuxhathikhadaehlngxangxingxacthuklbxxkphasaithythinit odyyxwa phasait hrux phasatamophr xngkvs Dambro epnphasaithklumhnung cdxyuinklumphasaithtawntkechiyngit 2 miphuichphasahnaaennbriewnsibsicnghwdphakhitkhxngpraethsithy mibangswnkracaytwipincnghwdpracwbkhirikhnth ekhttanawsriinpraethsphma aelabriewnrthekxdah rthpalis rthpinng aelartheprk thangtxnehnuxkhxngpraethsmaelesiy miphuphudepnphasaaemrawhalankhn aelaxikraw 1 5 lankhnichepnphasathisxng idaekklumchnechuxsaycin epxranakn mlayu xurklaowyc aelamani 3 phasaithythinitpraethsthimikarphudphakhitkhxngpraethsithy ekhttanawsri phma rthekxdah maelesiy chatiphnthuithy phakhit epxranaknithyechuxsaycinmaelesiyechuxsaysyamithyechuxsaymlayucanwnphuphud4 5 lankhn 2006 1 trakulphasakhra ith ithtawntkechiyngitechiyngaesnphasaithyphasaithythinitrabbkarekhiynxksrithyxksrebrllithysthanphaphthangkarphasachnklumnxythirbrxnginpraethsithyrhsphasaISO 639 3sounxkcakniinphakhityngmiklumphasaiththiimidcdxyuinklumyxykhxngphasaithythinit idaek phasatakib phasasakxm aelaphasaphiethn ephraamiexklksnepnkhxngtnexngthiaetktangipcakphasaithythinithruxphasamlayu 4 enuxha 1 sthxksr 1 1 wrrnyukt 1 1 1 tn 1 1 2 klumkha 1 1 3 thay 1 2 sra 2 saeniyng 3 khayum 4 rabbkarekhiyn 5 phasathxngaedng 6 xangxing 7 khxmul 8 aehlngkhxmulxunsthxksr aekikhwrrnyukt aekikh phasaithythinitswnihyinphyangkhediywmi 5 radbesiyng sungepncringsahrbsaeniyngthixyuinradblaticudpraman 10 ehnuxthung 7 ehnuxkbphasathininemuxngthwphakhit inbangphunthimiwrrnyukthkthungecdesiyng odysaeniyngcnghwdnkhrsrithrrmrach pramanlaticud 8 ehnux miwrrnyukt 7 esiyng 5 tn aekikh rimfipak pumehnguxk ephdanaekhng ephdanxxn esiyng Sj esnesiyngesiyngnasik m m n n n ɲ y esiynghyud imphnlm p p t t t c c k k ʔ x phnlm pʰ ph ph ph tʰ th th th th th th cʰ ch ch ch kʰ kh kh kh Kh khkxng b b d d desiyngesiydaethrk v f f s s s s s ɧ ng ɦ h hesiyngepid l l l j y w wesiynglinrw r r phbinbangsaeniyng tngkxnhnasraid odyimmitwhnaaelahlngsrasnodyimmitwthay pccubnimichphyychna kh aela Kh thaihehluxphyychna 42 twklumkha aekikh inphasaithymiklumkha 11 aebb dngni kr kr kl kl kw kw kʰr khr khr kʰl khl khl kʰw khw khw pr pr pl pl pʰr phr pʰl phl phl tr tr nxkcakniyngmikhakhwbklathiimidxyuinhlkphasaithymatrthandwy echn hm r echn hm rb xanwa h m rb h epnxksrna tamdwy m khwbkladwy r aeplwa sarb imid xanwa hm rb hrux hmb ihxxkesiyng hm khwb r echn karcdh m rbpraephnisartheduxnsibthay aekikh esiynghyudthnghmdimmikarxxkesiyng dngnn esiyngthaykhxng p t aela k xxkesiyngepn p t aela k tamladb rimfipak pumehnguxk ephdanaekhng ephdanxxn esnesiyngesiyngnasik m m n y n n r l l ŋ ngesiynghyud p b p ph f ph t c ch s ch d t th th th d t th th th s s s k k kh kh kh ʔ esiyngepid w w j y trngthayxxkesiyngepnesnesiynghyud glottal stop emuximmitwthayhlngsrasnsra aekikh srainphasaithythinitmikhwamkhlaykbphasaithythinklang odyepniptamtarangni hna hlngpakehyiyd pakhxsn yaw sn yaw sn yawsung i i iː i ɯ u ɯː u u u uː u klang e e a eː e ɤ e xa ɤː e x o o a oː o ta ɛ ae a ɛː ae a a aː a ɔ e aa ɔː xsramkmaepnkhuyaw sn odyaebngiptamni yaw snithy IPA ithy IPA a aː a a i iː i i u uː u u e eː e a e ae ɛː ae a ɛ u ɯː u ɯ e x ɤː e xa ɤ o oː o a o x ɔː e aa ɔ sraphunthansamarthrwmknepnsraprasmsxngesiyngthiichinkarkahndesiyngwrrnyukt srathimisylksndxkcninbangkhrngxacthuxepnsrayaw yaw snxksrithy IPA xksrithy IPA ay aːj i i i y y aj aw aːw e a aw e iy iːe e iya ie iw iw w uːe wa ue uy uːj uy uj e w eːw e w ew ae w ɛːw e ux ɯːe e uxa ɯe e y ɤːj xy ɔːj o y oːj nxkcakni yngmisraprasmsamesiyng 3 aebbthiichinkarkahndesiyngwrrnyukt srathimisylksndxkcninbangkhrngxacthuxepnsrayaw xksrithy IPAe iyw iew wy uej e uxy ɯej saeniyng aekikhphasaithythinit 6 klumtawnxxk saeniyngsurasdrthani saeniyngnkhrsrithrrmrach saeniyngphthlung sngkhla klumtawntk saeniyngphngnga phuekt saeniyngkrabi trng klumtxnlang saeniyngpttani yala saeniyngnrathiwas phasaithythinitmiphasayxyaetktangknxxkipinaetlathxngthintang bangaehngmikarichkhasphthhruxmikarxxkesiyngaetktangknxxkip odyaebngxxkepnsamklumihy dngni phasaithythinitklumtawnxxk epnphasaithythinitthimiphuichhnaaenninbriewnthangtawnxxkkhxngkhabsmuthr tngaetcnghwdsurasdrthani nkhrsrithrrmrach phthlung sngkhla eruxyipcnthungrthekxdah aelapaliskhxngpraethsmaelesiy phasaithythinitklumtawntk epnphasaithythinitthimiphuichhnaaenninbriewnthangtawntkkhxngkhabsmuthr tngaetcnghwdsurasdrthani nkhrsrithrrmrach chumphr phngnga phuekt krabi trng aelaekhttanawsrikhxngpraethsphma phasaithythinittxnlang epnphasaithythinitthimiphuichhnaaenninbriewnsamcnghwdchayaednphakhit idaek cnghwdpttani yala aelanrathiwas odysaeniyngpttaniaelayalamikhwamechuxmoyngknmak aelaiklchidkbsaeniyngnrathiwasepnladbthdma 6 mikaryumkhamlayukhxnkhanghnaaenn ephraatngchumchnxyuthamklangchawithyechuxsaymlayusungepnchnklumihy odyechphaainxaephxthungyangaedng xaephxsayburi aelaxaephxtakib 7 khayum aekikhphasaithythinitmikhwamsmphnthkbchawtangchatixyanghlakhlay cnekidkaryumkhamaich thngniphbwaphasaithythinitmikaryumkhacakphasaekhmrmakthisudthung 1 320 kha bangswnepnkhayumthiphbidephiyngaetinphasaithythinitethann imphbinphasaithyklang ekhaicwakhngyumphanphasaekhmrobranodytrng nxkcakniyngmikhayumphasacinodyechphaaphasahkekiynhnaaenninsaeniyngphuekt 1 239 kha aelaphasacinxun insaeniyngsngkhla 396 kha aelakhayumphasamlayuhnaaenninsaeniyngpttani yala nrathiwas 400 kha aelastul 375 kha aetxyangirktamkhayumehlanimiphuichnxylng aelaaethnthidwyphasaithymatrthan 7 rabbkarekhiyn aekikhinxditphasaithythinitcaichxksrkhxmithyinkarcdcartarbtarasakhythangsasna nbthuxwahnngsuxaelaxksrepnkhxngskdisiththi thaikhrehyiybhruxkhamhnngsuxcathaihwichakhwamruesuxmthxy 8 xksrkhxmniphthnamacakxksrhlngpllawaerimichekhiynhlng ph s 1726 epntnma phbhlkthanthithanphraphuththrupwdhwewiyng cnghwdsurasdrthani cnkrathng ph s 1773 xksrkhxmnimiphthnakarinrupaebbthxngthinphakhitodyechphaa aetrayahlngmikarrbxksrkhxmithyxyangphakhklangmakkhuninchwngtnkrungrtnoksinthr 9 swnxksrithyxyuthya praktkhrngaerkinsilacarukwdaewng cnghwdsurasdrthani aetmixkkhrwithixyangkhnemuxngehnux inchwnghlngmikarbnthukwrrnkrrmepnxksrithylngsmudithyaelaiblantrngkbrchsmysmedcphranaraynmharach txma ph s 2357 trngkbrchsmyphrabathsmedcphraphuththelishlanphaly mikarichxksrithyxyuthyaekhiyntamsaeniyngitodyimkhanungthungrupaebbthithuktxng hruxmixkkhrwithitamkhwamphxickhxngphuekhiynexng 9 khrnemuxmikarphthnadankarsuksainpraethsithy phasaithythinitcungphthnamaekhiyndwyxksrithyxyangkrungethphmhankhrcnthungpccubn 9 phasathxngaedng aekikh inkaraesdnghnngtalung twlakhrthiepnecanaycaphakydwykaraehlngkhahlwng swntwlakhrthiepnchawbancaphakydwyphasathinit phasathxngaedng in phcnanukrmphasathinit phuththskrach 2525 ihkhwamhmayiwwa karphudphasaklangpnphasaithruxphudephiyn sungekidkhunidkbthukkhnthiichphasaithyphidephiynipcakmatrthankahnd imidcakdwaepnkhnphakhidhruxcnghwdid 10 xyangechn emuxphuichphasaithythinitepnphasaaemipphudphasaithymatrthan kyxmcanalksnabangprakarkhxngphasathinkhxngtnpapnekhakbphasaithymatrthancnphidephiyn eriykwa thxngaedng 10 aelachawithyechuxsaymlayuinsamcnghwdchayaednitthiphudphasaithymatrthanimchd ephraatidsaeniyngmlayu kcathukeriykwa thxngaedng echnkn 11 aetedimchawithyinaethbphakhitcaimniymichphasaithymatrthan ephraaepnphasakhxngecanayhruxrachsank emuxmichnchnnahruxecanayphudphasaithymatrthan chawbancungtxngxxkesiyngihtrngkbphasakhxngnay eriykwa aehlngkhahlwng sungepnkhwamphyayamxyanghnungkhxngkhnit thitxngkarihswnklangekhaicenuxhakhaphudkhxngtn aemcaxxkesiyngphidephiynipbang 12 aelahakchawitkhnidphudphasaithyklanghrux aehlngbangkxk kcathukkhnitdwyknmxngdwyechingtahniwa lumthin hrux ddcrit ephraaaemcaphudphasaithymatrthanaetyngkhngtidsaeniyngitxyu cungthuklxeliynwa phudthxngaedng 8 10 ephraamikarxxkesiyngphyychnaaelasratangkn mikartdkhahnakhxngsraesiyngsnxxkip ephuxkhwamsadwkinkarxxkesiyng echn engaa epn ehaa lxykrathng epn lxykratng sngkhya epn snghya nxkcakniyngmikarichkhatangcakphasaithymatrthan aetmikhwamhmayediywkn echn pwdthxng wa ecbphung pwdhw wa ecbebdhw chkcha wa lalab 12 pccubnphasaithymatrthanmixiththiphlehnuxphasaithythinitmakhuntamladb odyechphaacakkarsuksainrabb aelaphankarsuxsarmwlchn thaihphasaithythinitekidkhwamepliynaeplngekidkhunthukkhna 13 xangxing aekikh phasaithythinit at Ethnologue 18th ed 2015 International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination landforms a growing larger by the second Reports submitted by States parties under article 9 of the Convention Thailand PDF phasaxngkvs aela ithy United Nations Committee on the Elimination of Racial Discrimination 28 July 2011 subkhnemux 8 October 2016 krmsngesrimwthnthrrm 2559 phasa mrdkphumipyyathangwthnthrrmkhxngchati PDF krungethph sankngankickarorngphimph xngkhkarsngekhraahthharphansuk inphrabrmrachupthmph p 62 Check date values in year help tamic xwiruththioythin 2559 phaphrwmkarsuksaphasaithythinit warsarmnusysastraelasngkhmsastr 13 1 hna 9 Diller Anthony 1979 Nguyen Dang Liem b k How Many Tones For Southern Thai South east Asian Linguistic Studies Pacific Linguistics the Australian National University 4 122 6 0 6 1 tamic xwiruththioythin 2559 phaphrwmkarsuksaphasaithythinit warsarmnusysastraelasngkhmsastr 13 1 hna 18 7 0 7 1 tamic xwiruththioythin 2559 phaphrwmkarsuksaphasaithythinit warsarmnusysastraelasngkhmsastr 13 1 hna 21 8 0 8 1 echlimchy sngsri tulakhm 2541 minakhm 2542 phasaithythinitinbribththangwthnthrrm warsarparichad 11 2 hna 48 9 0 9 1 9 2 chaexm aekwkhlay 17 tulakhm 2561 phthnakarxksrthiichbnthukwrrnkrrmthxngthinphakhit sthabnithysuksa culalngkrnmhawithyaly subkhnemux 24 knyayn 2564 Check date values in accessdate date help 10 0 10 1 10 2 pricha thichinphngs lksnathangphasathxngaedngkhxngchawithyphakhit PDF mhawithyalythksin subkhnemux 24 knyayn 2564 Check date values in accessdate help niyamal xaaey 2552 twtnkhnmlayumusliminekhtemuxngyala PDF sakhawichaphthnamnusyaelasngkhm mhawithyalysngkhlankhrinthr p 124 Check date values in year help 12 0 12 1 elaeruxngemuxngit hna 8 elaeruxngemuxngit hna 9khxmul aekikhBradley David 1992 Southwestern Dai as a lingua franca Atlas of Languages of Intercultural Communication in the Pacific Asia and the Americas Vol II I 13 pp 780 781 Levinson David Ethnic Groups Worldwide A Ready Reference Handbook Greenwood Publishing Group ISPN 1573560197 Miyaoka Osahito 2007 The Vanishing Languages of the Pacific Rim Oxford University Press ISBN 0 19 926662 X Taher Mohamed 1998 Encylopaedic Survey of Islamic Culture Anmol Publications Pvt Ltd ISBN 81 261 0403 1 Yegar Moshe Between Integration and Secession The Muslim Communities of the Southern Philippines Southern Thailand and Western Burma Myanmar Lexington Books ISBN 0 7391 0356 3 Diller A Van Nostrand 1976 Toward a Model of Southern Thai Diglossic Speech Variation Cornell University Publishers Li Fang Kuei 1977 A Handbook of Comparative Tai University of Hawaii Press ISBN 0 8248 0540 2 phcnanukrmphasaithythxngthinphakhit hnngsuxphcnanukrmphasathinit sankphimphsthabnthksinkhdisuksaaehlngkhxmulxun aekikh bthkhwamekiywkbphasaniyngepnokhrng khunsamarthchwywikiphiediyidodyephimkhxmul duephimthi sthaniyxy phasa ekhathungcak https th wikipedia org w index php title phasaithythinit amp oldid 9791159, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม