fbpx
วิกิพีเดีย

พระสุนทรโวหาร (ภู่)

พระสุนทรโวหาร นามเดิม ภู่ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า สุนทรภู่ (26 มิถุนายน พ.ศ. 2329 - พ.ศ. 2398) เป็นอาลักษณ์ชาวไทยที่มีชื่อเสียงเชิงกวี ได้รับยกย่องเป็น เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย เกิดหลังจากตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ได้ 4 ปี และได้เข้ารับราชการเป็นอาลักษณ์ราชสำนักในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อสิ้นรัชกาลได้ออกบวชเป็นเวลาร่วม 20 ปี ก่อนจะกลับเข้ารับราชการอีกครั้งในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเป็นอาลักษณ์ในสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เลื่อนตำแหน่งเป็น พระสุนทรโวหาร เจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร ซึ่งเป็นตำแหน่งราชการสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิต

พระสุนทรโวหาร (ภู่)
เกิดภู่
26 มิถุนายน พ.ศ. 2329
เขตบางกอกน้อย
กรุงเทพ
กรุงรัตนโกสินทร์
เสียชีวิตพ.ศ. 2398 (69 ปี)
เขตพระราชวังเดิม
กรุงรัตนโกสินทร์
อาชีพอาลักษณ์
สัญชาติไทย
ช่วงเวลาต้นรัตนโกสินทร์
แนวจินตนิมิต, อิงประวัติศาสตร์
หัวข้อกวีนิพนธ์
ผลงานที่สำคัญพระอภัยมณี โคบุตร

สุนทรภู่เป็นกวีที่มีความชำนาญทางด้านกลอน ได้สร้างขนบการประพันธ์กลอนนิทานและกลอนนิราศขึ้นใหม่จนกลายเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางสืบเนื่องมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ผลงานที่มีชื่อเสียงของสุนทรภู่มีมากมายหลายเรื่อง เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศสุพรรณ เพลงยาวถวายโอวาท กาพย์พระไชยสุริยา และ พระอภัยมณี เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่อง พระอภัยมณี ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรว่าเป็นยอดของวรรณคดีประเภทกลอนนิทาน และเป็นผลงานที่แสดงถึงทักษะ ความรู้ และทัศนะของสุนทรภู่อย่างมากที่สุด งานประพันธ์หลายชิ้นของสุนทรภู่ได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งในหลักสูตรการเรียนการสอนนับแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน เช่น กาพย์พระไชยสุริยา นิราศพระบาท และอีกหลาย ๆ เรื่อง

ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบ 200 ปีชาตกาล สุนทรภู่ได้รับยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกด้านงานวรรณกรรม ผลงานของสุนทรภู่ยังเป็นที่นิยมในสังคมไทยอย่างต่อเนื่องตลอดมาไม่ขาดสาย และมีการนำไปดัดแปลงเป็นสื่อต่าง ๆ เช่น หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์ เพลง รวมถึงละคร มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์สุนทรภู่ไว้ที่ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง บ้านเกิดของบิดาของสุนทรภู่ และเป็นที่กำเนิดผลงานนิราศเรื่องแรกของท่านคือ นิราศเมืองแกลง นอกจากนี้ยังมีอนุสาวรีย์แห่งอื่น ๆ อีก เช่น ที่วัดศรีสุดาราม ที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดนครปฐม วันเกิดของสุนทรภู่คือวันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี ถือเป็น วันสุนทรภู่ ซึ่งเป็นวันสำคัญด้านวรรณกรรมของไทย มีการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติคุณและส่งเสริมศิลปะการประพันธ์บทกวีจากองค์กรต่าง ๆ โดยทั่วไป

ประวัติ

ต้นตระกูล

บันทึกส่วนใหญ่มักระบุถึงต้นตระกูลของสุนทรภู่เพียงว่า บิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง มารดาเป็นชาวเมืองอื่น ทั้งนี้เนื่องจากเชื่อถือตามพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เรื่อง ชีวิตและงานของสุนทรภู่ ต่อมาในภายหลัง เมื่อมีการค้นพบข้อมูลต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ก็มีแนวคิดเกี่ยวกับต้นตระกูลของสุนทรภู่แตกต่างกันออกไป นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า ฝ่ายบิดาเป็นชาวบ้านกร่ำ เมืองแกลง จริง เนื่องจากมีปรากฏเนื้อความอยู่ใน นิราศเมืองแกลง ถึงวงศ์วานว่านเครือของสุนทรภู่ ทั้งนี้บิดาของสุนทรภู่อาจมีเชื้อสายชองซึ่งเป็นชนพื้นเมืองในพื้นที่ ดังปรากฏว่า "...ล้วนวงศ์วานว่านเครือเป็นเชื้อชอง ไม่เห็นน้องนึกน่าน้ำตากระเด็น..." แต่เรื่องดังกล่าวก็ไม่มีหลักฐานใดสนับสนุนเพียงพอ บ้างก็ว่าอาจเป็นการเข้าใจผิด

แต่ความเห็นเกี่ยวกับตระกูลฝ่ายมารดานี้แตกออกเป็นหลายส่วน ส่วนหนึ่งว่าไม่ทราบที่มาแน่ชัด ส่วนหนึ่งว่าเป็นชาวฉะเชิงเทรา และส่วนหนึ่งว่าเป็นชาวเมืองเพชรบุรี ก.ศ.ร. กุหลาบ เคยเขียนไว้ในหนังสือ สยามประเภท ว่า บิดาของสุนทรภู่เป็นข้าราชการแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ชื่อขุนศรีสังหาร (พลับ) ข้อมูลนี้สอดคล้องกับบทกวีไม่ทราบชื่อผู้แต่ง ซึ่งปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ พบที่อนุสาวรีย์สุนทรภู่ จังหวัดระยอง ว่า บิดาของสุนทรภู่เป็นชาวบ้านกร่ำ ชื่อพ่อพลับ ส่วนมารดาเป็นชาวเมืองฉะเชิงเทรา ชื่อแม่ช้อย ทว่าแนวคิดที่ได้รับการยอมรับกันค่อนข้างกว้างขวางคือ ตระกูลฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชรบุรี สืบเนื่องจากเนื้อความใน นิราศเมืองเพชร ฉบับค้นพบเพิ่มเติมโดยล้อม เพ็งแก้ว เมื่อ พ.ศ. 2529

วัยเยาว์

 
อนุสาวรีย์ที่วัดศรีสุดาราม กรุงเทพ

สุนทรภู่ มีชื่อเดิมว่า ภู่ เกิดในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือน 8 ขึ้น 1 ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช 1148 เวลาเช้า 2 โมง (ตรงกับวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2329) ณ บริเวณด้านเหนือของพระราชวังหลัง ซึ่งเป็นบริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยปัจจุบันนี้ เชื่อว่าหลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน บิดาออกไปบวชอยู่ที่วัดป่ากร่ำอันเป็นภูมิลำเนาเดิม ส่วนมารดาได้เข้าไปอยู่ในพระราชวังหลัง ถวายตัวเป็นนางนมของพระองค์เจ้าหญิงจงกล พระธิดาในเจ้าฟ้ากรมหลวงอนุรักษ์เทเวศร์ ดังนั้นสุนทรภู่จึงได้อยู่ในพระราชวังหลังกับมารดา และได้ถวายตัวเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง สุนทรภู่ยังมีน้องสาวต่างบิดาอีกสองคน ชื่อฉิมและนิ่ม

เชื่อกันว่า ในวัยเด็กสุนทรภู่ได้ร่ำเรียนหนังสือกับพระในสำนักวัดชีปะขาว (ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามในรัชกาลที่ 4 ว่า วัดศรีสุดาราม อยู่ริมคลองบางกอกน้อย) ตามเนื้อความส่วนหนึ่งที่ปรากฏใน นิราศสุพรรณ ต่อมาได้เข้ารับราชการเป็นเสมียนนายระวางกรมพระคลังสวน ในกรมพระคลังสวน แต่ไม่ชอบทำงานอื่นนอกจากแต่งบทกลอน ซึ่งสามารถแต่งได้ดีตั้งแต่ยังรุ่นหนุ่ม จากสำนวนกลอนของสุนทรภู่ เชื่อว่าผลงานที่มีการประพันธ์ขึ้นก่อนสุนทรภู่อายุได้ 20 ปี (คือก่อน นิราศเมืองแกลง) เห็นจะได้แก่กลอนนิทานเรื่อง โคบุตร

สุนทรภู่ลอบรักกับนางข้าหลวงในวังหลังคนหนึ่ง ชื่อแม่จัน ชะรอยว่าหล่อนจะเป็นบุตรหลานผู้มีตระกูล จึงถูกกรมพระราชวังหลังกริ้วจนถึงให้โบยและจำคุกคนทั้งสอง แต่เมื่อกรมพระราชวังหลังเสด็จทิวงคตในปี พ.ศ. 2349 จึงมีการอภัยโทษแก่ผู้ถูกลงโทษทั้งหมดถวายเป็นพระราชกุศล หลังจากสุนทรภู่ออกจากคุกก็เดินทางไปหาบิดาที่เมืองแกลง จังหวัดระยอง การเดินทางครั้งนี้สุนทรภู่ได้แต่ง นิราศเมืองแกลง พรรณนาสภาพการเดินทางต่าง ๆ เอาไว้โดยละเอียด และลงท้ายเรื่องว่า แต่งมาให้แก่แม่จัน "เป็นขันหมากมิ่งมิตรพิสมัย" ในนิราศได้บันทึกสมณศักดิ์ของบิดาของสุนทรภู่ไว้ด้วยว่า เป็น "พระครูธรรมรังษี" เจ้าอาวาสวัดป่ากร่ำ กลับจากเมืองแกลงคราวนี้ สุนทรภู่จึงได้แม่จันเป็นภรรยา

แต่กลับจากเมืองแกลงเพียงไม่นาน สุนทรภู่ต้องติดตามพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ในฐานะมหาดเล็กตามเสด็จไปในงานพิธีมาฆบูชาที่พระพุทธบาท (เขตจังหวัดสระบุรีในปัจจุบัน) เมื่อปี พ.ศ. 2350 สุนทรภู่ได้แต่ง นิราศพระบาท พรรณนาเหตุการณ์ในการเดินทางคราวนี้ด้วย

สุนทรภู่กับแม่จันมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อหนูพัด ได้อยู่ในความอุปการะของเจ้าครอกทองอยู่ ส่วนหนุ่มสาวทั้งสองมีเรื่องระหองระแหงกันเสมอ จนภายหลังก็เลิกรากันไป

หลังจาก นิราศพระบาท ที่สุนทรภู่แต่งในปี พ.ศ. 2350 ไม่ปรากฏผลงานใด ๆ ของสุนทรภู่อีกเลยจนกระทั่งเข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2359

ตำแหน่งอาลักษณ์

สุนทรภู่ได้เข้ารับราชการในกรมพระอาลักษณ์เมื่อ พ.ศ. 2359 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 2 มูลเหตุในการได้เข้ารับราชการนี้ ไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจแต่งโคลงกลอนได้เป็นที่พอพระทัย ทราบถึงพระเนตรพระกรรณจึงทรงเรียกเข้ารับราชการ แนวคิดหนึ่งว่าสุนทรภู่เป็นผู้แต่งกลอนในบัตรสนเท่ห์ ซึ่งปรากฏชุกชุมอยู่ในเวลานั้น อีกแนวคิดหนึ่งสืบเนื่องจาก "ช่วงเวลาที่หายไป" ของสุนทรภู่ ซึ่งน่าจะใช้วิชากลอนทำมาหากินเป็นที่รู้จักเลื่องชื่ออยู่ ชะรอยจะเป็นเหตุให้ถูกเรียกเข้ารับราชการก็ได้

เมื่อแรกสุนทรภู่รับราชการเป็นอาลักษณ์ปลายแถว มีหน้าที่เฝ้าเวลาทรงพระอักษรเพื่อคอยรับใช้ แต่มีเหตุให้ได้แสดงฝีมือกลอนของตัว เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแต่งกลอนบทละครในเรื่อง "รามเกียรติ์" ติดขัดไม่มีผู้ใดต่อกลอนได้ต้องพระราชหฤทัย จึงโปรดให้สุนทรภู่ทดลองแต่ง ปรากฏว่าแต่งได้ดีเป็นที่พอพระทัย จึงทรงพระกรุณาฯ เลื่อนให้เป็น ขุนสุนทรโวหาร การต่อกลอนของสุนทรภู่คราวนี้เป็นที่รู้จักทั่วไป เนื่องจากปรากฏรายละเอียดอยู่ในพระนิพนธ์ ชีวิตและงานของสุนทรภู่ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ บทกลอนในรามเกียรติ์ที่สุนทรภู่ได้แต่งในคราวนั้นคือ ตอนนางสีดาผูกคอตาย และตอนศึกสิบขุนสิบรถ ฉากบรรยายรถศึกของทศกัณฐ์ สุนทรภู่ได้เลื่อนยศเป็น หลวงสุนทรโวหาร ในเวลาต่อมา ได้รับพระราชทานบ้านหลวงอยู่ที่ท่าช้าง ใกล้กับวังท่าพระ และมีตำแหน่งเข้าเฝ้าเป็นประจำ คอยถวายความเห็นเกี่ยวกับพระราชนิพนธ์และพระนิพนธ์วรรณคดีเรื่องต่าง ๆ รวมถึงได้ร่วมในกิจการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ โดยเป็นหนึ่งในคณะร่วมแต่ง ขุนช้างขุนแผน ขึ้นใหม่

ระหว่างรับราชการ สุนทรภู่ต้องโทษจำคุกเพราะถูกอุทธรณ์ว่าเมาสุราทำร้ายญาติผู้ใหญ่ แต่จำคุกได้ไม่นานก็โปรดพระราชทานอภัยโทษ เล่ากันว่าเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงติดขัดบทพระราชนิพนธ์เรื่องสังข์ทอง ไม่มีใครแต่งได้ต้องพระทัย ภายหลังพ้นโทษ สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอาภรณ์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 เชื่อว่าสุนทรภู่แต่งเรื่อง สวัสดิรักษา ในระหว่างเวลานี้

ในระหว่างรับราชการอยู่นี้ สุนทรภู่แต่งงานใหม่กับแม่นิ่ม มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน ชื่อพ่อตาบ

ออกบวช

 
กุฏิวัดเทพธิดารามที่สุนทรภู่บวชจำพรรษา เป็นสถานที่ค้นพบวรรณกรรมที่ทรงคุณค่ามากมายเช่น พระอภัยมณี ฯลฯ ที่ท่านเก็บซ่อนไว้ใต้เพดานหลังคากุฏิของท่าน

สุนทรภู่รับราชการอยู่เพียง 8 ปี เมื่อถึงปี พ.ศ. 2367 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นสุนทรภู่ก็ออกบวช แต่จะได้ลาออกจากราชการก่อนออกบวชหรือไม่ยังไม่ปรากฏแน่ชัด แม้จะไม่ปรากฏโดยตรงว่าสุนทรภู่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากราชสำนักใหม่ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ก็ได้รับพระอุปถัมภ์จากพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นอยู่เสมอ เช่น ปี พ.ศ. 2372 สุนทรภู่ได้เป็นพระอาจารย์ถวายอักษรเจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว พระโอรสในเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ปรากฏความอยู่ใน เพลงยาวถวายโอวาท นอกจากนั้นยังได้อยู่ในพระอุปถัมภ์ของพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ และกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ซึ่งปรากฏเนื้อความในงานเขียนของสุนทรภู่บางเรื่องว่า สุนทรภู่แต่งเรื่อง พระอภัยมณี และ สิงหไตรภพ ถวาย

สุนทรภู่บวชอยู่เป็นเวลา 18 ปี ระหว่างนั้นได้ย้ายไปอยู่วัดต่าง ๆ หลายแห่ง เท่าที่พบระบุในงานเขียนของท่านได้แก่ วัดเลียบ วัดแจ้ง วัดโพธิ์ วัดมหาธาตุ และวัดเทพธิดาราม งานเขียนบางชิ้นสื่อให้ทราบว่า ในบางปี ภิกษุภู่เคยต้องเร่ร่อนไม่มีที่จำพรรษาบ้างเหมือนกัน ผลจากการที่ภิกษุภู่เดินทางธุดงค์ไปที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ปรากฏผลงานเป็นนิราศเรื่องต่าง ๆ มากมาย และเชื่อว่าน่าจะยังมีนิราศที่ค้นไม่พบอีกเป็นจำนวนมาก

งานเขียนชิ้นสุดท้ายที่ภิกษุภู่แต่งไว้ก่อนลาสิกขาบท คือ รำพันพิลาป โดยแต่งขณะจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม พ.ศ. 2385

ช่วงปลายของชีวิต

ปี พ.ศ. 2385 ภิกษุภู่จำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ที่มีกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพทรงอุปถัมภ์ คืนหนึ่งหลับฝันเห็นเทพยดาจะมารับตัวไป เมื่อตื่นขึ้นคิดว่าตนถึงฆาตจะต้องตายแล้ว จึงประพันธ์เรื่อง รำพันพิลาป พรรณนาถึงความฝันและเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ที่ได้ประสบมาในชีวิต หลังจากนั้นก็ลาสิกขาบทเพื่อเตรียมตัวจะตาย ขณะนั้นสุนทรภู่มีอายุได้ 56 ปี

หลังจากลาสิกขาบท สุนทรภู่ได้รับพระอุปถัมภ์จากเจ้าฟ้าน้อย หรือสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ รับราชการสนองพระเดชพระคุณทางด้านงานวรรณคดี สุนทรภู่แต่ง เสภาพระราชพงศาวดาร บทเห่กล่อมพระบรรทม และบทละครเรื่อง อภัยนุราช ถวาย รวมถึงยังแต่งเรื่อง พระอภัยมณี ถวายให้กรมหมื่นอัปสรสุดาเทพด้วย เมื่อถึงปี พ.ศ. 2394 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต เจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงสถาปนาเจ้าฟ้าน้อยขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สุนทรภู่จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้ากรมอาลักษณ์ฝ่ายพระราชวังบวร มีบรรดาศักดิ์เป็น พระสุนทรโวหาร ช่วงระหว่างเวลานี้สุนทรภู่ได้แต่งนิราศเพิ่มอีก 2 เรื่อง คือ นิราศพระประธม และ นิราศเมืองเพชร

สุนทรภู่พำนักอยู่ในเขตพระราชวังเดิม ใกล้หอนั่งของพระยามนเทียรบาล (บัว) มีห้องส่วนตัวเป็นห้องพักกั้นเฟี้ยมที่เรียกชื่อกันว่า "ห้องสุนทรภู่" เชื่อว่าสุนทรภู่พำนักอยู่ที่นี่ตราบจนถึงแก่อนิจกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2398 สิริรวมอายุได้ 69 ปี

ทายาท

สุนทรภู่มีบุตรชายสามคน คือพ่อพัด เกิดจากภรรยาคนแรกคือแม่จัน พ่อตาบ เกิดจากภรรยาคนที่สองคือแม่นิ่ม และพ่อนิล เกิดจากภรรยาที่ชื่อแม่ม่วง นอกจากนี้ปรากฏชื่อบุตรบุญธรรมอีกสองคน ชื่อพ่อกลั่น และพ่อชุบ

พ่อพัดนี้เป็นลูกรัก ได้ติดสอยห้อยตามสุนทรภู่อยู่เสมอ เมื่อครั้งสุนทรภู่ออกบวช พ่อพัดก็ออกบวชด้วย เมื่อสุนทรภู่ได้มารับราชการกับเจ้าฟ้าน้อย พ่อพัดก็มาพำนักอยู่ด้วยเช่นกัน ส่วนพ่อตาบนั้นปรากฏว่าได้เป็นกวีมีชื่ออยู่พอสมควร เมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น ตระกูลของสุนทรภู่ได้ใช้นามสกุลต่อมาว่า ภู่เรือหงส์ (บางสายสกุลอาจเป็น ภู่ระหงษ์) เรื่องนามสกุลของสุนทรภู่นี้ ก.ศ.ร. กุหลาบ เคยเขียนไว้ในหนังสือสยามประเภท อ้างถึงผู้ถือนามสกุล ภู่เรือหงส์ ที่ได้รับบำเหน็จจากหมอสมิทเป็นค่าพิมพ์หนังสือเรื่อง พระอภัยมณี แต่หนังสือของ ก.ศ.ร. กุหลาบ ไม่เป็นที่ยอมรับของราชสำนัก ด้วยปรากฏอยู่บ่อยครั้งว่ามักเขียนเรื่องกุ เรื่องนามสกุลของสุนทรภู่จึงพลอยไม่ได้รับการเชื่อถือไปด้วย จนกระทั่ง ศ.ผะอบ โปษะกฤษณะ ยืนยันความข้อนี้เนื่องจากเคยได้พบกับหลานปู่ของพ่อพัดมาด้วยตนเอง

อุปนิสัยและทัศนคติ

อุปนิสัย

ตำราโหราศาสตร์ผูกดวงชะตาวันเกิดของสุนทรภู่ไว้เป็นดวงประเทียบ พร้อมคำอธิบายข้างใต้ดวงชะตาว่า "สุนทรภู่ อาลักษณ์ขี้เมา" เหตุนี้จึงเป็นที่กล่าวขานกันเสมอมาว่า สุนทรภู่นี้ขี้เหล้านัก ในงานเขียนของสุนทรภู่เองก็ปรากฏบรรยายถึงความมึนเมาอยู่หลายครั้ง แม้จะดูเหมือนว่า สุนทรภู่เองก็รู้ว่าการมึนเมาสุราเป็นสิ่งไม่ดี ได้เขียนตักเตือนผู้อ่านอยู่ในงานเขียนเสมอ การดื่มสุราของสุนทรภู่อาจเป็นการดื่มเพื่อสังสรรค์และเพื่อสร้างอารมณ์ศิลปิน ด้วยปรากฏว่าเรือนสุนทรภู่มักเป็นที่ครึกครื้นรื่นเริงกับหมู่เพื่อนฝูงอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังเล่ากันว่า เวลาที่สุนทรภู่กรึ่ม ๆ แล้วอาจสามารถบอกกลอนให้เสมียนถึงสองคนจดตามแทบไม่ทัน เมื่อออกบวช สุนทรภู่เห็นจะต้องพยายามเอาชนะใจตัวเองให้ได้ ซึ่งในท้ายที่สุดก็สามารถทำได้ดี ขณะที่รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล มองว่า เรื่องที่ว่าสุนทรภู่ขี้เมานั้นไม่มีการบันทึกอย่างเป็นกิจจะลักษณะ ทั้งสุนทรภู่มีผลงานเขียนอยู่มาก หากเป็นคนลุ่มหลงในสุราคงไม่มีเวลาไปเขียนหนังสือเป็นแน่

สุนทรภู่มักเปรียบการเมาเหล้ากับการเมารัก ชีวิตรักของสุนทรภู่ดูจะไม่สมหวังเท่าที่ควร หลังจากแยกทางกับแม่จัน สุนทรภู่ได้ภรรยาคนที่สองชื่อแม่นิ่ม นอกจากนี้แล้วยังปรากฏชื่อหญิงสาวมากหน้าหลายตาที่สุนทรภู่พรรณนาถึง เมื่อเดินทางไปถึงหย่อมย่านมีชื่อเสียงคล้องจองกับหญิงสาวเหล่านั้น นักวิจารณ์หลายคนจึงบรรยายลักษณะนิสัยของสุนทรภู่ว่าเป็นคนเจ้าชู้ และบ้างยังว่าความเจ้าชู้นี้เองที่ทำให้ต้องหย่าร้างกับแม่จัน ความข้อนี้เป็นจริงเพียงไรไม่ปรากฏ ขุนวิจิตรมาตราเคยค้นชื่อสตรีที่เข้ามาเกี่ยวพันกับสุนทรภู่ในงานประพันธ์ต่าง ๆ ของท่าน ได้ชื่อออกมากว่า 12 ชื่อ คือ จัน พลับ แช่ม แก้ว นิ่ม ม่วง น้อย นกน้อย กลิ่น งิ้ว สุข ลูกจันทน์ และอื่น ๆ อีก ทว่าสุนทรภู่เองเคยปรารภถึงการพรรณนาถึงหญิงสาวในบทประพันธ์ของตนว่า เป็นไปเพื่อให้ได้อรรถรสในงานประพันธ์เท่านั้น จะถือเป็นจริงเป็นจังมิได้ อย่างไรก็ดี การบรรยายความโศกเศร้าและอาภัพในความรักของสุนทรภู่ปรากฏอยู่ในงานเขียนนิราศของท่านแทบทุกเรื่อง สตรีในดวงใจที่ท่านรำพันถึงอยู่เสมอก็คือแม่จัน ซึ่งเป็นรักครั้งแรกที่คงไม่อาจลืมเลือนได้ แต่น่าจะมีความรักใคร่กับหญิงอื่นอยู่บ้างประปราย และคงไม่มีจุดจบที่ดีนัก ใน นิราศพระประธม ซึ่งท่านประพันธ์ไว้เมื่อมีอายุกว่า 60 ปีแล้ว สุนทรภู่ได้อธิษฐานไม่ขอพบกับหญิงทิ้งสัตย์อีกต่อไป

อุปนิสัยสำคัญอีกประการหนึ่งของสุนทรภู่คือ มีความอหังการ์และมั่นใจในความสามารถของตนเป็นอย่างสูง ลักษณะนิสัยข้อนี้ทำให้นักวิจารณ์ใช้ในการพิจารณางานประพันธ์ซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงอยู่ว่า เป็นผลงานของสุนทรภู่หรือไม่ ความอหังการ์ของสุนทรภู่แสดงออกมาอย่างชัดเจนอยู่ในงานเขียนหลายชุด และถือเป็นวรรคทองของสุนทรภู่ด้วย เช่น

อย่างหม่อมฉันอันที่ดีและชั่ว ถึงลับตัวแต่ก็ชื่อเขาลือฉาว
เป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว    เขมรลาวลือเลื่องถึงเมืองนคร  

หรืออีกบทหนึ่งคือ

หนึ่งขอฝากปากคำทำหนังสือ ให้สืบชื่อชั่วฟ้าสุธาสถาน
สุนทราอาลักษณ์เจ้าจักรพาฬ      พระทรงสารศรีเศวตเกศกุญชร  

เรื่องความอหังการ์ของสุนทรภู่นี้ เล่ากันว่าในบางคราวสุนทรภู่ขอแก้บทพระนิพนธ์ของกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ต่อหน้าพระที่นั่งโดยไม่มีการไว้หน้า ด้วยถือว่าตนเป็นกวีที่ปรึกษา กล้าแม้กระทั่งต่อกลอนหยอกล้อกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยที่ไม่ทรงถือโกรธ แต่กลับมีทิฐิของกวีที่จะเอาชนะสุนทรภู่ให้ได้ การแก้กลอนหน้าพระที่นั่งนี้อาจเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้สุนทรภู่ล่วงเกินต่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์โดยไม่ได้ตั้งใจ และอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สุนทรภู่ตัดสินใจออกบวชหลังสิ้นแผ่นดินรัชกาลที่ 2 แล้วก็เป็นได้

ทัศนคติ

สุนทรภู่ให้ความสำคัญกับการศึกษาอย่างมาก และตอกย้ำเรื่องการศึกษาในวรรณคดีหลาย ๆ เรื่อง เช่น ขุนแผนสอนพลายงามว่า "ลูกผู้ชายลายมือนั้นคือยศ   เจ้าจงอตส่าห์ทำสม่ำเสมียน" หรือที่พระฤๅษีสอนสุดสาครว่า "รู้สิ่งไรไม่สู้รู้วิชา   รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี" โดยที่สุนทรภู่เองก็เป็นผู้สนใจใฝ่ศึกษาหาความรู้ และมีความรู้กว้างขวางอย่างยิ่ง เชื่อว่าสุนทรภู่น่าจะร่วมอยู่ในกลุ่มข้าราชการหัวก้าวหน้าในยุคสมัยนั้น ที่นิยมวิชาความรู้แบบตะวันตก ภาษาอังกฤษ ตลอดกระทั่งแนวคิดยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับสตรีมากขึ้นกว่าเดิม สิ่งที่สะท้อนแนวความคิดของสุนทรภู่ออกมามากที่สุดคืองานเขียนเรื่อง พระอภัยมณี ซึ่งโครงเรื่องมีความเป็นสากลมากยิ่งกว่าวรรณคดีไทยเรื่องอื่น ๆ ตัวละครมีความหลากหลายทางเชื้อชาติ ตัวละครเอกเช่นพระอภัยมณีกับสินสมุทรยังสามารถพูดภาษาต่างประเทศได้หลายภาษา นอกจากนี้ยังเป็นวรรณคดีที่ตัวละครฝ่ายหญิงมีบทบาททางการเมืองอย่างสูง เช่นนางสุวรรณมาลีและนางละเวงวัณฬาที่สามารถเป็นเจ้าครองเมืองได้เอง นางวาลีที่เป็นถึงที่ปรึกษากองทัพ และนางเสาวคนธ์ที่กล้าหาญถึงกับหนีงานวิวาห์ที่ตนไม่ปรารถนา อันผิดจากนางในวรรณคดีไทยตามประเพณีที่เคยมีมา

ลักษณะความคิดแบบหัวก้าวหน้าเช่นนี้ทำให้ นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรียกสมญาสุนทรภู่ว่าเป็น "มหากวีกระฎุมพี" ซึ่งแสดงถึงชนชั้นใหม่ที่เกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อทรัพย์สินเงินทองเริ่มมีความสำคัญมากขึ้นนอกเหนือไปจากยศถาบรรดาศักดิ์ งานเขียนเชิงนิราศของสุนทรภู่หลายเรื่องสะท้อนแนวคิดด้านเศรษฐกิจ รวมถึงวิจารณ์การทำงานของข้าราชการที่ทุจริตคิดสินบน ทั้งยังมีแนวคิดเกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของสตรีมากยิ่งขึ้นด้วย ไมเคิล ไรท์ เห็นว่างานเขียนเรื่อง พระอภัยมณี ของสุนทรภู่ เป็นการคว่ำคติความเชื่อและค่านิยมในมหากาพย์โดยสิ้นเชิง โดยที่ตัวละครเอกไม่ได้มีความเป็น "วีรบุรุษ" อย่างสมบูรณ์แบบ ทว่าในตัวละครทุก ๆ ตัวกลับมีความดีและความเลวในแง่มุมต่าง ๆ ปะปนกันไป

อย่างไรก็ดี ในท่ามกลางงานประพันธ์อันแหวกแนวล้ำยุคล้ำสมัยของสุนทรภู่ ความจงรักภักดีของสุนทรภู่ต่อพระราชวงศ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก็ยังสูงล้ำเป็นล้นพ้นอย่างไม่มีวันจางหายไปแม้ในวาระสุดท้าย สุนทรภู่รำพันถึงพระมหากรุณาธิคุณหลายครั้งในงานเขียนเรื่องต่าง ๆ ของท่าน ในงานประพันธ์เรื่อง นิราศพระประธม ซึ่งสุนทรภู่ประพันธ์หลังจากลาสิกขาบท และมีอายุกว่า 60 ปีแล้ว สุนทรภู่เรียกตนเองว่าเป็น "สุนทราอาลักษณ์เจ้าจักรพาฬ   พระทรงสารศรีเศวตเกศกุญชร" กล่าวคือเป็นอาลักษณ์ของ "พระเจ้าช้างเผือก" อันเป็นพระสมัญญานามของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สุนทรภู่ได้แสดงจิตเจตนาในความจงรักภักดีอย่างไม่เสื่อมคลาย ปรากฏใน นิราศภูเขาทอง ความว่า "จะสร้างพรตอตส่าห์ส่งบุญถวาย   ประพฤติฝ่ายสมถะทั้งวสา   เป็นสิ่งของฉลองคุณมุลิกา   ขอเป็นข้าเคียงพระบาททุกชาติไป"

ความรู้และทักษะ

เมื่อพิจารณาจากผลงานต่าง ๆ ของสุนทรภู่ ไม่ว่าจะเป็นงานเขียนนิราศหรือกลอนนิยาย สุนทรภู่มักแทรกสุภาษิต คำพังเพย คำเปรียบเทียบต่าง ๆ ทำให้ทราบว่าสุนทรภู่นี้ได้อ่านหนังสือมามาก จนสามารถนำเรื่องราวต่าง ๆ ที่ตนทราบมาแทรกเข้าไปในผลงานได้อย่างแนบเนียน เนื้อหาหลายส่วนในงานเขียนเรื่อง พระอภัยมณี ทำให้ทราบว่า สุนทรภู่มีความรอบรู้แตกฉานในสมุดภาพไตรภูมิ ทั้งเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่นำมาดัดแปลงประดิษฐ์เข้าไว้ในท้องเรื่อง เช่น การเรียกชื่อปลาทะเลแปลก ๆ และการกล่าวถึงตราพระราหู นอกจากนี้ยังมีความรอบรู้ในวรรณคดีประเทศต่าง ๆ เช่น จีน อาหรับ แขก ไทย ชวา เป็นต้น นักวิชาการโดยมากเห็นพ้องกันว่า สุนทรภู่ได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีจีนเรื่อง ไซ่ฮั่น สามก๊ก วรรณคดีอาหรับ เช่น อาหรับราตรี รวมถึงเกร็ดคัมภีร์ไบเบิล เรื่องของหมอสอนศาสนา ตำนานเมืองแอตแลนติส ซึ่งสะท้อนให้เห็นอิทธิพลเหล่านี้อยู่ในผลงานเรื่อง พระอภัยมณี มากที่สุด

สุนทรภู่ยังมีความรู้ด้านดาราศาสตร์ หรือการดูดาว โดยที่สัมพันธ์กับความรู้ด้านโหราศาสตร์ ด้วยปรากฏว่าสุนทรภู่เอ่ยถึงชื่อดวงดาวต่าง ๆ ด้วยภาษาโหร เช่น ดาวเรือไชยหรือดาวสำเภาทอง ดาวธง ดาวโลง ดาวกา ดาวหามผี ทั้งยังบรรยายถึงคำทำนายโบร่ำโบราณ เช่น "แม้นดาวกามาใกล้ในมนุษย์ จะม้วยมุดมรณาเป็นห่าโหง" ดังนี้เป็นต้น

การที่สุนทรภู่มีความรอบรู้มากมายและรอบด้านเช่นนี้ สันนิษฐานว่าสุนทรภู่น่าจะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลด้านเอกสารสำคัญซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนค่อนข้างน้อยเนื่องจากเป็นช่วงหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาไม่นาน ทั้งนี้เนื่องมาจากตำแหน่งหน้าที่การงานของสุนทรภู่นั่นเอง นอกจากนี้การที่สุนทรภู่มีแนวคิดสมัยใหม่แบบตะวันตก จนได้สมญาว่าเป็น "มหากวีกระฎุมพี" ย่อมมีความเป็นไปได้ที่สุนทรภู่ซึ่งมีพื้นอุปนิสัยใจคอกว้างขวางชอบคบคนมาก น่าจะได้รู้จักมักจี่กับชาวต่างประเทศและพ่อค้าชาวตะวันตก ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ เห็นว่าบางทีสุนทรภู่อาจจะพูดภาษาอังกฤษได้ก็เป็นได้ อันเป็นที่มาของการที่พระอภัยมณีและสินสมุทรสามารถพูดภาษาต่างประเทศได้หลายภาษา รวมถึงเรื่องราวโพ้นทะเลและชื่อดินแดนต่าง ๆ ที่เหล่านักเดินเรือน่าจะเล่าให้สุนทรภู่ฟัง

แต่ไม่ว่าสุนทรภู่จะได้รับข้อมูลโพ้นทะเลจากเหล่าสหายของเขาหรือไม่ สุนทรภู่ก็ยังพรรณนาถึงเรื่องล้ำยุคล้ำสมัยมากมายที่แสดงถึงจินตนาการของเขาเอง อันเป็นสิ่งที่ยังไม่ได้ปรากฏหรือสำเร็จขึ้นในยุคสมัยนั้น เช่น ในผลงานเรื่อง พระอภัยมณี มีเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ที่สามารถปลูกตึกปลูกสวนไว้บนเรือได้ นางละเวงมีหีบเสียงที่เล่นได้เอง (ด้วยไฟฟ้า) หรือเรือสะเทินน้ำสะเทินบกของพราหมณ์โมรา สุนทรภู่ได้รับยกย่องว่าเป็นจินตกวีที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่งแห่งยุคสมัย ปรากฏเนื้อความยืนยันอยู่ในหนังสือ ประวัติสุนทรภู่ ของพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) ความว่า "...ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยนั้น ฝ่ายจินตกวีมีชื่อคือหมายเอาสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัวเป็นประธานแล้ว มีท่านที่ได้รู้เรื่องราวในทางนี้กล่าวว่าพระองค์มีเอตทัคคสาวกในการสโมสรกาพย์กลอนโคลงฉัณท์อยู่ ๖ นาย คือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ๑ ท่านสุนทรภู่ ๑ นายทรงใจภักดิ์ ๑ พระยาพจนาพิมล (วันรัตทองอยู่) ๑ กรมขุนศรีสุนทร ๑ พระนายไวย ๑ ภายหลังเป็นพระยากรุง (ชื่อเผือก) ๑ ในหกท่านนี้แล ได้รับต้นประชันแข่งขันกันอยู่เสมอ..."

ทักษะอีกประการหนึ่งของสุนทรภู่ได้แก่ ความเชี่ยวชำนาญในการเลือกใช้ถ้อยคำอย่างเหมาะสมเพื่อใช้พรรณนาเนื้อความในกวีนิพนธ์ของตน โดยเฉพาะในงานประพันธ์ประเภทนิราศ ทำให้ผู้อ่านแลเห็นภาพหรือได้ยินเสียงราวกับได้ร่วมเดินทางไปกับผู้ประพันธ์ด้วย สุนทรภู่ยังมีไหวพริบปฏิภาณในการประพันธ์ กล่าวได้ว่าไม่เคยจนถ้อยคำที่จะใช้ เล่าว่าครั้งหนึ่งเมื่อภิกษุภู่ออกจาริกจอดเรืออยู่ มีชาวบ้านนำภัตตาหารจะมาถวาย แต่ว่าคำถวายไม่เป็น ภิกษุภู่จึงสอนชาวบ้านให้ว่าคำถวายเป็นกลอนตามสิ่งของที่จะถวายว่า "อิมัสมิงริมฝั่ง อิมังปลาร้า กุ้งแห้งแตงกวา อีกปลาดุกย่าง ช่อมะกอกดอกมะปราง เนื้อย่างยำมะดัน ข้าวสุกค่อนขัน น้ำมันขวดหนึ่ง น้ำผึ้งครึ่งโถ ส้มโอแช่อิ่ม ทับทิมสองผล เป็นยอดกุศล สังฆัสสะ เทมิ"

อันว่า "กวี" นั้นแบ่งได้เป็น 4 จำพวก คือ จินตกวี ผู้แต่งโดยความคิดของตน สุตกวี ผู้แต่งตามที่ได้ยินได้ฟังมา อรรถกวี ผู้แต่งตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และ ปฏิภาณกวี ผู้มีความสามารถใช้ปฏิภาณแต่งกลอนสด เมื่อพิจารณาจากความรู้และทักษะทั้งปวงของสุนทรภู่ อาจลงความเห็นได้ว่า สุนทรภู่เป็นมหากวีเอกที่มีความสามารถครบทั้ง 4 ประการอย่างแท้จริง

การสร้างวรรณกรรม

งานประพันธ์วรรณคดีในยุคก่อนหน้าสุนทรภู่ คือยุคอยุธยาตอนปลาย ยังเป็นวรรณกรรมสำหรับชนชั้นสูง ได้แก่ราชสำนักและขุนนาง เป็นวรรณกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อการอ่านและเพื่อความรู้หรือพิธีการ เช่น กาพย์มหาชาติ หรือ พระมาลัยคำหลวง ทว่างานของสุนทรภู่เป็นการปฏิวัติการสร้างวรรณกรรมแห่งยุครัตนโกสินทร์ คือเป็นวรรณกรรมสำหรับคนทั่วไป เป็นวรรณกรรมสำหรับการฟังและความบันเทิง เห็นได้จากงานเขียนนิราศเรื่องแรกคือ นิราศเมืองแกลง มีที่ระบุไว้ในตอนท้ายของนิราศว่า แต่งมาฝากแม่จัน รวมถึงใน นิราศพระบาท และ นิราศภูเขาทอง ซึ่งมีถ้อยคำสื่อสารกับผู้อ่านอย่างชัดเจน วรรณกรรมเหล่านี้ไม่ใช่วรรณกรรมสำหรับการศึกษา และไม่ใช่สำหรับพิธีการ

สำหรับวรรณกรรมที่สร้างขึ้นโดยหน้าที่ตามที่ได้รับพระบรมราชโองการ มีปรากฏถึงปัจจุบันได้แก่ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม ในสมัยรัชกาลที่ 2 และ เสภาพระราชพงศาวดาร ในสมัยรัชกาลที่ 4 ส่วนที่แต่งขึ้นเพื่อถวายแด่องค์อุปถัมภ์ ได้แก่ สิงหไตรภพ เพลงยาวถวายโอวาท สวัสดิรักษา บทเห่กล่อมพระบรรทม และ บทละครเรื่อง อภัยนุราช

งานประพันธ์ของสุนทรภู่เกือบทั้งหมดเป็นกลอนสุภาพ ยกเว้น พระไชยสุริยา ที่ประพันธ์เป็นกาพย์ และ นิราศสุพรรณ ที่ประพันธ์เป็นโคลง ผลงานส่วนใหญ่ของสุนทรภู่เกิดขึ้นในขณะตกยาก คือเมื่อออกบวชเป็นภิกษุและเดินทางจาริกไปทั่วประเทศ สุนทรภู่น่าจะได้บันทึกการเดินทางของตนเอาไว้เป็นนิราศต่าง ๆ จำนวนมาก แต่หลงเหลือปรากฏมาถึงปัจจุบันเพียง 9 เรื่องเท่านั้น เพราะงานเขียนส่วนใหญ่ของสุนทรภู่ถูกปลวกทำลายไปเสียเกือบหมดเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม

แนวทางการประพันธ์

สุนทรภู่ชำนาญงานประพันธ์ประเภทกลอนสุภาพอย่างวิเศษ ได้ริเริ่มการใช้กลอนสุภาพมาแต่งกลอนนิทาน โดยมี โคบุตร เป็นเรื่องแรก ซึ่งแต่เดิมมากลอนนิทานเท่าที่ปรากฏมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาล้วนแต่เป็นกลอนกาพย์ทั้งสิ้น นายเจือ สตะเวทิน ได้กล่าวยกย่องสุนทรภู่ในการริเริ่มใช้กลอนสุภาพบรรยายเรื่องราวเป็นนิทานว่า "ท่านสุนทรภู่ ได้เริ่มศักราชใหม่แห่งการกวีของเมืองไทย โดยสร้างโคบุตรขึ้นด้วยกลอนสุภาพ นับตั้งแต่เดิมมา เรื่องนิทานมักเขียนเป็นลิลิต ฉันท์ หรือกาพย์ สุนทรภู่เป็นคนแรกที่เสนอศิลปะของกลอนสุภาพ ในการสร้างนิทานประโลมโลก และก็เป็นผลสำเร็จ โคบุตรกลายเป็นวรรณกรรมแบบฉบับที่นักแต่งกลอนทั้งหลายถือเป็นครู นับได้ว่า โคบุตรมีส่วนสำคัญยิ่งในประวัติวรรณคดีของชาติไทย"

สุนทรภู่ยังได้ปฏิวัติขนบการประพันธ์นิราศด้วย ด้วยแต่เดิมมาขนบการเขียนนิราศยังนิยมเขียนเป็นโคลง ลักษณะการประพันธ์แบบเพลงยาว (คือการประพันธ์กลอน) ยังไม่เรียกว่า นิราศ แม้นิราศรบพม่าที่ท่าดินแดง เดิมก็เรียกว่าเป็นเพลงยาวจดหมายเหตุ มาเปลี่ยนการเรียกเป็นนิราศในชั้นหลัง สุนทรภู่เป็นผู้ริเริ่มการแต่งกลอนนิราศเป็นคนแรกและทำให้กลอนนิราศเป็นที่นิยมแพร่หลาย โดยการนำรูปแบบของเพลงยาวจดหมายเหตุมาผสมกับคำประพันธ์ประเภทกำสรวล กลวิธีการประพันธ์ที่พรรณนาความระหว่างเส้นการเดินทางกับประสบการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตก็เป็นลักษณะเฉพาะของสุนทรภู่ ซึ่งผู้อื่นจะประพันธ์ในแนวทางเดียวกันนี้ให้ได้ใจความไพเราะและจับใจเท่าสุนทรภู่ก็ยังยาก มิใช่แต่เพียงฝีมือกลอนเท่านั้น ทว่าประสบการณ์ของผู้ประพันธ์จะเทียบกับสุนทรภู่ก็มิได้ ด้วยเหตุนี้กลอนนิราศของสุนทรภู่จึงโดดเด่นเป็นที่รู้จักยิ่งกว่ากลอนนิราศของผู้ใด และเป็นต้นแบบของการแต่งนิราศในเวลาต่อมา

อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากงานกลอน สุนทรภู่ก็มีงานประพันธ์ในรูปแบบอื่นอีก เช่น พระไชยสุริยา ที่ประพันธ์เป็นกาพย์ทั้งหมด ประกอบด้วยกาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางคนางค์ ส่วน นิราศสุพรรณ เป็นนิราศเพียงเรื่องเดียวที่แต่งเป็นโคลง ชะรอยจะแต่งเพื่อลบคำสบประมาทว่าแต่งได้แต่เพียงกลอน แต่การแต่งโคลงคงจะไม่ถนัด เพราะไม่ปรากฏว่าสุนทรภู่แต่งกวีนิพนธ์เรื่องอื่นใดด้วยโคลงอีก

วรรณกรรมอันเป็นที่เคลือบแคลง

ในอดีตเคยมีความเข้าใจกันว่า สุนทรภู่เป็นผู้แต่ง นิราศพระแท่นดงรัง แต่ต่อมา ธนิต อยู่โพธิ์ ผู้เชี่ยวชาญวรรณคดีไทยและอดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้แสดงหลักฐานวิเคราะห์ว่าสำนวนการแต่งนิราศพระแท่นดงรัง ไม่น่าจะใช่ของสุนทรภู่ เมื่อพิจารณาประกอบกับเนื้อความ เปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในชีวิตของสุนทรภู่ และกระบวนสำนวนกลอนแล้ว จึงสรุปได้ว่า ผู้แต่งนิราศพระแท่นดงรัง คือ นายมี หรือ เสมียนมี หมื่นพรหมสมพักสร ผู้แต่งนิราศถลาง

วรรณกรรมอีกชิ้นหนึ่งที่คาดว่าไม่ใช่ฝีมือแต่งของสุนทรภู่ คือ สุภาษิตสอนหญิง แต่น่าจะเป็นผลงานของนายภู่ จุลละภมร ซึ่งเป็นศิษย์ เนื่องจากงานเขียนของสุนทรภู่ฉบับอื่น ๆ ไม่เคยขึ้นต้นด้วยการไหว้ครู ซึ่งแตกต่างจากสุภาษิตสอนหญิงฉบับนี้

นอกจากนี้ยังมีวรรณกรรมอื่น ๆ ที่สงสัยว่าอาจจะเป็นผลงานของสุนทรภู่ ได้แก่ เพลงยาวสุภาษิตโลกนิติ ตำรายาอัฐกาล (ตำราบอกฤกษ์ยามเดินทาง) สุบินนิมิตคำกลอน และตำราเศษนารี

การตีพิมพ์ เผยแพร่ และดัดแปลงผลงาน

ในยุคสมัยของสุนทรภู่ การเผยแพร่งานเขียนจะเป็นไปได้โดยการคัดลอกสมุดไทย ซึ่งผู้คัดลอกจ่ายค่าเรื่องให้แก่ผู้ประพันธ์ ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพได้สันนิษฐานไว้ว่า สุนทรภู่แต่งเรื่อง พระอภัยมณี ขายเพื่อเลี้ยงชีพ ดังนี้จึงปรากฏงานเขียนของสุนทรภู่ที่เป็นฉบับคัดลอกปรากฏตามที่ต่าง ๆ หลายแห่ง จนกระทั่งถึงช่วงวัยชราของสุนทรภู่ การพิมพ์จึงเริ่มเข้ามายังประเทศไทย โดยมีสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามงกุฎทรงให้การสนับสนุน โรงพิมพ์ในยุคแรกเป็นโรงพิมพ์หลวง ตีพิมพ์หนังสือราชการเท่านั้น ส่วนโรงพิมพ์ที่พิมพ์หนังสือทั่วไปเริ่มขึ้นในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 (ตั้งแต่ พ.ศ. 2401 เป็นต้นไป)

โรงพิมพ์ของหมอสมิทที่บางคอแหลม เป็นผู้นำผลงานของสุนทรภู่ไปตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2413 คือเรื่อง พระอภัยมณี ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างสูง ขายดีมากจนหมอสมิทสามารถทำรายได้สูงขนาดสร้างตึกเป็นของตัวเองได้ หลังจากนั้นหมอสมิทและเจ้าของโรงพิมพ์อื่น ๆ ก็พากันหาผลงานเรื่องอื่นของสุนทรภู่มาตีพิมพ์จำหน่ายซ้ำอีกหลายครั้ง ผลงานของสุนทรภู่ได้ตีพิมพ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 จนหมดทุกเรื่อง แสดงถึงความนิยมเป็นอย่างมาก สำหรับเสภาเรื่อง พระราชพงศาวดาร กับ เพลงยาวถวายโอวาท ได้ตีพิมพ์เท่าที่จำกันได้ เพราะต้นฉบับสูญหาย จนกระทั่งต่อมาได้ต้นฉบับครบบริบูรณ์จึงพิมพ์ใหม่ตลอดเรื่องในสมัยรัชกาลที่ 6

การแปลผลงานเป็นภาษาอื่น

ผลงานของสุนทรภู่ได้รับการแปลเป็นภาษาต่าง ๆ ดังนี้

งานดัดแปลง

 
ใบปิดภาพยนตร์การ์ตูน "สุดสาคร" ของ ปยุต เงากระจ่าง

ละคร

มีการนำกลอนนิทานเรื่อง สิงหไตรภพ มาดัดแปลงเป็นละครหลายครั้ง โดยมากมักเปลี่ยนชื่อเป็น สิงหไกรภพ โดยเป็นละครโทรทัศน์แนวจักร ๆ วงศ์ ๆ และละครเพลงร่วมสมัยโดยภัทราวดีเธียเตอร์ นอกจากนี้มีเรื่อง ลักษณวงศ์ และพระอภัยมณี ที่มีการนำเนื้อหาบางส่วนมาดัดแปลง ตอนที่นิยมนำมาดัดแปลงมากที่สุดคือ เรื่องของสุดสาคร

ลักษณวงศ์ ยังได้นำไปแสดงเป็นละครนอก โดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี ในปี พ.ศ. 2552 มีกำหนดการแสดงหลายรอบในเดือนพฤศจิกายน

ภาพยนตร์

  • พ.ศ. 2509 ภาพยนตร์ พระอภัยมณี ฉบับของ ครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา - เพชรา เชาวราษฎร์
  • พ.ศ. 2522 ภาพยนตร์การ์ตูน "สุดสาคร" ผลงานสร้างของ ปยุต เงากระจ่าง
  • พ.ศ. 2545 ภาพยนตร์ พระอภัยมณี ผลิตโดย ซอฟต์แวร์ ซัพพลายส์ อินเตอร์เนชั่ลแนล กำกับโดย ชลัท ศรีวรรณา จับความตั้งแต่เริ่มเรื่อง ไปจนถึงตอน นางเงือกพาพระอภัยมณีหนีจากนางผีเสื้อสมุทร และพระอภัยมณีเป่าปี่สังหารนาง
  • พ.ศ. 2549 โมโนฟิล์ม ได้สร้างภาพยนตร์จากเรื่อง พระอภัยมณี เรื่อง สุดสาคร โดยจับความตั้งแต่กำเนิดสุดสาคร จนสิ้นสุดที่การเดินทางออกจากเมืองการะเวกเพื่อติดตามหาพระอภัยมณี
  • พ.ศ. 2549 ภาพยนตร์การ์ตูน เรื่อง สิงหไกรภพ ความยาว 40 นาที

เพลง

บทประพันธ์จากเรื่อง พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีเกี้ยวนางละเวง ได้นำไปดัดแปลงเล็กน้อยกลายเป็นเพลง "คำมั่นสัญญา" ประพันธ์ทำนองโดย สุรพล แสงเอก บันทึกเสียงครั้งแรกโดย ปรีชา บุญยเกียรติ ใจความดังนี้

ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้อยู่ในใต้หล้าสุธาธาร ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา
แม้เนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้เป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา เชยผกาโกสุมปทุมทอง
แม้เป็นถ้ำอำไพใคร่เป็นหงส์ จะร่อนลงสิงสู่เป็นคู่สอง
ขอติดตามทรามสงวนนวลละออง เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป...  

อีกเพลงหนึ่งคือเพลง "รสตาล" ของครูเอื้อ สุนทรสนาน คำร้องโดยสุรพล โทณะวนิก ซึ่งใช้นามปากกาว่า วังสันต์ ได้แรงบันดาลใจจากบทกลอนของสุนทรภู่ เรื่อง นิราศพระบาท เนื้อหาดังนี้

เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น เพราะดั้นด้นอยากลิ้มชิมรสหวาน
ครั้นได้รสสดสาวจากจาวตาล ย่อมซาบซ่านหวานซึ้งตรึงถึงทรวง
ไหนจะยอมให้เจ้าหล่นลงเจ็บอก เพราะอยากวกขึ้นลิ้นชิมของหวง
อันรสตาลหวานละม้ายคล้ายพุ่มพวง พี่เจ็บทรวงช้ำอกเหมือนตกตาล...  

หนังสือและการ์ตูน

งานเขียนของสุนทรภู่โดยเฉพาะกลอนนิทานเรื่องพระอภัยมณี จะถูกนำมาเรียบเรียงเขียนใหม่โดยนักเขียนจำนวนมาก เช่น พระอภัยมณีฉบับร้อยแก้ว ของเปรมเสรี หรือหนังสือการ์ตูน อภัยมณีซาก้า อีกเรื่องหนึ่งที่มีการนำมาสร้างใหม่เป็นหนังสือการ์ตูนคือ สิงหไตรภพ ในหนังสือ ศึกอัศจรรย์สิงหไกรภพ ที่เขียนใหม่เป็นการ์ตูนแนวมังงะ

ชื่อเสียงและคำวิจารณ์

สุนทรภู่นับเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสร้างวรรณคดีประเภทร้อยกรอง หรือ "กลอน" ให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย ทั้งยังวางจังหวะวิธีในการประพันธ์แบบใหม่ให้แก่การแต่งกลอนสุภาพด้วย เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ กวีรัตนโกสินทร์ ยกย่องความสามารถของสุนทรภู่ว่า "พระคุณครูศักดิ์สิทธิ์คิดสร้างสรรค์ ครูสร้างคำแปดคำให้สำคัญ"

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ไว้ในหนังสือ "ประวัติสุนทรภู่" ว่าด้วยเกียรติคุณของสุนทรภู่ว่า "ถ้าจะลองให้เลือกกวีไทยบรรดาที่มีชื่อเสียงปรากฏมาในพงศาวดารคัดเอาแต่ที่วิเศษสุดเพียง 5 คน ใคร ๆ เลือกก็เห็นจะเอาชื่อสุนทรภู่ไว้ในกวีห้าคนนั้นด้วย" เปลื้อง ณ นคร ได้รวบรวมประวัติวรรณคดีไทยในยุคสมัยต่าง ๆ นับแต่สมัยสุโขทัยไปจนถึงสมัยรัฐธรรมนูญ (คือสมัยปัจจุบันในเวลาที่ประพันธ์) โดยได้ยกย่องว่า "สมัยพุทธเลิศหล้าเป็นจุดยอดแห่งวรรณคดีประเภทกาพย์กลอน ต่อจากสมัยนี้ระดับแห่งกาพย์กลอนก็ต่ำลงทุกที จนอาจกล่าวได้ว่า เราไม่มีหวังอีกแล้วที่จะได้คำกลอนอย่างเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน และเรื่องพระอภัยมณี" โดยที่ในสมัยดังกล่าวมีสุนทรภู่เป็น "บรมครูทางกลอนแปดและกวีเอก" ซึ่งสร้างผลงานอันเป็นที่รู้จักและนิยมแพร่หลายในหมู่ประชาชน ทั้งนี้เนื่องจากกวีนิพนธ์ในยุคก่อนมักเป็นคำฉันท์หรือลิลิตซึ่งประชาชนเข้าไม่ถึง สุนทรภู่ได้ปฏิวัติงานกวีนิพนธ์และสร้างขนบการแต่งกลอนแบบใหม่ขึ้นมา จนเป็นที่เรียกกันทั่วไปว่า "กลอนตลาด" เพราะเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ชาวบ้านนั่นเอง

เทียนวรรณ ได้รวบรวมงานเขียน หนึ่งในนั้นคืองานที่ท่านเคยวิจารณ์วรรณคดีเรื่อง “พระอภัยมณี” ของสุนทรภู่ เป็นการวิจารณ์ว่าคืองานเขียนที่ดีแฝงไปด้วยสุภาษิต และเป็นงานเขียนที่แปลกไปกว่าวรรณคดีที่แต่งในช่วงนั้นๆ

นิธิ เอียวศรีวงศ์ เห็นว่า สุนทรภู่น่าจะเป็นผู้มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมกระฎุมพีช่วงต้นรัตนโกสินทร์ กระฎุมพีเหล่านี้ล้วนเป็นผู้เสพผลงานของสุนทรภู่ และเห็นสาเหตุหนึ่งที่ผลงานของสุนทรภู่ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเพราะสอดคล้องกับความคิดความเชื่อของผู้อ่านนั่นเอง

นอกเหนือจากความนิยมในหมู่ประชาชนชาวสยาม ชื่อเสียงของสุนทรภู่ยังแพร่ไปไกลยิ่งกว่ากวีใด ๆ ใน เพลงยาวถวายโอวาท สุนทรภู่กล่าวถึงตัวเองว่า

"อย่างหม่อมฉันอันที่ดีและชั่ว ถึงลับตัวแต่ก็ชื่อเขาลือฉาว เป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว เขมรลาวลือเลื่องถึงเมืองนคร"

ข้อความนี้ทำให้ทราบว่า ชื่อเสียงของสุนทรภู่เลื่องลือไปไกลนอกเขตราชอาณาจักรไทย แต่ไปถึงอาณาจักรเขมรและเมืองนครศรีธรรมราชทีเดียว

คุณวิเศษแห่งความเป็นกวีของสุนทรภู่จึงอยู่ในระดับกวีเอกของชาติ ศ.เจือ สตะเวทิน เอ่ยถึงสุนทรภู่โดยเปรียบเทียบกับกวีเอกของประเทศต่าง ๆ ว่า "สุนทรภู่มีศิลปะไม่แพ้ลามาตีน ฮูโก หรือบัลซัคแห่งฝรั่งเศส... มีจิตใจและวิญญาณสูง อาจจะเท่าเฮเนเลนอ แห่งเยอรมนี หรือลิโอปารดี และมันโซนีแห่งอิตาลี" สุนทรภู่ยังได้รับยกย่องว่าเป็น "เชกสเปียร์แห่งประเทศไทย" งานวิจัยทุนฟุลไบรท์-เฮย์ส ของคาเรน แอนน์ แฮมิลตัน ได้เปรียบเทียบสุนทรภู่เสมือนหนึ่งเชกสเปียร์หรือชอเซอร์แห่งวงการวรรณกรรมไทย

เกียรติคุณและอนุสรณ์

บุคคลสำคัญของโลก (ด้านวรรณกรรม)

ปี พ.ศ. 2529 ในโอกาสครบรอบวันเกิด 200 ปีของสุนทรภู่ องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้สุนทรภู่ เป็นบุคคลสำคัญของโลกทางด้านวรรณกรรม นับเป็นชาวไทยคนที่ 5 และเป็นสามัญชนชาวไทยคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้ ในปีนั้น สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์จึงได้จัดพิมพ์เผยแพร่หนังสือ "อนุสรณ์สุนทรภู่ 200 ปี" และมีการจัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้นเพื่อส่งเสริมกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแพร่ชีวิตและผลงานของสุนทรภู่ให้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น

อนุสาวรีย์และหุ่นปั้น

 
อนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่ วัดศรีสุดาราม

อนุสาวรีย์สุนทรภู่แห่งแรก สร้างขึ้นที่ ต.กร่ำ อ.แกลง จ.ระยอง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านบิดาของสุนทรภู่ โดยวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2498 อันเป็นปีที่ครบรอบ 100 ปีการถึงแก่อนิจกรรมของสุนทรภู่ และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 ภายในอนุสาวรีย์มีหุ่นปั้นของสุนทรภู่ และตัวละครในวรรณคดีเรื่องเอกของท่านคือ พระอภัยมณี ที่ด้านหน้าอนุสาวรีย์มี หมุดกวี หมุดที่ 24 ปักอยู่

ยังมีอนุสาวรีย์สุนทรภู่ที่จังหวัดอื่น ๆ อีก ได้แก่ ที่ท่าน้ำหลังวัดพลับพลาชัย ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจุดที่สุนทรภู่ได้เคยมาตามนิราศเมืองเพชร อันเป็นนิราศเรื่องสุดท้ายของท่าน และเชื่อว่าเพชรบุรีเป็นบ้านเกิดของมารดาของท่านด้วย อนุสาวรีย์อีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ที่วัดศรีสุดาราม เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เชื่อว่าท่านได้เล่าเรียนเขียนอ่านเมื่อวัยเยาว์ที่นี่ นอกจากนี้มีรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งสุนทรภู่ ตลอดจนหุ่นขี้ผึ้งในวรรณคดีเรื่อง พระอภัยมณี จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย จังหวัดนครปฐม

พิพิธภัณฑ์

กุฏิสุนทรภู่ หรือพิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ ตั้งอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ถ.มหาไชย กรุงเทพฯ เป็นอาคารซึ่งปรับปรุงจากกุฏิที่สุนทรภู่เคยอาศัยอยู่เมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่นี่ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย และมีการจัดกิจกรรมวันสุนทรภู่เป็นประจำทุกปี

วันสุนทรภู่

หลังจากองค์การยูเนสโกได้ประกาศยกย่องให้สุนทรภู่เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวรรณกรรมระดับโลกเมื่อปี พ.ศ. 2529 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 นายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้จัดตั้งสถาบันสุนทรภู่ขึ้น และกำหนดให้วันที่ 26 มิถุนายนของทุกปี เป็น วันสุนทรภู่ นับแต่นั้นทุก ๆ ปีเมื่อถึงวันสุนทรภู่ จะมีการจัดงานรำลึกถึงสุนทรภู่ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ที่พิพิธภัณฑ์สุนทรภู่ วัดเทพธิดาราม และที่จังหวัดระยอง (ซึ่งมักจัดพร้อมงานเทศกาลผลไม้จังหวัดระยอง) รวมถึงการประกวดแต่งกลอน ประกวดคำขวัญ และการจัดนิทรรศการเกี่ยวกับสุนทรภู่ในโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ

รายชื่อผลงาน

งานประพันธ์ของสุนทรภู่เท่าที่มีการค้นพบในปัจจุบันมีปรากฏอยู่เพียงจำนวนหนึ่ง และสูญหายไปอีกเป็นจำนวนมาก ถึงกระนั้นตามจำนวนเท่าที่ค้นพบก็ถือว่ามีปริมาณค่อนข้างมาก เรียกได้ว่า สุนทรภู่เป็น "นักแต่งกลอน" ที่สามารถแต่งกลอนได้รวดเร็วหาตัวจับยาก ผลงานของสุนทรภู่เท่าที่ค้นพบในปัจจุบันมีดังต่อไปนี้

นิราศ

  • นิราศเมืองแกลง (พ.ศ. 2349) - แต่งเมื่อหลังพ้นโทษจากคุก และเดินทางไปหาพ่อที่เมืองแกลง
  • นิราศพระบาท (พ.ศ. 2350) - แต่งหลังจากกลับจากเมืองแกลง และต้องตามเสด็จพระองค์เจ้าปฐมวงศ์ไปนมัสการรอยพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรีในวันมาฆบูชา
  • นิราศภูเขาทอง (ประมาณ พ.ศ. 2371) - แต่งโดยสมมุติว่า เณรหนูพัด เป็นผู้แต่ง ไปนมัสการพระเจดีย์ภูเขาทองที่จังหวัดอยุธยา
  • นิราศสุพรรณ (ประมาณ พ.ศ. 2374) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผลงานเรื่องเดียวของสุนทรภู่ที่แต่งเป็นโคลง
  • นิราศวัดเจ้าฟ้า (ประมาณ พ.ศ. 2375) - แต่งเมื่อครั้งยังบวชอยู่ และไปค้นหายาอายุวัฒนะตามลายแทงที่วัดเจ้าฟ้าอากาศ (ไม่ปรากฏว่าที่จริงคือวัดใด) ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เทพ สุนทรศารทูลเสนอว่า นิราศดังกล่าวเป็นผลงานของพัด ภู่เรือหงส์ บุตรของสุนทรภู่
  • นิราศอิเหนา (ไม่ปรากฏ, คาดว่าเป็นสมัยรัชกาลที่ 3) - แต่งเป็นเนื้อเรื่องอิเหนารำพันถึงนางบุษบา เทพ สุนทรศารทูลเสนอว่า นิราศดังกล่าวเป็นผลงานของกรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์
  • รำพันพิลาป (พ.ศ. 2385) - แต่งเมื่อครั้งจำพรรษาอยู่ที่วัดเทพธิดาราม แล้วเกิดฝันร้ายว่าชะตาขาด จึงบันทึกความฝันพร้อมรำพันความอาภัพของตัวไว้เป็น "รำพันพิลาป" จากนั้นจึงลาสิกขาบท
  • นิราศพระประธม (พ.ศ. 2385) - เชื่อว่าแต่งเมื่อหลังจากลาสิกขาบทและเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปนมัสการพระประธมเจดีย์ (หรือพระปฐมเจดีย์) ที่เมืองนครชัยศรี
  • นิราศเมืองเพชร (พ.ศ. 2388) - แต่งเมื่อเข้ารับราชการในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เชื่อว่าไปธุระราชการอย่างใดอย่างหนึ่ง นิราศเรื่องนี้มีฉบับค้นพบเนื้อหาเพิ่มเติมซึ่ง อ.ล้อม เพ็งแก้ว เชื่อว่า บรรพบุรุษฝ่ายมารดาของสุนทรภู่เป็นชาวเมืองเพชรบุรี

นิทาน

  • โคบุตร : เชื่อว่าเป็นงานประพันธ์ชิ้นแรกของสุนทรภู่ เป็นเรื่องราวของ "โคบุตร" ซึ่งเป็นโอรสของพระอาทิตย์กับนางอัปสร แต่เติบโตขึ้นมาด้วยการเลี้ยงดูของนางราชสีห์
  • พระอภัยมณี : คาดว่าเริ่มประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 และแต่ง ๆ หยุด ๆ เรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นผลงานชิ้นเอกของสุนทรภู่ ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นสุดยอดวรรณคดีไทยประเภทกลอนนิทาน
  • พระไชยสุริยา : เป็นนิทานที่สุนทรภู่แต่งด้วยฉันทลักษณ์ประเภทกาพย์หลายชนิด ได้แก่ กาพย์ยานี 11 กาพย์ฉบัง 16 และกาพย์สุรางคนางค์ 28 เป็นนิทานสำหรับสอนอ่าน เนื้อหาเรียงลำดับความง่ายไปยาก จากแม่ ก กา แม่กน กง กก กด กบ กม และเกย เชื่อว่าแต่งขึ้นประมาณ พ.ศ. 2383 - 2385
  • ลักษณวงศ์ : เป็นนิทานแนวจักร ๆ วงศ์ ๆ ที่นำโครงเรื่องมาจากนิทานพื้นบ้าน แต่มีตอนจบที่แตกต่างไปจากนิทานทั่วไปเพราะไม่ได้จบด้วยความสุข แต่จบด้วยงานสมโภชศพนางทิพเกสร ชายาของลักษณวงศ์ที่สิ้นชีวิตด้วยการสั่งประหารของลักษณวงศ์เอง
  • สิงหไกรภพ : เชื่อว่าเริ่มประพันธ์เมื่อครั้งถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์ ภายหลังจึงแต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ และน่าจะหยุดแต่งหลังจากกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพสิ้นพระชนม์ สิงหไตรภพเป็นตัวละครเอกที่แตกต่างจากตัวพระในเรื่องอื่น ๆ เนื่องจากเป็นคนรักเดียวใจเดียว

สุภาษิต

  • สวัสดิรักษา : คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 2 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้าอาภรณ์
  • เพลงยาวถวายโอวาท : คาดว่าประพันธ์ในสมัยรัชกาลที่ 3 ขณะเป็นพระอาจารย์ถวายอักษรแด่เจ้าฟ้ากลางและเจ้าฟ้าปิ๋ว
  • สุภาษิตสอนหญิง : เป็นหนึ่งในผลงานซึ่งยังเป็นที่เคลือบแคลงว่า สุนทรภู่เป็นผู้ประพันธ์จริงหรือไม่ เทพ สุนทรศารทูลเสนอว่าน่าจะเป็นผลงานของภู่ จุลละภมร ศิษย์ของสุนทรภู่เอง

บทละคร

มีการประพันธ์ไว้เพียงเรื่องเดียวคือ อภัยนุราช ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อถวายพระองค์เจ้าดวงประภา พระธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

บทเสภา

บทเห่กล่อมพระบรรทม

น่าจะแต่งขึ้นสำหรับใช้ขับกล่อมหม่อมเจ้าในพระองค์เจ้าลักขณานุคุณ กับพระเจ้าลูกยาเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เท่าที่พบมี 4 เรื่องคือ

เชิงอรรถ

  1. ไมเคิล ไรท์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอุษาคเนย์ศึกษา และนักเขียนประจำของนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ซึ่งชำนาญด้านประวัติศาสตร์และภาษาศาสตร์ เป็นผู้เสนอทฤษฎีเกี่ยวกับศิลาจารึกหลักที่หนึ่งว่าไม่ใช่มรดกจากยุคสุโขทัย
  2. ต้นฉบับของสุนทรภู่ บาทนี้กล่าวว่า แม้นเป็นถ้ำอำไพขอให้พี่ เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง

อ้างอิง

  1. พันธุ์ทิพย์ ธีระเนตร (26 มิถุนายน พ.ศ. 2558). "เปิดเรื่องจริง ′สุนทรภู่′ ที่ครูไม่เคยสอน". มติชนออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 มิถุนายน 2558. Check date values in: |accessdate=, |date= (help)
  2. Thailand's Shakespeare? Sunthorn Phu (อังกฤษ)
  3. องค์ บรรจุน. สยามหลากเผ่าหลายพันธุ์. กรุงเทพฯ:มติชน. 2553, หน้า 129
  4. องค์ บรรจุน. สยามหลากเผ่าหลายพันธุ์. กรุงเทพฯ:มติชน. 2553, หน้า 135
  5. เปลื้อง ณ นคร. สุนทรภู่ครูกวี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง. มิถุนายน 2542
  6. ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ. เที่ยวไปกับสุนทรภู่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า. มีนาคม 2540.
  7. ล้อม เพ็งแก้ว. โคตรญาติสุนทรภู่ จาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ มีนาคม 2529. พิมพ์รวมเล่มใน สุนทรภู่ - อาลักษณ์เจ้าจักรวาล โดยสำนักพิมพ์มติชน พ.ศ. 2547
  8. "วัดปะขาวคราวรุ่นรู้ เรียนเขียน", สุนทรภู่, นิราศสุพรรณ, กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร
  9. "ทำสูตรสอนเสมียน สมุดน้อย เดินระวางระวังเวียน หว่างวัด ปะขาวนา เคยชื่นกลืนกลิ่นสร้อย สวาทห้างกลางสวนฯ", สุนทรภู่, นิราศสุพรรณ, กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร
  10. สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, อนุสรณ์สุนทรภู่ ๒๐๐ ปี, กรุงเทพฯ: 2529
  11. สุนทรภู่, นิราศเมืองแกลง, กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร
  12. สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, ชีวิตและงานของสุนทรภู่, กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร พ.ศ. 2518
  13. “สุนทรภู่” กวีเอกของไทย และเรื่องจริงที่ควรรู้, เรียบเรียงจากงานวิจัยเรื่อง “ชีวประวัติของพระสุนทรโวหาร (ภู่ ภู่เรือหงส์) ” โดย เทพ สุนทรศารทูล (2533). ข่าวกระทรวงศึกษาธิการ. มิถุนายน 2548.
  14. ปราโมทย์ ทัศนาสุวรรณ. เที่ยวไปกับสุนทรภู่, อ้างเนื้อความจากหนังสือ สุนทรภู่แนวใหม่ ของ ดำรง เฉลิมวงศ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดอกหญ้า. มีนาคม 2540.
  15. เปลื้อง ณ นคร. สุนทรภู่ครูกวี, อ้างถึงพระนิพนธ์ของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ในหนังสือ สามกรุง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง. มิถุนายน 2542
  16. สุนทรภู่. นิราศภูเขาทอง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร
  17. คนเก่าเล่าความหลัง เรื่องโดย : ประยอม ซองทอง นิตยสาร FORMULA ฉบับเดือน ตุลาคม ปี 2549 คอลัมน์ : ชีวิตคือความรื่นรมย์
  18. ผะอบ โปษะกฤษณะ, อนุสรณ์สุนทรภู่ ๒๐๐ ปี คำนำ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์การพิมพ์. 2529
  19. ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป. สุนทรภู่. นิราศภูเขาทอง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร
  20. อันพริกไทยใบผักชีเหมือนสีกา ต้องโรยหน้าเสียสักหน่อยอร่อยใจ จงทราบความตามจริงทุกสิ่งสิ้น อย่านึกนินทาแกล้งแหนงไฉน. สุนทรภู่. นิราศภูเขาทอง. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร
  21. อนึ่งหญิงทิ้งสัตย์เราตัดขาด ถึงเนื้อน้ำธรรมชาติไม่ปรารถนา. สุนทรภู่. นิราศพระประธม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร
  22. สุนทรภู่. เพลงยาวถวายโอวาท. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร
  23. สุนทรภู่. นิราศพระประธม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร
  24. สุนทรภู่. ขุนช้างขุนแผน ตอน กำเนิดพลายงาม, ขุนแผนสอนพลายงาม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร
  25. สุนทรภู่. พระอภัยมณี, พระฤๅษีสอนสุดสาคร. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร
  26. นิธิ เอียวศรีวงศ์. สุนทรภู่: มหากวีกระฎุมพี. เอกสารประกอบสัมมนา ประวัติศาสตร์สังคมสมัยต้นกรุงเทพฯ ชมรมประวัติศาสตร์ศึกษา 19 มกราคม 2524. พิมพ์รวมเล่มใน "สุนทรภู่: มหากวีกระฎุมพี", ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน. กรกฎาคม 2545
  27. ไมเคิล ไรท์. พระอภัยมณี วรรณกรรมบ่อนทำลายเพื่อสร้างสรรค์ จาก "สุนทรภู่: มหากวีกระฎุมพี", ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน. กรกฎาคม 2545
  28. รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
  29. ทศพร วงศ์รัตน์, พระอภัยมณีมาจากไหน, กรุงเทพฯ: คอนฟอร์ม, 2550. น.12-18.
  30. ประจักษ์ ประภาพิทยากร. เบื้องหลังการแต่งพระอภัยมณี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. 2513.
  31. ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์, อนุสรณ์สุนทรภู่ 200 ปี : สุนทรภู่ดูดาว, สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ: 2529
  32. สุนทรภู่, พระอภัยมณี ตอนที่ 18 พระอภัยมณีโดยสารเรืออุศเรน, กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
  33. สุจิตต์ วงศ์เทศ, พระอภัยมณี มีฉากอยู่ทะเลอันดามัน อ่างเบงกอล และมหาสมุทรอินเดีย จากหนังสือ เศรษฐกิจ-การเมือง เรื่องสุนทรภู่ มหากวีกระฎุมพี, กรุงเทพฯ: มติชน, 2545. น.225
  34. พระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์), ประวัติสุนทรภู่ จาก หนังสืออนุสรณ์ในงานฌาปนกิจ นางจันทร์ ตาละลักษมณ์ ๒๕๓๓, พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2533, อ้างถึงต้นฉบับลายมือ พ.ศ. 2456[1]
  35. กวี 4 จำพวก จาก Lexitron Dictionary
  36. "ใครไม่ไปก็จงจำคำแถลง ทั้งคนฟังคนอ่านสารแสดง" สุนทรภู่. นิราศพระบาท กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร
  37. คิดขัดขวางอย่างจะพาเลือดตากระเด็น บันดาลเป็นปลวกปล่องขึ้นห้องนอน กัดเสื่อสาดขาดปรุทะลุสมุด เสียดายสุดแสนรักเรื่องอักษร. สุนทรภู่. รำพันพิลาป. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร
  38. เจือ สตะเวทิน, สุนทรภู่, กรุงเทพฯ: สุทธิสารการพิมพ์, 2516. น.39. อ้างจาก อนุสรณ์สุนทรภู่ 200 ปี, กรุงเทพฯ: สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย, 2529. น.202
  39. ภิญโญ ศรีจำลอง. ความยิ่งใหญ่แห่งวรรณคดีรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ: กราฟิกเซ็นเตอร์, 2548.
  40. ธนิต อยู่โพธิ์, บันทึกเรื่องผู้แต่งนิราศดงรัง จากบทนำในหนังสือ ชีวิตและงานของสุนทรภู่, กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร พ.ศ. 2518
  41. "ประวัติการพิมพ์ไทย" จาก สารานุกรมสำหรับเยาวชนฯ เล่ม 18
  42. ศานติ ภักดีคำ. "เป็นอาลักษณ์นักเลงทำเพลงยาว เขมรลาวลือเลื่องถึงเมืองนคร" ความสัมพันธ์วรรณกรรมสุนทรภู่กับวรรณกรรมเขมร ใน สุนทรภู่ในประวัติศาสตร์สังคมรัตนโกสินทร์มุมมองใหม่: ชีวิตและผลงาน. กทม. มติชน. 2550.
  43. พระอภัยมณี ฉบับแปลภาษาอังกฤษ โดยพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร บนเว็บไซต์อเมซอนดอตคอม
  44. นิราศเมืองเพชร โดย สุนทรภู่ ฉบับไทย-อังกฤษ Journey to Petchburi A Poem by Suthorn Phu
  45. ผลงานละครต่าง ๆ ของภัทราวดีเธียเตอร์
  46. แผนการแสดงปี 2552 โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จ.สุพรรณบุรี
  47. "รสตาล" จากเว็บไซต์ บ้านคนรักสุนทราภรณ์
  48. เจ้าของตาลรักหวานขึ้นปีนต้น ระวังตนตีนมือระมัดมั่น เหมือนคบคนคำหวานรำคาญครัน ถ้าพลั้งพลันเจ็บอกเหมือนตกตาล. สุนทรภู่. นิราศพระบาท. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร
  49. เปลื้อง ณ นคร, ประวัติวรรณคดีไทย, กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช, 2543.
  50. “เทียนวรรณ” วิจารณ์งานสุนทรภู่ กำเนิด “พระอภัยมณี” ที่มาจาก “แหวนทองคำประดับเพ็ชร์”?“เทียนวรรณ” วิจารณ์งานสุนทรภู่ กำเนิด “พระอภัยมณี” ที่มาจาก “แหวนทองคำประดับเพ็ชร์”? ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2562
  51. Karen Ann Hamilton, Sunthorn Phu (1786-1855) : the People’s Poet of Thailand (PDF), Fulbright-Hays Curriculum Project/Thailand & Laos 2003. (อังกฤษ)
  52. หมุดกวีจุดที่ ๒๔ "บ้านกร่ำ"
  53. ล้อม เพ็งแก้ว. โคตรญาติสุนทรภู่ จาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับพิเศษ มีนาคม 2529. พิมพ์รวมเล่มใน สุนทรภู่ - อาลักษณ์เจ้าจักรวาล โดยสำนักพิมพ์มติชน พ.ศ. 2547
  54. วรรณศิลป์สโมสร วัดเทพธิดาราม (กุฏิสุนทรภู่)
  55. วันสุนทรภู่. ชุมนุมครุศาสตร์อาสา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  56. "เรื่องที่ค้นพบใหม่เกี่ยวกับ "สุนทรภู่"". กระทรวงวัฒนธรรม. 22 สิงหาคม 2556. สืบค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2557. Check date values in: |accessdate=, |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

  • กองทุนสุนทรภู่
  • ประวัติพระสุนทรโวหาร
  • ประวัติสุนทรภู่และเรื่องเล่าพระอภัยมณีเป็นภาษาอังกฤษ แปลโดยพระองค์เจ้าเปรมบุรฉัตร
  • สมาคมนักกลอนแห่งประเทศไทย
  • ประวัติสุนทรภู่

ดูเพิ่ม

พระส, นทรโวหาร, พระส, นทรโวหาร, นามเด, หร, อท, เร, ยกก, นท, วไปว, นทรภ, นายน, 2329, 2398, เป, นอาล, กษณ, ชาวไทยท, อเส, ยงเช, งกว, ได, บยกย, องเป, เชกสเป, ยร, แห, งประเทศไทย, เก, ดหล, งจากต, งกร, งร, ตนโกส, นทร, ได, และได, เข, าร, บราชการเป, นอาล, กษณ, ราชสำน, . phrasunthrowhar namedim phu hruxthieriykknthwipwa sunthrphu 26 mithunayn ph s 2329 ph s 2398 epnxalksnchawithythimichuxesiyngechingkwi idrbykyxngepn echksepiyraehngpraethsithy 2 ekidhlngcaktngkrungrtnoksinthrid 4 pi aelaidekharbrachkarepnxalksnrachsankinrchsmyphrabathsmedcphraphuththelishlanphaly emuxsinrchkalidxxkbwchepnewlarwm 20 pi kxncaklbekharbrachkarxikkhrnginplayrchsmyphrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw odyepnxalksninsmedcecafacuthamni krmkhunxisersrngsrrkh insmyrchkalthi 4 ideluxntaaehnngepn phrasunthrowhar ecakrmxalksnfayphrarachwngbwr sungepntaaehnngrachkarsudthaykxnsinchiwitphrasunthrowhar phu ruppnsunthrphu thixnusawriysunthrphu xaephxaeklng cnghwdrayxngekidphu26 mithunayn ph s 2329ekhtbangkxknxykrungethphkrungrtnoksinthresiychiwitph s 2398 69 pi ekhtphrarachwngedimkrungrtnoksinthrxachiphxalksn 1 sychatiithychwngewlatnrtnoksinthraenwcintnimit xingprawtisastrhwkhxkwiniphnthphlnganthisakhyphraxphymni okhbutrsunthrphuepnkwithimikhwamchanaythangdanklxn idsrangkhnbkarpraphnthklxnnithanaelaklxnniraskhunihmcnklayepnthiniymxyangkwangkhwangsubenuxngmacnkrathngthungpccubn phlnganthimichuxesiyngkhxngsunthrphumimakmayhlayeruxng echn nirasphuekhathxng nirassuphrrn ephlngyawthwayoxwath kaphyphraichysuriya aela phraxphymni epntn odyechphaaeruxng phraxphymni idrbykyxngcakwrrnkhdisomsrwaepnyxdkhxngwrrnkhdipraephthklxnnithan aelaepnphlnganthiaesdngthungthksa khwamru aelathsnakhxngsunthrphuxyangmakthisud nganpraphnthhlaychinkhxngsunthrphuidrbeluxkihepnswnhnunginhlksutrkareriynkarsxnnbaetxditmacnthungpccubn echn kaphyphraichysuriya nirasphrabath aelaxikhlay eruxngpi ph s 2529 inoxkaskhrbrxb 200 pichatkal sunthrphuidrbykyxngcakxngkhkaryuensokihepnbukhkhlsakhykhxngolkdannganwrrnkrrm phlngankhxngsunthrphuyngepnthiniyminsngkhmithyxyangtxenuxngtlxdmaimkhadsay aelamikarnaipddaeplngepnsuxtang echn hnngsuxkartun phaphyntr ephlng rwmthunglakhr mikarkxsrangxnusawriysunthrphuiwthitablkra xaephxaeklng cnghwdrayxng banekidkhxngbidakhxngsunthrphu aelaepnthikaenidphlnganniraseruxngaerkkhxngthankhux nirasemuxngaeklng nxkcakniyngmixnusawriyaehngxun xik echn thiwdsrisudaram thicnghwdephchrburi aelacnghwdnkhrpthm wnekidkhxngsunthrphukhuxwnthi 26 mithunaynkhxngthukpi thuxepn wnsunthrphu sungepnwnsakhydanwrrnkrrmkhxngithy mikarcdkickrrmechidchuekiyrtikhunaelasngesrimsilpakarpraphnthbthkwicakxngkhkrtang odythwip enuxha 1 prawti 1 1 tntrakul 1 2 wyeyaw 1 3 taaehnngxalksn 1 4 xxkbwch 1 5 chwngplaykhxngchiwit 1 6 thayath 2 xupnisyaelathsnkhti 2 1 xupnisy 2 2 thsnkhti 3 khwamruaelathksa 4 karsrangwrrnkrrm 4 1 aenwthangkarpraphnth 4 2 wrrnkrrmxnepnthiekhluxbaekhlng 5 kartiphimph ephyaephr aeladdaeplngphlngan 5 1 karaeplphlnganepnphasaxun 5 2 nganddaeplng 5 2 1 lakhr 5 2 2 phaphyntr 5 2 3 ephlng 5 2 4 hnngsuxaelakartun 6 chuxesiyngaelakhawicarn 7 ekiyrtikhunaelaxnusrn 7 1 bukhkhlsakhykhxngolk danwrrnkrrm 7 2 xnusawriyaelahunpn 7 3 phiphithphnth 7 4 wnsunthrphu 8 raychuxphlngan 8 1 niras 8 2 nithan 8 3 suphasit 8 4 bthlakhr 8 5 bthespha 8 6 bthehklxmphrabrrthm 9 echingxrrth 10 xangxing 11 aehlngkhxmulxun 12 duephimprawtitntrakul bnthukswnihymkrabuthungtntrakulkhxngsunthrphuephiyngwa bidaepnchawbankra xaephxaeklng cnghwdrayxng mardaepnchawemuxngxun thngnienuxngcakechuxthuxtamphraniphnthkhxngsmedc krmphrayadarngrachanuphaph eruxng chiwitaelangankhxngsunthrphu txmainphayhlng emuxmikarkhnphbkhxmultang makyingkhun kmiaenwkhidekiywkbtntrakulkhxngsunthrphuaetktangknxxkip nkwichakarswnihyehnphxngknwa faybidaepnchawbankra emuxngaeklng cring enuxngcakmipraktenuxkhwamxyuin nirasemuxngaeklng thungwngswanwanekhruxkhxngsunthrphu thngnibidakhxngsunthrphuxacmiechuxsaychxngsungepnchnphunemuxnginphunthi dngpraktwa lwnwngswanwanekhruxepnechuxchxng imehnnxngnuknanatakraedn 3 aeteruxngdngklawkimmihlkthanidsnbsnunephiyngphx bangkwaxacepnkarekhaicphid 4 aetkhwamehnekiywkbtrakulfaymardaniaetkxxkepnhlayswn swnhnungwaimthrabthimaaenchd swnhnungwaepnchawchaechingethra aelaswnhnungwaepnchawemuxngephchrburi k s r kuhlab ekhyekhiyniwinhnngsux syampraephth wa bidakhxngsunthrphuepnkharachkaraephndinsmedcphraecaxyuhwbrmoks chuxkhunsrisnghar phlb 5 khxmulnisxdkhlxngkbbthkwiimthrabchuxphuaetng sungpraomthy thsnasuwrrn phbthixnusawriysunthrphu cnghwdrayxng wa bidakhxngsunthrphuepnchawbankra chuxphxphlb swnmardaepnchawemuxngchaechingethra chuxaemchxy 6 thwaaenwkhidthiidrbkaryxmrbknkhxnkhangkwangkhwangkhux trakulfaymardakhxngsunthrphuepnchawemuxngephchrburi subenuxngcakenuxkhwamin nirasemuxngephchr chbbkhnphbephimetimodylxm ephngaekw emux ph s 2529 7 wyeyaw xnusawriythiwdsrisudaram krungethph sunthrphu michuxedimwa phu ekidinsmyrchkalthi 1 aehngkrungrtnoksinthr emuxwncnthr eduxn 8 khun 1 kha pimaemiy culskrach 1148 ewlaecha 2 omng trngkbwnthi 26 mithunayn ph s 2329 n briewndanehnuxkhxngphrarachwnghlng sungepnbriewnsthanirthifbangkxknxypccubnni echuxwahlngcaksunthrphuekididimnan bidamardakhyarangkn bidaxxkipbwchxyuthiwdpakraxnepnphumilaenaedim swnmardaidekhaipxyuinphrarachwnghlng thwaytwepnnangnmkhxngphraxngkhecahyingcngkl phrathidainecafakrmhlwngxnurksethewsr dngnnsunthrphucungidxyuinphrarachwnghlngkbmarda aelaidthwaytwepnkhainkrmphrarachwnghlng sunthrphuyngminxngsawtangbidaxiksxngkhn chuxchimaelanimechuxknwa inwyedksunthrphuidraeriynhnngsuxkbphrainsankwdchipakhaw sungtxmaidrbphrarachthannaminrchkalthi 4 wa wdsrisudaram xyurimkhlxngbangkxknxy tamenuxkhwamswnhnungthipraktin nirassuphrrn 8 txmaidekharbrachkarepnesmiynnayrawangkrmphrakhlngswn inkrmphrakhlngswn 9 aetimchxbthanganxunnxkcakaetngbthklxn sungsamarthaetngidditngaetyngrunhnum caksanwnklxnkhxngsunthrphu echuxwaphlnganthimikarpraphnthkhunkxnsunthrphuxayuid 20 pi khuxkxn nirasemuxngaeklng ehncaidaekklxnnithaneruxng okhbutr 10 sunthrphulxbrkkbnangkhahlwnginwnghlngkhnhnung chuxaemcn charxywahlxncaepnbutrhlanphumitrakul cungthukkrmphrarachwnghlngkriwcnthungihobyaelacakhukkhnthngsxng aetemuxkrmphrarachwnghlngesdcthiwngkhtinpi ph s 2349 cungmikarxphyothsaekphuthuklngothsthnghmdthwayepnphrarachkusl hlngcaksunthrphuxxkcakkhukkedinthangiphabidathiemuxngaeklng cnghwdrayxng karedinthangkhrngnisunthrphuidaetng nirasemuxngaeklng phrrnnasphaphkaredinthangtang exaiwodylaexiyd aelalngthayeruxngwa aetngmaihaekaemcn epnkhnhmakmingmitrphismy 11 innirasidbnthuksmnskdikhxngbidakhxngsunthrphuiwdwywa epn phrakhruthrrmrngsi ecaxawaswdpakra klbcakemuxngaeklngkhrawni sunthrphucungidaemcnepnphrryaaetklbcakemuxngaeklngephiyngimnan sunthrphutxngtidtamphraxngkhecapthmwngsinthanamhadelktamesdcipinnganphithimakhbuchathiphraphuththbath ekhtcnghwdsraburiinpccubn emuxpi ph s 2350 sunthrphuidaetng nirasphrabath phrrnnaehtukarninkaredinthangkhrawnidwysunthrphukbaemcnmibutrdwykn 1 khn chuxhnuphd idxyuinkhwamxupkarakhxngecakhrxkthxngxyu swnhnumsawthngsxngmieruxngrahxngraaehngknesmx cnphayhlngkelikrakniphlngcak nirasphrabath thisunthrphuaetnginpi ph s 2350 impraktphlnganid khxngsunthrphuxikelycnkrathngekharbrachkarinpi ph s 2359 taaehnngxalksn sunthrphuidekharbrachkarinkrmphraxalksnemux ph s 2359 inrchsmyrchkalthi 2 mulehtuinkaridekharbrachkarni impraktaenchd aetsnnisthanwaxacaetngokhlngklxnidepnthiphxphrathy thrabthungphraentrphrakrrncungthrngeriykekharbrachkar aenwkhidhnungwasunthrphuepnphuaetngklxninbtrsnethh sungpraktchukchumxyuinewlann 12 xikaenwkhidhnungsubenuxngcak chwngewlathihayip khxngsunthrphu sungnacaichwichaklxnthamahakinepnthiruckeluxngchuxxyu charxycaepnehtuihthukeriykekharbrachkarkid 6 emuxaerksunthrphurbrachkarepnxalksnplayaethw mihnathiefaewlathrngphraxksrephuxkhxyrbich aetmiehtuihidaesdngfimuxklxnkhxngtw emuxphrabathsmedcphraphuththelishlanphalythrngaetngklxnbthlakhrineruxng ramekiyrti tidkhdimmiphuidtxklxnidtxngphrarachhvthy cungoprdihsunthrphuthdlxngaetng praktwaaetngiddiepnthiphxphrathy cungthrngphrakruna eluxnihepn khunsunthrowhar kartxklxnkhxngsunthrphukhrawniepnthiruckthwip enuxngcakpraktraylaexiydxyuinphraniphnth chiwitaelangankhxngsunthrphu khxngsmedc krmphrayadarngrachanuphaph bthklxninramekiyrtithisunthrphuidaetnginkhrawnnkhux txnnangsidaphukkhxtay aelatxnsuksibkhunsibrth chakbrryayrthsukkhxngthsknth 12 sunthrphuideluxnysepn hlwngsunthrowhar inewlatxma 13 idrbphrarachthanbanhlwngxyuthithachang iklkbwngthaphra aelamitaaehnngekhaefaepnpraca khxythwaykhwamehnekiywkbphrarachniphnthaelaphraniphnthwrrnkhdieruxngtang rwmthungidrwminkickarfunfusilpwthnthrrmchwngtnkrungrtnoksinthr odyepnhnunginkhnarwmaetng khunchangkhunaephn khunihmrahwangrbrachkar sunthrphutxngothscakhukephraathukxuththrnwaemasuratharayyatiphuihy aetcakhukidimnankoprdphrarachthanxphyoths elaknwaenuxngcakphrabathsmedcphraphuththelishlanphalythrngtidkhdbthphrarachniphntheruxngsngkhthxng immiikhraetngidtxngphrathy 14 phayhlngphnoths sunthrphuidepnphraxacarythwayxksrsmedcphraecabrmwngsethx ecafaxaphrn phrarachoxrsinrchkalthi 2 echuxwasunthrphuaetngeruxng swsdirksa inrahwangewlaniinrahwangrbrachkarxyuni sunthrphuaetngnganihmkbaemnim mibutrdwyknhnungkhn chuxphxtab xxkbwch kutiwdethphthidaramthisunthrphubwchcaphrrsa epnsthanthikhnphbwrrnkrrmthithrngkhunkhamakmayechn phraxphymni l thithanekbsxniwitephdanhlngkhakutikhxngthan sunthrphurbrachkarxyuephiyng 8 pi emuxthungpi ph s 2367 phrabathsmedcphraphuththelishlanphalyesdcswrrkht hlngcaknnsunthrphukxxkbwch aetcaidlaxxkcakrachkarkxnxxkbwchhruximyngimpraktaenchd aemcaimpraktodytrngwasunthrphuidrbphrabrmrachupthmphcakrachsankihminphrabathsmedcphranngeklaecaxyuhw aetkidrbphraxupthmphcakphrabrmwngsanuwngsphraxngkhxunxyuesmx echn pi ph s 2372 sunthrphuidepnphraxacarythwayxksrecafaklangaelaecafapiw phraoxrsinecafakunthlthiphywdi praktkhwamxyuin ephlngyawthwayoxwath nxkcaknnyngidxyuinphraxupthmphkhxngphraxngkhecalkkhnanukhun aelakrmhmunxpsrsudaethph sungpraktenuxkhwaminnganekhiynkhxngsunthrphubangeruxngwa sunthrphuaetngeruxng phraxphymni aela singhitrphph thwaysunthrphubwchxyuepnewla 18 pi rahwangnnidyayipxyuwdtang hlayaehng ethathiphbrabuinnganekhiynkhxngthanidaek wdeliyb wdaecng wdophthi wdmhathatu aelawdethphthidaram nganekhiynbangchinsuxihthrabwa inbangpi phiksuphuekhytxngerrxnimmithicaphrrsabangehmuxnkn phlcakkarthiphiksuphuedinthangthudngkhipthitang thwpraeths praktphlnganepnniraseruxngtang makmay aelaechuxwanacayngminirasthikhnimphbxikepncanwnmaknganekhiynchinsudthaythiphiksuphuaetngiwkxnlasikkhabth khux raphnphilap odyaetngkhnacaphrrsaxyuthiwdethphthidaram ph s 2385 chwngplaykhxngchiwit pi ph s 2385 phiksuphucaphrrsaxyuthiwdethphthidaram thimikrmhmunxpsrsudaethphthrngxupthmph 1 khunhnunghlbfnehnethphydacamarbtwip emuxtunkhunkhidwatnthungkhatcatxngtayaelw cungpraphntheruxng raphnphilap phrrnnathungkhwamfnaelaelaeruxngrawtang thiidprasbmainchiwit hlngcaknnklasikkhabthephuxetriymtwcatay khnannsunthrphumixayuid 56 pihlngcaklasikkhabth sunthrphuidrbphraxupthmphcakecafanxy hruxsmedcecafacuthamni krmkhunxisersrngsrrkh rbrachkarsnxngphraedchphrakhunthangdannganwrrnkhdi sunthrphuaetng esphaphrarachphngsawdar bthehklxmphrabrrthm aelabthlakhreruxng xphynurach thway rwmthungyngaetngeruxng phraxphymni thwayihkrmhmunxpsrsudaethphdwy emuxthungpi ph s 2394 phrabathsmedcphranngeklaecaxyuhwesdcswrrkht ecafamngkudesdckhunkhrxngrachyepnphrabathsmedcphracxmeklaecaxyuhw aelathrngsthapnaecafanxykhunepn phrabathsmedcphrapineklaecaxyuhw sunthrphucungidrbaetngtngepnecakrmxalksnfayphrarachwngbwr mibrrdaskdiepn phrasunthrowhar chwngrahwangewlanisunthrphuidaetngnirasephimxik 2 eruxng khux nirasphraprathm aela nirasemuxngephchrsunthrphuphankxyuinekhtphrarachwngedim iklhxnngkhxngphrayamnethiyrbal bw mihxngswntwepnhxngphkknefiymthieriykchuxknwa hxngsunthrphu echuxwasunthrphuphankxyuthinitrabcnthungaekxnickrrm 15 emuxpi ph s 2398 sirirwmxayuid 69 pi thayath sunthrphumibutrchaysamkhn khuxphxphd ekidcakphrryakhnaerkkhuxaemcn phxtab ekidcakphrryakhnthisxngkhuxaemnim aelaphxnil ekidcakphrryathichuxaemmwng nxkcaknipraktchuxbutrbuythrrmxiksxngkhn chuxphxkln aelaphxchubphxphdniepnlukrk idtidsxyhxytamsunthrphuxyuesmx emuxkhrngsunthrphuxxkbwch phxphdkxxkbwchdwy 16 emuxsunthrphuidmarbrachkarkbecafanxy phxphdkmaphankxyudwyechnkn 15 swnphxtabnnpraktwaidepnkwimichuxxyuphxsmkhwr 12 emuxthungrchsmyphrabathsmedcphramngkudeklaecaxyuhw thrngtraphrarachbyytinamskulkhun trakulkhxngsunthrphuidichnamskultxmawa phueruxhngs bangsayskulxacepn phurahngs 17 eruxngnamskulkhxngsunthrphuni k s r kuhlab ekhyekhiyniwinhnngsuxsyampraephth xangthungphuthuxnamskul phueruxhngs thiidrbbaehnccakhmxsmithepnkhaphimphhnngsuxeruxng phraxphymni 6 18 aethnngsuxkhxng k s r kuhlab imepnthiyxmrbkhxngrachsank dwypraktxyubxykhrngwamkekhiyneruxngku eruxngnamskulkhxngsunthrphucungphlxyimidrbkarechuxthuxipdwy cnkrathng s phaxb opsakvsna yunynkhwamkhxnienuxngcakekhyidphbkbhlanpukhxngphxphdmadwytnexng 18 xupnisyaelathsnkhtixupnisy taraohrasastrphukdwngchatawnekidkhxngsunthrphuiwepndwngpraethiyb phrxmkhaxthibaykhangitdwngchatawa sunthrphu xalksnkhiema 12 ehtunicungepnthiklawkhanknesmxmawa sunthrphunikhiehlank innganekhiynkhxngsunthrphuexngkpraktbrryaythungkhwammunemaxyuhlaykhrng aemcaduehmuxnwa sunthrphuexngkruwakarmunemasuraepnsingimdi idekhiyntketuxnphuxanxyuinnganekhiynesmx 19 kardumsurakhxngsunthrphuxacepnkardumephuxsngsrrkhaelaephuxsrangxarmnsilpin dwypraktwaeruxnsunthrphumkepnthikhrukkhrunruneringkbhmuephuxnfungxyuesmx 6 nxkcakniyngelaknwa ewlathisunthrphukrum aelwxacsamarthbxkklxnihesmiynthungsxngkhncdtamaethbimthn 12 emuxxxkbwch sunthrphuehncatxngphyayamexachnaictwexngihid sunginthaythisudksamarththaiddi khnathirungorcn phirmyxnukul mxngwa eruxngthiwasunthrphukhiemannimmikarbnthukxyangepnkiccalksna thngsunthrphumiphlnganekhiynxyumak hakepnkhnlumhlnginsurakhngimmiewlaipekhiynhnngsuxepnaen 1 sunthrphumkepriybkaremaehlakbkaremark chiwitrkkhxngsunthrphuducaimsmhwngethathikhwr hlngcakaeykthangkbaemcn sunthrphuidphrryakhnthisxngchuxaemnim nxkcakniaelwyngpraktchuxhyingsawmakhnahlaytathisunthrphuphrrnnathung emuxedinthangipthunghyxmyanmichuxesiyngkhlxngcxngkbhyingsawehlann nkwicarnhlaykhncungbrryaylksnanisykhxngsunthrphuwaepnkhnecachu aelabangyngwakhwamecachuniexngthithaihtxnghyarangkbaemcn khwamkhxniepncringephiyngirimprakt khunwicitrmatraekhykhnchuxstrithiekhamaekiywphnkbsunthrphuinnganpraphnthtang khxngthan idchuxxxkmakwa 12 chux khux cn phlb aechm aekw nim mwng nxy nknxy klin ngiw sukh lukcnthn aelaxun xik 5 thwasunthrphuexngekhyprarphthungkarphrrnnathunghyingsawinbthpraphnthkhxngtnwa epnipephuxihidxrrthrsinnganpraphnthethann cathuxepncringepncngmiid 20 xyangirkdi karbrryaykhwamoskesraaelaxaphphinkhwamrkkhxngsunthrphupraktxyuinnganekhiynniraskhxngthanaethbthukeruxng striindwngicthithanraphnthungxyuesmxkkhuxaemcn sungepnrkkhrngaerkthikhngimxaclumeluxnid aetnacamikhwamrkikhrkbhyingxunxyubangprapray aelakhngimmicudcbthidink in nirasphraprathm sungthanpraphnthiwemuxmixayukwa 60 piaelw sunthrphuidxthisthanimkhxphbkbhyingthingstyxiktxip 21 xupnisysakhyxikprakarhnungkhxngsunthrphukhux mikhwamxhngkaraelamnicinkhwamsamarthkhxngtnepnxyangsung lksnanisykhxnithaihnkwicarnichinkarphicarnanganpraphnthsungyngepnthiekhluxbaekhlngxyuwa epnphlngankhxngsunthrphuhruxim khwamxhngkarkhxngsunthrphuaesdngxxkmaxyangchdecnxyuinnganekhiynhlaychud aelathuxepnwrrkhthxngkhxngsunthrphudwy echn xyanghmxmchnxnthidiaelachw thunglbtwaetkchuxekhaluxchawepnxalksnnkelngthaephlngyaw ekhmrlawluxeluxngthungemuxngnkhr 22 hruxxikbthhnungkhux hnungkhxfakpakkhathahnngsux ihsubchuxchwfasuthasthansunthraxalksnecackrphal phrathrngsarsrieswtekskuychr 23 eruxngkhwamxhngkarkhxngsunthrphuni elaknwainbangkhrawsunthrphukhxaekbthphraniphnthkhxngkrmhmunecsdabdinthrtxhnaphrathinngodyimmikariwhna dwythuxwatnepnkwithipruksa klaaemkrathngtxklxnhyxklxkbphrabathsmedcphraphuththelishlanphaly odythiimthrngthuxokrth aetklbmithithikhxngkwithicaexachnasunthrphuihid 12 karaekklxnhnaphrathinngnixacepnehtuhnungthithaihsunthrphulwngekintxkrmhmunecsdabdinthrodyimidtngic aelaxacepnsaehtuhnungthithaihsunthrphutdsinicxxkbwchhlngsinaephndinrchkalthi 2 aelwkepnid 12 thsnkhti sunthrphuihkhwamsakhykbkarsuksaxyangmak aelatxkyaeruxngkarsuksainwrrnkhdihlay eruxng echn khunaephnsxnphlayngamwa lukphuchaylaymuxnnkhuxys ecacngxtsahthasmaesmiyn 24 hruxthiphravisisxnsudsakhrwa rusingirimsuruwicha rurksatwrxdepnyxddi 25 odythisunthrphuexngkepnphusnicifsuksahakhwamru aelamikhwamrukwangkhwangxyangying echuxwasunthrphunacarwmxyuinklumkharachkarhwkawhnainyukhsmynn thiniymwichakhwamruaebbtawntk phasaxngkvs tlxdkrathngaenwkhidyukhihmthiihkhwamsakhykbstrimakkhunkwaedim singthisathxnaenwkhwamkhidkhxngsunthrphuxxkmamakthisudkhuxnganekhiyneruxng phraxphymni sungokhrngeruxngmikhwamepnsaklmakyingkwawrrnkhdiithyeruxngxun twlakhrmikhwamhlakhlaythangechuxchati twlakhrexkechnphraxphymnikbsinsmuthryngsamarthphudphasatangpraethsidhlayphasa nxkcakniyngepnwrrnkhdithitwlakhrfayhyingmibthbaththangkaremuxngxyangsung echnnangsuwrrnmaliaelananglaewngwnlathisamarthepnecakhrxngemuxngidexng nangwalithiepnthungthipruksakxngthph aelanangesawkhnththiklahaythungkbhninganwiwahthitnimprarthna xnphidcaknanginwrrnkhdiithytampraephnithiekhymima 26 lksnakhwamkhidaebbhwkawhnaechnnithaih nithi exiywsriwngs eriyksmyasunthrphuwaepn mhakwikradumphi 26 sungaesdngthungchnchnihmthiekidkhuninsmyrtnoksinthr emuxthrphysinenginthxngerimmikhwamsakhymakkhunnxkehnuxipcakysthabrrdaskdi nganekhiynechingniraskhxngsunthrphuhlayeruxngsathxnaenwkhiddanesrsthkic rwmthungwicarnkarthangankhxngkharachkarthithucritkhidsinbn thngyngmiaenwkhidekiywkbbthbathkhwamsakhykhxngstrimakyingkhundwy 26 imekhil irth note 1 ehnwanganekhiyneruxng phraxphymni khxngsunthrphu epnkarkhwakhtikhwamechuxaelakhaniyminmhakaphyodysineching odythitwlakhrexkimidmikhwamepn wirburus xyangsmburnaebb thwaintwlakhrthuk twklbmikhwamdiaelakhwamelwinaengmumtang papnknip 27 xyangirkdi inthamklangnganpraphnthxnaehwkaenwlayukhlasmykhxngsunthrphu khwamcngrkphkdikhxngsunthrphutxphrarachwngs odyechphaaxyangyingtxphrabathsmedcphraphuththelishlanphaly kyngsunglaepnlnphnxyangimmiwncanghayipaeminwarasudthay sunthrphuraphnthungphramhakrunathikhunhlaykhrnginnganekhiyneruxngtang khxngthan innganpraphntheruxng nirasphraprathm sungsunthrphupraphnthhlngcaklasikkhabth aelamixayukwa 60 piaelw sunthrphueriyktnexngwaepn sunthraxalksnecackrphal phrathrngsarsrieswtekskuychr klawkhuxepnxalksnkhxng phraecachangephuxk xnepnphrasmyyanamkhxngphrabathsmedcphraphuththelishlanphaly 28 sunthrphuidaesdngcitectnainkhwamcngrkphkdixyangimesuxmkhlay praktin nirasphuekhathxng khwamwa casrangphrtxtsahsngbuythway praphvtifaysmthathngwsa epnsingkhxngchlxngkhunmulika khxepnkhaekhiyngphrabaththukchatiip 16 khwamruaelathksaemuxphicarnacakphlngantang khxngsunthrphu imwacaepnnganekhiynnirashruxklxnniyay sunthrphumkaethrksuphasit khaphngephy khaepriybethiybtang thaihthrabwasunthrphuniidxanhnngsuxmamak cnsamarthnaeruxngrawtang thitnthrabmaaethrkekhaipinphlnganidxyangaenbeniyn enuxhahlayswninnganekhiyneruxng phraxphymni thaihthrabwa sunthrphumikhwamrxbruaetkchaninsmudphaphitrphumi thngekrdelkekrdnxythinamaddaeplngpradisthekhaiwinthxngeruxng echn kareriykchuxplathaelaeplk aelakarklawthungtraphrarahu 29 nxkcakniyngmikhwamrxbruinwrrnkhdipraethstang echn cin xahrb aekhk ithy chwa epntn 30 nkwichakarodymakehnphxngknwa sunthrphuidrbxiththiphlcakwrrnkhdicineruxng ishn samkk wrrnkhdixahrb echn xahrbratri rwmthungekrdkhmphiribebil eruxngkhxnghmxsxnsasna tananemuxngaextaelntis sungsathxnihehnxiththiphlehlanixyuinphlnganeruxng phraxphymni makthisud 29 sunthrphuyngmikhwamrudandarasastr hruxkardudaw odythismphnthkbkhwamrudanohrasastr dwypraktwasunthrphuexythungchuxdwngdawtang dwyphasaohr echn daweruxichyhruxdawsaephathxng dawthng dawolng dawka dawhamphi thngyngbrryaythungkhathanayobraobran 31 echn aemndawkamaiklinmnusy camwymudmrnaepnhaohng 32 dngniepntnkarthisunthrphumikhwamrxbrumakmayaelarxbdanechnni snnisthanwasunthrphunacasamarthekhathungaehlngkhxmuldanexksarsakhysungmixyuepncanwnkhxnkhangnxyenuxngcakepnchwnghlngkaresiykrungsrixyuthyaimnan thngnienuxngmacaktaaehnnghnathikarngankhxngsunthrphunnexng nxkcaknikarthisunthrphumiaenwkhidsmyihmaebbtawntk cnidsmyawaepn mhakwikradumphi 26 yxmmikhwamepnipidthisunthrphusungmiphunxupnisyickhxkwangkhwangchxbkhbkhnmak nacaidruckmkcikbchawtangpraethsaelaphxkhachawtawntk praomthy thsnasuwrrn ehnwabangthisunthrphuxaccaphudphasaxngkvsidkepnid 6 xnepnthimakhxngkarthiphraxphymniaelasinsmuthrsamarthphudphasatangpraethsidhlayphasa rwmthungeruxngrawophnthaelaelachuxdinaedntang thiehlankedineruxnacaelaihsunthrphufng 33 aetimwasunthrphucaidrbkhxmulophnthaelcakehlashaykhxngekhahruxim sunthrphukyngphrrnnathungeruxnglayukhlasmymakmaythiaesdngthungcintnakarkhxngekhaexng xnepnsingthiyngimidprakthruxsaerckhuninyukhsmynn echn inphlnganeruxng phraxphymni mieruxedinsmuthrkhnadihythisamarthpluktukplukswniwbneruxid nanglaewngmihibesiyngthielnidexng dwyiffa hruxeruxsaethinnasaethinbkkhxngphrahmnomra sunthrphuidrbykyxngwaepncintkwithimichuxesiyngphuhnungaehngyukhsmy praktenuxkhwamyunynxyuinhnngsux prawtisunthrphu khxngphrayapriytithrrmthada aeph talalksmn khwamwa inaephndinphrabathsmedcphraphuththelishlanphalynn faycintkwimichuxkhuxhmayexasmedcphraphuththecaxyuhwepnprathanaelw mithanthiidrueruxngrawinthangniklawwaphraxngkhmiextthkhkhsawkinkarsomsrkaphyklxnokhlngchnthxyu 6 nay khux phrabathsmedcphranngekla 1 thansunthrphu 1 naythrngicphkdi 1 phrayaphcnaphiml wnrtthxngxyu 1 krmkhunsrisunthr 1 phranayiwy 1 phayhlngepnphrayakrung chuxephuxk 1 inhkthanniael idrbtnprachnaekhngkhnknxyuesmx 34 thksaxikprakarhnungkhxngsunthrphuidaek khwamechiywchanayinkareluxkichthxykhaxyangehmaasmephuxichphrrnnaenuxkhwaminkwiniphnthkhxngtn odyechphaainnganpraphnthpraephthniras thaihphuxanaelehnphaphhruxidyinesiyngrawkbidrwmedinthangipkbphupraphnthdwy sunthrphuyngmiihwphribptiphaninkarpraphnth klawidwaimekhycnthxykhathicaich elawakhrnghnungemuxphiksuphuxxkcarikcxderuxxyu michawbannaphttaharcamathway aetwakhathwayimepn phiksuphucungsxnchawbanihwakhathwayepnklxntamsingkhxngthicathwaywa ximsmingrimfng ximngplara kungaehngaetngkwa xikpladukyang chxmakxkdxkmaprang enuxyangyamadn khawsukkhxnkhn namnkhwdhnung naphungkhrungoth smoxaechxim thbthimsxngphl epnyxdkusl sngkhssa ethmi 12 xnwa kwi nnaebngidepn 4 caphwk 35 khux cintkwi phuaetngodykhwamkhidkhxngtn sutkwi phuaetngtamthiidyinidfngma xrrthkwi phuaetngtamehtukarnthiekidkhuncring aela ptiphankwi phumikhwamsamarthichptiphanaetngklxnsd emuxphicarnacakkhwamruaelathksathngpwngkhxngsunthrphu xaclngkhwamehnidwa sunthrphuepnmhakwiexkthimikhwamsamarthkhrbthng 4 prakarxyangaethcringkarsrangwrrnkrrmnganpraphnthwrrnkhdiinyukhkxnhnasunthrphu khuxyukhxyuthyatxnplay yngepnwrrnkrrmsahrbchnchnsung idaekrachsankaelakhunnang epnwrrnkrrmthisrangkhunephuxkarxanaelaephuxkhwamruhruxphithikar echn kaphymhachati hrux phramalykhahlwng 26 thwangankhxngsunthrphuepnkarptiwtikarsrangwrrnkrrmaehngyukhrtnoksinthr khuxepnwrrnkrrmsahrbkhnthwip epnwrrnkrrmsahrbkarfngaelakhwambnething 26 36 ehnidcaknganekhiynniraseruxngaerkkhux nirasemuxngaeklng mithirabuiwintxnthaykhxngniraswa aetngmafakaemcn rwmthungin nirasphrabath aela nirasphuekhathxng sungmithxykhasuxsarkbphuxanxyangchdecn wrrnkrrmehlaniimichwrrnkrrmsahrbkarsuksa aelaimichsahrbphithikarsahrbwrrnkrrmthisrangkhunodyhnathitamthiidrbphrabrmrachoxngkar mipraktthungpccubnidaek esphaeruxngkhunchangkhunaephn txn kaenidphlayngam insmyrchkalthi 2 aela esphaphrarachphngsawdar insmyrchkalthi 4 swnthiaetngkhunephuxthwayaedxngkhxupthmph idaek singhitrphph ephlngyawthwayoxwath swsdirksa bthehklxmphrabrrthm aela bthlakhreruxng xphynurachnganpraphnthkhxngsunthrphuekuxbthnghmdepnklxnsuphaph ykewn phraichysuriya thipraphnthepnkaphy aela nirassuphrrn thipraphnthepnokhlng phlnganswnihykhxngsunthrphuekidkhuninkhnatkyak khuxemuxxxkbwchepnphiksuaelaedinthangcarikipthwpraeths sunthrphunacaidbnthukkaredinthangkhxngtnexaiwepnnirastang canwnmak aethlngehluxpraktmathungpccubnephiyng 9 eruxngethann ephraanganekhiynswnihykhxngsunthrphuthukplwkthalayipesiyekuxbhmdemuxkhrngcaphrrsaxyuthiwdethphthidaram 37 aenwthangkarpraphnth sunthrphuchanaynganpraphnthpraephthklxnsuphaphxyangwiess idrierimkarichklxnsuphaphmaaetngklxnnithan odymi okhbutr epneruxngaerk sungaetedimmaklxnnithanethathipraktmaaetkhrngkrungsrixyuthyalwnaetepnklxnkaphythngsin 12 nayecux staewthin idklawykyxngsunthrphuinkarrierimichklxnsuphaphbrryayeruxngrawepnnithanwa thansunthrphu iderimskrachihmaehngkarkwikhxngemuxngithy odysrangokhbutrkhundwyklxnsuphaph nbtngaetedimma eruxngnithanmkekhiynepnlilit chnth hruxkaphy sunthrphuepnkhnaerkthiesnxsilpakhxngklxnsuphaph inkarsrangnithanpraolmolk aelakepnphlsaerc okhbutrklayepnwrrnkrrmaebbchbbthinkaetngklxnthnghlaythuxepnkhru nbidwa okhbutrmiswnsakhyyinginprawtiwrrnkhdikhxngchatiithy 38 sunthrphuyngidptiwtikhnbkarpraphnthnirasdwy dwyaetedimmakhnbkarekhiynnirasyngniymekhiynepnokhlng lksnakarpraphnthaebbephlngyaw khuxkarpraphnthklxn yngimeriykwa niras aemnirasrbphmathithadinaedng edimkeriykwaepnephlngyawcdhmayehtu maepliynkareriykepnnirasinchnhlng sunthrphuepnphurierimkaraetngklxnnirasepnkhnaerkaelathaihklxnnirasepnthiniymaephrhlay 39 odykarnarupaebbkhxngephlngyawcdhmayehtumaphsmkbkhapraphnthpraephthkasrwl 26 klwithikarpraphnththiphrrnnakhwamrahwangesnkaredinthangkbprasbkarntang inchiwitkepnlksnaechphaakhxngsunthrphu sungphuxuncapraphnthinaenwthangediywknniihidickhwamipheraaaelacbicethasunthrphukyngyak miichaetephiyngfimuxklxnethann thwaprasbkarnkhxngphupraphnthcaethiybkbsunthrphukmiid 39 dwyehtuniklxnniraskhxngsunthrphucungoddednepnthiruckyingkwaklxnniraskhxngphuid aelaepntnaebbkhxngkaraetngnirasinewlatxma 12 xyangirkdi nxkehnuxcaknganklxn sunthrphukminganpraphnthinrupaebbxunxik echn phraichysuriya thipraphnthepnkaphythnghmd prakxbdwykaphyyani kaphychbng aelakaphysurangkhnangkh swn nirassuphrrn epnnirasephiyngeruxngediywthiaetngepnokhlng charxycaaetngephuxlbkhasbpramathwaaetngidaetephiyngklxn aetkaraetngokhlngkhngcaimthnd ephraaimpraktwasunthrphuaetngkwiniphntheruxngxuniddwyokhlngxik wrrnkrrmxnepnthiekhluxbaekhlng inxditekhymikhwamekhaicknwa sunthrphuepnphuaetng nirasphraaethndngrng 12 aettxma thnit xyuophthi phuechiywchaywrrnkhdiithyaelaxditxthibdikrmsilpakr idaesdnghlkthanwiekhraahwasanwnkaraetngnirasphraaethndngrng imnacaichkhxngsunthrphu emuxphicarnaprakxbkbenuxkhwam epriybethiybkbehtukarninchiwitkhxngsunthrphu aelakrabwnsanwnklxnaelw cungsrupidwa phuaetngnirasphraaethndngrng khux naymi hrux esmiynmi hmunphrhmsmphksr phuaetngnirasthlang 40 wrrnkrrmxikchinhnungthikhadwaimichfimuxaetngkhxngsunthrphu khux suphasitsxnhying aetnacaepnphlngankhxngnayphu cullaphmr sungepnsisy 13 enuxngcaknganekhiynkhxngsunthrphuchbbxun imekhykhuntndwykarihwkhru sungaetktangcaksuphasitsxnhyingchbbninxkcakniyngmiwrrnkrrmxun thisngsywaxaccaepnphlngankhxngsunthrphu idaek ephlngyawsuphasitolkniti tarayaxthkal tarabxkvksyamedinthang subinnimitkhaklxn aelataraessnari 13 kartiphimph ephyaephr aeladdaeplngphlnganinyukhsmykhxngsunthrphu karephyaephrnganekhiyncaepnipidodykarkhdlxksmudithy sungphukhdlxkcaykhaeruxngihaekphupraphnth dngthismedc krmphrayadarngrachanuphaphidsnnisthaniwwa sunthrphuaetngeruxng phraxphymni khayephuxeliyngchiph 12 dngnicungpraktnganekhiynkhxngsunthrphuthiepnchbbkhdlxkprakttamthitang hlayaehng cnkrathngthungchwngwychrakhxngsunthrphu karphimphcungerimekhamayngpraethsithy odymismedc ecafamngkudthrngihkarsnbsnun orngphimphinyukhaerkepnorngphimphhlwng tiphimphhnngsuxrachkarethann swnorngphimphthiphimphhnngsuxthwiperimkhuninchwngtnphuththstwrrsthi 25 tngaet ph s 2401 epntnip 41 orngphimphkhxnghmxsmiththibangkhxaehlm epnphunaphlngankhxngsunthrphuiptiphimphepnkhrngaerkemux ph s 2413 khuxeruxng phraxphymni sungepnthiniymxyangsung khaydimakcnhmxsmithsamarththarayidsungkhnadsrangtukepnkhxngtwexngid hlngcaknnhmxsmithaelaecakhxngorngphimphxun kphaknhaphlnganeruxngxunkhxngsunthrphumatiphimphcahnaysaxikhlaykhrng 12 phlngankhxngsunthrphuidtiphimphinsmyrchkalthi 5 cnhmdthukeruxng 12 aesdngthungkhwamniymepnxyangmak sahrbesphaeruxng phrarachphngsawdar kb ephlngyawthwayoxwath idtiphimphethathicaknid ephraatnchbbsuyhay cnkrathngtxmaidtnchbbkhrbbriburncungphimphihmtlxderuxnginsmyrchkalthi 6 12 karaeplphlnganepnphasaxun phlngankhxngsunthrphuidrbkaraeplepnphasatang dngni phasaithythinehnux phyaphrhmowhar kwiexkkhxnglannaaepl phraxphymnikhaklxn epnkhawsxtamkhwamprasngkhkhxngecaaemthipheksr aetimcberuxng thungaekhtxnthisrisuwrrnxphieskkbnangeksra 42 phasaekhmr phlngankhxngsunthrphuthiaeplepnphasaekhmrmisameruxngkhux 42 phraxphymni impraktchuxphuaepl aeplthungaekhtxnthinangphiesuxsmuthrlkphraxphymniipiwinthaethann lksnwngs aeplody xxkyapyyathibdi aeym suphasitsxnhying hruxsuphasitchbbstri aeplodyxxkyasuttntpricha xinthr phasaxngkvs phlngankhxngsunthrphuthiaeplepnphasaxngkvsidaek phrawrwngsethx phraxngkhecaeprmburchtr thrngaepleruxng phraxphymni epnphasaxngkvsthngeruxng emuxpi ph s 2495 43 nirasemuxngephchr chbbithy xngkvs epnhnngsuxchbbphkphasxngphasa ithy xngkvs aeplepnphasaxngkvsodyesawniy niwasabutr phimphkhrngaerkineduxn mithunayn ph s 2556 cdcahnayodybristhekhldithy cakd 44 nganddaeplng duephimetimthi phraxphymni karddaeplngipyngsuxxun ibpidphaphyntrkartun sudsakhr khxng pyut engakracang lakhr mikarnaklxnnithaneruxng singhitrphph maddaeplngepnlakhrhlaykhrng odymakmkepliynchuxepn singhikrphph odyepnlakhrothrthsnaenwckr wngs aelalakhrephlngrwmsmyodyphthrawdiethiyetxr 45 nxkcaknimieruxng lksnwngs aelaphraxphymni thimikarnaenuxhabangswnmaddaeplng txnthiniymnamaddaeplngmakthisudkhux eruxngkhxngsudsakhrlksnwngs yngidnaipaesdngepnlakhrnxk odysunysilpwthnthrrmaehngchatiphakhtawntk cnghwdsuphrrnburi inpi ph s 2552 mikahndkaraesdnghlayrxbineduxnphvscikayn 46 phaphyntr ph s 2509 phaphyntr phraxphymni chbbkhxng khrurngsi thsnphykhkh naaesdngody mitr chybycha ephchra echawrasdr ph s 2522 phaphyntrkartun sudsakhr phlngansrangkhxng pyut engakracang ph s 2545 phaphyntr phraxphymni phlitody sxftaewr sphphlays xinetxrenchlaenl kakbody chlth sriwrrna cbkhwamtngaeterimeruxng ipcnthungtxn nangenguxkphaphraxphymnihnicaknangphiesuxsmuthr aelaphraxphymniepapisngharnang ph s 2549 omonfilm idsrangphaphyntrcakeruxng phraxphymni eruxng sudsakhr odycbkhwamtngaetkaenidsudsakhr cnsinsudthikaredinthangxxkcakemuxngkaraewkephuxtidtamhaphraxphymni ph s 2549 phaphyntrkartun eruxng singhikrphph khwamyaw 40 nathiephlng bthpraphnthcakeruxng phraxphymni txn phraxphymniekiywnanglaewng idnaipddaeplngelknxyklayepnephlng khamnsyya praphnththanxngody surphl aesngexk bnthukesiyngkhrngaerkody pricha buyyekiyrti ickhwamdngni thungmwydinsinfamhasmuthr imsinsudkhwamrksmkhrsmanaemxyuinithlasuthathar khxphbphanphiswasimkhladkhlaaemenuxeynepnhwngmhrrnph phikhxphbsriswsdiepnmcchaaemepnbwtwphiepnphumra echyphkaoksumpthumthxngaemepnthaxaiphikhrepnhngs carxnlngsingsuepnkhusxng note 2 khxtidtamthramsngwnnwllaxxng epnkhukhrxngphiswasthukchatiip xikephlnghnungkhuxephlng rstal khxngkhruexux sunthrsnan kharxngodysurphl othnawnik sungichnampakkawa wngsnt 47 idaerngbndaliccakbthklxnkhxngsunthrphu eruxng nirasphrabath 48 enuxhadngni ecakhxngtalrkhwankhunpintn ephraadndnxyaklimchimrshwankhrnidrssdsawcakcawtal yxmsabsanhwansungtrungthungthrwngihncayxmihecahlnlngecbxk ephraaxyakwkkhunlinchimkhxnghwngxnrstalhwanlamaykhlayphumphwng phiecbthrwngchaxkehmuxntktal hnngsuxaelakartun nganekhiynkhxngsunthrphuodyechphaaklxnnithaneruxngphraxphymni cathuknamaeriyberiyngekhiynihmodynkekhiyncanwnmak echn phraxphymnichbbrxyaekw khxngeprmesri hruxhnngsuxkartun xphymnisaka xikeruxnghnungthimikarnamasrangihmepnhnngsuxkartunkhux singhitrphph inhnngsux sukxscrrysinghikrphph thiekhiynihmepnkartunaenwmngngachuxesiyngaelakhawicarnsunthrphunbepnphumibthbathsakhyinkarsrangwrrnkhdipraephthrxykrxng hrux klxn ihepnthiniymaephrhlay thngyngwangcnghwawithiinkarpraphnthaebbihmihaekkaraetngklxnsuphaphdwy enawrtn phngsiphbuly kwirtnoksinthr ykyxngkhwamsamarthkhxngsunthrphuwa phrakhunkhruskdisiththikhidsrangsrrkh khrusrangkhaaepdkhaihsakhy 10 smedcphraecabrmwngsethx krmphrayadarngrachanuphaph thrngphraniphnthiwinhnngsux prawtisunthrphu wadwyekiyrtikhunkhxngsunthrphuwa thacalxngiheluxkkwiithybrrdathimichuxesiyngpraktmainphngsawdarkhdexaaetthiwiesssudephiyng 5 khn ikhr eluxkkehncaexachuxsunthrphuiwinkwihakhnnndwy 12 epluxng n nkhr idrwbrwmprawtiwrrnkhdiithyinyukhsmytang nbaetsmysuokhthyipcnthungsmyrththrrmnuy khuxsmypccubninewlathipraphnth odyidykyxngwa smyphuththelishlaepncudyxdaehngwrrnkhdipraephthkaphyklxn txcaksmyniradbaehngkaphyklxnktalngthukthi cnxacklawidwa eraimmihwngxikaelwthicaidkhaklxnxyangesphaeruxngkhunchangkhunaephn aelaeruxngphraxphymni 49 odythiinsmydngklawmisunthrphuepn brmkhruthangklxnaepdaelakwiexk 49 sungsrangphlnganxnepnthiruckaelaniymaephrhlayinhmuprachachn thngnienuxngcakkwiniphnthinyukhkxnmkepnkhachnthhruxlilitsungprachachnekhaimthung sunthrphuidptiwtingankwiniphnthaelasrangkhnbkaraetngklxnaebbihmkhunma cnepnthieriykknthwipwa klxntlad ephraaepnthiniymxyangmakinhmuchawbannnexng 49 ethiynwrrn idrwbrwmnganekhiyn hnunginnnkhuxnganthithanekhywicarnwrrnkhdieruxng phraxphymni khxngsunthrphu epnkarwicarnwakhuxnganekhiynthidiaefngipdwysuphasit aelaepnnganekhiynthiaeplkipkwawrrnkhdithiaetnginchwngnn 50 nithi exiywsriwngs ehnwa sunthrphunacaepnphumixiththiphlxyangmakinsngkhmkradumphichwngtnrtnoksinthr kradumphiehlanilwnepnphuesphphlngankhxngsunthrphu aelaehnsaehtuhnungthiphlngankhxngsunthrphuidrbkartxbrbepnxyangdiephraasxdkhlxngkbkhwamkhidkhwamechuxkhxngphuxannnexng 26 nxkehnuxcakkhwamniyminhmuprachachnchawsyam chuxesiyngkhxngsunthrphuyngaephripiklyingkwakwiid in ephlngyawthwayoxwath sunthrphuklawthungtwexngwa xyanghmxmchnxnthidiaelachw thunglbtwaetkchuxekhaluxchaw epnxalksnnkelngthaephlngyaw ekhmrlawluxeluxngthungemuxngnkhr 22 khxkhwamnithaihthrabwa chuxesiyngkhxngsunthrphueluxngluxipiklnxkekhtrachxanackrithy aetipthungxanackrekhmraelaemuxngnkhrsrithrrmrachthiediywkhunwiessaehngkhwamepnkwikhxngsunthrphucungxyuinradbkwiexkkhxngchati s ecux staewthin exythungsunthrphuodyepriybethiybkbkwiexkkhxngpraethstang wa sunthrphumisilpaimaephlamatin huok hruxblskhaehngfrngess miciticaelawiyyansung xaccaethaehenelnx aehngeyxrmni hruxlioxpardi aelamnosniaehngxitali 10 sunthrphuyngidrbykyxngwaepn echksepiyraehngpraethsithy 2 nganwicythunfulibrth ehys khxngkhaern aexnn aehmiltn idepriybethiybsunthrphuesmuxnhnungechksepiyrhruxchxesxraehngwngkarwrrnkrrmithy 51 ekiyrtikhunaelaxnusrnbukhkhlsakhykhxngolk danwrrnkrrm pi ph s 2529 inoxkaskhrbrxbwnekid 200 pikhxngsunthrphu xngkhkaryuensokidprakasihsunthrphu epnbukhkhlsakhykhxngolkthangdanwrrnkrrm nbepnchawithykhnthi 5 aelaepnsamychnchawithykhnaerkthiidrbekiyrtini inpinn smakhmphasaaelahnngsuxaehngpraethsithyinphrabrmrachupthmphcungidcdphimphephyaephrhnngsux xnusrnsunthrphu 200 pi aelamikarcdtngsthabnsunthrphukhunephuxsngesrimkickrrmekiywkbkarephyaephrchiwitaelaphlngankhxngsunthrphuihepnthiruckknxyangkwangkhwangmakyingkhun xnusawriyaelahunpn xnusawriysunthrphuthi wdsrisudaram xnusawriysunthrphuaehngaerk srangkhunthi t kra x aeklng c rayxng sungepnbanekidkhxngthanbidakhxngsunthrphu odywangsilavksemuxwnthi 30 thnwakhm ph s 2498 xnepnpithikhrbrxb 100 pikarthungaekxnickrrmkhxngsunthrphu aelamiphithiepidxyangepnthangkaremuxwnthi 25 phvsphakhm ph s 2513 phayinxnusawriymihunpnkhxngsunthrphu aelatwlakhrinwrrnkhdieruxngexkkhxngthankhux phraxphymni thidanhnaxnusawriymi hmudkwi hmudthi 24 pkxyu 52 yngmixnusawriysunthrphuthicnghwdxun xik idaek thithanahlngwdphlbphlachy tablkhlxngkraaechng xaephxemuxngephchrburi cnghwdephchrburi sungepncudthisunthrphuidekhymatamnirasemuxngephchr xnepnniraseruxngsudthaykhxngthan aelaechuxwaephchrburiepnbanekidkhxngmardakhxngthandwy 53 xnusawriyxikaehnghnungtngxyuthiwdsrisudaram enuxngcakepnsthanthithiechuxwathanidelaeriynekhiynxanemuxwyeyawthini nxkcaknimiruppnhunkhiphungsunthrphu tlxdcnhunkhiphunginwrrnkhdieruxng phraxphymni cdaesdngthiphiphithphnthhunkhiphungithy cnghwdnkhrpthm phiphithphnth kutisunthrphu hruxphiphithphnthsunthrphu tngxyuthiwdethphthidaram th mhaichy krungethph epnxakharsungprbprungcakkutithisunthrphuekhyxasyxyuemuxkhrngcaphrrsaxyuthini 54 pccubnepnthitngkhxngsmakhmnkklxnaehngpraethsithy aelamikarcdkickrrmwnsunthrphuepnpracathukpi wnsunthrphu hlngcakxngkhkaryuensokidprakasykyxngihsunthrphuepnphumiphlngandiednthangwrrnkrrmradbolkemuxpi ph s 2529 txmainpi ph s 2530 nayeswtr epiymphngssant xditrxngnaykrthmntri idcdtngsthabnsunthrphukhun aelakahndihwnthi 26 mithunaynkhxngthukpi epn wnsunthrphu 55 nbaetnnthuk piemuxthungwnsunthrphu camikarcdnganralukthungsunthrphutamsthanthitang echn thiphiphithphnthsunthrphu wdethphthidaram aelathicnghwdrayxng sungmkcdphrxmnganethskalphlimcnghwdrayxng rwmthungkarprakwdaetngklxn prakwdkhakhwy aelakarcdnithrrskarekiywkbsunthrphuinorngeriyntang thwpraethsraychuxphlngannganpraphnthkhxngsunthrphuethathimikarkhnphbinpccubnmipraktxyuephiyngcanwnhnung aelasuyhayipxikepncanwnmak thungkranntamcanwnethathikhnphbkthuxwamiprimankhxnkhangmak eriykidwa sunthrphuepn nkaetngklxn thisamarthaetngklxnidrwderwhatwcbyak phlngankhxngsunthrphuethathikhnphbinpccubnmidngtxipni niras nirasemuxngaeklng ph s 2349 aetngemuxhlngphnothscakkhuk aelaedinthangiphaphxthiemuxngaeklng nirasphrabath ph s 2350 aetnghlngcakklbcakemuxngaeklng aelatxngtamesdcphraxngkhecapthmwngsipnmskarrxyphraphuththbaththicnghwdsraburiinwnmakhbucha nirasphuekhathxng praman ph s 2371 aetngodysmmutiwa enrhnuphd epnphuaetng ipnmskarphraecdiyphuekhathxngthicnghwdxyuthya nirassuphrrn praman ph s 2374 aetngemuxkhrngyngbwchxyu aelaipkhnhayaxayuwthnathicnghwdsuphrrnburi epnphlnganeruxngediywkhxngsunthrphuthiaetngepnokhlng niraswdecafa praman ph s 2375 aetngemuxkhrngyngbwchxyu aelaipkhnhayaxayuwthnatamlayaethngthiwdecafaxakas impraktwathicringkhuxwdid thicnghwdphrankhrsrixyuthya ethph sunthrsarthulesnxwa nirasdngklawepnphlngankhxngphd phueruxhngs butrkhxngsunthrphu 56 nirasxiehna imprakt khadwaepnsmyrchkalthi 3 aetngepnenuxeruxngxiehnaraphnthungnangbusba ethph sunthrsarthulesnxwa nirasdngklawepnphlngankhxngkrmhlwngphuwentrnrinthrvththi 56 raphnphilap ph s 2385 aetngemuxkhrngcaphrrsaxyuthiwdethphthidaram aelwekidfnraywachatakhad cungbnthukkhwamfnphrxmraphnkhwamxaphphkhxngtwiwepn raphnphilap caknncunglasikkhabth nirasphraprathm ph s 2385 echuxwaaetngemuxhlngcaklasikkhabthaelaekharbrachkarinphrabathsmedcphrapineklaecaxyuhw ipnmskarphraprathmecdiy hruxphrapthmecdiy thiemuxngnkhrchysri nirasemuxngephchr ph s 2388 aetngemuxekharbrachkarinphrabathsmedcphrapineklaecaxyuhw echuxwaipthurarachkarxyangidxyanghnung niraseruxngnimichbbkhnphbenuxhaephimetimsung x lxm ephngaekw echuxwa brrphburusfaymardakhxngsunthrphuepnchawemuxngephchrburinithan okhbutr echuxwaepnnganpraphnthchinaerkkhxngsunthrphu 12 epneruxngrawkhxng okhbutr sungepnoxrskhxngphraxathitykbnangxpsr aetetibotkhunmadwykareliyngdukhxngnangrachsih phraxphymni khadwaerimpraphnthinsmyrchkalthi 2 aelaaetng hyud eruxymacnthungsmyrchkalthi 4 epnphlnganchinexkkhxngsunthrphu idrbykyxngcakwrrnkhdisomsrihepnsudyxdwrrnkhdiithypraephthklxnnithan phraichysuriya epnnithanthisunthrphuaetngdwychnthlksnpraephthkaphyhlaychnid idaek kaphyyani 11 kaphychbng 16 aelakaphysurangkhnangkh 28 epnnithansahrbsxnxan enuxhaeriyngladbkhwamngayipyak cakaem k ka aemkn kng kk kd kb km aelaeky echuxwaaetngkhunpraman ph s 2383 2385 lksnwngs epnnithanaenwckr wngs thinaokhrngeruxngmacaknithanphunban aetmitxncbthiaetktangipcaknithanthwipephraaimidcbdwykhwamsukh aetcbdwyngansmophchsphnangthipheksr chayakhxnglksnwngsthisinchiwitdwykarsngpraharkhxnglksnwngsexng singhikrphph echuxwaerimpraphnthemuxkhrngthwayxksraedecafaxaphrn phayhlngcungaetngthwaykrmhmunxpsrsudaethph aelanacahyudaetnghlngcakkrmhmunxpsrsudaethphsinphrachnm singhitrphphepntwlakhrexkthiaetktangcaktwphraineruxngxun enuxngcakepnkhnrkediywicediywsuphasit swsdirksa khadwapraphnthinsmyrchkalthi 2 khnaepnphraxacarythwayxksraedecafaxaphrn ephlngyawthwayoxwath khadwapraphnthinsmyrchkalthi 3 khnaepnphraxacarythwayxksraedecafaklangaelaecafapiw suphasitsxnhying epnhnunginphlngansungyngepnthiekhluxbaekhlngwa sunthrphuepnphupraphnthcringhruxim ethph sunthrsarthulesnxwanacaepnphlngankhxngphu cullaphmr sisykhxngsunthrphuexng 56 bthlakhr mikarpraphnthiwephiyngeruxngediywkhux xphynurach sungekhiynkhuninsmyrchkalthi 4 ephuxthwayphraxngkhecadwngprapha phrathidainphrabathsmedcphrapineklaecaxyuhw bthespha khunchangkhunaephntxnkaenidphlayngam esphaphrarachphngsawdarbthehklxmphrabrrthm nacaaetngkhunsahrbichkhbklxmhmxmecainphraxngkhecalkkhnanukhun kbphraecalukyaethxinphrabathsmedcphrapineklaecaxyuhw 10 ethathiphbmi 4 eruxngkhux eheruxngphraxphymni eheruxngokhbutr eheruxngcbraba eheruxngkakiechingxrrth imekhil irth epnphuechiywchaydanxusakhenysuksa aelankekhiynpracakhxngnitysar silpwthnthrrm sungchanaydanprawtisastraelaphasasastr epnphuesnxthvsdiekiywkbsilacarukhlkthihnungwaimichmrdkcakyukhsuokhthy tnchbbkhxngsunthrphu bathniklawwa aemnepnthaxaiphkhxihphi epnrachsihsmsuepnkhusxngxangxing 1 0 1 1 1 2 phnthuthiphy thiraentr 26 mithunayn ph s 2558 epideruxngcring sunthrphu thikhruimekhysxn mtichnxxniln subkhnemux 27 mithunayn 2558 Check date values in accessdate date help 2 0 2 1 Thailand s Shakespeare Sunthorn Phu xngkvs xngkh brrcun syamhlakephahlayphnthu krungethph mtichn 2553 hna 129 xngkh brrcun syamhlakephahlayphnthu krungethph mtichn 2553 hna 135 5 0 5 1 epluxng n nkhr sunthrphukhrukwi krungethph sankphimphkhawfang mithunayn 2542 6 0 6 1 6 2 6 3 6 4 praomthy thsnasuwrrn ethiywipkbsunthrphu krungethph sankphimphdxkhya minakhm 2540 lxm ephngaekw okhtryatisunthrphu cak nitysarsilpwthnthrrm chbbphiess minakhm 2529 phimphrwmelmin sunthrphu xalksnecackrwal odysankphimphmtichn ph s 2547 wdpakhawkhrawrunru eriynekhiyn sunthrphu nirassuphrrn krungethph krmsilpakr thasutrsxnesmiyn smudnxy edinrawangrawngewiyn hwangwd pakhawna ekhychunklunklinsrxy swathhangklangswn sunthrphu nirassuphrrn krungethph krmsilpakr 10 0 10 1 10 2 10 3 smakhmphasaaelahnngsuxaehngpraethsithyinphrabrmrachupthmph xnusrnsunthrphu 200 pi krungethph 2529 sunthrphu nirasemuxngaeklng krungethph krmsilpakr 12 00 12 01 12 02 12 03 12 04 12 05 12 06 12 07 12 08 12 09 12 10 12 11 12 12 12 13 12 14 12 15 12 16 smedc krmphrayadarngrachanuphaph chiwitaelangankhxngsunthrphu krungethph krmsilpakr ph s 2518 13 0 13 1 13 2 sunthrphu kwiexkkhxngithy aelaeruxngcringthikhwrru eriyberiyngcaknganwicyeruxng chiwprawtikhxngphrasunthrowhar phu phueruxhngs ody ethph sunthrsarthul 2533 khawkrathrwngsuksathikar mithunayn 2548 praomthy thsnasuwrrn ethiywipkbsunthrphu xangenuxkhwamcakhnngsux sunthrphuaenwihm khxng darng echlimwngs krungethph sankphimphdxkhya minakhm 2540 15 0 15 1 epluxng n nkhr sunthrphukhrukwi xangthungphraniphnthkhxngkrmhmunphithyalngkrn inhnngsux samkrung krungethph sankphimphkhawfang mithunayn 2542 16 0 16 1 sunthrphu nirasphuekhathxng krungethph krmsilpakr khnekaelakhwamhlng eruxngody prayxm sxngthxng nitysar FORMULA chbbeduxn tulakhm pi 2549 khxlmn chiwitkhuxkhwamrunrmy 18 0 18 1 phaxb opsakvsna xnusrnsunthrphu 200 pi khana krungethph xmrinthrkarphimph 2529 thungsurapharxdimwxdway imiklkrayaeklngeminkekinip sunthrphu nirasphuekhathxng krungethph krmsilpakr xnphrikithyibphkchiehmuxnsika txngoryhnaesiyskhnxyxrxyic cngthrabkhwamtamcringthuksingsin xyanukninthaaeklngaehnngichn sunthrphu nirasphuekhathxng krungethph krmsilpakr xnunghyingthingstyeratdkhad thungenuxnathrrmchatiimprarthna sunthrphu nirasphraprathm krungethph krmsilpakr 22 0 22 1 sunthrphu ephlngyawthwayoxwath krungethph krmsilpakr sunthrphu nirasphraprathm krungethph krmsilpakr sunthrphu khunchangkhunaephn txn kaenidphlayngam khunaephnsxnphlayngam krungethph krmsilpakr sunthrphu phraxphymni phravisisxnsudsakhr krungethph krmsilpakr 26 0 26 1 26 2 26 3 26 4 26 5 26 6 26 7 nithi exiywsriwngs sunthrphu mhakwikradumphi exksarprakxbsmmna prawtisastrsngkhmsmytnkrungethph chmrmprawtisastrsuksa 19 mkrakhm 2524 phimphrwmelmin sunthrphu mhakwikradumphi silpwthnthrrmchbbphiess krungethph sankphimphmtichn krkdakhm 2545 imekhil irth phraxphymni wrrnkrrmbxnthalayephuxsrangsrrkh cak sunthrphu mhakwikradumphi silpwthnthrrmchbbphiess krungethph sankphimphmtichn krkdakhm 2545 rchkalthi 2 phrabathsmedcphraphuththelishlanphaly 29 0 29 1 thsphr wngsrtn phraxphymnimacakihn krungethph khxnfxrm 2550 n 12 18 pracks praphaphithyakr ebuxnghlngkaraetngphraxphymni krungethph sankphimphoxediynsotr 2513 chnthichy kraaessinthu xnusrnsunthrphu 200 pi sunthrphududaw smakhmphasaaelahnngsuxaehngpraethsithy krungethph 2529 sunthrphu phraxphymni txnthi 18 phraxphymniodysareruxxusern krungethph krmsilpakr sucitt wngseths phraxphymni michakxyuthaelxndamn xangebngkxl aelamhasmuthrxinediy cakhnngsux esrsthkic karemuxng eruxngsunthrphu mhakwikradumphi krungethph mtichn 2545 n 225 phrayapriytithrrmthada aeph talalksmn prawtisunthrphu cak hnngsuxxnusrninnganchapnkic nangcnthr talalksmn 2533 phimphkhrngthi 2 ph s 2533 xangthungtnchbblaymux ph s 2456 1 kwi 4 caphwk cak Lexitron Dictionary ikhrimipkcngcakhaaethlng thngkhnfngkhnxansaraesdng sunthrphu nirasphrabath krungethph krmsilpakr khidkhdkhwangxyangcaphaeluxdtakraedn bndalepnplwkplxngkhunhxngnxn kdesuxsadkhadpruthalusmud esiydaysudaesnrkeruxngxksr sunthrphu raphnphilap krungethph krmsilpakr ecux staewthin sunthrphu krungethph suththisarkarphimph 2516 n 39 xangcak xnusrnsunthrphu 200 pi krungethph smakhmphasaaelahnngsuxaehngpraethsithy 2529 n 202 39 0 39 1 phiyoy sricalxng khwamyingihyaehngwrrnkhdirtnoksinthr krungethph krafikesnetxr 2548 thnit xyuophthi bnthukeruxngphuaetngnirasdngrng cakbthnainhnngsux chiwitaelangankhxngsunthrphu krungethph krmsilpakr ph s 2518 prawtikarphimphithy cak saranukrmsahrbeyawchn elm 18 42 0 42 1 santi phkdikha epnxalksnnkelngthaephlngyaw ekhmrlawluxeluxngthungemuxngnkhr khwamsmphnthwrrnkrrmsunthrphukbwrrnkrrmekhmr in sunthrphuinprawtisastrsngkhmrtnoksinthrmummxngihm chiwitaelaphlngan kthm mtichn 2550 phraxphymni chbbaeplphasaxngkvs odyphraxngkhecaeprmburchtr bnewbistxemsxndxtkhxm nirasemuxngephchr ody sunthrphu chbbithy xngkvs Journey to Petchburi A Poem by Suthorn Phu phlnganlakhrtang khxngphthrawdiethiyetxr aephnkaraesdngpi 2552 ornglakhraehngchatiphakhtawntk c suphrrnburi rstal cakewbist bankhnrksunthraphrn ecakhxngtalrkhwankhunpintn rawngtntinmuxramdmn ehmuxnkhbkhnkhahwanrakhaykhrn thaphlngphlnecbxkehmuxntktal sunthrphu nirasphrabath krungethph krmsilpakr 49 0 49 1 49 2 epluxng n nkhr prawtiwrrnkhdiithy krungethph ithywthnaphanich 2543 ethiynwrrn wicarnngansunthrphu kaenid phraxphymni thimacak aehwnthxngkhapradbephchr ethiynwrrn wicarnngansunthrphu kaenid phraxphymni thimacak aehwnthxngkhapradbephchr silpwthnthrrm subkhnemux 6 krkdakhm 2562 Karen Ann Hamilton Sunthorn Phu 1786 1855 the People s Poet of Thailand PDF Fulbright Hays Curriculum Project Thailand amp Laos 2003 xngkvs hmudkwicudthi 24 bankra lxm ephngaekw okhtryatisunthrphu cak nitysarsilpwthnthrrm chbbphiess minakhm 2529 phimphrwmelmin sunthrphu xalksnecackrwal odysankphimphmtichn ph s 2547 wrrnsilpsomsr wdethphthidaram kutisunthrphu wnsunthrphu chumnumkhrusastrxasa sthabnethkhonolyiphracxmeklaecakhunthharladkrabng 56 0 56 1 56 2 eruxngthikhnphbihmekiywkb sunthrphu krathrwngwthnthrrm 22 singhakhm 2556 subkhnemux 27 kumphaphnth 2557 Check date values in accessdate date help aehlngkhxmulxunwikisxrs mingantnchbbekiywkb phlngankhxngsunthrphukhxmmxns miphaphaelasuxekiywkb phrasunthrowhar phu kxngthunsunthrphu prawtiphrasunthrowhar prawtisunthrphuaelaeruxngelaphraxphymniepnphasaxngkvs aeplodyphraxngkhecaeprmburchtr smakhmnkklxnaehngpraethsithy prawtisunthrphuduephimrayphranamaelaraynambukhkhlsakhykhxngolkchawithyodyyuensokekhathungcak https th wikipedia org w index php title phrasunthrowhar phu amp oldid 9539003, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม