fbpx
วิกิพีเดีย

ภาษาเบงกอล

ภาษาเบงกอล (เบงกอล: বাংলা, บังลา) เป็นภาษาที่พูดโดยประชากรของประเทศบังกลาเทศและรัฐเบงกอลตะวันตกในประเทศอินเดียซึ่งติดกับบังกลาเทศ นอกจากนี้ยังมีชุมชนของคนที่พูดภาษาเบงกอลที่ใหญ่พอควรในรัฐอัสสัม (อีกรัฐในอินเดีย ติดกับทั้งรัฐเบงกอลตะวันตกและประเทศบังกลาเทศ) และในประชากรที่อพยพไปทางตะวันตกและตะวันออกกลาง รูปแบบมาตรฐานของภาษานี้เรียกว่า cholit bhaashaa: จลิตภาษา เป็นภาษาย่อยที่พูดกันมากที่สุด มีแบบมาจาก "Calcutta Bengali" (ภาษาเบงกอลที่พูดในเมืองกัลกัตตา) ในประเทศบังกลาเทศ เขียนด้วยอักษรเบงกอล

ภาษาเบงกอล
বাংলা บังลา
ออกเสียงbaŋla
ประเทศที่มีการพูดบังกลาเทศ อินเดีย และประเทศอื่น
ภูมิภาคส่วนตะวันออกของเอเชียใต้
จำนวนผู้พูด207 ล้าน  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
อินโด-ยูโรเปียน
สถานภาพทางการ
ภาษาทางการบังกลาเทศ อินเดีย รัฐเบงกอลตะวันตกในอินเดีย
ผู้วางระเบียบบัณฑิตยสถานบังลา
รหัสภาษา
ISO 639-1bn
ISO 639-2ben
ISO 639-3ben

ในภาษาอังกฤษคำว่า Bengali เป็นคำที่ใช้เรียกทั้งภาษาและคนที่พูดภาษานี้ ในภาษาเบงกอลเองเรียกภาษาว่า Bangla bhasa: บังลา ภาษา (বাংলা ভাষা) ซึ่งเป็นคำที่เริ่มใช้มากขึ้นในภาษาอังกฤษ ส่วนในภาษาเบงกอล ชาวเบงกอลเรียกว่า Bangali: บางาลี (বাঙালি); ถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมเนียมของชาวเบงกอลเรียกว่า Bengal: เบงกอล ในภาษาอังกฤษ และ Bonggo: บองกอ (বঙ্গ) ในภาษาเบงกอล; "Bangladesh: บังลาเทศ" (বাংলাদেশ) เป็นคำที่ใช้เรียกภูมิภาคของชาวเบงกอลก่อนที่จะมีการแยกเป็นสองส่วน คือ เบงกอลตะวันตก (West Bengal หรือ Poshchim Bangla: ปอศชิม บังลา) ซึ่งได้กลายเป็นรัฐหนึ่งของอินเดีย และส่วนตะวันออก (เบงกอลตะวันออก: East Bengal หรือ Purbo Bangla: ปูร์บอ บังลา) กลายเป็นประเทศบังกลาเทศ

เนื่องจากมีผู้ใช้ภาษาเบงกอลมากกว่า 250 ล้านคนทั่วโลก ชีค ฮาซินา วาเจด นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ เสนอเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ให้สหประชาชาตินำภาษาเบงกอลเป็นภาษาราชการของสหประชาชาติซึ่งปัจจุบันมีอยู่แล้ว 6 ภาษา คือภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษารัสเซีย ภาษาจีน และภาษาอาหรับ

ประวัติ

 
อนุสรณ์ของการต่อสู้เพื่อภาษาเบงกอลที่กรุงธากา
 
หน้าจากชรรยปท
 
ภาษาเบงกอลเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มภาษาอินโด-อารยันตะวันออกซึ่งแสดงด้วยสีเหลือง

ภาษาเบงกอลเป็นภาษาในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันตะวันออก พัฒนามาจากภาษาในยุคกลางคือภาษาปรากฤตมคธและภาษาไมถิลี ซึ่งเป็นภาษาดั้งเดิมที่เคยมีบันทึกในบริเวณนี้และเป็นภาษาในสมัยพุทธกาลด้วย ภาษาเหล่านี้ต่อมาพัฒนาไปเป็นภาษาอรธามคธี และพัฒนาต่อไปเป็นกลุ่มภาษาอปภรัมสะ ภาษากลุ่มนี้ที่ใช้พูดทางตะวันออกคือภาษาปุรวี อปภรัมสะ ได้พัฒนาต่อไปเป็นสำเนียงท้องถิ่นสามกลุ่มคือ ภาษาพิหาร ภาษาโอริยา และภาษาเบงกอล-อัสสัม ในส่วนของภาษาเบงกอลนั้น แบ่งเป็นสามช่วงคือ

  • ภาษาเบงกอลโบราณ (พ.ศ. 1443/1543 – 1943) เอกสารที่สำคัญได้แก่ จรรยปทะ เกิดการใช้สรรพนาม Ami, tumi การผันกริยาด้วย -ila, -iba ภาษาโอริยาและภาษาอัสสัมแยกออกไปในช่วงนี้
  • ภาษาเบงกอลยุคกลาง (พ.ศ. 1943 – 2343) เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาเปอร์เซีย
  • ภาษาเบงกอลใหม่ (หลัง พ.ศ. 2343) ทำให้การผันคำนาม คำกริยาสั้นลง

ภาษาเบงกอลได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤตมากขึ้นในยุคกลาง ภาษาอินโด-อารยันสมัยใหม่ในเอเชียใต้ เช่น ภาษาปัญจาบ ภาษาสินธี และภาษาคุชราตได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับและภาษาเปอร์เซียมาก ซึ่งต่างจากภาษาเบงกอลและภาษาไมถิลี ที่ยังรักษารากศัพท์ที่มาจากภาษาสันสกฤตไว้ได้ ไวยากรณ์และพจนานุกรมภาษาเบงกอลฉบับแรกจัดทำขึ้นโดยมิชชันนารีชาวโปรตุเกสระหว่าง พ.ศ. 2277 - 2285

เมื่อดินแดนที่เป็นประเทศบังกลาเทศในปัจจุบันได้รับเอกราชในฐานะปากีสถานตะวันออกที่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศปากีสถานได้มีการจัดตั้งขบวนการภาษาเบงกอลเมื่อ พ.ศ. 2494 – 2495 เพื่อเรียกร้องให้ใช้ภาษาเบงกอลเป็นภาษาราชการในปากีสถานตะวันออก ซึ่งในขณะนั้น มีภาษาอูรดูเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียว ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 นักศึกษาที่ประท้วงถูกเผาโดยทหารและตำรวจในมหาวิทยาลัยธากา ทำให้นักศึกษาสามคนและประชาชนจำนวนมากถูกฆ่า ต่อมา ใน พ.ศ. 2542 สหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 21 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันสากลแห่งภาษาแม่ เพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ดังกล่าว.

ไวยากรณ์

ดูบทความหลักที่: ไวยากรณ์ภาษาเบงกอล

คำนามในภาษาเบงกอลไม่มีการกำหนดเพศ ทำให้มีการผันคำน้อย คำคุณศัพท์ คำนาม และสรรพนามมี 4 การก คำกริยามีรูปแบบการผันมาก แต่ต่างจากภาษาฮินดีที่ไม่มีการผันคำกริยาตามเพศ

การเรียงลำดับคำ

ภาษาเบงกอลเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา เชื่อมคำในประโยคด้วยปรบท คำคุณศัพท์ จำนวนและการกแสดงความเป็นเจ้าของนำหน้าคำนาม คำถามแบบใช่/ไม่ใช่ ไม่ต้องมีการเปลี่ยนลำดับคำในประโยค

คำนาม

คำนามและคำสรรพนามมีการผันตามการกจำนวน 4 การกคือ ประธาน กรรม ความเป็นเจ้าของและแสดงตำแหน่ง มีการเติมคำนำหน้านามชี้เฉพาะได้แก่ -টা -ţa (เอกพจน์) หรือ -গুলা -gula (พหูพจน์) นามมีการผันตามจำนวนด้วย ภาษาเบงกอลมีลักษณนามเช่นเดียวกับภาษาญี่ปุ่น ภาษาจีนและภาษาไทย ลักษณนามที่ใช้โดยทั่วไปคือ -টা –ţa แต่มีลักษณนามบางคำใช้กับนามเฉพาะ เช่น -জন –jon ใช้กับคน

คำกริยา

คำกริยาแบ่งได้เป็นสองระดับคือคือกริยาแท้และกริยาไม่แท้ กริยาไม่แท้ไม่มีการผันตามกาลของบุคคล ในขณะที่กริยาแท้มีการผันตามจุดมุ่งหมาย กาล และบุคคลแต่ไม่ผันตามจำนวน นอกจากนั้น ภาษาเบงกอลมีความต่างจากภาษาในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันอื่น ๆ คือสามารถละกริยาที่เป็น verb to be แบบที่พบในภาษารัสเซียและภาษาฮังการี

คำศัพท์

ในภาษาเบงกอลมีคำศัพท์มากกว่า 100,000 คำ โดยครึ่งหนึ่งเป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤต ราว 20% มีรากศัพท์ร่วมกับภาษาสันสกฤต ที่เหลือเป็นคำยืมจากภาษาอื่นโดยเฉพาะภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติก อย่างไรก็ตาม ในภาษาเบงกอลสมัยใหม่ นิยมใช้ศัพท์ที่มีรากศัพท์ร่วมกับภาษาสันสกฤต มากกว่าคำที่ยืมจากภาษาสันสกฤต ส่วนคำยืมมีที่ใช้น้อยลง

ในบริเวณเบงกอลเป็นบริเวณที่มีการติดต่อกับชาวต่างชาติมากมาย ทั้งชาวยุโรป อินเดียสมัยราชวงศ์โมกุล ชาวอาหรับ ชาวเติร์ก ชาวเปอร์เซีย ชาวอัฟกัน และชาวเอเชียตะวันออก ภาษาเบงกอลจึงมีคำยืมจากภาษาของกลุ่มชนเหล่านี้ ซึ่งต่างกันไปตามระดับของความใกล้ชิดในการติดต่อ มีการยืมคำจากภาษาของเพื่อนบ้าน เช่น ภาษาฮินดี ภาษาอัสสัม และภาษาในตระกูลออสโตรเอเชียติกโดยเฉพาะภาษาสันตาลี การรุกรานของเปอร์เซียและตะวันออกกลางทำให้มีคำยืมจากภาษาเปอร์เซีย ภาษาอาหรับ ภาษาตุรกี และภาษาปาทาน ในสมัยอาณานิคม ภาษาเบงกอลได้รับอิทธิพลจากภาษาในยุโรป เช่น ภาษาโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศส ภาษาดัตช์ และภาษาอังกฤษ

ระบบการเขียน

ภาษาเบงกอลเขียนด้วยอักษรเบงกอลซึ่งเป็นอักษรนครีตะวันออกชนิดหนึ่ง ใช้แพร่หลายในบังกลาเทศและอินเดียตะวันออก พัฒนามาจากอักษรพราหมี อักษรเบงกอลมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอักษรโอริยา อักษรเบงกอลนี้เมื่อมีการปรับปรุงเล็กน้อย จะใช้เขียนภาษาอื่นอีกหลายภาษา เช่นภาษาอัสสัม ภาษามณีปุรี และภาษาสิลเหต

การถอดอักษรเบงกอลเป็นอักษร ใช้ตามระบบของภาษาสันสกฤตหรือภาษาในประเทศอินเดียรวมทั้งหอสมุดแห่งชาติกัลกัตตา

เสียง

ในทางสัทศาสตร์ ภาษาเบงกอลมีพยัญชนะ 29 เสียง และสระ 14 เสียงรวมทั้งสระนาสิก 7 เสียง มีเสียงสระประสมมาก การเน้นเสียงมักเน้นที่พยางค์แรกของคำ ความสั้นยาวของเสียงสระไม่มีความสำคัญในภาษาเบงกอล

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์

ภาษาเบงกอลเป็นภาษาที่ใช้พูดเป็นภาษาแม่ทางตะวันออกของเอเชียใต้ ในบริเวณที่เรียกเบงกอล ในปัจจุบัน คือประเทศบังกลาเทศและรัฐเบงกอลตะวันตกในประเทศอินเดีย รวมทั้งบางส่วนในรัฐอัสสัม นอกจากนั้น ยังมีผู้พูดภาษาเบงกอลในตะวันออกกลาง ยุโรป อเมริกาเหนือ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สถานการณ์เป็นภาษาราชการ

ภาษาเบงกอลเป็นภาษาราชการของประเทศบังกลาเทศ และเป็นภาษาราชการในรัฐเบงกอลตะวันตกและรัฐตรีปุระในอินเดีย และเป็นภาษาหลักในหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ เป็นภาษาราชการร่วมของรัฐอัสสัม

สำเนียง

มีความผันแปรในแต่ละท้องถิ่นที่พูดภาษาเบงกอล โดยแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้สี่กลุ่มคือ ราธ พังคะ กามรูป และวเรนทระ สำเนียงทางตะวันตกเฉียงใต้หรือราธเป็นพื้นฐานของภาษาเบงกอลมาตรฐาน ส่วนสำเนียงทางตะวันออกจะได้รับอิทธิพลจากกลุ่มภาษาทิเบต-พม่ามาก ทำให้บางสำเนียงมีความแตกต่างของเสียงวรรณยุกต์ในสำเนียงในบริเวณจิตตะกองและจักมา บางสำเนียงถูกจัดเป็นภาษาเอกเทศต่างหากเช่นภาษาฮาชอง แม้จะคล้ายกับภาษาเบงกอลสำเนียงทางเหนือ

ระหว่างการจัดมาตรฐานภาษาเบงกอลในพุทธศตวรรษ 24-25 ศูนย์กลางของวัฒนธรรมเบงกอลอยู่ที่กัลกัตตา ทำให้สำเนียงทางตะวันตกตอนกลางกลายเป็นสำเนียงมาตรฐานทั้งในเบงกอลตะวันตกและบังกลาเทศ แต่ภาษาเบงกอลในสองบริเวณนี้ก็มีการใช้คำศัพท์ที่แตกต่างกัน แม้จะเป็นคำศัพท์ในภาษาเบงกอลเดิมเหมือนกัน เช่น คำว่าเกลือ ทางตะวันตกใช้ noon ส่วนทางตะวันออกใช้ lôbon

รูปแบบของภาษาพูดและภาษาเขียน

ภาษาเบงกอลเป็นภาษาที่มีความแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียน ภาษาเขียนมีสองแบบคือ

  • สาธุภาษา ((সাধুভাষা) เป็นรูปแบบการเขียนที่มีการผันคำกริยาแบบยาว และใช้ศัพท์ที่มาจากภาษาสันสกฤต เพลงชาติเป็นตัวอย่างการใช้สาธุภาษา แต่รูปแบบการเขียนสมัยใหม่ ไม่นิยมใช้สาธุภาษา
  • ชลติภาษา (চলতিভাষা) เป็นรูปแบบการเขียนภาษาเบงกอลสมัยใหม่ ที่ใช้กริยาในรูปสั้น และเป็นภาษามาตรฐานในปัจจุบัน เริ่มใช้เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 สำเนียงที่ใช้เป็นพื้นฐานคือสำเนียงในศานติปุระ รัฐเบงกอลตะวันตก

ภาษาพูดของภาษาเบงกอลมีความหลากหลายเช่นเดียวกัน ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐเบงกอลตะวันตกรวมทั้งในกัลกัตตาพูดสำเนียงมาตรฐานของภาษาเบงกอล ส่วนอื่น ๆ ของเบงกอลตะวันตกและทางตะวันตกของบังกลาเทศพูดสำเนียงที่มีความแตกต่างไปเล็กน้อย ในขณะที่คนส่วนใหญ่ในบังกลาเทศพูดสำเนียงที่ต่างไปจากภาษามาตรฐานโดยเฉพาะบริเวณจิตตะกอง นอกจากนั้น ชาวเบงกอลที่นับถือศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลามใช้ภาษาที่ต่างกัน ผู้นับถือศาสนาฮินดูนิยมใช้ศัพท์ที่มาจากภาษาสันสกฤต ส่วนมุสลิมนิยมใช้ศัพท์ที่มาจากภาษาอาหรับและเปอร์เซียแม้จะมีความหมายเหมือนกัน เช่น

  • สวัสดี: nômoshkar (สันสกฤต) กับ assalamualaikum/slamalikum (อาหรับ)
  • เชื้อเชิญ: nimontron/nimontonno (สันสกฤต) กับ daoat (อาหรับ)
  • น้ำ : jol (สันสกฤต) กับ pani (สันสกฤต)
  • พ่อ : baba (เปอร์เซีย) corresponds to abbu/abba (อาหรับ)

อ้างอิง

  1. บังกลาเทศเสนอยูเอ็น ใช้เบงกอล เป็นภาษาราชการ
  2. Subir Bhaumik (22 December 2009). "Bengali 'should be UN language'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2010-01-25.
  3. "Dhaka Medical College Hostel Prangone Chatro Shomabesher Upor Policer Guliborshon. Bishwabidyalayer Tinjon Chatroshoho Char Bekti Nihoto O Shotero Bekti Ahoto". The Azad (ภาษาBengali). 22 February 1952.
  4. "Amendment to the Draft Programme and Budget for 2000-2001 (30 C/5)" (PDF). General Conference, 30th Session, Draft Resolution. UNESCO. 1999. สืบค้นเมื่อ 2008-05-27.
  5. "Resolution adopted by the 30th Session of UNESCO's General Conference (1999)". International Mother Language Day. UNESCO. สืบค้นเมื่อ 2008-05-27.
  6. Bhattacharjee, Kishalay (30 April 2008). "It's Indian language vs Indian language". ndtv.com. สืบค้นเมื่อ 2008-05-27.
  7. "Hajong". The Ethnologue Report. สืบค้นเมื่อ 2006-11-19.
  8. . Bengal Telecommunication and Electric Company. คลังข้อมูลเก่า เก็บจาก แหล่งเดิม เมื่อ 2011-07-07. สืบค้นเมื่อ 2006-11-20.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • ดาวน์โหลดฟอนต์เบงกอล
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ในภาษาเบงกอล

ภาษาเบงกอล, เบงกอล, งลา, เป, นภาษาท, ดโดยประชากรของประเทศบ, งกลาเทศและร, ฐเบงกอลตะว, นตกในประเทศอ, นเด, ยซ, งต, ดก, บบ, งกลาเทศ, นอกจากน, งม, มชนของคนท, ดท, ใหญ, พอควรในร, ฐอ, สส, กร, ฐในอ, นเด, ดก, บท, งร, ฐเบงกอลตะว, นตกและประเทศบ, งกลาเทศ, และในประชากรท, อพ. phasaebngkxl ebngkxl ব ল bngla epnphasathiphudodyprachakrkhxngpraethsbngklaethsaelarthebngkxltawntkinpraethsxinediysungtidkbbngklaeths nxkcakniyngmichumchnkhxngkhnthiphudphasaebngkxlthiihyphxkhwrinrthxssm xikrthinxinediy tidkbthngrthebngkxltawntkaelapraethsbngklaeths aelainprachakrthixphyphipthangtawntkaelatawnxxkklang rupaebbmatrthankhxngphasanieriykwa cholit bhaashaa clitphasa epnphasayxythiphudknmakthisud miaebbmacak Calcutta Bengali phasaebngkxlthiphudinemuxngklktta inpraethsbngklaeths ekhiyndwyxksrebngkxlphasaebngkxlব ল bnglaxxkesiyngbaŋlapraethsthimikarphudbngklaeths xinediy aelapraethsxunphumiphakhswntawnxxkkhxngexechiyitcanwnphuphud207 lan imphbwnthi trakulphasaxinod yuorepiyn xinod xiereniynxinod xarynekhttawnxxkxpphrnsa xwahtthaphasaebngkxlsthanphaphthangkarphasathangkarbngklaeths xinediy rthebngkxltawntkinxinediyphuwangraebiybbnthitysthanbnglarhsphasaISO 639 1bnISO 639 2benISO 639 3beninphasaxngkvskhawa Bengali epnkhathiicheriykthngphasaaelakhnthiphudphasani inphasaebngkxlexngeriykphasawa Bangla bhasa bngla phasa ব ল ভ ষ sungepnkhathierimichmakkhuninphasaxngkvs swninphasaebngkxl chawebngkxleriykwa Bangali bangali ব ঙ ল thinthixyuxasytamthrrmeniymkhxngchawebngkxleriykwa Bengal ebngkxl inphasaxngkvs aela Bonggo bxngkx বঙ গ inphasaebngkxl Bangladesh bnglaeths ব ল দ শ epnkhathiicheriykphumiphakhkhxngchawebngkxlkxnthicamikaraeykepnsxngswn khux ebngkxltawntk West Bengal hrux Poshchim Bangla pxschim bngla sungidklayepnrthhnungkhxngxinediy aelaswntawnxxk ebngkxltawnxxk East Bengal hrux Purbo Bangla purbx bngla klayepnpraethsbngklaethsenuxngcakmiphuichphasaebngkxlmakkwa 250 lankhnthwolk chikh hasina waecd naykrthmntribngklaeths esnxemuxeduxnknyayn ph s 2552 ihshprachachatinaphasaebngkxlepnphasarachkarkhxngshprachachatisungpccubnmixyuaelw 6 phasa khuxphasaxngkvs phasafrngess phasasepn phasarsesiy phasacin aelaphasaxahrb 1 2 enuxha 1 prawti 2 iwyakrn 2 1 kareriyngladbkha 2 2 khanam 2 3 khakriya 3 khasphth 4 rabbkarekhiyn 5 esiyng 6 karaephrkracaythangphumisastr 7 sthankarnepnphasarachkar 8 saeniyng 9 rupaebbkhxngphasaphudaelaphasaekhiyn 10 xangxing 11 aehlngkhxmulxunprawti aekikh xnusrnkhxngkartxsuephuxphasaebngkxlthikrungthaka hnacakchrrypth phasaebngkxlepnswnhnungkhxngklumphasaxinod xaryntawnxxksungaesdngdwysiehluxng phasaebngkxlepnphasainklumphasaxinod xaryntawnxxk phthnamacakphasainyukhklangkhuxphasaprakvtmkhthaelaphasaimthili sungepnphasadngedimthiekhymibnthukinbriewnniaelaepnphasainsmyphuththkaldwy phasaehlanitxmaphthnaipepnphasaxrthamkhthi aelaphthnatxipepnklumphasaxpphrmsa phasaklumnithiichphudthangtawnxxkkhuxphasapurwi xpphrmsa idphthnatxipepnsaeniyngthxngthinsamklumkhux phasaphihar phasaoxriya aelaphasaebngkxl xssm inswnkhxngphasaebngkxlnn aebngepnsamchwngkhux phasaebngkxlobran ph s 1443 1543 1943 exksarthisakhyidaek crryptha ekidkarichsrrphnam Ami tumi karphnkriyadwy ila iba phasaoxriyaaelaphasaxssmaeykxxkipinchwngni phasaebngkxlyukhklang ph s 1943 2343 epnchwngthiidrbxiththiphlcakphasaepxresiy phasaebngkxlihm hlng ph s 2343 thaihkarphnkhanam khakriyasnlngphasaebngkxlidrbxiththiphlcakphasasnskvtmakkhuninyukhklang phasaxinod xarynsmyihminexechiyit echn phasapycab phasasinthi aelaphasakhuchratidrbxiththiphlcakphasaxahrbaelaphasaepxresiymak sungtangcakphasaebngkxlaelaphasaimthili thiyngrksaraksphththimacakphasasnskvtiwid iwyakrnaelaphcnanukrmphasaebngkxlchbbaerkcdthakhunodymichchnnarichawoprtueksrahwang ph s 2277 2285emuxdinaednthiepnpraethsbngklaethsinpccubnidrbexkrachinthanapakisthantawnxxkthiepnswnhnungkhxngpraethspakisthanidmikarcdtngkhbwnkarphasaebngkxlemux ph s 2494 2495 ephuxeriykrxngihichphasaebngkxlepnphasarachkarinpakisthantawnxxk sunginkhnann miphasaxurduepnphasarachkarephiyngphasaediyw inwnthi 21 kumphaphnth ph s 2495 nksuksathiprathwngthukephaodythharaelatarwcinmhawithyalythaka thaihnksuksasamkhnaelaprachachncanwnmakthukkha 3 txma in ph s 2542 shprachachatiidkahndihwnthi 21 kumphaphnthkhxngthukpiepnwnsaklaehngphasaaem ephuxralukthungphuesiychiwitinehtukarndngklaw 4 5 iwyakrn aekikhdubthkhwamhlkthi iwyakrnphasaebngkxl khanaminphasaebngkxlimmikarkahndephs thaihmikarphnkhanxy khakhunsphth khanam aelasrrphnammi 4 kark khakriyamirupaebbkarphnmak aettangcakphasahindithiimmikarphnkhakriyatamephs kareriyngladbkha aekikh phasaebngkxleriyngpraoykhaebbprathan krrm kriya echuxmkhainpraoykhdwyprbth khakhunsphth canwnaelakarkaesdngkhwamepnecakhxngnahnakhanam khathamaebbich imich imtxngmikarepliynladbkhainpraoykh khanam aekikh khanamaelakhasrrphnammikarphntamkarkcanwn 4 karkkhux prathan krrm khwamepnecakhxngaelaaesdngtaaehnng mikaretimkhanahnanamchiechphaaidaek ট ţa exkphcn hrux গ ল gula phhuphcn nammikarphntamcanwndwy phasaebngkxlmilksnnamechnediywkbphasayipun phasacinaelaphasaithy lksnnamthiichodythwipkhux ট ţa aetmilksnnambangkhaichkbnamechphaa echn জন jon ichkbkhn khakriya aekikh khakriyaaebngidepnsxngradbkhuxkhuxkriyaaethaelakriyaimaeth kriyaimaethimmikarphntamkalkhxngbukhkhl inkhnathikriyaaethmikarphntamcudmunghmay kal aelabukhkhlaetimphntamcanwn nxkcaknn phasaebngkxlmikhwamtangcakphasainklumphasaxinod xarynxun khuxsamarthlakriyathiepn verb to be aebbthiphbinphasarsesiyaelaphasahngkarikhasphth aekikhinphasaebngkxlmikhasphthmakkwa 100 000 kha odykhrunghnungepnkhayumcakphasasnskvt raw 20 miraksphthrwmkbphasasnskvt thiehluxepnkhayumcakphasaxunodyechphaaphasaintrakulxxsotrexechiytik xyangirktam inphasaebngkxlsmyihm niymichsphththimiraksphthrwmkbphasasnskvt makkwakhathiyumcakphasasnskvt swnkhayummithiichnxylnginbriewnebngkxlepnbriewnthimikartidtxkbchawtangchatimakmay thngchawyuorp xinediysmyrachwngsomkul chawxahrb chawetirk chawepxresiy chawxfkn aelachawexechiytawnxxk phasaebngkxlcungmikhayumcakphasakhxngklumchnehlani sungtangkniptamradbkhxngkhwamiklchidinkartidtx mikaryumkhacakphasakhxngephuxnban echn phasahindi phasaxssm aelaphasaintrakulxxsotrexechiytikodyechphaaphasasntali karrukrankhxngepxresiyaelatawnxxkklangthaihmikhayumcakphasaepxresiy phasaxahrb phasaturki aelaphasapathan insmyxananikhm phasaebngkxlidrbxiththiphlcakphasainyuorp echn phasaoprtueks phasafrngess phasadtch aelaphasaxngkvsrabbkarekhiyn aekikhphasaebngkxlekhiyndwyxksrebngkxlsungepnxksrnkhritawnxxkchnidhnung ichaephrhlayinbngklaethsaelaxinediytawnxxk phthnamacakxksrphrahmi xksrebngkxlmikhwamsmphnthiklchidkbxksroxriya xksrebngkxlniemuxmikarprbprungelknxy caichekhiynphasaxunxikhlayphasa echnphasaxssm phasamnipuri aelaphasasilehtkarthxdxksrebngkxlepnxksr ichtamrabbkhxngphasasnskvthruxphasainpraethsxinediyrwmthnghxsmudaehngchatiklkttaesiyng aekikhinthangsthsastr phasaebngkxlmiphyychna 29 esiyng aelasra 14 esiyngrwmthngsranasik 7 esiyng miesiyngsraprasmmak karennesiyngmkennthiphyangkhaerkkhxngkha khwamsnyawkhxngesiyngsraimmikhwamsakhyinphasaebngkxlkaraephrkracaythangphumisastr aekikhphasaebngkxlepnphasathiichphudepnphasaaemthangtawnxxkkhxngexechiyit inbriewnthieriykebngkxl inpccubn khuxpraethsbngklaethsaelarthebngkxltawntkinpraethsxinediy rwmthngbangswninrthxssm nxkcaknn yngmiphuphudphasaebngkxlintawnxxkklang yuorp xemrikaehnux aelaexechiytawnxxkechiyngitsthankarnepnphasarachkar aekikhphasaebngkxlepnphasarachkarkhxngpraethsbngklaeths aelaepnphasarachkarinrthebngkxltawntkaelarthtripurainxinediy 6 aelaepnphasahlkinhmuekaaxndamnaelaniokhbar epnphasarachkarrwmkhxngrthxssmsaeniyng aekikhmikhwamphnaeprinaetlathxngthinthiphudphasaebngkxl odyaebngepnklumihyidsiklumkhux rath phngkha kamrup aelawernthra saeniyngthangtawntkechiyngithruxrathepnphunthankhxngphasaebngkxlmatrthan swnsaeniyngthangtawnxxkcaidrbxiththiphlcakklumphasathiebt phmamak thaihbangsaeniyngmikhwamaetktangkhxngesiyngwrrnyuktinsaeniynginbriewncittakxngaelackma bangsaeniyngthukcdepnphasaexkethstanghakechnphasahachxng aemcakhlaykbphasaebngkxlsaeniyngthangehnux 7 rahwangkarcdmatrthanphasaebngkxlinphuththstwrrs 24 25 sunyklangkhxngwthnthrrmebngkxlxyuthiklktta thaihsaeniyngthangtawntktxnklangklayepnsaeniyngmatrthanthnginebngkxltawntkaelabngklaeths aetphasaebngkxlinsxngbriewnnikmikarichkhasphththiaetktangkn aemcaepnkhasphthinphasaebngkxledimehmuxnkn echn khawaeklux thangtawntkich noon swnthangtawnxxkich lobon 8 rupaebbkhxngphasaphudaelaphasaekhiyn aekikhphasaebngkxlepnphasathimikhwamaetktangrahwangphasaphudaelaphasaekhiyn phasaekhiynmisxngaebbkhux sathuphasa স ধ ভ ষ epnrupaebbkarekhiynthimikarphnkhakriyaaebbyaw aelaichsphththimacakphasasnskvt ephlngchatiepntwxyangkarichsathuphasa aetrupaebbkarekhiynsmyihm imniymichsathuphasa chltiphasa চলত ভ ষ epnrupaebbkarekhiynphasaebngkxlsmyihm thiichkriyainrupsn aelaepnphasamatrthaninpccubn erimichemuxrawphuththstwrrsthi 24 saeniyngthiichepnphunthankhuxsaeniynginsantipura rthebngkxltawntkphasaphudkhxngphasaebngkxlmikhwamhlakhlayechnediywkn thangtawnxxkechiyngitkhxngrthebngkxltawntkrwmthnginklkttaphudsaeniyngmatrthankhxngphasaebngkxl swnxun khxngebngkxltawntkaelathangtawntkkhxngbngklaethsphudsaeniyngthimikhwamaetktangipelknxy inkhnathikhnswnihyinbngklaethsphudsaeniyngthitangipcakphasamatrthanodyechphaabriewncittakxng nxkcaknn chawebngkxlthinbthuxsasnahinduaelasasnaxislamichphasathitangkn phunbthuxsasnahinduniymichsphththimacakphasasnskvt swnmuslimniymichsphththimacakphasaxahrbaelaepxresiyaemcamikhwamhmayehmuxnkn echn swsdi nomoshkar snskvt kb assalamualaikum slamalikum xahrb echuxechiy nimontron nimontonno snskvt kb daoat xahrb na jol snskvt kb pani snskvt phx baba epxresiy corresponds to abbu abba xahrb xangxing aekikh bngklaethsesnxyuexn ichebngkxl epnphasarachkar Subir Bhaumik 22 December 2009 Bengali should be UN language BBC News subkhnemux 2010 01 25 Dhaka Medical College Hostel Prangone Chatro Shomabesher Upor Policer Guliborshon Bishwabidyalayer Tinjon Chatroshoho Char Bekti Nihoto O Shotero Bekti Ahoto The Azad phasaBengali 22 February 1952 Amendment to the Draft Programme and Budget for 2000 2001 30 C 5 PDF General Conference 30th Session Draft Resolution UNESCO 1999 subkhnemux 2008 05 27 Resolution adopted by the 30th Session of UNESCO s General Conference 1999 International Mother Language Day UNESCO subkhnemux 2008 05 27 Bhattacharjee Kishalay 30 April 2008 It s Indian language vs Indian language ndtv com subkhnemux 2008 05 27 Hajong The Ethnologue Report subkhnemux 2006 11 19 History of Bengali Banglar itihash Bengal Telecommunication and Electric Company khlngkhxmuleka ekbcak aehlngedim emux 2011 07 07 subkhnemux 2006 11 20 aehlngkhxmulxun aekikhdawnohldfxntebngkxl wikiphiediy saranukrmesri inphasaebngkxlekhathungcak https th wikipedia org w index php title phasaebngkxl amp oldid 9577833, wikipedia, วิกิ หนังสือ, หนังสือ, ห้องสมุด,

บทความ

, อ่าน, ดาวน์โหลด, ฟรี, ดาวน์โหลดฟรี, mp3, วิดีโอ, mp4, 3gp, jpg, jpeg, gif, png, รูปภาพ, เพลง, เพลง, หนัง, หนังสือ, เกม, เกม