fbpx
วิกิพีเดีย

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (IATA: BKKICAO: VTBS) เป็นสนามบินที่ตั้งอยู่ที่ถนนเทพรัตนและทางพิเศษบูรพาวิถี ในเขตตำบลหนองปรือและตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานครประมาณ 25 กิโลเมตร เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์เต็มรูปแบบอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 รัฐบาลได้กำหนดให้ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานหลักของประเทศไทยแทนท่าอากาศยานดอนเมือง และตั้งเป้าให้เป็นศูนย์กลางการบินในทวีปเอเชีย อีกทั้งการเน้นพัฒนาคุณภาพการให้บริการของท่าอากาศยานให้ได้รับการจัดอันดับ 1 ใน 10 ท่าอากาศยานที่มีคุณภาพการบริการดีที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2553ปัจจุบัน นาวาอากาศโท สุธีรวัฒน์ สุวรรณวัฒน์ เป็นผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

Suvarnabhumi Airport
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
ผู้ดำเนินงานบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
พื้นที่บริการกรุงเทพมหานคร
สถานที่ตั้งถนนเทพรัตน ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ฐานการบินPassenger

Secondary Hub

Cargo

  • K-Mile Air
เมืองสำคัญ
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล2 เมตร / 5 ฟุต
เว็บไซต์suvarnabhumi.airportthai.co.th/
แผนที่
BKK /VTBS
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
01R/19L 4,000 13,123 ยางมะตอย
01L/19R 3,700 12,139 ยางมะตอย
ลานวิ่งที่ 3 (กำลังก่อสร้าง) 4,000 13,123 ยางมะตอย
สถิติ (2019)
Total passengers65,425,879 3.23%
International passengers52,933,212 4.05%
Domestic passengers11,967,340 0.87%
Aircraft movements380,067 2.86%
Freight & Mail (tonnes)1,324,268 11.39%
Sources:AOT 2019

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีหอควบคุมที่สูงเป็นอันดับ 1 ของโลก (132.2 เมตร) และอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก (563,000 ตารางเมตร) ปัจจุบันเป็นหนึ่งในท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยในปี พ.ศ. 2562 มีผู้โดยสารมากเป็นอันดับที่ 19 ของโลก 65,421,844 ราย ในปีเดียวกันท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีจำนวนสินค้าทางอากาศยานมากเป็นอันดับที่ 21 ของโลก จากการจัด อันดับท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนขนส่งสินค้า โดยปริมาณขนส่งอยู่ที่ 1,326,914 ตันต่อมาใน ปี พ.ศ. 2564 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังมีพื้นที่เชิงตารางกิโลเมตรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 10 ของท่าอากาศยานทั่วโลกโดยพื้นที่รวมของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิคือ 32.4 ตารางกิโลเมตร (32.4 km2)

อย่างไรก็ตามจำนวนเที่ยวบินช่วงที่การควบคุมจราจรทางอากาศหนาแน่นมากที่สุดตามรายงานของ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ได้แก่ เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินระหว่างประเทศมากถึง 25,881 เที่ยวบิน เที่ยวบินภายในประเทศ 8,106 รวม 33,987 เที่ยวบินซึ่งเป็นสถิติเที่ยวบินระหว่างประเทศมากที่สุดตั้งแต่ดำเนินกิจการ รองลงมาคือ เดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินระหว่างประเทศมากถึง 25,629 เที่ยวบิน เที่ยวบินภายในประเทศ 7,660 รวม 33,289 เที่ยวบิน ตลอดปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนเที่ยวบินรวมทั้งสิ้น 380,067 เที่ยวบิน

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้บริการสายการบินที่ทำการบินแบบประจำในช่วง 27 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 สูงสุด 104 สายการบิน ขนส่งอากาศยาน 11 สายการบิน และสายการบินเช่าเหมาลำ 1 สายการบิน สายการบินเช่าเหมาลำภายในประเทศทำการบินไปสนามบินเกาะไม้ซี้ 1 สายการบิน รวม 117 สายการบิน ซึ่งถือว่าบริการตามจำนวนสายการบินมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก (สามารถรองรับเที่ยวบิน 76 เที่ยวต่อชั่วโมงและผู้โดยสาร 45 ล้านคนต่อปี) และศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ (สามารถรองรับสินค้าได้ 3 ล้านตันต่อปี) นอกจากนี้ยังมีทางหลวงพิเศษที่ทันสมัยซึ่งเชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยาน กรุงเทพมหานคร และนิคมอุตสาหกรรมอิสเทิร์น ซีบอร์ด สายการบินหลายแห่ง ได้แก่ การบินไทย การบินไทยสมายล์ บางกอกแอร์เวย์ และไทยเวียดเจ็ทแอร์ ได้เลือกท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นศูนย์กลางการบิน

ชื่อสนามบิน

ชื่อสุวรรณภูมิ มีความหมายว่า "แผ่นดินทอง" เป็นชื่อที่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้พระราชทานเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2543 โดยใช้แทนชื่อเดิมคือ "หนองงูเห่า" พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิในวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2545

ตัวสะกดชื่อของสนามบินใน อักษรโรมัน คือ "Suvarnabhumi" ซึ่งเป็นการสะกดตามหลักการเทียบ อักษรไทย เป็นอักษรโรมันแบบภาษาบาลีและสันสกฤต มิได้ใช้ระบบ การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียงของราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งจะสะกดได้ว่า "Suwannaphum"

ประวัติ

การซื้อที่ดินและการก่อสร้างในช่วงแรก

แนวคิดในการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 2 ในกรุงเทพมหานครเริ่มมีขึ้นในปี พ.ศ. 2503 ในสมัยรัฐบาลจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการจัดตั้ง "สภาเศรษฐกิจแห่งชาติ" ในสมัยจอมพล แปลก พิบูลสงคราม เช่นเดียวกับการศึกษาของบริษัทลิตช์ฟีลด์และ สำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐอเมริกาซึ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการสร้างท่าอากาศยานพาณิชย์แห่งที่ 2 ในกรุงเทพมหานคร รัฐบาลจึงเริ่มเวนคืนและจัดซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ใช้เวลานานกว่า 14 ปี ในพื้นที่ตำบลหนองปรือ ตำบลบางโฉลง และตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ พื้นที่ที่เวนคืนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ตำบลหนองปรือ ทำให้หมู่บ้านหายไปกว่า 7 หมู่ครึ่ง โดยรัฐบาลจะจ่ายเงินให้ครอบครัวละ 800,000 บาท นอกจากนี้ ยังมีการเคลื่อนย้ายศาสนสถาน 1 แห่ง และโรงเรียนอีก 3 แห่งไปสร้างบริเวณใหม่

รัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร ให้สัมปทานแก่บริษัทนอร์ททรอปแห่งสหรัฐอเมริกา แต่ยังไม่ทันก่อสร้างก็เกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา จนสัมปทานถูกยกเลิก ต่อมารัฐบาลพลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาแทมส์เพื่อศึกษาพื้นที่ในการก่อสร้างท่าอากาศยานแห่งใหม่ จนเมื่อ พ.ศ. 2521 ก็ได้ข้อสรุปตามเดิมว่า หนองงูเห่าเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุด เมื่อถึง พ.ศ. 2534 รัฐบาล อานันท์ ปันยารชุน ของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) โดยมติคณะรัฐมนตรี อนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างท่าอากาศยานกรุงเทพแห่งที่ 2 ณ บริเวณหนองงูเห่า โดยมอบหมายให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน) เป็นผู้ดำเนินการ และต่อมาในรัฐบาล ชวน หลีกภัย ได้อนุมัติงบประมาณ 120,000 ล้านบาท เพื่อใช้ดำเนินโครงการ และให้การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ไม่ต้องนำเงินกำไร 50% ส่งเข้าคลังเป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้มีงบประมาณเพียงพอที่จะอพยพโยกย้ายประชาชนออกจากพื้นที่เวนคืน

หลังจากความไม่แน่นอนมานานหลายทศวรรษ ในปี พ.ศ. 2539 จึงมีการจัดตั้ง "บริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด" แต่การก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เพิ่งจะสามารถเริ่มขึ้นได้ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 ในสมัยรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร สืบเนื่องมาจากการขาดเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ ที่สำคัญได้แก่ วิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 โดยก่อนหน้านั้นมีการปรับปรุงพื้นที่เป็นเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2540–พ.ศ. 2544) ต่อมาในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2549 มีการโอนหน้าที่อำนวยการก่อสร้างและการจัดการให้แก่บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) พร้อมทั้งปิดกิจการบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ปีเดียวกัน

การก่อสร้าง

สถาปนิกผู้ออกแบบอาคาร คือ เฮลมุต ยาห์น ชาวอเมริกัน-เยอรมัน และบริษัทเมอร์ฟี/ยาห์น ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่เมืองชิคาโก สหรัฐอเมริกา แต่แบบอาคารในท่าอากาศยานเป็นจำนวนมากได้ถูกปรับเปลี่ยนขนาด และวัสดุก่อสร้างจากแบบเดิมไปในหลายส่วน เช่น เพิ่มการประดับยักษ์ และสถาปัตยกรรมไทยเพิ่มเข้าไปโดยสถาปนิกชาวไทย เป็นต้น

รายชื่อบริษัทที่ร่วมก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ:

งบประมาณการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิร้อยละ 50 เป็นงบประมาณของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ในขณะที่อีกร้อยละ 50 มาจากข้อตกลงระหว่างท่าอากาศยานไทยกับ ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น ฝ่ายจัดหาที่เกี่ยวข้องกับสนามบินปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่นอย่างเคร่งครัดในด้านความโปร่งใสและการเปิดเผย ถึงแม้ว่าท่าอากาศยานดังกล่าวก่อสร้างขึ้นตามนโยบายประชานิยม ดังที่เคยประกาศไว้ว่าท่าอากาศยานดังกล่าวสำหรับผู้โดยสาร แต่บริษัทส่งออกทั้งไทยและต่างประเทศก็ต้องการให้มีการก่อสร้างท่าอากาศยานตามทางหลวงพิเศษระหว่างโรงงานอุตสาหกรรม กรุงเทพมหานคร และแหลมฉบัง ด้วยเช่นกัน

ปัญหาในการวางแผนก่อสร้าง

ระหว่างการวางแผนและก่อสร้างสนามบินนั้น โครงการได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งอุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนั้น และที่เกรงว่าอาจจะเกิดในอนาคต ปัญหาเหล่านี้ถูกยกเป็นประเด็นในแวดวงวิชาการ วิชาชีพ และในสื่อ ปัญหาในการวางแผนก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสามารถประมวลได้ดังนี้:

ปัญหาทางเทคนิควิศวกรรม สถาปัตยกรรม

  • ในการก่อสร้างช่วงแรก พบปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่การก่อสร้าง
  • ปัญหาการทรุดตัวไม่เท่ากัน ของแต่ละช่วงของ ทางขึ้นลงของเครื่องบิน และทางเชื่อมไปยังรันเวย์ (แท็กซี่เวย์) เนื่องจากเทคนิคการถมและบดอัด
  • ปัญหาคุณภาพและความคงทนของวัสดุผ้าใบหลังคาอาคารผู้โดยสาร
  • ปัญหาระบบปรับอากาศ เครื่องทำความเย็นต้องใช้พลังงานและกระแสไฟฟ้ามาก เพราะผนังอาคารเป็นกระจกและเพดานสูง 20 เมตร ทำให้ต้องใช้ระบบหล่อน้ำเย็นใต้พื้นชดเชย ซึ่งทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายและการดูแลยากกว่าระบบทั่วไป สิ้นเปลืองพลังงานและต้องเสียค่าน้ำเย็นจากโรงทำน้ำเย็น
  • ปัญหาระบบเสียง อะคูสติกไม่มีวัสดุกรุผนังอื่น นอกจากกระจก ทำให้ไม่ส่งเสริมให้เกิดการกระจายเสียงที่ดี อาจก่อให้เกิดปัญหาในการกระจายเสียงได้
  • ปัญหาจำนวนห้องสุขา ไม่ได้ตามมาตรฐานอาคารสาธารณะขนาดใหญ่พิเศษ
  • ปัญหาความพร้อมของระบบตามมาตรฐานการบินนานาชาติ ซึ่งมีผลต่อการเปิดสนามบิน ที่มีการเลื่อนวันเปิดไป-มา จนมาลงเอยที่วันที่ 28 กันยายน 2549 ซึ่งเช้ามืดในวันดังกล่าวจะมีการหยุดใช้สนามบินนานาชาติกรุงเทพ (ดอนเมือง) อย่างถาวร จึงจะต้องมีการขนย้ายทุกอย่างให้จบสิ้นลง ก่อให้เกิดปัญหาต่อผู้ดำเนินกิจการสายการบินต่างๆ เป็นอันมาก
  • ปัญหาหลังคารั่ว - ในวันที่ 18 กันยายน 2549 ขณะยังไม่เปิดการบริการทางพาณิชย์อย่างเต็มที่นั้น หลังคาอาคารผู้โดยสารได้เกิดรั่ว เนื่องจากซิลิโคนที่เชื่อมกระจกหลุด ซึ่งอาจเกิดจากการถูกขูดระหว่างพนักงานทำความสะอาดกระจกหลังคา นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาลอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่าจะซ่อมเสร็จภายในกำหนดการเปิดใช้ และหลังจากนั้น 1 ปีแล้วทุกอย่างจะเสร็จสมบูรณ์

ปัญหาการพัฒนาพื้นที่

จากการสัมมนาทางวิชาการหลายเวที โดยเฉพาะทางด้านวิชาชีพสถาปัตยกรรม ผังเมือง และวิศวกรรม ได้แก่ การสัมมนาทางวิชาการในงานสถาปนิก 49, การสัมมนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จากวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมสถาปนิกสยาม สมาคมนักผังเมืองไทย การสัมมนาทางวิชาการที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่าที่ตั้งของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีปัญหาด้านการพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ อาจสรุปเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้

  • ปัญหาด้านเสียงจากการจราจรทางอากาศ ต่อการพัฒนาที่ดินเป็นแหล่งพักอาศัยโดยรอบ
  • ปัญหาน้ำท่วมของพื้นที่โดยรอบและใกล้เคียง เนื่องจากบริเวณดังกล่าวเป็นแนวระบายน้ำหลักและพื้นที่หน่วงน้ำ "แก้มลิง" ด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานคร
  • ปัญหาระบบจราจรและโครงข่ายถนนเพื่อการเข้าถึงสนามบิน ระบบป้ายนำทาง ความสะดวกของผู้ใช้สนามบินในการเดินทางไปยังอาคารผู้โดยสาร

ปัญหาอื่น

  • การออกแบบที่ยังไม่อำนวยความสะดวกให้กับคนพิการ โดยไม่คำนึงถึงการให้บริการในส่วนที่คนพิการจะสามารถใช้งานได้ ซึ่งในระดับสากลแล้วการสร้างระบบการให้บริการจำเป็นต้องมี และทางหน่วยงานคนพิการทั้งหลายในประเทศไทยเอง พยายามเสนอวิธีแก้ไขปัญหา แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับอย่างชัดเจน
  • เนื่องจากอาคารผู้โดยสารสายต่างประเทศและภายในอยู่ในที่เดียวกัน ทำให้ระยะทางเดินต่อเครื่อง ยาวโดยเฉลี่ย 800-1,000 เมตร หรือในจุดที่ยาวสุดระยะทางถึง 3,000 เมตรนั้น เป็นระยะทางที่ไกล ก่อให้เกิดปัญหาได้ในกรณีที่ระยะเวลาต่อเครื่องนั้นกระชั้นชิด อีกทั้งไม่มีรถรางขนส่งดังเช่นแผนเดิมที่ออกแบบไว้

อุบัติเหตุ

  • ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554 สายการบินควอนตัส เที่ยวบิน QF2 เครื่องทะเบียน VH-OJT แจ้งลงฉุกเฉินที่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเนื่องจากเครื่องยนต์เสีย
  • ในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556 การบินไทย เที่ยวบินที่ 679 A330-300 ทะเบียน HS-TEF ล้อหักในขณะที่เครื่องบินทำการจอดที่รันเวย์
  • ในวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558 เจ้าหน้าที่ตรวจวัสดุแปลกปลอมบนลานจอดเสียชีวิตเนื่องจากถูกรถรถแทรกเตอร์ลากจูงตู้สินค้าชน
  • ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ไทยรีเจียนัลแอร์ไลน์ เครื่องบินทะเบียน HS-FGB ตก มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 5 ราย ที่คลองหนองจอก เขตหนองจอก ห่างจาก ท่าอากาศยานประมาณ 15 กิโลเมตร
  • ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560 แอโรฟลอต เที่ยวบินที่ SU-270 ประสบอุบัติเหตุตกหลุมอากาศมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 27 คน
  • ในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561 การบินไทย เที่ยวบินที่ 679 B747-400 ทะเบียน HS-TGF เครื่องบินไถลออกนอกรันเวย์

การทดสอบสนามบิน และการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ

เดิมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีกำหนดการเปิดในตอนปลายปี พ.ศ. 2548 แต่ก็ถูกเลื่อนออกไปเนื่องจากข้อบกพร่องในการก่อสร้าง และข้อกล่าวหาในการฉ้อราษฎร์บังหลวง นอกจากนี้ ยังมีปัญหาในทางความเชื่ออีกว่า ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีวิญญาณสิงสถิตอยู่ ซึ่งคนงานก่อสร้างที่เห็นวิญญาณเหล่านั้นเกิดความกลัว ดังนั้น เมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2548 ท่าอากาศยานไทยจึงได้จัดพิธีสวดมนต์ของพระสงฆ์ 99 รูปเพื่อสะกดดวงวิญญาณ

สนามบินได้เปิดทดลองเต็มรูปแบบ และมีการขายตั๋วที่นั่งให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก เกิดขึ้นในเช้าวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 โดยมีสายการบินภายในประเทศ 6 สายการบินร่วมทดลอง ได้แก่ การบินไทย นกแอร์ ไทยแอร์เอเชีย บางกอกแอร์เวย์ พีบีแอร์ และโอเรียนท์ ไทย แอร์ไลน์ จาก 20 เที่ยวบินภายในประเทศโดยเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ภายในประเทศเที่ยวแรกคือ TG1881 ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-ภูเก็ต ส่วนเที่ยวบินทดสอบระหว่างประเทศเที่ยวบินแรกเกิดขึ้นในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยมีการส่งเครื่องบินไทย 2 ลำไปยังสิงคโปร์ และฮ่องกง ซึ่งเป็นการทดสอบทั้งความสามารถของท่าอากาศยานในการรองรับการจราจรทางอากาศที่แออัด และในวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ทำการบินนำผู้โดยสารไปยังท่าอากาศยานอินชอนประเทศเกาหลีใต้ TG6561 นับเป็นเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ระหว่างประเทศเที่ยวบินแรกของสุวรรณภูมิ

ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2549 ท่าอากาศยานเริ่มเปิดให้บริการเที่ยวบินรายวันอย่างจำกัด โดยเจ็ตสตาร์ เอเชีย แอร์เวย์ มีเที่ยวบิน 3 เที่ยวต่อวันไปยังสิงคโปร์ ส่วนการบินไทยมีเที่ยวบินภายในประเทศไปยังจังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดอุบลราชธานี ตามด้วยสายการบินบางกอกแอร์เวย์ แอร์เอเชีย ไทยแอร์เอเชีย และนกแอร์ ซึ่งระหว่างช่วงเริ่มต้นใช้งานนั้น ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ใช้รหัสสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศชั่วคราว คือ NBK

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549

ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รับเที่ยวบินจากเอเธนส์ เป็นเที่ยวบินสุดท้าย

ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รับเที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติโออาร์ แทมโบ เมือง โจฮันเนสเบิร์ก เป็นเที่ยวบินสุดท้ายวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รับเที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติโออาร์ แทมโบ เมือง โจฮันเนสเบิร์กอีกครั้งในเที่ยวบิน sa2284

ในวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2558 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิรับเที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติมาดริดบาราคัส เมือง มาดริด เป็นเที่ยวบินสุดท้าย ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2563 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทำรับผู้โดยสารจากท่าอากาศยานมาดริด-บาราฆัสเมือง มาดริดประเทศสเปนอีกครั้งหนึ่งในเที่ยวบิน ib2833 ส่วนเที่ยวบิน ib2836 ทำการบินวันที่ 30 เมษายน 2563 บินไปท่าอากาศยานมาดริด-บาราฆัสเมือง มาดริดประเทศสเปนอีกครั้งนึงในรอบ 4 ปี

การขยายโครงการก่อสร้าง

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา อีพีเอ็ม คอนซอร์เตี้ยม เป็นผู้บริหารจัดการโครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 (ปีงบประมาณ 2554-2560) ทั้งนี้ การขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 62,500 ล้านบาท พร้อมกับจ้างที่ปรึกษาบริหารจัดการโครงการ ซึ่งได้อีพีเอ็ม คอนซอร์เตี้ยม มาเป็นผู้ดำเนินงาน แผนการระยะยาว เราจะพัฒนารันเวย์ให้มีขนาด 4 รันเวย์ ให้ขนานกับตัวอาคารผู้โดยสาร และสร้างอาคารผู้โดยสารย่อยรอบๆ อาคารผู้โดยสารหลัก จะสร้างหลังจากสร้างอาคารผู้โดยสารหลักเสร็จภายใน 3-5 ปี เพื่อเพิ่มพื้นที่การรองรับผู้โดยสารจำนวน 120 ล้านคน หลุมจอดเครื่องบิน 224 หลุมจอด และ 6.4 ล้านตันสำหรับการขนส่งสินค้าต่อปี

ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564 โครงการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิระยะที่ 2 และ การดำเนินงานก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ได้เสร็จสิ้นลง โดยเหลือการตกแต่งสถาปัตยกรรมภายใน และทำการทดสอบระบบการปฏิบัติงานต่างๆ ร่วมกัน ท่าอากาศยานไทย จะเปิดให้บริการ ใน เดือนเมษายน พ.ศ. 2565

การปรับปรุงพัฒนาบริการ

วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 สถานีตำรวจภูธรท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เปิดบริการอย่างเป็นทางการวัตถุประสงค์เพื่อดูแลความเรียบร้อยและความปลอดภัยของคนไทยและชาวต่างชาติ

วันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้กำหนดเริ่มปรับปรุงทางวิ่งอากาศยานฝั่งตะวันออกกำหนดแล้วเสร็จภายใน วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2555 และวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท.ได้ปรับปรุงประสิทธิภาพการตรวจค้นโดยให้บริการตรวจค้นรูปแบบใหม่ซึ่งสามารถตรวจค้นเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า หรือ 3,600 คนต่อชั่วโมงโดยใช้งบลงทุน 155 ล้านบาท

วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2561 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับตำรวจตรวจคนเข้าเมืองให้บริการเปิดช่องทางพิเศษผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองเฉพาะนักท่องเที่ยวที่ถือหนังสือเดินทางประเทศจีน

วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2562 และ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ แอร์ไชน่า ทำการบินรับส่งผู้โดยสารพิเศษที่เข้าร่วม การประชุมสุดยอดอาเซียน ด้วยเครื่องบินชนิดโบอิง 747-8I นับเป็นครั้งแรกที่เครื่องบิน โบอิง 747-8I ซึ่งเป็นเครื่องขนส่งผู้โดยสารขนาดใหญ่รองจาก แอร์บัส เอ380 ทำการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิร่วมกับเตอร์กิชแอร์ไลน์เที่ยวบิน TK65 และ TK69 ทำการบินขนส่งผู้โดยสารไปยังท่าอากาศยานอิสตันบูล เป็นครั้งแรก วันที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยาน​สุวรรณภูมิร่วมกับแอร์ไชนา เที่ยวบิน CA757 ทำการบินขนส่งผู้โดยสารไปยังท่าอากาศยานนานาชาติเป่ย์จิงต้าซิง เป็นปีแรก

รายละเอียดท่าอากาศยาน

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่ ตั้งอยู่ที่ถนนเทพรัตน ประมาณกิโลเมตรที่ 15 อยู่ในเขตตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งอยู่ห่างจากใจกลางกรุงเทพมหานครไปประมาณ 25 กิโลเมตร ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 1 ใช้งบประมาณก่อสร้างในกรอบวงเงิน 123,942.25 ล้านบาท

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีรันเวย์ขนาน 2 เส้น กว้างเส้นละ 60 เมตร ยาว 3,700 เมตร และ 4,000 เมตร ห่างกัน 2,200 เมตร และมีทางขับขนานกับทางวิ่งทั้ง 2 เส้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่อากาศยานขาออกและขาเข้าได้พร้อมกัน และมีหลุมจอดอากาศยาน มีจำนวน 120 หลุมจอด (จอดประชิดอาคาร 51 หลุมจอด และจอดระยะไกลอีก 69 หลุมจอด) รวมถึงหลุมจอดอากาศยานที่สามารถรองรับอากาศยานแอร์บัส เอ 380 ได้ถึง 5 หลุมจอดและระยะไกลอีก3หลุมจอดทำให้สามารถรับได้สูงสุด 8 ลำ รวม 8 หลุมจอด มีท่าเทียบรวม 51 จุด

ในช่วงแรกของการก่อสร้าง ท่าอากาศยานมีศักยภาพรองรับปฏิบัติการเที่ยวบินได้76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง, ผู้โดยสารได้กว่า 45 ล้านคนต่อปี และสินค้า 3 ล้านตันต่อปี และหน้าอาคารผู้โดยสารหลักเป็นโรงแรมภายใต้เครื่องหมายการค้าโนโวเตล ซึ่งมีจำนวน 600 ห้อง อีกทั้งระหว่างอาคารผู้โดยสารและโรงแรมก็มีอาคารจอดรถ 5 ชั้น จำนวน 2 หลัง ซึ่งสามารถรองรับรถยนต์ได้ถึง 5,000 คัน นอกจากนี้ยังมีพื้นที่จอดรถเหนือพื้นดินที่สามารถรองรับรถยนต์ได้อีก 1,000 คัน และพื้นที่จอดรถในระยะยาวที่สามารถรองรับรถยนต์ได้ 4,000 คัน และรถโดยสารอีก 78 คัน

นอกจากนี้ ท่าอากาศยานไทยยังมีแผนการที่จะขยายและปรับปรุงสนามบินสุวรรณภูมิด้วยงบประมาณ 800 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มเป้าผู้โดยสารจาก 45 ล้านคนต่อปี เป็น 80 ล้านคนต่อปี ภายในปี พ.ศ. 2559 และยังเพิ่มความสามารถในการรองรับผู้โดยสารภายในประเทศโดยการลงทุนสร้างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ และทางวิ่งที่สามเพิ่มขึ้นอีก

รายละเอียดส่วนหลักสนามบินสุวรรณภูมิสามารถประมวลได้ ดังนี้:

อาคารผู้โดยสาร

อาคารผู้โดยสารเป็นอาคารเดี่ยว ช่วงกว้าง ไม่มีเสากลางอาคาร มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 563,000 ม.² มี 9 ชั้น รวมชั้นใต้ดิน 2 ชั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้:

  • ชั้นใต้ดิน (B2) - ชานชาลาของสถานีรถไฟฟ้า (เปิดใช้สายละ 1 ชานชาลา)
  • ชั้นใต้ดิน (B1) - สถานีรถไฟฟ้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของโครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
  • ชั้น 1 - สถานีรถโดยสาร ศูนย์การแพทย์ และสำนักงานตรวจสอบไฟฟ้าท่าอากาศยานไทยและศูนย์ควบคุมท่าอากาศยาน
  • ชั้น 2 - ห้องโถงสำหรับผู้โดยสารขาเข้าทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
  • ชั้น 3 - ห้องนั่งเล่น จุดนัดพบ ร้านค้า จุดตรวจ และเคาเตอร์ให้บริการ
  • ชั้น 4 - ห้องโถงสำหรับผู้โดยสารขาออกทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ จุดตรวจควบคุมภาษีศุลกากร ศูนย์ราชการบางแห่ง บูทสายการบิน และเคาเตอร์ข้อมูลสนามบิน
  • ชั้น 5 - สำนักงานบริษัทการบินไทย และกลุ่มสายการบินสตาร์ อัลไลแอนซ์
  • ชั้น 6 - สำนักงานสายการบิน
  • ชั้น 7 - ชั้นชมทัศนียภาพ
พื้นที่ตรวจบัตรโดยสารภายในอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

การจัดแสดงงานศิลปะและวัฒนธรรมไทย

 
รูปปั้นตำนานกวนเกษียรสมุทร ที่ชั้นขาออก สนามบินสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้มีการติดตั้งผลงานศิลปะไทย ทั้งภายในและภายนอกอาคารของสนามบินสุวรรณภูมิ มูลค่ารวมกันทั้งสิ้นกว่า 100 ล้านบาท เพื่อเป็นการสร้างความประทับใจในบรรยากาศประเทศไทย ด้วยการสะท้อนความงามของศิลปะและวัฒนธรรมไทย เช่น ประติกรรมจำลองยักษ์จากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จำนวน 12 คน ซึ่งเป็นตัวละครจากเรื่องรามเกียรติ์ มูลค่า 48 ล้านบาท ภาพจิตรกรรมฝาผนังจำลองของศิลปินที่มีชื่อเสียงของไทย เป็นต้น

งานภูมิทัศน์

 
สวน "ชนบท" ด้านนอกอาคารสนามบินสุวรรณภูมิ

งานออกแบบภูมิทัศน์โดยรอบสนามบินและภายในส่วนเปิดโล่งของอาคารผู้โดยสารมีลักษณะของความเป็นไทย เดิมออกแบบโดย ปีเตอร์ วอล์กเกอร์ ภูมิสถาปนิกชาวอเมริกัน วอล์กเกอร์ระบุว่า ภูมิทัศน์ถนนภายในสนามบินสุวรรณภูมินั้น ประกอบด้วยงานภูมิทัศน์ขนาดใหญ่ที่สามารถสัมผัสได้แม้จากในรถที่กำลังแล่น

ส่วนภูมิทัศน์ภายในท่าอากาศยาน ได้ออกแบบให้เป็นงานภูมิทัศน์ภายในสนามบินขนาดใหญ่แบบ Monumental garden 2 สวน ขนาดพื้นที่ถึงแปลงละ 135×108 ม. ตามแบบเดิมนั้นมีแนวความคิดหลักสองแนวคิด คือ สวน "เมือง" และ สวน "ชนบท" โดยการออกแบบได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดภูมิจักรวาลและอารยธรรมชาวน้ำ

ในเวลาต่อมา เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณและสามารถรองรับการขยายตัวในอนาคต ใน พ.ศ. 2545 ได้มีการเปลี่ยนแปลงแบบใหม่ โดยกลุ่มภูมิสถาปนิกและทีมที่ปรึกษาชาวไทย คือ RPU Design Group ภายใต้การนำของสำนักงานออกแบบระฟ้า ภูมิสถาปนิกที่ร่วมกำหนดแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์ เมื่อ พ.ศ. 2537 ทั้งนี้ยังคงแนวคิดหลักของสวนเมืองและชนบทอยู่ แต่ได้ปรับแนวความคิดในขั้นรายละเอียดและเนื้อหาใหม่

"สวนเมือง" มีลักษณะเป็นสวนน้ำพุ ประดับด้วยกระเบื้อง ประติมากรรมรูปทรงเจดีย์และน้ำพุ ได้อาศัยคติความเชื่อของไทยตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น ความเชื่อเรื่องระบบภูมิจักรวาล อันมีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลาง เรื่องการเลือกทำเลในการตั้งเมืองใกล้น้ำ (อารยชนชาวน้ำ) การใช้เส้นสายที่ปรากฏในจิตรกรรมไทย นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง

ส่วน "สวนชนบท" มีการประดับโดยใช้หญ้าท้องถิ่นและต้นไม้ตัดแต่งรูปฝูงช้าง ได้ใช้ลักษณะภูมิประเทศของไทย ซึ่งประกอบด้วยภูเขา แม่น้ำลำคลองและทุ่งราบ มีภูเขาทองเป็นประธาน ในส่วนประติมากรรมได้ใช้ฝูงนกเป็นกลุ่มๆ ที่สามารถไหวได้ตามแรงลม โดยทั้งสองสวนจะสื่อถึงความเป็นไทย และมีรูปแบบทันสมัยเพื่อให้กลมกลืนกับรูปแบบอาคารสนามบินได้โดยไม่ดูล้าสมัย มีความยืดหยุ่นรองรับการขยายตัวของอาคารผู้โดยสารได้ และการออกแบบองค์ประกอบและพืชพันธุ์ต่าง ๆ ได้คำนึงถึงเรื่องการควบคุมจำนวนนกภายในสนามบินด้วย

สถิติโลก

 
หอบังคับการบินสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก
 
Cessna 208B Grand Caravan ของ สายการบิน ไทย ฟลายอิ้ง เซอร์วิส เครื่องบินเล็กที่สุดที่ทำการบินไปสนามบินเกาะไม้ซี้

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับการกล่าวถึงว่าเป็น "ความภูมิใจของคนไทยทั้งชาติ" และยังเป็นสิ่งก่อสร้างที่ทำลายสถิติโลกในหลายประการ ได้แก่

  • มีหอบังคับการบินที่สูงที่สุดในโลก ด้วยความสูง 132.2 เมตร
  • ล็อบบี้ของโรงแรมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งอยู่ด้านหน้าอาคารผู้โดยสาร มีห้องพักถึง 600 กว่าห้อง เป็นบริเวณล็อบบี้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่ถึง 17 ไร่
  • อาคารผู้โดยสารของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเคยเป็นอาคารผู้โดยสารเดี่ยวที่ถูกบันทึกว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ในการก่อสร้างครั้งเดียว โดยมีพื้นที่ใช้สอยราว 563,000 ม.² แต่ในปัจจุบัน สถิติดังกล่าวตกเป็นของอาคารผู้โดยสารที่ 3 ของท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยราว 1,500,000 ม.²
  • ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีสายการบินประจำที่ทำการบินแบบมีผู้โดยสารและขนส่งสินค้าที่เป็นสายการบินเส้นทางประจำ จำนวน 100 สายการบิน 2 ปีติดต่อกัน
  • ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีสายการบินประจำที่ทำการบินแบบมีผู้โดยสารและขนส่งสินค้าที่เป็นสายการบินเส้นทางประจำ จำนวน 105 สายการบิน มากกว่า 100 สายการบินเป็นปีแรกตั้งแต่เปิดทำการ
  • ตลอดทั้งปี พ.ศ. 2558 ถึง ปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ได้อันดับที่ 9 จากการจัดอันดับท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ ถึง 5 ปีซ้อน โดยในปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศมากกว่า 52,933,565 คน มากกว่า 52 ล้านคนเป็นปีแรก
  • ในปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับการจัดอันดับที่ 19 จากการจัด อันดับท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนผู้โดยสาร 65,421,844 ราย
  • ในปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับการจัดอันดับที่ 10 จากการจัด อันดับท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนผู้โดยสาร เฉพาะท่าอากาศยานในทวีปเอเซีย
  • ในปี พ.ศ. 2561 และ ในปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับการจัดอันดับที่ 21 จากการจัด อันดับท่าอากาศยานที่มีความหนาแน่นสูงสุดในกรณีจำนวนขนส่งสินค้า โดยปริมาณขนส่งในปี พ.ศ. 2562 อยู่ที่ 1,326,914 ตัน
  • ในปี พ.ศ. 2564 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับการจัดลำดับที่ 10 จากกการจัด อันดับท่าอากาศยานที่มีพื้นที่มากที่สุดของโลก โดยพื้นที่รวมของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิคือ 32.4 ตารางกิโลเมตร

สายการบิน

 
จุดหมายปลายทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีการเปลี่ยนแปลงตารางบินในฤดูการเปลี่ยนแปลงตารางบินทุก 6 เดือน ช่วงปลายเดือนตุลาคม และปลายเดือนมีนาคมซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงใหญ่อาจมีการเปลี่ยนแปลงเวลาขึ้นลงของแต่ละสายการบินทั้งนี้เป็นไปตามข้อกำหนดของ IATA อย่างไรก็ตามท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นจุดหมายของสายการบินต่าง ๆ โดยในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560 การบินไทยสมายล์ ได้ย้ายฐานการบินมาที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิทั้งหมด และในปี พ.ศ. 2562 ตลอดทั้งปี มีสายการบินทำการบินทั้งหมด 121 สายการบิน แบ่งเป็นขนส่งผู้โดยสาร 105 สายการบิน ขนส่งอากาศยาน 13 สายการบิน รวมเป็นสายการบินประจำ 118 สายการบินเช่าเหมาลำ ระหว่างประเทศ 2 สายการบิน สายการบินเช่าเหมาลำ ภายในประเทศ 1 สายการบิน นับว่าในแง่ของสายการบินมีจำนวนมากที่สุดนับตั้งแต่เปิดกิจการ เที่ยวบินล่าสุดคือ QW6111 ทำการบินใน วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562​ จากเจิ้งโจว และเที่ยวบิน SC2283 ทำการบินจากเมืองเยียนไถ มณฑลชานตง แวะที่เมืองหลินอี้ มณฑลชานตง

ในอดีตท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเคยมีเที่ยวบินไปกลับระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับ เอเธนส์ มาดริด โจฮันเนสเบิร์ก ลอสแอนเจลิส และ ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี โดยเที่ยวบินจากลอสแอนเจลิส มีทั้งแบบบินตรงเข้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และแบบแวะลงจอดที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน ก่อนที่จะทำการบินเข้ามาที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทำการบินโดยการบินไทย

ท่าอากาศยานสุวรณภูมิเคยรับเที่ยวบินจากสหรัฐอเมริกา จำนวน 4 เมือง เที่ยวบินจากซานฟรานซิสโก แวะพักที่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะปลายทางท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทำการบินโดยในยูไนเต็ดแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ UA837 เที่ยวบินจาก ลอสแอนเจลิส แวะพักที่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ปลายทางท่าอากาศยานสุวรณภูมิ ทำการบินโดยยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ในเที่ยวบินที่ UA891 เที่ยวบินไปกลับจากท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี นิวยอร์ก โดยการบินไทย TG790/TG791

และ เที่ยวบินจากท่าอากาศยานนานาชาติโอแฮร์ ชิคาโก แวะพักที่ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ ปลายทางท่าอากาศยานสุวรณภูมิ ทำการบินโดยยูไนเต็ดแอร์ไลน์ ในเที่ยวบินที่ UA881 ซึ่งเป็นเที่ยวบินที่ทำการบินระยะไกลที่สุดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยไม่เปลี่ยนเครื่องบินตราบจนปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2561 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นท่าอากาศยานที่รับผู้โดยสาร นักบิน และ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จาก 55 ประเทศทั่วโลก หากนับรวมประเทศไทยด้วย ท่าอากาศยานแห่งนี้รับผู้โดยสาร จาก 56 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมากถึงร้อยละ 29 ของจำนวนประเทศทั่วโลก โดยประเทศซาอุดีอาระเบีย ทำการบินเฉพาะช่วงพิธีฮัจญ์ ไม่นับรวมแซ็ง-เดอนี ฮ่องกง และมาเก๊า ซึ่งเป็นเขตปกครองพิเศษ มีจำนวนสายการบินที่ทำการบินทั้งเครื่องขนส่งสินค้าอย่างเดียวและเครื่องขนส่งผู้โดยสารและสินค้าซ้ำกัน 4 สายการบินได้แก่ ไชนาแอร์ไลน์ ออล นิปปอน แอร์เวย์ อีวีเอแอร์ ฮ่องกงแอร์ไลน์

จำนวนประเทศที่บินมากกว่า 3 เมืองขึ้นไป ได้แก่ ประเทศไต้หวัน ประเทศเวียดนาม ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น ประเทศออสเตรเลีย ประเทศอินเดีย ประเทศรัสเซีย และประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2562 มีเครื่องขนส่งสินค้าเพียงอย่างเดียวหรือขนส่งอากาศยาน 13 สายการบิน โดยเที่ยวบินขนส่งสินค้าในไชน่าแอร์ไลน์ อีวีเอแอร์ ออล นิปปอน แอร์เวย์ ฮ่องกงแอร์ไลน์ ไม่ได้นับรวมในสายการบินขนส่งสินค้าเนื่องจากเป็นบริษัทเดียวกันกับที่ทำการบินในเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสาร ยกเว้นสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์กับสิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก แม้ใช้รหัส IATA เดียวกัน แต่ถือเป็นคนละสายการบิน ในปีพ.ศ. 2562ขนส่งอากาศยาน มีสายการบินใหม่ที่ทำการบินมาที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 2 สายการบินได้แก่ สายการบิน มาย เจ็ทเอกซ์เพรส แอร์ไลน์ (MY Jet Xpress Airlines) และสายการบิน หยวนทง คาร์โกแอร์ไลน์ (YTO Cargo Airline)

ในปีเดียวกัน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิรับเครื่องบินแบบแอร์บัส เอ380 มากถึง 6 สายการบิน ได้แก่ การบินไทย เอเชียน่าแอร์ไลน์ ลุฟท์ฮันซ่า เอมิเรตส์แอร์ไลน์ โคเรียนแอร์ และกาตาร์แอร์เวย์

ในปี พ.ศ. 2563 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินภายในประเทศที่ทำการบินแบบประจำมากถึง 18 ท่าอากาศยาน จำนวนทั้งสิ้น 17 จังหวัด ภายในประเทศไทย เที่ยวบินเชิงพาณิชย์ที่มีผู้โดยสารและสินค้าที่บินสั้นที่สุด (แบบเที่ยวบินประจำ) ในปัจจุบันได้แก่เที่ยวบินไปกลับ จากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปท่าอากาศยานตราด ระยะทาง 231 กิโลเมตร ทำการบินโดยบางกอกแอร์เวย์ส ในส่วนเที่ยวบินในเชิงพาณิชย์ที่บินไกลที่สุดในปัจจุบัน (แบบเที่ยวบินประจำ) ได้แก่ เที่ยวบินไปกลับระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ของการบินไทย อีวีเอแอร์ และบริติชแอร์เวย์

เที่ยวบินที่ทำการบินใกล้ที่สุดได้แก่ เที่ยวบินของการบินไทย การบินไทยสมายล์ และบางกอกแอร์เวย์ บินจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไปท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะทางเพียง 131 กิโลเมตร ในเที่ยวบิน TG8422 WE8439 WE8432 และ PG3605ตลอดปี พ.ศ. 2562 มีผู้โดยสารเพียง 2 ราย

ในส่วนของสายการบินที่ทำการบิน (แบบประจำ) เครื่องบินขนาดเล็กที่สุดที่บินที่นี่ ได้แก่ เอทีอาร์ 72 และขนาดใหญ่ที่สุดได้แก่ แอร์บัส เอ380

หากนับเที่ยวบินที่ทำการบินแบบไม่ประจำที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เครื่องบินแบบ เซสน่า 208 คาราวาน ที่ทำการบินไป สนามบินเกาะไม้ซี้ นั้นเป็นเครื่องบินขนาดเล็กที่สุดที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นอกจากนั้นยังมีเที่ยวบินแบบไม่ประจำทำการบินไปยังท่าอากาศยานหัวหินด้วยเครื่องบินแบบ เลียร์เจ็ต 60

สายการบินใหม่

ในปี พ.ศ. 2562 มีสายการบินใหม่ 6 สายการบินที่ทำการบินมาที่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2562 แคมโบเดียแอร์เวย์ เที่ยวบินที่ KR701 ทำการบินจากท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ มาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2562 หยวนทง แอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ YG9021 ทำการบินจาก ท่าอากาศยานนานาชาติซีอานเสียนหยาง มาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ในวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 สายการบินราย่าแอร์ไลน์ (RAYA Airlines Cargo) ทำการบินเที่ยวบิน TH4143 ท่าอากาศยานสุลต่าน อับดุล อาซิซ ชาห์ รัฐเซอลาโงร์ มาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ในวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 สายการบินโกแอร์ ทำการบินจากเดลี มาที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เที่ยวบิน G8 037 ต่อมา ในวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562 สายการบินโกแอร์ทำการบินจากมุมไบ มาที่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เที่ยวบิน G8 025

ในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2562 สายการบิน แอร์ วิสทาร่า เที่ยวบินที่ UK121 ทำการบินจากท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี มายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562 สายการบินชิงเต่าแอร์ไลน์ ทำการบินจากเมืองเจิ้งโจว ในเที่ยวบิน QW6111 และสายการบินซานตงแอร์ไลน์ ทำการบินจากเมืองเยียนไถ มณฑลชานตง แวะที่เมืองหลินอี้ มณฑลชานตง ก่อนบินมายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในเที่ยวบิน SC2283

ในวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2563 อียิปต์แอร์ได้ทำการบินเส้นทางประจำ เครื่องขนส่งสินค้าจากท่าอากาศยานนานาชาติไคโรก่อนลงที่สุวรรณภูมิเที่ยวบิน MS508

เส้นทางการบินที่ให้บริการในปัจจุบัน

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
กัลฟ์แอร์ บาห์เรน
กาตาร์แอร์เวย์ โดฮา
การบินไทย กระบี่, กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ, กว่างโจว, กาฐมาณฑุ, การาจี, โกลกาตา, คุนหมิง, โคเปนเฮเกน, โคลัมโบ–บันดาราไนเก, จาการ์ตา–ซูการ์โน-ฮัตตา, เจนไน, เฉิงตู, เชียงใหม่, ซัปโปโระ–ชิโตเซะ, ซิดนีย์, ซือริช, เซ็นได, เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง, เซี่ยเหมิน, โซล–อินช็อน, ดูไบ–นานาชาติ, เด็นปาซาร์/บาหลี, เดลี, โตเกียว–นาริตะ, โตเกียว-ฮาเนดะ, ไทเป–เถา-ยฺเหวียน, ธากา, นาโงยะ–เซ็นแทรร์, บรัสเซลส์, บริสเบน, เบงคาลูรุ, ปารีส–ชาร์ล เดอ โกล, ปูซาน, ปักกิ่ง–นครหลวง, พนมเปญ, เพิร์ท, แฟรงก์เฟิร์ต, ฟุกุโอกะ, ภูเก็ต, มอสโก–โดโมเดโดโว, มะนิลา, มัสกัต, มิลาน–มัลเปนซา, มิวนิก, มุมไบ, ย่างกุ้ง, โรม–ฟีอูมีชีโน, ลอนดอน–ฮีทโธรว์, เวียงจันทน์, เวียนนา, สต็อกโฮล์ม–อาร์ลันดา, สิงคโปร์, ออสโล–การ์เดอร์มอน, ลาฮอร์, ออกแลนด์, อิสลามาบัด, โอซากะ–คันไซ, ฮ่องกง, ฮานอย, โฮจิมินห์, ไฮเดอราบาด
การบินลาว ปากเซ, เวียงจันทน์, สุวรรณเขต, หลวงพระบาง
การูดาอินโดนีเซีย จาการ์ตา–ซูการ์โน-ฮัตตา
โกแอร์ เดลี, มุมไบ
ควอนตัส ซิดนีย์
คาเธ่ย์แปซิฟิค สิงคโปร์, ฮ่องกง
คุนหมิงแอร์ไลน์ คุนหมิง
คูเวตแอร์เวย์ คูเวต
เคนยาแอร์เวย์ กว่างโจว, ไนโรบี–โจโมเคนยัตตา
เคแอลเอ็ม อัมสเตอร์ดัม
แคมโบเดียแอร์เวย์ พนมเปญ
โคเรียนแอร์ โซล–อินช็อน, ปูซาน
จินแอร์ โซล–อินช็อน, ปูซาน
จุนเหยาแอร์ไลน์ เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง, เสิ่นหยาง
เจซีอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ พนมเปญ, พระสีหนุ, เสียมราฐ
เจ็ตสตาร์แปซิฟิก ฮานอย, โฮจิมินห์
เจ็ตสตาร์เอเชียแอร์เวย์ สิงคโปร์
เจ็ตสตาร์แอร์เวย์ เมลเบิร์น
เจ็ทเอเซีย แอร์เวย์ จาการ์ตา–ซูการ์โน-ฮัตตา, โตเกียว–นาริตะ
เจแปนแอร์ไลน์ โตเกียว–นาริตะ, โตเกียว–ฮาเนดะ, นาโงยะ–เซ็นแทรร์ (สิ้นสุด 28 มีนาคม 2563), โอซากะ–คันไซ
ชานตงแอร์ไลน์ คุนหมิง, จี่หนาน, ชิงเต่า, เซี่ยเหมิน, อุรุมชี
เชจูแอร์ เชจู, โซล–อินช็อน, ปูซาน
ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ กว่างโจว, กุ้ยหยาง, กุ้ยหลิน, จางเจียเจี้ย, เจิ้งโจว, เจียหยาง, ฉางชา, ซานย่า, เซินเจิ้น, เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง, เสิ่นหยาง, หนานหนิง, อุรุมชี, อู่ฮั่น
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ กว่างโจว, คุนหมิง, เฉิงตู, เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง, ไท่-ยฺเหวียน, ปักกิ่ง–นครหลวง, หนานจิง, หลานโจว, เหอเฝย์
เช่าเหมาลำ: ซินโจว
ไชนาแอร์ไลน์ ไทเป–เถา-ยฺเหวียน, เกาสฺยง
ซิปแอร์โตเกียว โตเกียว–นาริตะ (เริ่มต้น 14 พฤษภาคม 2563)
เซบูแปซิฟิก เซบู, มะนิลา
เซินเจิ้นแอร์ไลน์ กว่างโจว, เฉวียนโจว, ซีอาน, เซินเจิ้น, อู๋ซี
เซี่ยเหมินแอร์ ซีอาน, เซี่ยเหมิน, ต้าเหลียน, ปักกิ่ง–นครหลวง, ฝูโจว
ดรุกแอร์ คูวาหตี, คยา, โตเกียว–นาริตะ (เริ่มต้น 2 กันยายน 2563), ธากา (เริ่มต้น 3 มกราคม 2563), พาโร, ภาคโฑครา, สิงคโปร์
เตอร์กิชแอร์ไลน์ อิสตันบูล
เติร์กเมนิสถานแอร์ไลน์ อาชกาบัต
ทีเวย์แอร์ไลน์ โซล–อินช็อน, แทกู
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ กระบี่, เชียงราย, เชียงใหม่, ญาจาง, ดานัง, ด่าหลัต, ไถจง, ภูเก็ต, อุดรธานี, ไฮฟอง, หาดใหญ่, ขอนแก่น, นครศรีธรรมราช, อุบลราชธานี, สุราษฎร์ธานี
เฉพาะฤดูกาล: เกิ่นเทอ
ไทยสมายล์ กระบี่, กว่างโจว, กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ, เกาสฺยง, โกลกาตา, ขอนแก่น, คยา, เจิ้งโจว, ฉงชิ่ง, ฉางชา, ชัยปุระ, เชียงราย, เชียงใหม่, น่านนคร, นครพนม, นครศรีธรรมราช, นราธิวาส, เลย, ปีนัง, พนมเปญ, ภูเก็ต, มัณฑะเลย์, มุมไบ, ลัคเนา, พาราณสี, สุราษฎร์ธานี, เสียมราฐ, หลวงพระบาง, หาดใหญ่, อะห์มดาบาด, อุดรธานี, อุบลราชธานี, ฮ่องกง
ไทยแอร์เอเชีย กระบี่, เชียงใหม่, ภูเก็ต, สุราษฎร์ธานี, น่าน, นครศรีธรรมราช, หาดใหญ่
ไทยอีสตาร์เจ็ท เกาสฺยง (เริ่มต้น 20 มกราคม 2563)
นอร์วีเจียนแอร์ชัทเทิล โคเปนเฮเกน, สต็อกโฮล์ม–อาร์ลันดา (ทั้งหมดสิ้นสุด 27 มีนาคม 2563)
เฉพาะฤดูกาล: ออสโล–การ์เดอร์มอน
เนปาลแอร์ไลน์ กาฐมาณฑุ
บริติชแอร์เวย์ ลอนดอน–ฮีทโธรว์
บางกอกแอร์เวย์ส กระบี่, เกาะสมุย, เชียงใหม่, ญาจาง, ดานัง, ตราด,หาดใหญ่(1 มี.ค.64),แม่สอด(1 ก.พ.64),ขอนแก่น(1 มี.ค.64) เนปยีดอ, พนมเปญ, พระสีหนุ , ฟู้โกว๊ก, ภูเก็ต, มัณฑะเลย์, มาเล, มุมไบ, ย่างกุ้ง, ลำปาง, เวียงจันทน์, สุโขทัย, เสียมราฐ, หลวงพระบาง
พิมานบังคลาเทศแอร์ไลน์ ธากา
ปากีสถานอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ, ลาฮอร์
พีช นาฮะ
ฟินน์แอร์ เฮลซิงกิ
ฟิลิปปินแอร์ไลน์ เซบู, มะนิลา
ภูฏานแอร์ไลน์ โกลกาตา, พาโร
เฉพาะฤดูกาล: คยา
มัลดิเวียน มาเล
มาเลเซียแอร์ไลน์ กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ
มาฮานแอร์ เตหะราน–อิหม่าม โคมัยนี
มีอัตมองโกเลียนแอร์ไลน์ เฉพาะฤดูกาล: อูลานบาตาร์
เมียนมาร์เนชันแนลแอร์ไลน์ มัณฑะเลย์, ย่างกุ้ง
เมียนมาร์แอร์เวย์อินเตอร์เนชันแนล มัณฑะเลย์, ย่างกุ้ง
ยูเครนอินเตอร์เนชั่นแนลแอร์ไลน์ เคียฟ–บอริสพิล (สิ้นสุด 20 มีนาคม 2563)
ยูเอสบังคลาแอร์ไลน์ ธากา, จิตตะกอง
ยูโรวิงส์ มิวนิก
รอยัลจอร์แดเนียน กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ, อัมมาน–สมเด็จพระราชินีอาลียา, ฮ่องกง
รอยัลบรูไนแอร์ไลน์ บันดาร์เซอรีเบอกาวัน
รอสซิยาแอร์ไลน์ เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก
ล็อตโปแลนด์แอร์ไลน์ เช่าเหมาลำเฉพาะฤดูกาล: วอร์ซอ–ชอแป็ง
ลัคกี้แอร์ คุนหมิง, เจิ้งโจว, เฉิงตู
ลุฟท์ฮันซ่า แฟรงก์เฟิร์ต
วิสตารา เดลี
เวียดเจ็ทแอร์ ฮานอย, โฮจิมินห์, ไฮฟอง
เวียดนามแอร์ไลน์ ดานัง, ฮานอย, โฮจิมินห์
ศรีลังกันแอร์ไลน์ โคลัมโบ–บันดาราไนเก
สปริงแอร์ไลน์ กว่างโจว, เจียหยาง, ฉางชุน, ซีอาน, เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง, เป๋ย์ไห่, ลั่วหยาง, สหฺวีโจว, เสิ่นหยาง, หนานชาง, หนิงปัว, หลานโจว, หยางโจว, เหอเฝย์, ฮาร์บิน, ฮูฮอต
สวิสอินเตอร์เนชันแนลแอร์ไลน์ ซือริช
สไปซ์เจ็ต โกลกาตา, เดลี, มุมไบ, อะห์มดาบาด
สิงคโปร์แอร์ไลน์ สิงคโปร์
เสฉวนแอร์ไลน์ เฉิงตู, ซานย่า, ซีอาน, หนานหนิง, หางโจว, ไหโข่ว, อู่อี๋ชาน
หลันเหมยแอร์ไลน์ พนมเปญ, เสียมราฐ
เหอเป่ย์แอร์ไลน์ กุ้ยหยาง, ฉือเจียจวง, เหลียนยฺหวินกั่ง
ไห่หนานแอร์ไลน์ ปักกิ่ง–นครหลวง, ไหโข่ว
ออลนิปปอนแอร์เวย์ โตเกียว–นาริตะ, โตเกียว–ฮาเนดะ
ออสเตรียนแอร์ไลน์ เวียนนา
อินดิโก โกลกาตา, เจนไน, เบงคาลูรุ, พาราณสี, มุมไบ
อียิปต์แอร์ ไคโร, ฮ่องกง
อีวีเอแอร์ ไทเป–เถา-ยฺเหวียน, ลอนดอน–ฮีทโธรว์, เวียนนา, อัมสเตอร์ดัม
อีสตาร์เจ็ต โซล–อินช็อน, ปูซาน
อุซเบกิสถานแอร์เวย์ ทาชเคนต์
อูราลแอร์ไลน์ มอสโก–โดโมเดโดโว, เยคาเตรินบุร์ก, อีร์คุตสค์, อูฟา
เอชเคเอ็กซ์เพรส ฮ่องกง
เอเชียนาแอร์ไลน์ โซล–อินช็อน
เอทิฮัดแอร์เวย์ อาบูดาบี
เอธิโอเปียนแอร์ไลน์ อาดดิสอาบาบา, ฮ่องกง
เอมิเรตส์ ดูไบ–นานาชาติ, พนมเปญ, ฮ่องกง
เอสเซเว่นแอร์ไลน์ ครัสโนยาสค์–นานาชาติ, โนโวซีบีสค์, มอสโก–โดโมเดโดโว, วลาดีวอสตอค, อีร์คุตสค์, อูลาน-อูเด, ฮาบาโรฟสค์
แอร์ไชนา เฉิงตู, เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง, เทียนจิน, ปักกิ่ง–นครหลวง, ปักกิ่ง–ต้าซิง, เวินโจว, หางโจว
แอร์ฟรานซ์ ปารีส–ชาร์ล เดอ โกล
แอร์มาเก๊า มาเก๊า
แอร์ออสทรัล แซ็ง-เดอนี
แอร์อัสตานา นูร์-ซุลตัน, อัลมาเตอ
แอร์อินเดีย โกลกาตา (สิ้นสุด 20 มกราคม 2563), เดลี, เบงคาลูรุ (สิ้นสุด 20 มกราคม 2563), มุมไบ
แอโรฟลอต มอสโก–เชเรเมเตียโว
แอล อัล เทลอาวีฟ
โอเคแอร์เวย์ ซีอาน, เทียนจิน, หนานหนิง
โอมานแอร์ มัสกัต

เที่ยวบินขนส่งสินค้า (คาร์โก)

ในปี พ.ศ. 2562 ถึง ปี พ.ศ. 2564 ขนส่งอากาศยานที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้รับความไว้วางใจทำการบินด้วยเครื่องบินขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ขนาดใหญ่ อาทิ โบอิง747-8F 4 สายการบิน ได้แก่ สายการบิน ยูพีเอส คาร์โกลักซ์ เอเอ็นเอคาร์โก แอร์บริจคาร์โก และ ทำการบินด้วย โบอิง747-4F 6 สายการบิน อีวีเอแอร์คาร์โก โคเรียนแอร์คาร์โก ไชนาแอร์ไลน์คาร์โก สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก เนชั่นแนล แอร์ไลน์ เอเชียนาคาร์โก เที่ยวบินขนส่งท่าอากาศยานเป็นเที่ยวบินที่ทำการบินระหว่างทวีปอเมริกาเหนือ กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่มีเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสารไปกลับ ทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560

ต่อไปนี้เป็นสายการบินขนส่งอากาศยานที่ทำการบิน ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
คาร์โกลักซ์ เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง, เซี่ยเหมิน, บากู, ลักเซมเบิร์ก โดฮา กวาดาลาฮารา
คาร์โกลักซ์ อิตาเลียนแอร์ไลน์ ลักเซมเบิร์ก
เอมิเรตส์ เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง ดูไบ
คาเธ่ย์แปซิฟิคคาร์โก ปีนัง, สิงคโปร์, ฮ่องกง
เค-ไมล์ แอร์ จาการ์ตา–ซูการ์โน-ฮัตตา, พนมเปญ, สิงคโปร์, ฮ่องกง, ฮานอย, โฮจิมินห์
โคเรียนแอร์คาร์โก เจนไน, โซล–อินช็อน, สิงคโปร์
คาร์โกโลจิกส์แอร์ แฟรงก์เฟิร์ต
ไชนาคาร์โกแอร์ไลน์ เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง
ไชนาแอร์ไลน์คาร์โก เฉิงตู, ไทเป–เถา-ยฺเหวียน, ลักเซมเบิร์ก, อาบูดาบี
ซูพาร์นาแอร์ไลน์ เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง
นิปปงคาร์โกแอร์ไลน์ โตเกียว–นาริตะ, สิงคโปร์
เนชั่นแนล แอร์ไลน์ ฮ่องกง
มายเจ็ท เอกซ์เพรส ฮานอย,ปีนัง
ราย่า แอร์ไลน์ รัฐเซอลาโงร์,ฮานอย
ภูฏาน แอร์ไลน์ พาโร
เฟดเอกซ์ เอกซ์เพรส กว่างโจว, ปีนัง
ยูเอสพีแอร์ไลน์ โคโลญ/บ็อน, มุมไบ
หยวนทง คาร์โกแอร์ไลน์ ซีอาน
สิงคโปร์แอร์ไลน์คาร์โก เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง, สิงคโปร์
สกาย แคปปิตอล คาร์โก ธากา
เอเอ็นเอคาร์โก โตเกียว–นาริตะ, ไทเป–เถา-ยฺเหวียน, สิงคโปร์, โอซากะ–คันไซ
แอร์บริจคาร์โก มอสโก , ฮ่องกง
อีวีเอแอร์คาร์โก จาการ์ตา–ซูการ์โน-ฮัตตา, ไทเป–เถา-ยฺเหวียน, ปีนัง, สิงคโปร์, ฮานอย
เทียนจินแอร์คาร์โก เจิ้งโจว
เอเชียนาคาร์โก โซล–อินช็อน,ฮานอย
เอสเอฟแอร์ไลน์ หางโจว
เอวิเอคอน ซิโตทราน นาคปุระ
อียิปต์แอร์ ไคโร
เอธิโอเปียแอร์ไลน์คาร์โก อาดดิสอาบาบา,ฮานอย
แอโร่ลอจิก สิงคโปร์
แอตลาสแอร์ แองคอเรจ
เอ็มเอเอสคาร์โก กัวลาลัมเปอร์–นานาชาติ, ฮ่องกง

เที่ยวบินเชิงเทคนิค

เที่ยวบินเชิงเทคนิคหมายถึงเที่ยวบินที่ใช้ย้ายฐานการบินทำการบินไปเพื่อซ่อมบำรุงเช็คสมรรถภาพของเครื่องบินใน ปี พ.ศ. 2562 มีรายงานผู้โดยสารจากท่าอากาศยานดอนเมืองเพียง 2 ราย

เที่ยวบินเช่าเหมาลำ

ในปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิรับเที่ยวบินแบบเช่าเหมาลำทั้งหมด 4 สายการบิน ได้แก่มี สายการบิน เพกัส ฟลาย สายการบินเช่าเหมาลำได้ทำการบินจากครัสโนยาสค์ ในเที่ยวบิน EO2411 21 เที่ยวบินทำเที่ยวบินจากเปียร์ม ในเที่ยวบิน EO 2447 8 เที่ยวบิน โดยยกเลิกในวันที่ 5 เดือนเมษายน ทำเที่ยวบินจากเคเมโรโว ในเที่ยวบิน EO261712 เที่ยวบิน ทำการบินเที่ยวบินจากบลาโกเวชเชนสค์ ในเที่ยวบิน EO2703 2 เที่ยวบินในเดือนพฤษภาคม ทำการบินจากอีร์คุตสค์ 4 เที่ยวบินในเที่ยวบิน EO2402ทำการบินจากวลาดีวอสตอค 1 เที่ยวบิน ในวันที่ 14 ตุลาคม ในเที่ยวบิน EO2419

สายการบินล็อตโปแลนด์ LOT Polish Airlines ได้ทำการบินแบบเช่าเหมาลำเที่ยวบินที่ LO6519 จากกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ มายังท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 20 เที่ยวบินโดยทำการบิน ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม และระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม ต่อมาได้มีประกาศจาก สายการบินว่าทางสายการบินล็อตโปแลนด์จะทำการบินอาทิตย์ละ 1 วัน ระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 ถึง 14 มีนาคม พ.ศ. 2563

เที่ยวบินเช่าเหมาลำภายในประเทศ

เนื่องจากบริการให้กับนักท่องเที่ยวของบริษัทโซเนวา คีรี จำกัด จึงเป็นเที่ยวบินไม่ประจำทำการบินด้วยเครื่องบินเล็กนั่งได้ 8 คน นอกจากนั้นมีสายการบิน ไทยรีเจียนัลแอร์ไลน์ ทำการบินไป ท่าอากาศยานหัวหิน ในเที่ยวบิน TRB171

สายการบิน จุดหมายปลายทาง
ไทย ฟลายอิ้ง เซอร์วิส สนามบินเกาะไม้ซี้
ไทยรีเจียนัลแอร์ไลน์ ท่าอากาศยานหัวหิน

สถิติ

สถิติผู้ใช้บริการ

ข้อมูลการจราจรในแต่ละปีปฏิทิน
ปี พ.ศ. ผู้ใช้บริการ เปลี่ยนแปลงจากปีก่อน เที่ยวบิน สินค้า
(ตัน)
2550 41,210,081 N/A N/A 1,220,001
2551 38,603,490  06.3% N/A 1,173,084
2552 40,500,224  04.9% N/A 1,045,194
2553 42,784,967  05.6% N/A 1,310,146
2554 47,910,744  012.0% 299,566 N/A
2555 53,002,328  010.6% 312,493 N/A
2556 51,363,451  011.92% 288,004 1,236,223
2557 46,423,352  09.62% 289,568 1,234,176
2558 52,902,110  013.96% 317,066 1,230,563
2559 55,892,428  05.65% 336,345 1,351,878
2560 60,860,704  08.9% 350,508 1,439,913
2561 63,378,923  04.14% 369,476 1,647,442
2562 65,421,844  03.22% 380,054 1,326,914
ที่มา: Airports Council International

ทั้งนี้จากสถิติดังกล่าวในปี พ.ศ. 2554 เป็นปีแรกที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีผู้โดยสารเกิน 45 ล้านคน ซึ่งถือว่าเลยขีดจำกัดของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิปัญหานี้ส่งผลให้เกิดปัญหาการรอคอยของผู้โดยสารในการตรวจคนเข้าเมืองนานมาก กองตรวจคนเข้าเมืองต้องทำงานหนักเกินไปและมีปัญหาสุขภาพเช่น กระเพาะปัสสาวะ อักเสบ ในปี พ.ศ. 2555 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้อันดับที่ 14 ประเภทจำนวนผู้โดยสารสูงสุดของโลก นับเป็นปีแรกที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีจำนวนผู้โดยสารภายใน 15 อันดับท่าอากาศยานหนาแน่นที่สุดของโลกใน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีจำนวนเที่ยวบินที่ให้บริการลดลงเป็นปีแรกในรอบ 4 ปี ลดลง 12.07% เมื่อเทียบกับ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555

และจากปัญหานี้เอง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) จึงได้ยื่นแผนการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเฟส 2 ขึ้น โดยจะก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินหลังที่ 2 และอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ทางทิศใต้ขึ้น โดยใช้สถาปัตยกรรมภายนอกแบบเดียวกันกับอาคารหลังที่ 1 แต่ตกแต่งภายในใหม่ทั้งหมด แต่เนื่องจากการก่อสร้างท่าอากาศยานต้องใช้เวลาอย่างต่ำถึง 5 ปี จึงทำให้แผนการรื้อฟื้นท่าอากาศยานดอนเมืองจึงถูกนำมาใช้ชั่วคราว จนกว่าการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแบบเต็มเฟสจะเสร็จสิ้นโดย เฟส 2 จะเปิดให้บริการในเดือน มกราคม พ.ศ. 2563

สถิติการให้บริการ

ในส่วนของเครื่องบินที่ท่าอากาศยานให้บริการขนาดเล็กที่สุดได้แก่ เครื่อง Cessna 208B Grand-Caravan ขนาดใหญ่ที่สุดได้แก่ แอร์บัส เอ380 โบอิง 747-8I โบอิง 747-8F ในปี พ.ศ. 2561 เที่ยวบินภายในประเทศ ที่มีผู้ใช้บริการน้อยที่สุดได้แก่ เที่ยวบินไปกลับ ระหว่าง สนามบินเกาะไม้ซี้ ไปกลับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เนื่องจากบริการให้กับนักท่องเที่ยวของบริษัท โซเนวา คีรี จำกัด เท่านั้น ด้วยเครืองบิน ทะเบียน HS-SPL และ HS-SKRซึ่งเป็นเครื่อง Cessna 208B Grand-Caravan

ในปี พ.ศ. 2561 จำนวนเที่ยวบินเฉลี่ยที่ทำการบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 998 เที่ยวบินต่อวัน

ในอดีตท่าอากาศยานสุวรรณภูมิยังเป็นหนึ่ง ในท่าอากาศยานที่รับผู้โดยสารจากเที่ยวบิน TG790 และ TG791 ไปกลับจาก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปกลับ ท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ. เคนเนดี และ เที่ยวบิน TG794 และ TG795 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ไปกลับ ท่าอากาศยานนานาชาติลอสแอนเจลิส ซึ่งเป็นเที่ยวบินที่เดินทางเป็นระยะไกลมากที่สุดติดสิบอันดับแรก ของการทำการบินเชิงพาณิชย์ทั่วโลก ในตลอดเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2562 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิมีเที่ยวบินระหว่างประเทศมากถึง 25,881 เที่ยวบิน เที่ยวบินภายในประเทศ 8,106 รวม 33,987 เที่ยวบินซึ่งเป็นสถิติเที่ยวบินระหว่างประเทศมากที่สุดตั้งแต่ดำเนินกิจการ

เส้นทางการบินที่มีผู้ใช้บริการรวมเกินเก้าแสนราย

ตลอดปี พ.ศ. 2562 มีจำนวนเที่ยวบินรวมทั้งหมด 380,067 เที่ยวบิน มีจำนวนท่าอากาศยานที่ให้บริการระหว่างประเทศไปกลับโดยมีผู้โดยสารรวมมากกว่า 1000000 รายในแต่ละเมืองมากถึง 14 ท่าอากาศยาน ซึ่งหากรวมท่าอากาศยานภายในประเทศแล้ว ท่าอากาศยานที่ให้บริการผู้โดยสารไปกลับรวมมากกว่า 1000000 ราย มีทั้งหมด 17 ท่าอากาศยาน

อย่างไรก็ตามตลอดปี พ.ศ. 2562 เมื่อเรียงลำดับจำนวนท่าอากาศยาน 20 ลำดับแรกที่มีผู้โดยสารไปกลับจำนวนมากที่สุด พบว่า 20 ท่าอากาศยาน มีผู้โดยสารไปกลับจำนวนเกิน 9 แสนรายขึ้นไป

มีจำนวน 34 ท่าอากาศยานให้บริการผู้โดยสารไปกลับเกิน 500000 รายขึ้นไป ซึ่งเท่ากับว่าจำนวนท่าอากาศยานที่ให้บริการผู้โดยสารเกิน 500000 รายขึ้นไป เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 100 ( 100 %) เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวน ท่าอากาศยานที่ให้บริการผู้โดยสารไปกลับ เกิน 1000000 ราย

Busiest international routes (2019)
Rank Airport Passengers 2019 % Change
2018/19
Passengers 2018
1 ท่าอากาศยานนานาชาติฮ่องกง 3,756,449   6.57 4,020,613
2 ท่าอากาศยานภูเก็ต 3,358,876   0.03 3,356,831
3 ท่าอากาศยานชางงีสิงคโปร์ 3,258,422   3.04 3,162,160
4 ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่ 2,864,525   1.61 2,915,108
5 ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน 2,689,306   4.93 2,562,998
6 ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน 1,928,536   3.58 1,861,851
7 ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ 1,707,276   11.82 1,936,223
8 ท่าอากาศยานนานาชาติซ่างไห่ผู่ตง 1,600,930   7.18 1,493,614
9 ท่าอากาศยานนานาชาติสมุย 1,546,570   8.22 1,686,857
10 ท่าอากาศยานนานาชาติกว่างโจวไป๋-ยฺหวิน 1,510,461   8.96 1,386,259
11 ท่าอากาศยานนานาชาติเตินเซินเญิ้ต 1,238,942   2.52 1,208,464
12 ท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว 1,230,506   9.81 1,120,555
13 ท่าอากาศยานนานาชาตินินอย อากีโน 1,179,861   17.34 1,005,478
14 ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด 1,166,972   13.66 1,026,698
15 ท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธี 1,107,099   2.01 1,085,238
16 ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ 1,089,048   8.70 1,192,823
17 ท่าอากาศยานนานาชาติกัวลาลัมเปอร์ 1,078,045   5.26 1,137,939
18 ท่าอากาศยานนานาชาติพนมเปญ 976,966   26.52 772,127
19 ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง 956,320   0.51 951,389
20 ท่าอากาศยานนานาชาติกระบี่ 929,294   12.46 862,529
Source: [3]

เที่ยวบินที่ทำการบินผู้โดยสารน้อยที่สุดระหว่างประเทศ

ในปี พ.ศ. 2562 เที่ยวบินที่ทำการบินเที่ยวบินระหว่างประเทศน้อยที่สุดในแง่การขนส่งผู้โดยสารได้แก่เที่ยวบินไปกลับ ท่าอากาศยานนานาชาติคลาร์ก จังหวัดปัมปังกา ประเทศฟิลิปปินส์ มีผู้โดยสารเดินทางมาเพียงรายเดียว หากดูรายประเทศ ประเทศที่มีการขนส่งผู้โดยสารน้อยที่สุดใน ปี พ.ศ. 2562 ได้แก่ประเทศสเปน เมืองซาราโกซา มีผู้โดยสารรวม 8 รายตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ผู้โดยสารที่จะไปทวีปอเมริกาเหนือจำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องบิน เนื่องจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่มีบริการเที่ยวบินผู้โดยสารระหว่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิกับทวีปอเมริกาเหนือ ไม่ว่าจะเป็นแบบบินตรงหรือแวะท่าอากาศยานประเทศเกาหลีใต้ และ ประเทศญี่ปุ่น

นับตั้งแต่เปิดบริการ ในปี พ.ศ. 2549 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิไม่มีเที่ยวบินขนส่งผู้โดยสารไปทวีปอเมริกาใต้ ไม่ว่าจะเป็นแบบบินตรงหรือแวะท่าอากาศยานอื่น อย่างไรก็ตามท่าอากาศยานในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่มีเที่ยวบิน "บินตรง" ไปกลับ ทวีปอเมริกาใต้

เส้นทางการบินระหว่างประเทศที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด

เส้นทางการบินระหว่างประเทศ ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด (พ.ศ. 2556)
อันดับ ท่าอากาศยาน จำนวนผู้โดยสารในปี พ.ศ. 2556 (คน) ความเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) จำนวนผู้โดยสารในปี พ.ศ. 2555 (คน)
1 ฮ่องกง 3,566,950  9.17 3,267,195
2 สิงคโปร์ 3,344,500  1.84 3,407,354
3 โซล-อินช็อน 2,121,430  1.25 2,095,145
4 โตเกียว-นะริตะ 1,787,405  13.46 1,575,302
5 ไทเป-เถาหยวน 1,328,120  17.03 1,134,857
6 เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง 1,279,536  40.12 913,177
7 ดูไบ-นานาชาติ 1,196,795  12.23 1,066,391
8 กัวลาลัมเปอร์ 1,029,057  29.21 1,453,681
9 กว่างโจว 894,087  3.29 924,457
10 นิวเดลี 865,595  0.83 858,511
11 โฮจิมินห์ซิตี 838,856  10.86 941,065
12 ปักกิ่ง-แคพิทอล 826,018  26.41 653,435
13 อาบูดาบี 768,051  7.12 717,032
14 ย่างกุ้ง 766,279  11.21 863,035
15 ลอนดอน-ฮีทโธรว์ 707,294  1.03 700,049
16 มะนิลา 703,592  9.56 642,218
17 โดฮา 671,402  19.31 562,726
18 ฮานอย 654,945  0.06 654,549
19 โอซะกะ-คันไซ 609,645  8.68 560,947
20 ซิดนีย์ 608,515  0.81 603,608
21 มุมไบ 604,156  19.16 747,384
22 แฟรงก์เฟิร์ต 592,522  0.9 587,228
23 จาการ์ตา-ซูการ์โน-ฮัตตา 588,171  21.32 484,822
24 โตเกียว-ฮะเนะดะ 500,275  5.12 475,913
25 อัมสเตอร์ดัม 456,811  3.12 443,005
26 ปารีส-ชาลส์เดอโกล 453,531  9.52 414,108
27 โกลกาตา 434,281  1.67 427,137
28 พนมเปญ 428,845  4.51 449,122
29 เมลเบิร์น 416,847  6.28 444,761
30 ปูซาน 373,709  11.1 336,363
31 โคลัมโบ 367,232  3.55 380,757
32 มาเก๊า 351,853  33.58 529,746
33 นะโงะยะ-เซ็นแทรร์ 332,906  18.93 279,929
34 เวียงจันทน์ 319,278  15.47 276,503
35 มอสโก-โดโมเดโดโว 316,055  7.2 340,594
36 ซูริก 299,831  1.41 304,131
37 โคเปนเฮเกน 291,740  21.59 372,068
38 มัสกัต 285,836  0.79 288,109
39 อิสตันบูล-อาตาตุร์ก 285,312  12.66 253,247
40 มอสโก-เชเรเมเตียโว 266,889  32.64 201,216
41 เฮลซิงกิ 262,456  0.06 262,301
42 เสียมราฐ 262,154  12.09 233,878
43 สต็อกโฮล์ม-อาร์ลันดา 258,674  12.87 229,170
44 คุนหมิง 258,015  35.23 190,796
45 เวียนนา 236,074  1.64 232,274
46 โนโวซีบีสค์ 212,715  28.7 165,286
47 ธากา 243,253  6.71 260,750
48 ออสโล-การ์เดอร์มอน 202,570  37.78 147,022
49 เทลอาวีฟ 209,384  11.15 188,386
50 มิวนิก 200,313  5.75 212,526

เส้นทางการบินภายในประเทศที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด

เส้นทางการบินภายในประเทศ ที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด (พ.ศ. 2563)
อันดับ ท่าอากาศยาน จำนวนผู้โดยสารในปี พ.ศ. 2563 (คน) ความเปลี่ยนแปลง (ร้อยละ) จำนวนผู้โดยสารในปี พ.ศ. 2562 (คน)
1 เชียงใหม่ 1,618,207  43.50 2,864,525
2 ภูเก็ต 1,462,454  43.53 3,358,876
3 สมุย 640,575  58.58 1,546,570
4 หาดใหญ่ 588,967  9.04 540,115
5 เชียงราย 537,282  34.67 822,522
6 กระบี่ 445,943